HERE Technologies เผยการศึกษาล่าสุดชี้ธุรกิจลอจิสติกส์ยังเผชิญความท้าทายด้านการติดตามและจัดการข้อมูลในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (End-To-End)

HERE Technologies เผยการศึกษาล่าสุดชี้ธุรกิจลอจิสติกส์ยังเผชิญความท้าทายด้านการติดตามและจัดการข้อมูลในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (End-To-End)

HERE Technologies เผยการศึกษาล่าสุดชี้ธุรกิจลอจิสติกส์ยังเผชิญความท้าทายด้านการติดตามและจัดการข้อมูลในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (End-To-End)

    • HERE Technologies เผยผลการศึกษาใหม่ของผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจจำนวน 1,300 ราย ในภาคการขนส่งและลอจิสติกส์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยอีก 100 ราย
    • พบว่า การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการติดตามและใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับธุรกิจลอจิสติกส์ไทยที่กำลังใช้ และ/หรือ กำลังพิจารณาจะใช้ข้อมูล Location Data
    • โดรน ปัญญาประดิษฐ์ แมชชีนเลิร์นนิ่ง และบล็อกเชน เป็นเทคโนโลยีชั้นนำสำหรับบริษัทลอจิสติกส์ไทยในอนาคต

HERE Technologies  ผู้นำแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและข้อมูล Location Data  เปิดเผยผลการศึกษาใหม่ APAC On The Move นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งและลอจิสติกส์ (Transportation and Logistics หรือ T&L) ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับแนวโน้มและแนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนโฉมห่วงโซ่อุปทาน การจัดการยานพาหนะ และการจัดการด้านลอจิสติกส์

สาระสำคัญในรายงาน APAC On the Move 2023 เป็นรายละเอียดการติดตามสินทรัพย์แบบ End-To-End และเผยให้เห็นการมองเห็นและติดตามสถานะการขนส่ง (Visibility Shipments) นั้นยังเป็นความท้าทายสำคัญของธุรกิจลอจิสติกส์มาตลอดสามปีตั้งแต่เกิดการระบาด บริษัทลอจิสติกส์ไทยตอบแบบสอบถามระบุว่าความท้าทายในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดของการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายในการติดตามและจัดการความเคลื่อนไหวของข้อมูลในห่วงโซ่อุปทานแบบเรียลไทม์ (Real-Time End-To-End Supply Chain Visibility) นอกเหนือจากจะมีแรงจูงใจในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานก็ตาม

อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ของประเทศไทยกำลังเติบโต โดยในปี พ.ศ.  2566 เติบโตเป็นอันดับ 34 จาก 139 ประเทศ ในดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพลอจิสติกส์ (Logistics Performance Index หรือ LPI) ของธนาคารโลก[[i]]บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพและคุณภาพในบริการลอจิสติกส์ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งประเทศไทยยังคงรักษาอันดับผู้นำ โดยทำคะแนน LPI อยู่ใน 11 อันดับแรกของของประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper-Middle-Income) ในปี พ.ศ. 2566 และยังอยู่ในอันดับต้นย้อนหลังไปสี่ปี ในปี พ.ศ. 2561, พ.ศ. 2559, พ.ศ.2557 และ พ.ศ. 2555[1] ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง ประกอบกับความมุ่งมั่นของกระทรวงคมนาคมของประเทศไทยที่ตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สรุปสาระสำคัญจากการศึกษาของ HERE Technologies APAC On The Move 2023 มีดังนี้:

พันธมิตรเทคโนโลยีและการนำเทคโนโลยีไปใช้เป็นความท้าทายสำคัญ

มากกว่า 1 ใน 5 ของบริษัทในประเทศไทย (22%) ระบุว่าความท้าทายในการหาพันธมิตรและ/หรือซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม และการคำนวณผลตอบแทนของการลงทุนเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการดำเนินการใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้นต้นทุนก็ยังเป็นเรื่องต้องกังวล (17%) เช่นกัน

บริษัทลอจิสติกส์ในประเทศไทยต้องการโซลูชันพร้อมใช้ ติดตั้งง่ายค่าใช้จ่ายไม่สูง ใช้เวลาไม่นาน และไม่ต้องใช้ทีมงานจำนวนมากกับการยกเครื่องระบบใหม่ทั้งหมด จากการศึกษาของ HERE ความท้าทายในการผสานรวมซอฟต์แวร์เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ (20%) ต้นทุนของ Internet of Things -IoT สูง (15%) และการขาดบุคลากรที่มีทักษะเพื่อใช้และจัดการโซลูชันการติดตาม (14%) ล้วนเป็นอุปสรรคหลักในการติดตามสินทรัพย์ลอจิสติกส์และการตรวจสอบการจัดส่ง/สินค้า

บริษัทลอจิสติกส์ไทยยังพึ่งพาการติดตามแบบแมนนวล

การระบาดใหญ่ของโควิดเผยช่องโหว่ของการเข้าถึงและติดตามข้อมูลด้วยตนเองในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ประมาณ 50% ของบริษัทลอจิสติกส์ไทยกำลังใช้ซอฟต์แวร์การติดตามสินทรัพย์และตรวจสอบการจัดส่งร่วมกับการป้อนข้อมูลแบบแมนนวลสำหรับติดตามสินทรัพย์ การจัดส่ง และตู้สินค้า

กระบวนการแบบแมนนวลมีโอกาสทำให้เกิดช่องโหว่สูงและยังสร้างความเปราะบางภายในห่วงโซ่อุปทาน แสดงให้เห็นว่าบริษัทจำนวนมากยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น ในขณะที่โซลูชันการติดตามแบบเรียลไทม์และอัตโนมัติ มอบโอกาสในการเร่งสร้างนวัตกรรมและรับมือกับการหยุดชะงักได้ทันท่วงที

ใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งเพื่อเพิ่มการมองเห็นและเพิ่มประสิทธิภาพ

องค์การอนามัยโลกจัดอันดับประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดอันดับ 9 ของโลก อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ในประเทศไทยอาศัยภาคการขนส่งทางถนนเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 80% ของตลาดลอจิสติกส์ทั้งหมด[[ii]] ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่บริษัทลอจิสติกส์ไทยจะให้ความสำคัญกับการมองเห็นและติดตามข้อมูลเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพเมื่อต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระบุตำแหน่ง

รายงานเปิดเผยว่า 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งมีความจำเป็นต่อการเพิ่มความปลอดภัยของผู้ขับขี่ เป็นแรงจูงใจหลักสำหรับบริษัทต่าง ๆ ในการซื้อโซลูชันการติดตามทรัพย์สินด้านลอจิสติกส์ ขณะที่ 33% ระบุว่า ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการติดตามยานพาหนะแบบเรียลไทม์และการรายงานข้อมูล และอีก 30% ระบุว่าเทคโนโลนี้ยังมีความจำเป็นต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานขับรถและพนักงานซ่อมบำรุง

อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ไทยมองเทคโนโลยีในอนาคตช่วยเพิ่มศักยภาพไปสู่การเป็น Logistics Hub

บริษัทลอจิสติกส์สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบด้วยการติดตามสถานะแบบเรียลไทม์และข้อมูลด้วยเทคโนโลยี IoT การศึกษายืนยันว่าบริษัทลอจิสติกส์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้เทคโนโลยี IoT อยู่แล้ว โดยใช้ในแอปพลิเคชัน IoT สำหรับการจัดการสินค้าคงคลัง (20%) การจัดการยานพาหนะ (18%) และการจัดการห่วงโซ่อุปทานและการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (18%) เป็นที่นิยมมากที่สุดในบรรดาบริษัทลอจิสติกส์ของไทย

เมื่อมองไปในอนาคต พบว่าเกือบ 1 ใน 4 ของบริษัทลอจิสติกส์ในประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะลงทุนในโดรน (41%) ปัญญาประดิษฐ์และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (32%) และบล็อกเชน (32%) เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์ เทคโนโลยีเหล่านี้ภาคธุรกิจลอจิสติกส์ระบุว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (36%) สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด (34%) และเพิ่มรายได้ (32%)

 สารจากผู้เกี่ยวข้อง

    • นายโยชิคาซุ คุวามุระ หัวหน้าฝ่ายดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันภาคอุตสาหกรรม บริษัท Mitsubishi Corporation สาขาประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า “ดิจิทัลไลเซชันคือกุญแจสำคัญสำหรับจัดการกับความท้าทายพร้อมปลดล็อคประสิทธิภาพใหม่ ๆ ในซัพพลายเชนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามดิจิทัลไลเซชันเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอต่อการจัดการซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้การดำเนินงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การทำงานร่วมกันทั่วทั้งซัพพลายเชนถือเป็นสิ่งสำคัญ เราเชื่อมั่นว่าการติดตั้ง HERE ในระบบการทำงานจะช่วยผู้ประกอบการลอจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการระบุตำแหน่งอัจฉริยะและพัฒนาเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงวางกลยุทธ์บริหารจัดการความเสี่ยงและความไม่แน่นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
    • นายวิเวก ไวยา ผู้นำลูกค้าระดับโลกด้านโมบิลิตี้ บริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิแวน จำกัด กล่าวว่า “ในแง่ของการติดตามทรัพย์สินและการตรวจสอบสินค้าระหว่างขนส่ง ธุรกิจซัพพลายเชนและลอจิสติกส์ในเอเชียแปซิฟิกมีการพัฒนาในระดับที่แตกต่างกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นแบบเรียลไทม์ ธุรกิจต่าง ๆ กำลังมองหาการลงทุนใน IoT, AI และโดรน ในทางกลับกัน หลายบริษัทยังพึ่งระบบแมนนวลเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน และบริษัทเหล่านั้นมีความพยายามที่จะก้าวข้ามไปสู่การใช้โซลูชันที่ทันสมัยขึ้น โดยภาพรวมแล้ว การตระหนักรู้ถึงความสามารถในการมองเห็นสินทรัพย์และยานพาหนะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมหาศาลหลังการแพร่ระบาด และยังมีทีท่าว่าจะเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงศักยภาพ/โอกาสในการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของผู้ให้บริการอย่าง HERE Technologies ในตลาดสำหรับทศวรรษถัดไป”
    • นายอาบิจิต เซนกุปตา ผู้อำนวยการอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายธุรกิจ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอินเดีย บริษัท HERE Technologies กล่าวว่า “ภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเชื่อมธุรกิจและผู้บริโภคทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าไว้ด้วยกัน รายงานของเราเผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างมากของตลาดลอจิสติกส์พร้อมกับศักยภาพการเติบโตที่ยังมีอีกมากรวมถึงนวัตกรรม เราเชื่อว่าเมื่อบริษัทใช้ Location Technology แพร่หลายมากขึ้น ย่อมนำไปสู่โอกาสในการเติบโตสำหรับภาคลอจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนระยะยาว และขยับไปสู่การเป็นลอจิสติกส์ฮับของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

อ่านรายงาน APAC On the Move ฉบับเต็มและข้อมูลของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้แล้วที่นี่

Siemens Accelerates Digital Transformation for Industry Showcasing Sustainability Innovations at ProPak Asia 2023

ซีเมนส์ ร่วมดัน Digital Transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรม นำเทคโนโลยีมุ่งเน้นความยั่งยืนระดับโลกมาจัดแสดงในงาน ProPak Asia 2023

Siemens Accelerates Digital Transformation for Industry Showcasing Sustainability Innovations at ProPak Asia 2023

Explore Siemens’ innovations at booth N21, Hall 99, Bangkok International Trade and Exhibition Center (BITEC)

    • Vertical Farming reshaping the food production industry towards sustainability.
    • Opcenter Advanced Planning and Scheduling (APS) Software enhances production efficiency and productivity, reduces machine downtime, and increases on time delivery.
    • Industrial 5G Wireless Network enables seamless communication between devices, sensors, and systems across both Information Technology and Operation Technology (OT) environments.

Siemens is committed to support digital transformation in the industry sector with sustainability technologies and innovations. In fiscal 2022, Siemens products and solutions helped enterprises around the globe avoid approximately 150 million tons of carbon emissions.

As the industry sector faces economic volatility, supply chain disruptions, and skilled labor shortage, the adoption of digital technologies is crucial for driving operations and ensuring a sustainable future in response to climate change.

The food and beverage industry is one of the key sectors facing production and environmental challenges due to the growing global population. Food production and packaging alone account for approximately 30% of the world’s greenhouse gas emissions(1) and consume about 70% of the world’s freshwater supply(2).

In Thailand, the food and beverage industry plays a critical role in the country’s overall economy. According to Statista’s data as of March 2023, the Manufacturing Production Index (MPI) ranks the food products sector of Thailand as the third highest (119.17 points), following the sectors of basic pharmaceutical products and pharmaceutical preparations (132.28 points), while machinery and industrial equipment rank first (142 points).

At ProPak Asia 2023, Siemens showcases cutting-edge solutions that accelerate digital transformation, enabling increased production speed, flexibility, and adaptability while minimizing resource consumption and environmental impact.

Join Siemens at ProPak Asia 2023 to experience the following highlights:

    • Vertical Farming: Revolutionization of food production towards sustainability by minimizing water usage (95% less water used compared to traditional farming), maximizing productivity (300x as much produce per square foot), reducing carbon footprint, and generating less waste. This solution operates on 100% renewable energy and eliminates the need for pesticides.
    • Opcenter Advanced Planning and Scheduling (APS) Software: The complexity of today’s production planning often leads to mistakes, which negatively impact productivity and timely delivery of goods. Opcenter APS Software streamlines the planning and scheduling process, resulting in increased productivity, reduced inventory, and improved ontime delivery. It can serve as the starting point for driving digital transformation within manufacturing organizations.
    • Industrial 5G wireless network: Specifically designed for industrial usethe solution provides high-speed, ultra reliability and ultra-low latency (as low as 1 millisecond), exceptional stability, and robust security to support a range of industrial applications, including for example mobile robots, autonomous logistics, and automated guided vehicles (AGVs). These solutions enable seamless communication among devices, sensors, and systems in both Information Technology (IT) and Operational Technology (OT) environments. This facilitates real-time data exchange and supports Machine-Type Communications (mMTC) capabilities, allowing for the deployment of a large number of IoT devices, further enhancing data collection and analysis.

Siemens has taken environmental, social, and governance (ESG) commitment to the next level with the sustainability framework called “DEGREE” which includes D- Decarbonization, E – Ethics, G – Governance, R – Resource, E- Equity and E- Employability covering all aspects of operations. The company is ready to actively contribute to driving Thailand’s industrial sector towards sustainability in line with the vision of Thailand 4.0 through the advancement of technology and innovation.

ซีเมนส์ ร่วมดัน Digital Transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรม นำเทคโนโลยีมุ่งเน้นความยั่งยืนระดับโลกมาจัดแสดงในงาน ProPak Asia 2023

ซีเมนส์ ร่วมดัน Digital Transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรม นำเทคโนโลยีมุ่งเน้นความยั่งยืนระดับโลกมาจัดแสดงในงาน ProPak Asia 2023

ซีเมนส์ ร่วมดัน Digital Transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรม นำเทคโนโลยีมุ่งเน้นความยั่งยืนระดับโลกมาจัดแสดงในงาน ProPak Asia 2023

ระหว่างวันที่ 14-17 มิถุนายน ศกนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) ที่บูธ N21, Hall 99

    • โซลูชันการเกษตรแนวตั้ง (Vertical Farming) พลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสู่ความยั่งยืน
    • Opcenter Advanced Planning and Scheduling (APS) ซอฟต์แวร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการผลิต ลดเวลาที่เครื่องจักรต้องหยุดทำงาน (Downtime) รวมถึงการเพิ่มความสามารถในการส่งมอบสินค้า
    • โซลูชัน Industrial 5G Wireless Networks เชื่อมต่อเครือข่ายการสื่อสารอย่างลื่นไหล ระหว่างอุปกรณ์ เซ็นเซอร์ และระบบต่างๆ ในสภาพแวดล้อมของทั้ง Information Technology  และ Operation Technology (OT)

ซีเมนส์ประกาศสนับสนุน Digital Transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเน้นความยั่งยืน โดยในปีงบประมาณ 2565 ของบริษัทฯ ผลิตภัณฑ์และโซลูชันของซีเมนส์ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึงประมาณ 150 ล้านตัน ท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจ ปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมุ่งหน้านำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงปลายทางที่เป็นผู้ประกอบการ โดยสอดรับกับแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยึดหลัก “Sustainability” เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) 

ด้วยปริมาณประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มถือว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งทางด้านการผลิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจากสถิติ 30% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกเกิดจากการผลิตและบรรจุอาหาร(1) และ 70% ของปริมาณน้ำจืดบนโลกถูกใช้โดยอุตสาหกรรมอาหาร(2)  สำหรับประเทศไทยอุตสาหกรรมอาหารรวมถึงเครื่องดื่มยังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยจากข้อมูลของ Statista ระบุ ณ เดือนมีนาคม 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศไทยอยู่ใน อันดับที่ 3 (119.17 จุด) รองจากกลุ่มเภสัชภัณฑ์และยาเตรียม (132.28 จุด) และอันดับ 1 คือกลุุ่มเครื่องจักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม (142 จุด)

โดยภายในงาน ProPak Asia 2023 ซีเมนส์นำนวัตกรรมและโซลูชันล้ำสมัยที่จะช่วยเร่ง Digital Transformation สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม แบบ End-to-End ช่วยให้สามารถผลิตได้มากขึ้น เร็วขึ้น มีความยืดหยุ่นพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ใช้ทรัพยากรน้อยลง และยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีและโซลูชันไฮไลท์ของซีเมนส์ที่จัดแสดง ในงาน ProPak Asia 2023 (ณ บูธ N21) ได้แก่ 

    • โซลูชันการเกษตรแนวตั้ง (Vertical Farming) พลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสู่ความยั่งยืน ที่สามารถลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (End-to-End) โดยประหยัดน้ำได้ถึง 95% เทียบกับการทำเกษตรทั่วไป เพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 300 เท่าต่อตารางฟุต ลดคาร์บอนฟุตปริ้นตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโต๊ะกินข้าวและก่อให้เกิดขยะน้อยกว่า ที่สำคัญใช้พลังงานหมุนเวียน 100% และไม่มียากำจัดศัตรูพืช
    • ซอฟต์แวร์ Opcenter APS สำหรับวางแผนและจัดตารางการผลิต เนื่องด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนการผลิตในปัจจุบันมีความหลากหลายซึ่งบ่อยครั้งทำให้เกิดความผิดพลาด ทั้งยังยากในการปรับเปลี่ยน ส่งกระทบต่อผลผลิต และการส่งมอบสินค้า ซอฟต์แวร์ OpCenter APS ช่วยลดความซับซ้อน เพิ่มผลผลิต ลดปริมาณสินค้าคงคลังลดลง และเพิ่มความสามารถในการส่งมอบสินค้า โดย Opcenter APS สามารถเป็นนวัตกรรมเริ่มต้นสำหรับ Digital Transformation ของทุกองค์กรในภาคการผลิต
    • โซลูชัน Industrial 5G wireless networks ที่ออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ด้วยการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่มีความหน่วงในการส่งข้อมูลต่ำในระดับ 1 มิลลิวินาที มีความเสถียรและปลอดภัยสูง ช่วยรองรับการใช้แอปพลิเคชันอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์เคลื่อนที่  (Mobile Robots), การขนส่งอัตโนมัติ (Autonomous Logistics) หรือรถลำเลียงสินค้าที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ  (Automated Guided Vehicles or AGVs) และเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ เซ็นเซอร์ และระบบการทำงานทั้ง Information Technology (IT) และ Operation Technology (OT) ให้ลื่นไหลไร้รอยต่อ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ สนับสนุน massive Machine-Type Communications (mMTC) ซึ่งทำให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ IoT จำนวนมากได้ เพื่อการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

ซีเมนส์ได้กําหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (ESG) ไว้ในกรอบกลยุทธ์เฟรมเวิร์ก “DEGREE” เน้นดำเนินการใน 6 ด้าน คือ D – Decarbonization การลดปริมาณคาร์บอน E – Ethics จริยธรรม G – Governance บรรษัทภิบาล R – Resource Efficiency การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ E- Equity ความเสมอภาค และ E- Employability การจ้างงาน ครอบคลุมการดำเนินงานในทุกมิติ และบริษัทฯ พร้อมร่วมผลักดันภาคอุตสาหกรรมไทยให้เดินหน้าไปสู่ความยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 ด้วยการขับเคลื่อนของเทคโนโลยีและนวัตกรรม 

Applied Artificial Intelligence: The Key to Success During Economic Uncertainty in the Food & Beverage Industry

Supply Chain’s Wild Ride Continues

Applied Artificial Intelligence: The Key to Success During Economic Uncertainty in the Food & Beverage Industry

By Terry Smagh, Senior Vice President and General Manager for Asia Pacific and Japan, Infor

In the face of high inflation and increased prices, innovative food and beverage companies have turned to artificial intelligence (AI) and more specifically machine learning (ML) to drive efficiency and cut costs. Increased investment in applied AI and implementation of ML solutions helps food & beverage organizations to reduce waste, improve business processes and meet increased demand in a complex and unstable supply chain. Most importantly, food & beverage companies in the cloud have an advantage to more quickly kickstart the use of ML due to having the data, analytics and ML readily available as a service. As food & beverage companies continue to delve into applied AI, the ability to host and visualize data in the cloud will be critical to identify opportunities to optimize operations, cut costs and reduce waste. 
 
One way that AI helps food and beverage companies is by improving the accuracy and speed of product recommendations and pricing strategies in sales. With the currently volatile raw material and energy prices, food & beverage companies must dynamically determine the right product offerings and price point to sustain sales volumes. Global bakery ingredients business Zeelandia Group has addressed the challenges of higher costs and lack of available bakery ingredients by deploying a ML model that recommends products and prices to be offered to the bakeries based on what similar customers are buying. Through the implementation of applied AI, Zeelandia Group achieved an 83% faster time to prepare product recommendations for customers, cutting the time down from 30 minutes to 5 minutes. As a result of product recommendations taking less time, Zeelandia Group employees were able to provide a better customer experience in addition to increased revenue per transaction and share of wallet per customer. 
 
Another area where food and beverage companies have applied AI and ML is sustainability. Food and beverage organizations have turned toward ML to help reduce waste and identify inefficiencies within the supply chain. For example, leading global provider of goat and organic cow cheese, Amalthea, has turned to applied AI to make the cheese quality more predictable and to maximize yield, build customer loyalty and boost sustainability. Previously, Amalthea could only manually analyze milk yield on a weekly basis, which made it difficult to adjust process parameters steering the process to optimize the yield. By leaning on ML, Amalthea can now view the yields immediately in addition to receiving direct insight into what is causing a yield change. This helps Amalthea to reduce its overall waste from manufacturing, as the company can quickly identify pain points and improve processes simultaneously. These changes have had a direct impact on the company’s profitability and bottom line, as for every 1 percent increase in yields, Amalthea expects to save approximately 500,000 euros.
 
Furthermore, the global labor shortage has persisted and has interrupted the output of the food & beverage industry. This global labor shortage can also be attributed to the new generation of workers, who are looking for life-long employment opportunities and value-driven careers rather than working in a factory or in customer service. Given the increased pressure to maintain supply with heightened demand, food & beverage businesses are investing in manufacturing automation and Industry 4.0 technologies to account for the lack of employees. For instance, businesses have utilized AI with robots to automate labor-intensive tasks that previously required human eyes and decisions, such as sorting, grading, cutting and slicing. Moreover, investing and implementing the latest Industry 4.0 technologies has been attracting young talent hungry individuals to use the latest innovation to improve global food & beverage challenges, such as sustainable fishing. Leading animal nutrition company Nutreco relies on the latest Industry 4.0 technologies for precision farming of shrimps. Nutreco has achieved additional production cycles of healthier shrimps, while at the same time using 30% less feed. Specifically, Nutreco uses audio sensors in aquaculture to listen to the shrimps, understanding when they are hungry. AI determines when and how much the shrimps must be fed to overall help reduce feed waste while prioritizing shrimp growth. 
 
With the unprecedented becoming the norm in the food & beverage industry, applied AI will be imperative for businesses to work smarter, not harder. It’s clear that with ML solutions, organizations can save on costs, sustainability can be improved, and workers can focus on delivering on customer experience rather than on mundane tasks. Food and beverage organizations do not have a choice to adapt in the face of economic uncertainty. Applied AI is imperative to ensure business profitability midst economic downturn and skyrocketing inflation. 
 

Applied AI กุญแจสู่ความสำเร็จท่ามกลางความผันผวน ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

Supply Chain’s Wild Ride Continues

Applied AI กุญแจสู่ความสำเร็จท่ามกลางความผันผวน ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์

เมื่อเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและราคาสินค้าที่สูงขึ้น บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่มองการณ์ไกลต่างหันมาใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และโดยเฉพาะแมชชีนเลิร์นนิง (ML) มากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิภาพและลดต้นทุนในทุก ๆ ด้าน  การลงทุนเพิ่มขึ้นในโซลูชันปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ (Applied AI) ที่เป็นการนำ AI พื้นฐานต่าง ๆ มารวมเป็นระบบเพื่อตอบโจทย์ในธุรกิจและการใช้ ML จะช่วยให้บริษัทอาหารและครื่องดื่มลดของเสีย ปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ และตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อนและผันผวนได้  และที่สำคัญที่สุดคือ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้ระบบคลาวด์จะได้เปรียบในการเริ่มต้นใช้ ML ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะข้อมูล การวิเคราะห์ และ ML ล้วนมีพร้อมให้ใช้งานในรูปแบบ as a service แล้ว จากการที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มยังคงศึกษาและลงทุนด้าน Applied AI เพิ่ม ทำให้ความสามารถในการโฮสต์และแสดงภาพข้อมูลบนระบบคลาวด์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการระบุวิธีปรับปรุงการดำเนินงาน ลดค่าใช้จ่าย และลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด

การให้คำแนะนำด้านผลิตภัณฑ์ที่แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้นพร้อมกลยุทธ์การกำหนดราคาขาย เป็นวิธีหนึ่งที่ AI สามารถช่วยบริษัทอาหารและเครื่องดื่มได้  ความผันผวนของราคาวัตถุดิบและพลังงานในปัจจุบันทำให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มต้องตัดสินใจเรื่องข้อเสนอผลิตภัณฑ์และราคาที่เหมาะสมได้ตลอดเวลาเพื่อรักษายอดขายของบริษัทไว้ให้ได้

Zeelandia Group ธุรกิจด้านส่วนผสมเบเกอรี่ระดับโลกได้จัดการกับความท้าทายของต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และการขาดแคลนส่วนผสมเบเกอรี่ โดยการใช้โมเดล ML ที่ให้คำแนะนำด้านราคาและผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงสิ่งที่บรรดาลูกค้าร้านเบเกอรี่กำลังซื้อ  Zeelandia Group สามารถเตรียมคำแนะนำผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าได้เร็วขึ้นถึง 83% โดยลดเวลาจาก 30 นาทีเหลือเพียง 5 นาทีผ่านการใช้ AI  และการให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้เวลาน้อยลงนี้ ส่งผลให้พนักงานของ Zeelandia Group สามารถมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นแก่ลูกค้า ในขณะเดียวกันก็ทำให้ยอดการขายของลูกค้าหนึ่งรายต่อหนึ่งธุรกรรมเพิ่มสูงขึ้นด้วย  

นอกจากนี้ บริษัทอาหารและเครื่องดื่มยังได้นำ AI และ ML มาปรับใช้ในด้านการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนด้วย โดยหันมาใช้ ML เพื่อช่วยลดของเสียและระบุความด้อยประสิทธิภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทาน เช่น Amalthea ผู้ผลิตชีสนมแพะและชีสนมวัวออร์แกนิกชั้นนำระดับโลกที่เปลี่ยนมาใช้ Applied AI ทำให้บริษัทฯ คาดการณ์คุณภาพชีสได้แม่นยำมากขึ้น สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงสุด สร้างความภักดีของลูกค้า และเพิ่มความยั่งยืนในการดำเนินงาน

ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นเรื่องของปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั่วโลกที่ยังคงเกิดขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้ผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มขาดตอน  การขาดแคลนนี้อาจเกิดได้จากการที่แรงงานรุ่นใหม่มองหาโอกาสการจ้างงานตลอดชีวิตและอาชีพที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่า มากกว่าการทำงานในโรงงานหรืองานบริการลูกค้า 

ก่อนหน้านี้ Amalthea สามารถวิเคราะห์น้ำนมด้วยวีธีแบบแมนนวลได้เพียงสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น ทำให้ยากต่อการปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ที่ควบคุมกระบวนการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด  แต่ปัจจุบันนี้ Amalthea สามารถใช้ ML ดูผลผลิตได้ทันที อีกทั้งยังได้รับข้อมูลเชิงลึกโดยตรงเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย  สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นช่วยให้ Amalthea ลดของเสียจากการผลิตโดยรวมได้ เพราะบริษัทสามารถระบุจุดบกพร่องได้อย่างรวดเร็วพร้อมปรับปรุงกระบวนการไปพร้อม ๆ กันได้  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการทำกำไรและผลกำไรของบริษัท เพราะ Amalthea คาดว่าจะประหยัดเงินได้ประมาณ 500,000 ยูโร สำหรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 1% 

Nutreco บริษัทผลิตอาหารสัตว์ชั้นนำใช้เทคโนโลยี Industry 4.0 ล่าสุดสำหรับการเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) ในการเพาะเลี้ยงกุ้ง และประสบความสำเร็จในการเพิ่มวงจรการผลิตกุ้งที่มีสุขภาพดีขึ้นโดยใช้อาหารกุ้งน้อยลงถึง 30% ยิ่งไปกว่านั้น Nutreco ยังใช้เซ็นเซอร์เสียงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับฟังเสียงและตรวจจับเวลาที่กุ้งหิว ทำให้ AI สามารถระบุเวลาและปริมาณอาหารที่ต้องให้โดยรวมได้ ช่วยลดปริมาณของเสียจากอาหารกุ้ง โดยให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของกุ้งเป็นอันดับแรก

แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการรักษาอุปทานท่ามกลางความต้องการที่สูงขึ้นนี้ทำให้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มต้องลงทุนในเทคโนโลยี Industry 4.0 และระบบอัตโนมัติสำหรับการผลิตเพื่อชดเชยการขาดพนักงาน ดังจะเห็นได้จากการที่ธุรกิจต่าง ๆ ได้ใช้ AI ร่วมกับหุ่นยนต์เพื่อทำให้กระบวนการที่ต้องใช้สายตาและการตัดสินใจของมนุษย์มากเป็นไปโดยอัตโนมัติ เช่น กระบวนการคัดแยกขนาด, การคัดคุณภาพ, การตัดชิ้นและการแล่  ยิ่งไปกว่านั้นการลงทุนและการใช้เทคโนโลยี Industry 4.0 ล่าสุดยังได้ดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถที่ต้องการใช้นวัตกรรมล่าสุดเพื่อปรับปรุงปัญหาด้านอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกให้ดีขึ้น เช่น การทำประมงอย่างยั่งยืน เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติไปแล้วสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม  Applied AI จะกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจเพื่อให้ทำงานได้ชาญฉลาดขึ้น ไม่ใช่ยากขึ้น  เห็นได้ชัดว่าการนำโซลูชัน ML มาใช้งาน ทำให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงความยั่งยืนได้ และพนักงานสามารถมุ่งเน้นไปที่การมอบประสบการณ์ลูกค้ามากกว่างานที่ซ้ำซากจำเจ  บริษัทอาหารและเครื่องดื่มไม่มีทางเลือกในการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ  Applied AI จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างผลกำไรทางธุรกิจท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้อที่พุ่งสูงเสียดฟ้า

รายงานจากศูนย์วิจัยกรุงศรีระบุว่า แนวโน้มที่สำคัญของโลก (Megatrend) สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้หลากหลายด้าน อาทิ การผลิต เศรษฐกิจ วิถีชีวิต สังคม ตลอดจนพฤติกรรม ดังนั้นการเข้าใจถึงเมกะเทรนด์หลักที่คาดว่าส่งผลต่ออุตสาหกรรมอาหารจะช่วยให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารของโลกในอนาคต โดยมี AI หรือปัญญาประดิษฐ์จัดอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีเมกะเทรนด์นี้ด้วย