การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ Alipay+ ร่วมกันต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ Alipay+ ร่วมกันต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ Alipay+ ร่วมกันต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน

  • ข้อมูลจาก ททท. เผยว่า มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยช่วงเทศกาลตรุษจีนมากกว่า 1 ล้านคน โดยในจํานวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน 211,349 คน
  • จากข้อมูลของ ททท. พบว่าค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 15% จากปี 2562 ขณะที่ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น 14%
  • จากข้อมูลของ Alipay+ ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับ 4 ของโลกของนักท่องเที่ยวจีน และเป็นอันดับ ของนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย โดยประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนักท่องเที่ยวชาวจีน
  • Alipay+ เผยว่ายอดใช้จ่ายโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 4.5 เท่าจากปี 2566
  • Alipay+ ได้เปิดให้บริการอีวอลเล็ทระหว่างประเทศ และแอปพลิเคชันธนาคารที่สามารถใช้จ่ายในไทยได้ 13 รายการ โดยมีร้านค้าที่รองรับกว่า 250,000 แห่ง ทำให้ประสบการณ์การเดินทางราบรื่นยิ่งขึ้น

ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ Alipay+ แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่กลับมาปกติเป็นครั้งแรกหลังการแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการท่องเที่ยว cross-border ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ข้อมูลจาก ททท. แสดงให้เห็นว่ามีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจํานวน 1,008,899 คน ซึ่งในจํานวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน 211,349 คน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 15% จากปี 2019 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น 14% โดยหมวดหมู่ที่มีการใช้จ่ายสูงสุด ได้แก่ การช้อปปิ้ง, อาหารและเครื่องดื่ม, นวดและสปา, สถานที่ท่องเที่ยว และสถานบันเทิงยามค่ำคืน ส่วนเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมในประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ และกระบี่

นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา, รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า “จํานวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมาสูงกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ‘ประเทศไทย’ ยังคงเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมระดับโลก ในขณะที่เราเข้าสู่ปีใหม่พร้อมฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงแรกของปี เป้าหมายของเราคือไม่เพียงแต่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทําให้พวกเขาได้ท่องเที่ยวสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรเช่น Alipay+ นอกจากเราจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียได้มากขึ้นแล้ว เรายังสามารถช่วยให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้มีประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตให้กับธุรกิจท้องถิ่นของเรา ททท.มองหาโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือกับ Alipay+ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2567 และปีต่อๆไป”

ขยายอีโคซิสเต็มของ Alipay+ ในไทยเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว

ภายใต้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ททท. และ Alipay+ ได้ร่วมกันเปิดตัวการตลาดแบบ co-marketing เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียให้เดินทางมายังประเทศไทย พร้อมทั้งมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งและการเดินทางที่คุ้มค่ายิ่งขึ้นให้กับนักท่องเที่ยวเหล่านี้ รวมถึงการส่งเสริมความเชื่อมั่นและความปลอดภัย การโปรโมทแหล่งท่องเที่ยวหลัก เมืองสําคัญ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศไทย ตลอดจนการแนะนําแคมเปญและโปรโมชั่นพิเศษสําหรับนักท่องเที่ยว

ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2567 ข้อมูลจาก Alipay+ ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 4 จากนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยมียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 4.5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566 นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนักท่องเที่ยวจีน

ด้วยการสนับสนุนของ Alipay+ อีวอลเล็ทระหว่างประเทศ และแอปพลิเคชั่นธนาคาร 13 รายการสามารถใช้งานในประเทศไทยได้แล้ว โดย 9 รายเป็นผู้ให้บริการรายใหม่ ได้แก่ MyPB ของ Public Bank Berhad (มาเลเซีย), Naver Pay และ Toss Pay (เกาหลีใต้), Changi Pay และ OCBC Digital (สิงคโปร์), GCash (ฟิลิปปินส์), Hipay (มองโกเลีย), MPay (เขตบริหารพิเศษมาเก๊าของจีน) และ Tinaba (อิตาลี)

Alipay (จีนแผ่นดินใหญ่) รองรับการใช้จ่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2558 ขณะที่ AlipayHK (เขตบริหารพิเศษฮ่องกงของจีน), Kakao Pay (เกาหลีใต้) และ Touch ‘n Go eWallet (มาเลเซีย) รองรับการใช้จ่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2566

ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกยอดนิยมอันดับ 3 ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย และการเพิ่มจำนวนอีวอลเล็ทเหล่านี้ก่อนฤดูกาลท่องเที่ยวได้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งสร้างโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจท้องถิ่นด้วย

Alipay+ ยังคงขยายการรองรับจํานวนร้านค้าอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีการให้บริการในร้านค้ามากกว่า 250,000 แห่งในประเทศไทย นอกเหนือจากร้านค้าปลีกและ F&B แล้ว ยังมีร้านค้าใหม่อื่นๆ ที่ครอบคลุมรูปแบบการใช้จ่ายที่หลากหลายของนักท่องเที่ยว เช่น ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ห้างบิ๊กซี สถานที่ท่องเที่ยวเช่น พระบรมมหาราชวัง ร้านขายของที่ระลึก และสถานบริการสุขภาพและสปา เช่น Let’s Relax และ Health Land

ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางด้านการชอปปิ้งที่สําคัญสําหรับนักท่องเที่ยว โดยร้านค้ายอดนิยมรวมถึง คิงเพาเวอร์ ห้างสรรพสินค้าในเครือสยามพิวรรธน์ และ ห้างเครือเซ็นทรัล นอกจากนี้ การขยายตัวของร้านค้าพันธมิตร Alipay+ ในประเทศไทยล่าสุด ยังทําให้การเดินทางในชีวิตประจําวันสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และ Big C Supermarket ซึ่งเป็นหนึ่งในร้านค้ายอดนิยมด้วยเช่นกัน

นายสิทธิพงษ์ กิตติประภาพงศ์, ผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Global Merchant Partnership ประจำประเทศไทย, Ant International กล่าวว่า “ความร่วมมือใกล้ชิดอย่างต่อเนื่องของเรากับ ททท. ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น พร้อมทั้งมอบความสะดวกสบายให้แก่นักท่องเที่ยวในการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าได้ทั่วประเทศ ปัจจุบันประสบการณ์ดิจิทัลแบบไร้รอยต่อถือเป็นเรื่องธรรมดาสําหรับนักท่องเที่ยว และด้วยการรองรับแอปชําระเงินที่เป็นพันธมิตร Alipay+ ที่มากขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้การทำธุรกรรมโดยใช้อีวอลเล็ทในประเทศของนักท่องเที่ยวมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น เป้าหมายของเราคือการขยายเครือข่ายร้านค้าที่รองรับ Alipay+ เพื่อให้ธุรกิจท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปีต่อๆไป เรามองหาโอกาสที่จะเสริมสร้างความร่วมมือกับ ททท. และร้านค้าในท้องถิ่นอย่างจริงจัง ทั้งในเรื่องของการให้ความรู้ การโปรโมทร้านค้า และการรับชําระเงินระหว่างประเทศ”

การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง จุดหมายปลายทางที่หลากหลาย และสถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากจีนที่ใช้ Alipay

ด้วยโซลูชันเทคโนโลยีการชําระเงินข้ามพรมแดนบนมือถือของ Alipay+ นักท่องเที่ยวชาวจีนสามารถจ่ายค่าสินค้า อาหารและเครื่องดื่ม การพักผ่อนหย่อนใจ และความบันเทิง ที่ร้านค้ามากกว่า 8 ล้านแห่งในกว่า 70 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลกด้วยการใช้แอป Alipay ที่คุ้นเคย โดยไม่ต้องแลกเงิน หรือพกเงินสด Alipay ยังมีบริการคืนภาษีทันทีภายในแอป ตลอดจนอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่โปร่งใสและแข่งขันได้  

ประเทศไทย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเก๊า มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และแคนาดา เป็น 10 อันดับแรกของจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายผ่าน Alipay มากที่สุด โดย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ มียอดใช้จ่ายรวมกันเพิ่มขึ้น 7.5% เมื่อเทียบกับปี 2562 และเพิ่มขึ้นถึง 580% เมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้นําด้านปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมสูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซียมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมอันใกล้ชิดระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และจีนแผ่นดินใหญ่ นโยบายยกเว้นวีซ่าในประเทศหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย และการฟื้นตัวของเที่ยวบินระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในเอเชียยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง จุดหมายปลายทางที่อยู่ไกลออกไปในยุโรป, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ), ตะวันออกกลาง และอเมริกาเหนือ ก็เริ่มได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวจีนเช่นกัน

แคมเปญระดับโลกดำเนินไปอย่างเต็มรูปแบบผ่านเครือข่ายผู้ค้า Alipay+ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีน ในช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันที่ 9 ถึง 12 กุมภาพันธ์ จำนวนธุรกรรมที่ทำโดยผู้ใช้ Alipay ในต่างประเทศ แซงหน้าปี 2562 ถึง 7% ขณะที่ยอดใช้จ่ายของผู้บริโภคฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่ 82% ของยอดใช้จ่ายในปี 2562 หรือเพิ่มขึ้นถึง 2.4 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566

นอกจากการเดินทางที่ขยายขอบเขตมากขึ้น นักท่องเที่ยวจีนยังขยายความสนใจจากกิจกรรมเดิมๆ เช่น การช้อปปิ้งและเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวหลักๆ ไปสู่ประสบการณ์ท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมและมีเอกลักษณ์มากขึ้น ในสัปดาห์วันหยุดตรุษจีนทั่วโลก นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายไปกับอาหารและเครื่องดื่มมากกว่าปี 2562 ถึง 70% โดยขยายจากจุดหมายยอดนิยมในเมืองไปสู่สถานที่ท้องถิ่นที่น่าสนใจ

การส่งเสริมการท่องเที่ยวต่างประเทศผ่านอีวอลเล็ทพันธมิตรของ Alipay+ และแอปพลิเคชันธนาคาร

เทศกาลตรุษจีนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในคอมมูนิตี้ชาวเอเชีย ด้วยความร่วมมือใหม่ในปี 2566 และจำนวนการเดินทางที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายข้ามพรมแดนโดยรวมบนอีวอลเล็ทชั้นนําของประเทศต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Alipay+ เพิ่มขึ้นถึง 252% จากปีก่อน ธุรกรรมเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 304% โดยประเทศไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเก๊า และสิงคโปร์ เป็น 5 อันดับแรกของจุดหมายปลายทางยอดนิยมของผู้ใช้งาน Alipay+ นอกเหนือจากนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่

ในจีนแผ่นดินใหญ่ บัญชี Alipay ที่เชื่อมกับอีวอลเล็ทและบัตรต่างประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดด ช่วงเทศกาลตรุษจีน 2567 นักท่องเที่ยวต่างชาติในจีนใช้จ่ายผ่านบัญชี Alipay ที่เชื่อมโยงกับบัตรต่างประเทศที่ร้านค้าในจีนมากขึ้นถึง 500% เมื่อเทียบกับปี 2566 ร้านอาหารจีน สถานที่ท่องเที่ยว และระบบขนส่งมวลชน เป็นแหล่งที่มีการใช้งานสูงสุดในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศจีนและร่วมงานเทศกาล ตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 Alipay+ รองรับอีวอลเล็ทและแอปการชําระเงินชั้นนํา 10 รายในเอเชีย รวมถึง TrueMoney เพื่ออำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยบริการจากผู้ค้าในเครือข่าย Alipay กว่า 80 ล้านแห่งทั่วประเทศจีน โดย Visa, Mastercard, JCB, Discover®, และ Diners Club International® ยังขยายความร่วมมือกับ Alipay สําหรับนักท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตระหว่างประเทศของพวกเขากับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ Alipay

Alipay+ เปิดแคมเปญท่องเที่ยวทั่วโลกปี 2567 ด้วยเทศกาลตรุษจีน สนับสนุนผู้ค้าในต่างประเทศกว่า 8 ล้านราย

Alipay+ เปิดแคมเปญท่องเที่ยวทั่วโลกปี 2567 ด้วยเทศกาลตรุษจีน สนับสนุนผู้ค้าในต่างประเทศกว่า 8 ล้านราย

Alipay+ เปิดแคมเปญท่องเที่ยวทั่วโลกปี 2567 ด้วยเทศกาลตรุษจีน สนับสนุนผู้ค้าในต่างประเทศกว่า 8 ล้านราย

  • ผู้ค้าพันธมิตร Alipay+ กว่า 8 ล้านรายทั่วโลก พร้อมต้อนรับการเดินทางระหว่างประเทศในช่วงตรุษจีนอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาด
  • Alipay+ ได้ขยายจำนวนผู้ค้าทั่วโลกเพื่อขับเคลื่อนการชำระเงินระหว่างประเทศผ่านมือถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ เช่น ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ขณะนี้อีโคซิสเต็มส์ได้ขยายไปสู่ National QR ชั้นนำในสิงคโปร์ มาเลเซีย และเกาหลีใต้
  • Alipay+ และพันธมิตรที่เป็นตลาดปลายทางผนึกกำลังเพื่อมอบความสะดวกสบายในการเดินทาง พร้อมเสนอแคมเปญพิเศษ และการขับเคลื่อนโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

ขณะที่ประเทศไทย สิงคโปร์ และประเทศอื่น ๆ เปิดพรมแดนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนโดยไม่ต้องขอวีซ่า Alipay+ แพลตฟอร์มการตลาดและการชำระเงินระหว่างประเทศผ่านมือถือที่ดำเนินการโดย Ant International ได้ยกระดับการเดินทางทั่วโลกสำหรับพันธมิตรด้านธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการท่องเที่ยวช่วงตรุษจีนอย่างเต็มรูปแบบครั้งแรกภายหลังการแพร่ระบาด

ปัจจุบัน Alipay+ ให้บริการใน 57 ประเทศ โดยเชื่อมโยงผู้ค้ากว่า 88 ล้านรายทั่วโลกเข้ากับบัญชีผู้ใช้ 1.5 พันล้านบัญชีผ่านอีวอลเล็ทและแอปชำระเงินชั้นนำกว่า 25 รายการ  นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปต่างประเทศสามารถชำระเงินแบบออนไลน์และออฟไลน์ด้วยแอปชำระเงินที่มีอยู่แล้วในประเทศตนเองได้อย่างง่ายดายและปลอดภัยทั่วโลก  ขณะเดียวกัน ร้านค้าต่าง ๆ ยังสามารถใช้เครื่องมือด้านการตลาดดิจิทัลและการขยายธุรกิจของ Alipay+ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เดือนมกราคม 2567 วอลเล็ทที่เป็นพันธมิตรของ Alipay+ และแอปธนาคารรวมถึง True Money (ไทย), Alipay (จีนแผ่นดินใหญ่), AlipayHK (เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, จีน), GCash (ฟิลิปปินส์), Touch ‘n Go eWallet (มาเลเซีย), OCBC Digital (สิงคโปร์) และอื่น ๆ

ดักลาส แอล. ฟีจิน ประธานบริหาร Alipay+ กล่าวว่า “ปี 2567 จะเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับ Alipay+ ในการปลดล็อกนวัตกรรมดิจิทัลมากมายสำหรับการค้าระหว่างประเทศทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ขณะที่การท่องเที่ยวทั่วโลกกลับมาอีกครั้ง เทศกาลตรุษจีนจึงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการมีพันธมิตรใหม่ ๆ ริเริ่มแคมเปญต่าง ๆ และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ราบรื่นและน่าประทับใจ พร้อมทั้งเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย”

แคมเปญสุดพิเศษเพื่อกระตุ้นการเติบโตของร้านค้า และให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า

วันหยุดตรุษจีนปี 2567 เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ โดยยอดจองตั๋วโดยสารสำหรับการเดินทางออกนอกประเทศจีนเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566 จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยม ได้แก่ ประเทศที่มีนโยบายปลอดวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน เช่น ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย รวมถึงจุดหมายยอดนิยมอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ คาดว่ายอดใช้จ่ายในต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียด้วยเช่นกัน เช่น ในสิงคโปร์ มียอดจองตั๋วโดยสารและที่พักเพิ่มขึ้น 7 เท่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนในปี 2566

ในมาเลเซีย ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เตรียมพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ขณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่าประเทศไทยจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเกือบ 1 ล้านคน สร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นมูลค่าสูงถึง 28,400 ล้านบาท (ประมาณ 800 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ) โดยคาดว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

เพื่อให้แอป Alipay เป็นเพื่อนคู่หูในการเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางทั่วโลก Alipay ได้ลงทุนในการสร้างความเป็นผู้นำตลาดด้วยกลยุทธ์ 3 R ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Exchange Rate) ที่โปร่งใสและแข่งขันได้ แพ็คเกจอินเทอร์เน็ตโรมมิ่ง (Roaming) ฟรีหรือมีส่วนลดพิเศษ และการเพิ่มความสะดวกสบายในการเรียกรถโดยสาร (Ride-hailing) ผ่านแอปในประเทศต่างๆ มากขึ้น ผู้ค้าทั่วโลกเตรียมนำเสนอแพ็คเกจพิเศษที่หลากหลายสำหรับโอกาสนี้โดยเฉพาะ เช่น:

  • ชุดบัตรกำนัลพิเศษพร้อมส่วนลดสูงสุดถึง 90 เปอร์เซ็นต์สำหรับใช้กับร้านค้า Alipay+ ทุกแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ดีลพิเศษสำหรับร้านค้าริมทางกว่า 500 ร้าน รอบๆ ภูเขาไฟฟูจิในเมืองฟูจิโยชิดะและทะเลสาบคาวากุจิของญี่ปุ่น
  • ร้านค้าทุกแห่งภายใต้โครงการ ZeroPay ทั่วเกาหลีใต้ และร้านค้าในย่านช้อปปิ้งยอดนิยมอย่างเมียงดง
  • แบรนด์หรูทั่วยุโรป เช่น Cartier, Valentino, Harrods, Selfridges, Duomo di Milano, La Rinascente และ El Corte Ingles
  • ร้านค้าปลอดภาษีที่สนามบินดูไบในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จะดำเนินการจับฉลากตั๋วเข้าชมฟุตบอลยูฟ่าตลอดเดือนกุมภาพันธ์ โดยผู้ใช้ Alipay+ ที่มียอดใช้จ่ายเกินกว่า 250 AED จะมีสิทธิ์ลุ้นรับตั๋วยูฟ่าหนึ่งชุด พร้อมตั๋วเครื่องบินและที่พัก                                                            

การขยายอีโคซิสเต็มของผู้ค้าระหว่างประเทศ

ในปี 2567 จะมีการขยายจำนวนผู้ค้า Alipay+ ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๆ โดยเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2566

ในปี 2566 Alipay+ ได้กลายเป็นพันธมิตรด้านโซลูชั่นดิจิทัลระหว่างประเทศเพียงรายเดียวใน National QR ชั้นนำในภูมิภาคนี้ ซึ่งได้แก่ SGQR (สิงคโปร์), DuitNow (มาเลเซีย) และ ZeroPay (เกาหลีใต้) ส่งผลให้ผู้ใช้บริการระบบชำระเงินที่เป็นพันธมิตรของ Alipay+ สามารถชำระเงินโดยใช้อีวอลเล็ทจากประเทศของตนเองกับร้านค้าทั้งเล็กและใหญ่ในประเทศเหล่านี้ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางและชำระเงินเสมือนเป็นคนท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น

ในสิงคโปร์ มีการเปิดรับชำระเงินผ่าน SQGR ในทุกที่ทั่วทั้งเกาะ รวมถึงศูนย์อาหารทุกแห่ง  ขณะที่ DuitNow QR ของมาเลเซียได้รับการยอมรับจากผู้ค้า 1.8 ล้านราย และ ZeroPay ของเกาหลีใต้ครอบคลุมผู้ค้า 1.7 ล้านราย  ทั้งนี้ ในมาเลเซีย พันธมิตรด้านระบบชำระเงินของ Alipay+ จำนวน 8 ราย เพิ่งเปิดให้บริการบนแพลตฟอร์ม DuitNow QR ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2566

สำหรับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ:

  • ประเทศไทย: ร้านค้าที่เป็นพันธมิตรกับ Alipay+ มากกว่า 100,000 แห่ง รวมถึงแบรนด์สากลระดับพรีเมียม เช่น คิงเพาเวอร์, จิม ทอมสัน และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เช่น เซ็นทรัล โรบินสัน สยามพารากอน และเอ็มควอเทียร์  ล่าสุดมีการขยายความร่วมมือกับเซเว่น-อีเลฟเว่น แมคโดนัลด์ และบิ๊กซี ซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นในทุกวัน ขณะที่สามารถเดินทางไปตามที่สถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้เหมือนอยู่ในประเทศตนเอง
  • สิงคโปร์: จำนวนร้านค้าที่เป็นพันธมิตรกับ Alipay+ ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น Resorts World Sentosa (RWS), Mount Faber Peak และ Jumbo Seafood  ทั้งนี้ RWS ได้นำเสนอแคมเปญเทศกาลสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่าน Alipay ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษในแอปดังกล่าว
  • ญี่ปุ่น: Alipay+ ได้รับการยอมรับจากผู้ค้ามากกว่า 1.5 ล้านราย  ทั้งนี้ Naver Pay และ Toss Pay ของเกาหลีใต้, OCBC Digital และ Changi Pay ของสิงคโปร์, MyPB by Public Bank ของมาเลเซีย, Tinaba ของอิตาลี, Hipay ของมองโกเลีย และ MPay ของมาเก๊า เป็นช่องทางชำระเงินดิจิทัลล่าสุดที่สามารถใช้ชำระเงินที่ร้านค้าในเครือ PayPay ทั่วประเทศ ส่งผลให้อี-วอลเล็ทและแอปธนาคารที่เป็นพันธมิตรของ Alipay+ ที่สามารถใช้กับผู้ค้ารายย่อยในญี่ปุ่นมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 16 ราย
  • ยุโรป: Alipay+ ร่วมมือกับ IVS เพื่อรองรับการใช้งาน Alipay+ บนตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติในประเทศต่าง ๆ เช่น อิตาลี สเปน และฝรั่งเศส โดยมีการเสนอโปรโมชั่นพิเศษสำหรับผู้ใช้ที่ชำระเงินด้วย Alipay+ จนถึงเดือนมีนาคม 2567
  • อิตาลี: การบริการที่ครอบคลุมของ Alipay+ กับ URI Taxi ซึ่งเป็นสมาคมสหกรณ์รถแท็กซี่ที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันครอบคลุมรถแท็กซี่กว่า 10,000 คันใน 12 ภูมิภาคของอิตาลี รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ เช่น มิลาน โรม และฟลอเรนซ์
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์: Alipay+ ได้ประกาศความร่วมมือใหม่กับอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ และหน่วยงานภาครัฐในดูไบและอาบูดาบี  โดยในดูไบ มีผู้ค้ากว่า 100,000 รายเปิดรับชำระเงินผ่าน Alipay+ ขณะที่แท็กซี่กว่า 17,000 คันทั่วสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รองรับอีวอลเล็ทที่เป็นพันธมิตรของ Alipay+ และแอปธนาคาร นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจะได้รับประโยชน์จากการขอคืนภาษีแบบเรียลไทม์เมื่อซื้อสินค้าโดยใช้อีวอลเล็ทจากประเทศของตนผ่าน Alipay+ ที่สนามบินดูไบ อาบูดาบี และชาร์จาห์

ฟีจิน กล่าวเพิ่มเติมว่า “ธุรกิจท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างความเจริญรุ่งเรืองระดับประเทศและระดับภูมิภาคในเอเชียและที่อื่น ๆ  Alipay+ จะยังคงขยายความร่วมมือและพัฒนาต่อยอดชุดเครื่องมือดิจิทัลของเรา โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเจริญให้กับชุมชนต่าง ๆ โดยอาศัยการท่องเที่ยวและการค้าระหว่างประเทศ”

Alipay+ จับมือพาร์ทเนอร์อีวอลเล็ท ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแคมเปญระดับโลกส่งท้ายปี

Alipay+ จับมือพาร์ทเนอร์อีวอลเล็ท ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแคมเปญระดับโลกส่งท้ายปี

Alipay+ จับมือพาร์ทเนอร์อีวอลเล็ท ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแคมเปญระดับโลกส่งท้ายปี

  • แบรนด์ระดับโลกและดิจิทัลวอลเล็ทชั้นนำในเอเชียเข้าร่วมแคมเปญของ Alipay+ เพื่อขับเคลื่อนการเดินทางระหว่างประเทศอย่างมีความรับผิดชอบ สนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี และรักษาสิ่งแวดล้อม
  • มอบสิทธิประโยชน์และสิ่งจูงใจมากมายสำหรับนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่อุตสาหกรรมเตรียมพร้อมรองรับการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2567
  • เตรียมเปิดตัวโครงการวิจัยเพื่อติดตามผลกระทบด้าน ESG ของแคมเปญต่อสิ่งแวดล้อมและธุรกิจท้องถิ่น
  • Alipay+ เทคโนโลยีการชำระเงินและโซลูชั่นการตลาดที่เชื่อมโยงมากกว่า 25 อีวอลเล็ทและแอปชำระเงินชั้นนำเข้ากับผู้ค้าทั่วโลก มียอดธุรกรรมโดยรวมและธุรกรรมรายวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2566

Alipay+ แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการชำระเงินระหว่างประเทศผ่านมือถือในเครือบริษัทแอนท์ อินเตอร์เนชันแนล (Ant International) เปิดตัวแคมเปญส่งท้ายปีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศอย่างยั่งยืน โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ทั่วโลก พร้อมมอบสิทธิประโยชน์มากมายให้แก่ผู้ใช้อีวอลเล็ทชั้นนำ 5 รายในเอเชีย ซึ่งได้แก่ TrueMoney (ไทย), Alipay (จีนแผ่นดินใหญ่), AlipayHK (เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน), Touch ‘n Go eWallet โดย TNG Digital (มาเลเซีย) และ GCash (ฟิลิปปินส์) 

แคมเปญนี้จะจัดถึงวันที่ 31 ธันวาคม โดยจะเปิดตัวครั้งแรกสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวในไทย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เขตบริหารพิเศษมาเก๊า ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยนักท่องเที่ยวจะได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อเสนอพิเศษมากมายภายใต้ความร่วมมือกับธุรกิจชั้นนำระดับโลก เช่น ComfortDelGro Taxi, Daimaru Matsuzakaya, Galaxy Macau, King Power และ Lotte Duty Free รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มอีในท้องถิ่น เช่น Durian BB ในมาเลเซีย และ IJOOZ ในสิงคโปร์ ซึ่งมอบทางเลือกที่หลากหลายและครอบคลุมสำหรับนักท่องเที่ยว

สนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ

แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบในตลาดต่าง ๆ ที่ให้บริการ Alipay+ ด้วยการดำเนินโครงการ ESG ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

แคมเปญนี้มอบข้อเสนอสุดพิเศษจาก Alipay+ และพาร์ทเนอร์ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เช่น แพ็คเกจอินเทอร์เน็ตมือถือฟรีในต่างประเทศ ส่วนลดในแอปสำหรับเครือข่ายร้านค้ามากมายของ Alipay+ และโอกาสที่จะได้รับส่วนลด 100% จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ  นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังได้รับรางวัลจากการใช้บริการชำระเงินดิจิทัลแทนการใช้เงินสด การเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ การพกพาแปรงสีฟันของตัวเองเพื่อใช้ระหว่างท่องเที่ยวแทนการใช้แปรงสีฟันแบบใช้แล้วทิ้ง รวมถึงการไปเยือนสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่นที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนและการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

ดร. เชอร์รี่ หวง ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการผู้ค้าออฟไลน์ Alipay+ ของ แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่า “แคมเปญส่งท้ายปีของเรานอกจากจะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแล้ว ยังมุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกด้วยการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่มีความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนเช่นเดียวกับเรา โดยนับเป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สำรวจโลกอย่างมีความรับผิดชอบ”

บริการชำระเงินดิจิทัลช่วยเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้กับเอสเอ็มอีในท้องถิ่น โดยในปี 2566 ขณะที่อาลีเพย์ขยายความร่วมมือกับองค์กรบัตรระหว่างประเทศรายใหญ่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือบัตรที่เป็นชาวต่างชาติที่มาเยือนประเทศจีน Alipay+ ได้นำอีวอลเล็ท 10 รายของเอเชีย และแอปธนาคารมาสู่จีนแผ่นดินใหญ่เพื่อรองรับผู้ใช้ระหว่างการเดินทาง ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในการขยายช่องทางการชำระเงินชั้นนำระหว่างประเทศ ส่งผลให้ในปี 2566 ผู้ค้ามากกว่าสามล้านรายในจีน รวมถึงร้านค้าขนาดเล็ก สามารถทำธุรกรรมระหว่างประเทศครั้งแรกบน Alipay+

เนื่องจากการท่องเที่ยวบริเวณทางตอนใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และเขตบริหารพิเศษมาเก๊า เติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้ค้าชั้นนำกว่า 220 รายในเมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีน จึงได้เข้าร่วมแคมเปญส่งเสริมการขายส่งท้ายปีเพื่อดึงดูดผู้ใช้ AlipayHK และ mPay ด้วยแพ็คเกจส่วนลดมูลค่าสูงถึง 14,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 1,793 ดอลลาร์สหรัฐฯ)

เพื่อติดตามผลกระทบด้าน ESG ของแคมเปญนี้ Alipay+ จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (CUHK) และคณะที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยซิงหัว มหาวิทยาลัยฮ่องกง มหาวิทยาลัยเจนีวา และมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น เพื่อตรวจวัดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนของนักท่องเที่ยว ผลกระทบต่อธุรกิจท้องถิ่น วัฒนธรรม และชุมชน รวมไปถึงผลกระทบต่อธุรกิจในอีโคซิสเต็มส์

บรูซ จาง ซีอีโอของ IJOOZ ผู้ให้บริการตู้จำหน่ายน้ำผลไม้ในสิงคโปร์ กล่าวว่า “ในแต่ละปี IJOOZ มีเนื้อและเปลือกส้มจำนวนมากจากกระบวนการผลิต เรารีไซเคิลของเสียจากส้ม เปลี่ยนให้เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เรารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับ Alipay+ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลกที่มาเยือนสิงคโปร์”

Alipay+ ในปี 2566: ปีแห่งการเติบโตและการขยายความร่วมมือ

นับตั้งแต่ที่เปิดตัวในปี 2563 Alipay+ ชุดโซลูชั่นการชำระเงินและการตลาดระหว่างประเทศ ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อมโยงผู้ค้ากว่า 88 ล้านรายใน 57 ตลาด ไปยังบัญชีชำระเงิน 1,500 ล้านบัญชีผ่านอีวอลเล็ทมากกว่า 25 ราย รวมถึงแอปธนาคาร และแอปผ่อนชำระค่าสินค้า/บริการ (Buy Now Pay Later – BNPL)

ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 Alipay+ มียอดชำระเงินทั้งหมด (TPV) เพิ่มขึ้นประมาณ 30% เมื่อเทียบกับช่วงหกเดือนแรก และธุรกรรมเฉลี่ยรายวัน (DAT) เพิ่มขึ้นกว่า 70%  และหากไม่รวม Alipay ยอด TPV และ DAT สำหรับการชำระเงินระหว่างประเทศของอีวอลเล็ทที่เป็นพาร์ทเนอร์ Alipay+ เพิ่มขึ้นประมาณ 280% และ 230% ตามลำดับ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

 ในแง่ของปริมาณธุรกรรมในปี 2566 AlipayHK , Kakao Pay, Touch ‘n Go eWallet และ GCash เป็นท็อป 4 อีวอลเล็ทที่เป็นพาร์ทเนอร์ Alipay+ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับนักเดินทางระหว่างประเทศ นอกเหนือไปจาก Alipay โดย TrueMoney, Touch ‘n Go eWallet และ mPay เป็นท็อป 3 เมื่อพิจารณาจากปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นแบบเดือนต่อเดือน (MoM) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ส่งผลให้ผู้ค้าในจีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษมาเก๊า ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

อลัน หนี่ ซีอีโอของ TNG Digital ผู้ให้บริการ Touch ‘n Go eWallet กล่าวว่า “การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น และ TNG Digital มุ่งมั่นที่จะสร้างความแตกต่างเชิงสร้างสรรค์ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ในปี 2566 บริการชำระเงินระหว่างประเทศ Touch ‘n Go eWallet ในจีนแผ่นดินใหญ่เติบโตแบบเดือนต่อเดือนมากกว่า 100% และด้วยเหตุนี้ เราจึงหวังว่าการดำเนินงานของเราจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับธุรกิจอื่น ๆ ได้ปฏิบัติตาม”

Ant International Unveils Strategy to Drive Inclusive Global Commerce with Payment and Digitalization Technologies

แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Ant International) เผยกลยุทธ์ส่งเสริมการค้าระดับโลกอย่างครอบคลุมด้วยเทคโนโลยีการชำระเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล

Ant International Unveils Strategy to Drive Inclusive Global Commerce with Payment and Digitalization Technologies

  • Accelerating growth and expanding partnerships across cross-border mobile payment, global merchant payment, cross-border SME digital payment and financial services, and digital banking services

Ant International, a digital payment and financial services leader dedicated to building an inclusive and sustainable global commerce ecosystem, today unveils its strategy in digital payment and digital commerce for global merchants at its flagship Voyage Conference, from its headquarters in Singapore.

“Despite the uncertainties in the global economy, trends like evolving financial infrastructure, accelerating digitalization and swift advances on the tech frontier present unprecedented opportunities for merchants all around the world seeking to achieve new growth, especially for small businesses who aspire to overcome the digital divide,” said Yang Peng, President of Ant International.

“Travel, trade, technology and talent are the cornerstones of global inclusion and prosperity,” said Yang. “We will accelerate innovations in digital payment and digital commerce to link up these areas of global collaboration.”

Digital Payment and Digital Commerce Solutions across 4 Pillars

To realize the 4T vision and provide support to merchants, particularly in helping SMEs achieve their growth goals, Ant International has established a robust global compliance and service structure over the years. Additionally, it boasts an extensive coverage worldwide, especially in Asia, deep expertise in digitalization, and a continuously expanding repertoire of cutting-edge technologies.

The Company now focuses on 4 areas of innovations:

1. Alipay+ Cross-Border Mobile Payment Service connects over 88 million merchants to 1.5 billion consumer accounts on over 25 e-wallets and banking apps in 57 countries and regions, allowing consumers to travel and pay worry-free across borders, and merchants to build out cross-border consumer engagement and digital marketing.

The service builds on Alipay+’s extensive regional partnerships, including those with national QR schemes such as Singapore’s SGQR, Malaysia’s PayNet, South Korea’s ZeroPay, and Sri Lanka’s LankaPay.

“Alipay+ focuses on bridging various payment methods and promoting mobile interoperability across Asia and beyond. Its aim is to enable people to travel and live worry-free, while offering businesses, both large and small, new digital avenues for growth,” said Douglas L. Feagin, Senior Vice President of Ant Group and Head of Alipay+. “We are proud of how through Alipay+, tens of millions of even mom-and-pop stalls can reach and transact with international travelers on the same basis as much larger enterprises such as luxury stores.”

2. Antom Merchant Payment Services help global merchants to engage digitally with consumers in Asia and beyond. 

“With our AI-driven payment and digital marketing engine, we offer our merchants the broadest consumer reach in Asia and globally, and help them collect payments and grow revenue.” according to Gary Liu, Head of Merchant Payment Services at Ant International.

3. WorldFirst digital payment and financial services for cross-border trade SMEs has served over 1 million SMEs to grow internationally with its World Account, by connecting small traders to over 120 global marketplaces and conduct secure and fast payment transactions in over 40 currencies.

“Today’s cross-border trade is led by young entrepreneurs who are digital natives with global ambitions,” said Clara Shi, CEO of WorldFirst. “With World Account, we aim to help them acquire next-gen CFO capabilities to sell, manage and grow across marketplaces and regions.”

Building on its success in China and Singapore, Shi said, WorldFirst plans to expand its SME e-commerce digital finance solutions across Southeast Asia in 2023 and 2024. 

4. ANEXT Bank, a digital wholesale bank regulated by the Monetary Authority of Singapore, focuses on enabling effortless and accessible financial services to SMEs. In staying true to its mission to serve the underserved financial needs of micro businesses and to help SMEs achieve their cross-border ambitions, the bank now counts 68% of its customers as micro-SMEs. The bank has also seen an average of 40% month-on-month increase in cross-border transactions and expects to see these numbers grow as it embarks on more embedded financing collaborations with industry partners.

Toh Su Mei, Chief Executive Officer of ANEXT Bank, said: “We recognize the diverse needs of SMEs and believe that the way to alleviate the various stress and spillover effect from the macro environment is to work very closely with industry partners who have a first-hand view of their customers’ pain points.”

Continued Investments in Cutting-Edge Digital Technology Solutions

Ant International began its journey by supporting the rapid rise of e-commerce and cross-border tourism in China. Over the years, Ant International has built up a repertoire of foundational technology capabilities to support long-term growth across its main business pillars.

  • Wallet Tech offers full-stack architectural solutions and future-ready capabilities for payment apps;
  • Payment Tech enables robust payment processing with improved conversion and user engagement;
  • Credit Tech achieves an industry-leading low NPL ratio and configuration for scalability;
  • Platform Tech comes with a series of proprietary blockchain and AI technologies; and
  • Risk Tech is powered by world-leading graph computing and risk detection algorithms.

“Together with our partners, we will build enduring local commitments to bring the world more small and beautiful changes,” said Yang Peng.

แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Ant International) เผยกลยุทธ์ส่งเสริมการค้าระดับโลกอย่างครอบคลุมด้วยเทคโนโลยีการชำระเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล

แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Ant International) เผยกลยุทธ์ส่งเสริมการค้าระดับโลกอย่างครอบคลุมด้วยเทคโนโลยีการชำระเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล

แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Ant International) เผยกลยุทธ์ส่งเสริมการค้าระดับโลกอย่างครอบคลุมด้วยเทคโนโลยีการชำระเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล

  • เร่งการเติบโตและขยายพันธมิตรด้านโมบายเพย์เมนต์ระหว่างประเทศการชำระเงินของผู้ค้าทั่วโลกการชำระเงินและบริการทางการเงินระหว่างประเทศในรูปแบบดิจิทัลสำหรับเอสเอ็มอี และบริการธนาคารดิจิทัล

แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Ant International) ผู้นำด้านการชำระเงินและบริการทางการเงินดิจิทัลที่มุ่งสร้างอีโคซิสเต็มการค้าทั่วโลกที่ครอบคลุมและยั่งยืน เผยกลยุทธ์ด้านการชำระเงินดิจิทัลและดิจิทัลคอมเมิร์ซสำหรับผู้ค้าระดับโลกในการประชุม Voyage Conference ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์

นายหยาง เป็ง ประธานบริษัทแอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “แม้ว่ามีความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลก แต่เทรนด์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่กำลังเปลี่ยนแปลง, การเติบโตของดิจิทัลไลเซชัน, และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ได้ให้โอกาสกับผู้ค้าทั่วโลกในการมองหาการเติบโตใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่มุ่งมั่นก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในสังคม”

“การท่องเที่ยว, การค้า, เทคโนโลยี และบุคลากรที่มีความสามารถเป็นปัจจัยสำคัญของ global inclusion และความสำเร็จระดับโลก,” นายหยาง กล่าว “เราจะขับเคลื่อนนวัตกรรมในการชำระเงินดิจิทัลและดิจิทัลคอมเมิร์ซเพื่อเชื่อมต่อกับสิ่งเหล่านี้ในการสร้างความร่วมมือระดับโลก”

ดิจิทัลเพย์เมนต์และโซลูชันดิจิทัลคอมเมิร์ซ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่

เพื่อทำให้วิสัยทัศน์ 4T สัมฤทธิ์ผลและสนับสนุนผู้ค้า ทั่วโลกโดยเฉพาะในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้บรรลุเป้าหมายการเติบโต แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้สร้างแนวทางปฏิบัติทั่วโลก พร้อมโครงสร้างการให้บริการระดับโลกที่แข็งแกร่งมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังขยายพื้นที่การให้บริการไปทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย พร้อมพัฒนาความเชี่ยวชาญเชิงลึกในด้านดิจิทัลไลเซชัน และการขยายพอร์ตโฟลิโอด้านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง

บริษัทมุ่งเน้นนวัตกรรม 4 ด้าน ได้แก่:

  1. Alipay+ Cross-Border Mobile Payment Service เชื่อมต่อร้านค้ากว่า 88 ล้านรายเข้ากับบัญชีผู้บริโภค 1.5 พันล้านบัญชีบน 25 อีวอลเล็ตและแอปธนาคารใน 57 ประเทศและภูมิภาค ช่วยให้ผู้บริโภคเดินทางท่องเที่ยวและชำระเงินข้ามพรมแดนได้อย่างไร้กังวล และทำให้ผู้ค้าสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการทำตลาดดิจิทัล

บริการดังกล่าวต่อยอดจากความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ขยายออกไปของอาลีเพย์พลัส (Alipay+)  รวมถึงประเทศที่มี QR scheme เช่น SGQR ของสิงคโปร์, PayNet ของมาเลเซีย, ZeroPay ของเกาหลีใต้ และ LankaPay ของศรีลังกา

ดักลาส แอล ฟีกิน รองประธานอาวุโสของแอนท์กรุ๊ปและหัวหน้าของอาลีเพย์พลัส กล่าวว่า “อาลีเพย์พลัส (Alipay+) มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมวิธีการชำระเงินที่หลากหลาย และส่งเสริมการทำงานร่วมกันผ่านโมบายทั่วทั้งเอเชียและประเทศอื่น ๆ เป้าหมายคือการช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางท่องเที่ยวและใช้ชีวิตอย่างไร้กังวล ในขณะเดียวกันก็นำเสนอช่องทางดิจิทัลใหม่ ๆ เพื่อการเติบโตให้กับธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เราภูมิใจที่ร้านค้าหรือธุรกิจเล็ก ๆ ที่เป็นของครอบครัวหลายสิบล้านแห่งสามารถเข้าถึงและทำธุรกรรมกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศผ่านอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ได้บนมาตรฐานเดียวกับบริษัทใหญ่ อย่างร้านลักชูรี่ต่าง ๆ”

  1. Antom Merchant Payment Services ช่วยให้ผู้ค้าทั่วโลกมีส่วนร่วมกับกับผู้บริโภคในเอเชียและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกผ่านดิจิทัล

นาย แกรี่ หลิว หัวหน้าฝ่ายบริการการชำระเงินสำหรับผู้ค้าของแอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “ด้วยการชำระเงินที่ขับเคลื่อนด้วย AI และเครื่องมือการตลาดดิจิทัล เราช่วยให้ผู้ค้าของเราสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างที่สุดในเอเชียและทั่วโลก และช่วยให้พวกเขารวบรวมการชำระเงินและเพิ่มรายได้”

  1. WorldFirst ผู้ให้บริการดิจิทัลเพย์เมนต์และบริการทางการเงินกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพื่อธุรกิจการค้าข้ามพรมแดน โดยได้ให้บริการเอสเอ็มอีมากกว่า 1 ล้านรายเพื่อเติบโตในระดับโลกผ่าน World Account ด้วยการเชื่อมโยงผู้ค้ารายย่อยเข้ากับมาร์เก็ตเพลสทั่วโลกกว่า 120 แห่ง และดำเนินธุรกรรมการชำระเงินที่ปลอดภัยและรวดเร็วมากกว่า 40 สกุลเงิน

คลารา ชิ ซีอีโอของ WorldFirst กล่าวว่า “การค้าข้ามพรมแดนในปัจจุบันขับเคลื่อนโดยผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่เป็น digital natives และมีความมุ่งมั่น ด้วย World Account เรามุ่งหวังที่จะช่วยให้พวกเขามีความสามารถของ next-gen CFO ในการขาย การจัดการ และมีการเติบโตในมาร์เก็ตเพลสและภูมิภาค”

“จากความสำเร็จในจีนและสิงคโปร์ WorldFirst วางแผนที่จะขยายโซลูชันการเงินดิจิทัลสำหรับอีคอมเมิร์ซให้แก่เอสเอ็มอีทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2566 และ 2567” ชิ กล่าว

  1. ANEXT Bank ธนาคารdigital wholesale ที่ควบคุมโดยองค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ หรือธนาคารกลางของสิงคโปร์ มุ่งเน้นการให้บริการทางการเงินที่ง่ายและเข้าถึงได้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ยึดมั่นพันธกิจในการตอบสนองความต้องการทางการเงินของธุรกิจขนาดเล็ก และช่วยให้เอสเอ็มอีบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจข้ามพรมแดน ปัจจุบันธนาคารมีลูกค้า 68% ที่เป็นเอสเอ็มอีขนาดเล็ก นอกจากนี้ ธนาคารยังพบว่าธุรกรรมข้ามพรมแดนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 40% ต่อเดือน (month-on-month) และคาดว่าจะเห็นตัวเลขเหล่านี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารเริ่มมีความร่วมมือทางการเงิน (embedded financing collaborations) มากขึ้นกับพันธมิตรอุตสาหกรรม

โต ซู เหม่ย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ ANEXT Bank กล่าวว่า “เราตระหนักถึงความต้องการที่หลากหลายของเอสเอ็มอี และเชื่อว่าวิธีการบรรเทาความเครียดและผลกระทบที่ล้นหลามจากสภาพแวดล้อมระดับมหภาคคือการทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมที่มองเห็นปัญหาของลูกค้าตั้งแต่เริ่มต้น”

การลงทุนอย่างต่อเนื่องในโซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัย

แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มต้นการเดินทางด้วยการสนับสนุนการเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซและการท่องเที่ยวข้ามพรมแดนในประเทศจีน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้สร้างพอร์ตโฟลิโอด้านเทคโนโลยีพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาวของเสาหลักทางธุรกิจของบริษัทซึ่งประกอบด้วย:

  • Wallet Tech นำเสนอโซลูชันสถาปัตยกรรมแบบครบวงจร และความสามารถที่พร้อมของแอปการชำระเงินในอนาคต
  • Payment Tech ช่วยให้สามารถประมวลผลการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพด้วย conversion และ user engagement ที่ดีขึ้น
  • Credit Tech ช่วยให้อัตราส่วน NPL อยู่ในระดับต่ำขั้นแถวหน้าของอุตสาหกรรม และมี configuration ในการปรับขยาย 
  • Platform Tech มาพร้อมกับบล็อกเชนและเทคโนโลยี AI ที่มีลิขสิทธิ์
  • Risk Tech ขับเคลื่อนด้วยการประมวลผลกราฟชั้นนำของโลก และอัลกอริธึมที่ตรวจจับความเสี่ยง 

“เราจะสร้าง commitment ระดับท้องถิ่นที่ยั่งยืนร่วมกับพันธมิตรของเรา เพื่อย่อโลกให้เล็กลงและเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สวยงาม” หยาง เป็ง กล่าว