ซีเมนส์ร่วมมือไมโครซอฟท์ขับเคลื่อนการนำ AI มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม

ซีเมนส์ร่วมมือไมโครซอฟท์ขับเคลื่อนการนำ AI มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม

ซีเมนส์ร่วมมือไมโครซอฟท์ขับเคลื่อนการนำ AI มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม

  • ทั้งสองบริษัทเปิดตัว Siemens Industrial Copilot ผู้ช่วย Generative AI ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร
  • ทั้งสองบริษัทพร้อมเดินหน้าร่วมกันพัฒนา Copilots เพิ่มสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการดูแลสุขภาพ
  • ซัพพลายเออร์ยานยนต์ชั้นนำ Schaeffler AG เป็นบริษัทแรก ๆ ที่นำ Siemens Industrial Copilot ไปใช้
  • แอปฯ Siemens Teamcenter สำหรับ Microsoft Teams พร้อมเปิดให้ใช้งานโดยทั่วไปในเดือนธันวาคมปีนี้ กระตุ้นการสร้างนวัตกรรมตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์

ไมโครซอฟท์ และ ซีเมนส์ ผนึกความร่วมมือต่อเนื่อง นำประสิทธิภาพ Generative AI มาสู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทฯ เตรียมเปิดตัว Siemens Industrial Copilot ซึ่งเป็นผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาร่วมกัน มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรในภาคการผลิต นอกจากนี้การผนวกซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ยังสนับสนุนการสร้างเมตาเวิร์สในภาคอุตสาหกรรม ลดความซับซ้อนในการทำงานร่วมกันแบบเสมือนจริงให้แก่วิศวกรออกแบบ ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและทีมอื่น ๆ ตลอดสายงานธุรกิจ

สัตยา นาเดลลา ประธานและซีอีโอของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “ด้วยศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่นี้ เรามีโอกาสพิเศษในการเร่งสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เรากำลังพัฒนาต่อยอดจากความร่วมมือที่ยาวนานกับซีเมนส์ รวบรวมความก้าวหน้าด้าน AI ใน Microsoft Cloud มาผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมของซีเมนส์ เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและพนักงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังปัญญาประดิษฐ์ โดยเริ่มต้นด้วยโครงการ Siemens Industrial Copilot”

โรแลนด์ บุช ซีอีโอของซีเมนส์ กล่าวว่า “เราและไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการส่งเสริมศักยภาพของลูกค้าด้วยการนำ Generative AI มาใช้งาน เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพมหาศาลที่จะปฏิวัติวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ ใช้ออกแบบ พัฒนา ผลิตและดำเนินการ ด้วยการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรที่เชื่อมต่อกันในวงกว้างมากขึ้น ช่วยให้เหล่าวิศวกรสามารถเร่งพัฒนาโค้ด เพิ่มนวัตกรรม และรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะได้”

ยุคใหม่ของการทำงานร่วมกันของมนุษย์และเครื่องจักร

Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพ และแก้ไขโค้ดอัตโนมัติที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมลดระยะเวลาการจำลองสถานการณ์ลงอย่างมาก ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดงานที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ให้เหลือเป็นหน่วยนาที โดย Copilot จะนำข้อมูลของระบบอัตโนมัติและกระบวนการการจำลองจากแพลตฟอร์ม Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของซีเมนส์ และเพิ่มประสิทธิภาพด้วย Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ โดยลูกค้ายังคงควบคุมข้อมูลตนเองได้ทั้งหมด ระบบจะไม่มีการนำข้อมูลไปใช้กับการฝึกโมเดล AI พื้นฐาน

Siemens Industrial Copilot มีความสามารถเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพครบวงจรในอุตสาหกรรม โดยเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงจะได้รับคำแนะนำการซ่อมแซมอย่างละเอียดด้วยภาษาปกติอย่างเป็นธรรมชาติ ขณะที่วิศวกรจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือแบบจำลองได้อย่างรวดเร็ว

เปิดวิสัยทัศน์: Copilots สำหรับทุกอุตสาหกรรม

ทั้งซีเมนส์และไมโครซอฟท์ต่างเล็งเห็นว่า AI Copilots มีความสามารถในการช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการดูแลสุขภาพ โดย Copilot จำนวนมากกำลังถูกวางแผนที่จะนำมาใช้ในภาคการผลิต เช่น ยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค และการผลิตเครื่องจักร

Schaeffler AG ซัพพลายเออร์ยานยนต์ชั้นนำเป็นหนึ่งในบริษัทรายแรก ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่นำ Generative AI ไปใช้ในงานด้านวิศวกรรม ช่วยให้ทีมวิศวกรสามารถพัฒนาโค้ดที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับการโปรแกรมระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์ นอกจากนี้ บริษัทฯ เตรียมนำ Siemens Industrial Copilot มาใช้ในระบบการดำเนินงาน โดยวางเป้าหมายเพื่อลดการหยุดชะงักของการทำงาน (Downtime) ของเครื่องจักรอย่างมีนัยสำคัญ และเตรียมพัฒนาขั้นต่อไปสำหรับลูกค้าในภายหลัง

เคลาส์ โรเซนเฟลด์ ซีอีโอของกลุ่มแชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรมในโครงการนำร่องร่วมกันนี้ ซึ่ง Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ทีมงานของเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังลดภาระงานซ้ำซ้อน และเพิ่มไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับซีเมนส์และไมโครซอฟท์ในโครงการนี้”

Generative AI เพิ่มความสะดวกการทำงานร่วมกันในแบบเสมือน

เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันแบบเสมือนระหว่างทีม ซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ สำหรับ Microsoft Teams พร้อมเปิดให้ใช้งานได้โดยทั่วไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ โดยแอปพลิเคชันนี้จะใช้ศักยภาพล่าสุดของ Generative AI เชื่อมต่อฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ของวงจรการออกแบบผลิตภัณฑ์และวงจรการผลิต ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานไปจนถึงทีมวิศวกร โดยจะเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันของไมโครซอฟท์ เพื่อให้พนักงานในโรงงานและพนักงานภาคสนามสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานหลายล้านคนที่เข้าไม่ถึงเครื่องมือ PLM ในปัจจุบันสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบและผลิตได้ง่ายยิ่งขึ้นเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวัน

ซีเมนส์จะแบ่งปันรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Siemens Industrial Copilot ที่งาน SPS expo ที่จะจัดขึ้น ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2566

Siemens Showcases Smart Power Distribution and IoT Solutions at ASEAN Sustainable Energy Week 2023

ซีเมนส์ จัดแสดงเทคโนโลยี ระบบไฟฟ้าและโซลูชัน IoT ด้านพลังงาน ที่งาน ASEAN Sustainable Energy Week 2023

Siemens Showcases Smart Power Distribution and IoT Solutions at ASEAN Sustainable Energy Week 2023

Explore Siemens’ innovations at booth H9, Hall 2, Queen Sirikit National Convention Center from August 30 – September 1, 2023

Siemens is committed to support digital transformation of the Thai industrial sector toward low-carbon practices and sustainability, showcasing IoT solutions and latest power distribution technologies from Siemens Xcelerator portfolio at ASEAN Sustainable Energy Week 2023

Under the theme “Accelerate Transformation Towards Decarbonization and Sustainable Industry”, Siemens aims to boost the potential and facilitate efficient management of electricity within Thailand’s industrial ecosystem while also addressing CO2 reduction in operational processes involving electrical assets.

According to the International Energy Agency (IEA), the industrial sector accounted for the highest share of energy consumption in 2022, amounting to 37%. The industry is confronted with challenges in its pursuit of achieving Net Zero, prompting a major transformation of operations, particularly in electric power.

In addition, the power distribution system has become more complex with the integration of additional renewable energy sources, industrial operators must accelerate the adoption of innovation and automation technologies to optimize processes, enhance energy efficiency, reduce costs, and contribute to minimizing CO2 emission, all in alignment with sustainability goals.

Suwannee Singluedej, President & CEO of Siemens Thailand said “Siemens is committed to introducing innovative solutions and technologies that facilitate the digitalization of industries while efficiently managing energy costs. This can be achieved through three core pillars: Decrease CAPEX & OPEX, Enhance Efficiency, and Replace with Technology which means using technologies to optimize operations. These efforts will help advance the industries toward low-carbon practices and sustainability.”

Today, the success of industrial operators’ lies largely in the optimization of operations. This leads to the significance of Internet of Things (IoT) technology and Digital Transformation as essential components in elevating competitive capabilities. According to the Association of the Industrial Energy and Power Industry, the industrial sector is grappling with significant challenges in effectively managing electricity. This includes 60% of industrial companies experience one power outage at least once a year, while 80% contend with unplanned power shutdowns that result in extensive losses. Furthermore, 53% of power producers frequently require preventive maintenance for electrical assets due to a lack of real-time asset-transparency. Additionally, 50% rely on equipment from diverse suppliers, resulting in inefficient data connectivity that hampers the effective control and management of electricity. Collectively, these challenges present persistent hurdles in contemporary essential electrical power management, thus necessitating innovative, technology-driven solutions.

Siemens’ Smart Power Distribution and IoT Solutions offer an enhanced capacity and a comprehensive approach to tackling these challenges. Highlighted solutions and technologies at ASEW 2023 include:

  • Power IoT Solutions: for power plants, power stations, substations in factories, and other infrastructures in industrial estates
    • Microgrids for Sustainability: Microgrid application effectively monitors and manages power distribution from various renewable energy sources including traditional power stations, hydroelectric power, photovoltaic arrays, and more. It enables the highly cost-effective and efficient utilization of these diverse renewable energy sources while ensuring the stability of the power system.
    • IoT Applications and Cybersecurity: IoT applications designed to facilitate the control and real-time monitoring of electrical asset status, they provide data and generate digital document, accessible via on-premises servers or the cloud. This helps reduce unplanned power outages and unnecessary preventive maintenance of electrical equipment. As a result, it boosts production continuity and efficiency. Moreover, data security is assured through an energy automation portfolio that is certified for Cybersecurity as per the world’s first IEC 62443-4-1 standard.
    • Smart Power Monitoring and Management: Applications that assists in monitoring and managing electric power for the main distribution board, enabling the tracking of electrical equipment and low-voltage systems status within the facility. This capability facilitates the optimization of electricity utilization in the production process. It also aids in energy-saving planning, rapid detection of electrical faults, and subsequent loss reduction.
    • Scale Up E-Mobility and Manage Loads: The application that monitors the operational status of electric vehicle charging stations, providing real-time updates on the charging point’s condition and remote-control capabilities. This functionality aids in the reduction of management and maintenance expenses while optimizing the charging point’s efficiency to its maximum potential.
  • Innovative and Eco-Friendly Switchgear (Medium-Voltage blue GIS) utilizes Clean Air without fluorine gas (100% F-gas free) to help reduce global warming. It is maintenance-free, making the power distribution system more sustainable.
  • The Innovative and Intelligent Motor Management System (SIMOCODE pro), installed within the main distribution board (SIVACON S8 Low-Voltage Switchboard) enables real-time monitoring of operational status of low-voltage motors. It facilitates real-time monitoring of the operational status of low-voltage motors, thereby reducing motor maintenance costs and enhancing uninterrupted production operations.
  • E-House is a prefabricated substation supporting industrial sectors seeking rapid and sustainable project expansions. The E-House can be deployed swiftly, therefore substantially shortens project timelines. It is versatile, allowing for easy relocation, modifications, or reuse in new projects.

Furthermore, Siemens also exhibits SICHARGE D, marking its debut in Thailand. This high-performance DC charger for electric vehicles has earned the prestigious iF Design Award 2023 in the Automotive category.

“As industries transition towards a carbon-neutral society, it is important to be well-prepared and technologically equipped for the energy transformation. In the midst of the expected complexities of future electric networks, there are additional challenges in seamlessly integrating renewable energy into current setups. These difficulties involve the complex tasks of the power grid system that needs to serve both Consumer and Prosumer. Therefore, the future power system technology must be ready to handle energy shifts, ensuring top-notch effectiveness, stability, and resilience across various applications, all while prioritizing sustainability,” Suwannee concluded.

ซีเมนส์ จัดแสดงเทคโนโลยี ระบบไฟฟ้าและโซลูชัน IoT ด้านพลังงาน ที่งาน ASEAN Sustainable Energy Week 2023

ซีเมนส์ จัดแสดงเทคโนโลยี ระบบไฟฟ้าและโซลูชัน IoT ด้านพลังงาน ที่งาน ASEAN Sustainable Energy Week 2023

ซีเมนส์ จัดแสดงเทคโนโลยี ระบบไฟฟ้าและโซลูชัน IoT ด้านพลังงาน ที่งาน ASEAN Sustainable Energy Week 2023

ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน ศกนี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ ที่บูธ H9 ฮอลล์ 2

ซีเมนส์มุ่งสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีและโซลูชันอัจฉริยะจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ Siemens Xcelerator มาร่วมจัดแสดงในงาน “ASEAN Sustainable Energy Week 2023”

ภายใต้แนวคิด “Accelerate Transformation Towards Decarbonization and Sustainable Industry” ซีเมนส์ตั้งเป้าส่งเสริมศักยภาพและสนับสนุนอีโคซิสเต็มส์ในภาคอุตสาหกรรมให้มีความสามารถในการบริหารและจัดการพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงการลดคาร์บอนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องในกระบวนการปฎิบัติงาน

ข้อมูลจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (The International Energy Agency: IEA) เผยในปี 2565 ที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานภาพรวมมากที่สุดถึง 37% นอกจากนี้ภาคอุตสาหกรรมยังเผชิญความท้าทายในการเดินหน้าสู่ Net Zero ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงรอบด้านในการดำเนินงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจะมีความซับซ้อนในระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่จะมีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในระบบมากขึ้น ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการต่าง ๆ ให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า ลดต้นทุน และสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ไปสู่ความยั่งยืนได้

คุณสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ซีเมนส์มุ่งมั่น นำเสนอนวัตกรรม โซลูชันและเทคโนโลยีที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการไปสู่ระบบดิจิทัล พร้อมรับมือกับต้นทุนด้านพลังงาน โดยยึด 3 แกนหลัก ได้แก่ Decrease CAPEX & OPEX, Enhance Efficiency และ Replace with Technology ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีในการเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน”

ปัจจุบันการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่สร้างความสำเร็จให้กับภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และ Digital Transformation มีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  ข้อมูลจาก Association of the Industrial Energy and Power Industry ชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับความท้าทายในด้านการบริหารและจัดการไฟฟ้า โดย 60% ของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต้องประสบปัญหาไฟฟ้าดับอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี และ 80% ต้องปิดระบบแบบกระทันหัน ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อโรงงาน นอกจากนี้ 53% ของผู้ผลิตไฟฟ้า ยังต้องทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกันให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าบ่อยครั้ง เนื่องจากขาดการมองเห็นข้อมูลสถานะที่แท้จริงของอุปกรณ์ และ 50% ยังใช้อุปกรณ์จากซัพพลายเออร์ที่ต่างกัน ทำให้ขาดการเชื่อมต่อของข้อมูลเพื่อควบคุมและบริหารจัดการไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นปัญหาสำคัญที่แก้ไม่ตกของการจัดการพลังงานไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

นวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าและโซลูชัน IoT ด้านพลังงานจากซีเมนส์จะสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการและขจัดความท้าทายดังกล่าวได้อย่างครบวงจร โดยโซลูชันและเทคโนโลยีไฮไลท์ที่ซีเมนส์นำมาจัดแสดง ภายในงาน ASEW 2023 ประกอบด้วย

  • โซลูชัน IoT ด้านพลังงานไฟฟ้า (Power IoT solutions) สำหรับภาคอุตสาหกรรม สามารถใช้งานได้ทั้งในโรงไฟฟ้า, สถานีไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม, สถานีไฟฟ้าย่อยในโรงงาน, ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย
  • Microgrids for Sustainability แอปพลิเคชันไมโครกริดช่วยบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งผลิต/กำเนิด/ส่งไฟฟ้ามากกว่า 2 แหล่ง (สถานีไฟฟ้าทั่วไป ไฟฟ้าพลังน้ำ ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ฯลฯ) ทำให้สามารถใช้แหล่งพลังงานที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะที่คงความมีเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า
  • IoT Applications and Cybersecurity แอปพลิเคชัน IoT ที่ช่วยควบคุมและตรวจสอบสถานะอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งแสดงผลข้อมูลและสร้างรายงานดิจิทัลผ่านระบบเซิร์ฟเวอร์ในองค์กร (On-Premises) หรือผ่านระบบคลาวด์ (On-Cloud) ช่วยลดการเกิดไฟดับและการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ทำให้การผลิตมีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมั่นใจถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ Energy Automation ที่ได้รับการรับรองด้าน Cybersecurity ตามมาตรฐาน IEC 62443-4-1 เป็นแห่งแรกของโลก
  • Smart Power Monitoring and Management แอปพลิเคชันที่ช่วยตรวจสอบและบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าสำหรับตู้ควบคุมระบบจำหน่ายไฟฟ้าหลัก ทำให้ทราบสถานะของอุปกรณ์และระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำภายในโรงงาน จึงสามารถวางแผนใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยวางแผนประหยัดพลังงานและพบกระแสผิดพร่อง(fault)ได้อย่างรวดเร็ว ลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น
  • Scale Up E-Mobility and Manage Loads แอปพลิเคชันควบคุมสถานีบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ทราบสถานะจุดชาร์จและสามารถควบคุมได้จากระยะไกล ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและซ่อมบำรุง ทำให้จุดชาร์จทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • นวัตกรรมสวิตช์เกียร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Medium-Voltage blue GIS) ใช้ก๊าซสะอาด (Clean Air) ปราศจากก๊าซฟลูออรีน (100% F-gas free) ลดการเกิดภาวะโลกร้อน ไม่ต้องบำรุงรักษา ทำให้ระบบจำหน่ายไฟฟ้ามีความยั่งยืน
  • นวัตกรรมระบบบริหารจัดการมอเตอร์อัจฉริยะ (SIMOCODE pro) ติดตั้งภายในตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลักในโรงงาน SIVACON S8 Low-Voltage Switchboard ช่วยให้ทราบสถานะการทำงาน การแจ้งเตือนและตัดวงจรก่อนที่มอเตอร์จะเกิดความเสียหาย ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมอเตอร์ ช่วยให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  • สถานีไฟฟ้าย่อยแบบ E-House (คล้ายตู้คอนเทนเนอร์ ที่ภายในมีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นติดตั้งอยู่) จะช่วยลดเวลาในการทำโครงการให้เสร็จเร็วขึ้น สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการขยายตัวด้านโครงการอย่างยั่งยืนและรวดเร็ว โดย E-House สามารถเคลื่อนย้าย ดัดแปลง หรือนำไปใช้งานซ้ำในโครงการใหม่ได้

นอกจากนี้ซีเมนส์ยังได้นำ SICHARGE D เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC Charger ประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้รับรางวัล iF Design Award 2023 ประเภทยานยนต์ (Automotive) มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

“ภาคอุตสาหกรรมที่กำลังมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำจำเป็นต้องเตรียมพร้อมและมีเทคโนโลยีที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านพลังงาน เพราะนอกจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต ยังมีความท้าทายในการนำพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เข้ามาใช้ร่วมกันในระบบอย่างเหมาะสม รวมถึงความซับซ้อนของโหลดงานที่มาเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าก็มีบทบาทที่เป็นได้ทั้งผู้บริโภค (Consumer) และผลิตโดยผู้บริโภค (Prosumer) ดังนั้นเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าในอนาคตจึงต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อให้การบริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด มีเสถียรภาพ ยืดหยุ่นต่อการใช้งานที่หลากหลาย และส่งเสริมความยั่งยืน ” คุณสุวรรณี กล่าวสรุป 

Siemens presents €2 billion investment strategy to boost future growth, innovation and resilience

ซีเมนส์ ประกาศกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร มุ่งสร้างการเติบโต ขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่นในอนาคต

Siemens presents €2 billion investment strategy to boost future growth, innovation and resilience

    • Ramp up of global investment in new high-tech factories, innovation labs and education centers to expand leadership in digitalization, automation and sustainability
    • Total investments of €2 billion mainly in manufacturing capacity expansion to be disclosed this year
    • Following investments in Germany and in the U.S., Siemens expands its production network and R&D capacities in Asia
    • New high-tech factory in Singapore announced today to serve growing markets in Southeast Asia
    • Expansion of digital factory in Chengdu to boost further growth in China
    • Additional investments in Europe and U.S. to be announced

To boost future growth, drive innovation and increase resilience, Siemens today presented its investment strategy which includes €2 billion mainly for new manufacturing capacity as well as innovation labs, education centers and other own sites. Siemens today announced a new high-tech factory in Singapore, to serve the booming Southeast Asia markets.

“Our technologies address secular growth trends where our customers need our support to become more competitive, resilient and sustainable. Siemens is experiencing significantly above-market growth. Today we announce an investment strategy to boost future growth, drive innovation and increase resilience,” said Roland Busch, President and Chief Executive Officer of Siemens AG.

“The investments underpin our strategy of combining the real and the digital worlds – as well as our focus on diversification and local-for-local business. We are clearly doubling down on our strong global presence to support growth in the most relevant markets in the world.”

In addition, there is an expected increase of around €0.5 billion in research and development (R&D), such as artificial intelligence and the industrial metaverse, in fiscal year 2023 versus prior year. This R&D is focused on strengthening Siemens’ leading position in core technologies including simulation, digital twins, artificial intelligence or power electronics, as well as supporting the development of the Siemens Xcelerator open digital business platform. The company recently announced a partnership with Microsoft to speed up code generation for industry automation by using ChatGPT. With NVIDIA, Siemens is working to build the industrial metaverse to improve design, planning, production and operation of factories and infrastructures.

New and additional capacities in Southeast Asia

To meet growing demand in Southeast Asia, Siemens today announced an entirely new high-tech factory in Singapore, which will be developed using Siemens’ own leading digital twin and innovative, intelligent hardware technologies. Investment in the factory will be around €200 million. The plant will set a new standard for connectivity to showcase the possibilities of digitalization, as well as incorporating highly-automated manufacturing processes. The investment will create over 400 jobs.

All-regions strategy with wave of global investments

As part of its investment strategy and fast-growing business in China, Siemens will also expand its digital factory in Chengdu to serve the local growth opportunities in China for China, investing €140 million (RMB 1.1bn) and creating 400 new jobs. Many of Siemens’ Chinese customers are early adopters of new technologies especially in digitalization and high-tech manufacturing. This is why Siemens also announced the investment in a new digital R&D Innovation Center in Shenzhen to speed up development of motion control systems with digitalization and power electronics technology. The Siemens Xcelerator open digital business platform was launched in China in November 2022.

Series of announcements

Earlier this year, Siemens committed to expand production in Trutnov, Czech Republic, to enhance capacity at its WEF Global Lighthouse (1) Factory in Amberg, Germany. Moreover, Siemens invests €30 million to expand its switchgear plant in Frankfurt-Fechenheim, Germany, while Siemens Mobility recently announced spending $220 million to build a new rolling stock factory in Lexington, North Carolina, to meet growing demand for passenger trains in the United States. The plant will create more than 500 jobs by 2028.

The planned €2 billion investments and expected increase of around €0.5 billion in research and development include Siemens Healthineers.

ซีเมนส์ ประกาศกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร มุ่งสร้างการเติบโต ขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่นในอนาคต

ซีเมนส์ ประกาศกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร มุ่งสร้างการเติบโต ขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่นในอนาคต

ซีเมนส์ ประกาศกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร มุ่งสร้างการเติบโต ขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่นในอนาคต

    • เพิ่มการลงทุนในโรงงานไฮเทค ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม และศูนย์การเรียนรู้ใหม่ ๆ ทั่วโลกเพื่อต่อยอดความเป็นผู้นำดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ และความยั่งยืน
    • ส่วนใหญ่ของการลงทุนรวม 2 พันล้านยูโร ที่จะเปิดเผยในปีนี้ มุ่งไปที่การขยายกำลังการผลิต เป็นหลัก
    • หลังจากการลงทุนในเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา ซีเมนส์เตรียมขยายเครือข่ายการผลิตและศักยภาพการวิจัยและพัฒนาในเอเชีย
    • เตรียมสร้างโรงงานไฮเทคแห่งใหม่ในสิงคโปร์เพื่อรองรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโต
    • ขยายโรงงานดิจิทัลในเฉิงตูเพื่อต่อยอดการเติบโตในจีน
    • เตรียมประกาศการลงทุนเพิ่มเติมในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ซีเมนส์ได้นำเสนอกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร เพื่อกระตุ้นการเติบโตในอนาคต พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่น โดยมุ่งเน้นการลงทุนหลักไปที่การเพิ่มกำลังการผลิต ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม ศูนย์การเรียนรู้ และโรงงานใหม่ โดยซีเมนส์ประกาศสร้างโรงงานไฮเทคแห่งใหม่ในสิงคโปร์ เพื่อรองรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโตอย่างมาก

โรแลนด์ บุช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอของ ซีเมนส์ เอจี กล่าวว่า “เทคโนโลยีของเราตอบสนองแนวโน้มการเติบโตที่แน่นอนในอนาคต หรือ Secular Growth ที่สนับสนุนให้ลูกค้าของเราสามารถแข่งขัน สร้างความยืดหยุ่นและความยั่งยืนได้มากยิ่งขึ้น ซีเมนส์กำลังเติบโตในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ และล่าสุดเราประกาศกลยุทธ์การลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่น”

“การลงทุนนี้สนับสนุนกลยุทธ์ของเราในการผสานโลกจริงและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน การมุ่งเน้นการกระจายธุรกิจและธุรกิจท้องถิ่นต่อท้องถิ่น (Local-for-Local Business) การขยายฐานที่ตั้งเพิ่ม Global Presence เพื่อรองรับการเติบโตในตลาดสำคัญ”

ในปีงบประมาณ ค.ศ. 2023 บริษัทฯ คาดว่าจะเพิ่มงบประมาณการวิจัยและพัฒนาอีกประมาณห้าร้อยล้านยูโรเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งจะเน้นในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และ

เมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรม (Industrial Metaverse) การวิจัยและพัฒนานี้มุ่งเสริมความแข็งแกร่งในความเป็นผู้นำของซีเมนส์ในเทคโนโลยีหลักๆ ซึ่งรวมถึง Simulation, Digital Twins, Artificial Intelligence หรือ Power Electronics พร้อมสนับสนุน Siemens Xcelerator  ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของบริษัทฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทได้ประกาศความร่วมมือกับ Microsoft เพื่อเร่งการสร้างโค้ดสำหรับระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมโดยใช้ ChatGPT และซีเมนส์ยังกำลังทำงานร่วมกับ NVIDIA เพื่อสร้างเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาการออกแบบ การวางแผน การผลิต และการดำเนินงานของโรงงานและโครงสร้างพื้นฐาน

กำลังการผลิตใหม่และเพิ่มเติมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซีเมนส์ได้ประกาศสร้างโรงงาน ไฮเทคแห่งใหม่ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งโรงงานแห่งนี้จะได้รับการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยี Digital Twin พร้อมนวัตกรรมฮาร์ดแวร์อัจฉริยะของซีเมนส์ โดยใช้งบลงทุนประมาณ 200 ล้านยูโร โรงงานแห่งใหม่ นี้จะกำหนดมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยี ดิจิทัลมาเพิ่มศักยภาพรวมถึงการใช้กระบวนการผลิตอัตโนมัติขั้นสูง และการลงทุนนี้ยังสร้างงาน มากกว่า 400 ตำแหน่ง

กลยุทธ์มุ่งเน้นทุกภูมิภาคด้วยแผนการลงทุนทั่วโลก

อีกส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนเพื่อรองรับธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศจีน ซีเมนส์จะขยายโรงงานดิจิทัลในเฉิงตู เพื่อรองรับโอกาสการเติบโตในท้องถิ่นของจีนในแบบ in China for China ด้วยการลงทุน 140 ล้านยูโร (1.1 พันล้านหยวน) สร้างงานใหม่ 400 ตำแหน่ง ลูกค้าในประเทศจีนของซีเมนส์จำนวนมากอยู่ในกลุ่ม Early Adopters ในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดิจิทัลและการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นี่คือเหตุผลที่ซีเมนส์ประกาศการลงทุนในศูนย์นวัตกรรมวิจัยและพัฒนาแบบดิจิทัลแห่งใหม่ในเซินเจิ้น เพื่อเร่งการพัฒนาระบบควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและ Power Electronics โดยแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิด Siemens Xcelerator เปิดตัวในประเทศจีนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022

การประกาศการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ซีเมนส์มีความมุ่งมั่นที่จะขยายการผลิตในเมือง Trutnov ในประเทศสาธารณรัฐเช็ก เพื่อขยายกำลังการผลิตของโรงงานของบริษัทฯ ที่เมือง Amberg ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่าย WEF Global Lighthouse(1) นอกจากนี้ซีเมนส์ยังลงทุนอีก 30 ล้านยูโรเพื่อขยายโรงงานสวิตช์เกียร์ที่ Frankfurt-Fechenheim ในประเทศเยอรมนี ขณะที่ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ประกาศการลงทุน 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างโรงงานผลิตตู้รถไฟแห่งใหม่ในเมืองเล็กซิงตัน รัฐนอร์ทแคโรไลนา เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับรถไฟโดยสารในสหรัฐอเมริกา โดยโรงงานแห่งนี้จะสร้างงานมากกว่า 500 ตำแหน่งภายในปี ค.ศ. 2028

แผนการลงทุนมูลค่า 2 พันล้านยูโร และอีกประมาณห้าร้อยล้านยูโรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสำหรับการวิจัยและพัฒนานั้นรวมถึงการลงทุนใน ซีเมนส์ เฮลท์ธิเนียร์ส