ภาครัฐได้ประโยชน์อะไรจากเอดจ์คอมพิวติ้ง

ภาครัฐได้ประโยชน์อะไรจากเอดจ์คอมพิวติ้ง

บทความโดยคุณสุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท

เอดจ์คอมพิวติ้ง สามารถช่วยให้การบริหารจัดการบริการสาธารณะต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำงานอย่างชาญฉลาดและคุ้มค่าการลงทุนมากขึ้น แต่การนำเทคโนโลยีเอดจ์คอมพิวติ้งต่าง ๆ มาใช้ในหน่วยงานภาครัฐนั้นยังไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง ปัจจุบันภาคส่วนอื่น ๆ ได้มีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้และได้รับผลลัพธ์ที่ทรงคุณค่าให้ได้เก็บเกี่ยวแล้ว จึงเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานภาครัฐจะพิจารณาถึงประโยชน์และโอกาสที่จะได้รับจากการนำเอดจ์คอมพิวติ้งมาใช้ในหน่วยงานตน เร้ดแฮทมีตัวอย่างผลลัพธ์จากการใช้เอดจ์คอมพิวติ้งในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ภาคการผลิต และรูปแบบการใช้งานที่หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้ได้ ดังนี้

มีการใช้เอดจ์คอมพิวติ้งเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิต และที่อยู่อาศัย

เมื่อสามสิบปีที่แล้ว ศักยภาพและอัจฉริยะของไอทีในองค์กรวางอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ แต่ปัจจุบันเรามาถึงจุดที่เวิร์กโหลดบางประเภทสามารถย้ายไปวางไว้ที่อุปกรณ์ปลายทาง (edge) ได้แล้ว 

เมื่อมีการนำกระบวนการประมวลผลไปวางไว้ ณ จุดกำเนิดของข้อมูลหรือที่ใกล้ข้อมูลที่สุด (แทนที่จะวางอยู่บนคลาวด์หรือรีโมทดาต้าเซ็นเตอร์) เอดจ์คอมพิวติ้งจะช่วยให้สามารถตัดสินใจจากข้อมูลที่ส่งออกมาจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ ณ จุดสำคัญที่สุดได้รวบรวมไว้

ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือใช้เอดจ์คอมพิวติ้ง เพื่อนำความสามารถในการประมวลผลให้อยู่ใกล้เครือข่ายเอดจ์ และลดเวลาที่ใช้ในการตอบสนองลง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากต่อความเร็วในการให้บริการและความพร้อมใช้งานตามคุณสมบัติของ 5G ที่ต้องมีให้กับผู้รับบริการ

มีการนำเอดจ์คอมพิวติ้งไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในวงกว้าง รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเอดจ์คอมพิวติ้งช่วยลดเวลาที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบให้สินค้าและบริการได้มาตรฐานตามการรับประกันระดับคุณภาพของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ (QA) และรอบการผลิต ช่วยให้นำสินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่าย ข้อมูลที่เซ็นเซอร์ต่าง ๆ รวบรวมไว้ ณ เครื่องจักรแต่ละตัว ช่วยให้วิศวกรสามารถระบุและแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ทันที ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหากับระบบ

ตามปกติแล้ว เซ็นเซอร์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้มีไมโครโปเซสเซอร์ที่มีความสามารถในการคิดและเรียนรู้ที่มีขอบเขต ซึ่งใช้ตรวจสอบและตรวจวัดปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความดัน ความร้อน หรือการไหลของน้ำ ในทำนองเดียวกัน สมาร์ทมิเตอร์หรืออุปกรณ์ตรวจวัดอัจฉริยะที่ติดตั้งอยู่ ณ จุดหนึ่ง ๆ ก็มีความสามารถในการประมวลผลบางประการ เช่น บันทึกปริมาณการใช้ก๊าซ ไฟฟ้า หรือน้ำในครัวเรือน และนำข้อมูลที่บันทึกไว้นั้นไปใช้ประโยชน์ จะเห็นได้ว่าสมาร์ทมิเตอร์คืออุปกรณ์ปลายทางหรืออุปกรณ์เอดจ์ที่มีประสิทธิภาพ

การใช้งานลักษณะนี้ในปัจจุบันยังอยู่ในขอบเขตจำกัด แต่ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่สมาร์ทมิเตอร์จะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้นั้นไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้มากกว่าแค่การคำนวณค่าบริการ สมาร์ทมิเตอร์อาจช่วยให้ค่าธรรมเนียมการใช้ไฟลดลง ทำการปิดอุปกรณ์เมื่อไม่ได้ใช้งาน และแม้แต่เปิดหน้าต่างหากอุณหภูมิในอาคารสูงถึงระดับที่ตั้งไว้

การบริหารจัดการเมืองด้วยระบบอัจฉริยะ

หากพิจารณาตามหลักการดังกล่าวนี้ การใช้เอดจ์คอมพิวติ้งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับภาครัฐในแต่ละท้องถิ่น คือการนำเอดจ์คอมพิวติ้งไปใช้ในการบริหารจัดการเมืองให้มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นหรือสมาร์ทซิตี้ และในไม่ช้าก็เร็ว สมาร์ทมิเตอร์จะถูกนำไปใช้ในการบริหารจัดการการใช้พลังงานในท้องถิ่นและครัวเรือน และอุปกรณ์เอดจ์ต่าง ๆ จะสามารถใช้บริหารจัดการสถานการณ์หลากหลายด้านของเมือง ๆ หนึ่งได้

เมื่อพิจารณางานที่เกี่ยวกับการจัดการจราจรใจกลางเมือง ผู้ควบคุมเพียงรู้และเข้าใจว่าถนนแต่ละสายมีการจราจรหนาแน่นเพียงใดในเวลาใดเท่านั้น ก็จะสามารถตัดสินใจได้เลยว่าต้องปรับการจราจรบนถนนช่วงใดหรือไม่ หรือต้องเปลี่ยนระยะเวลาของสัญญาณไฟจราจรช่วงใดบ้าง เพื่อบรรเทาความแออัด แต่หากต้องใช้เวลาส่งข้อมูลที่เกิดขึ้นกลับไปประมวลผลยังหน่วยงานกลาง ข้อมูลนั้นอาจล้าสมัยไปแล้ว เมื่อมีการสั่งการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ก็ไม่ทันกาลเพราะปัญหาอาจไม่ได้อยู่ ณ จุดเดิมแล้ว อาจย้ายไปอยู่จุดอื่นหรือขยายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้น หรือหมดปัญหาไปแล้วก็ได้

อย่างไรก็ตาม การนำระบบการประมวลผลไปวางไว้ใกล้กับถนนต่าง ๆ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเสริมระบบการประมวลผลนั้นด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) อาจทำให้ระบบสัญญาณไฟจราจรสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เทคโนโลยี AI/ML สามารถทำความเข้าใจสาเหตุและผลกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันมาแล้ว และเรียนรู้ว่าเคยแก้ปัญหานั้นอย่างไร ดังนั้นเราสามารถติดตั้งอุปกรณ์เอดจ์ที่มี AI/ML ไว้บนเสาสัญญาณไฟจราจร เพื่อให้ระบบแยกแยะระบุปัญหาที่พบและทำการแก้ไขได้ในเวลาเกือบจะทันทีที่เกิดปัญหานั้น

การใช้เอดจ์คอมพิวติ้งกับงานด้านอื่น ๆ ของภาครัฐ

การนำความสามารถของเอดจ์เทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการด้านการจราจรเป็นเพียงหนึ่งในแนวทางที่ใช้ในการบริหารจัดการเมืองเท่านั้น ตัวอย่างอื่น เช่น การติดตามตรวจสอบระบบปรับสภาวะอากาศ (HVAC) ในอาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นทรัพย์สินของราชการ เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่คุ้มค่ามากขึ้น และตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สาธารณูปโภคของครัวเรือนและธุรกิจ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำ หรือของที่ไม่ต้องการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ เอดจ์คอมพิวติ้งยังมีบทบาทในการวางแผนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เอดจ์ไว้ที่จุดสำคัญต่าง ๆ ที่ภูเขาไฟฟูจิของประเทศญี่ปุ่น เพื่อสตรีมส่งข้อมูลสภาพแวดล้อมหลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ในกรณีเกิดแผ่นดินไหว ข้อมูลที่สตรีมมานี้ช่วยให้บริการฉุกเฉินต่าง ๆ ตอบสนองได้เกือบจะทันที ด้วยการส่งทีมบุคลากรฉุกเฉินไปยังสถานที่เกิดเหตุในช่วงเวลาที่ทันต่อสถานการณ์

ศักยภาพของการประมวลผล ณ จุดรับข้อมูลหรือที่เอดจ์ยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ เราสามารถนำข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่บนเสาสัญญาณไฟจราจรในเมืองมาใช้บริหารจัดการการไหลเวียนของการจราจร ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การจดจำภาพ รวมถึงการปรับช่วงเวลาของสัญญาณไฟจราจรได้เอง

ประโยชน์ของเอดจ์คอมพิวติ้งต่อหน่วยงานรัฐ

เป็นเรื่องปกติที่หน่วยงานรัฐทั่วไปมักมีงบประมาณหรือทรัพยากรที่จำกัด และไม่สามารถทำทุกสิ่งที่ต้องการได้ ระบบอัตโนมัติที่ทำงานอยู่ที่เอดจ์ มีขนาดเล็กกว่าดาต้าเซ็นเตอร์ที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้อยู่ในอดีต และนั่นคือการใช้คนเพื่อมาบริหารจัดการเทคโนโลยีน้อยลง ช่วยให้พนักงานมีเวลามากขึ้นเพื่อทำงานอื่นที่มีคุณค่ากว่าและมีประโยชน์กับประชาชนมากขึ้น

เทคโนโลยีเอดจ์ยังมีความยืดหยุ่นที่ช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการเก็บ และกำหนดได้ว่าเก็บเพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตัดสินใจได้ว่าควรเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งใด และอุปกรณ์เอดจ์บางรายการจำเป็นต้องเชื่อมต่อตลอดเวลาหรือไม่

การโยกย้ายการทำงานจากดาต้าเซ็นเตอร์ไปใช้เอดจ์คอมพิวติ้ง สามารถช่วยให้หน่วยงานรัฐให้บริการได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และคุ้มค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป

ทำไมต้องใช้ระบบอัตโนมัติ

Red Hat

ทำไมต้องใช้ระบบอัตโนมัติ

บทความโดย สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท

ระบบอัตโนมัติช่วยธุรกิจให้เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ องค์กรในปัจจุบันกำลังรับมือกับแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจเดิมจากหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น Airbnb และ Amazon นอกจากนี้ทุกธุรกิจยังเผชิญกับความท้าทายในการสนับสนุนพนักงานและพาร์ทเนอร์ ในการเข้าถึงลูกค้าใหม่ รวมถึงทำอย่างไรจึงจะสามารถมอบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และบริการที่รวดเร็วมากขึ้นให้ลูกค้าได้

ดังนั้นทุกธุรกิจจึงต้องการและจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานครั้งใหญ่นี้ด้วยตนเอง

ระบบอัตโนมัติจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากต่อการบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง และการปรับตัว และไม่ได้สำคัญเฉพาะกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีขององค์กรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรผ่านกระบวนการต่าง ๆ อีกด้วย และด้วยการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในการเปลี่ยนแปลงนี้ ช่วยให้องค์กรมีเวลาและใช้กำลังความสามารถเน้นไปที่การพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้นทำงานสำเร็จได้เร็วขึ้น เจ้าหน้าที่ไอทีก็จะมีเวลาไปจัดการแก้ไขปัญหาที่ใหญ่กว่าได้มากขึ้น ทำให้ปัญหาเหล่านั้นเป็นเหมือนงานประจำ และปรับให้สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นผ่านระบบอัตโนมัติได้ในที่สุด

ความได้เปรียบของระบบอัตโนมัติ

ระบบอัตโนมัติไม่จำเป็นต้องหมายถึงการมาแทนที่คน เราได้เห็นแนวคิดลักษณะนี้จากการที่ระบบอัตโนมัติช่วยขจัดขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องใช้คนทำ แต่เราพบความสำคัญและข้อได้เปรียบของระบบอัตโนมัติได้จาก ความสามารถในการผลิตที่ดีขึ้น ความสม่ำเสมอ และประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้น เมื่อองค์กรใช้ระบบอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การมีส่วนร่วมของคนจะมีความสำคัญมากขึ้นแต่ด้วยความถี่ที่น้อยลง

แทนที่เราจะมองว่าระบบอัตโนมัติเป็นเครื่องมือที่ลดการจ้างงาน แต่เราควรมองความเป็นจริงที่ว่า ระบบอัตโนมัติช่วยให้พนักงานไอทีมีประสบการณ์มากขึ้นในการให้ความสำคัญและหาทางแก้ปัญหาที่ใหญ่กว่า มากกว่าที่จะต้องทำงานเดิม ๆ ทุกวันซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ข้อได้เปรียบของระบบอัตโนมัติ

     ● ผลผลิตมากขึ้น พนักงานขององค์กรสามารถใช้เวลาไปทำงานที่จะส่งผลสำคัญต่อธุรกิจได้มากขึ้น ปล่อยให้การทำงานซ้ำ ๆ เป็นหน้าที่ของซอฟต์แวร์

     ● เชื่อถือได้มากขึ้น เมื่อลดเวลาในการทำงานของคนลงก็จะช่วยให้การควบคุมปัญหาต่าง ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นเหมือนเดิมตลอดเวลาลดลง การใช้ระบบอัตโนมัติจะทำให้องค์กรทราบอย่างแน่นอนว่ากระบวนการต่าง ๆ การทดสอบ การอัปเดท เวิร์กโฟลว์ หรืองานอื่น ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อใด ใช้เวลานานเท่าไร และองค์กรก็จะสามารถเชื่อมั่นในผลลัพธ์ที่จะออกมาได้

     ● กำกับดูแลง่ายขึ้น การใช้คนจำนวนมากอาจทำให้เกิดช่องว่างทางความรู้มากขึ้น และนั่นหมายถึงว่าแต่ละฝ่ายที่ทำงานร่วมกันในองค์กรอาจไม่ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือมีใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่รับผิดชอบอยู่นี้ ดังนั้น ความสามารถในการตรวจสอบทุกกระบวนการการทำงานหมายถึงการควบคุมที่ดีขึ้น 

ความท้าทายในการใช้ระบบอัตโนมัติ

     ● ค่าใช้จ่าย การสร้างโซลูชันระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพต้องใช้เวลาและกำลังความสามารถมาก การทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เชื่อถือได้เช่น เร้ดแฮท ที่จะเป็นผู้ช่วยจัดการกับงานหนักนี้แทนองค์กร เพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและทำงานได้เร็วขึ้น

     ● ขอบเขตการใช้งาน ระบบอัตโนมัติไม่ได้ชาญฉลาดได้ด้วยตัวเอง แต่ขึ้นอยู่กับองค์กรจะใช้ระบบอัตโนมัติทำอะไรบ้าง และจะสร้างขึ้นด้วยวิธีการใด ซึ่งบางส่วนอาจอยู่นอกเหนือขอบเขตนั้น ดังนั้นการจำกัดการใช้ระบบอัตโนมัติในบางแง่มุม หรือบางฟังก์ชันสามารถบรรเทาความกังวลนี้ได้ องค์กรควรระลึกไว้เสมอว่า ระบบอัตโนมัติขององค์กรจะฉลาดและปลอดภัยพอ ๆ กับวิธีการที่องค์กรใช้งานเท่านั้น

ทีมทำงานด้านไอทีได้รับการร้องขอให้ดำเนินการให้เร็วขึ้น จัดการกับสภาพแวดล้อมไอทีที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น และนำแนวทางการพัฒนาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสม เพื่อรับมือกับความต้องการใหม่เหล่านี้ องค์กรจำนวนมากได้ใช้ระบบอัตโนมัติกับงานด้านไอทีบางอย่างในวงจำกัดในบริบทที่แตกต่างกันอย่างไม่ยืดหยุ่น มีสคริปต์เฉพาะเรื่องมากมาย รวมถึงใช้เครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์ดั้งเดิมที่ใช้เฉพาะทางและมีข้อจำกัดทางกรรมสิทธิ์ แม้ว่าวิธีการแบบนี้จะช่วยให้ฟังก์ชั่นที่ใช้ทำงานเร็วขึ้น แต่ก็ไม่สามารถขยายการทำงานไปยังทรัพยากรที่หลากหลาย และอาจทำให้การกระจายระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพไปทั่วองค์กรทำได้ยาก

องค์กรไม่ได้ต้องการแค่ความสามารถในการสร้างระบบอัตโนมัติได้อย่างง่ายดายเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องกระจายการใช้และนำระบบอัตโนมัติมาใช้ซ้ำกับโปรเจคและทีมงานทั้งหมดได้ ในระดับการกำกับดูแลและการควบคุมที่ถูกต้องเหมาะสม องค์กรบางแห่งอาจใช้ระบบอัตโนมัติอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการความช่วยเหลือในการขยายการทำงานของระบบออกไปเท่านั้น

ไม่ว่าสภาพแวดล้อมไอทีขององค์กรจะซับซ้อนเพียงใด ไม่ว่าองค์กรจะอยู่ในขั้นตอนไหนของการทำให้ระบบไอทีทันสมัยก็ตาม การสร้างระบบอัตโนมัติที่นำไปใช้ได้ทั้งองค์กร ไม่เพียงช่วยให้องค์กรสามารถทำให้กระบวนการด้านไอทีเป็นอัตโนมัติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยี ทีมงานที่มีอยู่ และองค์กรเองด้วย

การนำโซลูชันระบบอัตโนมัติที่เหมาะสมมาใช้ ช่วยให้องค์กรใช้แอปพลิเคชันและบริการใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และรับรู้ได้ว่ามีความสามารถในการพัฒนาแอปพลิเคชันมากขึ้น องค์กรสามารถใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเตรียมระบบ จัดการการตั้งค่า การแพตช์ การทำงานผสานกันของแอป รวมถึงความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

เร้ดแฮทเชื่อว่าระบบอัตโนมัติเป็นองค์ประกอบเชิงกลยุทธ์และพื้นฐานของระบบไอทีที่ทันสมัยและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โซลูชัน บริการ และการฝึกอบรมต่าง ๆ ของบริษัทช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมความต้องการในการทำให้ธุรกิจเป็นอัตโนมัติ ดังนั้นองค์กรสามารถเน้นไปที่การสร้างสรรสิ่งใหม่ ๆ และก้าวไปข้างหน้า

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นใช้ระบบอัตโนมัติหรือองค์กรที่ต้องการขยายการใช้งานให้ครอบคลุมงานใหม่ ๆ เร้ดแฮทมีโซลูชันที่สามารถช่วยให้คุณปรับขยายการทำงานระบบอัตโนมัติให้ใช้กับทุกส่วนของธุรกิจขององค์กรได้

เร้ดแฮททำงานด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ร่วมกับชุมชนโอเพ่นซอร์สขนาดใหญ่ วิศวกรของเร้ดแฮทช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับฟีเจอร์ต่าง ๆ เพิ่มความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจและไอทีดำเนินการได้อย่างมั่นคง คงความเสถียรและปลอดภัย

Red Hat Ansible Automation Platform ช่วยให้องค์กรปรับขยายระบบอัตโนมัติด้านไอที บริหารจัดการการทำงานที่ซับซ้อนต่าง ๆ และควบคุมระบบอัตโนมัติ แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานควบคุมโครงสร้างพื้นฐานไอทีจากศูนย์กลางผ่านเวอร์ชวลแดชบอร์ด ควบคุมการเข้าใช้งานที่กำหนดไว้ตามบทบาทของผู้ใช้ และอื่น ๆ อีกมากเพื่อลดความซับซ้อนในการทำงาน

Ansible Automation Platform ใช้ภาษาอัตโนมัติที่ง่าย จึงช่วยให้ผู้ใช้งานประสานการทำงานระหว่างทีมหลาย ๆ ทีมและบุคคลต่าง ๆ เพื่อแชร์ ตรวจสอบ และจัดการระบบอัตโนมัติได้อย่างสะดวก

Ansible Automation Platform มีโครงสร้างของคำสั่งการทำงานที่ง่ายในการทำความเข้าใจ ทำให้สามารถผสานการตั้งค่าและการบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ ให้เข้ากับงานด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นใจได้ว่างานต่าง ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อจำเป็นต้องใช้และเกิดขึ้นตามลำดับที่ถูกต้อง

เร้ดแฮท เปิดตัวบริการใหม่ Managed Cloud Services ขับเคลื่อนคลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรมด้าน Cloud-Native Application

Red Hat

เร้ดแฮท เปิดตัวบริการใหม่ Managed Cloud Services ขับเคลื่อนคลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรมด้าน Cloud-Native Application

บริการคลาวด์ที่โฮสต์และมีการบริหารจัดการให้ด้วยอย่างเต็มรูปแบบชุดใหม่นี้ช่วยเพิ่มทางเลือกในการใช้โอเพ่นไฮบริดคลาวด์คอมพิวติ้งให้กับลูกค้า
ลดความซับซ้อน และทำให้การลงทุนด้านไอทีเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

กรุงเทพฯ – 10 สิงหาคม 2564 – เร้ดแฮท อิงค์ ผู้นำด้านโซลูชั่นโอเพ่นซอร์สระดับโลกประกาศขยายผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ ด้วยการให้บริการคลาวด์ที่มาพร้อมการบริหารจัดการ(managed cloud services) สามบริการคือ Red Hat OpenShift API Management, Red Hat OpenShift Streams for Apache Kafka และ Red Hat OpenShift Data Science ซึ่งบริการทั้งสามนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้บริการอย่างครบวงจร และให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์การทำงานที่มีประสิทธิภาพในการสร้าง การติดตั้งการบริหารจัดการ และปรับขยายการใช้คลาวด์-เนทีฟแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บนสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด บริการเหล่านี้ได้ผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ Red Hat OpenShift Dedicated และช่วยลดความยุ่งยากของสภาพแวดล้อมไอทียุคใหม่ที่มีความซับซ้อนมากได้โดยที่ประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไม่ลดทอนตามไปด้วย ทั้งยังมอบชุดของความสามารถต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันได้ทั้งบนไฮบริดคลาวด์และมัลติคลาวด์ที่หลากหลาย

ปี 2563 เป็นปีที่เน้นย้ำให้ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (CIO) และผู้นำด้านไอทีได้เห็นถึงความสำคัญของการนำไฮบริดคลาวด์มาใช้ในการทำงาน โดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับความต้องการบริการที่ขยายตัวมากขึ้น ในขณะที่ยังคงต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมที่มีอยู่ เพื่อจัดการความความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนี้ ลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจต่างต้องการความยืดหยุ่นในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้บริการหรือใช้แอปพลิเคชั่นใด ๆ ก็ได้จากทุกที่ โดยไม่ซับซ้อนและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม บริการคลาวด์พื้นฐานเหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนบทบาทความรับผิดชอบในการดำเนินงานและสนับสนุนโดยเร้ดแฮท ทั้งยังช่วยให้ลูกค้าสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ โดยเน้นไปที่การกระจายข้อมูลและการทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นผ่าน API บริการใหม่เหล่านี้ได้แก่

Red Hat OpenShift Streams for Apache Kafka
Red Hat OpenShift Streams for Apache Kafka สร้างขึ้นจากโครงการโอเพ่นซอร์สที่ชื่อว่า Apache Kafka ช่วยให้ทีมพัฒนาสามารถรวบรวมการสตรีมข้อมูลมาไว้ในแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ของตนได้ง่ายขึ้น ในการออกแบบแอปพลิเคชั่นไฮบริดคลาวดต่าง ๆ นั้นการสตรีมข้อมูลเป็นหลักสำคัญในการตรวจจับ การสื่อสาร และประมวลผลเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้กับสถาปัตยกรรมแบบดิสทริบิวเต็ดแอปพลิเคชั่นข้อมูลแบบเรียลไทม์เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำงานของแอปพลิเคชั่นไฮบริดคลาวด์ และช่วยมอบประสบการณ์ดิจิทัลไปยังทุกแห่งที่ให้บริการได้ทันทีด้วยการให้บริการอย่างครบวงจร ของ Red Hat OpenShift Streams for Apache Kafka นี้ จะช่วยให้นักพัฒนาสร้างแอปพลิเคชั่นที่ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลกับข้อกำหนดพื้นฐานในการเก็บรวบรวมและการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ

Red Hat OpenShift Streams for Apache Kafka มีพร้อมใช้ในรูปแบบพรีวิวสำหรับนักพัฒนาแล้ว และคาดว่าจะเปิดให้ใช้งานได้ทั่วไปปลายปีนี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Red Hat OpenShift Streams for Apache Kafka ได้ที่นี่

Red Hat OpenShift Data Science
Red Hat OpenShift Data Science สร้างขึ้นจากโครงการโอเพ่นซอร์สที่ชื่อว่า Open Data Hub บริการนี้ช่วยให้การพัฒนา สร้างการเรียนรู้ และการทดสอบโมเดลแมชชีนเลิร์นนิ่งทำได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องกังวลกับโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง Red Hat OpenShift Data Science ใช้เครื่องมือด้านการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล (data science) ที่เป็นมาตรฐานทั่วไปเป็นพื้นฐานให้กับแพลตฟอร์ม AI-as-a-Service และทำงานร่วมกับพันธมิตรผู้ให้บริการคลาวด์ที่เลือกสรรแล้ว รวมถึงโซลูชั่น ISV ต่าง ๆ จาก Red Hat Marketplace

Red Hat OpenShift Data Science ที่พร้อมใช้งานนี้เป็นรุ่นเบต้า โดยเป็นส่วนเสริมของ OpenShift Dedicated และ Red Hat OpenShift Service on AWS ทั้งนี้คาดว่าจะพร้อมให้ใช้งานได้ทั่วไปปลายปีนี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Red Hat OpenShift Data Science ได้ที่นี่

Red Hat OpenShift API Management
Red Hat OpenShift API Management ให้บริการการบริหารจัดการ API (application programming interface) เต็มรูปแบบให้กับ Red Hat OpenShift Dedicated และ Red Hat OpenShift Service on AWS ด้วยการประสานการบริหารจัดการกับ technology ของ OpenShift จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และการพัฒนาด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง การจัดการ และการปรับขยายแอปพลิเคชั่นที่เป็น API-first, microservices-based ได้มากกว่าการที่จะต้องติดอยู่กับเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน

Red Hat OpenShift API Management ยังช่วยให้ลูกค้าสร้างโปรแกรมบริหารจัดการ API ได้ด้วยตัวเอง ด้วยความสามารถในการควบคุม การเข้าถึง ติดตามตรวจสอบการใช้งาน แชร์ APIs ทั่วไป และพัฒนาแลนด์สเคปแอปพลิเคชั่นทั้งหมดของตนเองได้ผ่าน DevOps

Red Hat OpenShift API Management พร้อมใช้เต็มรูปแบบแล้ว โดยเป็นส่วนเสริมของ Red Hat OpenShift Dedicated และบน Red Hat OpenShift Service on AWS เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Red Hat OpenShift API Management ได้ที่นี่

Red Hat OpenShift: การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มาพร้อมการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นสำหรับโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ บริการจัดการคลาวด์บริการใหม่ ๆ ที่กล่าวมานี้ สร้างบนพอร์ตโฟลิโอของ Red Hat OpenShift ซึ่งให้บริการ Kubernetes ที่มีการบริหารจัดการแบบครบวงจรและจัดการได้ด้วยตัวเองกับพับลิคคลาวด์ชั้นนำต่าง ๆ บริการใหม่เหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตรของเร้ดแฮทสามารถจัดทำกลยุทธ์โอเพ่นไฮบริดคลาวด์ที่ทำงานบนแพลตฟอร์มเอ็นเตอร์ไพรส์ Kubernetes ชั้นนำของอุตสาหกรรมได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ภายในองค์กรหรือจะต้องมีบุคลากรที่คอยปฏิบัติงาน

การประกาศครั้งนี้ยังเป็นการเปิดให้พันธมิตรของเร้ดแฮทผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (independent software vendors: ISVs) และผู้ให้บริการรวมระบบ (systems integrators: SIs) ได้นำเสนอบริการใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าของเขา ลูกค้าสามารถใช้บริการเหล่านี้ร่วมกับข้อเสนออื่น ๆ ของพันธมิตรด้านเทคโนโลยีรวมถึงโซลูชั่นที่มีอยู่บน Red Hat Marketplace ที่ได้รับการทดสอบเรียบร้อยแล้วได้รับการรับรอง และรองรับการใช้งานบน Red Hat OpenShift

คำกล่าวสนับสนุน

"เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้นำด้านไอทีต้องสามารถใช้เทคโนโลยีที่พวกเขาต้องการ
และเห็นว่าเหมาะสมกับองค์กรของตน บริการคลาวด์ที่มาพร้อมการบริหารจัดการของเร้ดแฮท ช่วยขจัดอุปสรรคจำนวนมากได้
อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้องค์กรนำประสิทธิภาพของไฮบริดคลาวด์มาใช้ได้อย่างเต็มที่ เราเชื่อว่าการขจัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์-สเกลที่เคยเกิดขึ้นออกไป จะกระตุ้นให้เกิดการเริ่มต้น
และทำให้ความเป็นไปไม่ได้จากการที่ถูกขวางกั้นโดยอุปสรรคเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้"
แมตท์ ฮิกซ์
รองประธานบริหาร, ฝ่ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี, เร้ดแฮท
“ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ต้องการเพิ่มความเร็วในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นของตน องค์กรหลายแห่งกำลังมองหาวิธีการลดภาระงาน
ของทีมพัฒนาด้วยการนำบริการคลาวด์ที่มีการบริหารจัดการให้ด้วยมาใช้ ซึ่งช่วยให้สามารถมุ่งความสำคัญไปที่การมองมูลค่าทางธุรกิจ
มากกว่าการใช้ทรัพยากรที่มีค่าไปกับการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน เร้ดแฮท มุ่งมั่นเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีให้กับลูกค้า
ด้วย Red Hat OpenShift และชุดของบริการที่บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งสามารถใช้งานได้กับมัลติเพิลคลาวด์ทุกระบบ”
สตีเฟ่น โอแกรดี
หัวหน้านักวิเคราะห์, RedMonk

เทคโนโลยี Open Hybrid Cloud ของเร้ดแฮท ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกก้าวล้ำไปอีกขั้น

Red Hat

เทคโนโลยี Open Hybrid Cloud ของเร้ดแฮท ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกก้าวล้ำไปอีกขั้น

โซลูชั่นคลาวด์-เนทีฟของเร้ดแฮท ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารทั่วโลก โดยเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ที่มากมายมหาศาล ให้มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การให้บริการในรูปแบบใหม่ในยุค 5G

เร้ดแฮท อิงค์ ผู้ให้บริการโซลูชั่นโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก ประกาศว่าผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSPs) ทั่วโลกเลือกเร้ดแฮทไปใช้ในการปรับปรุงระบบโครงข่ายให้ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของตลาดที่มีการแข่งขัน มีความเคลื่อนไหว และมีการเติบโตสูงอย่างไม่น่าเชื่อ การเกิดขึ้นของ 5G ทำให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารมีหน้าที่จัดหาระบบโครงข่ายที่ทันสมัยที่สามารถเชื่อมต่อองค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมทุกประเภท ตั้งแต่องค์กรด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ไปจนถึงรถยนต์อัจฉริยะและอื่น ๆ 

เทคโนโลยีโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ของเร้ดแฮทให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและความสามารถต่าง ๆ ที่ผู้ให้บริการด้านนี้จำนวนมากต้องการ เพื่อทำให้ระบบเน็ตเวิร์กเป็นเวอร์ชวลไลซ์และคอนเทนเนอร์ไรซ์ ช่วยให้สามารถให้บริการแอปพลิเคชั่นที่ทันสมัยและบริการใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น ดังตัวอย่างการนำไปใช้ดังนี้

HKT ผู้ให้บริการและเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกแถวหน้าด้านโทรคมนาคมของฮ่องกง ตระหนักอย่างรวดเร็วว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเร่งให้การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลขององค์กรดำเนินไปเร็วขึ้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ HKT ได้ทำงานร่วมกับเร้ดแฮทเพื่อสร้างความหลากหลายและขยายบริการต่าง ๆ บน Club Shopping ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์แบบครบวงจรของบริษัทฯ ที่สร้างและทำงานอยู่บน Red Hat OpenShift อีกหนึ่งตัวอย่างคือการเปิดตัว DrGo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่นที่ให้บริการแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบ DrGo ให้บริการด้านการแพทย์ทางไกลโดยการเชื่อมต่อผู้ใช้บริการกับแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนในฮ่องกงและผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพอื่น ๆ ผ่านแอปพลิเคชั่น ทั้งนี้ด้วยความยืดหยุ่นและความเชื่อถือได้ของโซลูชั่น OpenShift ช่วยให้ HKT สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้เร็วขึ้น มีความคล่องตัวมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงสามารถนำเสนอบริการใหม่ ๆ ที่ทันสมัยให้กับลูกค้าได้

Proximus ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของเบลเยี่ยม เคยมองหาแนวทางการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น และมองหาฟังก์ชั่นโครงข่ายเสมือน (network function virtualization: NFV) เพื่อใช้ทดแทนโครงข่ายแบบเดิมที่มีค่าใช้จ่ายสูง ปัจจุบัน Proximus วางมาตรฐานกลยุทธ์ NFV ของบริษัทไว้บน Red Hat OpenStack Platform ที่ทำงานร่วมกับ Red Hat Ceph Storage ซึ่งช่วยให้ใช้งานฟังก์ชั่น บริการสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่าเงินลงทุน สามารถปรับขนาดการทำงานได้ และลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องลงได้ 20% นอกจากนี้ Proximus ยังใช้ web properties และการพัฒนาแบบคลาวด์-เนทีฟของบริษัทบน Red Hat OpenShift ช่วยให้สามารถใช้งานและเรียกใช้ไมโครเซอร์วิสบนคอนเทนเนอร์ได้ตามขนาดที่ต้องการ และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานได้ประมาณ 35,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน

Samsung หนึ่งในผู้นำด้านนวัตกรรมการสื่อสารผ่านอุปกรณ์โมบาย ได้ร่วมกับเร้ดแฮทเพิ่มทางเลือกต่าง ๆ ในการใช้งานโซลูชั่น 5G ของบริษัท โดยการนำ 5G Core และโครงข่ายอุปกรณ์สถานีฐาน (Radio Access Network: RAN) มาทำงานบน Red Hat OpenShift ทั้งนี้ Samsung ได้ทดสอบและตรวจสอบความสมบูรณ์ในการทำงานของ 5G core CNF บน Red Hat OpenShift สำหรับให้ลูกค้าร่วมของทั้งสองบริษัทได้ใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว และกำลังวางแผนทดสอบและตรวจสอบความสมบูรณ์ของการใช้ 5G vRAN ของบริษัทบน Red Hat OpenShift ต่อไป

Telecom Argentina หนึ่งในผู้ให้บริการด้านการสื่อสารและความบันเทิงระดับแนวหน้าในอาร์เจนตินา นำโซลูชั่น Kubernetes ที่เสถียรและปรับขนาดการทำงานได้มากขึ้น Red Hat OpenShift กำลังช่วยให้ Telecom Argentina ปรับปรุง Flow ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มความบันเทิงแบบดิจิทัลให้ทันสมัยขึ้น แพลตฟอร์มนี้นำเสนอเนื้อหาสด ซีรีย์ และการแสดงทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกม และเพลง แบบ on demand การใช้แพลตฟอร์มคลาวด์-เนทีฟนี้ ช่วยให้ Telecom Argentina พัฒนาแพลตฟอร์ม Flow อย่างล้ำหน้า เพื่อรองรับความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคต นอกจากนี้โมเดลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมโอเพ่นซอร์สที่แข็งแกร่ง และปลูกฝังแนวคิด DevOps ให้กับการทรานส์ฟอร์มด้านดิจิทัลและวัฒนธรรมองค์กรที่บริษัทกำลังดำเนินการอยู่

 

คำกล่าวสนับสนุน

Honoré LaBourdette, global vice president of telco, media and entertainment, Red Hat

“ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร กำลังช่วยองค์กรต่าง ๆ ด้วยการให้บริการนวัตกรรมที่ก้าวล้ำที่ใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ทำงานเพื่อช่วยให้โครงข่ายขององค์กรเหล่านี้ทันสมัยขึ้น เพื่อให้สามารถตอบรับกับตลาดที่มีการแข่งขันสูงขึ้นได้ Red Hat OpenShift ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารทั้งหลายสามารถให้ความสำคัญและเน้นไปที่การรับมือกับเรื่องใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้นที่สุดในอุตสาหกรรม เช่น เอดจ์คอมพิวติ้ง, standalone 5G core และอื่น ๆ อีกมาก” 

 

Eric Wong, senior vice president, Technical Service, Operation and Security, HKT

“ความเชื่อถือได้และความยืดหยุ่นที่เราได้รับเพิ่มขึ้นจาก Red Hat OpenShift ช่วยให้ HKT สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้เร็วขึ้น และมีความคล่องตัวมากขึ้น ในขณะเดียวกันเรายังคงสามารถให้บริการใหม่ ๆ กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง”

 

แหล่งข้อมูล

 

 ช่องทางติดต่อเร้ดแฮท

เร้ดแฮทประกาศแต่งตั้งผู้นำระดับภูมิภาค

Red Hat

เร้ดแฮทประกาศแต่งตั้งผู้นำระดับภูมิภาค

    • เร้ดแฮทแต่งตั้งคุณเดิร์ก-ปีเตอร์ แวน ลีอูเวน เป็นรองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขายเชิงพาณิชย์ประจำอเมริกาเหนือ และแต่งตั้งคุณมาร์เจ็ท แอนเดรส เป็นรองประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
    • ผู้นำทั้งสองท่านจะช่วยเร่งให้ลูกค้าและพาร์ทเนอร์ทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้เร็วขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีไฮบริดคลาวด์ต่าง ๆ

 

เร้ดแฮท อิงค์ ผู้นำระดับโลกด้านโอเพ่นซอร์สโซลูชั่น ประกาศแต่งตั้งคุณเดิร์ก-ปีเตอร์ แวน ลีอูเวน เป็นรองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายเชิงพาณิชย์ ประจำอเมริกาเหนือ และแต่งตั้งคุณมาร์เจ็ท แอนเดรส ขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแทนคุณแวน ลีอูเวน ทั้งนี้คุณมาร์เจ็ทได้เข้าร่วมงานกับเร้ดแฮทเมื่อเดือนตุลาคม 2563 ในตำแหน่งรองประธานฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

การแต่งตั้งครั้งนี้มีผลทันที โดยทั้งคุณแวน ลีอูเวน และคุณแอนเดรส จะรายงานตรงต่อคุณลาร์รี่ สแต็ก รองประธานบริหารด้านการขายและบริการระดับโลกของเร้ดแฮท

เดิร์ก-ปีเตอร์ แวน ลีอูเวน, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายเชิงพาณิชย์ ประจำอเมริกาเหนือ, เร้ดแฮท
เร้ดแฮท
มาร์เจ็ท แอนเดรส, รองประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, เร้ดแฮท

คุณแวน ลีอูเวน เข้าร่วมงานกับเร้ดแฮทในปี 2547 เขามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จและขยายธุรกิจไปสู่ระดับสากล และมีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งเร้ดแฮทในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ (เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก) รวมทั้งในยุโรปกลางและตะวันออก ในปี 2552 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำฝ่ายขาย การตลาด และการดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ฐานลูกค้าของเร้ดแฮทในภูมิภาคนี้เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายใต้การนำของคุณแวน ลีอูเวน ช่วยให้เร้ดแฮทได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ ทั้งในตลาดที่มีการซื้อขายกันเป็นประจำซึ่งธุรกิจต่าง ๆ ที่อยู่ในตลาดนี้จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของตนให้ทันสมัยขึ้น และตลาดเกิดใหม่ต่าง ๆ ที่ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนให้มีความคล่องตัว คุณแวน ลีอูเวน ในบทบาทใหม่ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจเชิงพาณิชย์ในอเมริกาเหนือของเร้ดแฮท จะนำประสบการณ์ที่เขามีต่อยอดผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น รวมถึงกิจกรรมด้านการขาย การให้คำปรึกษา และช่องทางการขายต่าง ๆ  และจะย้ายจากสิงคโปร์ไปอเมริกาเหนือในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

คุณแอนเดรส เข้าร่วมงานกับเร้ดแฮทในปี 2563 และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในฐานะผู้นำด้านการขายที่มีความใส่ใจและมากประสบการณ์ คุณแอนเดรสให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้า และการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อผลลัพธ์ในการทำงาน ด้วยประสบการณ์อันกว้างขวางในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากกว่า 25 ปี เธอมีประวัติการทำงานที่โดดเด่น และประสบความสำเร็จในการนำทีมที่มีบทบาทในทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคในองค์กรต่าง ๆ ทั่วทั้งยุโรปและเอเชีย รวมถึงการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดในภูมิภาคใหม่และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลังจากการเข้าซื้อกิจการ ก่อนร่วมงานกับเร้ดแฮทคุณแอนเดรสเป็นกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเทลสตรา (Telstra) โดยก่อนหน้านี้เธอดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำระดับสูงที่แรนสตัด (Ranstad) บทบาทของเธอในตำแหน่งใหม่นี้ เธอจะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันและต่อยอดการเติบโตของเร้ดแฮทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในระยะต่อ ๆ ไป และริเริ่มแนวทางต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จด้วยการใช้เทคโนโลยีโอเพ่นไฮบริดคลาวด์

คำกล่าวสนับสนุน

ความเป็นผู้นำและแนวคิดเชิงกลยุทธ์ของคุณแวน ลีอูเวน ได้กระตุ้นการเติบโตของเราในเอเชียแปซิฟิก และช่วยเปลี่ยนเร้ดแฮทให้เป็นองค์กรระดับโลกที่แท้จริง เขาจะนำความชื่นชอบแบบเดียวกับความหลงใหลด้านโอเพ่นซอร์สและการทำงานแบบเปิดนี้มาใช้กับงานในบทบาทใหม่ของเขาในอเมริกาเหนือ และจะยังคงช่วยลูกค้าของเราแก้ไขความท้าทายด้านไอทีต่าง ๆ สำหรับคุณมาร์เจ็ทซึ่งมีความสามารถอันเป็นที่ยอมรับอย่างเท่าเทียมกันทั้งสองด้านคือด้านการเป็นผู้นำด้านการขาย และ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ทำให้เธอเป็นบุคคลที่เหมาะสมกับการได้รับเลือกให้มาดำรงตำแหน่งแทนคุณแวน ลีอูเวน การประกาศแต่งตั้งครั้งนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของเร้ดแฮท และเรามีผู้นำที่เหมาะสมที่จะทำงานเพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราประสบความสำเร็จ
ลาร์รี่ สแต็ก
รองประธานบริหารฝ่ายขายและบริการระดับโลก, เร้ดแฮท
“ผมภูมิใจที่ได้เห็นว่าเร้ดแฮทในเอเชียแปซิฟิกเติบโตเพียงใดในระหว่างที่ผมดำรงตำแหน่งอยู่ และผมยังคงมองเห็นโอกาสเติบโตเช่นนี้อยู่ต่อหน้าเรา การทำงานร่วมกัน ทำให้เราได้พบเป้าหมายร่วมกัน และเรากำลังช่วยให้ลูกค้าของเร้ดแฮทใช้และจัดการกับลักษณะโดยรวมของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับหน้าที่ใหม่นี้ และได้ร่วมทำงานกับทีมอเมริกาเหนือในขณะที่ลูกค้าของเราให้การตอบรับและนำเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สไปใช้ขับเคลื่อนนวัตกรรม”
เดิร์ก-ปีเตอร์ แวน ลีอูเวน
รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขายเชิงพาณิชย์ประจำอเมริกาเหนือ, เร้ดแฮท
“ตั้งแต่เข้าร่วมงานกับเร้ดแฮท ดิฉันประทับใจที่ชาวเร้ดแฮทแสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทในทุก ๆ วัน และความมุ่งมั่นในการให้บริการลูกค้า เราได้แสดงพลังของโอเพ่นซอร์สในการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านซอฟต์แวร์ และลูกค้าก็ไว้วางใจให้เราแนะแนวทางในการใช้กลยุทธ์โอเพ่นไฮบริดคลาวด์ ดิฉันยินดีที่ได้รับตำแหน่งนี้และพร้อมที่จะนำทีมเดินหน้าเพื่อมุ่งนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าในทุกอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง”
มาร์เจ็ท แอนเดรส
รองประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, เร้ดแฮท

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเร้ดแฮท