PropertyGuru appoints Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer

PropertyGuru appoints Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer

PropertyGuru appoints Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer

Marketing and programs to play key role in delivering Group Vision

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or “the Group”), Southeast Asia’s leading[1], property technology (“PropTech”) company today announced the appointment of Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer (CMO). As CMO, Disha will oversee the Group’s Brand strategy, corporate communications function, as well as the Environmental, Social, and Governance (ESG) mandate. Disha is part of PropertyGuru’s Group Leadership Team and will report to CEO and Managing Director, Hari V. Krishnan.

Disha is a seasoned executive having led strategic marketing and communications teams and cross-functional work streams for some of the most well-known tech companies in the world, working extensively across 30+ markets in Asia, Europe, Latin America & the Americas. Most recently, Disha served as the Senior Global Director of Marketing at Twitter where she led global strategy and built Twitter’s business brand globally. Previously, Disha spent a decade at Google where in her last role she was Head of Ad Product Commercialisation for Asia Pacific.

Disha’s appointment follows the Group’s announcement of its brand repositioning that places guidance at its core– ‘Where every step of your journey will be guided by Guru’. With over 17 years of deep brand experience and expertise in marketing, Disha will help accelerate the Group’s growth trajectory across the five markets – Singapore, Malaysia, Vietnam, Thailand and Indonesia, – as it creates Southeast Asia’s Trust Platform for property. Disha will also build the ESG mandate for the Group and focus on creation of long-term financial and social value for stakeholders by integrating material ESG issues into company strategy. 

She will lead the Brand, Communications, ESG teams, and spearhead experiences across all offline and digital channels by taking forward the new brand positioning that reflects a strategic evolution in the Group’s growth to move beyond property search to offering end-to-end property solutions for consumers, agents, developers, bankers, valuers and city planners. 

[1] In terms of Engagement Market Share based on SimilarWeb data.

Hari V. Krishnan

Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, PropertyGuru Group, said, “We are excited to have Disha join the team as our Chief Marketing Officer. She brings a strong skill set in technology marketing which is critical as we fuel PropertyGuru’s growth and guide all in the property sector to make confident decisions. Disha’s rich experience will aid the Group in our ambition to be a trusted advisor as we help people find, finance, and own their homes.”

Disha Goenka Das, Chief Marketing Officer, PropertyGuru Group, said, “I am thrilled to join PropertyGuru Group at such an exciting and defining juncture in the company’s journey. Their vision and latest brand positioning, which seeks to be a trusted advisor that guides every step of the property journey deeply resonates with me. My role is an exciting opportunity to contribute and make an impact on the Group’s role in the Southeast Asia property industry and I look forward to bringing my experience in tech and marketing to help offer solutions that continue to better all our stakeholder experiences.”

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “ดิฌา โกเองกา ดาส” อดีตผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก นั่งแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดคนใหม่

PropertyGuru appoints Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “ดิฌา โกเองกา ดาส” อดีตผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก นั่งแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดคนใหม่

การตลาดและโปรแกรมต่าง ๆ จะเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของกรุ๊ป

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ[1] (Prop Tech) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กภายใต้ชื่อ PGRU (NYSE: PGRU) (โดยต่อจากนี้จะเรียกว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “กรุ๊ป”) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่งในประเทศไทยอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และเว็บไซต์รีวิวอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศอย่าง thinkofliving.com ได้ประกาศแต่งตั้งนางดิฌา โกเองกา ดาส (Disha Goenka Das) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด (CMO) โดยจะดูแลรับผิดชอบภาพรวมและทีมทำงานด้านกลยุทธ์เกี่ยวกับแบรนด์, ด้านการสื่อสารองค์กร รวมไปถึงด้านที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เธอจะเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารของพร็อพเพอร์ตี้กูรูกรุ๊ป และรายงานตรงต่อนายแฮรี วี คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการของกรุ๊ป

นางดิฌามาพร้อมกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่แข็งแกร่งด้านแบรนด์และการตลาด รวมไปถึงการทำงานร่วมกับทีมต่าง ๆ ให้กับบริษัทเทคโนโลยีชื่อดังระดับโลกหลายแห่งด้วยกัน เธอเคยทำงานในกว่า 30 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป อเมริกาใต้ และอเมริกา โดยล่าสุดเธอดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการตลาดนานาชาติให้กับทวิตเตอร์ (Twitter) นำทีมพัฒนาโปรแกรมกลยุทธ์การตลาดระดับโลก และสร้างแบรนด์ทวิตเตอร์ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ก่อนหน้านี้ นางดิฌาเคยร่วมงานกับกูเกิล (Google) ในตำแหน่งหัวหน้าทีมธุรกิจการโฆษณาเชิงพาณิชย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นเวลาถึง 10 ปีด้วยกัน  

ก่อนการประกาศแต่งตั้งนางดิฌาขึ้นเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดในครั้งนี้ กรุ๊ปได้ประกาศจุดยืนใหม่ของแบรนด์ โดยยึดการให้คำแนะนำเป็นหัวใจหลักของเรา “ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงจุดไหนบนเส้นทางของการซื้อ-ขาย-เช่า-หรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เราพร้อมให้คำแนะนำในฐานะกูรู” ด้วยประสบการณ์ด้านแบรนด์และความเชี่ยวชาญด้านการตลาดที่แข็งแกร่งกว่า 17 ปี นางดิฌาจะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเร่งการเติบโตของกรุ๊ปแบบก้าวกระโดดในทั้ง 5 ตลาดหลักในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ไทย และอินโดนีเซีย และเป็นส่วนที่ขับเคลื่อนการสร้างแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ นางดิฌาจะสร้างและดูแลรับผิดชอบทีม ESG ให้กับกรุ๊ปด้วย โดยจะโฟกัสไปที่การสร้างคุณค่าที่มีผลระยะยาวทั้งทางด้านการเงิน และสังคมให้กับผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน โดยจะผสานนโยบายด้าน ESG เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของบริษัทด้วยเช่นกัน 

นอกจากนี้ นางดิฌาจะนำทีมแบรนด์ ทีมการสื่อสาร และทีม ESG โดยนำประสบการณ์ที่มีมาช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตั้งแต่ออฟไลน์ไปจนถึงช่องทางดิจิทัลเพื่อเน้นย้ำจุดยืนใหม่ของกรุ๊ปให้สะท้อนในทุก ๆ กลยุทธ์การเติบโตของกรุ๊ปที่เป็นมากกว่าแพลตฟอร์มเพื่อการค้นหาอสังหาฯ แต่สามารถให้บริการโปรดักส์และโซลูชั่นแบบครบวงจรให้กับผู้ที่กำลังค้นหาบ้าน, เอเจนต์, ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์, ธนาคารและสถาบันการเงิน, นักประเมินค่าทรัพย์สิน ไปจนถึงนักวางผังเมือง  

[1] ในส่วนของส่วนแบ่งการมีส่วนร่วมทางการตลาด (Engagement Market Share) อ้างอิงแหล่งข้อมูลจาก SimilarWeb

Hari V. Krishnan

ด้านนายแฮรี วี คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า “เราตื่นเต้นมากที่ได้คุณดิฌามาร่วมทีมในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดของเรา เธอมาพร้อมกับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่แข็งแกร่งในด้านเทคโนโลยีการตลาด ซึ่งจะเป็นพลังขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญของกรุ๊ป อีกทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจอย่างมั่นใจในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยประสบการณ์ของคุณดิฌา ผมมั่นใจว่าเธอจะช่วยขับเคลื่อนให้กรุ๊ปของเราเดินหน้าสู่วิสัยทัศน์ที่เราตั้งไว้คือ การเป็นผู้ให้คำแนะนำที่ได้รับความไว้วางใจ ที่ช่วยให้ผู้คนค้นหาบ้านที่ใช่ ได้รับสินเชื่อที่เหมาะกับตนเอง และเป็นเจ้าของบ้านที่ชอบได้ในที่สุด”  

ในขณะที่นางดิฌา โกเองกา ดาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า “ดิฉันก็ตื่นเต้นไม่แพ้กันที่ได้มีโอกาสมาร่วมทีมกับพร็อพเพอร์ตี้กูรูในช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น และถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของกรุ๊ปในขณะนี้ ดิฉันชื่นชมวิสัยทัศน์ของกรุ๊ป และจุดยืนของแบรนด์ที่ต้องการเป็นผู้คอยให้คำแนะนำให้กับทุกคนในทุกช่วงเวลาที่อยู่บนเส้นทางของการซื้อ-ขาย-เช่า-ลงทุนด้านอสังหาฯ และด้วยบทบาทที่ได้รับทำให้ดิฉันมีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์ที่สั่งสมมา รวมไปถึงการสร้างคุณประโยชน์ให้กับกรุ๊ปของเรา เพื่อมุ่งหน้าสร้างแพลตฟอร์มอสังหาฯ ที่มีความโปร่งใส ที่ทุกคนเชื่อถือได้ให้กับภูมิภาคนี้ ดิฉันหวังว่าประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี และการตลาดของดิฉันจะช่วยสร้างโซลูชั่นที่นำเสนอประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศของอุตสาหกรรมนี้ต่อไป” 

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดปี 66 ที่อยู่อาศัยแนวราบยังแรงไม่แผ่ว ราคาส่อแววเพิ่ม จับตาอสังหาฯ แนวดิ่ง หลังดีมานด์ซื้อ-เช่าคอนโดฯ โตต่อเนื่อง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดปี 66 ที่อยู่อาศัยแนวราบยังแรงไม่แผ่ว ราคาส่อแววเพิ่ม จับตาอสังหาฯ แนวดิ่ง หลังดีมานด์ซื้อ-เช่าคอนโดฯ โตต่อเนื่อง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดปี 66 ที่อยู่อาศัยแนวราบยังแรงไม่แผ่ว ราคาส่อแววเพิ่ม จับตาอสังหาฯ แนวดิ่ง หลังดีมานด์ซื้อ-เช่าคอนโดฯ โตต่อเนื่อง

หลังจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 ต้องเผชิญความท้าทายทั้งจากภาวะสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานและวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น ผนวกกับภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย สรุปภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยบ้านแนวราบยังครองความนิยม ส่งผลให้ดัชนีราคาและดัชนีค่าเช่าเติบโตต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ จากภาครัฐ รวมทั้งการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อในประเทศให้กลับมามากขึ้น 

ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปี 65 ที่อยู่อาศัยแนวราบยังแรง ราคาซื้อ-เช่าโตต่อเนื่อง

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Outlook 2566 พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ปรับเพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อน (QoQ) มาอยู่ที่ 82 จุด แต่ลดลงจากปีก่อนหน้า (YoY) อยู่ 3% และลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 (ก่อนการแพร่ระบาดฯ) ถึง 22%  

DDproperty Thailand Property Market outlook 2566
    • บ้านเดี่ยวยืนหนึ่งอสังหาฯ ประเภทเดียวที่ราคาเพิ่ม เมื่อแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า บ้านเดี่ยวมีแนวโน้มดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 6% YoY และเพิ่มขึ้นถึง 18% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ สวนทางกับทาวน์เฮ้าส์ที่ลดลง 2% YoY และลดลง 3% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ ขณะที่ดัชนีราคาคอนโดฯ ยังทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ พบว่าลดลงถึง 16%

      ส่วนทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ และพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก ได้แก่ เขตทวีวัฒนา และเขตตลิ่งชัน ที่ได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ส่งผลให้ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นถึง 16% YoY ตามมาด้วยเขตห้วยขวาง เพิ่มขึ้น 7% YoY ขณะที่เขตดินแดง, เขตหนองจอก, เขตหนองแขม และเขตพระโขนง เพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 6% YoY 
DDproperty-Thailand-Property-Market-outlook-2566
    • ค่าเช่าแนวราบโต สวนทางภาพรวมทุกประเภทลดลง 3% ตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อเช่ายังตรึงราคาเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจเช่าท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ลดลง 3% YoY และลดลงถึง 14% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ อย่างไรก็ดี จากความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของที่อยู่อาศัยแนวราบส่งผลให้ดัชนีค่าเช่าในกลุ่มนี้เติบโตตามไปด้วย โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 11% YoY และเพิ่มขึ้นถึง 41% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ ด้านทาวน์เฮ้าส์ก็เติบโตเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้น 8% YoY และเพิ่มขึ้น 11% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ สวนทางกับคอนโดฯ ที่ดัชนีราคาลดลง 1% YoY และลดลง 13% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ

      โดยค่าเช่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทำเลศักยภาพ อาทิ แนวรถไฟฟ้าที่เป็นแหล่งงาน โดยทำเลที่ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เขตสะพานสูง และเขตหลักสี่ เพิ่มขึ้นถึง 11% YoY ตามมาด้วยเขตคลองสามวา และเขตบางเขน เพิ่มขึ้น 10% YoY, เขตดอนเมือง เพิ่มขึ้น 9% YoY ส่วนเขตลาดพร้าว และเขตมีนบุรี เพิ่มขึ้น 8% YoY 

  • ดีมานด์ซื้อ-เช่าคอนโดฯ พุ่ง ปลุกตลาดอสังหาฯ แนวดิ่ง
DDproperty Thailand Property Market outlook 2566

หากโฟกัสไปที่ความต้องการซื้อพบว่าเติบโตถึง 16% YoY และเพิ่มจากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ ถึง 58% โดยความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย คอนโดฯ เพิ่มขึ้นมากที่สุด 21% YoY ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 14% YoY และบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 5% YoY 

จะเห็นได้ว่าที่อยู่อาศัยแนวราบได้รับความนิยมเนื่องจากตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุค New Normal ทำให้ความต้องการซื้อเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยบ้านเดี่ยวมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นถึง 76% และทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้น 65% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ

ความท้าทายทางเศรษฐกิจและการเงินเป็นปัจจัยผลักดันให้ตลาดเช่าได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ความต้องการเช่าคอนโดฯ เพิ่มสูงถึง 167% YoY และเพิ่มขึ้นถึง 272% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ เนื่องด้วยคอนโดฯ สามารถโยกย้ายทำเลได้ง่าย จึงตอบโจทย์การใช้ชีวิตของวัยทำงานและวัยเรียนในเมืองหลวงมากกว่า รองลงมาคือบ้านเดี่ยว เพิ่มขึ้น 12% YoY เพิ่มขึ้น 67% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่ความต้องการเช่าลดลง 6% YoY แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ พบว่าความต้องการเช่ายังเพิ่มขึ้นถึง 51% 

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study พบว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (57%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยภายใน 1 ปีข้างหน้านี้ ส่วน 7% ยังคงเลือกเช่าที่อยู่อาศัยต่อไป ขณะที่กว่า 1 ใน 3 (35%) ยังไม่มีแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใด ๆ 

เมื่อพิจารณาข้อมูลในฝั่งผู้เช่าพบว่ามีเพียง 1 ใน 3 (33%) ที่มีแผนจะเช่าต่ออีก 2 ปีก่อนจะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง สะท้อนให้เห็นว่าแม้ผู้บริโภคจะมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมากเพียงใด แต่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเก็บออมและเตรียมความพร้อมทางการเงินพอสมควร ก่อนตัดสินใจเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยใด ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความท้าทายเช่นนี้ 

ความท้าทายที่น่าจับตามอง ตลาดอสังหาฯ ปี 66 พร้อมฟื้นจริงหรือไม่? 

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Outlook 2566 รวบรวมข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในหลายแง่มุมจากข้อมูลบนเว็บไซต์ DDproperty.com เผยคาดการณ์ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2566 ถือเป็นปีแห่งการฟื้นตัว หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณบวกต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 โดยมีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับปัจจัยบวกจากภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องที่กลับมาคึกคักอีกครั้งหลังมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดว่าจะมีจำนวนอุปทานใหม่ ๆ เข้ามาสู่ตลาดมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2566 โดยเฉพาะสินค้าประเภทแนวราบ เพื่อตอบรับกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) และมีกำลังซื้อเพียงพอ 

อย่างไรก็ดี ปี 2566 ยังถือเป็นปีที่ท้าทายสำหรับผู้ซื้อ เนื่องจากระดับราคาอสังหาฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐบางส่วนได้สิ้นสุดลงตั้งแต่ปลายปี 2565 แล้ว ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้จึงจำเป็นต้องมีความพร้อมทางการเงินและมีวินัยทางการเงินมากพอสมควร โดยมีความท้าทายที่ควรจับตามองก่อนตัดสินใจเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ดังนี้  

    • ราคาที่อยู่อาศัยปรับเพิ่มตามต้นทุนใหม่ ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวขึ้น และต้นทุนก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทั้งจากค่าวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งราคาพลังงานซึ่งเป็นทั้งต้นทุนการผลิตและต้นทุนในการขนส่ง ส่งผลให้ราคาอสังหาฯ ในปี 2566 มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากโครงการที่อยู่อาศัยที่เป็นต้นทุนเดิมได้มีการดูดซับไปแล้วบางส่วนในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในปี 2566 ส่วนใหญ่จะเป็นการคำนวณราคาจากต้นทุนใหม่ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการปรับราคาประเมินที่ดินรอบใหม่ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายในการซื้อ-ขายอสังหาฯ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดว่าราคาที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะโครงการที่เปิดใหม่ในปี 2566 มีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-10% แต่ยังไม่กระทบกับที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จพร้อมขาย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่เป็นต้นทุนเดิมของผู้ประกอบการ ขณะเดียวกันถือเป็นโอกาสของบ้านมือสองหรือผู้ที่มีบ้านในราคาต้นทุนเดิมที่อยากจะนำออกมาขายในช่วงนี้เช่นกัน 
    • การเงินต้องพร้อมรับสถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องแต่ภาวะเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังคงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปัจจุบันอยู่ที่ 1.25% ต่อปี ซึ่งส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝากปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ซื้อบ้านต้องส่งค่างวดสูงขึ้นกว่าเดิม หรือใช้เวลาในการผ่อนชำระนานมากขึ้น ผนวกกับการที่สถาบันการเงิน/ธนาคารส่งสัญญาณจะยกเลิกหรือลดจำนวนปีของอัตราดอกเบี้ยคงที่ลง ทำให้ผู้กู้ซื้อบ้านต้องพิจารณาสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ และจะต้องมีวินัยทางการเงินมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก นอกจากนี้ คาดว่าสถาบันการเงิน/ธนาคารจะมีหลักเกณฑ์พิจารณาการอนุมัติสินเชื่อเข้มงวดมากขึ้น หรือวงเงินกู้ที่ผ่านการอนุมัติอาจได้รับลดลง แปรผันตามความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อปัจจุบัน
    • มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ดึงดูดใจไม่มากพอ มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ของภาครัฐในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ ที่ผ่านมาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการซื้อที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไม่ขยายเวลาผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan to Value: LTV) ที่ให้ผู้กู้ซื้อบ้านสัญญาแรก และราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท สามารถกู้ได้ 100% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย ซึ่งสิ้นสุดลงในช่วงสิ้นปี 2565 ประกอบกับการที่คณะรัฐมนตรีมีมติต่อมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 โดยลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% ของราคาประเมินหรือราคาขาย (มาตรการก่อนหน้าลดเหลือเพียง 0.01%) และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% จากยอดเงินกู้ สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ทำให้มาตรการสนับสนุนการซื้ออสังหาฯ ปัจจุบันอาจไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นการเติบโตของตลาดในปีนี้ เนื่องจากผู้บริโภคยังคงต้องเผชิญความท้าทายทางการเงินทั้งจากเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น มาตรการฯ ปัจจุบันจึงยังไม่ครอบคลุมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย และตอบโจทย์ของผู้บริโภคเท่าที่ควร

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ยังพบว่า 3 มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ที่ผู้บริโภคคาดหวังจากภาครัฐเพื่อช่วยสนับสนุนการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงภาวะเงินเฟ้อสูงนั้น มากกว่าครึ่ง (62%) ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเพิ่มเติม และต้องการมาตรการลดดอกเบี้ยทั้งสินเชื่อบ้านที่กู้ใหม่และที่มีอยู่เดิม (58%) ขณะที่อีก 44% คาดหวังว่าจะมีมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มคนที่ยังไม่เคยเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยมาก่อนได้มีโอกาสซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองมากขึ้น

หมายเหตุ: DDproperty Thailand Property Market Outlook เป็นรายงานภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่วิเคราะห์และคาดการณ์ทิศทางตลาดอสังหาฯ จากการรวบรวมข้อมูลดัชนีราคา (Price Index) และดัชนีความต้องการ (Demand Index) ของที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ ทั้งในตลาดซื้อ-ขาย และตลาดเช่า รวมไปถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Sentiment) ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา นำมาวิเคราะห์ต่อยอด เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้เช่าอสังหาฯ หรือนักลงทุนได้เข้าใจถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหวในตลาดอสังหาฯ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนหรือตัดสินใจซื้อ-ขาย-เช่าได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

อ่านและศึกษาข้อมูลภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2566 ฉบับเต็มได้จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Outlook 2566 

 

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลทองครองใจคนหาบ้านประจำปี 65

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลทองครองใจคนหาบ้านประจำปี 65

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลทองครองใจคนหาบ้านประจำปี 65

คอนโดฯ Affordable โดนใจผู้ซื้อชาวกรุง สวนกระแสบ้านหรูครองใจผู้ซื้อบ้านเดี่ยว 

ปี 2565 เป็นปีแห่งความหวังของภาคอสังหาริมทรัพย์ไทย แต่กลายเป็นว่าต้องเผชิญมรสุมความท้าทายทั้งจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ผนวกกับภาวะเงินเฟ้อที่ผลักดันให้ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ล้วนส่งผลให้ทิศทางการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ปีนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างที่คิดไว้ อย่างไรก็ดีมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ของภาครัฐอย่างต่อเนื่องและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan-to-Value: LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะสิ้นสุดลงในปลายปีนี้ ยังคงเป็นปัจจัยบวกที่ดึงดูดให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้มากขึ้น ข้อมูลจากผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 46.1 เป็น 47.9 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 20 เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา ถือเป็นสัญญาณบวกสะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้กลับมาแล้ว  

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ปัจจัยภายนอกที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอันดับต้น ๆ เมื่อเลือกซื้อที่อยู่อาศัยนั้น มากกว่าครึ่งต้องการโครงการที่เดินทางสะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (53%) ตามมาด้วยเลือกจากทำเลที่ตั้งของโครงการ (50%) สะท้อนให้เห็นว่าคนหาบ้านปัจจุบันยังคงให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมที่ตั้งอยู่บนทำเลที่มีศักยภาพ พร้อมรองรับการเดินทางไปทำงานและไลฟ์สไตล์ทุกด้านด้วยนั่นเอง 

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลเชิงลึกจากผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ www.ddproperty.com และแอปพลิเคชัน DDproperty ในรอบปี 2565 (เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2565) สะท้อนเทรนด์ความต้องการซื้อและเช่าที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคชาวไทยทั่วประเทศ

21-Dec_Buyer-search-from-DDproperty_resize-(1)

โดย 10 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2565 ได้แก่ 

    • อันดับ 1 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
    • อันดับ 2 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
    • อันดับ 3 แขวงบางนา เขตบางนา
    • อันดับ 4 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา 
    • อันดับ 5 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
    • อันดับ 6 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
    • อันดับ 7 แขวงจอมพล เขตจตุจักร
    • อันดับ 8 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
    • อันดับ 9 แขวงดินแดง เขตดินแดง
    • อันดับ 10 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุด เมื่อแบ่งตามประเภทของอสังหาฯ แล้วพบว่า 

    • ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อคอนโดฯ สูงสุดในรอบปี 2565 ได้แก่ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา
    • ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวสูงสุดในรอบปี 2565 ได้แก่ แขวงประเวศ เขตประเวศ
    • ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อทาวน์เฮ้าส์สูงสุดในรอบปี 2565 ได้แก่ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน

“บางจาก” ทำเลศักยภาพมาแรง ผู้เช่าค้นหามากที่สุดแห่งปี

ท่ามกลางความท้าทายทางการเงินจากสภาพเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาเลือกเช่าแทนการซื้อที่อยู่อาศัย เนื่องจากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและสะดวกในการโยกย้ายถิ่นฐานมากกว่า ข้อมูลจากจำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ ให้เช่า บนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า ในปี 2565 นี้ “บางจาก” เป็นทำเลที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุด ด้วยความโดดเด่นจากการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยยอดนิยมของวัยทำงานทั้งชาวไทยและต่างชาติ อยู่ใกล้ใจกลางเมือง รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และมีรถไฟฟ้าผ่าน ส่งผลให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีคอนโดฯ ที่มีราคาเอื้อมถึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

โดย 10 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในรอบปี 2565 ได้แก่ 

    • อันดับ 1 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
    • อันดับ 2 แขวงบางนา เขตบางนา
    • อันดับ 3 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา 
    • อันดับ 4 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
    • อันดับ 5 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย
    • อันดับ 6 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
    • อันดับ 7 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
    • อันดับ 8 แขวงดินแดง เขตดินแดง
    • อันดับ 9 แขวงจอมพล เขตจตุจักร
    • อันดับ 10 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ

ขณะที่ทำเลที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในรอบปี เมื่อแบ่งตามประเภทของอสังหาฯ พบว่า “สวนหลวง” ครองอันดับ 1 ของการค้นหาที่อยู่อาศัยแนวราบเพื่อเช่า เนื่องจากเป็นย่านที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงระดับบนที่สามารถเดินทางได้สะดวก 

    • ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจเช่าคอนโดฯ สูงสุดในรอบปี 2565 ได้แก่ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง 
    • ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจเช่าบ้านเดี่ยวสูงสุดในรอบปี 2565 ได้แก่ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
    • ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจเช่าทาวน์เฮ้าส์สูงสุดในรอบปี 2565 ได้แก่ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง

คอนโดฯ – ทาวน์เฮ้าส์ราคาจับต้องได้ตอบโจทย์ผู้ซื้อ ด้านกลุ่มรายได้สูงมองหาบ้านเดี่ยว

ขณะที่ประเภทอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ที่มีความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2565 พบว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (55%) ค้นหาคอนโดฯ มาเป็นอันดับ 1 สะท้อนให้เห็นว่า คอนโดฯ ยังคงมีดีมานด์ทั้งจากผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยหรือนักลงทุน เนื่องจากมีกลุ่มเป้าหมายในการอยู่อาศัยชัดเจน และมีจุดเด่นที่อำนวยความสะดวกให้ใช้ชีวิตในเมืองหลวงได้คล่องตัวกว่า ตามมาด้วยบ้านเดี่ยว (28%) และทาวน์เฮ้าส์ (17%) โดยระดับราคาที่อยู่อาศัยที่ชาวกรุงสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2565 เมื่อแบ่งตามประเภทอสังหาฯ พบว่า

    • ระดับราคาคอนโดฯ ที่มีการค้นหามากที่สุดในรอบปี ได้แก่ ระดับราคา 1-3 ล้านบาท มีการค้นหามากถึง 42% สะท้อนให้เห็นดีมานด์ของกลุ่มลูกค้าในตลาดกลาง-ล่างที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในราคาจับต้องได้ (Affordable price) หรือซื้อที่อยู่อาศัยเป็นครั้งแรก จึงเลือกที่เหมาะสมกับกำลังซื้อ และคุ้มค่าเมื่อพิจารณาจากปัจจัยบวกที่ได้จากมาตรการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์-ค่าจดจำนอง เหลือเพียง 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan-to-Value: LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้สามารถกู้ได้เต็ม 100% ภายในสิ้นปี 2565 นี้ ตามมาด้วยระดับราคา 5-10 ล้านบาท และ 3-5 ล้านบาท (ในสัดส่วน 18% และ 16% ตามลำดับ) 
    • สวนทางกับระดับราคาบ้านเดี่ยวที่มีความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี ได้แก่ ระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยสัดส่วน 36% ตามมาด้วยระดับราคา 5-10 ล้านบาท (30%) และระดับราคา 3-5 ล้านบาท (20%) สะท้อนให้เห็นถึงดีมานด์ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงและมีเงินเก็บเพียงพอ ที่สนใจเป็นเจ้าของบ้านหรู (Luxury) โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ และผู้บริโภคที่ต้องการพื้นที่รองรับการอยู่อาศัยของสมาชิกในครอบครัว จำเป็นต้องเลือกพิจารณาบ้านเดี่ยวที่ราคาสูงขึ้น เพื่อแลกกับพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์
    • ส่วนระดับราคาของทาวน์เฮ้าส์ที่มีความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี พบว่า ผู้บริโภคเกือบครึ่ง (48%) ค้นหาทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคา 1-3 ล้านบาทมากที่สุด ตามมาด้วยระดับราคา 3-5 ล้านบาท ( 27%) และ 5-10 ล้านบาท (15%) จะเห็นว่าผู้บริโภคให้ความสนใจเลือกซื้อทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคาที่จับต้องได้ เช่นเดียวกับในกลุ่มคอนโดฯ 

คอนโดฯ – ทาวน์เฮ้าส์ต่ำ 2 หมื่น ครองใจผู้เช่า

ในฝั่งตลาดเช่าที่อยู่อาศัยพบว่า “คอนโดฯ” ยังคงครองความนิยมและเป็นประเภทอสังหาฯ สำหรับเช่าที่มีคนค้นหามากที่สุดในรอบปี 2565 ด้วยสัดส่วนถึง 86% เนื่องด้วยเป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสังคมเมือง ซึ่งมีทั้งวัยทำงานและวัยเรียนเข้ามากระจุกตัวเป็นจำนวนมาก ด้านที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์นั้นมีความสนใจเช่าในสัดส่วนเท่ากันที่ 7% เมื่อพิจารณาระดับค่าเช่าต่อเดือนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในรอบปี แบ่งตามประเภทอสังหาฯ พบว่า

    • ระดับค่าเช่าคอนโดฯ ที่มีคนค้นหามากที่สุดในรอบปี เกือบ 4 ใน 5 ของผู้เช่า (74%) สนใจค้นหาที่ระดับราคาไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการเช่าคอนโดฯ บนทำเลที่เดินทางสะดวก มีระบบความปลอดภัยที่ไว้วางใจได้ และระบบบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน 
      • อันดับ 1 ระดับค่าเช่า 10,000-20,000 บาท สัดส่วน 38% 
      • อันดับ 2 ระดับค่าเช่า ไม่เกิน 10,000 บาท สัดส่วน 36% 
      • อันดับ 3 ระดับค่าเช่า 30,000 บาทขึ้นไป สัดส่วน 15%
  • ระดับค่าเช่าบ้านเดี่ยวที่มีคนค้นหามากที่สุดในรอบปี ผู้เช่ามากกว่าครึ่ง (59%) สนใจเช่าที่ระดับราคา 30,000 บาทขึ้นไป โดยให้ความสำคัญไปที่การเช่าบ้านเดี่ยวที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตั้งอยู่ในทำเลทองที่หาซื้อบ้านใหม่ในราคาที่เหมาะสมได้ยาก มีพื้นที่เพียงพอรองรับการใช้ชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งถือว่าคุ้มค่าหากเทียบกับการมีภาระหนี้ก้อนโตในระยะยาวจากการซื้อบ้านในเวลานี้
      • อันดับ 1 ระดับค่าเช่า 30,000 บาทขึ้นไป สัดส่วน 59%
      • อันดับ 2 ระดับค่าเช่า 10,000-20,000 บาท สัดส่วน 19%
      • อันดับ 3 ระดับค่าเช่า 20,000-30,000 บาท สัดส่วน 16% 
  • ระดับค่าเช่าทาวน์เฮ้าส์ที่มีคนค้นหามากที่สุดในรอบปี ผู้เช่าส่วนใหญ่ (38%) ต้องการเช่าที่ระดับราคาไม่เกิน 20,000 บาท โดยมองว่าเป็นราคาที่สอดคล้องและสมเหตุสมผลในการเช่าทาวน์เฮ้าส์ ที่ได้พื้นที่ส่วนตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าการเช่าห้องพักหรือคอนโดฯ ซึ่งสามารถต่อยอดในการทำธุรกิจได้ด้วย       
      • อันดับ 1 ระดับค่าเช่า 10,000-20,000 บาท สัดส่วน 38%
      • อันดับ 2 ระดับค่าเช่า 30,000 บาทขึ้นไป สัดส่วน 27%
      • อันดับ 3 ระดับค่าเช่า 20,000-30,000 บาท สัดส่วน 20% 

PropertyGuru Group Launches Enterprise Brand, PropertyGuru For Business

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป” บ.แม่ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com เปิดตัวแบรนด์สำหรับลูกค้าองค์กร PropertyGuru For Business

PropertyGuru Group Launches Enterprise Brand, PropertyGuru For Business

Comprehensive suite of enterprise solutions under the brand to support real estate businesses and public sector stakeholders across Southeast Asia with enhanced data software, analytic tools and insights

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or the “Company”), Southeast Asia’s leading[1], property technology (“PropTech”) company, today launched its enterprise brand, at the annual PropertyGuru Asia Real Estate Summit, where top business leaders from the real estate industry gather to share insights and network.

Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, PropertyGuru Group said, “Today, PropertyGuru completes fifteen years of operations, and we mark it with the launch of our enterprise solutions brand ‘PropertyGuru For Business’, that aims to guide enterprise clients such as property developers, agencies, banks, valuers, city planners and policy makers. It is our ambition to bring transparency within the real estate journey and create a trust platform for home seekers and our business partners. By harnessing the integrated power of our proprietary data, technology and people, we hope to empower our business partners and customers to make better informed decisions.

At an enterprise or a city level, these decisions can impact thousands, or even millions of people, and PropertyGuru For Business is here to guide our clients to maximise growth opportunities, while reducing risk and uncertainty. We believe PropertyGuru for Business is a timely launch as we hope to equip our enterprise clients with the right data, tools and information to be able to navigate the uncertain economic conditions that lie ahead and be better prepared to serve their customers.”

PropertyGuru For Business includes a unified service and proprietary solutions such as DataSense, ValueNet, FastKey, event solutions as well as marketing-as-a-service (MaaS).

Hari also announced that PropertyGuru For Business market insights and intelligence platform DataSense (formerly known as Vantage+) will introduce a new suite of features and solutions catering to property developers to leverage analytics as a tool to improve their business. DataSense is currently available in Malaysia and will soon be introduced in our other markets – Singapore, Vietnam, Thailand and Indonesia.

PropertyGuru For Business’s debut at the event came at the right time as the property industry in Southeast Asia is undergoing a technology renaissance, with more enterprises and organisations looking towards digitalisation, making it an integral part of their operations transformation.

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป” บ.แม่ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com เปิดตัวแบรนด์สำหรับลูกค้าองค์กร PropertyGuru For Business

Shyn  Yee  Ho-Strangas,  Managing  Director for  Data  and  Software Solutions (DSS), PropertyGuru Group said, “Recognising that countries have different approaches to land and  property ownership, transaction  and  management  processes,  PropertyGuru For Business will be working with property stakeholders to improve systems in markets where it operates by championing and enabling digitalisation so that all property stakeholders can leverage deeper insights to make more confident decisions in a more transparent property ecosystem.

Most Southeast Asian countries still have legacy systems and processes that are not digitally shared  and  are difficult  to  update, optimise and customise. However, for organisations or enterprises that are ready to harness the power of digital transformation, PropertyGuru For Business’s suite of products and solutions will have an answer for a broad range of clients seeking to leverage reliable data platforms and intelligent software to boost their competitiveness. Data and insights in property is not useful only for developers or aspiring developers – digitalisation benefits practically everyone in the orbit of the property sector such as banking, construction, and those offering professional services to the real estate industry.

It is our endeavour to support sustainability, innovation, and technology efforts throughout the region.”

Responding to the changing needs of the real estate industry, Jeremy Williams, Managing Director of Marketplaces, PropertyGuru Group, said, “Southeast Asia is witnessing a surge in demand for digitisation and Big Data, coupled with the ability to provide more personalised customer experiences. Consolidating our offerings and solutions into our single unified brand will enable us to better serve our clients, but more importantly, the people who rely on property data to make critical life decisions.”

Jeremy concluded by saying, “PropertyGuru For Business will go beyond merely helping property stakeholders tap into millions of real estate listings, as it will be able to provide additional insights not available on other platforms to help clients see the larger picture.”

(From left to right) Dr. Nai Jia Lee, Head of Real Estate Intelligence, Digital and Software Solutions, PropertyGuru Group, Jeremy Williams, Managing Director, Marketplaces, PropertyGuru Group, Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, PropertyGuru Group, Shyn Yee Ho-Strangas, Managing Director, Data and Software Solutions (DSS), PropertyGuru Group, Manav Kamboj, Chief Technology Officer, PropertyGuru Group, and Bob Koppes, Director of Product and Strategy, Data and Software Solutions (DSS), PropertyGuru Group