จับชีพจรตลาดอสังหาฯ ไทย หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” ช่วยบรรเทาพิษโควิด-19

DDProperty

จับชีพจรตลาดอสังหาฯ ไทย หวัง "วัคซีนต้านไวรัส" ช่วยบรรเทาพิษโควิด-19

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการจากภาครัฐมาช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในช่วงปิดประเทศ ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวตามกำลังซื้อผู้บริโภค กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ยังคงมีความต้องการที่อยู่อาศัยแต่ไม่มีความพร้อมด้านการเงิน หวังความชัดเจนของแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวแปรสำคัญเข้ามาพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้กลับคืนมา

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้_ดัชนีอสังหา_โควิด

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 190 จุด จาก 197 จุด หรือลดลง 4% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) แม้เคยคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาฯ จะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ในปีนี้ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้มีความเป็นไปได้ยาก คาดว่าตลาดจะมีทิศทางเติบโตอีกครั้งเมื่อภาครัฐสามารถควบคุมการแพร่ระบาดฯ ได้ และมีการฉีดวัคซีนมากเพียงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุดถือเป็นปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพลทำให้การเติบโตของธุรกิจทุกภาคส่วนต้องชะงักลง เนื่องจากไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้ว่าจะควบคุมให้เข้าสู่สถานการณ์ปกติได้เร็วเพียงใด ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับลดมุมมองต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2564 จากคาดการณ์เดิมที่ 2.6% เป็น 1.8% อันเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ รอบล่าสุดที่รุนแรงกว่ารอบก่อน ในส่วนภาคอสังหาฯ นั้นก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน แม้จะมีมาตรการจากภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือแต่ยังคงไม่ครอบคลุมเพียงพอ เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงผันผวนตามสถานการณ์ปัจจุบัน จึงชะลอการซื้อทรัพย์สินที่มีราคาสูงอย่างที่อยู่อาศัยออกไปก่อน

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดฯ ส่งผลให้แนวโน้มดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยแตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ คาดว่าจะยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2564 นี้ ในขณะที่ดัชนีอุปทานมีการเติบโตจากการที่ผู้ประกอบการกลับมาเปิดตัวโครงการใหม่ พร้อมจัดโปรโมชั่นเร่งระบายสต็อกคงค้างของโครงการสร้างเสร็จพร้อมอยู่ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อเจาะกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงหรือนักลงทุนที่มีความพร้อม ซึ่งถือว่ายังเป็นโอกาสทองอยู่ แต่คาดว่าดัชนีอุปทานจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามแผนธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ในอนาคตเช่นกัน

ส่วนแผนการแก้ไขกฎหมายฉบับต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของชาวต่างชาติก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองไม่น้อย ในขณะเดียวกันต้องพิจารณาผลดีและผลเสียในระยะยาวให้รอบด้านอย่างถี่ถ้วน มองว่าปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อได้ดีที่สุดในตอนนี้ คือ แผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ชัดเจน ครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดฯ ในวงกว้างแล้ว ยังเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค กระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ และช่วยให้สามารถเปิดประเทศเพื่อต้อนรับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจทุกภาคส่วน หลังจากต้องเผชิญผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้มาอย่างยาวนาน”

 

ตลาดที่อยู่อาศัยยังผันผวน ผู้บริโภคอยากมีบ้านแต่ขาดกำลังซื้อ

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด เผยข้อมูลเชิงลึกและทิศทางตลาดอสังหาฯ ไทยในช่วงต้นปี 2564 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่มีมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มรุนแรงกว่าที่คาด ส่งผลกระทบให้การเติบโตของตลาดอสังหาฯ กลับต้องชะลอตัวอีกครั้ง แม้มีความต้องการในตลาด แต่ใช้เวลาตัดสินใจซื้อนานขึ้น

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้_อุปทานอสังหา_โควิด
    • เทรนด์ Work From Home ยังได้ไปต่อ ดันที่อยู่อาศัยแนวราบโตต่อเนื่อง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องในไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีส่วนผลักดันให้เทรนด์ Work From Home แพร่หลายมากขึ้น ผู้บริโภคมีการปรับตัวเพื่อรับมือโดยหันมามองหาที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่เพียงพอ รองรับการทำงานจากที่บ้านได้สะดวกมากขึ้น ข้อมูลจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ล่าสุด พบว่า ผู้พัฒนาอสังหาฯ ยังคงเน้นไปที่การเปิดตัวโครงการที่ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หลายคนหันมาให้ความสนใจที่อยู่อาศัยแนวราบเพื่อรองรับการทำงานที่บ้าน และรักษาระยะห่างกับสังคม ทำให้ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยพบว่า ดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้นถึง 8% ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา สวนทางกับดัชนีราคาคอนโดมิเนียมที่ปรับตัวลดลงถึง 8% ในรอบปี และลดลง 12% ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนด้านจำนวนอุปทาน แม้ว่าคอนโดมิเนียมจะมีสัดส่วนมากที่สุดอยู่ที่ 88% ของจำนวนอุปทานทั้งหมดในกรุงเทพฯ แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเพียง 10% ต่างจากจำนวนอุปทานบ้านเดี่ยวที่เพิ่มขึ้น 12% และทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 12% จากไตรมาสก่อน สอดคล้องกับที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ หันมาโฟกัสกับโครงการแนวราบมากกว่าคอนโดมิเนียม
    • อานิสงส์รถไฟฟ้า ดึงดูดคนหาบ้านแถบชานเมืองมากขึ้น ปัจจัยจากการพัฒนาระบบขนส่งทั้งเส้นทางปัจจุบันและแผนในอนาคต ส่งผลให้เกิดการกระจายตัวของโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่นอกเขต CBD และกรุงเทพฯ รอบนอกมากขึ้น เนื่องจากถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้สูง จึงทำให้ทำเลดังกล่าวมีทิศทางการเติบโตของราคาอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ เขตทวีวัฒนา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาสก่อน ซึ่งบ้านเดี่ยวมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 15% ในขณะที่เขตตลิ่งชัน มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 3% เป็นผลมาจากอานิสงส์ของรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่วางแผนเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2564 นี้ ประกอบกับที่ย่านนี้ยังมีทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ซึ่งเอื้อต่อการเดินทางทั้งโดยรถยนต์ส่วนตัวและระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ การเปิดให้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-คูคต ซึ่งเชื่อม 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และปทุมธานี โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ถือเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ดัชนีราคาในพื้นที่เขตบางเขนเพิ่มขึ้น 10% จากไตรมาสก่อน โดยคอนโดมิเนียมในทำเลนี้มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 11%
    • มาตรการรัฐไม่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคอย่างที่คิด จากมาตรการช่วยลดค่าโอน-ค่าจดจำนองสำหรับบ้าน-คอนโดฯ ระดับราคาไม่เกิน 3 ล้าน เพื่อช่วยเหลือเยียวยาตลาดอสังหาฯ ของภาครัฐ และหวังกระตุ้นการซื้อขายให้เติบโต แต่จากรายงานพบว่า ความสนใจซื้อของผู้บริโภคที่มองหาที่อยู่อาศัยระดับราคา 1-3 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยเมื่อเทียบกับระดับราคาอื่น โดยเพิ่มขึ้นเพียง 14% จากไตรมาสก่อน ต่างจากความสนใจซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป เพิ่มขึ้นถึง 34% ตามมาด้วยระดับราคา 5-10 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 27%) และระดับราคา 3-5 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 23%)
DDproperty_Supply

เมื่อพิจารณาจากรายงานจะพบว่า จำนวนอุปทานที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดจะเป็นระดับราคา 1-3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 14% จากไตรมาสก่อน รองลงมาคือราคา 3-5 ล้านบาท และระดับราคา 5-10 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 10% และ 8% ตามลำดับ) สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างยังคงไม่มีกำลังซื้อเพียงพอ จึงต้องเลือกใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นที่สุดก่อน สอดคล้องกับผลสำรวจ “ครอบครัวไทยในยุคโควิด-19” ของสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ถึง 75.41% มองว่าปัญหาหนี้สิน เป็นปัญหาในครอบครัวที่พบมากขึ้นในยุคโควิด-19 นี้ และปัญหาหนักอกในครอบครัวอันดับแรกยังคงเป็นเรื่องรายได้และค่าใช้จ่ายถึง 44.27% ในขณะที่ผู้บริโภคในระดับบนแม้จะยังคงให้ความสนใจในการซื้อหรือลงทุนในตลาดอสังหาฯ แต่จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งไม่มีมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ สำหรับที่อยู่อาศัยในระดับราคาอื่น จึงส่งผลให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนานขึ้นหรือชะลอการซื้อออกไปก่อนเช่นกัน

เกาะติดเทรนด์บ้าน 2021 “เช่า” มาแรงกว่าซื้อเพราะตอบโจทย์คนยุคนี้จริงหรือ?

DDProperty

เกาะติดเทรนด์บ้าน 2021 “เช่า” มาแรงกว่าซื้อเพราะตอบโจทย์คนยุคนี้จริงหรือ?

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะยังคงชะลอตัว แต่การนำเข้าวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคและเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ในอนาคต

ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2564 อยู่ที่ 49.4 โดยปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลังจากการแพร่ระบาดฯ ระลอกใหม่ แม้ว่าจะยังไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องมาจากยังไม่มีไทม์ไลน์ที่ชัดเจนของแผนการฉีดวัคซีนทั้งประเทศ ทำให้ผู้บริโภคยังมีความกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงชะลอการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็นหรือสินค้าที่มีราคาสูงในช่วงนี้ออกไปก่อน

เห็นได้จากผลสำรวจพฤติกรรมการซื้อของคนไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ปี 2563 ของวันเดอร์แมน ธอมสัน และแดทเทล พบว่า ความตั้งใจในการซื้อสินค้าที่ต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจซื้อ (High Involvement) เช่น ยานยนต์ อสังหาริมทรัพย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ ของผู้บริโภคลดลงทุกกลุ่มสินค้า ผู้มีรายได้น้อยกว่า 40,000 บาทต่อเดือนมีแนวโน้มที่จะลดหรือหยุดการซื้อสินค้าและบริการออกไป และส่วนใหญ่ไม่มีแนวโน้มจะกลับมาซื้อสินค้าเหล่านี้ภายใน 1 ปี

สอดคล้องกับผลสำรวจล่าสุดจากวันเดอร์แมน ธอมสัน ณ เดือนกันยายน 2563 ที่ได้คาดคะเนพฤติกรรมของผู้บริโภคช่วงหลังการแพร่ระบาดฯ ว่าในอนาคตในระยะสั้น-กลาง (0-1 ปี) ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมไม่ชอบความเสี่ยง และเลือกที่จะถือเงินสดหรือฝากธนาคาร รวมถึงหารายได้เสริมจากช่องทางอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น

 

โควิด-19 ตัวแปรสำคัญ ดันอสังหาฯ ให้เช่าโตต่อเนื่อง 

ภาคอสังหาฯ ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค เนื่องจากบ้าน/คอนโดฯ เป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและมีระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน แม้คนไทยจะมีประสบการณ์ตรงในการรับมือการแพร่ระบาดฯ ในรอบแรก แต่การแพร่ระบาดฯ ระลอกใหม่ที่มาอย่างไม่มีใครคาดคิด ทำให้ทุกคนต้องปรับแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุมอีกครั้ง

จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เทรนด์การเช่าอสังหาฯ กลับมาเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในช่วงนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com ทั่วประเทศในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 พบว่า ความสนใจเช่าที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากยอดเข้าชมประกาศที่อยู่อาศัยให้เช่าที่เพิ่มขึ้นถึง 31% เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดฯ ระลอกใหม่ ในขณะที่ความสนใจซื้อมีการเติบโตในสัดส่วนเพียง 7% เท่านั้น เมื่อพิจารณาแนวโน้มประกาศที่อยู่อาศัยให้เช่าบนเว็บไซต์ (Supply) ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้พบว่า เพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่ง (52%) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563 ซึ่งการแพร่ระบาดฯ ยังไม่แพร่หลายในไทย

“ความจำเป็น” ผลักให้ผู้บริโภคเลือกเช่าเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เผยปัจจัยแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญทำให้ผู้บริโภคยุคนี้หันมาพิจารณาและสนใจเลือกเช่าที่อยู่อาศัยมากกว่าการซื้อ แม้จะมีโปรโมชั่นสงครามราคาออกมากระตุ้นการซื้อมากมายก็ตาม ดังนี้

  • เศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่อง กระทบความมั่นคงต่ออาชีพ ผลกระทบทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2562 รวมกับวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดปี 2563 กินระยะเวลายาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจปีนี้ยังคงไม่แน่นอน โดยข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ คาดว่าแนวโน้มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP ของปี 2564 จะขยายตัวอยู่ที่ 2.5%-3.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงจากคาดการณ์เดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3.5%-4.5% เนื่องจากยังมีผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่จะลงทุนและจ้างงานในอนาคต ทำให้ผู้บริโภคมีความกังวลกับความมั่นคงของอาชีพการงาน จึงให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินของครอบครัวมากขึ้น ปรับลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน เก็บเงินสำรองเพื่อลดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินหากมีการเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพ
  • ผู้บริโภคมองหาที่อยู่อาศัยในราคาที่เอื้อมถึง เนื่องจากความสามารถในการใช้จ่าย (Affordability) ของผูู้บริโภคในปัจจุบันลดลง ทำให้ต้องวางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุมและให้ความสำคัญกับการมีเงินเก็บมากขึ้น ผู้บริโภคจึงใช้เวลาและความรอบคอบในการพิจารณาซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ มากตามไปด้วย โดยเน้นไปที่ความคุ้มค่าที่ได้รับบวกกับราคาที่เหมาะสม โดยเฉพาะทรัพย์สินที่มีราคาสูง มีการเปรียบเทียบความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายและความคุ้มค่าที่จะได้รับเมื่อเลือกซื้อหรือเช่าบ้าน/คอนโดฯ โดยมีตัวแปรสำคัญ คือ กำลังซื้อที่มีจำกัดในเวลานี้ของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเช่าที่อยู่อาศัยเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่าการซื้อ นอกจากนี้อสังหาฯ ให้เช่าส่วนใหญ่จะมีการตกแต่งอย่างสวยงามและเฟอร์นิเจอร์พร้อมเข้าอยู่ทันที ช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และไม่จำเป็นต้องมีเงินเป็นค่าบำรุงรักษา หรือเสียภาษีต่าง ๆ เหมือนการมีบ้านเป็นของตัวเอง
  • เลือกเช่าเพื่อลดภาระผูกพันในระยะยาว สร้าง Safe Zone ด้านค่าใช้จ่าย เพราะการเช่ามีภาระผูกพันที่น้อยกว่าการซื้อ ไม่มีสัญญาผูกมัดระยะยาว การเช่าที่อยู่อาศัยเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภควัยเริ่มต้นทำงานที่กำลังเริ่มสร้างฐานะ หรือมีภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่แล้ว เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นบางส่วน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนการเงินเพื่อรองรับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและสร้าง Safe Zone ลดความเสี่ยงปัญหาค่าใช้จ่ายจากเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ได้ เพราะการมีเงินออมเก็บไว้ถือเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคนี้ไม่ควรมองข้าม การเช่าที่อยู่อาศัยจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการผ่อนดาวน์ และสามารถนำเงินเก็บไปใช้ในเรื่องที่จำเป็นกว่าได้ ป้องกันปัญหาการเงินขาดสภาพคล่องจากความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงช่วยให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและเงินเก็บได้ดียิ่งขึ้น
  • มีความยืดหยุ่นในการโยกย้ายทำเล ได้ทดลองอยู่ก่อนซื้อขาด ปัจจุบันความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) อีกต่อไป เมื่อมีการขยายตัวของเมือง การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้า ทำให้การจ้างงานและแหล่งที่อยู่อาศัยมีการขยายไปในทำเลที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ (New CBD) และแถบชานเมืองมากขึ้น ผู้บริโภคจึงมีทางเลือกในการเช่าที่อยู่อาศัยที่มีราคาเหมาะสมในทำเลที่ไม่แออัด และเดินทางไปทำงานใจกลางเมืองได้สะดวก เมื่อมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนงานหรือโยกย้ายทำเลก็ทำได้ง่ายกว่า เพราะการเช่าไม่มีสัญญาผูกมัดในระยะยาว และยังมีข้อดีตรงที่ช่วยให้ผู้บริโภคได้ทดลองอยู่อาศัยในทำเลที่สนใจเพื่อประเมินความพึงพอใจจากสภาพแวดล้อม ความเจริญในพื้นที่ รวมถึงการเดินทาง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในทำเลนั้น ๆ ในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเช่าที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปในแต่ละช่วงวัยได้ง่ายขึ้น
  • คนรุ่นใหม่ยังออมเงินหวังซื้อบ้าน แต่คนโสดหันไปเลือกเช่ามากขึ้น การซื้อที่อยู่อาศัยยังคงเป็นหนึ่งในความต้องการอันดับต้น ๆ ของคนรุ่นใหม่อยู่เสมอ ข้อมูลล่าสุดจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study พบว่า แผนการใช้จ่ายใน 1 ปีข้างหน้าของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล หรือ Gen Y นั้นมากกว่าครึ่ง (59%) ตั้งใจออมเงินเพื่อวางแผนซื้อบ้าน อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินชีวิตแล้ว การเลือกเช่าอสังหาฯ ก็ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเติบโตในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีสถานภาพโสดเช่นกัน โดย 8% ของผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสนใจเช่าบ้าน/คอนโดฯ สูงกว่าคนรุ่นใหม่ที่มีสถานะอื่น ๆ การเช่าที่อยู่อาศัยช่วยให้คนโสดที่อยู่ตัวคนเดียว ไม่มีภาระผูกมัดทางครอบครัวมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายมากกว่า เมื่อพิจารณาความเหมาะสมด้านอื่น ๆ แล้วถือว่าเพียงพอกับไลฟ์สไตล์ประจำวัน มีความคุ้มค่า ไม่เป็นการสร้างหนี้เกินกำลังอย่างไม่จำเป็น ตอบโจทย์ความต้องการใช้ชีวิตอิสระของคนโสดได้เป็นอย่างดี

คนชะลอการซื้อแต่ยังไม่พับแผน

แม้การเช่าที่อยู่อาศัยจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายในขณะนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าส่วนใหญ่ยังอยากมีบ้านเป็นของตัวเองเมื่อมีความพร้อมมากพอ เนื่องด้วยความท้าทายจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ผู้บริโภคที่วางแผนซื้อบ้านจะใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้นเพื่อรอดูทิศทางสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาอิทธิพลด้านการเงินและการงาน

ผลสำรวจล่าสุดเผยว่ามีผู้บริโภคเพียง 13% เท่านั้นที่ตัดสินใจจะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองภายใน 1 ปี ในขณะที่อีก 18% ยังไม่มีแผนการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงระยะเวลาอันใกล้ โดยตั้งใจจะซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในช่วงเวลามากกว่า 5 ปีหลังจากนี้ นอกจากนี้ในกลุุ่มผู้บริโภคที่เป็นผู้เช่ายังมีการวางแผนขยับขยายที่อยู่อาศัยในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นคงและรองรับความต้องการของครอบครัว โดยกว่า 3 ใน 5 (64%) มีเหตุผลสำคัญในการวางแผนซื้อบ้านใหม่ คือ ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเองแทนการเช่าในปัจจุบัน ตามมาด้วยต้องการพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่สำหรับพ่อแม่และบุตรหลานที่มากขึ้น (46% และ 31% ตามลำดับ)

จะเห็นได้ว่าความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยนั้นยังมีอยู่ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจพับแผนการซื้อแค่เลือกชะลอออกไปก่อน เพื่อเก็บเงินสดไว้กับตัวและรอดูแนวโน้มจากสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่มองหาที่อยู่อาศัยและตัดสินใจได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น ทั้งนี้เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (https://www.ddproperty.com/) ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเและเป็นประโยชน์สำหรับผูู้บริโภคที่กำลังมองหาบ้าน/คอนโดฯ ให้เช่า โดยรวบรวมข้อมูลประกาศให้เช่า/ซื้อ (Listings for rent/sale) ที่น่าสนใจมากมายในหลากหลายทำเลครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมทั้งมี  “AreaInsider” ที่นำเสนอข้อมูลเชิงลึกของแต่ละทำเลครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วยให้ผู้บริโภคศึกษาข้อมูลทำเลที่สนใจได้อย่างง่ายดาย และตัดสินใจเลือกทำเลได้ตรงไลฟ์สไตล์มากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อผู้บริโภคมีความพร้อมในการซื้อที่อยู่อาศัยก็สามารถใช้เครื่องมือคำนวณยอดเงินกู้ที่จะได้รับเมื่อยื่นขอสินเชื่อจากธนาคาร (Affordability calculator) ช่วยประเมินความสามารถในการซื้อเพื่อเป็นข้อมูลล่วงหน้า เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป พร้อมกันนี้ยังสามารถศึกษาข้อมูลเชิงลึก/ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอสังหาฯ ได้โดยตรงเพื่อช่วยให้ตัดสินใจซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

เจาะกลุ่มมิลเลนเนียล กำลังซื้อยังแข็งแรงพอขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ไทยหรือไม่?

เจาะกลุ่มมิลเลนเนียล กำลังซื้อยังแข็งแรงพอขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ไทยหรือไม่?

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคล่าสุด พบเทรนด์การใช้จ่ายมาแรง – วางแผนมีบ้านในอนาคต

ผู้บริโภคกลุ่ม Millennials (มิลเลนเนียล) หรือ Gen Y (ผู้ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2527 – 2539) ได้กลายมาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในศตวรรษที่ 21 ด้วยพื้นฐานการเติบโตมากับโลกดิจิทัลจึงเรียนรู้และรับเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และนำมาพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังตัดสินใจรวดเร็ว จึงทำให้คน Gen นี้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม เศรษฐกิจ หรือการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังเป็นวัยที่เต็มไปด้วยไฟในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตและอยู่ในช่วงสร้างฐานะให้มั่นคง จึงทำให้เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการใช้จ่ายสูงและคาดว่าจะเป็นกำลังซื้อสำคัญในอนาคตไปอีกหลายปี ข้อมูลจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583 (ฉบับปรับปรุง) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าในปีนี้ประชากรไทยในช่วงอายุ 25-39 ปี จะมีจำนวนถึง 13.7 ล้านคน หรือคิดเป็น 31.53% ของประชากรวัยแรงงานทั้งหมด (ช่วงอายุ 15-59 ปี) กว่า 43 ล้านคน จึงทำให้หลายธุรกิจจับตามองและช่วงชิงกำลังซื้อจากคนกลุ่มนี้มากขึ้น  

แน่นอนว่าเมื่อชาวมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพในสายตาของหลากหลายธุรกิจ ย่อมถูกดึงดูดให้ใช้จ่ายสนองความต้องการด้านต่าง ๆ เสมอ และกลายเป็นอีกช่วงวัยที่เริ่มมีภาระหนี้เพื่อซื้อทรัพย์สินที่มีราคาสูงโดยเฉพาะที่อยู่อาศัย

เมื่อเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย ภาคธุรกิจและผู้บริโภคต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งกลุ่มมิลเลนเนียลด้วยเช่นกัน บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้เปิดเผยข้อมูลอัปเดต ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย พบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่มีการสร้างหนี้มากที่สุด คือ กลุ่มมิลเลนเนียล หรือ Gen Y โดยมีหนี้สินรวมกันถึง 4 ล้านล้านบาท คิดเป็นหนี้เสีย (NPL) คงค้าง 2.7 แสนล้านบาท เมื่อพิจารณาเรื่องสินเชื่อบ้านที่อนุมัติใหม่ในช่วงเวลานั้นจำนวน 80,494 สัญญา พบว่าเป็นของกลุ่มมิลเลนเนียลหรือ Gen Y มากที่สุดถึง 64% และเป็นที่น่ากังวลในเรื่องปัญหาค้างชำระในอนาคต สะท้อนให้เห็นถึงสภาพคล่องในการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ และเริ่มส่งสัญญาณเตือนให้เห็นปัญหาการวางแผนด้านการเงิน แม้จะมีกำลังซื้อสูงก็ตาม

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด เจาะลึกมุมมองด้านการวางแผนการใช้จ่ายของกลุ่มมิลเลนเนียลและความต้องการด้านที่อยู่อาศัยท่ามกลางความท้าทายทั้งด้านการเงินและการงานจากสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบางและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ว่าส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของชาวมิลเลนเนียลในตลาดอสังหาฯ มากน้อยเพียงใด

  • อยากใช้จ่ายหลากหลาย แต่ครอบครัวต้องมาก่อน เมื่อพูดถึงการวางแผนการใช้จ่ายใน 1 ปีข้างหน้าของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลนั้น ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญไปที่การใช้จ่ายภายในครอบครัวถึง 74% สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรายได้และดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัวของคนวัยนี้ อย่างไรก็ตาม ชาวมิลเลนเนียลยังคงมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองอยู่ไม่น้อยแม้จะยังไม่มีความพร้อมด้านการเงินในตอนนี้ โดย 59% เผยว่ามีความตั้งใจออมเงินเพื่อวางแผนซื้อบ้านในอนาคต ในขณะที่ 46% ระบุว่าอยากออกไปท่องเที่ยวในวันหยุด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ปัจจุบันทำให้ทุกคนจำเป็นต้องเก็บตัวอยู่บ้าน และชะลอแผนท่องเที่ยวออกไป เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และหยุดการแพร่ระบาดฯ ในประเทศ
  • เตรียมความพร้อม หวังซื้อบ้านหลังแรกตอน 31 ปี เมื่อพิจารณาในด้านการครอบครองอสังหาฯ ในปัจจุบัน พบว่ายังมีสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มมิลเลนเนียลมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้วถึง 57% ในขณะที่อีก 43% ยังไม่ได้เป็นเจ้าของอสังหาฯ ใด ๆ ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้บริโภคกลุ่มนี้ (66%) เผยว่า พวกเขาได้วางแผนที่จะซื้อบ้านหลังแรกเมื่ออายุ 31 ปีขึ้นไป ซึ่งน่าจะเป็นช่วงวัยที่มีความพร้อมมากพอทั้งด้านหน้าที่การงานที่มั่นคงและสถานะทางการเงินที่เหมาะสมเมื่อต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่มากกว่าตอนนี้
  • สถานะทางการเงินสั่นคลอน อุปสรรคหลักของการมีบ้าน กลุ่มมิลเลนเนียลยอมรับว่าปัญหาทางการเงินจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในตอนนี้ถือเป็นอุปสรรคหลัก ๆ ที่ทำให้พวกเขายังไม่มีแผนย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ โดย 1 ใน 2 ของกลุ่มนี้ (50%) เผยว่า ยังไม่มีเงินออมมากพอที่จะไปเช่าหรือซื้อบ้านเป็นของตนเอง ในขณะที่ 41% ต้องการที่จะอยู่บ้านเดิมเพื่อดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด ตามมาด้วยกลุ่มที่ไม่คิดจะย้ายออกเพราะยังไม่ได้แต่งงาน 33% และตั้งใจจะรับช่วงต่อบ้านเดิมจากพ่อแม่อยู่แล้ว 33% จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้ออสังหาฯ เป็นของตัวเองในตอนนี้
  • การเช่าโดนใจ ตอบโจทย์ที่อยู่อาศัยแบบไร้ข้อผูกมัดระยะยาว ด้วยข้อจำกัดทางการเงินจากปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวมิลเลนเนียล 94% ตัดสินใจเช่าแทนการซื้อที่อยู่อาศัยในตอนนี้ เนื่องจากมองว่าการเช่าบ้าน/คอนโดฯ จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการซื้ออสังหาฯ ซึ่งต้องมีความพร้อมทางการเงินในระดับหนึ่งจึงจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงเลือกเก็บเงินก้อนที่มีสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินและหันไปเลือกเช่าอสังหาฯ ในรูปแบบที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยแทน นอกจากนี้การมีสถานภาพโสดอยู่ตัวคนเดียวก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้การเช่าที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมมากกว่าการซื้อเช่นกัน 

แม้ผลกระทบจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากหลายปัจจัยในตอนนี้จะทำให้แผนบริหารจัดการเงินของชาวมิลเลนเนียล ต้องสะดุดลงหรือชะลอการใช้จ่ายในเรื่องที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วนออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังคงเป็นกำลังซื้อที่สำคัญในหลายอุตสาหกรรมในระยะยาว เพียงแต่รอดูสัญญาณบวกของสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาเวลาที่เหมาะสมในการออกมาใช้จ่ายแทน ดังจะเห็นได้จากการวางแผนใช้จ่ายในอนาคตที่ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล ยังคงให้ความสำคัญไปยังสิ่งที่จำเป็นมาก่อนความต้องการส่วนตัว ด้วยการวางแผนบริหารจัดการการเงินที่รอบคอบนี้เชื่อว่าจะช่วยให้กลุ่มมิลเลนเนียลสามารถปรับพฤติกรรมและปรับเปลี่ยนแผนการใช้จ่ายที่มีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที และกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้ในอนาคตแน่นอน

ฟื้นตัวหรือสะดุด จับชีพจรตลาดอสังหาฯ 3 จังหวัดท่องเที่ยวท่ามกลางโควิด-19 ระลอกใหม่

DDProperty

ฟื้นตัวหรือสะดุด จับชีพจรตลาดอสังหาฯ 3 จังหวัดท่องเที่ยวท่ามกลางโควิด-19 ระลอกใหม่

หลังจากหลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ว่าปี 2564 น่าจะเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ที่เศรษฐกิจมีโอกาสฟื้นตัวและขับเคลื่อนธุรกิจทุกภาคส่วนให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง เมื่อมีสัญญาณบวกจากการพัฒนาวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 และแผนการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยและสร้างความมั่นใจให้กับภาคธุรกิจทุกภาคส่วน แต่การแพร่ระบาดระลอกใหม่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ได้ทำให้ทั้งประเทศต้องปรับแผนใหม่อีกรอบแบบไม่ทันตั้งตัว

ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์นั้นเมื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มกลับมาในช่วงแรก ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ต่างขนโปรโมชั่นลด แลก แจก แถมออกมาเพื่อกระตุ้นกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมวางแผนเปิดตัวโครงการต่าง ๆ มาเจาะกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นผู้อยู่อาศัยจริง (Real Demand) เพิ่มขึ้นในปี 2564 แม้การแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้จะทำให้แผนธุรกิจต้องสะดุดไปบ้าง แต่คาดว่าสถานการณ์จะไม่หยุดชะงักกินระยะเวลายาวนานเหมือนรอบที่ผ่านมา

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในไทย ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ปีนี้ ผู้ประกอบการหลายรายจำเป็นต้องปรับแผนเพื่อรับมือ จากที่เคยคาดการณ์ว่าปี 2564 จะเป็นปีปรับสมดุลของตลาดอสังหาฯ ทั้งในแง่ของราคาและอุปทานและจะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่การแพร่ระบาดระลอกใหม่อาจส่งผลให้ต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวนานขึ้น

แม้ตอนนี้จะยังไม่สามารถประเมินผลกระทบที่มีต่อการเติบโตในตลาดได้ชัดเจนเนื่องจากมีระยะเวลาที่สั้นเกินไป แต่เชื่อว่าจากประสบการณ์ตรงที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ นักลงทุน และผู้บริโภครับมือการแพร่ระบาดในปีที่ผ่านมาจะทำให้สามารถปรับตัวและจัดการกับสถานการณ์ครั้งนี้ได้ดีขึ้น ผนวกกับการที่วัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังจะเข้าไทยเร็ว ๆ นี้ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายสามารถข้ามผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้”

เมืองท่องเที่ยวกระทบหนัก หลังเจอโควิดระลอกใหม่

แม้ว่าทิศทางการขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ของผู้ประกอบการจะยังโฟกัสกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงหรือกลุ่ม Real Demand มากขึ้น โดยภาพรวมตลาดอสังหาฯ มีสัญญาณดีขึ้นหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2563 ที่ผ่านมา จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลน่าสนใจว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้น 2% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส (นับจากช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2562) ถือเป็นสัญญาณชีพของภาคอสังหาฯ ที่เริ่มกระเตื้องขึ้น

โดยภาพรวมเกือบทุกจังหวัดมีการกระเตื้องขึ้นของดัชนีราคาและจำนวนอุปทาน ซึ่งการรุกหัวเมืองต่างจังหวัดยังมีความน่าสนใจ เนื่องจากยังมีกลุ่ม Real Demand ที่มีกำลังซื้อในพื้นที่อยู่ และที่ดินต่างจังหวัดก็มีราคาต่ำกว่าในกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกตลาดที่น่าจับตามองและลงทุนเพื่อสร้างแต้มต่อทางธุรกิจในอนาคตได้ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดที่ยังเป็น “Blue Ocean” ผนวกกับปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบคมนาคมและระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ แหล่งงานในนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการมีห้างสรรพสินค้าเพื่อดึงดูดกำลังซื้อผู้บริโภคในพื้นที่ ล้วนช่วยอำนวยความสะดวกให้การดำรงชีวิตในต่างจังหวัดสะดวกสบายยิ่งขึ้น นอกจากความต้องการที่อยู่อาศัยจากกลุ่ม Real Demand ในพื้นที่แล้ว ยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการซื้ออสังหาฯ ในจังหวัดท่องเที่ยวไว้เป็นบ้านพักตากอากาศกับครอบครัว หลีกหนีความวุ่นวายจากการทำงาน หรือซื้อเพื่อลงทุนเก็บไว้ปล่อยเช่าสร้างผลตอบแทนในอนาคตอีกด้วย

แต่ก็เหมือนเป็นภาพฝันค้าง หลังจากมีการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ตลาด   อสังหาฯ ที่เคยมีแนวโน้มไปได้ดีกลับชะงักลงอีกรอบ โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวที่ได้รับผล กระทบก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ทั้งที่ช่วงปลายปีควรจะเป็นช่วงที่ตลาดท่องเที่ยวกลับมาบูมอีกครั้งหลังจากอั้นมาจากช่วงล็อกดาวน์ โดยพบว่า ใน 3 จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญได้รับผล กระทบในช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ทั้งในแง่ของการท่องเที่ยว และตลาดอสังหาฯ

ภูเก็ต

    • หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบแรกในไทย ตลาดอสังหาฯ ในภูเก็ตเริ่มกลับมาส่งสัญญาณฟื้นตัวอีกครั้งหลังคลายล็อกดาวน์ พร้อมทั้งได้แรงหนุนที่ดีจากการท่องเที่ยวของคนไทยที่เลือกเดินทางมาภูเก็ตมากขึ้นในช่วงที่ปิดประเทศ รวมถึงสัญญาณของภาครัฐที่เปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในภูเก็ตได้อีกครั้ง แม้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ยังเป็นสัญญาณที่ดี ซึ่งล้วนส่งผลให้มีการเติบโตในตลาดอสังหาฯ อีกครั้ง
  •  
    • โดยภูเก็ตได้รับผลกระทบไม่มากนักจากการระบาดระลอกใหม่ เนื่องจากยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อไม่มากนัก (3 ราย ณ วันที่ 15 มกราคม 2564) ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมยังคงเพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากบ้านเดี่ยวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นถึง 3% และคอนโดฯ เพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน สะท้อนให้เห็นความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีทิศทางเติบโต
    • ในขณะที่ดัชนีอุปทานเพิ่มขึ้นถึง 18% จากไตรมาสก่อนเช่นกัน โดยอยู่ในอำเภอกะทู้ อำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอถลางในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุดในภูเก็ตคือ คอนโดมิเนียม คิดเป็นสัดส่วน 56% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอกะทู้
    • เมื่อพิจารณาจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 5-10 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดฯ และบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 5-10 ล้านบาท และทาวน์เฮ้าส์อยู่ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท

ชลบุรี

    • ชลบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหลังจากคลายล็อกดาวน์ ซึ่งได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาดีขึ้น ทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่กลับมาเดินหน้าอีกครั้ง รวมไปถึงการพัฒนาระบบคมนาคมและนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ
  •  
    • แต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ดัชนีอุปทานและราคาอสังหาฯ กลับปรับลดลงอย่างมากจากไตรมาสก่อน คาดว่าเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ชลบุรีกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยพบว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมลดลง 10% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 จากที่เคยเพิ่มขึ้น 5% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเกือบทุกทำเลมีดัชนีราคาลดลง ยกเว้นอำเภอเมืองชลบุรี ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% และอำเภอศรีราชาเพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาสก่อน
    • ดัชนีอุปทานลดลงอย่างมากถึง 70% จากไตรมาสก่อน โดยอุปทานส่วนใหญ่ถึง 70% อยู่ในอำเภอบางละมุง รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ คอนโดฯ  มีจำนวนถึง 64% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอบางละมุงเช่นกัน
    • หากแบ่งจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท แบ่งเป็น คอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท และบ้านเดี่ยวอยู่ที่ระดับราคา 5-10 ล้านบาท

เชียงใหม่

    • เชียงใหม่ เป็นจังหวัดท่องเที่ยวทางภาคเหนือที่แม้จะมีสัญญาณดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 ซึ่งตลาดอสังหาฯ ได้อานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาดีขึ้น รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมต่าง ๆ แต่ในช่วงปลายปีที่มีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมลดลง 7% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ไตรมาส (ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2562) โดยดัชนีราคาลดลงทุกรูปแบบที่อยู่อาศัยในเกือบทุกทำเล เช่น อำเภอเมืองเชียงใหม่ลดลง 3% และลดลงมากที่สุดในอำเภอพร้าว ลดลงถึง 35% ยกเว้นในอำเภอแม่แตง และอำเภอแม่วัง เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 23% และ 22% ตามลำดับ
    • ในขณะที่ดัชนีอุปทานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% จากไตรมาสก่อน โดยส่วนใหญ่ถึง 43% อยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุดในเชียงใหม่คือ บ้านเดี่ยว มีจำนวนถึง 66% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอสันทราย
    • หากแบ่งจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท โดยคอนโดฯ บ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาททั้งหมด

ไขข้อข้องใจ “ภาษีที่ดิน” จ่ายเท่าไหร่ จ่ายที่ไหน และใครได้ประโยชน์?

ไขข้อข้องใจ “ภาษีที่ดิน” จ่ายเท่าไหร่ จ่ายที่ไหน และใครได้ประโยชน์?

ก่อนหน้านี้หลายคนคงได้รับ “ใบแจ้งการชำระภาษีที่ดิน” กันมาระยะหนึ่งแล้วและประเด็นเกี่ยวกับ “ภาษีที่ดิน” ก็ถูกนำกลับมาพูดถึงกันอีกครั้งในแวดวงอสังหาฯ ทำเอาเจ้าของที่ดิน บ้านหรือห้องชุดมีเครื่องหมายคำถามในหัวกันอีกครั้งว่าจะต้องเตรียมตัวเสียภาษีกันอย่างไร เพราะใกล้ได้เวลาครบกำหนดชำระเข้าไปทุกที เนื่องจากภาษีนี้เป็นประกาศใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีอัตราภาษีและเงื่อนไขที่หลากหลาย ทำเอาหลาย ๆ คนมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ และเกิดคำถามต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องใครต้องเสียภาษีบ้าง? เสียเท่าไร? ถ้ามีบ้านมากกว่าหนึ่งหลังจะเสียภาษีอย่างไร? มีข้อยกเว้นอย่างไรบ้าง? และสุดท้ายใครได้ประโยชน์จากภาษีนี้

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “แม้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่จะไม่ส่งผลกระทบกับคนทั่วไปที่มีบ้านหรือคอนโดฯ ที่อยู่อาศัยเองหลังเดียวในราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่สำหรับผู้ที่มีบ้านหรือคอนโดฯ หลังที่สอง หรือมีอสังหาริมทรัพย์ปล่อยเช่า รวมทั้งผู้ที่ถือครองไว้เปล่า ๆ โดยไม่ได้ทำประโยชน์ คนกลุ่มนี้จะต้องชำระภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 ทั้งหมด ซึ่งการคำนวณภาษีใหม่ก็ไม่ยาก และเจ้าหน้าที่ก็เป็นผู้ประเมินภาษีให้ด้วย แต่การรู้วิธีคิดเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้า ก็เป็นเรื่องที่ควรจะรู้ไว้เพื่อวางแผนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของตัวเอง”

วันนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ขอสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ผู้เสียภาษีที่ดินสำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยที่ควรรู้ ดังนี้

 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร

อันดับแรก เรามาย้ำความเข้าใจว่าภาษีที่ดินที่ต้องชำระคืออะไรกันอีกที ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน ที่ดิน คอนโดฯ หรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ทั้งที่ใช้และไม่ได้ใช้ประโยชน์ โดยภาษีที่ได้รับการชำระดังกล่าวจะนำเงินไปใช้พัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกประกาศเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นไป เพื่อทดแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ฉบับเก่าที่ใช้มานานหลายสิบปี โดยการชำระภาษีตามประกาศใหม่ครั้งแรกนี้ เลื่อนมาเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563 จากเดิมต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน 2563 และเพื่อช่วยลดภาระของประชาชนจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รัฐบาลยังได้ออกมาตรการลดภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยถึง 90% อีกด้วย

โดยประเภทของทรัพย์สินที่จะเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบ่งออกเป็น ประเภทเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ (ซึ่งรวมประเภทพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และที่ดินรกร้างด้วย) ดังตารางสรุปด้านล่างนี้

ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบภาษีที่ดินสำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัย และการจัดการปัญหาเกี่ยวกับรายละเอียดในจดหมายภาษีที่ดิน

สิ่งที่ต้องพิจารณาอันดับแรกเลยคือ คุณมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือไม่? ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านจะถูกนับเป็นบ้านหลังรอง กรณีนี้ไม่ว่าราคาประเมินจะเท่าไหร่ก็ต้องเสียภาษี แต่หากมีชื่อในทะเบียนบ้าน (บ้านหลังหลัก) ก็ต้องมาดูต่อว่า เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว หรือเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ถ้าเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว (บ้านเราแต่ไปสร้างบนที่ดินคนอื่น) กรณีราคาประเมินน้อยกว่า 10 ล้านบาท จะไม่ต้องเสียภาษี ส่วนกรณีมากกว่า 10 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี และถ้าเป็นที่ดินและบ้านหลังหลัก กรณีราคาประเมินน้อยกว่า 50 ล้านบาท จะไม่ต้องเสียภาษี ส่วนกรณีมากกว่า 50 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี

จากนั้นมาต่อกันที่ปัญหาที่พบในจดหมายแจ้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้หลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะพบว่าข้อมูลที่ระบุมาไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น ขนาดพื้นที่ไม่ถูกต้อง ประเภทการใช้สอยไม่ถูกต้อง ชื่อของเจ้าของบ้านไม่ถูกต้อง เป็นต้น สิ่งที่ต้องรู้ก็คือการยื่นเรื่องแก้ไขข้อมูลเหล่านี้ต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันหลังจากจดหมายแจ้งฯ ส่งถึงผู้รับ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว จะไปแก้ไขหลังจากนั้นก็ยังไม่มีรายละเอียดว่าทำได้หรือไม่ และทำได้อย่างไร

โดยในจดหมายที่ได้รับจะมีคิวอาร์โค้ด (QR Code) สำหรับการแจ้งขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ ซึ่งหลังจากแก้ไขมาเรียบร้อยแล้วก็อย่าลืมตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง หากยังมีจุดผิดก็ต้องยื่นเรื่องแก้ไขกันอีก แต่คาดว่าจะดำเนินการได้รวดเร็วกว่าการแจ้งครั้งแรก เพราะมีข้อมูลพร้อมเอกสารต่าง ๆ อยู่ก่อนแล้ว

ข้อแตกต่าง หลักการคำนวณภาษีบ้านและคอนโดฯ ที่ควรรู้

ต่อมาประเด็นที่หลายคนตั้งคำถามสำหรับการประเมินว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ และจำนวนเงินเท่าไรที่ต้องชำระ โดยในครั้งนี้เราจะเน้นไปที่ ภาษีของบ้านและคอนโดฯ ที่มีวิธีคิดและหลักการคำนวณที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

หลักการคำนวณภาษีบ้าน

การคำนวณภาษีจะแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่เป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับกรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น และเงื่อนไขของทั้ง 2 กรณีก็คือผู้ที่เป็นเจ้าของจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านด้วย วิธีการคิดภาษีจะวัดตามการประเมินมูลค่าซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

กรณีที่ 1: บ้าน (สิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดิน)

        • บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
        • บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 50-75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03 %
        • บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 75-100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05%
        • บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.1%

กรณีที่ 2: บ้าน (เฉพาะสิ่งปลูกสร้าง)

        • บ้าน มูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
        • บ้าน มูลค่า 10-50 ล้านบาท คิดภาษี 0.02%
        • บ้าน มูลค่า 50-75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03%
        • บ้าน มูลค่า 75-100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05%
        • บ้าน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.1%

หลักการคำนวณภาษีสำหรับคอนโดฯ 

การคิดภาษีของคอนโดฯ จะมีรายละเอียดมากกว่า ต้องใช้ข้อมูลทั้งการประเมินมูลค่าและขนาดของพื้นที่ แล้วนำมาเข้าสูตร จากนั้นก็หักลบกับเงื่อนไขของแต่ละประเภทคอนโดฯ อีกทีหนึ่งถึงจะได้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง

สูตรสำหรับคิดภาษีคอนโดฯ 

(ราคาประเมินต่อตารางเมตร x ขนาดพื้นที่ห้องชุด) = (มูลค่าของคอนโดฯ  x อัตราภาษีแบบขั้นบันได)

โดยมีการจำแนกประเภทของคอนโดฯ ออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งมีเงื่อนไขในการคิดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่างกัน ดังนี้

        • คอนโดฯ หลังแรก และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านแรก
        • คอนโดฯ หลังที่ 2 เป็นต้นไป ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ให้คิดภาษีทั้งหมดไม่มีส่วนยกเว้น
        • คอนโดฯ ปล่อยเช่า จะคิดภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย

ชำระภาษีกับใคร ภายในเมื่อไหร่?

เนื่องจากหน้าที่การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้ขึ้นกับกรมสรรพากร แต่เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต โดยจะออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน/บ้าน ให้ผู้เสียภาษีทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และมีกำหนดให้ผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี 

ทั้งนี้ ก่อนเดินทางไปจ่ายภาษีให้ตรวจสอบว่าพื้นที่ที่ได้รับแจ้งให้จ่ายภาษีขึ้นอยู่กับหน่วยงานใด เช่น

        • สำนักงานเทศบาล
        • องค์การบริหารส่วนตำบล
        • สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร
        • ศาลาว่าการเมืองพัทยา
        • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด

อย่างไรก็ดี สำหรับในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินเป็นปีแรก กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศขยายกำหนดเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินออกเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563 

และอีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถผ่อนชำระได้ด้วย โดยกำหนดระยะเวลาใหม่นั้น ยังคงการผ่อนชำระเป็น 3 งวด ได้แก่ สิงหาคม กันยายน และงวดสุดท้ายในเดือน ตุลาคม 2563

สำหรับใครที่ไม่ได้ชำระภาษีภายในเดือนกันยายนก็จะมีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่ยังค้างชำระ และขั้นตอนสุดท้ายในหน้าที่ของ อปท. คือ การแจ้งรายการภาษีค้างชำระให้กับสำนักงานที่ดินและสำนักงานที่ดินสาขา ภายในเดือนตุลาคม 2563

“แม้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะบังคับใช้แล้ว แต่จะเห็นได้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ นั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่มีบ้าน ในขณะเดียวกันก็ยังมีการผ่อนปรนต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัยเพื่อปล่อยเช่า เสียภาษีเท่ากับที่อยู่อาศัย แทนที่จะเสียเท่ากับประเภทพาณิชยกรรม นอกจากนี้ในปี 2563 ยังมีการลดอัตราภาษีลงถึง 90% ทำให้เจ้าของอสังหาฯ จ่ายภาษีน้อยลง อย่างไรก็ตามเจ้าของอสังหาฯ ควรต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาษีที่ดินฯ และเตรียมตัวให้พร้อมว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หากมีอสังหาฯ อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีทั้งในปัจจุบันและอนาคต 

ทั้งนี้ภาษีที่ดินฯ นี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนเอง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษีท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่เก็บได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาที่ดินรกร้างให้นำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น” นางกมลภัทร กล่าวทิ้งท้าย