“หนี้บ้าน” มรดกที่ควรได้หรือภาระที่ต้องจ่าย

DDProperty

“หนี้บ้าน” มรดกที่ควรได้หรือภาระที่ต้องจ่าย

การกู้ซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นการกู้ที่มีวงเงินสูง และมีระยะเวลาผ่อนชำระสินเชื่อที่ยาวนาน ธนาคารจึงมีหลักเกณฑ์พิจารณาที่เข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อจากความสามารถของผู้ขอสินเชื่อ และหลักทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกัน นอกจากนี้เพื่อกระจายความเสี่ยงในการค้างชำระหนี้ ธนาคารจะมีการนำเสนอประกันต่าง ๆ ที่มีความคุ้มครองในหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้กู้ได้พิจารณาผลประโยชน์ที่ได้รับ ช่วยลดปัญหาการเกิดภาระหนี้จากเหตุสุดวิสัย รวมทั้งแนะนำประกันที่ช่วยลดความเสี่ยงในการผลักภาระการผ่อนชำระนี้ให้เป็นมรดกหนี้ก้อนโตตกทอดไปสู่ทายาทของผู้กู้แบบไม่ได้ตั้งใจ หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดกับผู้กู้อีกด้วย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงให้กับธนาคารจากการไม่ได้รับชำระหนี้ด้วยเช่นกัน

อสังหาริมทรัพย์ถือเป็นทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในมุมมองผู้บริโภคจึงถือเป็นมรดกชิ้นสำคัญที่พ่อแม่จะส่งมอบให้กับบุตรหลานในอนาคต ข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า แผนการซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มมิลเลนเนียลชาวไทยซึ่งอยู่ในวัยทำงาน เกือบครึ่งนึง (49%) ยังต้องการอยู่บ้านเดิมเพื่อดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด ตามมาด้วย ยังไม่มีเงินออมเพียงพอสำหรับเช่าหรือซื้อบ้านเป็นของตนเองถึง 43% ในขณะที่อีก 22% มีความตั้งใจจะรับช่วงต่อบ้านหลังเดิมจากพ่อแม่อยู่แล้ว สะท้อนให้เห็นว่าการซื้อบ้านใหม่อาจจะยังไม่ใช่สิ่งจำเป็นมากนักเมื่อประเมินจากสภาพคล่องทางการเงินของผู้บริโภคในเวลานี้ นอกจากนี้ การรับมรดกที่อยู่อาศัยต่อจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองก็เป็นความหวังในการมีบ้านเป็นของตัวเองที่หลายคนรอคอยเช่นกัน  

DDproperty

โดยทั่วไปแล้วผู้บริโภคส่วนใหญ่มักมีภาระในการผ่อนชำระสินเชื่ออื่น ๆ ไปพร้อมกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทำให้เมื่อประเมินภาระหนี้แล้ว จำเป็นต้องกู้ร่วมกับคู่รักหรือญาติพี่น้องเพื่อให้ได้สินเชื่อบ้านตามวงเกินที่ต้องการ อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคต้องไม่ลืมที่จะวางแผนสำรองเพื่อเตรียมรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดในระยะยาวด้วย อาทิ ผู้กู้ร่วมอาจประสบปัญหาทางการเงินหรือตกงาน การเลิกรา/หย่าร้างของผู้กู้ร่วมในกรณีที่เป็นคู่รัก หรือการเสียชีวิตของตัวผู้กู้เอง หรือผู้กู้ร่วม ซึ่งล้วนมีผลต่อการผ่อนชำระหนี้โดยตรง อาจทำให้ต้องแบกรับภาระหนี้บ้านเพียงลำพังที่หนักเกินไป นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านกรรมสิทธิ์ของบ้าน/คอนโดฯ ที่เป็นเจ้าของร่วมกันตามมาได้ในภายหลัง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนผู้บริโภคมาทำความเข้าใจเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ควรรู้เมื่อคิดกู้ซื้อที่อยู่อาศัย พร้อมทำความเข้าใจบทบาทของสินเชื่ออสังหาฯ ว่าจะกลายเป็นมรดกตกทอดไปสู่ทายาทได้หรือไม่ หากผู้กู้เสียชีวิตระหว่างผ่อนชำระและไม่มีการทำพินัยกรรมไว้ก่อน

เมื่อผู้กู้จากไป กรรมสิทธิ์ “ที่อยู่อาศัย” ถือเป็นมรดกหรือไม่?

ปกติแล้วเมื่อผู้กู้ผ่อนชำระสินเชื่อบ้านครบเรียบร้อยแล้วกรรมสิทธิ์จะเป็นของผู้กู้โดยตรง หากในกรณีการกู้ร่วม ผู้กู้ร่วมจะต้องตกลงกันว่าจะให้ใครถือกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ หรือจะถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน หรือจะระบุเจาะจงลงไปในสัญญาว่าเมื่อผ่อนชำระเรียบร้อยแล้วจะมอบกรรมสิทธิ์ให้ผู้ใด

แต่หากในระยะเวลาที่ผ่อนชำระเกิดเหตุไม่คาดคิดที่ทำให้ผู้กู้เสียชีวิตไปก่อน ในทางกฎหมายถือว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์สินของผู้ซื้อตามกฎหมาย ทรัพย์สินดังกล่าวจะกลายเป็นมรดกตกทอดไปสู่ทายาทโดยธรรมตามลำดับ

หรือหากผู้ซื้อทำพินัยกรรมไว้ ทายาทตามพินัยกรรมก็จะถือเป็นคนแรกที่ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งมรดกที่ทายาทจะได้รับนั้นรวมไปถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ซื้อที่เสียชีวิตไปแล้วด้วย ซึ่งหมายรวมถึงทรัพย์สินที่มีและหนี้สินที่ยังต้องผ่อนชำระที่จะตกทอดมาสู่ผู้รับมรดกให้ต้องรับผิดชอบภาระทั้งหมดนั้นด้วยเช่นกัน ยกเว้นในกรณีที่เจ้ามรดกมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์มรดก หรือมีแต่หนี้สิน ไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินใด ๆ ให้แก่ทายาทเลย ทายาทจะไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้สินเกินกว่ามรดกที่ตนได้รับ

สัญญากู้บ้านยังมีผลหรือไม่ หากผู้กู้ร่วมเสียชีวิตไปก่อน

การเสียชีวิตของผู้กู้ร่วมไม่กระทบต่อสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ในระหว่างสัญญา โดยสัญญากู้เงินที่ทำกับธนาคารนั้นไม่ได้ระงับไปด้วย และสถานะของผู้กู้ร่วมแต่ละฝ่ายยังคงอยู่ในสภาพเดิมเหมือนก่อนเสียชีวิต แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของสินเชื่อบ้าน เมื่อมีผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ธนาคารทราบว่าผู้กู้ร่วมเสียชีวิต เมื่อนั้นธนาคารจะเรียกให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้เสียชีวิตเข้ามาลงชื่อเพื่อแสดงเจตนาที่จะรับสภาพหนี้ภายใน 1 ปี และจะมีผลผูกพันทำให้ทายาทที่รับสภาพหนี้เข้ามาอยู่ในฐานะลูกหนี้ของธนาคารแทนที่ผู้กู้ร่วมที่เสียชีวิต โดยทายาทที่จะสามารถรับสภาพหนี้ได้นั้นจะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น

ในส่วนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จากเดิมที่กรรมสิทธิ์ในบ้านเป็นของผู้กู้ร่วมแต่ละฝ่ายคนละครึ่ง แต่เมื่อผู้กู้ร่วมฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตจะส่งผลให้กรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งตกทอดไปสู่ทายาท ซึ่งอาจต้องมีการตกลงกันใหม่ว่าทายาทของผู้เสียชีวิตนั้นมีความพร้อมและยินยอมที่จะผ่อนชำระต่อหรือไม่

นอกจากนี้ ผู้กู้ร่วมยังสามารถหาผู้กู้ร่วมรายใหม่มาช่วยผ่อนสินเชื่อบ้านต่อได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้กู้ร่วมใหม่จะต้องมีความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติกัน โดยต้องแจ้งความต้องการเปลี่ยนผู้กู้ร่วมใหม่แก่ธนาคารเพื่อให้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ร่วมรายใหม่ต่อไป หรือในกรณีที่ผู้กู้ร่วมอีกฝ่ายมีความสามารถที่จะผ่อนชำระสินเชื่อในส่วนของตนเองและส่วนของผู้กู้ร่วมที่เสียชีวิตไปด้วย ก็สามารถเลือกผ่อนชำระต่อไปได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องติดต่อทางธนาคาร แต่จะมีประเด็นที่น่ากังวลในเรื่องกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ที่อีกครึ่งหนึ่งยังคงตกทอดสู่ทายาทของผู้กู้ร่วมฝ่ายที่เสียชีวิตเช่นเดิม

ได้รับ “มรดกหนี้บ้าน” แบบไม่ทันตั้งตัว ควรรับมืออย่างไร

อย่างไรก็ตาม ในทางกฎหมายแล้วสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระของผู้กู้ที่เสียชีวิตนั้นถือเป็นกรรมสิทธิ์ที่ตกทอดมายังทายาทโดยธรรมและทายาทตามพินัยกรรม ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) ขอแนะนำแนวทางรับมือเมื่อผู้บริโภคต้องกลายเป็นทายาทที่ได้รับมรดกหนี้บ้านแบบไม่ทันตัว เพื่อช่วยให้ค้นหาวิธีจัดการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละคนและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

ทายาทมีสิทธิเลือกปฏิเสธ หากไม่พร้อมและไม่มีความจำเป็น เมื่อทราบว่าผู้กู้ได้เสียชีวิตลงและมีภาระในการชำระสินเชื่ออสังหาฯ ค้างอยู่ ในเบื้องต้นบรรดาทายาทจะต้องทำการประเมินความพร้อมทางด้านการเงินของตนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะประเมินระดับความจำเป็นว่าการมีบ้าน/คอนโดฯ เพื่ออยู่อาศัยหรือเก็บไว้ลงทุนเพิ่มขึ้นนั้น มีความคุ้มค่าเพียงพอกับการต้องรับภาระหนี้ระยะยาวเหล่านี้หรือไม่ เนื่องจากทายาทมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับทรัพย์สินที่จะตกทอดเป็นมรดกจากผู้เสียชีวิตได้เช่นกัน โดยสถาบันการเงิน/ธนาคารผู้ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้โดยตรงจะดำเนินการยึดทรัพย์สินนั้น ๆ ของผู้เสียชีวิตเพื่อนำไปขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้บ้านต่อไป ซึ่งหากจำนวนเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้ที่ค้างอยู่ได้หมด ทายาทก็ไม่ต้องรับภาระหนี้ใด ๆ ต่อจากผู้เสียชีวิตเลย อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารนำทรัพย์สินไปขายทอดตลาดส่วนใหญ่นั้นมักได้ราคาที่ต่ำกว่ายอดหนี้ จึงอาจส่งผลให้ทายาทยังคงต้องรับภาระหนี้ที่เหลือบางส่วนต่อไปอย่างเลี่ยงไม่ได้

เช็กสภาพคล่องทางการเงินให้มั่นใจ ก่อนยินยอมรับทรัพย์สิน ในกรณีที่ทายาทได้พิจารณาและประเมินความคุ้มค่าเปรียบเทียบระหว่างกรรมสิทธิ์จากทรัพย์สินมรดกที่ได้และหนี้สินที่ต้องรับภาระต่อแล้ว สามารถแจ้งความจำนงขอรับทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตได้เช่นกัน โดยต้องไม่ลืมที่จะประเมินสภาพคล่องทางการเงินและวางแผนความมั่นคงทางการเงินในอนาคตให้พร้อมด้วย เพราะนอกจากความยินยอมรับมรดกหนี้ตามกฎหมายแล้วทายาทยังต้องมีความพร้อมในการผ่อนชำระต่อด้วย เนื่องจากสินเชื่ออสังหาฯ เป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาผ่อนชำระค่อนข้างนาน ทายาทผู้รับมรดกบ้านต่อจึงจำเป็นต้องได้รับการประเมินสภาพหนี้ใหม่โดยสถาบันการเงิน/ธนาคาร เช่นเดียวกับการยื่นกู้ใหม่ โดยจะประเมินจากจำนวนหนี้ที่เหลือและความสามารถในการผ่อนชำระของทายาท หากทายาทมีความสามารถผ่อนต่อได้หรือกู้ผ่าน ก็สามารถรับหน้าที่ผ่อนต่อไปจนหมด แต่หากทายาทไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ต่อหรือกู้ไม่ผ่าน จะทำให้แนวทางการชำระหนี้อสังหาฯ มีรูปแบบเหมือนกับกรณีที่ทายาทปฏิเสธไม่รับทรัพย์สิน ซึ่งสถาบันการเงิน/ธนาคารจะทำการยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาด และนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้บ้านที่เหลือต่อไป

การจากไปของคนในครอบครัวถือเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เมื่อไม่สามารถเลี่ยงได้ การวางแผนเตรียมความพร้อมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน นอกเหนือจากประกันอัคคีภัยที่ผู้กู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจำเป็นต้องทำไว้แล้ว ยังมี “ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองทรัพย์สิน หรือ ประกัน MRTA” ที่ถือเป็นอีกทางเลือกในการป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพ โดยสถาบันการเงิน/ธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้จะได้รับการชำระเงินกู้ต่อจากบริษัทที่รับทำประกันแทนผู้กู้จนครบสัญญา นอกจากจะมีประโยชน์ในมุมที่ไม่ก่อให้เกิดการผลักภาระหนี้ไปยังลูกหลานโดยไม่ได้ตั้งใจแล้ว ทายาทของผู้กู้ยังจะได้รับอสังหาฯ นั้นเป็นมรดกแบบไร้หนี้สินอีกด้วย อย่างไรก็ดี ผู้กู้ควรศึกษา ประเมินความคุ้มค่า และทำความเข้าใจเงื่อนไขที่บริษัทประกันระบุไว้อย่างครบถ้วนก่อนตัดสินใจอีกครั้ง เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (https://www.ddproperty.com/) ได้รวบรวมข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ และบทความที่น่าสนใจเพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้บริโภคที่กำลังวางแผนอยากมีบ้านได้เข้ามาศึกษา รวมทั้งมีข้อมูลประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยในหลากหลายทำเล เพื่อให้ทุกคนเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าของบ้านได้อย่างมั่นใจ และค้นหาบ้านในฝันได้ง่ายยิ่งขึ้น

เตรียมพร้อมก่อนตัดสินใจ เปิดเช็กลิสต์เช่าบ้านอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบ

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้_DDproperty_Checklist for renters

เตรียมพร้อมก่อนตัดสินใจ เปิดเช็กลิสต์เช่าบ้านอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบ

บ้านเช่า ห้องเช่า เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมานาน เพราะเป็นการลดภาระผูกพันระยะยาวสำหรับคนที่ยังไม่พร้อมจะซื้อบ้านเป็นของตัวเอง นอกจากนั้นยังตอบโจทย์เรื่องความสะดวกเมื่อต้องโยกย้ายที่อยู่ให้เหมาะสมตามความจำเป็นต่าง ๆ การเช่าบ้านเหมาะสำหรับคนที่กำลังเริ่มต้นเก็บเงินเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวและยังไม่ได้มีแผนลงหลักปักฐานที่ใดที่หนึ่งอย่างถาวร อย่างไรก็ดี การเช่าก็มีความแตกต่างจากการซื้อขาดในเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น การเช่าบ้านนอกจากต้องพิจารณาทำเล ประเภทและราคาค่าเช่าแล้ว การเช่าบ้านยังเป็นนิติกรรมที่ผู้บริโภคจะต้องศึกษาอย่างรอบคอบทั้งในส่วนรายละเอียดสัญญาเช่า และต้องวัดดวงกับการเจอผู้ให้เช่าหรือเจ้าของบ้านที่มาในหลายรูปแบบ ซึ่งมีหลายกรณีที่เกิดความไม่เข้าใจระหว่างผู้เช่ากับเจ้าของบ้าน จึงต้องมีการบังคับใช้ข้อกฎหมายที่ทันสมัยและเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่คุ้มครองผู้เช่าและผู้ให้เช่าฉบับล่าสุดที่ปรับให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ ลดความขัดแย้งและข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า โดยควบคุมผู้ประกอบ “ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย” ซึ่งหมายความถึงผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย โดยมีสถานที่ที่จัดแบ่งให้เช่าตั้งแต่ 5 หน่วยขึ้นไป ไม่ว่าจะอยู่ในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกัน ได้แก่ ห้องพัก บ้าน อาคารชุด อะพาร์ตเมนต์ แต่ไม่รวมถึงหอพักและโรงแรมที่มีกฎหมายควบคุมแยกต่างหาก

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้_DDproperty_Checklist for renters

“ผู้เช่า-ผู้ให้เช่า” มีข้อผูกพันกันมากน้อยแค่ไหน

ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีบทบาทต่อกันอย่างชัดเจน หน้าที่หลักของ “ผู้เช่า” นั้นนอกจากจะต้องมีความรับผิดชอบในการชำระค่าเช่าแก่ผู้ให้เช่าตามจำนวนและเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว ยังมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาที่อยู่อาศัยที่ตนเองเช่าให้เหมือนกับที่ปฏิบัติกับบ้านของตัวเองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้เช่าต้องไม่ลืมว่าตนไม่มีสิทธิในการต่อเติมหรือปรับปรุงที่อยู่อาศัยที่ส่งผลต่อโครงสร้างหลักตามใจชอบโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ตกลงกันเพิ่มเติมในสัญญาอย่างเคร่งครัด

ในขณะที่ “ผู้ให้เช่า” มีหน้าที่มอบสิทธิในการครอบครองใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าตลอดระยะเวลาของการเช่า โดยสามารถกำหนดในสัญญาว่าสิทธิการให้เช่านั้นมีผลเฉพาะผู้ให้เช่าเท่านั้น หากผู้ให้เช่าเสียชีวิตระหว่างที่สัญญาเช่ายังไม่หมดจะทำให้สัญญาเช่านั้นระงับลง หรือระบุให้สิทธิการให้เช่าตกทอดไปสู่ทายาทได้เช่นกัน นอกจากนี้ผู้ให้เช่ายังมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยและตั้งกฎเพื่อจัดระเบียบผู้เช่าให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พร้อมทั้งสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อย ไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิที่กระทบต่อผู้เช่าอื่น ๆ ในชุมชน

เช่าบ้าน_DDproperty_Things to Think About Before Renting

เปิดเช็กลิสต์เช่าบ้านอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบทั้งผู้เช่า-ผู้ให้เช่า

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ขอแนะนำเช็กลิสต์ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีปัญหากันในภายหลัง พร้อมทั้งเผยมุมมองผู้ให้เช่าที่อยู่อาศัยในอุดมคติที่ผู้เช่าส่วนใหญ่มองหา เพื่อเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ทั้งทางกายและใจ ในขณะที่ผู้ให้เช่ายังสามารถนำไปปรับใช้เพื่อลดปัญหาคับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก จนทำให้มีการย้ายออกของผู้เช่าได้อีกด้วย

    • สัญญาระบุรายละเอียดชัดเจน ไม่หมกเม็ด รายละเอียดในสัญญาควรมีการระบุระยะเวลาให้เช่า ค่าเช่า อัตราค่าสาธารณูปโภค และค่าบริการต่าง ๆ เพื่อคำนวณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นก่อนย้ายเข้ามาอยู่ โดยผู้เช่าต้องดูความสมเหตุสมผลของรายละเอียดเงื่อนไขเพิ่มเติมในสัญญาด้วย เพื่อตรวจสอบความโปร่งใสเบื้องต้นของผู้ให้เช่า เช่น การเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้า การขึ้นค่าเช่าในอนาคต เงื่อนไขการยกเลิกสัญญาเช่า ความคุ้มครองจากเงินประกัน ฯลฯ ซึ่งจุดนี้มีความสำคัญเพราะตามกฎหมายแล้ว ผู้ให้เช่าจะเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันรวมกันแล้วไม่เกิน 3 เดือนของอัตราค่าเช่ารายเดือน 
    • ใบแจ้งหนี้ให้ข้อมูลครบถ้วน ตรวจสอบเองได้ ผู้ให้เช่าควรส่งใบแจ้งหนี้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่า พร้อมรายละเอียดค่าใช้จ่ายรายเดือนและวิธีการคำนวณไว้อย่างชัดเจน เช่น ค่าสาธารณูปโภคและจำนวนหน่วยที่ใช้ ค่าบริการต่าง ๆ แต่ละเดือน เพื่อให้ผู้เช่าสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นและสร้างความสบายใจให้กับทั้งสองฝ่าย โดยผู้ให้เช่าเรียกเก็บค่าน้ำ ค่าไฟ เกินอัตราการใช้งานจริงไม่ได้และไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค และค่าบริการต่าง ๆ ก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุด
    • ต้องชัดเจนว่าใครรับผิดชอบซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ เมื่อมีการเช่าที่อยู่อาศัยเป็นระยะเวลาหนึ่งหรือมีการเปลี่ยนผู้เช่ามาไม่น้อย ย่อมมีการชำรุดสึกหรอของเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ โดยความเสียหายนั้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นจากการใช้งานของตัวผู้เช่าเอง ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ เจ้าของหรือผู้ให้เช่าต้องเปิดใจยอมรับว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และมีมาตรการที่ชัดเจน อาทิ ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ และชี้แจ้งให้ผู้เช่าทราบก่อนรับผู้เช่ารายใหม่ หรือให้ผู้เช่าสามารถเข้ามาตรวจเช็กความเรียบร้อยต่าง ๆ พร้อมกับผู้ให้เช่าได้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน นอกจากนี้ ผู้ให้เช่าควรระบุอย่างชัดเจนว่าความเสียหายประเภทใดจากอุปกรณ์ใดบ้างที่ผู้ให้เช่าจะรับผิดชอบเอง หรือรูปแบบใดที่ผู้เช่าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้าง ในขณะเดียวกัน ผู้เช่าก็ต้องมีความรับผิดชอบและระมัดระวังเมื่อใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนกลางเช่นกัน
    • เคารพสิทธิส่วนบุคคล ไม่บุกรุกโดยพลการ ผู้เช่าและผู้ให้เช่านั้นจำเป็นต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน แม้ผู้ให้เช่าจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยตรง แต่ผู้เช่าก็มีสิทธิของผู้เช่าด้วยเช่นกัน ผู้ให้เช่าจึงต้องเคารพในสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้เช่า ทั้งนี้ตามกฎหมายผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเข้าไปตรวจสอบที่พักโดยพลการหรือไม่แจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าและไม่ได้รับอนุญาต ยกเว้นมีเหตุฉุกเฉินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมหรือมีผลกระทบต่อผู้ให้เช่าหรือผู้เช่ารายอื่นเท่านั้น นอกจากนี้แม้ผู้เช่าจะไม่จ่ายค่าเช่าตามกำหนด ผู้ให้เช่าก็ไม่มีสิทธิปิดกั้นไม่ให้ผู้เช่าเข้าใช้และไม่สามารถบุกรุกเข้าไปเพื่อยึดทรัพย์สินหรือขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเช่นกัน
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้_DDproperty_Checklist for renters

คนจำนวนไม่น้อยยังต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยตรง ทำให้ต้องชะลอแผนการใช้จ่ายที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนไว้ และเลือกเช่าที่อยู่อาศัยไปก่อน ข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study พบว่า คนเช่าบ้านมากกว่าครึ่ง (64%) ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง นอกจากนี้ ผู้เช่าส่วนใหญ่มองว่ามาตรการขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ จากภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทและเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้สามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น โดย 58% คาดหวังให้ภาครัฐมีมาตรการลดดอกเบี้ยให้ทั้งสินเชื่อบ้านใหม่และสินเชื่อเดิมที่มีอยู่ ตามมาด้วยการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก (53%) และลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินเชื่อบ้าน (48%) เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในช่วงนี้ และช่วยผลักดันให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) เข้าถึงที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น

โดยสรุปการอยู่ร่วมกันของผู้เช่าและผู้ให้เช่านั้นทั้งสองฝ่ายต้องทำความเข้าใจในข้อตกลงต่าง ๆ และบทบาทของตนอย่างถี่ถ้วน เมื่อเจอผู้ให้เช่าที่มีคุณสมบัติครบตามที่ต้องการ ผู้เช่าก็ต้องไม่ลืมที่จะปฏิบัติตนในฐานะผู้เช่าที่ดีเช่นกัน พร้อมทั้งรักษามารยาทในการอยู่ร่วมกันในชุมชน ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญที่ละเมิดสิทธิผู้เช่ารายอื่นเช่นกัน ทั้งนี้เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข้อมูลประกาศให้เช่า/ซื้อ (Listings for rent/sale) ในหลากหลายทำเลครอบคลุมทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้บริโภคที่กำลังมองหาบ้าน/คอนโดฯ ให้เช่าสามารถค้นหาและติดต่อกับผู้ให้เช่าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมาพร้อมแหล่งรวมข่าวสารและความรู้ด้านอสังหาฯ ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการซื้อ-ขาย-เช่า เพื่อให้ทุกคนสามารถเตรียมความพร้อมก่อนการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ความต้องการได้มากที่สุด

Related post

คลายข้อสงสัย LGBTQ+ อยากกู้ซื้อบ้าน เผชิญความท้าทาย-โอกาสมากน้อยแค่ไหน?

DDproperty_LGBTQ+ กู้ซื้อบ้าน

คลายข้อสงสัย LGBTQ+ อยากกู้ซื้อบ้าน เผชิญความท้าทาย-โอกาสมากน้อยแค่ไหน?

เดือนมิถุนายนของทุกปีถือเป็นเดือนแห่งความเท่าเทียมทางเพศที่เรียกกันว่า Pride Month ของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์ใช้ความรุนแรงต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในวันที่ 28 มิถุนายน 1969 ซึ่งนำมาสู่การเรียกร้องสิทธิของชาว LGBTQ+ ทั่วโลก และการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิ LGBT Pride March ในปีถัดมา ปัจจุบันสังคมทั่วโลกตระหนักรู้และยอมรับความเสมอภาคทางเพศและได้ให้ความสำคัญไปจนถึงนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เจาะกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น อย่างไรก็ดีผู้บริโภคชาว LGBTQ+ ต้องการการยอมรับจากสังคมด้วยความเข้าใจที่แท้จริง และความต้องการของเขาเหล่านี้ก็ไม่ได้ผิดแผกแตกต่างจากกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเพศชายและหญิงมากนัก แต่สิ่งที่ชัดเจนคือการยอมรับในความเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม

ข้อมูลจากรายงาน LGBT GDP, WEALTH & TRAVEL DATA 2018 โดย LGBT Capital คาดการณ์ว่าทั่วโลกมีจำนวนประชากรกลุ่ม LGBTQ+ ประมาณ 6.5% หรือประมาณ 496 ล้านคน อยู่ในแถบเอเชียประมาณ 293 ล้านคน โดยประชากร LGBTQ+ ชาวไทยมีถึง 4.5 ล้านคน ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้มีกำลังซื้อและพฤติกรรมการใช้เงินในระดับดี มีการประมาณส่วนแบ่งความมั่งคั่งในครัวเรือนของผู้บริโภค LGBTQ+ ชาวไทยอยู่ที่ 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ งานวิจัยของเอาท์ นาว คอนซัลติ้ง ร่วมกับ เวิลด์ ทราเวล มาร์เก็ต (WTM) เผยว่าชาว LGBTQ+ ใช้จ่ายไปกับการท่องเที่ยวสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเลยทีเดียว เนื่องจากการที่ชาว LGBTQ+ ส่วนใหญ่มักไม่มีบุตรจึงไม่มีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ จึงเลือกวางแผนชีวิตอย่างเป็นรูปแบบและใช้จ่ายเพื่อซื้อความสุขให้ตัวเองตามไลฟ์สไตล์ที่สนใจมากขึ้นแทน

DDproperty_LGBTQ กู้ซื้อบ้าน_01

ทางด้านตลาดอสังหาฯ นั้น ความต้องการของชาว LGBTQ+ ยังสอดคล้องกับผู้บริโภคส่วนใหญ่ ข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study พบว่า ปัจจัยภายในที่ผู้บริโภคชาวไทยให้ความสำคัญเมื่อต้องเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การพิจารณาขนาดที่อยู่อาศัยมาก่อนถึง 48% ตามมาด้วยความครบครันของสิ่งอำนวยความสะดวก (44%) และความคุ้มค่าของราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอย (38%) ในขณะที่ปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยนั้น ผู้บริโภคเกินครึ่ง (54%) ให้ความสำคัญเรื่องทำเลที่ตั้งมากที่สุด ตามมาด้วยความสะดวกสบายจากการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ (50%) และความปลอดภัยในโครงการ (45%)

 

ความท้าทายของชาว LGBTQ+ เมื่ออยากเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย

แม้สังคมไทยปัจจุบันจะเปิดรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ยังไม่มีการรับรองความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตอย่างเป็นทางการ จึงส่งผลต่อการทำธุรกรรมของชาว LGBTQ+ เมื่อต้องการซื้ออสังหาฯ ซึ่งเป็นข้อจำกัดสำคัญของคู่รักชาว LGBTQ+ ที่ต้องการใช้สิทธิกู้ร่วมไม่น้อย โดยทั่วไปแล้วการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของชาว LGBTQ+ หากเป็นการกู้เพียงลำพังก็สามารถดำเนินการยื่นขอสินเชื่อได้ทันทีไม่ต่างจากเพศชายและเพศหญิง แต่ไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในฐานะผู้กู้ร่วมได้เฉกเช่นคู่รักทั่วไปได้ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขของธนาคารที่ระบุว่าผู้กู้ร่วมนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ร่วมเชื้อสายเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเป็นชายหญิงที่เป็นคู่สมรสกัน ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ในขณะที่ปัจจุบันกฎหมายไทยยังไม่รองรับการจดทะเบียนสมรสของคู่รัก LGBTQ+ จึงทำให้ความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่มีผลทางนิตินัยไปโดยปริยาย

นอกจากนี้ ธนาคารประเมินว่าความเสี่ยงของการกู้ร่วมของกลุ่ม LGBTQ+ สูงกว่าของคู่สมรสชายหญิง และก็สูงกว่าการกู้ร่วมของชายหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส การรับรู้ความเสี่ยงที่สูงกว่านี้เป็นปัจจัยที่ธนาคารอาจพิจารณาให้วงเงินกู้ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการกู้ร่วมของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส ทำให้ชาว LGBTQ+ อาจไม่ได้รับวงเงินสินเชื่อตามที่ตั้งเป้าไว้ หรือต้องปรับลดสเปกที่อยู่อาศัยที่ต้องการลงมา ซึ่งชาว LGBTQ+ ต่างรอติดตามความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. … และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ว่าจะเข้ามาช่วยลดช่องว่างของปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง

Mix & Match หลากไลฟ์สไตล์ ค้นหาที่อยู่อาศัยโดนใจชาว LGBTQ+

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยไลฟ์สไตล์โดดเด่นของชาว LGBTQ+ ที่น่าสนใจ และน่าจับตามอง เพื่อนำมาค้นหาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของชาว LGBTQ+ ที่เต็มที่ทุกเรื่องแบบ ‘Work hard, play harder’ ได้อย่างลงตัว ที่หลายคนจะมองว่าคอนโดฯ เหมาะกับการใช้ชีวิตมากกว่า แต่แท้จริงแล้วมีไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจกว่านั้น

    • พื้นที่ใช้สอยคุ้มค่า รองรับชีวิตแบบมัลติไลฟ์สไตล์ ชาว LGBTQ+ มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลาย จะเห็นได้จากกิจกรรมยามว่างที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการร่วมสังสรรค์/ปาร์ตี้เพื่อเข้าสังคม พักผ่อนภายในบ้านกับงานอดิเรกไม่ว่าจะเป็นสร้างมุมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว แยกมุมทำงานเป็นสัดส่วน โซนอเนกประสงค์ไว้เล่นเกมหรือทำกิจกรรมสานสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง นอกจากนี้ การที่ส่วนใหญ่ชาว LGBTQ+ มักจะไม่มีบุตร จึงนิยมมีงานอดิเรก เช่น เลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อนแก้เหงา ที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมนอกบ้านจึงจำเป็นไม่แพ้กัน บ้านหรือคอนโดฯ ที่มีพื้นที่ใช้สอยเพียงพอรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายเหล่านี้ รวมทั้งการมีพื้นที่ส่วนกลางที่มาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันจึงเป็นตัวแปรลำดับแรก ๆ
    • สุขนิยม สุขภาพดีทั้งกายและใจต้องมา ผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์และรูปร่าง จึงให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพมาเป็นอันดับต้น ๆ โครงการอสังหาฯ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางที่ตอบโจทย์พฤติกรรมเพื่อสุขภาพนี้จะได้คะแนนจากผู้บริโภคที่อยู่ระหว่างการเลือกหรือตัดสินใจซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย สอดคล้องกับข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ล่าสุด เผยว่า สิ่งอำนวยความสะดวกยอดนิยมในคอนโดมิเนียมหรืออะพาร์ตเมนต์ที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการบ่อยที่สุดจะเน้นไปที่การออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพมาเป็นอันดับต้น ๆ โดยเกือบครึ่งของผู้บริโภค (47%) เลือกใช้บริการที่ออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพเป็นประจำ ตามมาเกือบ 1 ใน 3 ใช้บริการสระว่ายน้ำ (32%) และห้องโถงอเนกประสงค์ 13% 
    • ชอบการท่องโลกออนไลน์ อินเทอร์เน็ตต้องพร้อมใช้ ข้อมูลจากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA พบว่า LGBTQ+ เป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดถึง 11 ชั่วโมง 20 นาทีต่อวัน ถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเพศชายและหญิง เมื่อรวมกับเทรนด์ในปัจจุบันประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมของชาว LGBTQ+ มีการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในหลายมิติมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์คอนเทนต์หลากหลายรูปแบบ ฝึกฝนและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ หรือใช้เป็นช่องทางในทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการที่มีคุณภาพและเสถียรต้องตอบโจทย์นี้ ไม่ว่าจะอยู่ภายในที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ส่วนกลาง
    • ใส่ใจการออกแบบ สะท้อนตัวตนผู้อยู่ ความพิถีพิถันใส่ใจทุกรายละเอียดเป็นอีกอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาว LGBTQ+ ซึ่งรวมถึงเรื่องที่อยู่อาศัยที่สะท้อนตัวตนได้เป็นอย่างดีพอ ๆ กับการดูแลรูปลักษณ์ภายนอกหรือเครื่องแต่งกาย ผู้บริโภคจะพิจารณาการออกแบบและตกแต่งที่สะท้อนบุคลิกอย่างมีสไตล์ การออกแบบเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน รวมถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เข้ากันกับบ้าน

แม้ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. … และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … จะยังไม่รับรองสถานะของคู่รัก LGBTQ+ ทำธุรกรรมกู้ร่วมตามกฎหมายเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ในเวลานี้ อย่างไรก็ดีเวลานี้มีสถาบันการเงินหลายแห่งที่เปิดโอกาสให้คู่ LGBTQ+ สามารถยื่นเรื่องกู้สินเชื่อร่วมกันได้ภายใต้เงื่อนไขในการพิจารณาของแต่ละสถาบันฯ ทั้งนี้เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (https://www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข้อมูลธนาคารที่ให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยระหว่างผู้กู้ร่วมที่มีความหลากหลายทางเพศไว้ให้ชาว LGBTQ+ ได้ศึกษาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเบื้องต้น พร้อมทั้งรวบรวมข่าวสาร เรื่องน่ารู้ในแวดวงอสังหาฯ และประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยมากมาย เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยสามารถเข้ามาศึกษาหาข้อมูลและเตรียมความพร้อมก่อนมีบ้านได้อย่างมั่นใจ

ไปต่อหรือพอแค่นี้? ผ่อนบ้านไม่ไหว มีทางออกไหนน่าสนใจบ้าง

DDProperty

ไปต่อหรือพอแค่นี้? ผ่อนบ้านไม่ไหว มีทางออกไหนน่าสนใจบ้าง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ประกอบการไปจนถึงส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่หลายฝ่ายเคยคาดการณ์ไว้ว่าปี 2564 จะเป็นปีแห่งการฟื้นธุรกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง แม้จะเริ่มมีการทยอยฉีดวัคซีนต้านไวรัสให้กลุ่มเป้าหมายบางส่วนแล้ว แต่การแพร่ระบาดฯ ที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะควบคุมได้ในเร็ววันนี้ ย่อมส่งผลกระทบไปถึงความมั่นคงทางการเงินของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะเคยมีประสบการณ์ในการรับมือวิกฤติในปีที่ผ่านมาแล้วก็ตาม 

เห็นได้จากผลสำรวจ “สถานภาพแรงงานไทย: กรณีศึกษาผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท” ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  พบว่า สถานภาพหนี้ของแรงงานไทยปี 2564 นั้นมีหนี้สินของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากปี 2562 มาอยู่ที่ 98.1% โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้จากการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายประจำวัน เพื่อการศึกษาและใช้หนี้บัตรเครดิต ส่วนใหญ่มีปัญหาการผิดนัดผ่อนชำระหนี้สูงถึง 85.1% เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงินจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาระหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทยในปีนี้ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เฉลี่ยอยู่ที่ครัวเรือนละ 205,809 บาท หรือเพิ่มขึ้น 29.56%

นอกจากนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นน่าจะทำให้เงินกู้ยืมของภาคครัวเรือนในปี 2564 มีโอกาสเติบโตขึ้นสูงกว่าปี 2563 ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2564 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 89.0 – 91.0% ต่อจีดีพี เรียกได้ว่าปัญหาสภาพคล่องทางการเงินถือเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้น ๆ ของผู้บริโภคในยุคนี้เลยก็ว่าได้

แน่นอนว่าในภาคอสังหาฯ ที่แม้จะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้บริโภค แต่ก็ถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงก็หนีผลกระทบครั้งนี้ไม่พ้นเช่นกัน แม้จะมีความต้องการที่อยู่อาศัยจากผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ก็ตาม เห็นได้จากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ที่พบว่า มากกว่าครึ่ง (60%) ของผู้บริโภคชาวไทยที่ต้องการครอบครองที่อยู่อาศัยมองว่าอุปสรรคหลักในการเข้าถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมาจากอาชีพการงานและรายได้ที่ไม่มั่นคง ตามมาด้วยประวัติเครดิตที่ไม่ดี 45% และมีเงินดาวน์ไม่เพียงพอ 34% สะท้อนให้เห็นว่าสถานะทางการเงินที่ผันผวนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการมีบ้านของผู้บริโภคในยุคนี้ หรือหากเป็นผู้บริโภคที่มีภาระต้องผ่อนอสังหาฯ อยู่แล้วอาจจะหนักใจไม่น้อย เพราะหากผิดนัดค้างชำระก็จะส่งผลเสียผูกพันตามมา ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ขอแนะนำ 5 วิธีการประนอมหนี้ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประเมินสถานการณ์ทางการเงินของตนเอง และเลือกรูปแบบการประนอมหนี้ที่เหมาะสมมาใช้ได้ตรงกับสถานการณ์ที่เผชิญได้ทันท่วงที

DDproperty_Barriers to take home loan

การประนอมหนี้คืออะไร วิกฤติขนาดไหนถึงต้องเลือกใช้

การประนอมหนี้เป็นการขอเจรจาข้อตกลงเรื่องหนี้สินกับเจ้าหนี้ เช่น ลดหย่อน ผ่อนผัน และ/หรือปรับเปลี่ยนข้อตกลง เพื่อช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินการจากเจ้าหนี้อันเนื่องมาจากการผิดนัดชำระหนี้ เช่น ฟ้องร้องและยึดทรัพย์สิน และช่วยลดภาระในการชำระหนี้โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ลูกหนี้กำลังตกอยู่ในสภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงินและไม่สามารถกลับมาชำระได้ปกติ โดยมีรูปแบบการประนอมหนี้ที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนี้



        1. ขอลดอัตราดอกเบี้ย เหมาะกับผู้กู้ที่มีรายได้เป็นประจำทุกเดือน แต่มีเหตุให้รายได้ลดลงหรือเท่าเดิมแต่รายจ่ายสูงขึ้น และเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นกว่าเมื่อแรกกู้ หรือในกรณีที่ธนาคารอาจให้ชำระเป็นเงินก้อนซึ่งสูงกว่าค่าผ่อนต่อเดือน หรือให้ชำระหนี้ทั้งหมดภายในครั้งเดียว ซึ่งการขอลดอัตราดอกเบี้ยนั้นผู้กู้ต้องมีประวัติการผ่อนชำระที่ดี และประเมินสถานะทางการเงินของตนแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีรายได้สูงเพียงพอสำหรับกรณีที่ต้องชำระเงินก้อนตามเงื่อนไขใหม่ของธนาคาร
        2. ขอผ่อนชำระต่ำกว่าปกติ กรณีที่ผู้กู้มีรายได้เป็นประจำทุกเดือน แต่ขาดสภาพคล่องจากปัจจัยอื่น ๆ จะสามารถเลือกใช้วิธีนี้ได้เมื่อจำนวนยอดชำระต่อเดือนนั้นสูงกว่ายอดดอกเบี้ยต่อเดือนอย่างน้อย 500 บาท โดยระยะเวลาในการผ่อนชำระที่ต่ำกว่าปกตินั้นต้องไม่เกิน 2 ปี อย่างไรก็ดี ผู้กู้จะต้องมีประวัติการผ่อนชำระดี และไม่ลืมจัดการกับรายจ่ายที่เป็นอุปสรรคต่อการผ่อนบ้านในจำนวนเดิมให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากการขอประนอมหนี้แบบนี้ทำได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
        3. ขอขยายเวลาชำระหนี้ วิธีนี้ช่วยให้ค่าผ่อนต่อเดือนลดลงเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่งสำหรับผู้กู้ที่มีรายได้ประจำลดลง อย่างไรก็ดี การขอขยายเวลากู้สามารถทำได้จนอายุผู้กู้ไม่เกิน 70 ปีเท่านั้น จึงเหมาะกับผู้กู้ที่อายุน้อยหรือมีเวลาอีกหลายปี และสัญญาเงินกู้ปัจจุบันจะต้องมีระยะเวลากู้ไม่ถึง 30 ปีด้วย
        4. ขอผ่อนผันการค้างชำระ เป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ไขปัญหาฉุกเฉินทางการเงินได้ดีไม่น้อย เนื่องจากช่วยให้ผู้กู้สามารถจัดการปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 36 เดือน หลังจากนั้นจึงค่อยชำระเงินที่ค้างไว้ตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยประเมินจากสภาพคล่องทางการเงินและความเป็นไปได้ที่จะมีรายได้มั่นคงในอนาคต ได้แก่ การขอชำระเป็นเงินก้อนเล็กทุกเดือน การขอชำระเป็นเงินก้อนโดยแบ่งเป็นงวด ๆ หรือการขอชำระเงินคงค้างทั้งหมดภายในระยะเวลาหนึ่ง
        5. ขอโอนหลักทรัพย์เป็นของธนาคารชั่วคราวและจะซื้อคืน รูปแบบนี้จะคล้ายกับการขายฝากแล้วเช่าบ้านตัวเองอยู่ โดยค่าเช่าหลักทรัพย์คิดอยู่ที่ 0.4-0.6% ของมูลค่าหลักทรัพย์ และมักทำสัญญาเช่าเป็นรายปี โดยมีเงื่อนไขว่าหากจำนวนหนี้สูงกว่าราคาประเมินของหลักทรัพย์ ผู้กู้จำเป็นต้องชำระส่วนต่างภายในวันโอน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้กู้ที่ขาดรายได้และไม่น่าจะกลับมามีรายได้ภายใน 1 ปี หรือมีรายได้ประจำไม่คงที่แต่มีรายจ่ายสูงต่อเนื่องนานเกิน 1 ปี อย่างไรก็ตาม ผู้กู้ต้องอย่าลืมว่าหากเลือกวิธีนี้แล้วต้องมีเงินมากพอที่จะชำระส่วนต่างระหว่างหนี้และราคาประเมินหลักทรัพย์ และมีกำลังเพียงพอที่จะจ่ายค่าเช่าต่อเดือนแก่ธนาคารได้ด้วย

“รีไฟแนนซ์ – รีเทนชัน” ทางเลือกน่าสนใจสำหรับผู้กู้ที่ผ่อนไหว

อย่างไรก็ดี ขอให้ผู้กู้พิจารณาเลือกใช้วิธีประนอมหนี้ธนาคารที่คิดว่าน่าจะสามารถทำได้จริงและเหมาะสมกับสถานการณ์การเงินของตน ยิ่งเริ่มการประนอมหนี้ได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งเป็นผลดีและเป็นประโยชน์ต่อผู้กู้เอง ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาบานปลายจนธนาคารยื่นฟ้องร้องได้ สำหรับผู้กู้ที่ประเมินตนเองแล้วคิดว่ายังพอมีกำลังในการผ่อนชำระรายเดือน ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) ขอแนะนำอีก 2 วิธีที่ช่วยแบ่งเบาภาระ

        1. การรีไฟแนนซ์ (Refinance) เป็นการสิ้นสุดสัญญาสินเชื่อที่มีอยู่กับธนาคารหนึ่งแล้วไปทำสัญญาสินเชื่อใหม่กับอีกธนาคารหนึ่ง โดยผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกธนาคารได้เองจากการพิจารณาเปรียบเทียบข้อเสนอที่น่าจูงใจของแต่ละธนาคาร ส่วนใหญ่จะสามารถขอรีไฟแนนซ์ได้เมื่อผ่อนบ้านไปแล้ว 3 ปีขึ้นไปหรือตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญากู้บ้าน ปัจจุบันการรีไฟแนนซ์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้กู้ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าของธนาคารเก่า ยังทำให้ค่าผ่อนบ้านในแต่ละเดือนถูกนำไปหักเงินต้นคงเหลือได้มากขึ้น ช่วยให้ภาระในการผ่อนบ้านหมดไวขึ้นอีกด้วย
        2. การรีเทนชัน (Retention) มีหลักการเหมือนกับการรีไฟแนนซ์ แต่เป็นการขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม โดยจุดเด่นของการรีเทนชันคือ ผู้กู้ดำเนินธุรกรรมกับธนาคารเดิม ดังนั้นจึงไม่ต้องมีภาระในการจัดเตรียมเอกสารใหม่ เพราะทางธนาคารมีเอกสารและข้อมูลของผู้กู้อยู่แล้ว ทำให้ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติไม่นานก็ทราบผล ธนาคารบางแห่งใช้เวลาพิจารณาแค่ 7 วันทำการเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมมากนัก ธนาคารบางแห่งอาจคิดเพียงค่าธรรมเนียมสินเชื่อ 1% ของวงเงินกู้เท่านั้น เมื่อเทียบกับอัตราค่าดำเนินการเพื่อทำรีไฟแนนซ์ ถือว่ารีเทนชันมีค่าใช้จ่ายถูกกว่ามาก (ควรพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ยควบคู่ด้วยเนื่องจากการรีไฟแนนซ์มักได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า)

ข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study เผยให้เห็นว่า เกือบ 1 ใน 4 ของผู้บริโภคชาวไทย (23%) เลือกการรีไฟแนนซ์มาช่วยแบ่งเบาภาระในการผ่อนสินเชื่อที่อยู่อาศัย ในขณะที่มีผู้สนใจรีเทนชัน (Retention) เพียง 8% เท่านั้น อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคมากกว่า 2 ใน 3 (69%) เผยว่าจะตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสมมากที่สุดในเวลานั้นอีกครั้ง ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ได้อัปเดตข้อมูลอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านปี 2564 จากหลากหลายธนาคาร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้อย่างครบถ้วน หากได้ข้อมูลธนาคารที่สนใจแล้วก็สามารถลองใช้เครื่องคำนวณสินเชื่อรีไฟแนนซ์ เพื่อคำนวณจำนวนเงินที่จะสามารถประหยัดได้หลังจากการทำรีไฟแนนซ์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพิจารณาความคุ้มค่าและเพิ่มความมั่นใจก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์หรือรีเทนชัน

DDproperty_Refinance vs Retention

ย้อนรอย 1 ปีหลังโควิด-19 บุกไทย ตลาดที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มสดใส คนไทยยังอยากมีบ้าน ดันเทรนด์ซื้อ-เช่าโต

DDProperty

ย้อนรอย 1 ปีหลังโควิด-19 บุกไทย ตลาดที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มสดใส คนไทยยังอยากมีบ้าน ดันเทรนด์ซื้อ-เช่าโต

ดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในรอบ 1 ปีหลังเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย ที่การเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยหยุดชะงักในช่วงแรกแต่ก็ยังมีแนวโน้มโต สะท้อนจากความต้องการของผู้บริโภคที่แม้จะได้รับผลกระทบทางการเงินจากวิกฤติครั้งนี้ แต่ยังมองหาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ ชี้ยังเป็นโอกาสทองของนักลงทุนและผู้ซื้อที่มีความพร้อม หวังต่อยอดการลงทุนในระยะยาว คาดการแข่งขันในตลาดจะกลับมาคึกคักอีกครั้งเมื่อสถานการณ์คลี่คลายหลังระดมฉีดวัคซีนครอบคลุมทั่วประเทศ

ข้อมูลจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 190 จุด จาก 197 จุด หรือลดลง 4% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) โดยมีการปรับตัวลดลงถึง 7% ในรอบปีที่ผ่านมา ในขณะที่ดัชนีอุปทานในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 399 จุด จาก 363 จุด หรือเพิ่มขึ้นถึง 10% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มถึง 19% ในรอบปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ มีการเปิดตัวโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด และผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือเริ่มนำสินค้าออกขาย แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดฯ รอบล่าสุด ทำให้อัตราการดูดซับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ จำนวนที่อยู่อาศัยในตลาดจึงแปรผันตามสถานการณ์ปัจจุบัน

DDproperty_Price Index and Supply Index PMI Q2 2021

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “ตลอดหนึ่งปีของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทยส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวจากการชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ความต้องการซื้อและเช่าในตลาดอสังหาฯ ยังมีอยู่ไม่น้อย เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ โดยในปีนี้มีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการระบาดฯ รอบแรกในปีที่แล้ว ที่ตอนนั้นทุกภาคส่วนล้วนไม่มีประสบการณ์ในการรับมือวิกฤติแบบนี้มาก่อน เทรนด์ที่เห็นได้ชัดคือผู้บริโภคหันมาพิจารณาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก และแถบชานเมืองเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทำเลแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ที่เพิ่งเปิดใช้หรือมีแผนเปิดใช้บริการในอนาคตอันใกล้ ประกอบกับผู้บริโภคต้อง Work From Home ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ต้องกระจุกตัวอยู่ใกล้แหล่งงานย่านใจกลางเมือง อย่างไรก็ตามแม้ดัชนีอุปทานในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้นถึง 19% ในรอบปีที่ผ่านมาสวนทางกับอัตราดูดซับที่น้อยลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับปกติเมื่อพิจารณาตามสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ที่มีความไม่แน่นอนสูง ผู้บริโภคยังมีความกังวลใจในการใช้จ่าย จึงพยายามรักษาเสถียรภาพทางการเงินไว้

จากผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “วัคซีนเข็มแรก ความต้องการถ้วนหน้า” ของสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ถึง 87.9% ต้องการให้คนไทยทุกคนได้รับวัคซีนเข็มแรกก่อน ตามมาด้วยต้องการให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนกระจายวัคซีนครอบคลุมคนที่ต้องการทุกพื้นที่เร่งด่วนที่สุด 86.8% จะเห็นได้ว่าแผนการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมยังคงเป็นเป้าหมายอันดับต้น ๆ ที่คนไทยต้องการ เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย เช่นเดียวกับภาคธุรกิจที่มองว่ากุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตอนนี้คือแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวได้ คาดการณ์ว่าเมื่อมีการฉีดวัคซีนครอบคลุมทั่วประเทศและรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ได้แล้ว ผู้พัฒนาอสังหาฯ ก็พร้อมจะกลับมาเปิดตัวโครงการใหม่เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค และเชื่อว่าตลาดอสังหาฯ จะกลับมาคึกคักอีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของปี”

 

ครบรอบ 1 ปีโควิดสะเทือนไทย ความต้องการที่อยู่อาศัยยังไม่แผ่ว

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯ ทั่วไทย หลังต้องเผชิญวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (เปรียบเทียบระหว่างเดือนเมษายน 2563 และเดือนเมษายน 2564) ความต้องการที่อยู่อาศัยยังเติบโตต่อเนื่อง แม้ผู้บริโภคจะชะลอการใช้จ่าย

    • เมืองหลวงยังไม่สิ้นมนต์ขลัง ความต้องการซื้อ-เช่าโตกว่าเท่าตัว

ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ในรอบ 1 ปีตั้งแต่เกิดการล็อกดาวน์มาจนถึงการแพร่ระบาดฯ ระลอกล่าสุด พบว่า ผู้บริโภคยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ความต้องการเช่าและซื้อเติบโตกว่าเท่าตัว โดย “เขตยานนาวา” เป็นทำเลมาแรงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้รับความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นในรอบปีสูงสุดถึง 215% ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่เป็นทำเลที่อยู่ใจกลางเมือง ครอบคลุมแนวถนนพระราม 3 ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตทั้งจากการที่เป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ และมีโครงการพัฒนาของทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่อย่างต่อเนื่อง ผู้ซื้อที่มีความพร้อมสามารถซื้อเก็บไว้ในช่วงนี้เพื่อนำไปทำกำไรในอนาคตเมื่อเข้าสู่สถานการณ์ปกติ ตามมาด้วยเขตธนบุรีเพิ่มขึ้น 137% มีนบุรีเพิ่มขึ้น 132% จอมทองเพิ่มขึ้น 114% และบางแคเพิ่มขึ้น 113% ซึ่งล้วนเป็นทำเลที่ไม่ได้อยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแถบพื้นที่รอบนอกมากขึ้น โดยเลือกพิจารณาความคุ้มค่าของราคากับขนาดที่อยู่อาศัยที่จะได้รับ เนื่องจากยังเป็นทำเลที่สามารถเดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้า และระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ 

DDproperty_1 year of Covid-Buying trend

ส่วนทำเลยอดนิยมของผู้เช่าในรอบปีที่มีการแพร่ระบาดฯ นั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ย่านใจกลางเมืองเป็นหลักและมีอัตราเติบโตไม่แพ้กัน โดย “เขตปทุมวัน” ได้รับความสนใจเช่าเพิ่มขึ้นในรอบปีสูงสุดถึง 193% เนื่องจากผลกระทบของสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวและวิกฤติโควิด-19 ที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานศึกษาอยู่ในย่านดังกล่าวหันมาเช่าที่อยู่อาศัยแทนการตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ที่มีราคาสูง เพราะสถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีความไม่แน่นอน การสำรองเงินสดไว้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ในขณะที่ทำเลอื่น ๆ ที่มีความต้องการเช่าสูงไม่แพ้กัน ได้แก่ เขตบางคอแหลม (+188%) เขตบึงกุ่ม (+185%) จตุจักร (+159%) และเขตบางซื่อ (+150%)

DDproperty_1 year of Covid-Renting trend
    • ตลาดเช่าโตต่อเนื่อง ครองใจคนหาบ้านในจังหวัดปริมณฑล

ภาพรวมความเคลื่อนไหวของตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาครในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น เทรนด์การเช่าที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมอย่างสูง โดยบางพื้นที่มีการเติบโตกว่าความสนใจซื้อมากกว่าเท่าตัว อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ความสนใจซื้อและเช่าที่อยู่อาศัยในจังหวัดปริมณฑลมีการเติบโตเป็นบวกในรอบปีที่ผ่านมา คือเทรนด์การ Work From Home ที่หลายองค์กรใช้ในช่วงที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดฯ และคาดว่าหลายองค์กรจะยังคง Work From Home ต่อเนื่องแม้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ ส่งผลให้คนทำงานไม่ต้องกังวลเรื่องเวลาในการเดินทางมาทำงานใจกลางเมือง จึงมีการย้ายกลับไปอาศัยที่ภูมิลำเนาเดิมหรือหันไปเลือกซื้อ/เช่าอสังหาฯ ในจังหวัดปริมณฑลที่มีราคาย่อมเยากว่า

ทำเลมาแรงที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพิ่มขึ้นถึง 151% ด้านอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพิ่มขึ้น 168% ส่วนทำเลยอดนิยมของผู้เช่าในจังหวัดสมุทรปราการจะอยู่ในอำเภอเมือง โดยเพิ่มสูงถึง 216% ในขณะที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครถือเป็นทำเลที่น่าจับตามอง เนื่องจากได้รับความสนใจเช่าเพิ่มสูงถึง 650% เติบโตสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ 4 จังหวัดปริมณฑลอื่น ๆ

ทำเลที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เพิ่มขึ้นถึง 73% ด้านจังหวัดปทุมธานีนั้นพื้นที่อำเภอคลองหลวงมีผู้สนใจซื้อเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 74% ส่วนอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการมีความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นถึง 74% เช่นกัน และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ยังคงมาแรงครองความนิยมสูงสุด มีความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นถึง 88% 

 

    • โอกาสทองเลือกเป็นเจ้าของอสังหาฯ หัวเมืองท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ที่หนักหน่วงทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการปิดประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจท่องเที่ยวที่ขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ แน่นอนว่าตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน ซ้ำร้ายการเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 ในหลายหัวเมืองท่องเที่ยวส่งผลให้ความสนใจเช่าลดลง แต่ในวิกฤติยังมีโอกาสเมื่อดัชนีราคาอสังหาฯ ที่ปรับตัวลดลงช่วยผลักดันให้ความสนใจซื้อเติบโตสูงขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ระยอง และประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากผู้บริโภคและนักลงทุนมองเห็นโอกาสในการเป็นเจ้าของอสังหาฯ ในทำเลเหล่านี้ซึ่งถือว่ามีศักยภาพที่จะเติบโตได้ในอนาคต มีเพียงพัทยาที่มีทิศทางการเติบโตต่างจากจังหวัดท่องเที่ยวอื่น โดยมีความสนใจเช่าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 106% มากกว่าความสนใจซื้อที่เพิ่มขึ้นเพียง 70% 

เมื่อพิจารณาจากความสนใจซื้อที่เพิ่มขึ้นในรอบ 1 ปีที่มีการแพร่ระบาดฯ พบว่า อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นถึง 128% อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพิ่มขึ้น 164% อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นถึง 174% ในขณะที่อำเภอหัวหินยังเป็นทำเลที่ดึงดูดความสนใจซื้อในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้มากที่สุดถึง 96%

ด้านความสนใจเช่าแม้จะเติบโตน้อยกว่าซื้อ แต่ถือว่ายังมีทิศทางเติบโตเป็นบวกทั้งหมด โดยอําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความสนใจเช่าเพิ่มขึ้น 74% อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพิ่มขึ้น 17% อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เพิ่มขึ้น 60% และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพิ่มขึ้น 48%

“จะเห็นได้ว่าจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลกระทบต่อทุกคน ทุกองค์กร ธุรกิจทุกแขนงทั่วประเทศทำให้เกิดภาวะชะงักงันไปตาม ๆ กัน แต่อย่างไรก็ตามมาตรการต่าง ๆ ที่ภาครัฐออกมาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับทุกภาคส่วนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสำคัญที่สุดคือด้านสาธารณสุขก็ส่งผลเชิงจิตวิทยาต่อผู้บริโภคในด้านความมั่นใจ แม้ว่าภาพรวมจะยังไม่มีกลไกใดที่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าอาจมีการสะดุดหรือล้มลุกคลุกคลานในบางจังหวะ แต่ทุกคนยังมีความหวังที่จะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ให้ก้าวต่อไป” นางกมลภัทรกล่าวสรุป