อาลีเพย์ขยายความร่วมมือกับยูฟ่า ครอบคลุมธุรกิจแอนท์เชน

อาลีเพย์_AntChain_UEFA

อาลีเพย์ขยายความร่วมมือกับยูฟ่า ครอบคลุมธุรกิจแอนท์เชน

แอนท์เชนเป็นพันธมิตรด้านบล็อกเชนอย่างเป็นทางการกับฟุตบอลยูโร 2020 และ 2024 พร้อมปรับใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับรางวัลผู้ทำประตูสูงสุด (Top Scorer’s trophies)

อาลีเพย์_AntChain_UEFA_EURO

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา ยูฟ่า (UEFA) และแอนท์เชน (AntChain) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจบล็อกเชนของแอนท์กรุ๊ป (Ant Group) ประกาศความร่วมมือระดับโลกที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน รวมถึงการปรับใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นระยะเวลา 5 ปีสำหรับวงการฟุตบอล และปรับปรุงประสบการณ์ของแฟนบอลทั่วโลกให้ดีขึ้น

ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว แอนท์เชนจะเป็นพันธมิตรด้านบล็อกเชนอย่างเป็นทางการกับฟุตบอลยูโร 2020 ซึ่งนับเป็น “ครั้งแรกที่มีความร่วมมือด้านบล็อกเชนของยูฟ่า” พร้อมกันนี้มีการเปิดตัวรางวัลผู้ทำประตูสูงสุด (Top Scorer Trophy) ที่ออกแบบโดยอาลีเพย์ (Alipay) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลและไลฟ์สไตล์ชั้นนำของโลกภายใต้การดำเนินงานของแอนท์กรุ๊ป และเป็นพันธมิตรระดับโลกของยูฟ่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561

รางวัลผู้ทำประตูสูงสุดของฟุตบอลยูโร 2020 นับเป็นถ้วยรางวัลแรกในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศที่มีการออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน และมีการระบุค่าแฮช (Hash Value) ไว้ที่ส่วนฐาน ซึ่งข้อมูลการทำประตูของผู้ทำประตูสูงสุดในทัวร์นาเมนต์นี้จะถูกอัพโหลดและจัดเก็บอย่างถาวรไว้บนบล็อกเชนที่ใช้โซลูชั่นของแอนท์เชน

การออกแบบถ้วยรางวัลดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากตัวอักษรแรกในชื่อภาษาจีนของอาลีเพย์ นั่นคือ 支 (ออกเสียงว่า ฉี) ซึ่งแปลว่าการสนับสนุน หรือการจ่ายเงิน  ตัวอักษรดังกล่าวสะท้อนถึงแหล่งกำเนิดของอาลีเพย์ในปี 2547 เมื่อตอนที่บริษัทฯ ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Service) และแก้ไขปัญหาการขาดความเชื่อมั่นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในระบบออนไลน์ รวมถึงอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมซื้อขายทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์

กีย์-โลร็องต์ เอปสไตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของยูฟ่า กล่าวว่า “ยูฟ่าและอาลีเพย์มีความร่วมมือกันมาอย่างยาวนานถึง 8 ปี และเรามีความยินดีที่จะขยายความร่วมมือนี้ไปสู่ “แอนท์เชน” ปีนี้นับเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับวงการกีฬา และความร่วมมือกับแอนท์เชนในครั้งนี้ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของยูฟ่าในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงการมองหาหนทางใหม่ๆ ในการนำเสนอประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่แฟนบอลทั่วโลก”

จอฟฟ์ เจียง ประธานกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีอัจฉริยะของแอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่แอนท์เชนได้รับเลือกเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับยูฟ่า ยูโร 2020 และยูฟ่าเนชันส์ลีก ฟุตบอลและเทคโนโลยีได้มีการผสมผสานกันมากขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้แก่แฟนบอลทั่วโลก แอนท์เชนจะทำหน้าที่สำรวจเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงบล็อกเชน เพื่อช่วยให้วงการกีฬาสามารถพัฒนาต่อยอดและรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  นอกจากนี้ เรายังมุ่งมั่นที่จะขยายขอบเขตการเข้าถึงกีฬาระดับโลกไปสู่ชุมชนผู้ด้อยโอกาสโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้สัมผัสกับความสนุกของกีฬาฟุตบอลอย่างทั่วถึง”

นอกจากนี้ อาลีเพย์จะเปิดตัวโครงการ “Top Scorers in Campus” เพื่อสนับสนุนการพัฒนากีฬาฟุตบอลระดับเยาวชนของจีน โดยจะมีการมอบถ้วยรางวัลที่มีดีไซน์แบบเดียวกันกับถ้วยรางวัลผู้ทำประตูสูงสุดของฟุตบอลยูโร 2020 ให้แก่ผู้เล่นที่มีผลงานดีเด่นในการแข่งขันฟุตบอลระดับเยาวชนทั่วประเทศจีน เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เยาวชนหันมาเล่นฟุตบอลกันมากขึ้น โดยข้อมูลการทำประตูและเกียรติประวัติของนักฟุตบอลระดับเยาวชนเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้บนบล็อกเชนภายใต้การจัดการดูแลของแอนท์เชน เช่นเดียวกับรางวัลผู้ทำประตูสูงสุดของฟุตบอลยูโร 2020

ภารกิจ “ลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล” เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของทุกประเทศท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาด

อาลีเพย์

ภารกิจ “ลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล” เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของทุกประเทศท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาด

โดย นี ซิงจุน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของแอนท์ กรุ๊ป ผู้ให้บริการอาลีเพย์

Ni Xingjun CTO Ant Group

การแพร่ระบาดระลอกล่าสุดที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ เป็นเครื่องย้ำเตือนว่าเราคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง ขณะที่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ และทำให้ปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทที่ปรึกษา McKinsey คาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดใกล้จะยุติลงในบางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีการแจกจ่ายวัคซีนอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดกลับเลวร้ายลงในประเทศกำลังพัฒนาในทวีปแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา โดยมีการรายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการแพร่ระบาดระลอกล่าสุดในประเทศไทยในช่วงที่ประเทศกำลังจะเตรียมฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ทำให้เศรษฐกิจต้องชะงักอีกครั้ง และทำให้กลุ่มคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังไม่รู้ว่าจะต้องเผชิญกับสถานการณ์นี้ไปอีกนานแค่ไหน

สำหรับประเทศกำลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนาหลายๆ ประเทศ สถานการณ์ที่ยังคงยืดเยื้ออยู่นี้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อภาคธุรกิจ สุขภาพจิตของประชาชน และระบบการศึกษา ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาช่องว่างที่เกิดขึ้น ส่งเสริมความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันในประเทศต่างๆ ทั้งนี้การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสรรค์สรรค์คือสิ่งที่จะช่วยบรรลุเป้าหมายข้างต้น

ในประเทศไทย ประชาชนใช้โมบายแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” ลงทะเบียนจองและรับวัคซีน ติดตามสถานะการรับวัคซีนทั้งสองโดส บันทึกผลข้างเคียง รวมถึงออกหลักฐานการรับวัคซีน โดยหมอพร้อมยังใช้เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกผู้ใช้งานในการลงทะเบียนอีกด้วย 

ด้วยความพยายามที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ และเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยได้เปิดตัวโครงการต่างๆ เช่น “เราชนะ” เพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนผ่านแอปเป๋าตัง โดยคาดว่าโครงการนี้จะสามารถเยียวยาประชาชนได้มากถึง 33.5 ล้านคน

แม้วิธีการที่ใช้ช่วยเหลือประชาชนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ เราจำเป็นต้องทำให้ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนามี “ทักษะทางด้านดิจิทัล” เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถมองหาหนทางใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเราจำเป็นต้องจัดการฝึกอบรมด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยเสริมสร้างทักษะให้แก่ผู้เรียนแล้ว ยังจะช่วยขยายโอกาสให้กับทุกคนในยุคดิจิทัล

รายงานเกี่ยวกับ “อนาคตของการทำงาน” (Future of Jobs) ในปี 2563 สภาเศรษฐกิจโลก พบว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด “คือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม” ซึ่งนับเป็นการตอกย้ำถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ รายงานประเมินว่าภายในปี 2568 อาจมีการยกเลิกตำแหน่งงานราว 85 ล้านตำแหน่ง และอาจมีตำแหน่งงานใหม่สำหรับบทบาทหน้าที่ใหม่เกิดขึ้นราว 97 ล้านตำแหน่ง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ เครื่องจักร และอัลกอริธึม

แรงงานไทยจำเป็นต้องพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการทำงานในอนาคต สอดคล้องกับรายการเรื่องทักษะดิจิทัลจาก World Economic Forum ในปี 2563 ชี้ว่ามีเพียง 54.9% ของแรงงานไทยที่มีองค์ความรู้ด้านทักษะดิจิทัล และจุดอ่อนคือ “ความไม่พร้อมในการปรับตัวสู่โลกเทคโนโลยีในอนาคต” ดังนั้นการเทรนนิ่ง การศึกษา และทัศนคติต่อการทำงานในอนาคต เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องส่งเสริมสำหรับแรงงานไทย

ด้วยตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในตลาดแรงงาน International Finance Corporation (ในเครือธนาคารโลก) และอาลีเพย์ (Alipay) จึงร่วมมือกันเปิดตัว โครงการ 10×1000 Tech for Inclusionเมื่อปี 2561 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเทรนนิ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี 10,000 คนในช่วงระยะเวลา 10 ปี

ด้วยความหวังว่าบุคลากรเหล่านี้จะช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรม และการเติบโตให้แก่บริษัทหรือองค์กรที่ตนเองทำงานพร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจ แรงผลักดัน และบ่มเพาะบุคลากรรุ่นใหม่ราว 100,000 คนในประเทศบ้านเกิด ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ ให้คำแนะนำ หรือส่งต่อโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ผู้อื่น

กรณีตัวอย่างของโครงการ 10X10,000 คือ Aruna บริษัทสตาร์ทอัพด้านอี-คอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ซึ่งผู้ก่อตั้งบริษัทสองคนได้ผ่านการฝึกอบรมในโครงการดังกล่าว แพลตฟอร์มของพวกเขาสามารถเชื่อมต่อชาวประมงท้องถิ่นกับลูกค้าโดยตรง เพื่อช่วยให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจับปลา และบรรเทาปัญหาความยากจน  นอกจากนี้ Aruna ยังได้บ่มเพาะ “ฮีโร่ท้องถิ่น” (Local Hero) ซึ่งหมายถึงเยาวชนในหมู่บ้านชายฝั่งทะเลที่ช่วยให้ความรู้แก่ชาวประมงถึงประโยชน์ของการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา โครงการนี้ได้จัดการฝึกอบรมในหลักสูตรใหม่ FinTech Foundation Program โดยมีผู้เข้าร่วมลงทะเบียนกว่า 160 คนจาก 17 ประเทศในทวีปเอเชีย ดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ โดยผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านฟินเทคจากทั่วโลก ซึ่งสามารถปลูกฝังความคิดในการใช้เทคโนโลยี เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และบ่มเพาะความเป็นผู้นำ ทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มของอุตสาหกรรมอีกด้วย

10x1000

โรซี่ คาห์นนา ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมประจำภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และแปซิฟิกของ IFC กล่าวระหว่างการเปิดหลักสูตร FinTech Foundation Program ว่า “แรงงานในปี 2564 ต้องพบเจอกับช่วงเวลาที่ไม่ปกติ และด้วยเหตุนี้เอง บทบาทหน้าที่ ความรู้ความสามารถ และการทำงานของพวกเขาจึงมีความสำคัญอย่างมากในการช่วยให้ประเทศต่างๆ ฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก”

การแพร่ระบาดนับเป็นความท้าทายระดับโลกที่ต้องอาศัยการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความมุ่งมั่นทุ่มเทของทุกภาคส่วนเพื่อที่จะเอาชนะวิกฤตในครั้งนี้  ขณะที่เราต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อ เราจำเป็นต้องมองหาหนทางแก้ไขปัญหาในระยะยาวที่เหมาะกับท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อขจัดปัญหาความยากจน และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน

นั่นคือเหตุผลที่เราเชื่อว่าการแก้ไข “ปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล” ในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาโดยการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำด้านเทคโนโลยีในอนาคต จึงเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อสร้างโลกแห่งอนาคตที่สดใส ยั่งยืน และมอบโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่ทุกคน

เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยพลิกฟื้นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ให้อยู่รอดหลังการแพร่ระบาดอย่างไร

เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยพลิกฟื้นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ให้อยู่รอดหลังการแพร่ระบาดอย่างไร

กลยุทธ์ดิจิทัลไม่เพียงช่วยธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มได้ไปต่อ แต่ยังช่วยให้เติบโตต่อไปแม้ยังมีการแพร่ระบาด

โดย เชอรี่ หวง ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายความร่วมมือกับผู้ค้าทั่วโลกของอาลีเพย์ ประจำภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาลีเพย์_Alipay

เราไม่อาจปฏิเสธความสำคัญของอาหารที่นอกจากจะทำให้เราอิ่มท้องแล้ว ยังช่วยให้เรารู้สึกสบายใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของ Social distancing ที่ไม่ว่าจะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่คุณสั่งมาตอนเที่ยง การตั้งโต๊ะกินชาบูกับเพื่อนๆ หรือการลิ้มลองครัวซองต์แสนอร่อยจากร้านเบเกอรี่ใกล้บ้านช่วงที่คุณต้อง WFH นอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว รสชาติที่คุ้นเคยยังช่วยให้คุณผ่อนคลาย เสริมสร้างกำลังใจในยามที่โลกกำลังมองหาหนทางในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

ในความเป็นจริง ธุรกิจบริการด้านอาหารกำลังประสบปัญหาอย่างรุนแรง เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรายย่อยที่มีความเปราะบาง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองหาหนทางใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจ ขณะที่การแพร่ระบาดส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร

แนวโน้มสำคัญที่เราพบเห็นคือ ผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ในเอเชีย ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกแง่มุมของชีวิตประจำวัน  ข้อมูลจาก Deloitte ชี้ว่า ผู้ใหญ่วัย 21-40 ปีเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการใช้ชีวิตดิจิทัลไลฟ์ (Digital Life) อย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ โดย 78% ระบุว่าใช้บริการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ที่เกิดการแพร่ระบาด

สำหรับธุรกิจ F&B แบบเดิม ๆ แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในเอเชีย แพลตฟอร์มบริการส่งอาหาร Fly-Food ในไทย ได้นำเสนอโซลูชั่นภายใต้ความร่วมมือกับอาลีเพย์ (Alipay) เพื่อช่วยเหลือร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในไทย โดยมุ่งเน้นบริการส่งอาหารจีนให้กับชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

ตั้งแต่ต้นปี 2563 แพลตฟอร์ม Fly-Food ที่มีฐานธุรกิจหลักอยู่ในไทย มุ่งเน้นการให้บริการแก่ชาวจีนที่เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ด้วยการเปิดตัวมินิโปรแกรมบน Alipay โดยบริษัทฯ คาดการณ์ว่าน่าจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง ซึ่งส่งผลให้ชาวจีนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้โดยสะดวก และอาหารท้องถิ่นของจีนน่าจะเป็นหนทางหนึ่งในการบรรเทาจิตใจชาวจีนให้หายคิดถึงบ้านเกิดได้

การดำเนินการที่รวดเร็วของธุรกิจสตาร์ทอัพรายนี้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คุ้มค่า แม้สถานการณ์แพร่ระบาดจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวมีจำนวนลดลง แต่ปัจจุบัน Fly-food มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยสูงถึง 700 รายการต่อวัน และมีร้านอาหารเข้าร่วมแพลตฟอร์มมากขึ้น โดย 40 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหารทั้งหมด (ประมาณ 1,500 ร้าน) เข้าร่วมแพลตฟอร์มหลังเกิดการแพร่ระบาด และหลายร้านมีรายได้ที่มากกว่าครึ่งมาจากออเดอร์ที่สั่งผ่าน Fly-Food เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าในการกำหนดกลยุทธ์ด้านดิจิทัล ธุรกิจจำเป็นต้องคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก

แนวคิดที่ว่า “ทำเลคือสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ” ยังคงเป็นความจริงแม้กระทั่งในยุคดิจิทัล กล่าวคือ ธุรกิจจำเป็นที่ต้องอยู่ในจุดที่ลูกค้าเข้าถึงได้สะดวก โดยนอกจากจะมีหน้าร้านบนระบบดิจิทัลแล้ว ยังต้องทำประชาสัมพันธ์ และทำให้ลูกค้าสามารถค้นหาธุรกิจของคุณได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะผ่านแอพส่งอาหาร แพลตฟอร์มบริการดิจิทัลไลฟ์ หรือเว็บไซต์ของคุณเอง

ตัวอย่างเช่น ทรูมันนี่ (TrueMoney) บริการดิจิทัลวอลเล็ท ได้เปิดตัวฟีเจอร์ “ร้านค้าใกล้คุณ” ในช่วงการแพร่ระบาด เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาร้านค้าในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงร้านอาหารข้างทางและร้านสาขา ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหารโดยไม่ต้องเดินทางไกล  ขณะเดียวกันฟีเจอร์นี้ก็มีประโยชน์ต่อร้านค้า เพราะช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

เทรนด์การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลเริ่มก่อตัวขึ้นในธุรกิจ F&B เห็นได้จากธุรกิจที่มีหน้าร้านตามปกติก็เริ่มหันไปใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการขายสินค้าในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรกำนัลสำหรับรับประทานอาหาร เพื่อดึงดูดนักช้อปออนไลน์ให้เข้ามารับประทานอาหารที่ร้านในแบบออฟไลน์

ปัจจุบัน ผู้บริโภคใส่ใจเรื่องสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และมองหาหนทางในการลดการสัมผัส โดยหันไปใช้บริการที่ไว้ใจได้เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง  ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน  ความสามารถในการจองผ่านระบบออนไลน์ การชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล เครือข่ายการจัดส่งสินค้าที่มีความคล่องตัวสูง ทั้งหมดนี้คือแง่มุมสำคัญในการพิจารณาเพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางด้านดิจิทัล ควบคู่กับการดำเนินงานที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ

รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจังแก่ธุรกิจในแต่ละประเทศ เช่น สำหรับงบประมาณปี 2564 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศแผนการจัดสรรงบประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับโครงการใหม่ ๆ รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนสนับสนุนบางส่วนแก่องค์กรต่าง ๆ ในการปรับใช้โซลูชั่นดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ โครงการ Hawkers Go Digital ของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 ได้รับการตอบรับที่ดี โดยจากตัวเลขการลงทะเบียนจนถึงเดือนสิงหาคม 2563 พบว่าเกือบหนึ่งในสามของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยราว 18,000 รายทั่วประเทศสิงคโปร์ได้เข้าร่วมโครงการนี้

แพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วโลกสามารถร่วมมือกับธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี เพื่อมองหาหนทางใหม่ ๆ ในการให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจท้องถิ่นเพื่อการเข้าถึงลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งอาหาร การสั่งซื้อทางออนไลน์แล้วไปรับสินค้าที่ร้าน การสำรองที่นั่ง หรือการเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการส่งเสริมการขายและการทำตลาด  ด้วยการทำงานและผนึกกำลังร่วมกัน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์ ธุรกิจ F&B จะสามารถฟันฝ่าวิกฤติและสร้างอนาคตใหม่ที่สดใสได้อย่างแน่นอน

Fly-Food แพลตฟอร์มบริการส่งอาหารให้คนจีนในประเทศไทย ปรับกลยุทธ์ยกระดับความคุ้มค่า ตอบโจทย์ลูกค้าช่วงการแพร่ระบาด

อาลีเพย์_fly-food

Fly-Food แพลตฟอร์มบริการส่งอาหารให้คนจีนในประเทศไทย ปรับกลยุทธ์ยกระดับความคุ้มค่า ตอบโจทย์ลูกค้าช่วงการแพร่ระบาด

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด บริการดิจิทัลช่วยสร้างมูลค่าและประโยชน์ต่างๆ มากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ภาคส่วนต่างๆ จึงรีบเร่งดำเนินการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 78 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคที่มีอายุ 21 ถึง 40 ปี เปิดเผยกับ Deloitte ว่าตนเองใช้บริการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ที่เกิดการแพร่ระบาด ส่วนในประเทศไทย ผู้บริโภค 58 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าตนเองสั่งซื้ออาหารผ่านบริการส่งอาหารเพิ่มมากขึ้น

ภายใต้เทรนด์ดังกล่าว Fly-Food(飞象外卖 เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด ด้วยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโนโลยีในรูปแบบที่สร้างสรรค์ โดยเรื่องราวความสำเร็จนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

 

จุดประกายไอเดียธุรกิจด้วยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้บริโภค

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2561 ข้อมูลเชิงลึกที่เรียบง่ายเกี่ยวกับผู้บริโภคได้จุดประกายไอเดียธุรกิจ Fly-Food แพลตฟอร์มส่งอาหารเพียงหนึ่งเดียวที่รวบรวมร้านอาหารจีนที่หลากหลายในประเทศไทย

ต้า เผิง ผู้ก่อตั้ง Fly-Food กล่าวว่า ผมสังเกตว่านักท่องเที่ยวจีนมีแนวโน้มที่จะเดินทางมายังประเทศไทยในช่วงวันหยุดยาว  ในช่วงวันแรกๆ นักท่องเที่ยวมักจะเลือกลิ้มลองอาหารท้องถิ่นเพื่อสัมผัสประสบการณ์ที่แปลกใหม่ แต่หลังจากนั้น ส่วนใหญ่ก็เริ่มมองหาอาหารจีนแท้ๆ ที่คุ้นเคยเพื่อความสบายใจ”

เนื่องจากมีชาวจีนจำนวนมากเข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมถึงนักท่องเที่ยวจากจีนอีกกว่า 10 ล้านคนต่อปีในปี 2562 Fly-Food จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยมีการขยายธุรกิจไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง เช่น กรุงเทพฯ พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต และระยอง และให้บริการแก่ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในไทย และนักท่องเที่ยวจากจีนโดยเฉพาะ

 

ปรับแต่งกลยุทธ์ดิจิทัลและปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

ต้า เผิง บอกเล่าเกี่ยวกับมาตรการเบื้องต้นในการรับมือกับการแพร่ระบาด โดยกล่าวว่า สถานการณ์แพร่ระบาดก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อลูกค้าของเรา โดยบางคนก็ตกงาน ขณะที่นักท่องเที่ยวบางส่วนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ส่งผลให้อำนาจในการใช้จ่ายลดลง เราจึงออกโปรโมชั่นพิเศษเพื่อช่วยเหลือลูกค้าของเราในช่วงเวลาที่ยากลำบาก และเราได้ปรับใช้แนวทางด้านความปลอดภัยเพื่อปกป้องคนส่งอาหารและลูกค้าของเรา”

ขณะเดียวกัน Fly-Food ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้บริการแก่ชาวจีนในไทย ด้วยการเปิดตัวมินิโปรแกรมบนอาลีเพย์ (Alipay) โดยคาดการณ์ว่าจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง ซึ่งส่งผลให้ชาวจีนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้โดยสะดวก และ “อาหารท้องถิ่นของจีน” น่าจะเป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาจิตใจให้ชาวจีนได้หายคิดถึงบ้านเกิดได้เป็นอย่างดี

การดำเนินการที่รวดเร็วภายใต้กลยุทธ์ดังกล่าว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอบริการผ่านช่องทางที่ลูกค้าเข้าถึงได้สะดวก ก่อให้เกิดผลดีอย่างเป็นรูปธรรม

นับตั้งแต่ที่เปิดตัวมินิโปรแกรม Fly-Food บนอาลีเพย์ Fly-Food มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยอดสั่งซื้อจากลูกค้าประจำ ตอนนี้ Fly-Food มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยสูงถึง 700 รายการต่อวัน และมีร้านอาหารเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น โดย 40 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหารทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 1,500 ร้านเข้าร่วมกับ Fly-Food หลังจากการแพร่ระบาด และหลายร้านที่มากกว่าครึ่งของยอดขายมาจากออเดอร์ที่สั่งผ่าน Fly-Food

Fly-Food เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมแคมเปญที่อาลีเพย์จัดทำร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยภายใต้แคมเปญดังกล่าว มีการแจกคูปองดิจิทัลเพื่อกระตุ้นให้ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในไทยอย่างปลอดภัยตามมาตรการการป้องกันของรัฐ ซึ่งนับเป็นการสร้างรายได้และต่อลมหายใจให้กับธุรกิจเล็กๆในท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ Fly-Food มียอดสั่งอาหารเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15 เปอร์เซ็นต์ในช่วงที่จัดแคมเปญดังกล่าว

ต้า เผิง กล่าวเสริมว่า ในโลกวิถีใหม่ ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากขึ้นกับเรื่องของราคา ซึ่งนั่นหมายความว่า “ความคุ้มค่า” ยังคงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ คูปองดิจิทัลที่ให้ลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มอาลีเพย์มอบความคุ้มค่าให้กับลูกค้า และเรายังพบว่าผู้ใช้อาลีเพย์มีความคุ้นเคยและเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือการตลาดเพื่อให้ได้รับความคุ้มค่าสูงสุดจากการใช้จ่าย ส่งผลให้อัตราการเข้าร่วมของลูกค้าอยู่ในระดับที่ดี และให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ  ขณะเดียวกัน สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยรู้จักเรามาก่อน อาลีเพย์ก็ช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจให้กับลูกค้าในการใช้คูปองดิจิทัลสำหรับบริการของ Fly-Food”

อาลีเพย์_fly-food
อาลีเพย์_fly-food
อาลีเพย์_fly-food

Blockchain Trends 2021: A road to recovery anchored by trust

Blockchain Trends 2021: A road to recovery anchored by trust

The COVID-19 pandemic has completely transformed the way we live, work, and interact with one another. Across the globe, more and more day-to-day activities are taking place online, further accelerating the digitalization of all sectors. In this context, fostering and maintaining trust between multiple parties becomes increasingly valuable.

Blockchain, with its tamper-proof and distributed nature, is key to strengthening trust in this increasingly digital environment. This trend is evidenced by ever-growing global investment in blockchain solutions, which had been expected to grow to US$15.9 billion in 2023, ten times more than the US$1.5 billion invested in 2018. In Southeast Asia, businesses are feeling optimistic too, with 45 percent of companies believing that blockchain technology growth will accelerate with more applications and opportunities over the next three to five years.

 

Trust remains a key reason for blockchain adoption

Edelman’s Trust Barometer Special Report revealed that during the pandemic, 60 percent of surveyed consumers are opting for brands that they can trust. The percentage is even higher for countries such as China (89 percent) and India (77 percent). In 2021, blockchain will play a more prominent role to enhance trust in a number of important sectors.

We expect to see increased deployment of blockchain to strengthen public goods and services in areas such as education, copyright protection, healthcare, and food safety, amongst others. We also expect blockchain to become more integrated into the financial services industry, including in financing and risk control and management, as well as creating a more convenient, efficient, stable, and transparent operating environment for lenders.

 

Blockchain plays a more active role in facilitating trade and commerce

Blockchain applications will also undoubtedly flourish in international trade. Already, the technology is playing a crucial role in enhancing shipment tracing, contactless digital imports, and export transactions. Its role will be further amplified with the signing of the Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) among 15 Asia-Pacific countries. As the world’s largest trade deal, the agreement reflects the region’s commitment to an inclusive, cross-border trading system where transparency of information is vital.

To facilitate such international trade, new technologies leveraging blockchain are being created. For example, Trusple, a blockchain-powered international trade and financial service platform was recently launched. The service facilitates international trade by generating a smart contract once a buyer and a seller upload a trading order on the platform. This automated process not only mitigates the intensive and time-consuming processes that banks traditionally conduct to track and verify trading orders, but also ensures the information is tamper-proof. 

Both factors previously prevented banks from providing affordable financing to international traders. Not only does the technology significantly help increase the level of trust among all parties involved in trade, it also makes it easier for traders to obtain much needed financing from lenders at a lower cost.

 

Deeper partnerships to strengthen the blockchain ecosystem

Recent advancements in blockchain technology, such as cross-chain, backend-as-a-service (BaaS), and privacy-preserving data computation, will further facilitate the secure flow of information between different systems and applications. These advances will also enable a wider range of partnerships to take place across industries and geographies, strengthening mutual trust while reducing costs for all parties involved.

It’s heartening to see more governments and business in Southeast Asia become more open to blockchain adoptions. Singapore in particular, has been diligently building its ecosystem to draw innovators and investment from those intending to leverage Southeast Asia’s rapid rise up the ranks of the global economy. A quality blockchain ecosystem built on partnerships not only allow for joint solution development between the tech partners and regulatory authorities, but also reinvention of business models to advance the technology’s potential for the region.

 

Taking on challenges of the future

While we are optimistic about the outlook of the industry, it is not without its challenges. According to Gartner, global blockchain trial outcomes differ greatly by sector. Some sectors have demonstrated tangible progress rather than theoretical optimism, such as asset tracking, provenance, payments, while other use cases continue to struggle to gain ground.

As blockchain technology is still in the nascent stages of development, we expect to encounter more barriers over how it is applied and deployed at scale. For example, the tens of billions of smart devices available in the market could mean the need to ensure the feasibility of hundreds of billions of smart contracts operating simultaneously.

While the long-lasting implications of the COVID-19 pandemic remain largely undefined, a major task in 2021 and further into the future is finding the best ways to balance scalability and security on the chain, as blockchain technology becomes more commonplace. At Ant, a big part of our efforts is dedicated to researching and developing solutions that address these challenges of blockchain. With its ability to strengthen trust which critical to surviving in the increasingly digital global economy, we can make it easier for companies around the world, especially SMEs that lack their own resources to do business anywhere.