จีเอชแอล จับมือ อาลีเพย์พลัส (Alipay+) ให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลสำหรับนักท่องเที่ยวในเอเชีย ผ่านร้านค้าในไทยกว่า 2,600 ราย

จีเอชแอล จับมือ อาลีเพย์พลัส (Alipay+) ให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลสำหรับนักท่องเที่ยวในเอเชีย ผ่านร้านค้าในไทยกว่า 2,600 ราย

จีเอชแอล จับมือ อาลีเพย์พลัส (Alipay+) ให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลสำหรับนักท่องเที่ยวในเอเชีย ผ่านร้านค้าในไทยกว่า 2,600 ราย

ประเด็นสำคัญ:

    • จีเอชแอล ให้บริการ Alipay+ สำหรับ 2,600 ร้านค้าท้องถิ่นในประเทศไทย โดยร้านค้าสามารถรับชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดนจากโมบายวอลเล็ตชั้นนำของเอเชียได้แล้ว
    • ผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตั้งแต่การค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ไปจนถึงการบริการต้อนรับ และสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศจะได้รับประโยชน์จากการให้บริการนี้
    • จิม ทอมป์สัน และพรีเมี่ยมเอาท์เล็ทต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือแบบพันธมิตรในครั้งนี้

จีเอชแอล ซิสเต็ม เบอร์ฮาด (จีเอชแอล) เป็นบริษัทชั้นนำด้านการให้บริการการชำระเงินระดับภูมิภาคอาเซียน เปิดให้บริการรับชำระเงินด้วยอาลีเพย์พลัส (Alipay+) สำหรับร้านค้าท้องถิ่นมากกว่า 2,600 รายในประเทศไทย เพื่อรองรับการชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดนจากโมบายวอลเล็ตชั้นนำต่าง ๆ ของเอเซีย ได้แก่ AlipayHK (เขตบริหารพิเศษฮ่องกง), Kakao Pay (เกาหลีใต้), และ Touch ‘n Go eWallet (มาเลเซีย) เพิ่มเติมนอกเหนือจาก Alipay (จีนแผ่นดินใหญ่) ที่ร้านค้าสามารถรับชำระมาแล้วตั้งแต่ปี 2558

ปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ที่มาเยือนเมืองไทย สามารถชำระเงินด้วยโมบายวอลเล็ตจากประเทศตนเองกับร้านค้ารีเทลได้มากกว่า 5,000 ร้าน โดยใช้เทคโนโลยีจาก GHL ซึ่งเป็นพันธมิตรของอาลีเพย์พลัส (Alipay+) แพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลและการตลาดข้ามพรมแดนระดับโลกของแอนท์กรุ๊ป โดยธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก, ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ไปจนถึงธุรกิจบริการและสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศ

ตามประกาศของรัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566  มีนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆเข้ามาในประเทศไทยมากถึง 6.15 ล้านคน ซึ่งเกินเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดการณ์ไว้  การกลับมาอีกครั้งของนักท่องเที่ยวนี้ พวกเขามีความคาดหวังมากขึ้นเกี่ยวกับประสบการณ์การเดินทางและการใช้จ่ายตามร้านค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนักท่องเที่ยวจำนวนมากคุ้นเคยกับประสบการณ์การชำระเงินที่ราบรื่นผ่านโมบายวอลเล็ตของประเทศตนเอง

นายปริญญา จินันทุยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอชแอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “จากการเป็นพันธมิตรที่ยาวนานของ GHL และ Alipay นำมาสู่ความร่วมมือครั้งล่าสุดกับอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ร้านค้าท้องถิ่นสามารถขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย โดยการรับชำระเงินด้วยวิธีที่ลูกค้าคุ้นเคยและสะดวก ความร่วมมือนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ต้องการผลักดัน เศรษฐกิจแบบไร้เงินสด” (Cashless Economy) ส่งเสริมการเข้าถึงทางการเงินและช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อปริมาณธุรกรรมดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบเศรษฐกิจจะได้รับประโยชน์จากความโปร่งใส ความมีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยซึ่งส่งผลเชิงบวกกับหลายภาคส่วนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม”  จิม ทอมป์สัน บริษัทผู้ผลิตผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยเป็นหนึ่งในแบรนด์ธุรกิจท้องถิ่นรายแรก ๆ ที่ให้บริการนี้ และเป็นตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากความร่วมมือนี้ ด้วยการเป็นต้นกำเนิดของศิลปะจากการทำผ้าไหมที่ยอดเยี่ยม ปัจจุบัน จิม ทอมป์สัน เป็นไอคอนิกแบรนด์ไลฟ์สไตล์ระดับโลกจากประเทศไทยที่มีชื่อเสียงด้วยผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่สวยงาม และมีผลิตภัณฑ์และบริการที่มากกว่าผ้าไหม (Beyond Silk) ทำให้จิม ทอมป์สัน เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รักของทั้งลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติ

คุณนันท์นภัส เวโรจนวัฒน์ ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาด จิม ทอมป์สัน กล่าวว่า “ด้วยการบริการรับชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดน ปัจจุบัน จิม ทอมป์สันให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลที่คุ้นเคยและสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ซึ่งช่วยยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งของพวกเขา นักท่องเที่ยวจากจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้โมบายวอลเล็ตในการชำระเงิน สามารถเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ราบรื่นและไม่ยุ่งยากอีกต่อไป โดยช่วยเสริมสร้างความพึงพอใจ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าในระยะยาวอีกด้วย”

 ดร.เชอรี่ ฮวง ผู้จัดการทั่วไปของอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ส่วนบริการการค้าออฟไลน์ แอนท์กรุ๊ป กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “พฤติกรรมนักท่องเที่ยวในปัจจุบันไม่เหมือนกับนักท่องเที่ยวในช่วงก่อนการแพร่ระบาด โดยนักท่องเที่ยวในปัจจุบันจำนวนมากคุ้นเคยกับไลฟ์สไตล์แบบดิจิทัลไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนก็ตาม ความร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยอย่าง GHL ทำให้ธุรกิจร้านค้าในประเทศไทยจำนวนมากสามารถรับการชำระเงินแบบดิจิทัล อย่างอีวอลเล็ตได้ นับเป็นวิธีการชำระเงินที่ผู้บริโภคชาวเอเชียนิยมใช้ ช่วยให้ประสบการณ์การชำระเงินสะดวก และไม่ยุ่งยากอีกต่อไป”

นักท่องเที่ยวจะสามารถเพลิดเพลินกับการจับจ่ายใช้สอยและความบันเทิงในประเทศไทยได้โดยไม่มีข้อจำกัด โดยพวกเขาสามารถใช้โมบายวอลเล็ตที่ใช้เป็นประจำในประเทศตนเองได้ ตามแหล่งช้อปปิ้งยอดนิยม เช่น พรีเมี่ยมเอาท์เล็ททั้ง 6 แห่ง ที่ชะอำ เขาใหญ่ พัทยา อยุธยา ภูเก็ต และกระบี่

Siemens presents €2 billion investment strategy to boost future growth, innovation and resilience

ซีเมนส์ ประกาศกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร มุ่งสร้างการเติบโต ขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่นในอนาคต

Siemens presents €2 billion investment strategy to boost future growth, innovation and resilience

    • Ramp up of global investment in new high-tech factories, innovation labs and education centers to expand leadership in digitalization, automation and sustainability
    • Total investments of €2 billion mainly in manufacturing capacity expansion to be disclosed this year
    • Following investments in Germany and in the U.S., Siemens expands its production network and R&D capacities in Asia
    • New high-tech factory in Singapore announced today to serve growing markets in Southeast Asia
    • Expansion of digital factory in Chengdu to boost further growth in China
    • Additional investments in Europe and U.S. to be announced

To boost future growth, drive innovation and increase resilience, Siemens today presented its investment strategy which includes €2 billion mainly for new manufacturing capacity as well as innovation labs, education centers and other own sites. Siemens today announced a new high-tech factory in Singapore, to serve the booming Southeast Asia markets.

“Our technologies address secular growth trends where our customers need our support to become more competitive, resilient and sustainable. Siemens is experiencing significantly above-market growth. Today we announce an investment strategy to boost future growth, drive innovation and increase resilience,” said Roland Busch, President and Chief Executive Officer of Siemens AG.

“The investments underpin our strategy of combining the real and the digital worlds – as well as our focus on diversification and local-for-local business. We are clearly doubling down on our strong global presence to support growth in the most relevant markets in the world.”

In addition, there is an expected increase of around €0.5 billion in research and development (R&D), such as artificial intelligence and the industrial metaverse, in fiscal year 2023 versus prior year. This R&D is focused on strengthening Siemens’ leading position in core technologies including simulation, digital twins, artificial intelligence or power electronics, as well as supporting the development of the Siemens Xcelerator open digital business platform. The company recently announced a partnership with Microsoft to speed up code generation for industry automation by using ChatGPT. With NVIDIA, Siemens is working to build the industrial metaverse to improve design, planning, production and operation of factories and infrastructures.

New and additional capacities in Southeast Asia

To meet growing demand in Southeast Asia, Siemens today announced an entirely new high-tech factory in Singapore, which will be developed using Siemens’ own leading digital twin and innovative, intelligent hardware technologies. Investment in the factory will be around €200 million. The plant will set a new standard for connectivity to showcase the possibilities of digitalization, as well as incorporating highly-automated manufacturing processes. The investment will create over 400 jobs.

All-regions strategy with wave of global investments

As part of its investment strategy and fast-growing business in China, Siemens will also expand its digital factory in Chengdu to serve the local growth opportunities in China for China, investing €140 million (RMB 1.1bn) and creating 400 new jobs. Many of Siemens’ Chinese customers are early adopters of new technologies especially in digitalization and high-tech manufacturing. This is why Siemens also announced the investment in a new digital R&D Innovation Center in Shenzhen to speed up development of motion control systems with digitalization and power electronics technology. The Siemens Xcelerator open digital business platform was launched in China in November 2022.

Series of announcements

Earlier this year, Siemens committed to expand production in Trutnov, Czech Republic, to enhance capacity at its WEF Global Lighthouse (1) Factory in Amberg, Germany. Moreover, Siemens invests €30 million to expand its switchgear plant in Frankfurt-Fechenheim, Germany, while Siemens Mobility recently announced spending $220 million to build a new rolling stock factory in Lexington, North Carolina, to meet growing demand for passenger trains in the United States. The plant will create more than 500 jobs by 2028.

The planned €2 billion investments and expected increase of around €0.5 billion in research and development include Siemens Healthineers.

ซีเมนส์ ประกาศกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร มุ่งสร้างการเติบโต ขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่นในอนาคต

ซีเมนส์ ประกาศกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร มุ่งสร้างการเติบโต ขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่นในอนาคต

ซีเมนส์ ประกาศกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร มุ่งสร้างการเติบโต ขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่นในอนาคต

    • เพิ่มการลงทุนในโรงงานไฮเทค ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม และศูนย์การเรียนรู้ใหม่ ๆ ทั่วโลกเพื่อต่อยอดความเป็นผู้นำดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ และความยั่งยืน
    • ส่วนใหญ่ของการลงทุนรวม 2 พันล้านยูโร ที่จะเปิดเผยในปีนี้ มุ่งไปที่การขยายกำลังการผลิต เป็นหลัก
    • หลังจากการลงทุนในเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา ซีเมนส์เตรียมขยายเครือข่ายการผลิตและศักยภาพการวิจัยและพัฒนาในเอเชีย
    • เตรียมสร้างโรงงานไฮเทคแห่งใหม่ในสิงคโปร์เพื่อรองรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโต
    • ขยายโรงงานดิจิทัลในเฉิงตูเพื่อต่อยอดการเติบโตในจีน
    • เตรียมประกาศการลงทุนเพิ่มเติมในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ซีเมนส์ได้นำเสนอกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร เพื่อกระตุ้นการเติบโตในอนาคต พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่น โดยมุ่งเน้นการลงทุนหลักไปที่การเพิ่มกำลังการผลิต ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม ศูนย์การเรียนรู้ และโรงงานใหม่ โดยซีเมนส์ประกาศสร้างโรงงานไฮเทคแห่งใหม่ในสิงคโปร์ เพื่อรองรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโตอย่างมาก

โรแลนด์ บุช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอของ ซีเมนส์ เอจี กล่าวว่า “เทคโนโลยีของเราตอบสนองแนวโน้มการเติบโตที่แน่นอนในอนาคต หรือ Secular Growth ที่สนับสนุนให้ลูกค้าของเราสามารถแข่งขัน สร้างความยืดหยุ่นและความยั่งยืนได้มากยิ่งขึ้น ซีเมนส์กำลังเติบโตในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ และล่าสุดเราประกาศกลยุทธ์การลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่น”

“การลงทุนนี้สนับสนุนกลยุทธ์ของเราในการผสานโลกจริงและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน การมุ่งเน้นการกระจายธุรกิจและธุรกิจท้องถิ่นต่อท้องถิ่น (Local-for-Local Business) การขยายฐานที่ตั้งเพิ่ม Global Presence เพื่อรองรับการเติบโตในตลาดสำคัญ”

ในปีงบประมาณ ค.ศ. 2023 บริษัทฯ คาดว่าจะเพิ่มงบประมาณการวิจัยและพัฒนาอีกประมาณห้าร้อยล้านยูโรเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งจะเน้นในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และ

เมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรม (Industrial Metaverse) การวิจัยและพัฒนานี้มุ่งเสริมความแข็งแกร่งในความเป็นผู้นำของซีเมนส์ในเทคโนโลยีหลักๆ ซึ่งรวมถึง Simulation, Digital Twins, Artificial Intelligence หรือ Power Electronics พร้อมสนับสนุน Siemens Xcelerator  ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของบริษัทฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทได้ประกาศความร่วมมือกับ Microsoft เพื่อเร่งการสร้างโค้ดสำหรับระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมโดยใช้ ChatGPT และซีเมนส์ยังกำลังทำงานร่วมกับ NVIDIA เพื่อสร้างเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาการออกแบบ การวางแผน การผลิต และการดำเนินงานของโรงงานและโครงสร้างพื้นฐาน

กำลังการผลิตใหม่และเพิ่มเติมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซีเมนส์ได้ประกาศสร้างโรงงาน ไฮเทคแห่งใหม่ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งโรงงานแห่งนี้จะได้รับการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยี Digital Twin พร้อมนวัตกรรมฮาร์ดแวร์อัจฉริยะของซีเมนส์ โดยใช้งบลงทุนประมาณ 200 ล้านยูโร โรงงานแห่งใหม่ นี้จะกำหนดมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยี ดิจิทัลมาเพิ่มศักยภาพรวมถึงการใช้กระบวนการผลิตอัตโนมัติขั้นสูง และการลงทุนนี้ยังสร้างงาน มากกว่า 400 ตำแหน่ง

กลยุทธ์มุ่งเน้นทุกภูมิภาคด้วยแผนการลงทุนทั่วโลก

อีกส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนเพื่อรองรับธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศจีน ซีเมนส์จะขยายโรงงานดิจิทัลในเฉิงตู เพื่อรองรับโอกาสการเติบโตในท้องถิ่นของจีนในแบบ in China for China ด้วยการลงทุน 140 ล้านยูโร (1.1 พันล้านหยวน) สร้างงานใหม่ 400 ตำแหน่ง ลูกค้าในประเทศจีนของซีเมนส์จำนวนมากอยู่ในกลุ่ม Early Adopters ในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดิจิทัลและการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นี่คือเหตุผลที่ซีเมนส์ประกาศการลงทุนในศูนย์นวัตกรรมวิจัยและพัฒนาแบบดิจิทัลแห่งใหม่ในเซินเจิ้น เพื่อเร่งการพัฒนาระบบควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและ Power Electronics โดยแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิด Siemens Xcelerator เปิดตัวในประเทศจีนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022

การประกาศการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ซีเมนส์มีความมุ่งมั่นที่จะขยายการผลิตในเมือง Trutnov ในประเทศสาธารณรัฐเช็ก เพื่อขยายกำลังการผลิตของโรงงานของบริษัทฯ ที่เมือง Amberg ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่าย WEF Global Lighthouse(1) นอกจากนี้ซีเมนส์ยังลงทุนอีก 30 ล้านยูโรเพื่อขยายโรงงานสวิตช์เกียร์ที่ Frankfurt-Fechenheim ในประเทศเยอรมนี ขณะที่ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ประกาศการลงทุน 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างโรงงานผลิตตู้รถไฟแห่งใหม่ในเมืองเล็กซิงตัน รัฐนอร์ทแคโรไลนา เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับรถไฟโดยสารในสหรัฐอเมริกา โดยโรงงานแห่งนี้จะสร้างงานมากกว่า 500 ตำแหน่งภายในปี ค.ศ. 2028

แผนการลงทุนมูลค่า 2 พันล้านยูโร และอีกประมาณห้าร้อยล้านยูโรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสำหรับการวิจัยและพัฒนานั้นรวมถึงการลงทุนใน ซีเมนส์ เฮลท์ธิเนียร์ส

The Moment for AI

เวลาของ AI

The Moment for AI

บทความโดยนายแมทต์ ฮิกส์ ประธานและซีอีโอ เร้ดแฮท

Article by Matt Hicks, President & CEO, Red Hat

Throughout history, there have been technological moments when you can feel a shift. Moments when you know a discovery or innovation is going to change the industry, and in some cases, the world as we know it.

Going back centuries you might think of Johannes Gutenberg inventing the printing press in 1455, James Watt creating the steam engine in 1765 or Alexander Graham Bell designing the first telephone in 1876. In more modern times, the first computer sprang to life in 1937 and both the personal computer and the internet came to be in 1974. There are more of these instances, of course, but what stands out to me is the pace of change.

In the past it took years, if not decades, to see the next development. Nowadays, we’re seeing innovations happen faster and faster. And more often than not, if you are slow to adopt new technology, you will get left behind. We saw this happen with open source software, cloud computing and automation, and now we’re seeing it with artificial intelligence and machine learning. 

However, this doesn’t mean abandoning what you’ve worked so hard to achieve already. The next generation of technologies like AI need to mesh seamlessly with what already runs your business. We need innovation that moves us forward but doesn’t delete our present.

AI has reached the tipping point and we cannot ignore it. Instead, we need to decide how, where and WHY we will harness it and use it to further our organizations. 

From where I sit, this is one of the most exciting moments to be in technology. Advancements which sounded like science fiction mere decades ago are now commonplace. AI has moved from the obscurity of academia to the ubiquity of ChatGPT. It’s also moved from a tool that was only accessible to the few to a movement that is now powered and utilized by the masses. Combining the impact and collaborative nature of open source with the potential of AI will enable us to solve the world’s problems more effectively and more quickly than we ever dreamed possible.

We are only limited by our creativity. The ingenious element of AI is that it does not need to be one thing for everyone. Each of us needs to analyze how we use it for our businesses and for our industries. While there may not be a one-size-fits-all solution, none of us can ignore AI as a driver for change. We have the opportunity to embrace this moment and be a part of shaping the future.

Despite the excitement that exists with AI, I recognize that there are conflicting truths that we are all faced with. First, we are being asked to do more with less. That’s a common challenge in IT, but today, it’s ironclad – less headcount, fewer tools or reduced budget. And second, we’re also being asked to continue to drive innovation to scale – adjust resources quickly, meet changing demand or grow to new footprints. While addressing these seemingly incompatible needs can be daunting, the biggest mistake any of us can make is to hunker down and attempt to maintain what we have instead of pushing for growth and development. Even though it is difficult to coalesce, now is the moment to drive forward. Try something new, change our processes, and disrupt the status quo.

At Red Hat Summit, that’s what we are encouraging – change. Not just for the sake of it, but to help drive an innovation moment for YOUR business. Maybe it will be built around Event-Driven Ansible, where you’re able to free an IT team to open up new revenue streams. Or maybe you’ll adopt Red Hat Trusted Software Supply Chain, and be able to push innovation even faster while retaining resiliency to supply chain vulnerabilities.

What we present with Ansible Lightspeed and Red Hat OpenShift AI may be what you need to build your moment. The promise of domain-specific AI, in this case for IT automation, or a standardized foundation for consistent AI/ML model training could let you break into the benefits of AI that works for YOUR organization.

We don’t know what the future holds – not even ChatGPT-3 is precognitive yet. This doesn’t mean that we can’t anticipate what challenges we may be facing in the coming months and years. To prepare, we can shore up our resources and simplify – distilling our work to focus on what matters the most and what will drive you forward to your moment of innovation.

เวลาของ AI

เวลาของ AI

เวลาของ AI

บทความโดยนายแมทต์ ฮิกส์ ประธานและซีอีโอ เร้ดแฮท

บทความโดยนายแมทต์ ฮิกส์ ประธานและซีอีโอ เร้ดแฮท

เมื่อนึกย้อนหลังไปเราคงเคยรู้สึกว่า มีหลายครั้งหลายหนที่เราสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีช่วงเวลาที่เรารู้ว่าการค้นพบสิ่งใหม่และนวัตกรรมกำลังเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรม หรือถึงขั้นเปลี่ยนโลกที่เราเคยรู้จักไปเลย

ย้อนกลับไปหลายศตวรรษที่ผ่านมา เราอาจจำได้ว่า Johannes Gutenberg ประดิษฐ์แท่นพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1455 หรือ James Watt สร้างเครื่องจักรไอน้ำเมื่อปี ค.ศ. 1765 หรือ Alexander Graham Bell ออกแบบโทรศัพท์เครื่องแรกเมื่อปี ค.ศ. 1876 ในเวลาต่อ ๆ มา คอมพิวเตอร์เครื่องแรกเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1937 จากนั้นคอมพิวเตอร์ส่วนตัวและอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1974 และอื่น ๆ อีกมาก แต่สิ่งที่โดดเด่นมาก ๆ คือสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น

การพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ในอดีตต้องใช้เวลาหลายปี หรือหลายสิบปี แต่ปัจจุบันนวัตกรรมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และหากองค์กรใดนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ช้า ก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ตัวอย่างของนวัตกรรมเหล่านี้ เช่น ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส คลาวด์คอมพิวติ้ง รวมถึงออโตเมชันและ ณ ช่วงเวลานี้คือปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML)

อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่ได้หมายความว่าองค์กรต้องทิ้งวิธีการและการดำเนินการที่ลงทุนลงแรงทำจนประสบความสำเร็จมาแล้ว เทคโนโลยีที่เป็น next generation เช่น AI จำเป็นต้องทำงานร่วมกับเทคโนโลยีหรือโซลูชันที่ธุรกิจใช้อยู่แล้วในปัจจุบันให้ได้อย่างราบรื่น ธุรกิจต้องการนวัตกรรมที่ช่วยให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้าโดยไม่ละทิ้งสิ่งที่ธุรกิจใช้อยู่ในปัจจุบัน

AI มาถึงจุดที่เป็นเทคโนโลยีที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่กว่าและสำคัญกว่าที่เคยมีมา ซึ่งองค์กรไม่สามารถมองข้ามได้ แต่ต้องตัดสินใจว่าจะควบคุมและใช้ AI เพื่อความก้าวหน้าขององค์กรได้อย่างไร ใช้ ณ จุดใด และด้วยจุดประสงค์อะไร

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดช่วงหนึ่งในแวดวงเทคโนโลยี ความล้ำหน้าที่ดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์เมื่อหลายสิบปีก่อนกลายเป็นเรื่องธรรมดาในปัจจุบัน และ AI ได้เปลี่ยนจากงานวิจัยในมหาวิทยาลัยที่ไม่เป็นที่รู้จัก เป็น ChatGPT ที่แพร่หลายทุกแห่งหน เปลี่ยนจากเครื่องมือที่คนใช้กันไม่กี่คน เป็นกระบวนการที่คนทั่วไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างในปัจจุบัน การผสานรวมผลที่จะได้รับและลักษณะการทำงานร่วมกันของโอเพ่นซอร์สเข้ากับศักยภาพของ AI จะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเร็วขึ้นเกินกว่าที่เราเคยฝันไว้ 

ความคิดสร้างสรรค์ของเราเท่านั้นที่จะจำกัดความก้าวหน้าขององค์กรได้ องค์ประกอบที่ชาญฉลาดของ AI คือ ธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้งาน AI ในรูปแบบเดียวกัน ธุรกิจแต่ละแห่งต้องวิเคราะห์ว่าจะใช้ AI กับธุรกิจและอุตสาหกรรมของตนอย่างไร แม้ว่าอาจไม่มีโซลูชันใดเหมาะกับธุรกิจทุกราย แต่องค์กรทุกแห่งไม่สามารถมองข้าม AI ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้ องค์กรทุกแห่งสามารถคว้าโอกาสนี้ไว้ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะกำหนดอนาคตได้

อย่างไรก็ตาม บนความตื่นเต้นกับ AI ยังมีความจริงที่ขัดแย้งกันปรากฎอยู่ ประการแรก เรามักถูกขอให้ใช้ทรัพยากรน้อยแต่ได้ผลสำเร็จมาก ซึ่งเป็นความท้าทายปกติด้านไอที แต่ปัจจุบันเป็นเรื่องยากที่จะทำเช่นนั้น เพราะด้วยจำนวนพนักงานที่น้อยลง เครื่องมือน้อยลง หรืองบประมาณลดลง ประการที่สอง เรายังได้รับการร้องขอให้ขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องตามความต้องการ ทำการปรับทรัพยากรอย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลง หรือ เติบโตด้วยฟุตพริ้นท์ใหม่ ๆ ซึ่งการจัดการกับความต้องการที่แตกต่างกันเหล่านี้อาจเป็นเรื่องน่ากลัว แต่ความผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งอาจทำคือ ยอมแพ้และพยายามรักษาสิ่งที่มีอยู่ไว้ แทนที่จะผลักดันการเติบโตและการพัฒนาต่อไป และแม้ว่าการรวมพลังทุกด้านเพื่อจัดการความต้องการที่แตกต่างกันเป็นเรื่องยาก แต่ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่ต้องขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินหน้า ด้วยการลองทำสิ่งใหม่ เปลี่ยนกระบวนการต่าง ๆ และเลิกหรือปรับเปลี่ยนสิ่งที่เป็นอยู่เดิมขนานใหญ่

เร้ดแฮทสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพียงเพื่อประโยชน์ที่จะได้จากการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการช่วยขับเคลื่อนช่วงเวลาแห่งการคิดค้นสิ่งใหม่ให้กับธุรกิจต่าง ๆ ที่อาจสร้างขึ้นผ่านโซลูชันใหม่ ๆ ที่เปิดตัวในงาน Red Hat Summit ที่จัดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เช่น Event-Driven Ansible ที่จะช่วยให้ทีมไอทีสามารถใช้เวลากับงานที่จะสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้องค์กรได้ หรือองค์กรที่ใช้ Red Hat Trusted Software Supply Chain จะสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมได้เร็วขึ้นในขณะที่ยังคงความยืดหยุ่นในการจัดการช่องโหว่ต่าง ๆ ของซัพพลายเชนไว้ได้

 

 

The Moment of AI

Ansible Lightspeed และ Red Hat OpenShift AI จะช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น domain-specific AI สำหรับไอทีออโตเมชันที่เชื่อถือได้ หรือ โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมาตรฐานทั่วไปสำหรับการอบรมโมเดล AI/ML ที่สอดคล้องกันอาจช่วยให้องค์กรแต่ละแห่งได้ประโยชน์จาก AI ที่เหมาะกับองค์กรของตนได้

เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต แม้แต่ ChatGPT-3 ก็ยังไม่สามารถล่วงรู้ก่อนได้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถคาดการณ์ว่าจะเกิดความท้าทายอะไรในเดือนหรือปีต่อ ๆ ไป เราจึงต้องเตรียมพร้อม เราสามารถสำรองทรัพยากรต่าง ๆ ทำให้ชัดเจนใช้งานง่าย กลั่นกรองงานเพื่อให้สามารถโฟกัสไปที่เรื่องสำคัญที่สุด และพิจารณาว่าจะใช้โซลูชันใดขับเคลื่อนองค์กรให้รุดหน้าสู่ช่วงเวลาแห่งนวัตกรรมได้ดีที่สุด