PropertyGuru appoints Helen Snowball as Chief People Officer

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “เฮเลน สโนว์บอล” นั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล

PropertyGuru appoints Helen Snowball as Chief People Officer

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or “the Group”), Southeast Asia’s leading[2], property technology (“PropTech”) company today announced the appointment of Helen Snowball as Chief People Officer (CPO). As the CPO, Helen will lead the People & Culture function, managing the full scope of HR functions and support the Group’s next phase of growth in Southeast Asia with a focus on employee experience and talent management. Helen is part of PropertyGuru’s Group Leadership Team (GLT) and will report to the CEO and Managing Director, Hari V. Krishnan.

Helen brings over two decades of rich experience in human resources, sales and commercial, having held various leadership roles in global organisations. Prior to joining PropertyGuru Group, Helen served as the Global Head of People Solutions & Experience at Jones Lang LaSalle in Singapore, where she led the formation of a new global employee experience function to re-imagine the future of work, implemented a new digital HR experience that enhanced productivity and business performance and drove initiatives that enhanced employee experience. Previously, she worked at Coca-Cola Euro-Pacific Partners, Australia, as the Head, HR Sales & Marketing and at Kraft Heinz Company, UK.

At PropertyGuru, Helen will provide strategic direction and expertise for all things related to team and talent, with a particular focus of taking forward the culture of trust that PropertyGuru Group aspires to deliver to its team. In addition, she will champion an equitable workplace as a driving force behind the Group’s success. Today, 50% of PropertyGuru’s GLT and 33% of its Board of Directors is composed of women leaders, and 65% of its total workforce is female. With over 30 nationalities in its workforce and strong diversity central to its success to date, the Group is emphasizing equity and inclusion in its next phase of growth.

Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, PropertyGuru Group, said, “We are excited to have Helen join us as our Chief People Officer. She has solid experience in leading successful transformations within People and Culture organisations and driving digital employee experiences. We are in PG3 – the third phase of our evolution as an organisation – guided by our vision to power communities to live, work and thrive in tomorrow’s cities. Helen’s skillset and energy will be essential as we continue to invest in our talent.”

Helen Snowball, Chief People Officer, PropertyGuru Group, said, “I am thrilled to join PropertyGuru Group. My focus will be to foster the amazing culture the organisation has built and enable employees to bring their best selves to work, each day. I look forward to working with the diverse and highly skilled Gurus across Southeast Asia to strengthen PropertyGuru’s position as an employer of choice for top talent.”

Helen joins PropertyGuru’s seasoned Group Leadership team, which recently welcomed Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer, and expanded Manav Kamboj’s role to include Managing Director, Fintech, in addition to his current role of Chief Technology Officer. These strategic leadership appointments bolster PropertyGuru’s capabilities as the Group ramps up investments and innovations in its marketplaces, data and software solutions, and fintech businesses.

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “เฮเลน สโนว์บอล” นั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “เฮเลน สโนว์บอล” นั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “เฮเลน สโนว์บอล” นั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (หรือชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE คือ PGRU) (หรือต่อจากนี้จะเรียกว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “กรุ๊ป”) บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] (“PropTech”) และเป็นบริษัทแม่ของ 2 เว็บไซต์ด้านอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย ได้แก่ DDproperty.com แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ อันดับ 1 ของประเทศ และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาฯ ชั้นนำของประเทศ วันนี้ได้ประกาศแต่งตั้งผู้บริหารใหม่ นางสาวเฮเลน สโนว์บอล เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล (Chief People Officer: CPO) และในฐานะ CPO นางสาวเฮเลนจะนำทีมทรัพยากรบุคคล และวัฒนธรรมองค์กร รวมไปถึงดูแลจัดการงานและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับด้านทรัพยากรบุคคล และสนับสนุนการเติบโตในเฟสต่อไปของกรุ๊ป นั่นคือการก้าวสู่การเป็นบริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้ความสำคัญต่อประสบการณ์การทำงานของพนักงาน และการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนางสาวเฮเลนจะเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป (Group Leadership Team: GLT) และจะรายงานตรงต่อนายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของกรุ๊ป

นางสาวเฮเลนมาพร้อมกับประสบการณ์ในบทบาทผู้นำที่หลากหลายด้านทรัพยากรบุคคลและการขาย/การพาณิชย์ในองค์กรชั้นนำระดับโลกมานานกว่า 2 ทศวรรษ ก่อนหน้านี้ นางสาวเฮเลนเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Global Head of People Solutions & Experience) ที่บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำอย่างโจนส์ แลง ลาซาลล์ ในสิงคโปร์ โดยเธอได้นำรูปแบบใหม่ของประสบการณ์การทำงานระดับโลกมานำร่องใช้เพื่อสร้างอนาคตของการทำงานในองค์กร รวมทั้งนำระบบดิจิทัลแบบใหม่เข้ามาใช้ในงานทรัพยากรบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทำงาน รวมไปถึงขับเคลื่อนแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสบการณ์การทำงานที่ดีให้กับพนักงานในองค์กร นอกจากนี้ เธอยังเคยร่วมงานกับโคคา-โคล่า ยูโร-แปซิฟิก พาร์ทเนอร์ส ในออสเตรเลีย ในฐานะหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลแผนกขายและการตลาด รวมไปถึงที่บริษัท คราฟท์ ไฮนซ์ จำกัด ในสหราชอาณาจักร 

ทั้งนี้ นางสาวเฮเลนจะเป็นผู้วางแนวทางกลยุทธ์ให้กับพร็อพเพอร์ตี้กูรู รวมไปถึงนำความเชี่ยวชาญต่าง ๆ เกี่ยวกับการสร้างทีม และพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของพร็อพเพอร์ตี้กูรูไปสู่องค์กรที่มุ่งหวังให้แต่ละทีมเป็นทีมที่มีความโปร่งใสและเชื่อถือได้ นอกจากนี้ เธอจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีความเท่าเทียม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางกรุ๊ปให้ความสำคัญมาโดยตลอด ปัจจุบันเรามีสัดส่วนผู้นำหญิง 50% ของทีมผู้บริหารของพร็อพเพอร์ตี้กูรู และมีผู้หญิง 33% เป็นสมาชิกในบอร์ดผู้บริหาร ในขณะที่ 65% ของพนักงานทั้งหมดเป็นผู้หญิง ทั้งนี้ กรุ๊ปของเรานับเป็นองค์กรที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันเรามีพนักงานกว่า 30 สัญชาติ และบริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม และให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมและสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรในการเติบโตเฟสต่อไปของบริษัท 

นายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า เราตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้คุณเฮเลนมาร่วมทีมในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล เธอมีชั่วโมงบินสูงในการนำพาองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กรที่ประสบความสำเร็จ และขับเคลื่อนการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการสร้างประสบการณ์การทำงานของพนักงาน ตอนนี้พวกเราอยู่ในเฟส PG3 ซึ่งเป็นเฟสที่ ของวิวัฒนาการองค์กรของเรา ในการนำวิสัยทัศน์เพื่อขับเคลื่อนคอมมูนิตี้เพื่อการอยู่อาศัย การทำงาน และการเติบโตในเมืองแห่งวันพรุ่งนี้ และด้วยทักษะความสามารถและพลังของคุณเฮเลน เราเชื่อว่าเธอจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์นั้นต่อไป และเราจะยังคงเดินหน้าลงทุนในเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถของกูรูของเราอย่างต่อเนื่อง

ด้านนางสาวเฮเลน สโนว์บอล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า “ดิฉันดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป สิ่งที่ดิฉันจะโฟกัสก็คือการทำให้วัฒนธรรมองค์กรที่ดีอยู่แล้วของเรานี้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และช่วยให้พนักงานนำความสามารถของตัวเองออกมาใช้ได้ดีที่สุดในการทำงานแต่ละวัน ดิฉันหวังที่จะได้ร่วมทำงานกับชาวกูรูผู้มากความสามารถทุก ๆ ท่านทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อที่จะยกระดับให้พร็อพเพอร์ตี้กูรูของเราเป็นองค์กรในดวงใจของผู้ที่มีความสามารถระดับต้น ๆ ของภูมิภาคนี้ต่อไป”   

นางสาวเฮเลนจะร่วมงานกับทีมผู้บริหารมากความสามารถของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ซึ่งก่อนหน้านี้เพิ่งต้อนรับประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด “นางดิฌา โกเองกา ดาส” และเพิ่มตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจฟินเทค ให้กับ “นายมานาฟ แคมบอช” ดำรงตำแหน่งควบคู่กับตำแหน่งเดิมคือประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี ซึ่งการแต่งตั้งผู้นำในเชิงกลยุทธ์เช่นนี้นับเป็นการเสริมขีดความสามารถของกรุ๊ป ในขณะที่กรุ๊ปยังคงเดินหน้าลงทุนและพัฒนานวัตกรรมในธุรกิจมาร์เก็ตเพลส, ดาต้า และซอฟต์แวร์ โซลูชั่น และฟินเทคอย่างไม่หยุดยั้ง 

อัปเดตดีมานด์วัยเก๋า โฟกัส Well-Being ตอบโจทย์การอยู่อาศัย

อัปเดตดีมานด์วัยเก๋า โฟกัส Well-Being ตอบโจทย์การอยู่อาศัย

อัปเดตดีมานด์วัยเก๋า โฟกัส Well-Being ตอบโจทย์การอยู่อาศัย

ตั้งแต่ปี 2565 ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) และจำนวนผู้สูงวัยยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตและปัจจัยทางสังคมที่เปลี่ยนไปในยุคนี้ ส่งผลให้คนไทยเลือกครองตัวเป็นโสดมากขึ้น หรือแต่งงานแต่มีบุตรน้อยลง ซึ่งอัตราการเกิดที่ลดลงนี้สวนทางกับสัดส่วนผู้สูงอายุในไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่เผยว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ที่มีจำนวนผู้สูงอายุถึง 28% ของประชากรในประเทศ นับเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่ทุกภาคส่วนต้องจับตามอง 

หลายธุรกิจจึงหันมาให้ความสำคัญกับการเจาะตลาดผู้สูงอายุมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมองว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพ มีกำลังซื้อสูง และมีความพร้อมทางการเงิน โดยเฉพาะในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ไทย ผู้ประกอบการเริ่มหันมาเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงวัยที่มาพร้อมบริการด้านสุขภาพมากขึ้น ผ่านการร่วมมือกับโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสุขภาพเพื่อเพิ่มบริการทางการแพทย์หรือโปรแกรมดูแลสุขภาพไว้ในโครงการฯ

ส่องดีมานด์บ้านผู้สูงวัย มองหาพื้นที่สีเขียวเสริม Well-Being 

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคชาวไทยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พบว่าเมื่อผู้สูงอายุต้องตัดสินใจซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัย ปัจจัยภายในที่ให้ความสำคัญจะเน้นไปที่ความคุ้มค่ามาเป็นอันดับแรก โดยมากกว่าครึ่ง (51%) พิจารณาจากราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรเป็นหลัก รองลงมาคือขนาดที่อยู่อาศัย 48% และตามมาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่อยู่อาศัย 45% ซึ่งจะต้องตอบโจทย์การอยู่อาศัยและสอดคล้องกับวิถีชีวิตในช่วงวัยเกษียณด้วย ขณะที่สองอันดับแรกของผู้บริโภคในช่วงวัยอื่น ๆ จะพิจารณาจากขนาดที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ตามมาด้วยราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตร 

ด้านปัจจัยภายนอกโครงการที่ผู้สูงอายุใช้พิจารณาเมื่อเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยนั้น 2 ใน 3 (66%) ให้ความสำคัญกับทำเลที่ตั้งโครงการมากที่สุด ตามมาด้วยสามารถเดินทางสะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ 55% และความปลอดภัยของทำเล 53% เนื่องจากผู้สูงอายุคำนึงถึงการใช้ชีวิตในระยะยาว จึงต้องการโครงการที่ตั้งอยู่ในทำเลที่เดินทางสะดวก รองรับการใช้ชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้อย่างสบายใจและปลอดภัย  

    • เลือกห้องตกแต่งครบ ประหยัดเวลา พร้อมเข้าอยู่ เมื่อต้องเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ผู้สูงอายุเกือบครึ่ง (46%) จะเลือกโครงการที่ตกแต่งให้ครบแบบพร้อมเข้าอยู่ (Fully Furnished) มากที่สุด โดยมีเหตุผลสำคัญมาจาก ช่วยประหยัดเวลาในการตกแต่ง 76% และไม่ยุ่งยาก สามารถย้ายเข้าอยู่ได้ทันที 70% ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าผู้บริโภคช่วงวัยอื่น ๆ ขณะที่ผู้สูงอายุอีก 29% สนใจโครงการที่ไม่มีการตกแต่งใด ๆ และ 25% เลือกโครงการที่ตกแต่งห้องให้บางส่วน (Fully Fitted) โดยเหตุผลที่ผู้สูงอายุเลือกห้องที่ไม่มีการตกแต่ง หรือตกแต่งห้องให้บางส่วน เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ 70% ชื่นชอบการตกแต่งห้องในสไตล์ของตัวเองมากกว่า และ 37% คิดว่าสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่มีอยู่ได้ดีกว่า
    • บ้านที่ดีต้องใกล้ชิดธรรมชาติ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตที่บ้านเป็นหลัก จึงเห็นความสำคัญของบทบาทที่อยู่อาศัยในการเสริมสร้างสุขภาพกายควบคู่กับสุขภาพจิตที่ดี เมื่อพิจารณาคุณลักษณะภายในและบริเวณรอบบ้านที่จะช่วยให้มีสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น ผู้สูงอายุกว่า 2 ใน 3 (70%) ต้องการที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้สวนสาธารณะและใกล้ชิดธรรมชาติมากที่สุด เนื่องจากการมีพื้นที่สีเขียวไว้พักผ่อนหย่อนใจนั้นจะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ดี และมีผลทางจิตวิทยาทำให้รู้สึกสดชื่นมากขึ้น รวมทั้งต้องการพื้นที่เปิดโล่งมากขึ้นภายในละแวกบ้าน 68% ตามมาด้วยยูนิตที่มีระยะห่างมากขึ้น 64% เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวและต้องการความสงบ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังเข้าใจและให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยที่มาพร้อมแนวคิดรักษ์โลก เกือบ 2 ใน 3 (65%) คาดหวังว่าโครงการที่พัฒนาใหม่ทั้งหมดควรจะมาพร้อมกับหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop) เพื่อช่วยประหยัดรายจ่ายและลดการใช้พลังงานไฟฟ้า สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุมีความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานทางเลือก
    • รีโนเวทห้องนั่งเล่นรองรับการใช้ชีวิต พื้นที่ภายในที่อยู่อาศัยที่ผู้สูงอายุต้องการปรับปรุงเพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น อันดับแรกคือห้องนั่งเล่น 66% รองลงมาคือ ห้องนอน 59% ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุใช้เวลาในการทำกิจกรรมประจำวันมากที่สุด จึงเห็นความสำคัญในการปรับปรุงภายในห้องนั้นให้พร้อมรองรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ขณะที่อันดับสามคือห้องน้ำ 38% เนื่องจากถือเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อเพิ่มความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกเมื่อผู้สูงอายุต้องใช้งาน ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด

ทำความรู้จัก “Reverse Mortgage” ทางเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัยของผู้สูงวัย 

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนทำความรู้จักกับ “Reverse Mortgage หรือสินเชื่อบ้านสำหรับผู้สูงอายุ” ทางเลือกน่าสนใจที่ช่วยให้ผู้สูงวัยมีโอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น ลดปัญหาการเงินในวัยเกษียณได้โดยไม่เป็นภาระของลูกหลาน

    • Reverse Mortgage น่าสนใจอย่างไร Reverse Mortgage หรือการจำนองแบบย้อนกลับ มีความแตกต่างกับการจำนองทั่วไปอย่างชัดเจน หลักการทำงานจะมีรูปแบบเหมือนการทยอยขายบ้านให้กับธนาคาร โดยจะเป็นรูปแบบการจำนองที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้สูงอายุที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองแต่ไม่ต้องการขาย เนื่องจากต้องใช้อยู่อาศัยในบั้นปลายชีวิต และต้องการรายได้เป็นแบบรายเดือนเพื่อนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สามารถนำบ้าน/คอนโดฯ ไปจำนองกับธนาคาร แล้วให้ธนาคารจ่ายเงินให้ผู้กู้เป็นรายเดือนแทน
    • หลักการทำงานของ Reverse Mortgage ผู้สูงอายุสัญชาติไทย อายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80 ปี สามารถนำบ้าน/คอนโดฯ ที่ถือครองกรรมสิทธิ์อยู่มาจำนองไว้กับธนาคาร จากนั้นธนาคารจะตีมูลค่าบ้านพร้อมกับประเมินอายุเฉลี่ยของผู้กู้และทยอยจ่ายเงินค่าบ้านให้ผู้กู้เป็นรายเดือน โดยที่ผู้กู้ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านหลังนั้นและสามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้จนกระทั่งเสียชีวิตหรือตัดสินใจขายบ้านไปก่อน เมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้ว บ้าน/คอนโดฯ นั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ซึ่งธนาคารสามารถนำไปขายทอดตลาดได้
      • ในกรณีที่ครบกำหนดสัญญาแล้วผู้กู้ยังมีชีวิตอยู่ จะสามารถยื่นเอกสารเพื่อกู้เพิ่มเติมได้ตามเงื่อนไขของธนาคาร หรือนำเงินมาไถ่บ้าน/คอนโดฯ คืนได้
      • ส่วนกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิตก่อนและทายาทไม่มาไถ่ถอนอสังหาฯ นั้นคืน ธนาคารจะนำไปขายทอดตลาด โดยหากขายอสังหาฯ นั้นได้ราคาสูงกว่ายอดหนี้ ธนาคารจะคืนส่วนต่างดังกล่าวให้กับทายาทต่อไป

Reverse Mortgage ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและเหมาะกับสังคมผู้สูงวัยของไทยในปัจจุบัน นอกจากจะตอบโจทย์ความต้องการมีบ้านของผู้สูงอายุเพื่อพักอาศัยในบั้นปลายชีวิตแล้ว ยังช่วยลดความกังวลในเรื่องค่าครองชีพได้อีกด้วย ทั้งนี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข่าวสารและบทความน่ารู้ในแวดวงอสังหาฯ ที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคทุกช่วงวัยที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัย รวมทั้งเป็นแหล่งรวมข้อมูลประกาศซื้อ/ขาย/ให้เช่า พร้อมรีวิวโครงการอสังหาฯ ที่น่าสนใจในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ เพื่อช่วยให้ทุกคนพร้อมก้าวสู่เส้นทางอสังหาฯ ได้อย่างมั่นใจ และเตรียมความพร้อมก่อนตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ได้มากที่สุด

เช็กความพร้อมคนหาบ้าน 2566 ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งวางแผนซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า แม้สภาพคล่องทางการเงินยังท้าทาย

เช็กความพร้อมคนหาบ้าน 2566 ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งวางแผนซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า แม้สภาพคล่องทางการเงินยังท้าทาย

เช็กความพร้อมคนหาบ้าน 2566 ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งวางแผนซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า แม้สภาพคล่องทางการเงินยังท้าทาย

แม้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่ดีดังเดิมเนื่องจากเผชิญความท้าทายรอบด้านในปีที่ผ่านมา แต่ในปี 2566 เริ่มมีสัญญาณบวกอีกครั้งเมื่อจีนประกาศเปิดประเทศ และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขับเคลื่อนให้ภาคท่องเที่ยวเริ่มเติบโตอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตในภาพรวมของเศรษฐกิจและกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานรวมถึงการใช้จ่ายในประเทศให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยว่า ข้อมูลจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.6 จาก 51.7 ในเดือนก่อนหน้า ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 36 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 สะท้อนให้เห็นว่า แม้จะมีความท้าทายจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้จ่ายจะเริ่มกลับมาตามไปด้วย

ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีการเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากผู้พัฒนาอสังหาฯ ปรับกลยุทธ์ทำการตลาดเจาะกลุ่มผู้ซื้อที่มีความพร้อมทางการเงิน รวมทั้งเลือกพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคยังคงมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 49% จากเดิม 51% ในรอบก่อน อันเป็นผลมาจากความท้าทายด้านการเงินที่รุมเร้าทั้งจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพโดยตรง ทำให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ 65% (จาก 67% ในรอบก่อนหน้า) 

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยนั้นพบว่าเติบโตอย่างน่าสนใจ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 65% จากเดิมที่มีเพียง 57% เท่านั้น โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ (40%) เผยว่ามีความพึงพอใจเนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยปัจจุบันยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ 33% มองว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีความมั่นคงและยืดหยุ่น ส่วน 32% มองเห็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ทั้งนี้ ปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อการซื้อบ้านคือมาตรการรัฐ ซึ่งผู้บริโภครู้สึกพึงพอใจเพิ่มขึ้น จาก 12% ในรอบก่อนหน้า มาอยู่ที่ 19% โดยเชื่อว่ามาตรการรัฐจะช่วยให้สามารถซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้

กางแผนการซื้อที่อยู่อาศัย ปีนี้คนไทยพร้อมเป็นเจ้าของบ้านมากแค่ไหน

ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า แม้ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (52%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้านี้ แต่สัดส่วนลดลงจากรอบก่อนที่มีถึง 57% สะท้อนให้เห็นว่าแม้สถานการณ์ต่าง ๆ จะเริ่มคลี่คลาย แต่ความท้าทายเหล่านั้นยังมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยไม่น้อย ขณะที่สัดส่วนผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยเพิ่มเป็น 9% จากเดิมที่มีเพียง 7% ส่วนอีก 39% ยังไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใด ๆ 

    • “ขอพื้นที่ส่วนตัว – มองโอกาสลงทุน” เหตุผลหลักดันคนซื้อบ้าน 2 ใน 5 ของผู้บริโภค (40%) เผยว่าเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจซื้อที่อาศัยมาจากต้องการพื้นที่ส่วนตัว รองลงมาคือ ซื้อเพื่อการลงทุน (33%) และต้องการพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานเพื่อรองรับการขยายครอบครัว (28%) อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับรอบก่อนหน้าจะพบว่า ความต้องการพื้นที่ส่วนตัว รวมถึงความต้องการพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานนั้นลดลง (43% และ 30% ตามลำดับในรอบก่อนหน้า) แต่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกทำเลที่เดินทางสะดวก เช่น ใกล้ที่ทำงาน, ใกล้โรงเรียนบุตรหลานมากขึ้น จาก 22% ในรอบก่อนหน้า มาอยู่ที่ 24% สะท้อนให้เห็นว่าทำเลยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้ซื้อบ้านยุคนี้ หลังจากผู้ซื้อบ้านให้ความสำคัญกับเรื่องของพื้นที่มากขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ แต่เมื่อเริ่มกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ การ Work from Home น้อยลง ดังนั้น การเลือกที่อยู่อาศัยในทำเลที่สะดวกสบายในการเดินทางจึงเป็นปัจจัยที่คนให้ความสำคัญและตอบโจทย์คนหาบ้านในปัจจุบัน
    • ผู้บริโภค 1 ใน 3 พร้อมที่จะซื้อบ้าน เมื่อพิจารณาความพร้อมทางการเงินของผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัย พบว่า เกือบ 1 ใน 3 (32%) มีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้ว โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากรอบก่อนหน้าที่มีเพียง 25% ขณะที่ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (51%) เผยว่าเก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน/คอนโดฯ ได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น (เพิ่มขึ้นจาก 47% ในรอบก่อนหน้า) สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมทางการเงินก่อนซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น เนื่องจากการซื้ออสังหาฯ ถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและมีการผ่อนชำระยาวนาน ประกอบกับสถาบันการเงินยังคงมีการพิจารณาสินเชื่อที่เข้มงวด ผู้บริโภคจึงต้องเตรียมพร้อมให้มากที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ที่เกินตัว ส่วนอีก 16% ยังไม่ได้เริ่มวางแผนเก็บเงินใด ๆ เลย
    • “เงินเก็บไม่พร้อม – ไม่อยากลงหลักปักฐาน” ดึงดูดให้เลือกเช่า เหตุผลหลักของผู้ที่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยใน 1 ปีข้างหน้านั้น เกือบครึ่ง (45%) เผยว่ายังไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ตามมาด้วยไม่ต้องการตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่เพียงที่เดียว (36%) ขณะที่อีก 31% มองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงเกินไป จึงเลือกเก็บออมเงินไว้แทน สะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์การอยู่อาศัยที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทแวดล้อม การเช่าที่อยู่อาศัยช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดรายจ่ายจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจของคนหาบ้านในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังตอบโจทย์การใช้ชีวิตในเมืองหลวงมากกว่า รวมทั้งมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวกว่าหากต้องการโยกย้ายทำเลในอนาคต 

ส่องความต้องการคนหาบ้าน “ขนาด-ทำเล” มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด 

สำหรับปัจจัยภายในอันดับต้น ๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยนั้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะพิจารณาจากขนาดที่อยู่อาศัยมาเป็นอันดับแรกถึง 46% โดยคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน/คอนโดฯ ที่ต้องเพียงพอและตอบโจทย์ของสมาชิกในครอบครัว พร้อมรองรับการทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามมาด้วยราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอย (39%) และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่พัก (37%)

ขณะที่ปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัย ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (52%) ให้ความสำคัญไปที่ทำเลที่ตั้งมากที่สุด รองลงมาคือการเดินทางที่สะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และความปลอดภัยในโครงการและทำเลในสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน (48% และ 47% ตามลำดับ) สะท้อนให้เห็นเทรนด์ที่อยู่อาศัยของคนหาบ้านยุคนี้ ที่ต้องการบ้าน/คอนโดฯ ที่ตอบโจทย์ทั้งการอยู่อาศัยและการดำเนินชีวิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งอยู่ในทำเลที่เดินทางสะดวก หรือมีศักยภาพที่จะเติบโตในอนาคต นอกจากนี้ โครงการที่อยู่ใกล้ระบบขนส่งสาธารณะยังเพิ่มโอกาสให้ที่อยู่อาศัยนั้นมีราคาดีและน่าสนใจมากขึ้น หากต้องการขายหรือปล่อยให้เช่าในอนาคตอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้บริโภคเลือกใช้บริการเอเจนต์หรือนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ช่วยให้การซื้อ/ขายที่อยู่อาศัยราบรื่นยิ่งขึ้น โดยปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อ/ขายที่อยู่อาศัยผ่านเอเจนต์อสังหาฯ นั้น กว่า 4 ใน 5 (81%) ให้ความสำคัญไปที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของเอเจนต์ ตามมาด้วยประสบการณ์ของเอเจนต์ (78%) และชื่อเสียงของเอเจนต์ (71%) นอกจากนี้ พบว่า 80% ของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกทำธุรกรรมซื้อ/ขายอสังหาฯ กับเอเจนต์ที่ได้รับการยืนยันตัวตน (Verified Agents) เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือมากกว่า และช่วยเพิ่มความมั่นใจในการทำธุรกรรมมากขึ้น

DDproperty CSS H1 2023

ความท้าทายที่ต้องจับตา “ภาวะเงินเฟ้อ” ฉุดคนชะลอซื้อบ้าน 

ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 108.05 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (104.10) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 3.79% (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน แต่ยังไม่เข้ากรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงถือเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ซึ่งภาวะเงินเฟ้อถือเป็นอีกความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้บริโภคเกือบ 4 ใน 5 (73%) เผยว่าภาวะเงินเฟ้อส่งผลกระทบให้ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนรายวันปรับสูงขึ้น รวมทั้งกระทบแผนการเงิน ทำให้เงินเก็บรายเดือนลดน้อยลง (50%) นอกจากนี้ยังทำให้ต้องลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนรายวันลงไป (ในสัดส่วนเท่ากันที่ 41%)

แน่นอนว่าภาวะเงินเฟ้อยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ และสั่นคลอนแผนการซื้อที่อยู่อาศัยตามไปด้วย ในช่วงที่ต้องเผชิญภาวะเงินเฟ้อสูง มีผู้บริโภคเพียง 1 ใน 5 (23%) เท่านั้นที่ยังเดินหน้าซื้อที่อยู่อาศัยตามแผนเดิม ขณะที่ 3 ใน 5 (63%) เลือกชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนจนกว่าภาวะเงินเฟ้อจะลดลง ส่วนอีก 14% ยกเลิกแผนการซื้อที่อยู่อาศัยทั้งหมด เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อถือเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินและการผ่อนชำระที่อยู่อาศัย 

แม้ว่าปีนี้ภาครัฐจะมีการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ บางส่วน เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยง่ายขึ้น แต่มาตรการที่มีอาจไม่ดึงดูดใจผู้บริโภคมากเพียงพอ โดยมาตรการช่วยเหลือและสนับสนุนการซื้อที่อยู่อาศัยจากภาครัฐในช่วงภาวะเงินเฟ้อที่ผู้บริโภคต้องการนั้น มากกว่าครึ่ง (56%) ต้องการมาตรการที่ช่วยลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเพิ่มเติม ตามมาด้วยมาตรการลดดอกเบี้ยทั้งสินเชื่อบ้านที่กู้ใหม่และที่มีอยู่ (54%) และมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก (41%) นอกจากนี้ 39% คาดหวังให้มีการขยายระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุด สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดหวังมาตรการทางการเงินที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในกลุ่ม Real Demand ในช่วงที่มีความท้าทายเช่นนี้ได้อย่างตรงจุดมากขึ้น 

หมายเหตุ: DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยที่จัดทำขึ้นทุก 6 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงนักลงทุนและเอเจนต์ต่อประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัย รวมไปถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการซื้อ-ขาย-เช่า ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 22-69 ปี จำนวน 1,000 คน 

อ่านและศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยรอบล่าสุดได้ที่ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study 

PropertyGuru Reports Fourth Quarter and Full Year 2022 Results

PropertyGuru Reports Fourth Quarter and Full Year 2022 Results

PropertyGuru Reports Fourth Quarter and Full Year 2022 Results

Revenues Grow 17% Year Over Year in the Fourth Quarter and 35% for the Full Year 2022

    • Total revenue grew 35% to S$136 million in 2022, with over 20% year on year growth in every segment
    • Adjusted EBITDA of S$14 million in 2022, up S$25 million from a loss of S$10 million in 2021
    • Marketplaces 2022 Adjusted EBITDA increased 2.6x over 2021

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or the “Company”), Southeast Asia’s leading[1] property technology (“PropTech”) company, today announced financial results for the quarter ended December 31, 2022. Revenue of S$40 million in the fourth quarter 2022 increased 17% year over year. Net loss was S$5 million in the fourth quarter and Adjusted EBITDA[2] was a positive S$5 million. This compares to a net loss of S$27 million[3] and Adjusted EBITDA loss of S$4 million in the fourth quarter of 2021. 

Management Commentary

Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, said “We are pleased with our results, as PropertyGuru performed well in the face of several transitory challenges that continue to impact our core markets. While rising interest rates and government credit intervention weighed on market activity, we remained resilient and delivered good growth by helping our customers navigate the challenges they faced and confirming the value add of our solutions in all phases of the real estate cycle.”

“Last year was a historic year for PropertyGuru, as we took the next step in our company’s evolution by listing on the NYSE. Going forward, we see great opportunity in 2023 and beyond as we continue to offer our customers differentiated solutions while looking to opportunistically deploy capital to accelerate the Company’s ongoing expansion. Sendhelper is a good example of a strategic acquisition we are excited about given the value it creates for our large audience base, and the underlying synergies between the companies,” Mr. Krishnan continued. “Rising rates, global inflation, and governmental fiscal activity are challenges that will need to be navigated in the near-term. We remain bullish on our ability to deliver value to our customers as we digitize the property ecosystem and bring transparency and efficiency. We believe that our markets in Southeast Asia will be at the forefront of future global growth.”

Joe Dische, Chief Financial Officer, added “PropertyGuru delivered strong 35% revenue growth in 2022[4], with all our segments performing well despite challenging operating conditions. We are pleased with how well our business responded, with proactive cost control actions contributing to a S$25 million year over year improvement in Adjusted EBITDA. Our actions in 2022 have laid the foundation for further revenue growth and improvements in operating performance. We continue to scale the business, accelerate the realization of our investments, and leverage the deployment of further growth capital.”

 Financial Highlights – Fourth Quarter and Full Year 2022

    • Total revenue increased 17% to S$40 million in the fourth quarter as compared to the previous year and increased 35% to S$136 million year over year.
    • Marketplaces revenues increased 15% to S$38 million in the fourth quarter as compared to the previous year and increased 34% to S$131 million year over year, as continued strength in Singapore and Malaysia offset challenges in the Vietnam market due to credit restrictions in the latter part of the year.
    • Singapore Marketplaces revenue increased 15% to S$19 million in the fourth quarter as compared to the previous year and increased 24% to $69 million year over year as a result of both increased Average Revenue Per Agent (“ARPA”) and an increase in overall agents. Quarterly ARPA was up 20% in the fourth quarter to S$1,076 as compared to the previous year and up 24% year over year to S$4,078 in 2022. In the fourth quarter, there were 15,529 agents with a renewal rate of 79% in the quarter.
    • Malaysia Marketplaces revenue increased 28% to S$8 million in the fourth quarter as compared to the previous year and increased 77% to $25 million year over year, as the Company continues to leverage our two market leading brands and benefit from the acquisition of the iProperty business in August 2021.
    • Vietnam Marketplaces revenue decreased 7% to S$6 million in the fourth quarter as compared to the previous year and increased 28% to S$24 million year over year, as governmental actions to tighten credit impacted the overall number of listings in the market. The number of listings was down 22% to 1.6 million in the fourth quarter as compared to the prior year quarter. The average revenue per listing (“ARPL”) was up 22% to S$25 in the fourth quarter as compared to the prior year quarter and up 8% to S$2.97 year over year.
    • At year-end, cash and cash equivalents was S$309 million.

Information regarding our operating segments is presented below.

 

 

For the Three Months Ended December 31

 

 

 

2022

 

2021

 

YoY Growth

 

 

 

(S$ in thousands except percentages)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Revenue

40,097             

 

34,329             

 

16.8%

 

Marketplaces

38,350

 

33,299             

 

15.2%

 

 

Singapore

18,805             

 

16,382             

 

14.8%

 

 

Vietnam

5,870             

 

6,304            

 

-6.9%

 

 

Malaysia

7,531               

 

5,888               

 

27.9%

 

 

Other Asia

6,144               

 

4,725               

 

30.0%

 

Fintech and data services

1,747          

               

1,030                  

 

69.6%

 

Adjusted EBITDA

4,829               

 

(4,149)            

 

 

 

Marketplaces

18,240             

 

6,321               

 

 

 

 

Singapore

11,441             

 

6,709               

 

 

 

 

Vietnam

722               

 

655               

 

 

 

 

Malaysia

3,429               

 

(2,026)            

 

 

 

 

Other Asia

2,648               

 

983            

 

 

 

Fintech and data services

(1,981)            

 

          (1,546)

 

 

 

Corporate*

(11,430)            

 

(8,924)            

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Adjusted EBITDA Margin (%)

12.0%

 

-12.1%

 

 

 

 

Marketplaces

47.6%

 

19.0%

 

 

 

 

Singapore

60.8%

 

41.0%

 

 

 

 

Vietnam

12.3%

 

10.4%

 

 

 

 

Malaysia

45.5%

 

-34.4%

 

 

 

 

Other Asia

43.1%

 

20.8%

 

 

 

Fintech and data services

-113.4%

 

-150.1%

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

For the Twelve Months Ended December 31

 

 

 

2022

 

2021

 

YoY Growth

 

 

 

(S$ in thousands except percentages)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Revenue

135,925

 

100,711

 

35.0%

 

Marketplaces

130,861

 

97,334

 

34.4%

 

 

Singapore

69,241

 

55,891

 

23.9%

 

 

Vietnam

24,040

 

18,767

 

28.1%

 

 

Malaysia

25,388

 

14,315

 

77.4%

 

 

Other Asia

12,192

 

8,361

 

45.8%

 

Fintech and data services

5,064

 

3,377

 

50.0%

 

Adjusted EBITDA

14,466

 

(10,372)

 

 

 

Marketplaces

63,045

 

23,746

 

 

 

 

Singapore

47,626

 

33,355

 

 

 

 

Vietnam

5,470

 

2,063

 

 

 

 

Malaysia

10,208

 

(10,440)

 

 

 

 

Other Asia

(259)

 

(1,232)

 

 

 

Fintech and data services

(7,385)

 

(4,634)

 

 

 

Corporate*

(41,194)

 

(29,484)

 

 

 

Adjusted EBITDA Margin (%)

10.6%

 

-10.3%

 

 

Marketplaces

48.2%

 

24.4%

 

 

 

 

Singapore

68.8%

 

59.7%

 

 

 

 

Vietnam

22.8%

 

11.0%

 

 

 

 

Malaysia

40.2%

 

-72.9%

 

 

 

 

Other Asia

-2.1%

 

-14.7%

 

 

 

Fintech and data services

-145.8%

 

-137.2%

 

 

 

                  

*Corporate consists of headquarters costs, which are not allocated to the segments. Headquarters costs are costs of PropertyGuru’s personnel that are based predominantly in its Singapore headquarters and certain key personnel in Malaysia and Thailand, and that service PropertyGuru’s group as a whole, consisting of its executive officers and its group marketing, technology, product, human resources, finance and operations teams, as well as platform IT costs (hosting, licensing, domain fees), workplace facilities costs, corporate public relations retainer costs and professional fees such as audit, legal and consultant fees. Certain elements of marketing expenses previously allocated to Corporate in the first quarter 2022 have since been moved to business segments in line with changes to internal reporting lines.

 Strong Category Leadership Drives Long-Term Growth Opportunities

As of December 31, 2022, PropertyGuru continued its Engagement Market Share[5] leadership in Singapore, Vietnam, Malaysia, and Thailand.

 Singapore: 81 % – 5.2x the closest peer                      Thailand: 58% – 2.5x the closest peer

Vietnam: 75% – 3.1x the closest peer             Indonesia: 22% – 0.3x the closest peer

Malaysia: 93% – 15.2x the closest peer

 Full Year 2023 Outlook

The Company anticipates full year 2023 revenues of between S$160 million and S$170 million and Adjusted EBITDA of between S$11 million and S$15 million. In the near-term, the integration and scaling of the Sendhelper acquisition is expected to negatively impact profitability by S$3 million to S$4 million in 2023. Beginning in the first quarter of 2023, the Company will no longer remove the ongoing cost of being a listed entity when calculating Adjusted EBITDA. For 2023, the Company anticipates that such costs will be between S$11 million to S$12 million. For 2022, such costs were S$11 million, and on this basis the Company’s full year 2022 Adjusted EBITDA would be S$3 million.

The following short-term factors may continue to impact the Company’s operations and warrant a conservative outlook in 2023: actions by the government of Vietnam to rein in the availability of consumer credit, residual political uncertainty in Malaysia, tightened residential policies in Singapore, a lack of clarity in global fiscal policy stemming from rising interest rates, greater inflationary pressures, and global supply chain issues. Longer-term, the Company remains bullish on its growth trajectory, prospects for improving profitability, and the fundamental opportunity that exists in our core markets.

Conference Call and Webcast Details

The Company will host a conference call and webcast on Wednesday, March 1, 2023, at 8:00 a.m. Eastern Standard Time / 9:00 p.m. Singapore Standard Time to discuss the Company’s financial results and outlook. The PropertyGuru (NYSE: PGRU) Q4 2022 Earnings call can be accessed by registering at:

https://propertyguru.zoom.us/webinar/register/WN_KYdeZj7TQzW-8UifD2sWAQ

An archived version will be available on the Company’s Investor Relations website after the call at https://investors.propertygurugroup.com/news-and-events/events-and-presentations/default.aspx

[1] Based on SimilarWeb data between July 2022 and December 2022.

[2] Included in the S$10 million of adjustments between net loss and Adjusted EBITDA in the fourth quarter of 2022 was a S$5 million depreciation and amortization expense.

[3] Included in the S$23 million of adjustments between net loss and Adjusted EBITDA in the fourth quarter of 2021 were a S$5 million depreciation and amortization expense, a S$7 million share grant and option expense, and S$7 million in business acquisition transaction and integration costs.

4 The full year ended December 31, 2022 includes results of the iProperty Malaysia and thinkofliving businesses which were acquired on August 3, 2021

[5] Based on SimilarWeb data between July 2022 and December 2022.