PropertyGuru Appoints Ray Ferguson as Chairman of the Board with effect from January 1, 2024

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ 2 แพลตฟอร์มอสังหาฯ ชั้นนำของไทย ประกาศแต่งตั้ง “เรย์ เฟอร์กูสัน” นั่งตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 67 เป็นต้นไป

PropertyGuru Appoints Ray Ferguson as Chairman of the Board with effect from January 1, 2024

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or the “Company”), Southeast Asia’s leading1, property technology (“PropTech”) company, today announced the appointment by the board of directors (“Board”) of Mr. Ray Ferguson as an independent non-executive director and Chairman of the Board with effect from January 1, 2024.

Mr. Ferguson will succeed Mr. Olivier Lim, who has been Chair of PropertyGuru’s Board since September 2019.

Mr. Lim has overseen PropertyGuru’s growth to a successful scaled-up business with significantly improved economics and consistent double-digit revenue growth. During his tenure, the Company has successfully ventured into business adjacencies of fintech, data and software solutions and expanded its presence across Southeast Asia through acquisitions in Malaysia, Thailand and Singapore. Significantly, Mr. Lim also oversaw the Company’s successful public listing in March 2022 on the New York Stock Exchange.

Mr. Ferguson has had an extensive career in banking, having been with Standard Chartered Bank for 28 years across Asia, the Americas, the Middle East and Europe. His last role at Standard Chartered Bank was Chief Executive Officer, Singapore. He also served as Chairman and director of several Standard Chartered Bank subsidiary boards.

Mr. Ferguson currently serves as the Chairman of Singlife Group. He serves on the board of Paragon REIT as an independent non-executive director, is the Chairman and Co-founder of ZEN Yachts, and is the non-executive Chairman at fintech company Hashstacs Pte. Ltd.

Mr. Ferguson was awarded the Distinguished Fellow title by the Institute of Banking and Finance, Singapore and is a member of the Singapore Institute of Directors. He is also an Associate of the Institute of Bankers in Scotland.

He holds a Master of Business Administration degree from Henley Management College.

Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, said “On behalf of the Board and management team, I would like to thank Olivier for his leadership over the past four years. He has been an invaluable mentor to the Group leadership team and me personally as we navigated a challenging economic environment with strong growth, expansion and making some big bets. Most significantly, under his guidance we took the Company public, and we thank him for all his contributions to the Company. As we plan for our next phase of growth, I am personally delighted to be working with a seasoned chairman and business builder like Ray.”

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ 2 แพลตฟอร์มอสังหาฯ ชั้นนำของไทย ประกาศแต่งตั้ง “เรย์ เฟอร์กูสัน” นั่งตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 67 เป็นต้นไป

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ 2 แพลตฟอร์มอสังหาฯ ชั้นนำของไทย ประกาศแต่งตั้ง “เรย์ เฟอร์กูสัน” นั่งตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 67 เป็นต้นไป

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ 2 แพลตฟอร์มอสังหาฯ ชั้นนำของไทย ประกาศแต่งตั้ง “เรย์ เฟอร์กูสัน” นั่งตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 67 เป็นต้นไป

พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด  (หรือชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE คือ PGRU) (จากนี้จะเรียกว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “บริษัท”) บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (“PropTech”)1 และเป็นบริษัทแม่ของ 2 แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเมืองไทย ประกอบด้วย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่งของไทย และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาฯ ชั้นนำของไทย วันนี้ได้ประกาศมติของคณะกรรมการบริหารในการแต่งตั้งให้นายเรย์ เฟอร์กูสัน ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการอิสระที่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารในบอร์ดปัจจุบัน และขึ้นเป็นประธานกรรมการบริหาร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป 

ทั้งนี้ นายเรย์จะดำรงตำแหน่งต่อจากนายโอลิเวียร์ ลิม ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของพร็อพเพอร์ตี้กูรูมาตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 

ภายใต้การบริหารของนายโอลิเวียร์ พร็อพเพอร์ตี้กูรูประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้น ทั้งในด้านของผลิตภัณฑ์และบริการ ไปจนถึงการเติบโตของรายได้ที่มีการเติบโตในระดับตัวเลขสองหลักอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถขยายธุรกิจไปสู่บริการด้านฟินเทค (Fintech), ข้อมูลและโซลูชันซอฟต์แวร์ต่าง ๆ (Data and software solutions) และยังขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการควบรวมกิจการในตลาดที่บริษัทดำเนินกิจการอยู่อย่างมาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์ และที่สำคัญที่สุด นายโอลิเวียร์มีบทบาทสำคัญที่ผลักดันให้บริษัทกลายเป็นบริษัทมหาชน และสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กได้สำเร็จเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา 

ในขณะที่นายเรย์มีประสบการณ์อย่างยาวนานในธุรกิจด้านการเงินการธนาคาร โดยร่วมงานกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมาเป็นเวลา 28 ปี ดูแลตลาดทั้งในเอเชีย อเมริกา ตะวันออกกลาง และยุโรป โดยตำแหน่งสุดท้ายของนายเรย์ที่ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารและคณะกรรมการบริหารในอีกหลายบอร์ดบริหารย่อยของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดอีกด้วย  

ปัจจุบันนายเรย์ยังดำรงตำแหน่งประธานบริหารของซิงไลฟ์ กรุ๊ป อีกทั้งยังเป็นคณะกรรมการอิสระที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารในบอร์ดบริหารของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ Paragon REIT รวมทั้งเป็นประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทผลิตเรือยอร์ช ZEN Yachts และยังเป็นประธานกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารในบริษัทฟินเทค Hashstacs Pte. Ltd. 

นายเรย์ได้รับรางวัลบุคคลทรงคุณค่า (Distinguished Fellow) จากสถาบันการธนาคารและการเงินแห่งสิงคโปร์ และยังเป็นสมาชิกของสถาบันกรรมการบริษัทของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารสมาคมธนาคารแห่งสก็อตแลนด์ 

นายเรย์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ จากวิทยาลัยการจัดการเฮนลีย์  (Henley Management College)

ด้านนายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า “ในฐานะตัวแทนของคณะกรรมการและทีมบริหารทุกคน ผมอยากจะแสดงความขอบคุณคุณโอลิเวียร์ที่นำพากรุ๊ปของเราเดินหน้าสู่การเติบโตอย่างมากมายตลอด 4 ปีที่ผ่านมา คุณโอลิเวียร์เป็นผู้นำที่ทรงคุณค่าและเป็นหัวหน้าทีมที่คอยให้คำปรึกษาที่ดีให้กับทีมบริหารและตัวผมเอง สามารถพากรุ๊ปเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่เราต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจรอบด้าน อีกทั้งยังขยายธุรกิจให้กว้างขวางออกไปได้ และที่สำคัญที่สุด ภายใต้การนำทีมของคุณโอลิเวียร์ เราสามารถเข้าไปเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กได้ ผมขอขอบคุณสำหรับความทุ่มเท และทุก ๆ สิ่งที่คุณโอลิเวียร์ได้อุทิศให้กับบริษัทของเรา ในขณะที่เรากำลังวางแผนสู่การเติบโตในเฟสต่อไป ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะทำงานร่วมกับประธานกรรมการและนักสร้างธุรกิจผู้มากประสบการณ์อย่างคุณเรย์”

 

อัปเดตทิศทางอสังหาฯ อาเซียน ผู้คนยังอยากมีบ้านแม้มีความท้าทายรออยู่รอบด้าน

อัปเดตทิศทางอสังหาฯ อาเซียน ผู้คนยังอยากมีบ้านแม้มีความท้าทายรออยู่รอบด้าน

อัปเดตทิศทางอสังหาฯ อาเซียน ผู้คนยังอยากมีบ้านแม้มีความท้าทายรออยู่รอบด้าน

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลให้หลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายเพื่อผ่อนคลายผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจ  ข้อมูลจากรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ฉบับเดือนกันยายน 2566 ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดว่าเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในปี 2566 จะเติบโตที่ 4.7% ซึ่งปรับลดลงจากเดิม 4.8% ที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ 3.5% โดยมีปัจจัยบวกมาจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์, มาเลเซีย และเวียดนามที่มีการปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจลงจากเดิม (เหลือ 1.0%, 4.5% และ 5.8% ตามลำดับ) ที่ยังมีความท้าทายทั้งในและนอกประเทศรุมล้อมอยู่ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อและความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ รวมทั้งการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องอาศัยการเติบโตทางเศรษฐกิจช่วยขับเคลื่อนเช่นกัน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคในอาเซียนรอบล่าสุด (ประกอบด้วยประเทศไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย และเวียดนาม) จากเว็บไซต์ในเครือพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป (NYSE: PGRU) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์โดยรวมของทั้งภูมิภาคส่วนใหญ่ยังทรงตัว มีเพียงดัชนีความเชื่อมั่นของชาวไทยที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในอาเซียนมาอยู่ที่ 50% ตามมาด้วยของชาวมาเลเซียอยู่ที่ 45% ส่วนชาวสิงคโปร์และชาวเวียดนามมีดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากันที่ 43% ขณะเดียวกัน ความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างไปตามบริบทแวดล้อมของแต่ละประเทศ แม้ความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยของชาวไทยจะทรงตัวอยู่ที่ 65% แต่ก็ยังสูงที่สุดในอาเซียน ตามมาด้วยชาวมาเลเซียอยู่ที่ 56% และเป็นประเทศเดียวที่ปรับเพิ่มในรอบนี้ ขณะที่ชาวเวียดนามอยู่ที่ 50% ส่วนชาวสิงคโปร์อยู่ที่ 37% ซึ่งต่ำกว่าทุกประเทศในตลาดอาเซียน

อย่างไรก็ตาม แม้อสังริมหาทรัพย์จะเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง แต่ยังมีโอกาสต่อยอดลงทุนได้ในระยะยาว จึงทำให้มากกว่าครึ่งของผู้บริโภคในอาเซียนยังคงมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยอยู่ไม่น้อย โดยเกือบ 2 ใน 3 ของชาวสิงคโปร์ (64%) วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยภายใน 1 ปีข้างหน้า ตามมาด้วยชาวเวียดนาม (61%) ชาวมาเลเซีย (56%) และชาวไทย (53%) ซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่นในตลาดอาเซียน สวนทางกับดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์และความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยที่ชาวไทยครองอันดับหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่ายังมีปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ผลกระทบทางการเงินยังผลักดันให้คนรุ่นใหม่เลือกเช่าแทนจนเกิดเป็นเทรนด์ Generation Rent ในปัจจุบัน

ภาครัฐสนับสนุนให้คนอาเซียนมีบ้านมากแค่ไหนในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น 

นอกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว อัตราดอกเบี้ยยังถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค โดยผู้บริโภคในอาเซียนส่วนใหญ่กว่า 3 ใน 4 ต่างมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยชาวมาเลเซีย 86% มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับสูง รองลงมาคือชาวสิงคโปร์อยู่ที่ 81%, ชาวไทยอยู่ที่ 76% และชาวเวียดนามอยู่ที่ 75% 

การรับรู้ของชาวอาเซียนต่อความพยายามของภาครัฐที่จะทำให้ที่อยู่อาศัยมีราคาจับต้องได้มีทิศทางลดลง โดยมีเพียงชาวเวียดนามแค่ 50% ที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ หลังจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้และออกมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง ตามมาด้วยชาวสิงคโปร์ (24%) ชาวมาเลเซีย (20%) และชาวไทย (15%) ซึ่งต่ำที่สุดในอาเซียน เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นการเติบโตของตลาดอสังหาฯ หรือออกมาตรการช่วยเหลือใด ๆ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม 

สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ยังคงต้องการมาตรการช่วยเหลือและส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยจากภาครัฐควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสภาพเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนี้ หากภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ด้วยกลไกช่วยเหลือที่ตรงจุด เชื่อว่าจะส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น

เกาะติดเทรนด์ที่อยู่อาศัยชาวอาเซียน “ความท้าทายการเงิน” กับดักของคนอยากมีบ้าน

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยล่าสุดใน 4 ตลาดหลักของอาเซียน เผยให้เห็นมุมมองและความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค แม้จะเผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่เป็นปัจจัยสั่นคลอนสภาพคล่องทางการเงินอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงอย่างไรการซื้อที่อยู่อาศัยก็ยังคงเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ชาวอาเซียนให้ความสำคัญ 

  • มากกว่าครึ่ง (51%) ของชาวสิงคโปร์ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยมองว่าการจะมีบ้านหลังแรกเป็นของตัวเองมีความยาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงในกลุ่มผู้ที่มีสถานะโสด (55%) ขณะที่คู่สมรสที่มีบุตรก็มีมุมมองเช่นเดียวกัน (49%) อันเป็นผลมาจากความท้าทายต่าง ๆ ที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูง และราคาอสังหาฯ ที่เป็นปัจจัยขัดขวางการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเวลานี้ ซึ่งมากกว่าครึ่ง (53%) ของชาวสิงคโปร์เผยว่าจะชะลอแผนซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนจนกว่าสถานการณ์เงินเฟ้อจะดีขึ้น ขณะที่ผู้เช่าส่วนใหญ่ (37%) วางแผนจะเช่าต่ออีกไม่เกิน 2 ปีและจะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง อย่างไรก็ดี หากเผชิญสถานการณ์ที่โครงการขึ้นค่าเช่า ผู้เช่าเกือบครึ่ง (44%) จะเลือกมองหาโครงการอื่นที่มีค่าเช่าถูกกว่าแทน และ 37% จะลดการใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อนำมาจ่ายค่าเช่าที่สูงขึ้นนี้

    สำหรับปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยของประชากรสิงคโปร์นั้น มากกว่า 2 ใน 3 (71%) ให้ความสำคัญกับขนาดที่อยู่อาศัยมากที่สุด ตามมาด้วยราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอย 69% ส่วนประเภทที่อยู่อาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่พัก มีสัดส่วนเท่ากันที่ 39% ขณะที่ปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจนั้น มากกว่าครึ่ง (58%) มองว่าต้องสามารถเดินไปยังสถานีรถไฟฟ้า MRT (Mass Rapid Transit) ได้ ซึ่งถือเป็นระบบขนส่งสาธารณะหลักที่เดินทางได้สะดวกและรวดเร็ว ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของชาวสิงคโปร์ ตามมาด้วยทำเลที่ตั้งของโครงการ (46%) และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ (45%) 
  • เหตุผลสำคัญที่ชาวมาเลเซียวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า ส่วนใหญ่เน้นไปที่การลงทุนเป็นหลัก โดยเกือบครึ่ง (46%) ซื้อเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ ตามมาด้วยซื้อเพื่อลงทุนหารายได้จากค่าเช่า (43%) มีเพียง 25% เท่านั้นที่ซื้อเพราะต้องการพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยเพียง 27% เท่านั้นที่มีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ขณะที่มากกว่าครึ่ง (54%) เผยว่าเก็บเงินได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น ส่วนอีก 18% ยังไม่ได้เริ่มแผนเก็บเงินใด ๆ อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการใช้จ่ายยังคงเป็นความท้าทายของคนหาบ้าน โดยชาวมาเลเซียส่วนใหญ่ (41%) เผยว่าหน้าที่การงานที่ไม่มั่นคงและรายได้ที่ไม่แน่นอนถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่ออสังหาฯ ตามมาด้วยมีเงินดาวน์ไม่พอ 39% และไม่มีเอกสารประกอบที่เพียงพอ 24% ด้านเหตุผลหลักของผู้ที่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยนั้น เกือบ 2 ใน 3 (65%) เผยว่าไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัยในตอนนี้ ขณะที่ 32% มองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงเกินไป จึงเลือกเก็บเงินไว้แทน และ 24% ไม่เห็นความจำเป็นหรือความเร่งด่วนที่ต้องซื้อ

    อย่างไรก็ดี ราคาขายเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอยถือเป็นปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยมากที่สุด (42%) ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลส่วนใหญ่ที่ชาวมาเลเซียเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุนเป็นหลัก ตามมาด้วยพิจารณาจากประเภทที่อยู่อาศัย (36%) และขนาดที่อยู่อาศัย (31%) ส่วนปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจนั้น เกือบครึ่ง (49%) จะให้ความสำคัญกับทำเลที่ตั้งมากที่สุด ตามมาด้วยความปลอดภัยของโครงการ (47%) โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก (34%) อย่างไรก็ดี แม้ความยั่งยืนจะเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นใหม่ในแวดวงที่อยู่อาศัย แต่มีเพียง 1 ใน 4 (26%) เท่านั้นที่ยินดีจะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยที่มีแนวคิดรักษ์โลก (Green Home) ขณะที่ส่วนใหญ่ (62%) เปิดรับแนวคิดนี้แต่ยังคงมีความไม่แน่ใจในตอนนี้
  • มากกว่าครึ่ง (59%) ของชาวเวียดนามเผยว่าเหตุผลหลักที่ทำให้วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้ามาจากความต้องการซื้อเพื่อลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือต้องการพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลาน (26%) และต้องการพื้นที่ส่วนตัว (22%) แม้ปีนี้จะมีความท้าทายเกิดขึ้นในตลาดอสังหาฯ ของเวียดนาม แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ชาวเวียดนามมีความพร้อมทางการเงินพอสมควร โดยเกือบ 2 ใน 5 (38%) ของผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยเผยว่ามีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อบ้าน/คอนโดฯ เป็นของตัวเองแล้ว ถือเป็นระดับที่สูงที่สุดในอาเซียน ขณะที่มากกว่าครึ่ง (53%) เก็บเงินเพื่อซื้อได้ครึ่งทางแล้ว มีเพียง 8% เท่านั้นที่ยังไม่ได้เริ่มแผนออมเงินซื้อบ้าน ซึ่งต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงความท้าทายในการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย มากกว่าครึ่ง (51%) เผยว่าความไม่มั่นคงในอาชีพและรายได้เป็นอุปสรรคหลักเมื่อต้องขอสินเชื่อบ้าน และตามมาด้วย 38% ไม่คุ้นเคยในการเตรียมเอกสาร

    ขณะเดียวกัน เหตุผลหลักของผู้ที่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยใน 1 ปีข้างหน้านั้น ส่วนใหญ่ (38%) เผยว่าไม่ต้องการปักหลักอยู่ที่ใดที่หนึ่งและชอบความยืดหยุ่นของการเช่า ตามมาด้วยมองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพง จึงอยากเก็บเงินไว้แทน (29%) และไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้ (27%) อย่างไรก็ดี ผู้เช่าส่วนใหญ่ (31%) วางแผนจะเช่าที่อยู่อาศัยไม่เกิน 2 ปี ก่อนจะซื้อเป็นของตัวเองในอนาคต โดยหากบ้าน/คอนโดฯ ที่เช่าอยู่มีการปรับราคาขึ้น ผู้เช่าส่วนใหญ่ (30%) เลือกที่จะวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยให้เร็วขึ้น รองลงมาคือเลือกหาที่ใหม่ที่ค่าเช่าถูกกว่าแทน และจะลดค่าครองชีพลงเพื่อมาใช้จ่ายค่าเช่า ในสัดส่วนเท่ากันที่ 28% 
  • เหตุผลที่ทำให้ชาวไทยตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยมาจากความต้องการของตนเองเป็นหลัก แตกต่างจากชาวมาเลเซียและชาวเวียดนามที่ให้ความสำคัญไปที่การลงทุนมาเป็นอันดับแรก โดยชาวไทยส่วนใหญ่ (44%) ซื้อเพราะต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากที่สุด รองลงมาคือ ซื้อเพื่อการลงทุน (28%) และต้องการพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลาน (24%) ซึ่งวัยทำงานมักจะเริ่มขยับขยายที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการสร้างครอบครัวในอนาคต อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงความพร้อมทางการเงินของคนไทย มีผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยเพียง 2 ใน 5 (24%) เท่านั้นที่มีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองในเวลานี้ ขณะที่ส่วนใหญ่ (54%) เก็บเงินได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น และ 1 ใน 5 (21%) ยังไม่ได้เริ่มแผนเก็บเงินใด ๆ ขณะเดียวกัน ปัจจัยทางการเงินยังคงเป็นความท้าทายเมื่อต้องยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยมากกว่าครึ่งของชาวไทย (56%) เผยว่ารายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคงถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อบ้าน ตามมาด้วยมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี (32%) และสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ไม่เอื้ออำนวย (29%) 

นอกจากนี้ ความท้าทายทางการเงินยังส่งผลให้ชาวไทยหันมาเลือกการเช่าแทน เกือบ 2 ใน 3 (64%) ของผู้ที่เลือกเช่าเผยว่าไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัย ขณะที่ 41% มองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงเกินไปจึงขอเก็บเงินไว้แทน และไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องซื้อในเวลานี้ (30%) อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัย เกือบครึ่งของชาวไทย (45%) เลือกจากขนาดที่อยู่อาศัยเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่พัก (41%) และราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอย (38%) ขณะที่ปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจ มากกว่าครึ่งจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของโครงการเป็นหลัก (51%) และต้องเดินทางได้สะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (50%) ตามมาด้วยเลือกจากทำเลที่ตั้งของโครงการ (47%) 

สถานการณ์การซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค

ไขข้อสงสัยขายบ้านเอง VS ขายผ่านเอเจนต์ แบบไหนเหมาะ เลือกอย่างไรไม่ให้ว้าวุ่น

ไขข้อสงสัยขายบ้านเอง VS ขายผ่านเอเจนต์ แบบไหนเหมาะ เลือกอย่างไรไม่ให้ว้าวุ่น

ไขข้อสงสัยขายบ้านเอง VS ขายผ่านเอเจนต์ แบบไหนเหมาะ เลือกอย่างไรไม่ให้ว้าวุ่น

ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเงิน และสังคมมีผลอย่างมากต่อการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องพิจารณาความท้าทายรอบด้านอย่างรอบคอบ ซึ่งในทางปฏิบัติของการซื้อหรือขายอสังหาริมทรัพย์มีรายละเอียดต่าง ๆ มากมายตลอดกระบวนการซื้อหรือขาย ตั้งแต่การเลือกโครงการ ทำเล เจ้าของบ้านหรือผู้พัฒนา ราคา ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมจิปาถะ ไปจนถึงการทำเรื่องธุรกรรมต่าง ๆ ส่วนในฝั่งของผู้ขายก็ต้องการขายให้ได้เร็วที่สุด เพื่อลดภาระดอกเบี้ยหรือคืนทุนให้เร็วที่สุด ซึ่งแนวโน้มการใช้เอเจนต์อสังหาฯ มาทำหน้าที่จุกจิกเหล่านี้แทนกำลังได้รับความนิยม ด้วยความรู้ความเข้าใจ คำแนะนำ และช่องทางการดำเนินงานต่าง ๆ ที่จะช่วยลดความยุ่งยากและประหยัดเวลาของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไปได้อย่างชัดเจน 

การซื้อ ขาย หรือเช่าบ้านให้ได้ตรงใจถ้าไม่มีประสบการณ์มาก่อนก็อาจเป็นเรื่องปวดหัวมากถึงมากที่สุด เพราะกว่าจะพบที่อยู่อาศัยที่ถูกใจต้องผ่านหลายกระบวนการ ตั้งแต่ประเภทของบ้านที่อยากได้ งบประมาณที่มี ทำเลที่ตอบโจทย์ ฟังก์ชั่นใช้สอย ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลา สมอง และพลังงานมหาศาล ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้เช่า หรือผู้ปล่อยเช่าอสังหาฯ สามารถให้เอเจนต์ทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่มีรายละเอียด ข้อมูล การติดต่อประสานงานและขั้นตอนที่จุกจิกแทนได้ การเลือกใช้เอเจนต์ที่มีคุณภาพและได้รับการรับรอง จึงกลายเป็นอีกตัวช่วยที่จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้เวลา สมอง และงบประมาณกับเรื่องสำคัญนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ความท้าทายของมือใหม่ ขายบ้านเองง่ายอย่างที่คิดจริงหรือ

จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคที่วางแผนซื้อบ้านในเวลานี้มีความกังวลใจต่อภาระค่าใช้จ่ายและเลือกชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อน โดยหันมาเลือกเช่าที่อยู่อาศัยแทน ขณะที่โครงการรีเซลหรือโครงการมือสอง ซึ่งมีต้นทุนราคาที่ถูกกว่าบ้านใหม่ กลายเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่มีงบประมาณจำกัดและมีความจำเป็นต้องซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้มีสินค้าบ้าน/คอนโดฯ มือสองจะนำออกมาขายสู่ตลาดเพื่อตอบรับความต้องการที่มีในตอนนี้

อย่างไรก็ดี ภายใต้โอกาสนั้นก็ยังมีความท้าทายซ่อนอยู่ เนื่องจากการขายอสังหาฯ มีความแตกต่างจากการขายสินค้าทั่วไปพอสมควร อันดับแรกผู้ที่ต้องการขายที่อยู่อาศัยมือสองต้องทำความเข้าใจก่อนว่า แม้ที่อยู่อาศัยจะมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่ถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ ก่อนตัดสินใจซื้อจึงต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แม้การประกาศขายบ้านเองนั้นมีข้อดีตรงที่ผู้ขายได้รับเงินเต็มจำนวนทั้งหมดโดยไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นเหมือนการขายผ่านเอเจนต์ แต่ในทางตรงกันข้าม การประกาศขายที่อยู่อาศัยมือสองไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ หากไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนผู้บริโภคมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความท้าทายที่ถูกมองข้ามเมื่อคิดขายบ้านเอง ได้แก่

  • ตั้งราคาขายตามใจ ไม่สนราคาตลาด ขั้นตอนการตั้งราคาขายบ้านมือสองนั้นถือว่ามีความสำคัญอันดับต้น ๆ เนื่องจากถือเป็นปัจจัยแรกที่ดึงดูดผู้ซื้อ ผู้ขายมือใหม่หลายคนมักจะเลือกตั้งราคาตามที่ต้องการ โดยลืมพิจารณาปัจจัยสำคัญคือราคาขายของสินค้าประเภทเดียวกันในทำเลนั้น ๆ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งโดยตรงที่ผู้ซื้อสามารถเปรียบเทียบได้ทันที ผู้ขายควรจะศึกษาราคาขายเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยมือสองประเภทเดียวกันในทำเลนั้น ๆ ก่อน หากเป็นบ้าน/คอนโดฯ ที่ผ่อนชำระอยู่ก็ต้องตั้งราคาให้ครอบคลุมภาระหนี้ที่เหลือ โดยหักค่าเสื่อมของอสังหาฯ ออก และต้องไม่ลืมรวมค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องซ่อมแซมจุดชำรุดแล้วตกแต่งบ้านให้สวยงามพร้อมเข้าอยู่ ค่าทำการตลาดเมื่อประกาศขาย รวมทั้งบวกค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนที่ผู้ขายต้องรับผิดชอบด้วย โดยราคาขายควรเหมาะสมกับสภาพอสังหาฯ ไม่แพงเกินไปจนผู้ซื้อเมินตั้งแต่ครั้งแรก และไม่ถูกจนทำให้เกิดข้อสงสัยว่าที่อยู่อาศัยนั้นมีปัญหาซ่อนอยู่ หรือผู้ขายร้อนเงิน ซึ่งจะทำให้เสี่ยงโดนกดราคาเพิ่ม
  • ไม่เข้าใจการวางแผนการตลาด การประกาศขายอสังหาฯ นั้นมีทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ให้เลือก ปัจจัยสำคัญคือต้องเริ่มต้นวางแผนทำการตลาดให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ซื้อมากที่สุด ใช้ข้อความให้ดึงดูดใจจากราคาและความคุ้มค่าจากของแถมที่มอบให้ เลือกใช้รูปถ่ายที่สวยงามในมุมที่ทำให้บ้านดูกว้างขวาง ไม่อึดอัด ข้อควรคำนึงคือการประกาศขายผ่านช่องทางออนไลน์นั้นแม้จะมีความสะดวกและเข้าถึงผู้คนได้มากกว่า แต่ในทางกลับกันก็มีการแข่งขันที่สูงไม่น้อย ดังนั้นการประกาศฟรีตามเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสหรือโซเชียลมีเดียอาจไม่เพียงพอ บางครั้งจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการเพิ่มยอดผู้เข้าชม หรือให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย ขณะเดียวกันผู้ขายอาจไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่าต้องใช้ระยะเวลานานเพียงใดกว่าจะปิดการขายได้ หากไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ดีพอเพื่อวางแผนการตลาด อาจทำให้ไม่สามารถขายออกได้ง่ายหรืองบส่วนนี้บานปลาย
  • ไม่มีเวลาเพียงพอในการพาผู้ซื้อเยี่ยมชม เมื่อมีผู้สนใจซื้อและขอนัดหมายเยี่ยมชมที่อยู่อาศัยที่ประกาศขายจริง ผู้ขายต้องเป็นคนดำเนินการเอง ซึ่งปกติแล้วจะมีการขอเยี่ยมชมเรื่อย ๆ จากหลากหลายลูกค้าที่สนใจ ซึ่งผู้ขายต้องทำใจว่าอาจต้องใช้เวลาในการเปิดบ้านและพาไปเยี่ยมชมและให้ข้อมูลหลาย ๆ ครั้งจนกว่าจะขายได้ หรือบางกรณีที่ผู้สนใจซื้อสะดวกนัดหมาย แต่อาจจะไม่ตรงกับช่วงเวลาที่ผู้ขายว่าง ซึ่งหากเกิดกรณีที่ต้องเลื่อนนัดหรือปฏิเสธนัดบ่อย ๆ ก็เป็นการลดโอกาสที่จะขายได้ตามไปด้วย เนื่องจากผู้ซื้ออาจสนใจโครงการอื่นที่ไปดูแทนหรือมีความจำเป็นเร่งด่วนในการหาบ้านใหม่ นอกจากนี้ผู้ขายยังต้องเผชิญความท้าทายในการพิจารณาว่าผู้ที่สนใจซื้อนั้นเป็นลูกค้าจริง หรือเป็นแค่มิจฉาชีพที่แฝงตัวมา
  • ขาดทักษะในการต่อรอง ผู้ขายต้องมีทักษะในการสื่อสารและวาทศิลป์ที่ดีในการดึงดูดใจเมื่อให้ข้อมูลบ้านที่จะขาย เพื่อให้สามารถปิดการขายได้ภายในเวลาที่รวดเร็วและขายได้ตามราคาที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้ขายมือใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการขายบ้าน/คอนโดฯ มาก่อน มักเผชิญความท้าทายเมื่อผู้ซื้อต้องการให้ลดราคาลง หรือต่อรองราคาโดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ขอลดราคาโดยไม่เอาเฟอร์นิเจอร์ หรือหาจุดชำรุดมากดดันขอลดราคาเพิ่ม นอกจากนี้ ระหว่างการสื่อสารกันนั้น ผู้ขายไม่ควรบอกเหตุผลการขายในเชิงลบที่อาจเสี่ยงต่อการถูกกดราคา หรือยกเลิกการซื้อในภายหลังเช่นกัน
  • ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเอกสารสัญญา การซื้อขายที่อยู่อาศัยมือสองนั้นมีรายละเอียดที่แตกต่างจากการซื้อขายทรัพย์สินอื่น ๆ และซับซ้อนกว่า ผู้ขายต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องการทำสัญญาการขายให้รอบคอบและครอบคลุม รายละเอียดในสัญญาต้องชัดเจนทั้งในเรื่องราคา เงื่อนไข เวลาในการดำเนินงานต่าง ๆ หรือค่าเสียเวลาหากผู้ซื้อเปลี่ยนใจยกเลิกสัญญาในภายหลัง นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้เรื่องสินเชื่อ การเตรียมเอกสารในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ขณะเดียวกันยังต้องศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายวันโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อทำความเข้าใจว่าส่วนไหนบ้างที่ผู้ขายต้องรับผิดชอบเอง ซึ่งควรคำนวณค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ในราคาขายบ้านตั้งแต่แรก รายละเอียดเหล่านี้ต้องใช้เวลาศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนจะประกาศขาย เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในภายหลัง

“เอเจนต์” สะพานเชื่อมผู้ขายและผู้ซื้อ มีดีมากกว่าแค่ขายบ้าน

รายละเอียดของการซื้อ-ขายบ้าน/คอนโดฯ มือสองนั้นแตกต่างจากการซื้อบ้านใหม่ไม่น้อย ผู้ขายมือใหม่จึงจำเป็นต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดทั้งในด้านการตลาดและเอกสารสัญญา ถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนในการบริหารจัดการขั้นตอนต่าง ๆ หรือไม่มีเวลาเพียงพอในการทำทุกอย่างด้วยตนเอง การเลือกใช้บริการเอเจนต์อสังหาฯ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและช่วยอำนวยความสะดวกให้การขายบ้าน/คอนโดฯ เป็นไปอย่างราบรื่น อย่างไรก็ดี บางคนอาจมีความเชื่อผิด ๆ มองว่าเอเจนต์ทำได้แค่ขายเพียงอย่างเดียว จึงเสียดายเงินหากต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่น ซึ่งแท้จริงแล้วเอเจนต์มืออาชีพนั้นมีบทบาทอยู่ในทุกขั้นตอนของเส้นทางการซื้อขายที่อยู่อาศัย ดังนี้ 

  • เป็นที่ปรึกษา คอยดูแลในทุกขั้นตอน เอเจนต์มีประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในการซื้อขายอสังหาฯ เป็นอย่างดี จากการศึกษาตลาด เรียนรู้ทักษะที่เกี่ยวข้อง และติดตามข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ ตลอดเวลา เอเจนต์จะช่วยดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการตั้งราคาขายบ้าน/คอนโดฯ ที่เหมาะสม ตรวจสอบจุดบกพร่องที่ควรซ่อมแซม ให้คำปรึกษาเพื่อปรับปรุงตกแต่งบ้าน/คอนโดฯ ให้สวยงามขึ้น เพื่อช่วยให้ขายบ้านได้ราคาดีและดึงดูดใจผู้ซื้อ นอกจากนี้ เอเจนต์ยังมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญา การขอสินเชื่อในฝั่งผู้ซื้อ และการโอนกรรมสิทธิ์ ถือเป็นที่ปรึกษาที่ช่วยเตรียมการ อำนวยความสะดวก และแก้ไขปัญหาในการขายที่อยู่อาศัยให้ราบรื่น ประหยัดเวลาของผู้ขายมากขึ้น และลดความยุ่งยากในขั้นตอนที่ไม่คุ้นชินออกไป
  • เป็นทั้งนักวิเคราะห์และนักวางแผนการตลาด การประกาศขายที่อยู่อาศัยให้ได้รับผลตอบรับที่ดีนั้น เอเจนต์ต้องทำการวิเคราะห์ในทุกขั้นตอน เพื่อนำมาวางแผนขายบ้าน/คอนโดฯ มือสองให้มีประสิทธิภาพที่สุด โดยต้องศึกษาจุดเด่นของอสังหาฯ ที่ต้องการขาย นำมาวิเคราะห์โอกาสในทำเลนั้นๆ โดยเปรียบเทียบกับที่อยู่อาศัยประเภทเดียวกันที่ประกาศขายในทำเลนั้น ๆ ว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับราคาเท่าไร ผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักคือใคร มีการติดตามสื่อผ่านช่องทางไหนบ้างและนำข้อมูลทั้งหมดมาวางแผนว่าจะประกาศขายในสื่อออฟไลน์และออนไลน์ที่ใดบ้าง ใช้ระยะเวลาเท่าไร และมีกลยุทธ์ใดบ้างที่จะนำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้ปิดการขายได้ไวขึ้น 
  • สวมบท Matchmaker ช่วยจับคู่และสกรีนผู้ซื้อ เอเจนต์จะมีประสบการณ์การซื้อ-ขายในตลาดมากกว่าผู้บริโภคทั่วไป จึงมีความเข้าใจความต้องการที่ต่างกันทั้งของผู้ซื้อและผู้ขาย และมีเครือข่ายของเอเจนต์เองหรือฐานข้อมูลลูกค้าของบริษัทที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เชื่อมโยงให้ผู้ขายได้พบกับผู้ซื้อที่มีความต้องการที่ตรงกัน ขณะเดียวกัน เอเจนต์ยังมีประสบการณ์ที่จะช่วยประเมินว่าผู้สนใจซื้อคนไหนมีศักยภาพในการซื้อมากเพียงพอ นอกจากจะเป็นตัวแทนในการพาผู้สนใจซื้อมาเยี่ยมชมโครงการแล้ว ยังมีเทคนิคและทักษะที่ดีในการเจรจา เป็นเสมือนคนกลางที่ลดความร้อนแรงเมื่อมีการต่อรองราคา ช่วยหลีกเลี่ยงการโดนกดราคาจากผู้สนใจซื้อโดยตรง และโน้มน้าวให้เห็นความคุ้มค่าของบ้าน เพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อในราคาที่ตั้งไว้หรือใกล้เคียง
  • เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเอกสารและสัญญา เอเจนต์ต้องมีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม เพื่อให้สามารถช่วยผู้ขายได้ตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบว่าที่อยู่อาศัยอยู่ในเงื่อนไขที่สามารถขายได้ มีหนี้ค้างชำระหรือพันธะกับทางธนาคารหรือไม่ ซึ่งจะไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านที่ติดจำนองได้ จนกว่าจะเคลียร์หนี้กับธนาคารและทำเรื่องปลอดจำนองก่อน รวมทั้งแนะนำการไถ่ถอนหลักทรัพย์กรณีที่ที่อยู่อาศัยนั้นยังติดผ่อนธนาคาร ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่องที่ต้องจัดการให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีปัญหาภายหลังเมื่อมีการตกลงซื้อขาย นอกจากนี้ เอเจนต์ยังสามารถช่วยเตรียมเอกสารในการทำสัญญาต่าง ๆ ครอบคลุมตั้งแต่การทำสัญญาจะซื้อจะขาย การวางเงินมัดจำ การช่วยลูกค้าขอสินเชื่อ การเตรียมสัญญาซื้อขายและเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนการโอนกรรมสิทธิ์ ลดเวลาในการดำเนินการเอง และช่วยให้มั่นใจในความถูกต้อง

เลือกเอเจนต์อย่างไรให้ปลอดภัย ไร้กังวลเรื่องโดนหลอก

ก่อนตัดสินใจเลือกเอเจนต์ ผู้ขายควรตรวจสอบประวัติและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย ซึ่งมีการสอบวัดความรู้ทางด้านการเป็นตัวแทนและสอบวัดจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งขอดูผลงานการขายที่ผ่านมาก่อน เพื่อพิจารณาคุณภาพและความรู้ความสามารถของเอเจนต์เบื้องต้น จากนั้นจึงตกลงรายละเอียดในสัญญาว่าจ้างเอเจนต์ให้เรียบร้อยว่า ภายใต้ค่านายหน้านั้นครอบคลุมบริการอะไรบ้าง เช่น ค่าทำการตลาด ค่าเดินทางพาลูกค้าเยี่ยมชมโครงการ เพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายแฝงที่อาจเพิ่มมาในภายหลังโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนในการขาย 

  • หากเอเจนต์สามารถขายบ้านในราคาสูงกว่าที่ตกลงไว้ในตอนต้น เจ้าของบ้านจะตกลงให้จำนวนเงินส่วนที่เกินเป็นของเอเจนต์หรือไม่
  • เมื่อตกลงว่าจ้างแล้ว ค่านายหน้าจะต้องจ่ายในทุกกรณีที่ขายบ้าน/คอนโดฯ นั้นสำเร็จ แม้เจ้าของบ้านจะขายได้เองหรือไม่
  • บางครั้งสัญญาจะระบุว่าเจ้าของต้องแต่งตั้งให้เอเจนต์นั้น ๆ เป็นตัวแทนขายแต่เพียงผู้เดียว ห้ามมิให้เอเจนต์ผู้อื่นเป็นตัวแทนขายเป็นอันขาด ภายในระยะเวลาตามที่กำหนด ซึ่งถือเป็นวิธีป้องกันให้เอเจนต์ไม่มีความเสี่ยงที่จะถูกเจ้าของบ้านหรือเอเจนต์คนอื่นขายตัดหน้า
ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด

โดยทั่วไปแล้วการขายที่อยู่อาศัยผ่านเอเจนต์จะต้องเสียค่านายหน้าหรือค่าคอมมิชชั่นประมาณ 3% ของราคาซื้อขาย และเอเจนต์จะเก็บค่านายหน้าเมื่อลูกค้าทำสัญญาซื้อขายเรียบร้อยแล้วหรือปิดการขายได้แล้วนั่นเอง ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาข้อดีและข้อจำกัดอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจว่าการเลือกขายบ้านด้วยตนเอง หรือผ่านเอเจนต์ วิธีไหนที่เหมาะสมกับความต้องการและตอบโจทย์มากที่สุด ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า เหตุผลที่ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาฯ ผ่านเอเจนต์อสังหาฯ นั้น 2 ใน 3 (68%) มองว่า เอเจนต์ช่วยให้ประหยัดเวลาจากการทำธุรกรรมได้มากขึ้น ตามมาด้วย 51% มองว่าเอเจนต์อสังหาฯ มีความรู้และความเชี่ยวชาญมากกว่าตนเอง และ 45% ยอมจ่ายเงินใช้เอเจนต์เพื่อลดความยุ่งยากในกระบวนการซื้อขายลง ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกเอเจนต์นั้น มากกว่า 2 ใน 3 (71%) พิจารณาจากความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของเอเจนต์ ตามมาด้วยประสบการณ์ของเอเจนต์ 63% และชื่อเสียงของบริษัทที่เอเจนต์สังกัดอยู่ 55% ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าเอเจนต์นั้นมีความสามารถเพียงพอและน่าเชื่อถือ

นอกจากนี้ 8 ใน 10 ของผู้บริโภค (81%) เผยว่าให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เอเจนต์ที่ได้รับการยืนยันตัวตน (Agent Verification) เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงหรือเจอมิจฉาชีพแฝงตัวมา อย่างไรก็ดี หากผู้บริโภคยังไม่มั่นใจเมื่อต้องใช้เอเจนต์อสังหาฯ ก็สามารถเลือกใช้ “เอเจนต์ที่ได้รับการยืนยันตัวตน (Agent Verification)” ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ที่มีการแสดงข้อมูลการติดต่อที่ชัดเจน และความเชี่ยวชาญเบื้องต้น ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าเอเจนต์ที่ผ่านการลงทะเบียนในโครงการนี้ และได้ป้ายสัญลักษณ์สีเขียว “ยืนยันตัวตน” หรือ “Verified” บนเว็บไซต์ www.ddproperty.com ตรงปก มีความน่าเชื่อถือ และไว้ใจได้ ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าทุกการซื้อ-ขาย-เช่าบนเส้นทางอสังหาฯ นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น และไร้กังวล 

เกาะติดเทรนด์คนหาบ้าน ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งยังอยากซื้อบ้าน แม้โดนสกัดด้วยอุปสรรคทางการเงิน

Trends for people looking for a house

เกาะติดเทรนด์คนหาบ้าน ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งยังอยากซื้อบ้าน แม้โดนสกัดด้วยอุปสรรคทางการเงิน

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังกระเตื้องขึ้นตามความคาดหวัง หลังจากหลายฝ่ายเคยคาดการณ์ว่าตลาดท่องเที่ยวจะกลับมาเติบโตและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง ประกอบกับช่วงสุญญากาศของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ผู้บริโภคจึงต้องรัดเข็มขัดและวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ และติดตามนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 56.9 เพิ่มจาก 55.6 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้บริโภคกลับมามีความเชื่อมั่นหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เรียบร้อย

สอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุดของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 50% จากเดิม 49% ในรอบก่อน สะท้อนให้เห็นว่าความชัดเจนทางการเมืองเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยขับเคลื่อนความเชื่อมั่นผู้บริโภคให้กลับมาอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ความท้าทายทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังคงกระทบต่อสภาพคล่องของผู้บริโภคโดยตรง ส่งผลให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ 63% (จากเดิม 65% ในรอบก่อนหน้า) โดยมีผู้บริโภคเพียง 15% เท่านั้นที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ ลดลงจาก 19% ในรอบก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยปัจจุบันนั้นยังคงทรงตัวอยู่ที่ 65% โดยผู้บริโภคเกือบครึ่ง (47%) เผยว่ามีความพึงพอใจเนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยในเวลานี้ยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ตามมาด้วยมองว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีเสถียรภาพและยืดหยุ่น และเห็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ในสัดส่วนเท่ากันที่ 36% 

จับตาความต้องการซื้อที่อยู่​อาศัย คนไทยมีความพร้อมทางการเงินมากแค่ไหน?

ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (53%) วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งคือ 52% ในรอบก่อนหน้า ถือเป็นสัญญาณบวกที่แสดงให้เห็นความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้น แม้ความท้าทายจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ จะยังไม่คลี่คลายก็ตาม ขณะที่สัดส่วนของผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยยังทรงตัวอยู่ที่ 9% ส่วนอีก 38% ยังไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใด ๆ 

  • คนซื้อบ้านเพิ่มพื้นที่ส่วนตัว แต่ความพร้อมการเงินลดลง เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเกือบครึ่ง (44%) ตัดสินใจซื้อที่อาศัยมาจากต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากที่สุด รองลงมาคือ ซื้อเพื่อการลงทุน (28%) และต้องการพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานเพื่อรองรับการขยายครอบครัว (24%) อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาความพร้อมทางการเงินของผู้บริโภคพบว่ากลับมีแนวโน้มลดลง มีผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยเพียง 24% เท่านั้นที่มีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยสัดส่วนลดลงจาก 32% ในรอบก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของเศรษฐกิจที่มีต่อการวางแผนการเงินอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นที่ส่งผลต่อการซื้อและการผ่อนชำระอสังหาฯ โดยตรง ขณะที่ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (54%) เผยว่าเก็บเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น ส่วน 1 ใน 5 ของผู้วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยนั้น (21%) ยังไม่ได้เริ่มแผนเก็บเงินใด ๆ เลย
  • “เงินไม่พอ-บ้านแพงเกินเอื้อม” ผลักดันให้เช่า เหตุผลหลักของผู้ที่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยใน 1 ปีข้างหน้านั้น เกือบ 2 ใน 3 (64%) เผยว่ายังไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัย ขณะที่ 2 ใน 5 (41%) มองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงเกินไป จึงเลือกเก็บเงินไว้แทน และไม่เห็นความจำเป็นหรือความเร่งด่วนที่ต้องซื้อในเวลานี้ (30%) สะท้อนให้เห็นว่าความท้าทายทางการเงินยังคงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนใจจากการซื้อมาเช่าแทน เทรนด์ Generation Rent ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากมุมมองการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ได้เปลี่ยนไป ผู้บริโภคไม่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายจากการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่เป็นภาระผูกพันในระยะยาว นอกจากนี้ การเช่ายังได้เปรียบตรงที่ยืดหยุ่นและคล่องตัวมากกว่าหากต้องการโยกย้ายที่อยู่อาศัยในอนาคต

อัปเดตเทรนด์ที่อยู่อาศัย แนวคิดรักษ์โลกมาแรง ตอบโจทย์คนหาบ้าน 

  • “ขนาด-ความปลอดภัย” ปัจจัยหลักดึงคนซื้อ/เช่า ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคนั้น เกือบครึ่ง (45%) จะพิจารณาจากขนาดที่อยู่อาศัยเป็นอันดับแรก โดยให้ความสำคัญกับบ้าน/คอนโดฯ ที่มีพื้นที่ใช้สอยตอบโจทย์การใช้งานของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ตามมาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่พัก (41%) และราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอย (38%) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคพิจารณาโดยเน้นที่ความคุ้มค่าเป็นหลัก

ขณะที่ปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยนั้น มากกว่าครึ่ง (51%) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของโครงการมากที่สุด โดยโครงการที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดูแลด้านนี้จะตอบโจทย์คนหาบ้านมากที่สุด เนื่องจากช่วยสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของทรัพย์สินทั้งในเวลาอยู่อาศัยหรือออกไปทำงาน รองลงมาคือเดินทางได้สะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (50%) และทำเลที่ตั้งของโครงการ (47%) หากอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพหรือมีแผนพัฒนาในอนาคต จะเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้นหากต้องการขายหรือปล่อยเช่า 

  • PropTech ผู้ช่วยสำคัญของคนหาบ้านยุคดิจิทัล เทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ (PropTech) ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากขึ้นในไทย จากเดิมที่ผู้บริโภคใช้เพียงช่องทางออนไลน์ในการค้นหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีการเลือกใช้ PropTech หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้รองรับไลฟ์สไตล์ดิจิทัลและตอบโจทย์การหาบ้านในยุคนี้ โดย 2 ใน 3 ของผู้บริโภค (67%) เผยว่าเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสเป็นสิ่งที่ใช้มากที่สุดเมื่อต้องการซื้อที่อยู่อาศัย รองลงมาคือเครื่องมือคำนวณข้อมูลทางการเงิน (46%) และการเยี่ยมชมโครงการเสมือนจริง (31%) นอกจากนี้ ผู้บริโภคเกือบ 9 ใน 10 (87%) เห็นความสำคัญของ PropTech และมองว่าผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรนำมาใช้ในอาคารที่สร้างใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย
  • ภาวะโลกเดือดดันคนมองหาบ้านรักษ์โลก หลังจากเลขาธิการสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ภาวะโลกร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว และตอนนี้โลกกำลังเข้าสู่ยุคภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ส่งผลให้หลายฝ่ายต่างกังวลและตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากขึ้น ก่อนหน้านี้ผู้พัฒนาอสังหาฯ เริ่มหันมาพัฒนาโครงการที่ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของคนหาบ้านยุคนี้ โดยผู้บริโภค 4 ใน 5 (85%) ให้ความสนใจบทความเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ 2 ใน 5 (41%) เผยว่ายินดีจะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยที่มีแนวคิดรักษ์โลก (Green Home) ขณะที่มากกว่าครึ่ง (56%) เปิดรับแนวคิดนี้แต่ตอนนี้ยังไม่แน่ใจ มีเพียง 3% เท่านั้นที่ไม่สนใจประเด็นนี้
  • ฝุ่น PM 2.5 ทำคนลังเลซื้อบ้าน ปัจจุบัน 9 ใน 10 ของผู้บริโภค (91%) เผยว่ายินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยที่มีคุณสมบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สะท้อนให้เห็นการให้ความสำคัญกับแนวคิดการอยู่อาศัยที่สร้างความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัยเอง ขณะที่ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ได้กลายเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเช่นกัน โดยมากกว่าครึ่ง (57%) เผยว่าจะเลือกพิจารณาเฉพาะโครงการที่มีเครื่องปรับอากาศและระบายอากาศได้ดีเท่านั้น ตามมาด้วย 53% จะคิดทบทวนการซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงอีกครั้ง ขณะที่อีก 35% จะพิจารณาการซื้อที่อยู่อาศัยที่มีฟังก์ชั่นช่วยแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ และ 35% จะพิจารณาการย้ายไปอยู่แถบชนบทแทน
DDproperty-Thailand-Consumer-Sentiment-Study-H2-2023

หวังรัฐบาลใหม่ออกมาตรการเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ โตส่งท้ายปี 

สภาพเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยหลักที่กระทบต่อสภาพคล่องและแผนการเงินของผู้บริโภค ทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายลดลง โดยเฉพาะในการซื้ออสังหาฯ ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องมีการวางแผนก่อนตัดสินใจซื้อ มีราคาสูง และมีระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องได้สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคเช่นกัน จึงทำให้ตลาดอสังหาฯ ไม่เติบโตคึกคักอย่างที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ผู้บริโภคกว่า 1 ใน 3 (34%) ตัดสินใจชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจตอนนี้ ตามมาด้วย 22% ไม่มีแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้นี้ และอีก 20% วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกลงแทน 

อย่างไรก็ดี หลังจากมีการแต่งตั้งรัฐบาลใหม่เสร็จสิ้น ถือเป็นการจุดประกายให้ภาคอสังหาฯ มีความหวังอีกครั้ง ผู้บริโภคต่างคาดหวังและตั้งตารอมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ของรัฐบาลชุดนี้ที่จะออกมาในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่าง ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ยังคงเผชิญความท้าทายทางการเงินมากกว่ากลุ่มอื่น 

  • 3 อันดับมาตรการฯ อสังหาเดิมที่คาดหวังให้รัฐบาลใหม่สานต่อ มากกว่า 2 ใน 3 (69%) ต้องการให้ภาครัฐสานต่อมาตรการลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์และการจำนองอสังหาริมทรัพย์ ตามมาด้วยมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ Loan to Value: LTV (47%) และต้องการให้ขยายระยะเวลาเช่าให้มากกว่า 30 ปี (44%) ซึ่งคาดว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยขับเคลื่อนให้การซื้อขายอสังหาฯ เติบโตอย่างต่อเนื่อง
  • ขณะที่มาตรการฯ ใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาลในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่กว่า 2 ใน 3 (68%) ต้องการให้มีมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ตามมาด้วยมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อที่มีอยู่และกู้ใหม่ (65%) และมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก (54%) ซึ่งมาตรการเหล่ามีความครอบคลุมและส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยทั้งในกลุ่ม Real Demand และกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้การซื้อขายในตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง

หมายเหตุ: DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยที่จัดทำขึ้นทุก 6 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงนักลงทุนและเอเจนต์ต่อประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัย รวมไปถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการซื้อ-ขาย-เช่า ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 22-69 ปี จำนวน 1,000 คน