พลิกโฉม 360 องศาประสบการณ์ความตื่นเต้นเร้าใจของการดูกีฬาไปกับเทคโนโลยี 5G

Ericsson_อีริคสัน

พลิกโฉม 360 องศาประสบการณ์ความตื่นเต้นเร้าใจของการดูกีฬาไปกับเทคโนโลยี 5G

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียวนับว่าเป็นมหกรรมกีฬาของมวลมนุษยชาติที่ค่อนข้างแปลกกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ช่างเป็นการแข่งขันกีฬาที่เงียบเหงา เพราะคณะผู้จัดงานไม่ได้เปิดให้สาธารณะชนเข้าร่วมชมเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ซึ่งน่าจะอยู่กับพวกเราไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง

เทคโนโลยี 5G จะนำความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลมายังทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้งวงการกีฬา เพราะเทคโนโลยี 5G สามารถรองรับการใช้งาน Digital Application, Video on Demand และ Immersive User Experience (ประสบการณ์การรับชมที่เสมือนจริงและล้ำลึก) เรากำลังก้าวเข้าสู่โลกของการดูกีฬาที่ใกล้ชิด พร้อมพรั่งด้วยข้อมูลเชิงลึกเพียงปลายนิ้วสัมผัส และ Interactive สุด ๆ ไม่ว่าแฟนกีฬาเหล่านั้นจะเข้าชมที่สนามหรือดูจากที่บ้าน

มีการคาดการณ์ว่าผู้บริโภคไม่น้อยกว่า 300 ล้านคนทั่วโลกจะปรับเปลี่ยนเข้าใช้งานเทคโนโลยี 5G ภายในปี 2564 นี้ โดยในรายงาน ConsumerLab ที่จัดทำขี้นโดยบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีสื่อสารอย่างอีริคสันได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคว่า ผู้ใช้งานเทคโนโลยี 5G จะใช้เวลาเพิ่มเติมอีก 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการรับชมวิดีโอความคมชัดระดับ HD ผ่านมือถือ และอีก 1 ชั่วโมงเพิ่มขึ้นเพื่อใช้งานเทคโนโลยีความจริงเสมือน (AR-Augmented Reality) เมื่อเทียบกับยุค 4G

ด้วยเทคโนโลยี 5G ที่นั่งที่ดีที่สุดในการดูกีฬาอยู่ในบ้านของคุณนั่นเอง อีริคสันเผยแพร่ผ่าน 5G in Sports Blog ว่า สิ่งที่ 5G จะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การจัดงานอีเว้นต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการแข่งขันกีฬา และจะเป็นช่องทางการหารายได้ใหม่ ๆ ของค่ายมือถือนั่นคือ 5G จะเสริมประสบการณ์การดูกีฬาของผู้บริโภคทั้งจากสนามแข่งขันที่ผู้ชมจะสามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันและนักกีฬาแบบเรียลไทม์ และนำผู้ชมทางบ้านเข้าใกล้แบบเกาะสนามแข่งขัน อีกทั้งยังสามารถบูรณาการประสบการณ์การรับชมแบบองค์รวมทั้งก่อนและหลังการแข่งขัน

ชาติที่ตื่นตัวที่สุดในการนำเอาเทคโนโลยี 5G มาเสริมประสบการณ์การชมกีฬาคือ การ์ต้า เจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 2022 Ooredoo ผู้นำค่ายมือถือในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจับมือกับอีริคสัน เพื่อนำเอาขีดความสามารถของเทคโนโลยี 5G มาเพื่อสร้างให้ฟุตบอลโลกที่จะจัดขึ้นมีความยิ่งใหญ่ที่สุด โดยการ์ต้าไม่เพียงแต่การทุ่มเงินมหาศาลถึงกว่าสองแสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในการสร้างสนามแข่งขันใหม่ถึง 8 สนาม Ooredoo ยังได้เตรียมความพร้อมด้านการถ่ายทอดการแข่งขัน โดยได้พัฒนาเครือข่าย 5G ให้ครอบคลุมสนามหลัก ๆ เช่น สนาม Al Wakrah สนาม Al Janoub รวมทั้งสนามกีฬาเสมือนจริงในศูนย์การค้าชั้นนำอย่าง Mall of Qatar

การ์ต้าเอาจริงเอาจังมากกับการเตรียมความพร้อม ด้วยการทดลองระบบกับการแข่งขันฟุตบอลลีกในประเทศอย่าง Amir Cup 2021 ซึ่งผู้ชมในสนามจริงและแบบเสมือนจริงสามารถรับชมการแข่งขันได้อย่างใกล้ชิดและมีอารมณ์ร่วมไปกับการแข่งขัน (Immersive Experience) ด้วยเทคโนโลยี 5G ที่พีคสุดของการดูกีฬาแบบเสมือนจริงของการ์ต้าคือผู้ชมสามารถเลือกจุดการรับชมได้อย่างอิสระและไม่จำกัดระหว่างการชมการแข่งขัน กล่าวคือสามารถเป็นผู้กำกับภาพได้ด้วยตัวเอง

อีกความน่าสนใจของการนำเอาเทคโนโลยี 5G มาใช้เพื่อชมการแข่งขันกีฬาในแบบ Immersive การแข่งขันฟุตบอลบุนเดสลีกาในปี 2020 ของเยอรมันนี ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือของ Vodafone, Sky Sport Channel และอีริคสัน ในการร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ของผู้ชมในสนาม Merkul Spiel ในเมือง Düsseldorf แน่นอนว่าสิ่งที่เพิ่มเติมสำหรับผู้ชมในสนามคือ เสียงบรรยายและการวิเคราะห์การแข่งขัน ที่ให้ผู้ชมในสนามสามารถเลือกที่จะฟังได้

ยิ่งไปกว่านั้น AR Technology ยังสามารถช่วยให้ผู้ชมในสนามเข้าถึงข้อมูลการแข่งขันและนักกีฬาได้แบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นสถิติการครองบอล ความเร็วในการวิ่งและข้อมูลรอบด้านของนักฟุตบอล การชมวิดีโอย้อนหลังทั้งแบบปกติและ Slow Motion เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผลการตัดสิน และเลือกฟังเสียงการสนทนาในสนามระหว่างผู้เล่น กรรมการ และผู้จัดการทีม ซึ่งเติมเต็มประสบการณ์การชม ณ สนามแข่งได้อย่างสมบูรณ์แบบ

เทคโนโลยี 5G จะนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจมาสู่ค่ายมือถือ ผู้จัดการแข่งขันกีฬา ผู้พัฒนานวัตกรรมและโซลูชั่นต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการสร้าง Immersive Experience ให้กับผู้ชม มีประมาณการว่าผู้ชมกีฬากว่า 160 ล้านคนต่อเดือนในสหรัฐอเมริกาจะใช้งาน 5G for Immersive Experience ในปี 2567  โดย 1 ใน 4 จะเป็นการใช้งาน AR rendering service ทั้งจากในสนามแข่งขันและจากทางบ้าน และจะก่อให้เกิดรายได้ใหม่จาก 5G for immersive experience กว่า 4 พันล้านเหรียญต่อปี

อีริคสัน คาดว่ายอดผู้ใช้งาน 5G ทั่วโลกจะพุ่งขึ้นเกินกว่า 580 ล้านรายภายในสิ้นปี 2564 โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ล้านรายต่อวัน จากรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับที่ 20 ตอกย้ำให้เห็นว่า 5G จะกลายเป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการใช้เร็วที่สุด โดยภายในสิ้นปี 2569 จะมีผู้ใช้ 5G แตะระดับ 3.5 พันล้านราย และจะครอบคลุมถึง 60% ของประชากร 5G ทั้งหมด

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 1.1 พันล้านราย ในขณะที่ยอดผู้ใช้งาน 5G ยังต่ำกว่าระดับ 2 ล้านราย อย่างไรก็ตามคาดว่าการสมัครใช้ 5G จะเติบโตอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยจะมียอดรวมพุ่งขึ้นถึง 400 ล้านราย ภายในปี 2569

คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับทั่วโลกโดยจะแตะ 39 กิกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2569 – โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 36% ต่อปี ในขณะที่ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เฉลี่ยเติบโตต่อปีที่ 42% เพิ่มขึ้นถึง 39 เอกซะไบต์ (EB) ต่อเดือน อันเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้สมัครใช้ 4G และการเปลี่ยนมาใช้เครือข่าย 5G ในประเทศที่มีการเปิดตัว 5G แล้ว

อีริคสันเผยยอดผู้ใช้งาน 5G ทั่วโลกจะทะลุ 500 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้

Ericsson_อีริคสัน

อีริคสันเผยยอดผู้ใช้งาน 5G ทั่วโลกจะทะลุ 500 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้

    • ในไตรมาสแรกปี 2564 พบมีผู้ใช้งาน 5G บนอุปกรณ์ที่รองรับเครือข่าย 5G เพิ่มขึ้นถึง 70 ล้านราย และคาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นถึง 580 ล้านรายภายในสิ้นปี
    • ภายในปี 2569 ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเติบโตรวดเร็วสุดเมื่อเทียบกับทั่วโลก และจะมีผู้ใช้งาน 5G แตะ 400 ล้านราย
    • อีริคสันสนับสนุนประเทศไทยขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบนิเวศเครือข่ายไร้สาย (Wireless Ecosystem) เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม 0 ในฐานะพันธมิตรเครือข่าย 5G ที่ได้รับความไว้วางใจจากทั่วโลก
Ericsson_EMR ConsumerLab

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) คาดว่ายอดผู้สมัครใช้ 5G จะพุ่งขึ้นเกินกว่า 580 ล้านรายภายในสิ้นปี 2564 โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ล้านรายต่อวัน

จากการคาดการณ์ตามรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับที่ 20 ตอกย้ำให้เห็นว่า 5G จะกลายเป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการใช้เร็วที่สุดตลอดกาล โดยภายในสิ้นปี 2569 จะมีผู้ใช้ 5G แตะระดับ 3.5 พันล้านราย และจะครอบคลุมถึง 60% ของประชากร 5G ทั้งหมด

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 1.1 พันล้านราย ในขณะที่ยอดผู้ใช้งาน 5G ยังต่ำกว่าระดับ 2 ล้านราย อย่างไรก็ตามคาดว่าการสมัครใช้ 5G จะเติบโตอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยจะมียอดรวมพุ่งขึ้นถึง 400 ล้านราย ภายในปี 2569

คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับทั่วโลกแตะ 39 กิกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2569 – โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 36% ต่อปี ในขณะที่ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เฉลี่ยเติบโตต่อปีที่ 42% เพิ่มขึ้นถึง 39 เอกซะไบต์ (EB) ต่อเดือน อันเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้สมัครใช้ 4G และการเปลี่ยนมาใช้เครือข่าย 5G ในประเทศที่มีการเปิดตัว 5G แล้ว

นางนาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะผู้บุกเบิกเปิดตัวบริการ 5G เชิงพาณิชย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะพัฒนาระบบนิเวศไร้สายสำหรับ Industry 4.0 ที่มีศักยภาพของประเทศ เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานมือถือของผู้บริโภคและสนับสนุนการเปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมไปสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เช่น ภาคการผลิต พลังงาน และการดูแลสุขภาพ อีริคสันดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาถึง 115 ปีแล้ว และเราทำหน้าที่พันธมิตร 5G ระดับโลกที่ได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวาง เพื่อสนับสนุนประเทศไทยให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์นั้นอย่างเป็นรูปธรรม”

ตามรายงาน ความเร็วของการนำเครือข่าย 5G ไปใช้จะแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปเริ่มช้ากว่าและตามหลังตลาดจีน สหรัฐอเมริกา เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางอยู่มาก

คาดว่าการสมัครใช้ 5G จะพุ่งเกินหนึ่งพันล้านรายเร็วกว่าไทม์ไลน์ของ 4G LTE ถึงสองปี โดยมีปัจจัยเบื้องหลังสำคัญ ได้แก่ ความมุ่งมั่นในการพัฒนา 5G ของจีน ตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ และความพร้อมใช้งานที่มาเร็วขึ้นประกอบกับการวางจำหน่ายของอุปกรณ์ดีไวซ์ที่รองรับ 5G เพิ่มขึ้น ซึ่ง ณ เวลานี้มีการเปิดตัวหรือวางจำหน่ายสมาร์ทโฟนที่รองรับเครือข่าย 5G มากกว่า 300 รุ่นแล้ว

ความเคลื่อนไหวของ 5G เชิงพาณิชย์นี้คาดว่าจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป โดยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในด้านการเชื่อมต่อ และยังเป็นองค์ประกอบสำคัญพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

คาดว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือจะมีสัดส่วนผู้สมัครใช้ 5G มากที่สุด ถึงประมาณ 1.4 พันล้านรายภายในปี 2569 ในขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือและกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับคาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้ 5G สูงสุดที่ 84% และ 73% ตามลำดับ

นาดีน อัลเลน

5G เปลี่ยนพฤติกรรมผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทยแล้ว

จากรายงาน Five Ways to a Better 5G พบว่า ในปี 2030 ตลาด 5G สำหรับผู้บริโภคทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 31 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการให้บริการ 5G ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) จะมีมูลค่ารวมสูงถึง 3.7 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

ตามรายงาน Ericsson ConsumerLab ฉบับล่าสุด ตอกย้ำให้เห็นความตั้งใจของผู้บริโภคที่ต้องการอัปเกรดเป็น 5G ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแม้จะมีการระบาดของ Covid-19  สำหรับประเทศไทยในปีนี้มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 5 ล้านรายสามารถใช้ 5G ได้แล้ว นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีพฤติกรรมใหม่ ๆ จากการใช้ 5G ของผู้ใช้กลุ่มแรก ๆ โดยพวกเขาใช้เวลามากกว่า 1.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ไปกับแอป AR และเล่นเกมบนคลาวด์ ซึ่งมากกว่าผู้ใช้ 4G ประมาณ 1 ชั่วโมง ขณะที่ 57% ของผู้ใช้ 5G เริ่มสตรีมวิดีโอ HD หรือมีการใช้งานมากขึ้น โดย 14% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้ Wi-Fi น้อยลงหลังอัปเกรดเป็น 5G

ผู้ใช้งาน 5G ที่เป็นกลุ่มแรก ๆ ในประเทศไทยพึงพอใจกับความเร็วของ 5G แต่ก็คาดหวังให้มีนวัตกรรมมากขึ้นเช่นกัน ผู้บริโภคระบุว่าพวกเขายินดีจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้น 50% สำหรับใช้แพ็กเกจ 5G ที่รวมบริการดิจิทัลที่มีบทบาทสูงสำหรับธุรกิจเชิงพาณิชย์ สำหรับบริการอื่น ๆ เช่น ทีวี 5G ที่มาพร้อมกับบรอดแบนด์ 5G ระบบ Fixed Wireless Network (FWA) คลาวด์ความเร็วสูง เพลงคุณภาพสูงระดับ Hi-Fi เทคโนโลยี AR ที่สามารถโต้ตอบได้  ประสบการณ์ทั้งในสถานที่จริงและประสบการณ์เสมือนจริงสำหรับการแข่งขันกีฬาและมหกรรมคอนเสิร์ตผ่านทางไกลมีแนวโน้มให้ผู้บริโภคอัปเกรดเป็นแพ็กเกจระดับพรีเมียม 5G ซึ่งการเพิ่มรายได้ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะมาจากการรับรู้และจัดการกับความท้าทายของความพร้อมใช้งาน 5G รวมถึงแผนและบริการใหม่ ๆ ที่ทำให้เห็นคุณค่าของ 5G

อีริคสัน 5G