จีเอชแอล จับมือ อาลีเพย์พลัส (Alipay+) ให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลสำหรับนักท่องเที่ยวในเอเชีย ผ่านร้านค้าในไทยกว่า 2,600 ราย

ประเด็นสำคัญ:

    • จีเอชแอล ให้บริการ Alipay+ สำหรับ 2,600 ร้านค้าท้องถิ่นในประเทศไทย โดยร้านค้าสามารถรับชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดนจากโมบายวอลเล็ตชั้นนำของเอเชียได้แล้ว
    • ผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตั้งแต่การค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ไปจนถึงการบริการต้อนรับ และสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศจะได้รับประโยชน์จากการให้บริการนี้
    • จิม ทอมป์สัน และพรีเมี่ยมเอาท์เล็ทต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือแบบพันธมิตรในครั้งนี้

จีเอชแอล ซิสเต็ม เบอร์ฮาด (จีเอชแอล) เป็นบริษัทชั้นนำด้านการให้บริการการชำระเงินระดับภูมิภาคอาเซียน เปิดให้บริการรับชำระเงินด้วยอาลีเพย์พลัส (Alipay+) สำหรับร้านค้าท้องถิ่นมากกว่า 2,600 รายในประเทศไทย เพื่อรองรับการชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดนจากโมบายวอลเล็ตชั้นนำต่าง ๆ ของเอเซีย ได้แก่ AlipayHK (เขตบริหารพิเศษฮ่องกง), Kakao Pay (เกาหลีใต้), และ Touch ‘n Go eWallet (มาเลเซีย) เพิ่มเติมนอกเหนือจาก Alipay (จีนแผ่นดินใหญ่) ที่ร้านค้าสามารถรับชำระมาแล้วตั้งแต่ปี 2558

ปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ที่มาเยือนเมืองไทย สามารถชำระเงินด้วยโมบายวอลเล็ตจากประเทศตนเองกับร้านค้ารีเทลได้มากกว่า 5,000 ร้าน โดยใช้เทคโนโลยีจาก GHL ซึ่งเป็นพันธมิตรของอาลีเพย์พลัส (Alipay+) แพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลและการตลาดข้ามพรมแดนระดับโลกของแอนท์กรุ๊ป โดยธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก, ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ไปจนถึงธุรกิจบริการและสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศ

ตามประกาศของรัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566  มีนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆเข้ามาในประเทศไทยมากถึง 6.15 ล้านคน ซึ่งเกินเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดการณ์ไว้  การกลับมาอีกครั้งของนักท่องเที่ยวนี้ พวกเขามีความคาดหวังมากขึ้นเกี่ยวกับประสบการณ์การเดินทางและการใช้จ่ายตามร้านค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนักท่องเที่ยวจำนวนมากคุ้นเคยกับประสบการณ์การชำระเงินที่ราบรื่นผ่านโมบายวอลเล็ตของประเทศตนเอง

นายปริญญา จินันทุยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอชแอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “จากการเป็นพันธมิตรที่ยาวนานของ GHL และ Alipay นำมาสู่ความร่วมมือครั้งล่าสุดกับอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ร้านค้าท้องถิ่นสามารถขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย โดยการรับชำระเงินด้วยวิธีที่ลูกค้าคุ้นเคยและสะดวก ความร่วมมือนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ต้องการผลักดัน เศรษฐกิจแบบไร้เงินสด” (Cashless Economy) ส่งเสริมการเข้าถึงทางการเงินและช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อปริมาณธุรกรรมดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบเศรษฐกิจจะได้รับประโยชน์จากความโปร่งใส ความมีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยซึ่งส่งผลเชิงบวกกับหลายภาคส่วนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม”  จิม ทอมป์สัน บริษัทผู้ผลิตผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยเป็นหนึ่งในแบรนด์ธุรกิจท้องถิ่นรายแรก ๆ ที่ให้บริการนี้ และเป็นตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากความร่วมมือนี้ ด้วยการเป็นต้นกำเนิดของศิลปะจากการทำผ้าไหมที่ยอดเยี่ยม ปัจจุบัน จิม ทอมป์สัน เป็นไอคอนิกแบรนด์ไลฟ์สไตล์ระดับโลกจากประเทศไทยที่มีชื่อเสียงด้วยผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่สวยงาม และมีผลิตภัณฑ์และบริการที่มากกว่าผ้าไหม (Beyond Silk) ทำให้จิม ทอมป์สัน เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รักของทั้งลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติ

คุณนันท์นภัส เวโรจนวัฒน์ ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาด จิม ทอมป์สัน กล่าวว่า “ด้วยการบริการรับชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดน ปัจจุบัน จิม ทอมป์สันให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลที่คุ้นเคยและสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ซึ่งช่วยยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งของพวกเขา นักท่องเที่ยวจากจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้โมบายวอลเล็ตในการชำระเงิน สามารถเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ราบรื่นและไม่ยุ่งยากอีกต่อไป โดยช่วยเสริมสร้างความพึงพอใจ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าในระยะยาวอีกด้วย”

 ดร.เชอรี่ ฮวง ผู้จัดการทั่วไปของอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ส่วนบริการการค้าออฟไลน์ แอนท์กรุ๊ป กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “พฤติกรรมนักท่องเที่ยวในปัจจุบันไม่เหมือนกับนักท่องเที่ยวในช่วงก่อนการแพร่ระบาด โดยนักท่องเที่ยวในปัจจุบันจำนวนมากคุ้นเคยกับไลฟ์สไตล์แบบดิจิทัลไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนก็ตาม ความร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยอย่าง GHL ทำให้ธุรกิจร้านค้าในประเทศไทยจำนวนมากสามารถรับการชำระเงินแบบดิจิทัล อย่างอีวอลเล็ตได้ นับเป็นวิธีการชำระเงินที่ผู้บริโภคชาวเอเชียนิยมใช้ ช่วยให้ประสบการณ์การชำระเงินสะดวก และไม่ยุ่งยากอีกต่อไป”

นักท่องเที่ยวจะสามารถเพลิดเพลินกับการจับจ่ายใช้สอยและความบันเทิงในประเทศไทยได้โดยไม่มีข้อจำกัด โดยพวกเขาสามารถใช้โมบายวอลเล็ตที่ใช้เป็นประจำในประเทศตนเองได้ ตามแหล่งช้อปปิ้งยอดนิยม เช่น พรีเมี่ยมเอาท์เล็ททั้ง 6 แห่ง ที่ชะอำ เขาใหญ่ พัทยา อยุธยา ภูเก็ต และกระบี่