Demand for homes picked up after elections as property seekers remain confident of long term prospects

พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ชี้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นหลังการเลือกตั้งทั่วไปสิ้นสุดลง ในขณะที่ผู้ซื้อยังมีความมั่นใจในระยะยาวต่อตลาดโดยรวม

Demand for homes picked up after elections as property seekers remain confident of long term prospects

Elections invariably usher in a climate of economic uncertainty, as the fiscal and regulatory policies of the incoming administration largely hinge on party ideologies. These policies could significantly impact tax rates for both individuals and corporations, as well as affect public programs. 

A study conducted by Professor Canes-Wrone from Princeton University and Park Jee-Kwang in 2014 indicated a downturn in housing transactions in the United States due to the policy uncertainty engendered by elections. The extent of this uncertainty, however, was dependent on the competitiveness of the race and the variance in policy agendas.

We observe a similar trend in Thailand as well during the recent election. We calculated an index based on daily visitor views on listings, employing a 30-day moving average to temper the time series. The base date was January 1, 2022. Post the dissolution of the Thai parliament on March 20, 2023, there was a slight upturn in views, which subsequently maintained a steady state.

Views for landed residential properties followed a more consistent trend, gradually tapering off until the elections drew nearer, when we noticed a slight increase in May 2023. 

“It appears that property seekers, especially those considering high-value investments, generally adopt a “wait-and-see” stance during elections, pending more lucidity on prospective policy directions. Further, a subdued global economy likely augments this cautious attitude, resulting in diminished demand.” noted Dr.Lee Nai Jia, Head of Real Estate Intelligence, Data and Software Solutions, PropertyGuru Group

Figure 1: Index for number of views of residential property in Bangkok before and after election  

Elections invariably usher in a climate of economic uncertainty, as the fiscal and regulatory policies of the incoming administration largely hinge on party ideologies. These policies could significantly impact tax rates for both individuals and corporations, as well as affect public programs. A study conducted by Professor Canes-Wrone from Princeton University and Park Jee-Kwang in 2014 indicated a downturn in housing transactions in the United States due to the policy uncertainty engendered by elections. The extent of this uncertainty, however, was dependent on the competitiveness of the race and the variance in policy agendas. We observe a similar trend in Thailand as well during the recent election. We calculated an index based on daily visitor views on listings, employing a 30-day moving average to temper the time series. The base date was January 1, 2022. Post the dissolution of the Thai parliament on March 20, 2023, there was a slight upturn in views, which subsequently maintained a steady state. Views for landed residential properties followed a more consistent trend, gradually tapering off until the elections drew nearer, when we noticed a slight increase in May 2023. “It appears that property seekers, especially those considering high-value investments, generally adopt a "wait-and-see" stance during elections, pending more lucidity on prospective policy directions. Further, a subdued global economy likely augments this cautious attitude, resulting in diminished demand.” noted Dr.Lee Nai Jia, Head of Real Estate Intelligence, Data and Software Solutions, PropertyGuru Group. Figure 1: Index for number of views of residential property in Bangkok before and after election
Source: DataSense by PropertyGuru for Business

Intriguingly, a similar trend was observed in Kuala Lumpur, Malaysia, albeit potentially exacerbated by the surge in travel during December.

Figure 2: Index for number of views of non-landed residential property in Kuala Lumpur before and after election 

Index for number of views of non-landed residential property in Kuala Lumpur before and after election
Source: DataSense by PropertyGuru for Business

Following the announcement of the Thai election results on May 14, 2023, we noted a rebound in property interest, as evidenced by a rise in the Thai index to a new equilibrium level. This resurgence likely signifies increased confidence in the long-term economic outlook, given that property purchases typically have a longer investment horizon than equity markets.

“Nevertheless, signs of demand easing were observed towards the end of June, possibly due to uncertainties surrounding the election of the Prime Minister by the Thai Senate and House of Representatives. We expect the market to bounce back once the Prime Minister’s appointment is finalized, and then macroeconomic trends are likely to regain dominance in shaping market behavior.”, noted Dr.Lee.

พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ชี้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นหลังการเลือกตั้งทั่วไปสิ้นสุดลง ในขณะที่ผู้ซื้อยังมีความมั่นใจในระยะยาวต่อตลาดโดยรวม

พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ชี้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นหลังการเลือกตั้งทั่วไปสิ้นสุดลง ในขณะที่ผู้ซื้อยังมีความมั่นใจในระยะยาวต่อตลาดโดยรวม

พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ปชี้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นหลังการเลือกตั้งทั่วไปสิ้นสุดลง ในขณะที่ผู้ซื้อยังมีความมั่นใจในระยะยาวต่อตลาดโดยรวม

โดยทั่วไปการเลือกตั้งส่วนใหญ่มักจะนำไปสู่บรรยากาศของความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างหนีไม่พ้น เนื่องจากนโยบายการเงิน และกฎระเบียบต่าง ๆ มักจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแนวคิดหรือนโยบายของพรรคการเมืองที่จะมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งนโยบายเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราภาษี ทั้งภาษีส่วนบุคคลและนิติบุคคลอย่างชัดเจน รวมทั้งกระทบต่อนโยบายของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ 

ตัวอย่างจากผลการศึกษา[1]โดย ศาสตราจารย์ เคนส์-รอน จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และ นางสาวปาร์ค จี-กวาง ในปี พ.ศ. 2557 พบว่า การซื้อขายที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกาลดลง เนื่องจากความไม่แน่นอนของนโยบายอันเกิดจากการเลือกตั้งทั่วไป อย่างไรก็ดี ความผันผวนจะมีความยืดเยื้อต่อไปนานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับความเข้มข้นในการแข่งขัน และความหลากหลายของนโยบายของแต่ละพรรคที่ร่วมลงสมัครนั่นเอง

ดร.ลี ไนเจีย หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ของหน่วยธุรกิจดาต้า แอนด์ ซอฟต์แวร์ โซลูชั่น (DSS) ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มของการซื้อบ้านของผู้บริโภคไทยในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมานี้ว่า “เราสังเกตเห็นแนวโน้มที่คล้ายคลึงกันในเมืองไทยในช่วงหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลังจากที่เราได้คำนวณตัวเลขดัชนี ซึ่งคิดจากยอดผู้เข้าชมประกาศบนเว็บไซต์ DDproperty.com เป็นรายวัน โดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ในช่วง 30 วันเป็นตัวควบคุมข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันของช่วงเวลาดังกล่าว และนับวันเริ่มต้น (Base Date) จากวันที่ 1 มกราคม 2565 อย่างไรก็ดี ภายหลังการประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 กลับเห็นสัญญาณของยอดเข้าชมประกาศบนเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้น และยังคงอยู่ในระดับที่ทรงตัวในเวลาต่อมา

จากฐานข้อมูลของ ดาต้าเซนส์ โดยพร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส (DataSense by PropertyGuru for Business) พบว่ายอดเข้าชมที่อยู่อาศัยแนวราบมีแนวโน้มค่อนข้างทรงตัวกว่าอสังหาริมทรัพย์รูปแบบอื่น โดยค่อย ๆ ลดลงเมื่อใกล้วันเลือกตั้ง และกลับมามีแนวโน้มการเข้าชมที่เพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 

ดูเหมือนว่าผู้ที่กำลังหาบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่มีกำลังซื้อสูงหรือคิดจะลงทุนในตลาดบน จะเลือก ‘รอดูสถานการณ์’ ในช่วงเลือกตั้ง มากกว่าที่จะตัดสินใจซื้อหรือลงทุนทันที เนื่องจากต้องการดูความชัดเจนของทิศทางนโยบายของรัฐบาลใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว ยิ่งทำให้ผู้ซื้อเพิ่มความระมัดระวังในการตัดสินใจมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการซื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด” ดร.ลี กล่าว 

ภาพที่ 1: ดัชนียอดเข้าชมประกาศที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งทั่วไป 

โดยทั่วไปการเลือกตั้งส่วนใหญ่มักจะนำไปสู่บรรยากาศของความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างหนีไม่พ้น เนื่องจากนโยบายการเงิน และกฎระเบียบต่าง ๆ มักจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแนวคิดหรือนโยบายของพรรคการเมืองที่จะมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งนโยบายเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราภาษี ทั้งภาษีส่วนบุคคลและนิติบุคคลอย่างชัดเจน รวมทั้งกระทบต่อนโยบายของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ตัวอย่างจากผลการศึกษา โดย ศาสตราจารย์ เคนส์-รอน จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และ นางสาวปาร์ค จี-กวาง ในปี พ.ศ. 2557 พบว่า การซื้อขายที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกาลดลง เนื่องจากความไม่แน่นอนของนโยบายอันเกิดจากการเลือกตั้งทั่วไป อย่างไรก็ดี ความผันผวนจะมีความยืดเยื้อต่อไปนานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับความเข้มข้นในการแข่งขัน และความหลากหลายของนโยบายของแต่ละพรรคที่ร่วมลงสมัครนั่นเอง ดร.ลี ไนเจีย หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ของหน่วยธุรกิจดาต้า แอนด์ ซอฟต์แวร์ โซลูชั่น (DSS) ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มของการซื้อบ้านของผู้บริโภคไทยในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมานี้ว่า “เราสังเกตเห็นแนวโน้มที่คล้ายคลึงกันในเมืองไทยในช่วงหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลังจากที่เราได้คำนวณตัวเลขดัชนี ซึ่งคิดจากยอดผู้เข้าชมประกาศบนเว็บไซต์ DDproperty.com เป็นรายวัน โดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ในช่วง 30 วันเป็นตัวควบคุมข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันของช่วงเวลาดังกล่าว และนับวันเริ่มต้น (Base Date) จากวันที่ 1 มกราคม 2565 อย่างไรก็ดี ภายหลังการประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 กลับเห็นสัญญาณของยอดเข้าชมประกาศบนเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้น และยังคงอยู่ในระดับที่ทรงตัวในเวลาต่อมา จากฐานข้อมูลของ ดาต้าเซนส์ โดยพร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส (DataSense by PropertyGuru for Business) พบว่ายอดเข้าชมที่อยู่อาศัยแนวราบมีแนวโน้มค่อนข้างทรงตัวกว่าอสังหาริมทรัพย์รูปแบบอื่น โดยค่อย ๆ ลดลงเมื่อใกล้วันเลือกตั้ง และกลับมามีแนวโน้มการเข้าชมที่เพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ดูเหมือนว่าผู้ที่กำลังหาบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่มีกำลังซื้อสูงหรือคิดจะลงทุนในตลาดบน จะเลือก ‘รอดูสถานการณ์’ ในช่วงเลือกตั้ง มากกว่าที่จะตัดสินใจซื้อหรือลงทุนทันที เนื่องจากต้องการดูความชัดเจนของทิศทางนโยบายของรัฐบาลใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว ยิ่งทำให้ผู้ซื้อเพิ่มความระมัดระวังในการตัดสินใจมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการซื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด” ดร.ลี กล่าว ภาพที่ 1: ดัชนียอดเข้าชมประกาศที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งทั่วไป
แหล่งที่มา: DataSense by PropertyGuru for Business

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจว่าแนวโน้มดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ถึงแม้ว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่จะกระเตื้องขึ้นเป็นอย่างดีในช่วงเดือนธันวาคม 2565 ก็ตาม

ภาพที่ 2: ดัชนียอดเข้าชมประกาศที่อยู่อาศัยแนวสูง (คอนโดมิเนียม และอะพาร์ตเมนต์) ในกัวลาลัมเปอร์ ในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งทั่วไป

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจว่าแนวโน้มดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ถึงแม้ว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่จะกระเตื้องขึ้นเป็นอย่างดีในช่วงเดือนธันวาคม 2565 ก็ตาม ภาพที่ 2: ดัชนียอดเข้าชมประกาศที่อยู่อาศัยแนวสูง (คอนโดมิเนียม และอะพาร์ตเมนต์) ในกัวลาลัมเปอร์ ในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งทั่วไป
แหล่งที่มา: DataSense by PropertyGuru for Business

หลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งทั่วไปของไทยเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ความสนใจในอสังหาริมทรัพย์ได้กลับมาอีกครั้ง โดยมีหลักฐานชี้ชัดว่าดัชนียอดเข้าชมประกาศที่อยู่อาศัยของไทยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเข้าสู่ระดับสมดุลใหม่ ซึ่งการฟื้นตัวของดีมานด์ในลักษณะนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจของผู้บริโภคที่มีต่อภาพรวมเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจากการซื้ออสังหาฯ นั้นถือเป็นการลงทุนระยะยาวกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น

“อย่างไรก็ดี เรายังคงเห็นสัญญาณหลาย ๆ อย่างที่สะท้อนถึงดีมานด์ความสนใจในการค้นหาอสังหาฯ ที่ค่อนข้างลดลงจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการที่ลดลงนี้คาดว่าน่าจะมาจาก ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นหลังจากการเลือกตั้ง ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เรายังต้องรอลุ้นว่านายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยจะเป็นใคร ทั้งนี้ เราคาดว่าตลาดอสังหาฯ จะกลับมาคึกคักอีกครั้งหลังจากผลการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ข้อสรุปออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลังจากนั้นคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคจะกลับมาเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดต่อไป” ดร.ลี กล่าวสรุป

ส่องกำลังซื้อต่างชาติกับการฟื้นตัวตลาดอสังหาฯ เมืองท่องเที่ยวในช่วงครึ่งแรกปี 66

ส่องกำลังซื้อต่างชาติกับการฟื้นตัวตลาดอสังหาฯ เมืองท่องเที่ยวในช่วงครึ่งแรกปี 66

ส่องกำลังซื้อต่างชาติกับการฟื้นตัวตลาดอสังหาฯ เมืองท่องเที่ยวในช่วงครึ่งแรกปี 66

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับปัจจัยบวกทั้งจากกำลังซื้อต่างชาติที่เริ่มกลับมา เห็นได้ชัดหลังจากจีนประกาศเปิดประเทศเมื่อต้นปี ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจต่าง ๆ มีแนวโน้มฟื้นตัวและกลับมาเติบโตอีกครั้ง และภาวะเงินเฟ้อที่ไม่ร้อนแรงเหมือนในปีที่ผ่านมา แต่กำลังซื้อผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ยังไม่กลับมา มีทั้งปัจจัยท้าทายหลัก ๆ จากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และความชัดเจนทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง ทำให้กำลังซื้อต่างชาติกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้

กำลังซื้อชาวต่างชาติกับบทบาทในการขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ไทย

ข้อมูลล่าสุดจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2566 (1 มกราคม – 31 มีนาคม) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยมากกว่า 6 ล้านคน สร้างรายได้ในประเทศมากกว่า 250,000 ล้านบาท โดยคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนมากเป็นอันดับ 1 ไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน และมีแนวโน้มจะสูงถึง 7-8 ล้านคน 

ล่าสุด กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ยังได้ออกกฎกระทรวงซึ่งเอื้อต่อการนำที่อยู่อาศัยมาให้บริการในรูปแบบของโรงแรมตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อหารายได้ โดยได้รับการผ่อนผัน ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับที่ว่างของอาคาร, ช่องทางเดินในอาคาร, ความกว้างของบันได และระยะถอยร่นแนวอาคาร ฯลฯ แต่ทั้งนี้ อาคารที่จะเปลี่ยนการใช้ดังกล่าวต้องมีความมั่นคงแข็งแรงและมีระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยว

ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะขยายตัว 3.6% โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 น่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 29.5 ล้านคน และจะมีรายได้จากกลุ่มนี้ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้ รวมไปถึงการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานสถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติทั่วประเทศในไตรมาส 1 ปี 2566 พบว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติทั่วประเทศขยายตัว 79.2% ส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 67.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นทิศทางการฟื้นตัวที่ดีในตลาดอสังหาฯ หลังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเปิดประเทศ ทำให้ชาวต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาทำธุรกรรมและโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในไทยได้ดังเดิม

ฟื้นหรือฟุบ? เกาะติดความเคลื่อนไหวอสังหาฯ หัวเมืองท่องเที่ยวในช่วงครึ่งแรกปี 66

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส คาดว่าในปี 2566 สัดส่วนชาวต่างชาติที่ซื้อห้องชุดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลอาจจะกลับมาอยู่ที่ระดับ 15% ของมูลค่าทั้งหมด หลังจากที่ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2562 มีมูลค่าประมาณ 14.6% ดังนั้น กำลังซื้อชาวต่างชาติจึงอาจไม่ได้มีบทบาทสำคัญต่อการฟื้นตัวของตลาดอสังหาฯ ไทยอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ 

นอกจากนี้ ผู้พัฒนาอสังหาฯ ยังคาดหวังว่ารัฐบาลใหม่จะออกมาตรการกระตุ้นตลาดที่เอื้อให้ชาวต่างชาติซื้อที่อยู่อาศัยในไทยอย่างถูกกฎหมายให้มีมากขึ้น โดยไม่ผ่านตัวแทนหรือนอมินี (Nominee) ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลเชิงลึกจากผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ www.DDproperty.com และแอปพลิเคชัน DDproperty ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 (เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566) อัปเดตเทรนด์ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในหัวเมืองท่องเที่ยวหลักของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ภูเก็ต, ชลบุรี และนครราชสีมา สะท้อนให้เห็นทิศทางการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ไทย หลังกำลังซื้อต่างชาติกลับมาอีกครั้งหลังจากเปิดประเทศเต็มรูปแบบ

ส่องกำลังซื้อต่างชาติกับการฟื้นตัวตลาดอสังหาฯ เมืองท่องเที่ยวในช่วงครึ่งแรกปี 66

กรุงเทพฯ

ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นถึง 13% เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) ขณะที่ภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 ยังมีทิศทางเติบโตเป็นบวก โดยเพิ่มขึ้น 3% จากเดือนมกราคม 

ทั้งนี้ เมื่อแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า คอนโดมิเนียมมีทิศทางการเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น 6% จากเดือนมกราคม ขณะที่บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ยังทรงตัว

เมื่อพิจารณาตามระดับราคาที่อยู่อาศัย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความต้องการซื้อคอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคา 1-3 ล้านบาทมากที่สุด (เพิ่มขึ้น 10% และ 4% จากเดือนมกราคม ตามลำดับ) ซึ่งสอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มองหาที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้ ขณะที่บ้านเดี่ยวระดับราคามากกว่า 10 ล้านบาทจะได้รับความนิยมมากที่สุด (ลดลง 3% จากเดือนมกราคม)

ในส่วนทำเลยอดนิยมที่มีความต้องการซื้อมากที่สุดในกรุงเทพฯ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 หากเป็นคอนโดฯ จะอยู่ในแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง ส่วนทำเลยอดนิยมที่ผู้ซื้อบ้านเดี่ยวให้ความสนใจจะอยู่ในแขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง ขณะที่แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวงถือเป็นทำเลที่มีความต้องการซื้อทาวน์เฮ้าส์สูงที่สุด 

ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่

เชียงใหม่

อีกหนึ่งจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นถึง 14% MoM แต่ลดลงถึง 28% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม เนื่องจากปัจจัยลบที่มีอย่างต่อเนื่องของปัญหาฝุ่นควัน รวมถึงตลาดท่องเที่ยวที่เริ่มชะลอตัวลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในระยะสั้นไม่เติบโตเท่าที่ควร และปรับลดลงในทุกประเภทที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวราบ โดยความต้องการซื้อบ้านเดี่ยวและคอนโดฯ ปรับลดลงมากที่สุดในสัดส่วนเท่ากันที่ 35% จากเดือนมกราคม ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ (ลดลง 25% จากเดือนมกราคม)

เมื่อพิจารณาตามระดับราคา พบว่า ระดับราคาที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในทุกประเภทที่อยู่อาศัยทั้งคอนโดฯ ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว คือ 1-3 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 6%, ลดลง 28% และลดลง 45% จากเดือนมกราคม ตามลำดับ) 

ทำเลยอดนิยมที่มีความต้องการซื้อมากที่สุดในเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะอยู่ในตัวเมือง โดยทำเลที่ผู้บริโภคสนใจซื้อคอนโดฯ มากที่สุด คือตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ส่วนทำเลฝั่งทาวน์เฮ้าส์ที่ได้รับความนิยมจะอยู่ในตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ ขณะที่ทำเลยอดนิยมของบ้านเดี่ยวจะอยู่ในตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง

ตลาดที่อยู่อาศัยของภูเก็ต

ภูเก็ต

ตลาดที่อยู่อาศัยของภูเก็ตในเดือนพฤษภาคมยังคงทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า เมื่อพิจารณาภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 พบว่า ลดลง 13% จากเดือนมกราคม 

โดยคอนโดฯ เป็นที่อยู่อาศัยประเภทเดียวที่มีการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา มีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น 10% สวนทางกับที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวที่ลดลงถึง 26% ส่วนทาวน์เฮ้าส์ลดลง 15% จากเดือนมกราคม

เมื่อพิจารณาตามระดับราคาที่อยู่อาศัยที่ได้รับความต้องการซื้อมากที่สุด พบว่า อยู่ในระดับราคา 1-3 ล้านบาท ในทุกประเภทที่อยู่อาศัย ทั้งคอนโดฯ ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว (เพิ่มขึ้น 7%, ลดลง 4% และลดลงถึง 62% จากเดือนมกราคม ตามลำดับ) 

ขณะที่ทำเลที่มีความต้องการซื้อมากที่สุด พบว่าความนิยมกระจายไปในพื้นที่อำเภอเมืองภูเก็ตเป็นหลัก โดยทำเลที่ได้รับความนิยมในการซื้อคอนโดฯ อยู่ที่ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต ด้านบ้านเดี่ยวจะได้รับความนิยมในเขตตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต ส่วนทาวน์เฮ้าส์มีคนสนใจซื้อในตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ตมากที่สุด

ตลาดอสังหาฯ ในชลบุรี

ชลบุรี 

ตลาดอสังหาฯ ในชลบุรีมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ประกอบกับมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมไปถึงการพัฒนาระบบคมนาคมและนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงทำให้ชลบุรีโดดเด่นทั้งด้านท่องเที่ยวและด้านอุตสาหกรรม ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในเดือนพฤษภาคมเติบโต 9% MoM 

นอกจากนี้ ภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังเพิ่มขึ้น 3% จากเดือนมกราคม โดยทาวน์เฮ้าส์ได้รับความสนใจ มีการความต้องการซื้อเพิ่มถึง 21% ตามมาด้วยคอนโดฯ เพิ่มขึ้น 9% โดยมีเพียงบ้านเดี่ยวเท่านั้นที่ความต้องการซื้อลดลง 4% 

เมื่อพิจารณาตามระดับราคาที่อยู่อาศัยที่มีความต้องการซื้อมากที่สุด พบว่า อยู่ในระดับราคา 1-3 ล้านบาท ในทุกประเภทที่อยู่อาศัย ทั้งคอนโดฯ ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว (เพิ่มขึ้น 11%, เพิ่มขึ้น 20% และลดลง 6% จากเดือนมกราคม ตามลำดับ) 

สำหรับทำเลยอดนิยมในชลบุรีนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่อำเภอศรีราชา และอำเภอบางละมุง ที่เป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของ EEC จึงทำให้มีความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยบ้านเดี่ยวจะได้รับความต้องการซื้อมากที่สุดในตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา ทาวน์เฮ้าส์จะเป็นที่นิยมในตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา ขณะที่ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุงจะเป็นทำเลยอดนิยมในการซื้อคอนโดฯ

ตลาดอสังหาฯ ในนครราชสีมา

นครราชสีมา

นครราชสีมามีศักยภาพในการเป็นเมืองศูนย์กลางของระบบการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ที่สำคัญในอนาคต โดยมีโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา หรือมอเตอร์เวย์ (M6) รวมทั้งแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ และท่าเรือบกในอนาคต 

แม้ว่าจะมีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองยังต้องพึ่งพาความชัดเจนจากความคืบหน้าของโครงการคมนาคมต่าง ๆ ด้วย ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมายังทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า 

ขณะที่ภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 นั้นลดลง 27% จากเดือนมกราคม และปรับตัวลดลงในทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยทาวน์เฮ้าส์ลดลงมากที่สุดถึง 55% จากเดือนมกราคม ตามมาด้วยบ้านเดี่ยว และคอนโดฯ (ลดลง 28% และลดลง 11% จากเดือนมกราคม ตามลำดับ)

โดยระดับราคาที่อยู่อาศัยที่ได้รับความสนใจมากที่สุด พบว่า คอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ อยู่ในระดับราคา 1-3 ล้านบาท (ลดลง 19% และลดลง 46% จากเดือนมกราคม ตามลำดับ) สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อผู้บริโภคที่ส่วนใหญ่ต้องการที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้ มากกว่าเน้นความหรูหราแบบบ้านพักตากอากาศ ส่วนบ้านเดี่ยวอยู่ในระดับราคามากกว่า 10 ล้านบาท ลดลง 45% จากเดือนมกราคม 

ด้านทำเลที่อยู่อาศัยยอดนิยมนั้น อำเภอปากช่องยังคงเป็นทำเลยอดนิยมที่ผู้คนให้ความสนใจค้นหาที่อยู่อาศัยมากที่สุด โดยทำเลที่มีความต้องการซื้อคอนโดฯ และบ้านเดี่ยวมากที่สุดอยู่ในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง ซึ่งเป็นเส้นทางขึ้นไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์จะได้รับความนิยมซื้อในพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา 

ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ความหวังปลดล็อกความเสมอภาค ในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคู่รัก LGBTQIAN+

ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ความหวังปลดล็อกความเสมอภาค ในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคู่รัก LGBTQIAN+

ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ความหวังปลดล็อกความเสมอภาค ในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคู่รัก LGBTQIAN+

กลุ่ม LGBTQIAN+ (หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ) เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย อีกทั้งแนวโน้มการขยายตัวของประชากรกลุ่มนี้ จากการวิเคราะห์ของ GAY TIMES (โดยใช้ข้อมูลของ IPSOS และ UN Population ร่วมกัน) คาดว่าประชากร LGBTQIAN+ จะมีจำนวนถึง 1 พันล้านคนทั่วโลกภายในปี 2593 ขณะที่ข้อมูลจาก LGBT Capital ณ สิ้นปี 2562 ระบุว่าผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIAN+ มีอำนาจการใช้จ่ายรวมกันถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตามองอย่างมาก 

นอกจากนี้ในด้านความเท่าเทียม อ้างอิงจาก รายงาน “Brand Purpose in Asia” ของ BBDO Asia เผยมุมมองที่น่าสนใจว่าผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ให้การยอมรับเรื่องของ LGBTQIAN+ อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เห็นได้จากการที่องค์กรภาคเอกชนมากมายได้ขับเคลื่อนนโยบายที่ตระหนักถึงกลุ่มพนักงานที่มีความหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สังคมยังคงรอความชัดเจนในประเด็นการรับรองความเท่าเทียมทางเพศตามกฎหมาย

DDproperty-LGBTQIAN-00

ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เปิดโอกาสให้คู่สมรส LGBTQIAN+ เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้อย่างไร 

ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับ พ.ศ. … หรือ ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมเป็นร่างกฎหมายที่เปิดโอกาสให้บุคคลเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ตามกฎหมาย พร้อมมีสิทธิในการสมรสไม่ต่างจากคู่สมรสชายหญิง โดยมีเนื้อหาที่ตอบโจทย์มากกว่าร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ทั้งในเชิงหลักการและในเชิงปฏิบัติ อย่างไรก็ดี หลังจากคณะรัฐมนตรีและที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมในวาระที่ 1 ในเดือนมิถุนายน 2565 ปัจจุบันยังรอพิจารณาวาระที่ 2-3 ต่อไป

นอกจากหลักการของ ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นแล้ว หากมีการบังคับใช้เป็นกฎหมายในอนาคต จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยในหลากหลายบริบท รวมทั้งในตลาดอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนจับตาความน่าสนใจของร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เมื่อผ่านเป็นกฎหมายแล้วจะช่วยคู่สมรส LGBTQIAN+ ให้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยร่วมกันได้อย่างไรบ้าง 

    • เปิดโอกาสในการกู้ซื้ออสังหาฯ ร่วมกัน แม้ปัจจุบันบางธนาคารจะเปิดโอกาสให้คู่รักชาว LGBTQIAN+ สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้เช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศ หรือมีแคมเปญรองรับคู่รักกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะแล้ว อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะทลายกรอบทางเพศลง เปิดทางให้คู่รักทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้และมีสถานะทางกฎหมายเป็นคู่สมรส ซึ่งจะสามารถยื่นกู้ร่วมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในนามคู่สมรส และมีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยร่วมกันเช่นเดียวกับคู่สมรสชาย-หญิง 
    • มีสิทธิ์การจัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะช่วยให้คู่สมรส LGBTQIAN+ มีสิทธิในการบริหารจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือโดยระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ในกรณีที่ผู้บริโภคมีการซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมตั้งแต่ตอนยังโสดจะถือว่าที่อยู่อาศัยนั้นเป็นสินส่วนตัว หากมีการจดทะเบียนสมรสในภายหลัง และต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ดังนี้
      • ค่าใช้จ่ายในการให้ 0.5% ของราคาประเมิน
      • ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ผู้ให้เปรียบเสมือนเป็นผู้ขายจึงต้องนำเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะในส่วนที่ให้คู่สมรส
      • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน โดยต้องครอบครองมากกว่า 5 ปีขึ้นไป หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หากไม่ตรงตามเกณฑ์นี้ จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ของราคาซื้อขายแทน

ในกรณีซื้อบ้าน/คอนโดฯ หลังจดทะเบียนสมรสแล้วจะถือว่าเป็นสินสมรส หากต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้วเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคน จะเสียค่าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 75 บาท หรือหากต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนจากการกู้เดี่ยวมาเป็นการกู้ร่วมนั้น ธนาคารจะนำรายได้และภาระหนี้ของคู่สมรสที่กู้ร่วมมาพิจารณาด้วยอีกครั้ง 

    • สิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรส พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท โดยทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีมี 5 ประเภท ได้แก่ 1. อสังหาริมทรัพย์ 2. หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันซึ่งอยู่ในประเทศไทย 4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน และ 5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา 

อย่างไรก็ดี หากผู้ที่ได้รับมรดกเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องของเจ้าของมรดกนั้น ๆ คู่สมรสจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดก ซึ่งร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะทำให้คู่สมรส LGBTQIAN+ ได้รับสิทธินี้เช่นกัน หรือหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ คู่สมรส LGBTQIAN+ ที่ยังมีชีวิตจะถือเป็นทายาทโดยธรรมอันมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องเสียภาษีมรดกเช่นกัน 

ส่องเทรนด์ที่อยู่อาศัยน่าจับตามองของชาว LGBTQIAN+

เนื่องในเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) ชวนมาอัปเดตเทรนด์ที่อยู่อาศัยมาแรง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์วิถีชาว LGBTQIAN+ ที่น่าจับตามองในยุคนี้+

    • Pet Humanization รักสัตว์เลี้ยงเหมือนลูก ผลสำรวจตลาดธุรกิจสัตว์เลี้ยงในไทยของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยว่า 49% ของกลุ่มตัวอย่างนิยมเลี้ยงสัตว์เป็นลูก (Pet Parent) มากที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายในการดูแลเสมือนลูกเฉลี่ยอยู่ที่ 14,200 บาท/ตัว/ปี นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่า ตลาดสัตว์เลี้ยงจะมีมูลค่าสูงถึง 66,748 ล้านบาทในปี 2569 เติบโตเฉลี่ยปีละ 8.4% ซึ่งเป็นปัจจัยบวกให้กับธุรกิจบริการดูแลสัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกัน

สอดคล้องกับเทรนด์การใช้ชีวิตปัจจุบันที่คนไทยมีแนวโน้มครองตัวเป็นโสดมากขึ้น หรือแต่งงานแต่ไม่มีบุตร โดยเฉพาะในกลุ่ม LGBTQIAN+ ที่มักให้ความสนใจเลี้ยงสัตวเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนยามเหงา หรือดูแลอย่างดีเหมือนเป็นลูก ส่งผลให้มองหาโครงการที่อยู่อาศัยที่มาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แบบนี้มากขึ้น โดยบ้านหรือคอนโดฯ ไม่เพียงแต่ต้องอนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ แต่ควรมาพร้อมสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับการดำเนินชีวิตของสัตว์เลี้ยงอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งด้วยวัสดุหรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทนรอยขีดข่วน มีพื้นที่ออกกำลังกายหรือสระว่ายน้ำของสัตว์เลี้ยง ก่อสร้างด้วยผนังห้องที่ช่วยเก็บเสียง มีเครื่องฟอกอากาศกำจัดเชื้อโรค รวมไปถึงการตั้งอยู่ใกล้คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์

    • พื้นที่ออกกำลังกายครบครัน เสริมสุขภาพกาย-ใจ อีกปัจจัยที่กลุ่ม LGBTQIAN+ ให้ความสำคัญคือการดูแลสุขภาพ โครงการที่อยู่อาศัยในฝันจึงต้องมาพร้อมพื้นที่ส่วนกลางรองรับการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กลางแจ้ง เช่น ลู่วิ่ง เลนปั่นจักรยาน สระว่ายน้ำ รวมทั้งห้องออกกำลังกายส่วนกลาง (Fitness Center) ที่มาพร้อมเครื่องออกกำลังกายที่ทันสมัย มีจำนวนอุปกรณ์เพียงพอรองรับการใช้งานได้อย่างครบครัน 

นอกจากนี้ การมีสระว่ายน้ำวารีบำบัด หรือมีเครื่องออกกำลังกายในน้ำยังถือเป็นเทรนด์การดูแลสุขภาพที่น่าจับตามอง เนื่องจากเป็นอีกทางเลือกในการลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายได้อีกด้วย ตอบโจทย์คนรักสุขภาพทุกเพศทุกวัย ขณะเดียวกัน ภายในพื้นที่ส่วนกลางควรมีสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียวเพียงพอ รองรับการพักผ่อนหย่อนใจ และทำกิจกรรมไลฟ์สไตล์สุขภาพต่าง ๆ สภาพแวดล้อมที่รายล้อมด้วยธรรมชาติจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพใจให้แข็งแรง และผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี 

    • เทรนด์ DINK ดันคู่รักไม่มีลูกมุ่งลงทุน ปัจจุบันเทรนด์ DINK (Double Income No Kid) กำลังได้รับความนิยมในไทย โดยเป็นแนวคิดของคู่รักรุ่นใหม่ที่ต่างทำงานทั้งคู่แต่ยังไม่มีลูก หรือวางแผนไม่มีลูก ซึ่งรวมทั้งคู่รักกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีรายได้สองทาง โดยไม่มีภาระในส่วนค่าเลี้ยงดูบุตร ส่งผลให้มีกำลังซื้อสูงและมีความสามารถในการใช้จ่ายเพื่อตัวเองมากขึ้นตามไปด้วย ขณะเดียวกันผู้บริโภคกลุ่ม DINK ก็มีโอกาสเก็บออมเงินได้มากกว่าคนทั่วไป จึงนิยมวางแผนบริหารการเงินให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ด้วยการนำไปลงทุน ซึ่งการลงทุนอสังหาฯ ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในการสร้างผลตอบแทนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากมีความผันผวนน้อยกว่า และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น ๆ โดยการลงทุนอสังหาฯ ที่น่าสนใจมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
      • การลงทุนแบบเก็งกำไร เช่น การทำกำไรจากการขายใบจองคอนโดฯ เป็นการลงทุนระยะสั้นที่ใช้เงินลงทุนน้อย แต่ได้ผลตอบแทนเร็ว 
      • การลงทุนแบบปล่อยเช่ารายเดือน เหมาะกับนักลงทุนแบบเสือนอนกินที่มีเงินเก็บหรือมีเงินเย็นพร้อมในการลงทุน 
      • การลงทุนในกองทุนอสังหาฯ มีความเสี่ยงต่ำ สามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก แต่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอในระยะยาว 
      • การลงทุนรีโนเวท เป็นการซื้อบ้าน/คอนโดฯ มือสองมาตกแต่งใหม่ให้สวยงามแล้วขายต่อในราคาที่เพิ่มขึ้น

แม้ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะต้องรอการพิจารณาในวาระอื่น ๆ แต่ถือได้ว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะสร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญในสังคมไทยอีกครั้ง ปัจจุบันคู่รัก LGBTQIAN+ ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสามารถศึกษาเงื่อนไขการกู้ร่วมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในแคมเปญต่าง ๆ ของหลายธนาคารที่มีออกมารองรับได้เช่นกัน ทั้งนี้เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข้อมูลข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ในแวดวงอสังหาฯ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกที่อยู่อาศัยในฝัน พร้อมเป็นแหล่งรวมประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยสามารถศึกษาหาข้อมูลทุกเรื่องที่สนใจ เตรียมความพร้อมในทุกด้านก่อนเป็นเจ้าของบ้านได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

จับกระแสอสังหาฯ โต้คลื่นความท้าทาย “ดอกเบี้ยขาขึ้น” สั่นคลอนดีมานด์ผู้ซื้อ – ราคายังลดลง

จับกระแสอสังหาฯ โต้คลื่นความท้าทาย "ดอกเบี้ยขาขึ้น" สั่นคลอนดีมานด์ผู้ซื้อ - ราคายังลดลง

จับกระแสอสังหาฯ โต้คลื่นความท้าทาย "ดอกเบี้ยขาขึ้น" สั่นคลอนดีมานด์ผู้ซื้อ - ราคายังลดลง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯ ช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เติบโตไม่หวือหวา เหตุยังเผชิญปัจจัยท้าทายรอบด้าน แม้ทิศทางเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวแต่กำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่แข็งแรงเพียงพอ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นยังคงเป็นอุปสรรคในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่ผ่านมาลดลง 2% ขณะที่แนวโน้มราคายังไม่ฟื้น ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยปรับลดลงทุกประเภท หลังจากผู้ประกอบการรวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือ ตรึงราคาสินค้าต้นทุนเดิมเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ ด้านตลาดเช่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจหลังผู้บริโภคชะลอแผนการซื้อ ส่งผลดัชนีค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้น 3% แม้ภาพรวมความต้องการเช่าจะลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้น 17% ในรอบปี คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย​ยังเป็นตัวแปรสำคัญ​ในการตัดสินใจซื้อที่อยู่​อาศัยของผู้บริโภคระดับกลางและล่างในปีนี้ หวังความชัดเจนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ จะเป็นตัวช่วยสำคัญพลิกฟื้น​เศรษฐกิจพร้อมกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกช่วยสร้างการเติบโตแก่ตลาดอสังหาฯ ให้กลับมาคึกคัก​อีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ 

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q2 2566 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บนเว็บไซต์ DDproperty เผยภาพรวมดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง 10% จากไตรมาสก่อน (QoQ) หรือลดลง 18% จากปีก่อนหน้า (YoY) โดยมีการปรับลดลงถึง 31% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ (ไตรมาส ปี 2562) สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยยังชะลอตัวต่อเนื่อง  

ทั้งนี้ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวลดลงทุกประเภท ซึ่งเป็นผลจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัวดังเดิม ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือจึงต้องตรึงราคาขายของสินค้าต้นทุนเดิมไว้และจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ที่มีดัชนีราคาทรงตัวจากไตรมาสก่อน ขณะที่ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมลดลงในสัดส่วนเท่ากันที่ 4% QoQ สะท้อนให้เห็นว่าความนิยมของที่อยู่อาศัยแนวราบในปีนี้เริ่มชะลอตัวพอสมควร อย่างไรก็ดี หากเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ พบว่า บ้านเดี่ยวยังมีการเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยถือเป็นที่อยู่อาศัยประเภทเดียวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์ลดลง 5% และคอนโดฯ ลดลงมากที่สุดถึง 20% 

นายวิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป Think of Living และ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) กล่าวว่า “ปัจจัยบวกที่ช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในช่วงครึ่งปีแรกที่หลายฝ่ายจับตามอง คือ การที่จีนเปิดประเทศ ซึ่งส่งผลให้ตลาดท่องเที่ยวและตลาดอสังหาฯ มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย เนื่องจากจีนเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ ไทยมากที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปัจจัยบวกจากกำลังซื้อต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แต่ตลาดอสังหาฯ ยังคงเผชิญความท้าทายจากกำลังซื้อในประเทศเช่นกัน แม้ภาวะเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง แต่ปัจจัยท้าทายสำคัญมาจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกัน ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% ต่อปี และยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ส่งผลให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ทุกประเภทตามไปด้วย กระทบกับผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยและผู้ที่กำลังผ่อนบ้านอยู่อย่างเลี่ยงไม่ได้”  

จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการซื้ออสังหาฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ความสนใจซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวลง  โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ระดับกลางและล่าง ซึ่งต้องพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินในการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยอาจต้องทบทวนความพร้อมทางการเงินและวางแผนรับมือหากต้องผ่อนบ้านในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะมีภาระผ่อนชำระเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ สถาบันการเงินยังมีเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวด ซึ่งจะส่งผลให้โอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในกลุ่ม Real Demand โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ยังคงอ่อนแอจะมีความท้าทายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม โครงการรีเซลหรือตลาดบ้านมือสองซึ่งมีต้นทุนราคาเดิมที่ถูกกว่า จึงอาจกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเวลานี้” นายวิทยา กล่าวเสริม 

จับตาเทรนด์ตลาดเช่าโต หวังแผนกระตุ้นเศรษฐกิจดึงกำลังซื้อฟื้น  

ความท้าทายด้านการเงินและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่กลับมา อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดเช่ามีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะในทำเลแหล่งงานและแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน เห็นได้ชัดจากความต้องการเช่าที่เพิ่มขึ้น 118% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ และอาจกลายเป็นเทรนด์สำหรับคนยุคปัจจุบันที่ต้องการความยืดหยุ่นในการอยู่อาศัยโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ และไม่ต้องการมีภาระหนี้ระยะยาว จึงนับเป็นโอกาสของผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาฯ เพื่อลงทุนปล่อยเช่าเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเป็นหัวใจสำคัญที่ภาคธุรกิจและผู้บริโภคเฝ้ารอ สิ่งที่หลายฝ่ายจับตามองต่อจากนี้ คือ ความชัดเจนของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคให้กลับมาดีดังเดิม ขณะเดียวกันผู้พัฒนาอสังหาฯ และผู้บริโภคต่างคาดหวังนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาฯ ที่จะเข้ามาเพิ่มโอกาสให้คนไทยเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้นในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ให้ฟื้นตัวดีดังเดิมเช่นกัน” นายวิทยา กล่าวสรุป 

เกาะติดทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย หลังดีมานด์ซื้อ-เช่าระยะสั้นชะลอตัว 

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q2 2566 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บนเว็บไซต์ DDproperty เผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดอสังหาฯ ไทยในไตรมาสล่าสุด พร้อมสรุปภาพรวมดัชนีราคา และความต้องการที่อยู่อาศัยที่น่าจับตามองในตลาดซื้อและเช่า รวมทั้งอัปเดตทำเลศักยภาพที่ดัชนีราคามีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ 

      • เขตธนบุรี ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นถึง 8% QoQ (เพิ่มขึ้น 8% YoY) ความน่าสนใจอยู่ที่เป็นทำเลใกล้ย่านธุรกิจ และสามารถเดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีลม
      • ตามมาด้วย เขตสัมพันธวงศ์ ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 8% QoQ (ทรงตัวจากปีก่อนหน้า) ทำเลแหล่งการค้าขนาดใหญ่ ได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง 
      • เขตดินแดง ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 7% QoQ (เพิ่มขึ้น 8% YoY) ทำเลศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) แห่งใหม่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ
      • เขตสายไหม ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 5% QoQ (เพิ่มขึ้น 5% YoY) ทำเลใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
      • เขตประเวศ ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 5% QoQ (เพิ่มขึ้น 2% YoY) ถือเป็นทำเลที่เดินทางสะดวกทั้งจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง

    • ดีมานด์คนซื้อยังไม่ฟื้น อุปทานแนวราบโตไม่แผ่ว ภาพรวมอุปทานหรือจำนวนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงมีสัดส่วนเติบโตต่อเนื่อง โดยบ้านเดี่ยวมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15% และทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนที่ 11% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดในกรุงเทพฯ (เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากันที่ 3% QoQ) ด้านคอนโดฯ แม้จะครองสัดส่วนมากที่สุดในตลาดถึง 74% แต่มีสัดส่วนลดลง 6% QoQ สะท้อนให้เห็นเทรนด์ที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมาอย่างชัดเจน หลังผู้พัฒนาอสังหาฯ ได้มุ่งเน้นไปที่การเปิดตัวโครงการแนบราบอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ขายที่มีสินค้าแนวราบต่างนำสินค้าออกมาขายมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น

      ขณะที่ภาพรวมที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีราคาขายอยู่ที่ 1-3 ล้านบาท ด้วยสัดส่วนถึง 29% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดในกรุงเทพฯ เมื่อพิจารณาตามประเภทอสังหาฯ พบว่า คอนโดฯ (31%) และทาวน์เฮ้าส์ (44%) ส่วนใหญ่มีราคาอยู่ที่ 1-3 ล้านบาท ด้านบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่ (41%) มีราคามากกว่า 15 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านระดับพรีเมียมและบ้านหรูที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคระดับบนที่มีกำลังซื้อสูงและมีความพร้อมทางการเงิน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ หันมาทำตลาดทดแทนกำลังซื้อระดับกลางและล่างที่ชะลอตัวลง


      อย่างไรก็ดี ภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในระยะสั้นมีการปรับตัวลดลง 2% QoQ และลดลง 15% YoY ซึ่งเมื่อพิจารณาตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่าปรับลดลงใกล้เคียงกัน โดยบ้านเดี่ยวลดลงมากที่สุด 3% QoQ และคอนโดฯ ลดลง 2% QoQ มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ที่ถือเป็นที่อยู่อาศัยประเภทเดียวที่มีดัชนีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น 1% QoQ

      หากเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ จะพบว่าภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 44% และมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแนวราบที่มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยบ้านเดี่ยวมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นมากถึง 60% ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ และคอนโดฯ (เพิ่มขึ้น 47% และ 38% ตามลำดับ) ดังนั้น แม้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะชะลอตัวลงในระยะสั้นในรอบไตรมาส แต่หากมองในระยะยาวยังมีสัญญาณที่ดี

    • ดัชนีค่าเช่าเริ่มกระเตื้อง แม้ดีมานด์ผู้เช่ารอบไตรมาสยังไม่ฟื้น ภาพรวมดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3% QoQ หรือเพิ่มขึ้น 3% YoY แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ อยู่ถึง 10% โดยเมื่อแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า มีเพียงทาวน์เฮ้าส์เท่านั้นที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 2% QoQ (ทรงตัวจากปีก่อนหน้า) ขณะที่บ้านเดี่ยวลดลง 6% QoQ (ลดลง 18% YoY) ด้านคอนโดฯ ยังทรงตัวจากไตรมาสก่อน (เพิ่มขึ้น 2% YoY)

      อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ พบว่า ดัชนีค่าเช่าของที่อยู่อาศัยแนวราบยังมีทิศทางเติบโต โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 8% และทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้น 4% สวนทางกับคอนโดฯ ที่ดัชนีค่าเช่าปรับลดลงถึง 12% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเช่าคอนโดฯ ยังมีการแข่งขันสูง ผู้ให้เช่าบางส่วนจึงใช้กลยุทธ์ปรับลดราคาให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภคเพื่อดึงดูดการตัดสินใจเช่า 

      ด้านจำนวนที่อยู่อาศัยสำหรับเช่านั้น แม้คอนโดฯ จะครองสัดส่วนมากที่สุดถึง 93% ของจำนวนที่อยู่อาศัยสำหรับเช่าทั้งหมดในกรุงเทพฯ แต่มีสัดส่วนลดลง 2% QoQ ต่างจากจำนวนที่อยู่อาศัยแนวราบที่มีการปรับเพิ่มในรอบไตรมาส ส่งผลให้บ้านเดี่ยวมีสัดส่วนเพิ่มมาอยู่ที่ 4% และทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนอยู่ที่ 3% (เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากันที่ 1% QoQ) ทำให้ตลาดเช่ามีตัวเลือกที่อยู่อาศัยแนวราบที่หลากหลายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้เช่าที่มีครอบครัวมากขึ้น

      สำหรับภาพรวมดัชนีความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ แม้จะปรับลดลง 3% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 17% YoY เมื่อพิจารณาตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ที่ดัชนีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้น 7% QoQ ขณะที่บ้านเดี่ยวลดลง 8% QoQ และคอนโดฯ ลดลง 3% QoQ  

      ทั้งนี้ ดีมานด์ในตลาดเช่ายังมีทิศทางเติบโตน่าสนใจ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ พบว่าดัชนีความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นถึง 118% และปรับเพิ่มขึ้นทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวดิ่งอย่างคอนโดฯ ที่ยังคงครองความนิยมในตลาดเช่า โดยมีดัชนีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้น 143% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ตามมาด้วยบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ (เพิ่มขึ้น 36% และ 24% ตามลำดับ)

      ทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส ปัจจุบันเริ่มกลับมาอยู่ในย่านใจกลางเมือง และพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ ต่างจากรอบก่อนหน้าที่ทำเลส่วนใหญ่เป็นพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก โดยทำเลที่น่าจับตามองในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในทำเลแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน ได้แก่

      • เขตปทุมวัน ถือเป็นทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้น 6% QoQ (เพิ่มขึ้น 4% YoY) อานิสงส์จากการเป็นทำเลใจกลางเมืองหลวงที่มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และเป็นแหล่งงาน รวมทั้งใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสุขุมวิท
      • ตามมาด้วย เขตสัมพันธวงศ์ มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% QoQ (เพิ่มขึ้น 4% YoY) ถือเป็นทำเลแหล่งการค้าขนาดใหญ่ เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง
      • เขตบางคอแหลม มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% QoQ (ลดลง 7% YoY) ทำเลแหล่งงานย่านพระราม 3 ใกล้สาทร-สีลม ความน่าสนใจอยู่ที่ปัจจุบันยังมีโครงการพัฒนาต่อเนื่อง เช่น ศูนย์การค้าขนาดใหญ่
      • เขตคลองสาน มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 5% YoY) อีกหนึ่งทำเลศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีทอง กรุงธนบุรี-คลองสาน
      • เขตคลองสามวา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 3% YoY) ทำเลพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกที่มีที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นสินค้าแนวราบ ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand)
      • เขตวัฒนา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (ลดลง 2% YoY) ทำเลธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ เป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ และใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสุขุมวิท
      • เขตหลักสี่ มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (ลดลง 25% YoY) เติบโตจากอานิสงส์ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่เชื่อมต่อการเดินทางไปยังใจกลางเมืองให้ง่ายขึ้น


      ทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส
      ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน และเป็นทำเลแหล่งงานขนาดใหญ่ซึ่งมีความต้องการที่อยู่อาศัยสูงตามไปด้วย ได้แก่

      • เขตธนบุรี ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นถึง 8% QoQ (เพิ่มขึ้น 8% YoY) ความน่าสนใจอยู่ที่เป็นทำเลใกล้ย่านธุรกิจ และสามารถเดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีลม
      • ตามมาด้วย เขตสัมพันธวงศ์ ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 8% QoQ (ทรงตัวจากปีก่อนหน้า) ทำเลแหล่งการค้าขนาดใหญ่ ได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง
      • เขตดินแดง ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 7% QoQ (เพิ่มขึ้น 8% YoY) ทำเลศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) แห่งใหม่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ
      • เขตสายไหม ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 5% QoQ (เพิ่มขึ้น 5% YoY) ทำเลใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
      • เขตประเวศ ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 5% QoQ (เพิ่มขึ้น 2% YoY) ถือเป็นทำเลที่เดินทางสะดวกทั้งจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง

หมายเหตุ: รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report เป็นรายงานแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยที่จัดทําขึ้นเป็นรายไตรมาส (ทุก 3 เดือน) โดยใช้ข้อมูลจากประกาศขาย-เช่าบนเว็บไซต์ DDproperty มาคํานวณด้วยวิธีการทางสถิติ วิเคราะห์ และจัดทําเป็นดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคา, จํานวนที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ในตลาด และความต้องการที่มีต่อที่อยู่อาศัยในช่วงเวลานั้น ๆ โดยรายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วย ดัชนีราคา (Price Index) และดัชนีความต้องการ (Demand Index) จากทั้งฝั่งตลาดซื้อ-ขายและตลาดเช่า แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในรอบไตรมาสว่าเป็นไปในทิศทางใด โดยนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2565 เป็นต้นมา ดัชนีราคาและความต้องการในรายงานนี้ได้ใช้ข้อมูลในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 เป็นปีฐาน  

อ่านและศึกษาข้อมูลแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ไตรมาสล่าสุดได้ที่ รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q2 2566