ทำความรู้จัก “รีไฟแนนซ์” และ “รีเทนชั่น” ตัวช่วยผ่อนบ้านไม่ให้หนี้บาน ปลดหนี้ไวขึ้น

ทำความรู้จัก “รีไฟแนนซ์” และ “รีเทนชั่น” ตัวช่วยผ่อนบ้านไม่ให้หนี้บาน ปลดหนี้ไวขึ้น

ทำความรู้จัก “รีไฟแนนซ์” และ “รีเทนชั่น” ตัวช่วยผ่อนบ้านไม่ให้หนี้บาน ปลดหนี้ไวขึ้น

ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยแต่ละครั้งหมายถึงสภาพคล่องทางการเงินของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการจับจ่ายใช้สอยและวางแผนทางการเงินอื่น ๆ เช่นกัน ข้อมูลล่าสุดจากผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี ถือเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 5 นับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจซบเซาและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงอย่างต่อเนื่องที่หลายฝ่ายคาดหวังให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประคับประคองกำลังซื้อไปได้ท่ามกลางช่วงเวลาที่ท้าทายเช่นนี้

ข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่าสถานะหนี้เสีย (NPL) ที่ค้างชำระเกิน 90 วันในไตรมาส 2 ของปี 2567 อยู่ที่กว่า 1.15 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นหนี้เสียจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยกว่า 218,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน จะเห็นได้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงสวนทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องด้วยที่อยู่อาศัยเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องกู้สินเชื่อจากธนาคารเพื่อซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียม และด้วยระยะเวลาการผ่อนชำระที่ยาวนาน ทำให้อัตราดอกเบี้ยกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจยื่นกู้ ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เผยว่า อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ผู้บริโภคพิจารณาเมื่อต้องกู้ซื้อบ้านถึง 78% ดังนั้น การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงเปรียบเสมือนเข็มทิศที่กำหนดทิศทางการเงินของผู้ที่วางแผนกู้ซื้อบ้านและผู้ที่กำลังผ่อนบ้านอย่างเลี่ยงไม่ได้

การปรับอัตราดอกเบี้ยมีผลอย่างไรเมื่อกู้ซื้อบ้าน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกกำหนดโดยธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นอัตราที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ที่เอาเงินมาฝาก หรือเป็นอัตราที่ธนาคารกลางเก็บดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ที่มากู้เงิน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่เป็นผู้กู้หรือผู้ฝากเงินต่อไป ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจรวมทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเกี่ยวข้องกับผู้ที่วางแผนซื้อบ้านและผู้ที่กำลังผ่อนบ้านโดยตรง เพราะหากมีการปรับลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ก็จะปรับลดหรือเพิ่มตามเช่นกัน

หากผู้บริโภคกู้ซื้อบ้านโดยเลือกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่มีการปรับขึ้น-ลงในช่วงเวลาที่ธนาคารกำหนด โดยทั่วไปมักจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ในช่วงต้นของการผ่อนบ้านเพื่อดึงดูดใจลูกค้า เหมาะสำหรับการกู้ซื้อบ้านในช่วงที่เศรษฐกิจดี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยมักมีแนวโน้มปรับขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ขอสินเชื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากยังคงถูกคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปตามสัญญาเดิมนั่นเอง  

ส่วนสินเชื่อดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) จะอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ระยะยาวสำหรับลูกหนี้ชั้นดีซึ่งจะเป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสุดหรือ MLR (Minimum Loan Rate) ซึ่งสามารถขึ้น-ลงได้ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดเงิน และต้นทุนทางการเงินของธนาคาร และผันแปรตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย จึงเหมาะสำหรับการกู้ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีเพราะมักจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่หากอยู่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นผู้กู้ก็จะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ทำความรู้จัก “รีเทนชั่น” และ “รีไฟแนนซ์” ผู้ช่วยใกล้ตัวของคนผ่อนบ้าน

ผู้บริโภคที่กู้ซื้อบ้านในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวควรวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ รวมทั้งหมั่นศึกษาเทคนิคการผ่อนบ้านที่ช่วยลดต้นลดดอกควบคู่ไปด้วย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนมาทำความรู้จักกับ “รีเทนชั่น” และ “รีไฟแนนซ์” ทางลัดที่จะช่วยแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยเมื่อกู้ซื้อบ้านที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน โดยการ “รีเทนชั่น” และ “รีไฟแนนซ์” ต่างมีวัตถุประสงค์ในการลดอัตราดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อบ้านให้ต่ำลงเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างในรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้

  • รีเทนชั่น (Retention) เป็นการต่อรองขอเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิมที่กำลังผ่อนอยู่ โดยธนาคารจะตรวจสอบประวัติการผ่อนชำระของผู้กู้ก่อนพิจารณาเช่นกัน วิธีนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ผู้กู้ไม่เสียเวลาในการจัดเตรียมเอกสารใหม่ เนื่องจากเป็นการทำธุรกรรมกับธนาคารเดิม ธนาคารจะมีเอกสารและข้อมูลของผู้กู้อยู่แล้ว ทำให้ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติไม่นาน นอกจากนี้ยังมีข้อดีตรงที่เสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าการรีไฟแนนซ์ จึงได้ประโยชน์ทั้งการประหยัดเวลา ลดความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ถูกกว่า
  • รีไฟแนนซ์ (Refinance) เป็นการย้ายไปทำสัญญาสินเชื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัยกับธนาคารแห่งใหม่เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า โดยหลายธนาคารมักจะมีการจัดโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อดึงดูดลูกค้ารายใหม่ จึงทำให้ผู้กู้จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการรีเทนชั่น นอกจากนี้บางแห่งยังมีโปรโมชั่นพิเศษเพิ่มเติม เช่น ฟรีค่าประเมินหลักประกัน, ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย หรือฟรีค่าจดจำนอง เป็นต้น จุดเด่นของการรีไฟแนนซ์คือผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกข้อเสนอที่มองว่าคุ้มค่าที่สุดจากธนาคารต่าง ๆ ได้เอง ถือเป็นวิธีที่ได้รับนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนลงได้อย่างชัดเจน หรืออาจได้เงินส่วนต่างมาใช้ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยได้หากกู้ได้มากกว่าวงเงินเดิม 

เปิดเช็กลิสต์ก่อนตัดสินใจ “รีเทนชั่น” หรือ “รีไฟแนนซ์” แบบไหนเหมาะกับคุณ

ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เผยว่า ผู้บริโภคที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองเกือบ 3 ใน 5 (59%) มีความคุ้นเคยกับการรีไฟแนนซ์อยู่แล้ว โดยมีสัดส่วนที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลางและมีรายได้สูง (สัดส่วน 68% และ 71% ตามลำดับ) ขณะที่อีก 34% ไม่รู้จักการรีไฟแนนซ์มาก่อน โดยเหตุผลหลักของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ตั้งใจจะรีไฟแนนซ์ (60%) มองว่าวิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเงินได้มากขึ้น ขณะที่ 52% มองว่าช่วยให้ได้อัตราดอกเบี้ยและการผ่อนจ่ายที่ถูกลง และ 36% รู้สึกว่าตัวเองในปัจจุบันมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงินมากขึ้นกว่าตอนแรก

อย่างไรก็ดี แม้เป้าหมายในการรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์จะมุ่งเน้นไปที่การช่วยลดอัตราดอกเบี้ย แต่มีรายละเอียดและเงื่อนไขที่ต้องทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้รวบรวมเช็กลิสต์ที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกแนวทางลดดอกเบี้ยที่ตอบโจทย์การเงินได้มากที่สุด ดังนี้

  • ตรวจสอบรายละเอียดสัญญาเดิมให้ชัดเจน ปกติแล้วธนาคารจะมีโปรโมชั่นสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่คิดดอกเบี้ยอัตราพิเศษในช่วง 3 ปีแรกเท่านั้น เมื่อพ้นช่วงเวลาดังกล่าวดอกเบี้ยจะขยับเป็นอัตราลอยตัวจึงทำให้ผู้กู้ต้องผ่อนชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น ผู้กู้ควรตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่ามีเงื่อนไขเวลาในการยื่นเรื่องรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์ไว้อย่างไร 

โดยส่วนใหญ่ธนาคารจะระบุให้ผู้กู้สามารถรีไฟแนนซ์ได้หลังจากผ่อนไประยะเวลาหนึ่ง ซึ่งหากมีการรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนด ผู้กู้จะต้องเสียค่าปรับให้ธนาคารเดิมขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร อย่างไรก็ดี หากผู้กู้มีความจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์ก่อนเวลาที่กำหนดในสัญญาเนื่องจากแบกรับภาระดอกเบี้ยไม่ไหว ก็ควรคำนวณยอดค่าปรับมาเปรียบเทียบกับจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนว่าคุ้มพอที่จะเสียค่าปรับหรือไม่ วิธีไหนจะแบ่งเบาภาระทางการเงินได้มากกว่ากัน หรือจะเลือกอดทนผ่อนจ่ายไปจนครบกำหนดสัญญาก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับที่ไม่จำเป็นแทน 

  • เวลาในการเตรียมเอกสาร อีกหนึ่งข้อดีของการรีเทนชั่นคือเป็นการดำเนินธุรกรรมกับธนาคารเดิม ซึ่งมีเอกสารและข้อมูลของผู้กู้อยู่แล้ว จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารต่าง ๆ มากนัก เนื่องจากธนาคารสามารถใช้เอกสารเดิมหลายฉบับที่ผู้กู้ใช้ยื่นขอสินเชื่อ จึงมีความสะดวกสบายมากกว่า อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาในการพิจารณาไม่นาน เพราะธนาคารมีประวัติการผ่อนชำระอยู่แล้ว จึงอนุมัติได้เร็วกว่าการรีไฟแนนซ์ที่ผู้กู้ต้องเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมดเพื่อใช้ประกอบการยื่นกู้ตามเงื่อนไขของธนาคารใหม่ หลังจากนั้นธนาคารจะตรวจสอบประวัติการชำระสินเชื่อ ภาระหนี้ ประเมินสภาพที่อยู่อาศัยที่ต้องการกู้ และดำเนินการตามขั้นตอนตรวจสอบ ซึ่งใช้เวลาการพิจารณาอนุมัติเท่ากับการขอกู้ใหม่
  • คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด หลายคนมองว่าการรีไฟแนนซ์คุ้มค่ามากกว่าเนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่มักเสนอโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้ อย่างไรก็ดี ผู้กู้ต้องไม่ลืมที่จะคำนวณค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากการรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่จะต้องมีขั้นตอนการจดจำนองใหม่อีกครั้ง จึงมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการรีเทนชั่นกับธนาคารเดิม โดยค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ประกอบด้วย 
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ 0-3% 
  • ค่าธรรมเนียมในการจดจำนอง 1% (ปัจจุบันมีมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย โดยลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ จาก 1% เหลือ 01% สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยในราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อสัญญา จนถึง 31 ธันวาคม 2567)
  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน 25-2% 
  • ค่าอากรแสตมป์ 05% ของวงเงินกู้
  • ค่าประกันอัคคีภัย

นอกจากนี้หลังจากได้รับการอนุมัติจากธนาคารใหม่ที่รีไฟแนนซ์แล้ว ผู้กู้จะต้องสอบถามยอดหนี้คงเหลือจากธนาคารเดิมก่อน ซึ่งจะต้องเตรียมเงินส่วนนี้ไปชำระให้กับธนาคารเดิมในวันไถ่ถอนด้วยเช่นกัน ขณะที่การรีเทนชั่นจะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 1-2% ของยอดวงเงินกู้เดิมหรือวงเงินที่เหลือแล้วแต่ที่ธนาคารกำหนด ผู้บริโภคจึงควรคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกันให้ละเอียด หากอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับต่างกันไม่มากนัก การรีเทนชั่นอาจจะคุ้มค่ากว่าเนื่องจากเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินการที่น้อยกว่า

  • ต่อรองเพื่อหาอัตราดอกเบี้ยที่คุ้มค่า เบื้องต้นผู้กู้ควรติดต่อขอทราบตัวเลือกโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์จากธนาคารอื่น ๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยกับการรีเทนชั่นกับธนาคารเดิมว่าที่ใดให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดในช่วง 3 ปีแรก เนื่องจากเมื่อพ้นช่วงเวลาดังกล่าวก็จะสามารถขอยื่นเรื่องรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์เพื่อลดดอกเบี้ยได้อีกครั้ง อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่การรีไฟแนนซ์มักจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการรีเทนชั่น หากผู้กู้ได้รับโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษก็สามารถนำไปต่อรองกับธนาคารเดิมเพื่อขอรีเทนชั่นในอัตรานั้นได้ ซึ่งมีโอกาสที่ทางธนาคารเดิมจะปรับลดดอกเบี้ยลงมาให้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งและรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้กู้ได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำลงและคุ้มค่ากว่า เนื่องจากค่าธรรมเนียมการรีเทนชั่นต่ำกว่าการรีไฟแนนซ์

แม้การรีเทนชั่นและรีไฟแนนซ์จะเป็นผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้ทุกคนแบ่งเบาภาระในการผ่อนบ้านได้มากขึ้น ลดจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลง รวมทั้งเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้ดีขึ้นแล้ว แต่หัวใจสำคัญที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามตั้งแต่คิดจะซื้อบ้าน/คอนโดฯ คือการวางแผนการเงินให้เป็นระบบก่อนกู้ซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง ผ่อนไม่ไหวจนขาดส่งค่างวดและกระทบไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะแสดงในประวัติทางการเงินของเครดิตบูโรและจะมีผลในการพิจารณาอนุมัติเมื่อยื่นขอรีเทนชั่นและรีไฟแนนซ์กับธนาคารทุกแห่งเช่นกัน จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม 

ทั้งนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านปี 2567 อัปเดตล่าสุดจากหลากหลายธนาคารเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อและเงื่อนไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ก่อนดำเนินการติดต่อธนาคารในขั้นตอนต่อไป พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลประกาศซื้อ/ขาย/ให้เช่าโครงการบ้าน/คอนโดฯ ทั้งโครงการใหม่และบ้านมือสองที่น่าสนใจในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถเลือกและค้นหาที่อยู่อาศัยที่ตรงใจได้มากที่สุด เตรียมความพร้อมก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในฝันได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

How to เริ่มต้นวางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างไรให้มั่นใจยุคดอกเบี้ยสูง

How to เริ่มต้นวางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างไรให้มั่นใจยุคดอกเบี้ยสูง

How to เริ่มต้นวางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างไรให้มั่นใจยุคดอกเบี้ยสูง

การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญในชีวิตของผู้บริโภคหลายคน ซึ่งการจะเริ่มมีบ้านเป็นของตัวเองนั้นมาพร้อมรายละเอียดมากมาย ต่างจากการซื้อขายสินค้าประเภทอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ที่กำลังวางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยจำเป็นต้องเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้ทุกขั้นตอนเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากที่สุด 

5 สเต็ปน่ารู้ มือใหม่เริ่มวางแผนซื้อบ้านอย่างไรให้มั่นใจ ไร้กังวล

แม้หลายคนจะมองว่าการซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้ต้องเผชิญความท้าทายทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควรชะลอแผนซื้อบ้านไว้ก่อน แต่ขณะเดียวกัน ด้านผู้พัฒนาอสังหาฯ ก็ได้จับมือกับธนาคาร/สถาบันการเงินนำเสนอโปรโมชั่นสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้นและลดความกังวลเรื่องดอกเบี้ย ซึ่งถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมในเวลานี้

ดังนั้น หัวใจสำคัญของการซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้จึงอยู่ที่การวางแผนให้ละเอียดและรอบคอบ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย แนะแนวทางเตรียมพร้อมวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยให้อุ่นใจ เพื่อให้คนหาบ้านมือใหม่ได้ศึกษาทำความเข้าใจ คลายความกังวล และเริ่มต้นเส้นทางการเป็นเจ้าของอสังหาฯ ได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น 

  1. วาดสเปกบ้านในฝัน โฟกัสคนในครอบครัว ผู้บริโภคควรเริ่มจากการมองหาและเลือกสไตล์บ้าน/คอนโดฯ ในฝันที่ชื่นชอบไว้ก่อน พร้อมทั้งกำหนดงบประมาณที่สอดคล้องกับสถานะทางการเงิน จากนั้นจึงระบุฟังก์ชั่นใช้งาน พื้นที่ใช้สอย จำนวนห้องที่ต้องการ โดยอ้างอิงจากไลฟ์สไตล์และการอยู่อาศัยจริงของสมาชิกในครอบครัว เพื่อทำเป็นเช็กลิสต์ (Check List) รวบรวมรายการที่จำเป็นไว้เปรียบเทียบข้อมูลของโครงการต่าง ๆ นอกจากนี้ การหาความรู้เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างก็จะช่วยให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจเรื่องคุณสมบัติการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยให้เลือกโครงการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้มากขึ้น และมีประโยชน์หากต้องการต่อเติมบ้านในอนาคต

  2. ใช้มาร์เก็ตเพลสช่วยค้นหาได้ง่ายขึ้น ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยว่า เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสถือเป็นเทคโนโลยีที่ผู้บริโภคนิยมใช้ในการค้นหาที่อยู่อาศัยมากที่สุดถึง 65% ดังนั้น การเลือกค้นหาโครงการบ้าน/คอนโดฯ จากเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อย่าง www.DDproperty.com จึงถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและช่วยประหยัดเวลาสำหรับการซื้อบ้านยุคดิจิทัลนี้ ทำให้การค้นหาโครงการที่ใช่เป็นเรื่องง่าย ลดขั้นตอนที่ผู้บริโภคต้องจับคู่บ้านในฝันกับโครงการในชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี

    โดยข้อดีของเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสคือจะรวบรวมข้อมูลประกาศขายและเช่าโครงการบ้าน/คอนโดฯ ที่น่าสนใจไว้มากมายทั้งจากผู้พัฒนาอสังหาฯ และเอเจนต์ที่ได้รับการยืนยันตัวตน (Agent Verification) 

    เมื่อผู้บริโภคได้โครงการที่สนใจแล้ว ให้เริ่มนัดหมายเข้าชมโครงการจริง เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือโปรโมชั่นพิเศษกับพนักงานขายหรือเอเจนต์ รวมทั้งสำรวจคุณภาพการก่อสร้างและพื้นที่ชุมชนรอบโครงการ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาเปรียบเทียบจุดเด่นจุดด้อยตามเช็กลิสต์และคัดเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์มากที่สุด

  3. จองโครงการที่ใช่ เลือกยูนิตที่ชอบ พร้อมทำสัญญา ติดต่อพนักงานขายหรือเอเจนต์เพื่อทำการจองยูนิตที่ต้องการ หากเป็นโครงการเสร็จพร้อมอยู่ ผู้ซื้อจะสามารถจองแล้วทำสัญญาได้เลยในกรณีที่พร้อมจ่ายเงินสด หรืออาจมีการนัดเข้ามาทำสัญญาภายหลังสำหรับผู้ที่ต้องยื่นกู้สินเชื่อบ้าน ส่วนกรณีที่จองโครงการใหม่ที่ยังสร้างไม่เสร็จ ทางโครงการจะนัดให้เข้ามาทำ “สัญญาจะซื้อจะขาย” เมื่อโครงการดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกว่า 80-90% หรือเมื่อสร้างเสร็จพร้อมอยู่

    โดยสัญญาจะซื้อจะขายถือเป็นการแสดงเจตนาร่วมกันระหว่างผู้ซื้อว่า ต้องการจะซื้ออสังหาฯ ของผู้จะขาย และวางเงินมัดจำไว้เป็นหลักประกันว่าจะมีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกันอย่างแน่นอน พร้อมทั้งระบุช่วงเวลาที่จะเกิดการโอนกรรมสิทธิ์อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน ถือเป็นการแสดงเจตนาของผู้ขายที่จะไม่ขายอสังหาฯ นั้นให้บุคคลอื่นในช่วงเวลาที่กำหนดในสัญญาฯ เช่นกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาจะต้องรับผิดชอบตามตามกฎหมายและเงื่อนไขที่ระบุไว้

    โดยผู้ซื้อต้องตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาจะซื้อจะขายให้ถี่ถ้วน ทั้งในส่วนรายละเอียดคู่สัญญา รายละเอียดของอสังหาฯ ที่ต้องการซื้อ จำนวนเงินมัดจำและราคาขาย โดยในสัญญาต้องกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์และระบุค่าใช้จ่ายที่แต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบ รวมทั้งเงื่อนไขในกรณีที่มีการผิดสัญญา

    เมื่อถึงเวลาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความพร้อมตามเงื่อนไขในสัญญา และครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์แล้ว จะเข้าสู่กระบวนการทำ “สัญญาซื้อขาย” โดยทั้งสองฝ่ายต้องไปทำสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่ที่ซื้อขายอสังหาฯ นั้น เพื่อโอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ให้ตกเป็นของผู้ซื้อตามกฎหมาย 

  4. ทำความเข้าใจอัตราดอกเบี้ยก่อนตัดสินใจกู้ การหาข้อมูลและทำความเข้าใจอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะช่วยให้ผู้กู้สามารถเลือกแคมเปญที่สอดคล้องกับแผนทางการเงินได้ดีขึ้น โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
    • อัตราดอกเบี้ยลอยตัว เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีการกำหนดมาแล้ว ณ เวลาที่ทำสินเชื่อ แต่มีเงื่อนไขให้สถาบันการเงินสามารถปรับเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพคล่องในระบบการเงินหรือต้นทุนการเงินของธนาคาร โดยไม่มีข้อกำหนดว่าจะปรับเมื่อไรและปรับปีละกี่ครั้ง ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้จะส่งผลกระทบต่อจำนวนที่ผู้กู้ต้องชำระต่องวดได้

      โดยอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวจะอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ระยะยาวสำหรับลูกหนี้ชั้นดีซึ่งจะเป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสุด หรือ MLR (Minimum Loan Rate) โดยจะเป็นค่าบวกหรือลบจาก MLR ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร อัตราดอกเบี้ยประเภทนี้มีข้อดีในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยปรับลดลง จะทำให้ยอดชำระเงินกู้รายงวดลดลงตามไปด้วย แม้ในความเป็นจริงจะชำระเงินเท่าเดิม แต่จะมีเงินส่วนเกินไปลดเงินต้นได้มากขึ้น
      • อัตราดอกเบี้ยคงที่ มีข้อดีคือหากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จะทำให้ผู้กู้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มตามไปด้วย แต่หากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง จำนวนดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องจ่ายจะไม่ลดลงตามไปด้วย ทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยแบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
      • อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสินเชื่อ จะมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งกำหนดมาแบบตายตัว ส่วนมากจะยึดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของสถาบันการเงิน ณ ช่วงเวลาที่กู้ โดยจะยึดอัตราดอกเบี้ยนี้เอาไว้ตั้งต้นจนสิ้นสุดอายุสินเชื่อ ทำให้จำนวนเงินที่ชำระต่องวดในแต่ละเดือนคงที่
        • อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงต้นเท่านั้น จะกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่เฉพาะระยะแรกของอายุสินเชื่อเท่านั้น เช่น 1-5 ปีแรก หลังจากพ้นช่วงเวลาดังกล่าวคือตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยจะปรับเป็นแบบลอยตัว  
        • อัตราดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันไดในช่วงต้น จะกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงแรกของอายุสินเชื่อ โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่ตายตัวเป็นช่วง ๆ เหมือนขั้นบันได เช่น อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วง 1-5 ปีแรก โดยปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3% ส่วนปีที่ 3-4 อัตราดอกเบี้ย 3.5% เป็นต้น และตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไปจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบลอยตัว 
      • อัตราดอกเบี้ยปรับคงที่ตามรอบเวลา จะมีการกำหนดรอบเวลาที่แน่นอนในการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ โดยการปรับแต่ละครั้งจะอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และต้นทุนพันธบัตร คำนึงถึงสภาวะการเงิน ณ ขณะนั้น และต้นทุนการเงินของสถาบันการเงิน เช่น กำหนดให้รอบเวลาเท่ากับ 5 ปี ทุก ๆ 5 ปี จะต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ โดยในช่วงเวลาของแต่ละรอบจะมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ ข้อดีคือลดความเสี่ยงจากความผันผวนของดอกเบี้ยในระยะเวลาสั้น ๆ ตามรอบการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ส่วนข้อเสียคือเมื่ออัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นก็อาจต้องเพิ่มจำนวนเงินที่ชำระต่องว
      • อัตราดอกเบี้ยแบบผสม มีอัตราดอกเบี้ยพร้อมเงื่อนไขอื่น ๆ ที่สถาบันการเงินผสมเข้ามากับอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ ซึ่งนอกจากจะมีการปล่อยอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบลอยตัวเมื่อครบกำหนดเวลาที่ระบุแล้ว บางธนาคารจะมีการกำหนดเพดานดอกเบี้ยเอาไว้เพื่อกันไม่ให้ดอกเบี้ยลอยตัวสูงกว่าเกณฑ์ขั้นสูงที่กำหนดเอาไว้ โดยสินเชื่อประเภทนี้มักจะกำหนดดอกเบี้ยคงที่ในระยะแรกเอาไว้ต่ำเพื่อดึงดูดใจผู้ขอสินเชื่อ ถ้าหากผู้ขอสินเชื่อชำระหนี้ได้ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยต่ำก็จะสามารถลดยอดหนี้เงินต้นได้อย่างรวดเร็ว แต่หากพ้นช่วงนั้นแล้ว ดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

5. เตรียมเอกสารให้พร้อม ติดต่อธนาคารเพื่อยื่นกู้ หลังจากได้โปรโมชั่นสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่พึงพอใจแล้ว ให้ติดต่อธนาคารเพื่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงินกู้ที่ได้รับ อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลากู้สูงสุด จำนวนเงินที่ต้องจ่ายต่องวด รวมไปถึงเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมจำนองหลักประกัน ค่าประกันภัยอัคคีภัย หรือจำเป็นต้องทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (MRTA) เพื่อรับดอกเบี้ยพิเศษหรือไม่ เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เพียงพอแล้ว ให้ผู้กู้เตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อมตามที่ธนาคารกำหนด  

เมื่อจบกระบวนการพิจารณาสินเชื่อแล้วจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อเพื่อแจ้งผลการอนุมัติสินเชื่อให้ทราบอีกครั้ง หากได้รับอนุมัติเงินกู้ ผู้กู้ต้องนัดหมายกับเจ้าหน้าที่เพื่อลงนามในสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง พร้อมทั้งนัดวันทำนิติกรรมจำนองที่สำนักงานที่ดิน โอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองที่ดิน เมื่อเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว ธนาคารจะให้เงินแบบแคชเชียร์เช็คเพื่อให้ผู้กู้นำไปจ่ายเงินให้โครงการ และเริ่มผ่อนจ่ายให้แก่ธนาคารทุกเดือนต่อไป

เคล็ด (ไม่) ลับ เตรียมพร้อมซื้อบ้านยุคดอกเบี้ยสูงอย่างไรให้มีชัยไปกว่าครึ่ง

แม้สภาพเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงจะสร้างความลังเลใจให้คนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยบวกจากมาตรการภาครัฐและโปรโมชั่นพิเศษจากผู้พัฒนาอสังหาฯ ที่ช่วยให้ทุกคนเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น เป็นโอกาสอันดีในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่มีความพร้อมทางการเงินหรือมีเงินเก็บเพียงพอ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) ขอแนะนำแนวทางเตรียมความพร้อมเมื่อต้องซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในยุคดอกเบี้ยสูง วิธีไหนที่จะช่วยให้ซื้อได้อย่างคุ้มค่า ปูทางไปสู่การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น 

  • ประเมินความพร้อมทางการเงินให้แน่ใจ สิ่งสำคัญในการซื้อบ้าน/คอนโดฯ คือผู้บริโภคต้องวางแผนทางการเงินให้มั่นคงเสียก่อน โดยสร้างวินัยทางการเงินให้ดีตั้งแต่เริ่มต้น ควรเริ่มทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้เป็นระบบ เก็บออมเงินเพื่อใช้เป็นเงินดาวน์และเงินสำรองฉุกเฉิน พยายามปิดหนี้ที่มีให้มากที่สุดเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งจะทำให้ทราบความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ในแต่ละเดือนของตนเองได้ และนำมาคำนวณวงเงินกู้สูงสุดที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งนี้ ผู้กู้ควรมีรายจ่ายไม่เกิน 40% ของรายได้ และลองซ้อมผ่อนบ้าน/คอนโดฯ โดยหักเงินตามจำนวนที่ใช้ผ่อนจริงเป็นระยะเวลา 3-6 เดือนติดต่อกัน จะช่วยให้สามารถประเมินความพร้อมทางการเงินเบื้องต้นได้ว่าควรซื้อบ้านในเวลานี้จริงหรือไม่

นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถทำ “Pre-approve สินเชื่อบ้าน” หรือการยื่นประเมินสินเชื่อที่อยู่อาศัยในเบื้องต้นกับธนาคาร เพื่อขอตรวจสอบสถานภาพทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งจะพิจารณาจากราคาขายบ้าน/คอนโดฯ ที่ผู้ขอสินเชื่อแจ้งไว้ ประกอบกับรายได้-รายจ่าย รวมทั้งเครดิตหรือความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ เช่น ประวัติทางการเงินกับเครดิตบูโร หากทำ Pre-approve ผ่าน หมายความว่าผู้บริโภคมีโอกาสที่จะขอสินเชื่อผ่านสูง แต่ถ้าผลไม่ผ่านก็ยังไม่ควรที่จะซื้อในเวลานี้ เพราะหากยื่นกู้จริงไม่ผ่าน จะได้ไม่เสียเงินจอง เงินดาวน์ หรือเสียค่าปรับเมื่อผิดสัญญากับโครงการ 

  • คำนวณหาดอกเบี้ยที่คุ้มค่าในระยะยาว สำหรับเคล็ดลับในการเลือกสินเชื่อ หากเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ควรเลือกในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มที่จะปรับลดลง ซึ่งสามารถติดตามได้จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศ รวมทั้งการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ จะทำให้ยอดดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องชำระลดลงตามไปด้วย แต่หากอยู่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้น ผู้กู้ควรเลือกสินเชื่อที่อัตราดอกเบี้ยคงที่ทั้ง 3 ปี แม้ค่าเฉลี่ย 3 ปีจะสูงกว่าแบบลอยตัว แต่จะช่วยลดความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่อาจปรับสูงขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจในช่วงนั้นได้ 

วิธีเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดคือการนำอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อแต่ละตัวมาเฉลี่ยเป็นอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุของสินเชื่อ โดยปรับให้เป็นอัตราดอกเบี้ยต่อปี ซึ่งจะทำให้สามารถเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ผู้กู้ควรพิจารณาจากอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยใน 3 ปีแรกเป็นหลักว่าธนาคารใดให้ดอกเบี้ยต่ำที่สุด และเมื่อผ่อนชำระครบ 3 ปีแล้วจึงยื่นเรื่องขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม (Retention) หรือดำเนินการรีไฟแนนซ์ (Refinance) กับธนาคารใหม่ วิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเงินค่าดอกเบี้ยได้มากขึ้น 

  • เลือกโครงการสร้างเสร็จในต้นทุนเดิม ในช่วงที่ผ่านมาผู้พัฒนาอสังหาฯ จำเป็นต้องปรับขึ้นราคาที่อยู่อาศัยเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นรอบด้าน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีหลายโครงการที่อยู่อาศัยที่ก่อสร้างด้วยต้นทุนเดิมและยังไม่ได้ปรับราคาขาย จึงถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัย เนื่องจะได้รับบ้าน/คอนโดฯ ที่มีมาตรฐานการก่อสร้างและคุณภาพที่ดีในราคาที่ย่อมเยากว่าการซื้อโครงการที่เพิ่งเปิดตัว ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการบางส่วนหันมาเน้นระบายสต็อกสินค้าคงค้างเพื่อเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ จึงมีการจัดโปรโมชั่น/แคมเปญการตลาดที่น่าสนใจออกมากระตุ้นการขายมากขึ้นเช่นกัน
  • เพิ่มความคุ้มค่าด้วยมาตรการจากภาครัฐ หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมในปี 2567 ถือเป็นโอกาสอันดีของกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ในการพิจารณาเลือกซื้อโครงการที่ตรงตามเงื่อนไขมาตรการภาครัฐ เพื่อช่วยให้ซื้อบ้าน/คอนโดฯ ได้คุ้มค่ายิ่งขึ้น ดังนี้
    • มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย โดยลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาฯ จาก 2% เหลือ 0.01% และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ จาก 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยในราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อสัญญา ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2567
    • โครงการสินเชื่อบ้าน Happy Home โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี วงเงินต่อรายสูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี
    • โครงการสินเชื่อบ้าน Happy Life โดย ธอส. อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.98% ต่อปี วงเงินต่อรายตั้งแต่ 2,500,000 บาทขึ้นไป
    • โครงการสินเชื่อบ้านออมสินเพื่อประชาชน โดยธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.95% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 7,000,000 บาทต่อราย
  • ได้บ้าน/คอนโดฯ ตรงปกเมื่อซื้อโครงการพร้อมอยู่ การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ซื้อ เนื่องจากจะได้เห็นสภาพที่อยู่อาศัยจริง สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ทันที และพร้อมเข้าอยู่แน่นอน นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังเลือกขอสินเชื่อธนาคารในแคมเปญที่สนใจในเวลานั้นได้ทันที ไม่ต้องรอเหมือนการซื้อโครงการที่กำลังก่อสร้างซึ่งอัตราดอกเบี้ยอาจเปลี่ยนไปจากที่คาดการณ์ไว้ได้ 

อีกหนึ่งข้อควรพิจารณาคือเมื่อผู้ซื้อวางเงินจองและเงินดาวน์ให้กับโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จ อาจต้องเผชิญความเสี่ยงจากการที่โครงการก่อสร้างล่าช้าหรือถูกระงับการก่อสร้างหากไม่ผ่านการอนุมัติรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment Report) เนื่องจากบางโครงการอาจเปิดขายไปด้วยในระหว่างที่ยื่นขอ EIA ซึ่งกลายเป็นความเสี่ยงที่กระทบต่อผู้ซื้อในภายหลังได้

นอกจากนี้ การเลือกซื้อโครงการพร้อมอยู่จะมาพร้อมเฟอร์นิเจอร์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั้งพื้นที่ส่วนกลางและระบบรักษาความปลอดภัยของโครงการ ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นใจให้ผู้ซื้อเห็นภาพการอยู่อาศัยในอนาคตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือจะได้รับโปรโมชั่นที่คุ้มค่าทั้งจากผู้ประกอบการเองหรือการร่วมมือกับธนาคารมอบโปรโมชั่นสินเชื่อและจัดแคมเปญการตลาดที่ตอบโจทย์คนหาบ้าน ซึ่งทางฝั่งของดีดีพร็อพเพอร์ตี้เองก็ได้ปล่อยแคมเปญล่าสุด อย่าง “H.O.M.E. Campaign” แคมเปญที่ร่วมมือกับดีเวลลอปเปอร์ชั้นนำของไทย นำร่องโดย บริษัท ออริจิ้น เวอร์ติเคิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในเครือบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) ยกทัพบ้าน/คอนโดฯ คุณภาพในทำเลศักยภาพที่ไม่ควรพลาด มาให้ทุกคนได้เป็นเจ้าของพร้อมเลือกรับของขวัญต้อนรับบ้านใหม่ได้ตามใจ 1 รางวัล ดังนี้

  1. Home: รับบัตรกำนัลมูลค่า 30,000 บาทจาก NocNoc ศูนย์รวมสินค้าและบริการเรื่องบ้านออนไลน์ ให้คุณช็อปปิ้งเพื่อตกแต่งบ้านในสไตล์ที่ใช่ได้ด้วยตนเอง
  2. Organise: ฟรี! รับค่าส่วนกลาง เพิ่มอีก 1 ปี (มูลค่าสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท)
  3. Manage: ฟรี! บริการเอเจนต์จากดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ช่วยให้คุณหาผู้เช่าได้ง่ายขึ้น (จ่ายค่าคอมมิชชั่นให้ มูลค่าไม่เกิน 30,000 บาท)
  4. Experience: ฟรี! รับคำแนะนำการจัดฮวงจุ้ยบ้าน/คอนโดฯ สุด Exclusive จากอาจารย์ฮวงจุ้ยชั้นนำของไทย (มูลค่าไม่เกิน 30,000 บาท)

ผู้ที่สนใจสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในฝันพร้อมรับความพิเศษสุดคุ้มเหล่านี้ได้ง่าย ๆ เพียงลงทะเบียนซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่เข้าร่วมแคมเปญและโอนกรรมสิทธิ์ภายในวันที่ 31 ส.ค. 2567 สำหรับโครงการของบริษัท ออริจิ้น เวอร์ติเคิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และภายในวันที่ 30 พ.ย. 2567 สำหรับโครงการของบริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) เท่านั้น! สิทธิพิเศษนี้มีจำนวนจำกัด ดูรายละเอียดและโครงการที่เข้าร่วมได้ทาง https://homecampaign.ddproperty.com หรือสังเกตโครงการที่มีริบบิ้น H.O.M.E. สีแดง บนเว็บไซต์ DDproperty.com

 

Data and Innovation Shape and Anchor PropertyGuru’s Commitment to Sustainability

พร็อพเพอร์ตี้กูรูนำข้อมูลและนวัตกรรมช่วยขับเคลื่อนพันธกิจด้านความยั่งยืน เปิดตัวกลยุทธ์ ‘Gurus For Good’ พร้อมรายงานความยั่งยืนฉบับแรก

Data and Innovation Shape and Anchor PropertyGuru’s Commitment to Sustainability

Launches ‘Gurus For Good’ Sustainability Strategy and its inaugural sustainability report

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or the “Company”), Southeast Asia’s leading1, property technology (“PropTech”) company, today announced the launch of Gurus for Good, PropertyGuru’s sustainability strategy and the release of its inaugural Sustainability Report for 2023. The report highlights PropertyGuru’s commitment to sustainability, which is reflected in its Gurus For Good strategy. The strategy leverages PropertyGuru’s proprietary data and analytics to enable right decisions for a sustainable future and to bring meaningful solutions for communities, addressing environmental and social challenges through innovative solutions and responsible business practices.

The strategy encompasses a holistic view of the challenges and opportunities that matter most to PropertyGuru’s internal and external stakeholders, as identified through an assessment of the Group’s material sustainability topics conducted in 2023.

This assessment laid the foundation for the three key pillars of the strategy – Sustainable Living, Thriving Communities and Responsible Business. These pillars guide PropertyGuru’s objectives in making informed choices and taking actions that look to benefit both the business and its communities.

Sustainable Living harnesses PropertyGuru’s deep expertise of the real estate business coupled with proprietary data and analytics to foster a sustainable future for its communities. Through Thriving Communities, the Group focuses its efforts on creating inclusive products through accessible design systems and a zero-tolerance policy on discrimination. With Responsible Business, the Group navigates diverse privacy, security, ethics and compliance regulatory frameworks.

Highlighting the launch of Gurus For Good strategy, Disha Goenka, Chief Marketing Officer, PropertyGuru Group, said, “When we first started focusing on sustainability many years ago, it was because we knew it was the right thing to do, not just for our industry, but for the communities where we operate too. Now, we’re formalising our approach by doubling down on our three strategic pillars that make up ‘Gurus For Good’. The strategy unifies our past and present sustainability initiatives into one holistic framework, which we will use to guide our journey.”

Key Highlights from the Gurus For Good Strategy and Sustainability Report

Climate Action Responsibilities

  • The real estate sector, responsible for approximately 40% of global carbon dioxide emissions, plays a crucial role in climate action. As a regional market leader, PropertyGuru is dedicated to contributing to this collective effort by actively working to reduce its GHG footprint.
  • In 2023, PropertyGuru assessed their greenhouse gas (GHG) emissions to better understand their environmental impact. The key areas evaluated included business travel, cloud services, and the commuting and telecommuting practices of employees.
  • Identifying the largest emission sources, such as business travel and cloud services, allows for prioritising reduction efforts, paving the way for a more sustainable future for the entire community.

Building Inclusive Communities

  • At PropertyGuru, DEI is not just a strategic imperative but the natural outcome of a fair and transparent recruitment process. The goal is to build platforms where everyone can thrive, reflecting a commitment to creating a diverse and inclusive workplace.
  • PropertyGuru is proud of their diverse workforce distributed across five countries and representing more than 35 nationalities. In terms of gender diversity, the Group has 63% female representation at the Group Level, 43% at the executive level and 33% at the board level.
  • PropertyGuru is committed to combating discrimination in all forms. A multi-pronged approach includes strict advertisement guidelines, a language moderation engine, and a ‘report listing’ feature, significantly reducing discriminatory practices and fostering a more inclusive property market.

Data-Driven Solutions for a Sustainable Future

  • The Liveability Index by PropertyGuru Group, piloted in Malaysia, provides insights into the quality of life in neighbourhoods by considering factors such as housing affordability, amenities, environmental conditions, transport accessibility, and job opportunities. This helps residents make informed decisions and supports urban planners and developers.
  • PropertyGuru provides climate risk analysis by combining satellite imagery with complex modelling, their assessments identify the risks of flooding, storms, extreme heat, and other extreme weather events for any location under various climate scenarios and time horizons. This is particularly important in Malaysia, where recurrent flooding poses a significant risk.
  • With the accessibility to these climate risk insights, PropertyGuru’s customers can better understand the impact of climate change on their projects and assets. This enables them to make informed decisions to reduce risks, future-proof their developments, and enhance their investment strategies.

For more information, download the PropertyGuru Sustainability Report 2023 here.

พร็อพเพอร์ตี้กูรูนำข้อมูลและนวัตกรรมช่วยขับเคลื่อนพันธกิจด้านความยั่งยืน เปิดตัวกลยุทธ์ ‘Gurus For Good’ พร้อมรายงานความยั่งยืนฉบับแรก

พร็อพเพอร์ตี้กูรูนำข้อมูลและนวัตกรรมช่วยขับเคลื่อนพันธกิจด้านความยั่งยืน เปิดตัวกลยุทธ์ ‘Gurus For Good’ พร้อมรายงานความยั่งยืนฉบับแรก

พร็อพเพอร์ตี้กูรูนำข้อมูลและนวัตกรรมช่วยขับเคลื่อนพันธกิจด้านความยั่งยืน เปิดตัวกลยุทธ์ ‘Gurus For Good’ พร้อมรายงานความยั่งยืนฉบับแรก

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (ชื่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE: PGRU) (จากนี้จะเรียกแทนว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “บริษัท”) บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้1, (“PropTech”) และเป็นบริษัทแม่ของ 2 แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเมืองไทย ประกอบด้วย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาฯ ชั้นนำของไทย เปิดตัว “Gurus for Good” กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของพร็อพเพอร์ตี้กูรู และเผยแพร่รายงานความยั่งยืนฉบับแรกประจำปี 2566 ซึ่งพัฒนามาจากข้อมูลและการวิเคราะห์ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู เพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและนำเสนอโซลูชั่นที่มีคุณค่าให้กับชุมชน รวมทั้งจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านโซลูชั่นนวัตกรรมและการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ

กลยุทธ์ดังกล่าวครอบคลุมมุมมองแบบองค์รวมของความท้าทายและโอกาสที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรพร็อพเพอร์ตี้กูรู ตามที่ระบุในการประเมินหัวข้อความยั่งยืนที่สำคัญของกรุ๊ปที่ดำเนินการในปี 2566

การประเมินนี้วางรากฐานให้กับ 3 เสาหลักของกลยุทธ์ ได้แก่ การดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน ชุมชนที่เจริญรุ่งเรือง และธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ หลักการทั้งสามนี้เป็นแนวทางการตัดสินใจของพร็อพเพอร์ตี้กูรูโดยมีข้อมูลประกอบและดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งธุรกิจและชุมชน

การดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญเชิงลึกในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู ควบคู่ไปกับข้อมูลและการวิเคราะห์ของบริษัทเพื่อส่งเสริมอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับชุมชน ผ่านชุมชนที่เจริญรุ่งเรือง ที่กรุ๊ปให้ความสำคัญในการพยายามสร้างผลิตภัณฑ์ทั้งหมดผ่านระบบการออกแบบที่เข้าถึงได้ และมีนโยบายต่อต้านการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ ด้วยความเป็นธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ กรุ๊ปดำเนินงานภายใต้กรอบการทำงานที่หลากหลายทั้งด้านความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย จริยธรรม และปฏิบัติตามกฎหมาย

นางดิฌา โกเองกา ดาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวถึงไฮไลต์ของการเปิดตัวกลยุทธ์ Gurus For Good ครั้งนี้ว่า “เราเริ่มให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะเรารู้ว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้องที่ควรทำ ไม่เพียงแต่เพื่ออุตสาหกรรมของเรา แต่เพื่อชุมชนที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ด้วย ตอนนี้เรากำลังปรับแนวทางให้เป็นกิจลักษณะมากขึ้น โดยเน้นย้ำ 3 กลยุทธ์หลักที่ประกอบกันเป็น ‘Gurus For Good’ ซึ่งกลยุทธ์นี้ได้รวมความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนทั้งในอดีตและปัจจุบันของเราเข้าด้วยกันให้เป็นกรอบการทำงานแบบองค์รวม และเราจะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของเราต่อไป”

ไฮไลต์สำคัญจากกลยุทธ์ Gurus For Good และรายงานความยั่งยืน

ความรับผิดชอบในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ

  • ภาคอสังหาริมทรัพย์รับผิดชอบในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกประมาณ 40% จึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ในฐานะผู้นำตลาดระดับภูมิภาค พร็อพเพอร์ตี้กูรูทุ่มเทในการสนับสนุนความพยายามนี้ โดยทำงานอย่างแข็งขันเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ GHG footprint
  • ในปี 2566 พร็อพเพอร์ตี้กูรูได้ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ของบริษัท เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น โดยขอบเขตสำคัญที่ได้รับการประเมินประกอบด้วย การเดินทางเพื่อธุรกิจ บริการคลาวด์ และแนวปฏิบัติในการเดินทางมาทำงานและการทำงานทางไกลของพนักงาน
  • การระบุแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุด เช่น การเดินทางเพื่อธุรกิจและบริการคลาวด์ ช่วยให้สามารถจัดลำดับความสำคัญของความพยายามในการลดมลพิษ ปูทางไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นสำหรับชุมชนทั้งหมด

สร้างชุมชนสำหรับทุกคน

  • ที่พร็อพเพอร์ตี้กูรู แนวคิด DEI หรือความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก (ย่อมาจาก Diversity, Equity and Inclusion) ไม่ได้เป็นเพียงข้อบังคับเชิงกลยุทธ์ แต่เป็นผลลัพธ์ตามธรรมชาติของกระบวนการสรรหาบุคลากรที่เป็นธรรมและโปร่งใส เป้าหมายคือการสร้างแพลตฟอร์มที่ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จได้ ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสถานที่ทำงานที่หลากหลายและครอบคลุมสำหรับทุกคน
  • พร็อพเพอร์ตี้กูรูภาคภูมิใจในความหลากหลายของบุคลากรที่กระจายอยู่ใน 5 ประเทศและเป็นตัวแทนมากกว่า 35 สัญชาติ ในแง่ของความหลากหลายทางเพศ กรุ๊ปมีสัดส่วนพนักงานหญิง 63% ในระดับกลุ่มบริษัท, 43% ในระดับผู้บริหาร และ 33% ในระดับคณะกรรมการบริษัท
  • พร็อพเพอร์ตี้กูรูมุ่งมั่นที่จะต่อต้านการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ โดยมีแนวปฏิบัติหลากหลายแนวทาง ประกอบด้วย หลักเกณฑ์การโฆษณาที่เข้มงวด เครื่องมือกลั่นกรองภาษา และฟีเจอร์ ‘รายงานประกาศ’ ซึ่งช่วยลดการเลือกปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญ และส่งเสริมตลาดอสังหาริมทรัพย์ให้เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น

โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

  • The Liveability Index by PropertyGuru Group หรือดัชนีความสามารถในการอยู่อาศัย โครงการนำร่องในมาเลเซีย ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในบริเวณใกล้เคียง โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม การเข้าถึงระบบขนส่ง และโอกาสในการทำงาน สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยมีข้อมูลในการตัดสินใจ และสนับสนุนการทำงานของนักวางผังเมืองและผู้พัฒนาอสังหาฯ
  • พร็อพเพอร์ตี้กูรูจัดทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ โดยการรวมภาพถ่ายดาวเทียมเข้ากับการสร้างแบบจำลองที่ซับซ้อน การประเมินนี้ระบุความเสี่ยงของน้ำท่วม พายุ ความร้อนสูง และเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วอื่น ๆ ของทุกสถานที่ภายใต้สถานการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศและช่วงเวลาที่หลากหลาย การวิเคราะห์นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในประเทศมาเลเซีย ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมซ้ำซากก่อให้เกิดความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ
  • ด้วยการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศเหล่านี้ ลูกค้าของพร็อพเพอร์ตี้กูรูจะเข้าใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อโครงการและทรัพย์สินของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้สามารถตัดสินใจโดยมีข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยง มีการพัฒนาที่รองรับอนาคต และยกระดับกลยุทธ์การลงทุนของพวกเขา 

Connect the dots ปูทางสู่ความยั่งยืนผ่านกูรูชาวไทย 

ในประเทศไทย พร็อพเพอร์ตี้กูรูได้ส่งต่อรากฐานความยั่งยืนไปยังบริษัทในเครืออย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) ผ่านนโยบายที่มุ่งเน้นแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนทั้งภายในและภายนอก รณรงค์ให้บุคลากรหันมาตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่กิจกรรมพื้นฐานที่ส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน อย่างนโยบายประหยัดพลังงานในสำนักงานเพื่อให้ทุกคนใช้น้ำและไฟอย่างรู้คุณค่า การใช้เครื่องย่อยสลายเศษอาหารและเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจก นอกจากนี้ ยังขับเคลื่อนพันธกิจความยั่งยืนผ่านกิจกรรมรักษ์โลกและช่วยเหลือสังคมที่หลากหลาย อาทิ

  • สร้าง Challenges ลดการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ให้ทุกคนเริ่มต้นปฏิบัติภารกิจรักษ์โลกได้ง่าย ๆ ด้วยการท้าทายตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเชิญชวนให้หันมาใช้ขวดน้ำและภาชนะบรรจุอาหารที่สามารถใช้ซ้ำได้
  • เชิญชวนชาวกูรูในประเทศไทยร่วมแข่ง Challenges ลดโลกร้อนกับประเทศต่าง ๆ ด้วยการใช้แอปพลิเคชันติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ผ่านการติดตามกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวัน 
  • เปิดโอกาสให้กูรูทุกคนสามารถเลือกใช้วันหยุด 3 วันต่อปี ในการเป็นอาสาสมัครหรือทำกิจกรรมจิตอาสา เพื่อช่วยเหลือสังคมหรือสิ่งแวดล้อมตามที่แต่ละคนให้ความสนใจได้ 
  • ขณะเดียวกัน ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรได้ใช้เวลาทำกิจกรรมดี ๆ เหล่านี้ร่วมกัน โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ กิจกรรมเก็บขยะที่ชายหาดเนื่องในวันคุ้มครองโลก (Earth Day), กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปลูกป่าชายเลน หรือการบริจาคอาหารกลางวันและอุปกรณ์การเรียนให้กับเด็กด้อยโอกาสในมูลนิธิและองค์กรไม่แสวงหากำไร พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนศิลปะการต่อสู้กับโค้ชมืออาชีพ 

ทั้งนี้ บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับพนักงานมาเป็นอันดับแรก โดยดำเนินนโยบาย Hybrid work อย่างต่อเนื่อง ให้พนักงานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งจากออฟฟิศ หรือบ้านได้ตามไลฟ์สไตล์ส่วนบุคคล เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) ได้ดียิ่งขึ้น 

โครงการเหล่านี้สอดคล้องกับความพยายามของพร็อพเพอร์ตี้กูรูในการสร้างวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจและส่งเสริมพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน เพราะเราเชื่อว่าการมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-being) ในองค์กรจะช่วยสนับสนุนให้ชาวกูรูพร้อมพัฒนานวัตกรรมและบริการที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ผู้ใช้งานทุกท่าน และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนชุมชนต่าง ๆ เพื่อการอยู่อาศัย การทำงาน และพัฒนาสู่ความเป็นเมืองแห่งอนาคตต่อไป

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดรายงานความยั่งยืนประจำปี 2566 ของพร็อพเพอร์ตี้กูรูได้ที่นี่

“พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ฟันเฟืองขับเคลื่อนตลาดที่อยู่อาศัย ภายใต้เศรษฐกิจสีรุ้ง (Rainbow Economy)

“พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ฟันเฟืองขับเคลื่อนตลาดที่อยู่อาศัย ภายใต้เศรษฐกิจสีรุ้ง (Rainbow Economy)

“พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ฟันเฟืองขับเคลื่อนตลาดที่อยู่อาศัย ภายใต้เศรษฐกิจสีรุ้ง (Rainbow Economy)

ปี 2567 ถือเป็นปีที่มีความสำคัญสำหรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIAN+ ชาวไทย หลังจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 2-3 เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมานี้ ได้เป็นนิมิตหมายอันดีในการเปิดประตูแห่งความเสมอภาคทางเพศในไทยให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยมีกฎหมายมารองรับและให้สิทธิต่าง ๆ แก่คู่รัก LGBTQIAN+ อย่างเท่าเทียม ลดช่องว่างที่สร้างความไม่เสมอภาคทางเพศให้น้อยลงไป ซึ่งหากมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ไทยจะถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIAN+ สมรสกันได้อย่างถูกกฎหมาย

การผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่สำคัญ และเป็นโอกาสของภาครัฐรวมถึงภาคธุรกิจที่จะดึงดูดกำลังซื้อของผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ข้อมูลจาก LGBT Capital คาดการณ์ว่า อำนาจการใช้จ่ายโดยรวมทั่วโลกของฐานผู้บริโภค LGBTQIAN+ (LGBT-GDP) ในปี 2566 จากจำนวนประชากร 388 ล้านคนทั่วโลก (อายุ 15 ปีขึ้นไป) อยู่ที่ประมาณ 4.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยในจำนวนนี้คิดเป็น LGBTQIAN+ ชาวไทยประมาณ 3.7 ล้านคน และมีอำนาจการใช้จ่ายอยู่ที่ 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่มนี้ และยังเป็นโอกาสของภาคธุรกิจอสังหาฯ ในการตอบโจทย์และเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจสีรุ้ง (Rainbow Economy)

พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม บันไดก้าวสู่สิทธิพื้นฐานสำหรับคู่รักทุกเพศ

นอกจาก พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถสมรสกันได้ตามกฎหมายแล้ว ยังมาพร้อมสิทธิในการสมรสที่ครอบคลุมทุกมิติ ดังนี้ 

  • สิทธิในการหมั้น แต่งงาน และหย่าร้าง คู่สมรส LGBTQIAN+ จะได้รับสิทธิตามกฎหมายในการหมั้น หรือแต่งงาน ซึ่งสามารถจดทะเบียนสมรสในไทยและใช้สิทธิคู่สมรสได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิง รวมไปถึงในกรณีที่ต้องการหย่าร้างทั้งโดยสมัครใจหรือฟ้องหย่า ก็มีสิทธิได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมเช่นกัน
  • สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกัน ช่วยให้คู่สมรส LGBTQIAN+ สามารถรับบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายเป็นบุตรบุญธรรมของตนได้ ต่างจากเดิมที่กลุ่ม LGBTQIAN+ จะสามารถเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมได้เพียงคนเดียว เนื่องจากไม่ได้เป็นคู่สมรสกันตามกฎหมายเหมือนคู่ชายหญิง
  • สิทธิในการดูแลชีวิตของคู่สมรสตามกฎหมาย ซึ่งมีสิทธิในการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่ายได้ในฐานะคู่สมรส และเป็นผู้ตัดสินใจแทนเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ คู่สมรส LGBTQIAN+ ยังมีสิทธิรับประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรสเช่นกัน ซึ่งรวมไปถึงสิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล และสิทธิประกันสังคม
  • สิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรส หากผู้ที่ได้รับมรดกเป็นคู่สมรส LGBTQIAN+ ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง คู่สมรสจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดก และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตจะถือเป็นทายาทโดยธรรมอันมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมายเช่นกัน
  • สิทธิในการจัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน โดยคู่สมรส LGBTQIAN+ จะมีสิทธิในการบริหารจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือโดยระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ซึ่งรวมไปถึงการถือครองอสังหาฯ อย่างบ้าน/คอนโดมิเนียมเช่นกัน

จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมเป็นเหมือนบันไดนำพาคู่รัก LGBTQIAN+ ไปสู่สิทธิขั้นพื้นฐานในหลากหลายด้าน รวมไปถึงการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอย่างการเปิดโอกาสในการกู้ร่วมเพื่อซื้ออสังหาฯ ในฐานะคู่สมรส ข้อมูลจากรายงานดัชนีความเชื่อมั่นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในภาพรวมของไตรมาส 1 ปี 2567 ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เผยว่าผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นกลุ่ม LGBTQIAN+ ถึง 4.9% โดยความต้องการที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัย 4 ถือเป็นเทรนด์ที่ปราศจากเพศ (Genderless) และผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIAN+ ต่างก็มีความต้องการที่อยู่อาศัยที่ไม่ต่างจากผู้บริโภคในกลุ่มอื่น ดังนั้นจึงควรได้รับสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เท่าเทียมกัน

ปลดล็อกความเสมอภาคในการซื้อที่อยู่อาศัยของคู่รัก LGBTQIAN+ ด้วย พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม 

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยว่า แม้ปัจจุบันสังคมไทยจะเปิดรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ยังไม่มีการรับรองความสัมพันธ์แบบคู่สมรสอย่างเป็นทางการ จึงส่งผลต่อการใช้สิทธิกู้ร่วมในการซื้ออสังหาฯ ของคู่รัก LGBTQIAN+ โดยทั่วไปแล้วหากเป็นการกู้เพียงลำพัง ชาว LGBTQIAN+ จะสามารถยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ทันทีเพียงแต่จะมีข้อจำกัดอยู่ที่ไม่สามารถขอสินเชื่อในฐานะผู้กู้ร่วมได้ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขของธนาคารที่ระบุว่าผู้กู้ร่วมนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ร่วมเชื้อสายเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเป็นชายหญิงที่เป็นคู่สมรสกัน ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ขณะที่ปัจจุบันกฎหมายไทยยังไม่รองรับการจดทะเบียนสมรสของคู่รัก LGBTQIAN+ จึงทำให้ความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่มีผลทางนิตินัย

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเริ่มมีหลายธนาคารที่จัดแคมเปญพิเศษเพื่อเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถกู้ซื้อบ้าน/คอนโดฯ ร่วมกันได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเพศอีกต่อไป โดยส่วนใหญ่จะมีรายละเอียดเบื้องต้นที่คล้ายคลึงกัน เช่น 

  • มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
  • มีรายได้มั่นคง โดยมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ทั้งผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม (บางธนาคารกำหนดให้ผู้กู้หลักมีรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป)
  • พนักงานประจำต้องมีอายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป (บางธนาคารไม่มีกำหนด)
  • ผู้กู้ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี หรือตามที่ธนาคารกำหนด เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, เปิดบัญชีเงินฝากร่วมกัน, รูปถ่ายงานมงคลสมรส หรือรูปภาพเพื่อยืนยันว่าเป็นคู่รักกันจริง ๆ เป็นต้น (บางธนาคารไม่มีกำหนด)

นอกจากนี้ ผู้กู้ยังต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั่วไป คือต้องมีภาระหนี้ไม่เกิน 30-40% ของรายได้ มีเงินออมอย่างน้อย 10% ของราคาที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีบันทึกการเคลื่อนไหวบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน โดยวงเงินกู้ที่ได้รับอาจได้ 100% ตามที่ยื่นกู้หรือแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร อย่างไรก็ดี ปัจจุบันธนาคาร/สถาบันทางการเงินมีความเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดหนี้เสีย ผู้บริโภคจึงควรเตรียมความพร้อมทางการเงิน โดยมีวินัยในการเก็บออมเงิน ลดภาระหนี้ที่ไม่จำเป็น เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินที่ดีและแสดงความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งจะช่วยให้การยื่นกู้ซื้อบ้าน/คอนโดฯ ผ่านไปได้ด้วยดี และได้วงเงินที่ครอบคลุมเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้มากขึ้น

ทางเลือกช่วยให้คู่รัก LGBTQIAN+ กู้ร่วมได้ แม้ยังไม่ได้เป็นคู่สมรส

จากข้อจำกัดในการขอกู้ร่วมของคู่รัก LGBTQIAN+ ตามที่กล่าวมานั้น จึงทำให้เกิดทางเลือกในการใช้สินเชื่อประเภทอื่นในการซื้อที่อยู่อาศัย โดยบางธนาคารจะมีสินเชื่อเพื่อธุรกิจหรือ SME ที่คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อสินทรัพย์ถาวรเพื่อประกอบกิจการได้ เช่น สถานประกอบการพร้อมที่ดิน หรือที่ดินเปล่าเพื่อใช้ดำเนินกิจการ 

อย่างไรก็ดี การใช้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ถือได้ว่าเป็นเพียงทางเลือกในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย เนื่องจากมาพร้อมความท้าทายที่ควรพิจารณา ทั้งในเรื่องของระยะเวลากู้นานสุดที่ได้เพียง 10 ปีเท่านั้น ต่างจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งให้ระยะเวลาผ่อนสูงสุดถึง 30-40 ปี และอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ที่มีอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั่วไปอีกด้วย ดังนั้น คู่รัก LGBTQIAN+ จึงควรพิจารณาและศึกษารายละเอียดของแคมเปญสินเชื่อต่าง ๆ ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย โดยคำนึงจากพื้นฐานความเหมาะสมในการอยู่อาศัยจริงและความพร้อมทางการเงินเป็นหลัก 

อย่างไรก็ตาม ข้อควรคำนึงที่สำคัญเมื่อคู่รักทุกเพศวางแผนจะกู้ร่วมคือกรรมสิทธิ์บ้านจะเป็นของทั้งสองฝ่าย หากในอนาคตมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการจะโอนหรือขายให้แก่ผู้อื่น จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้กู้ร่วมทุกราย แม้ว่าความจริงผู้กู้หลักจะเป็นผู้ผ่อนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม นอกจากนี้ หากมีปัญหาต้องการกรรมสิทธิ์คืน ผู้กู้อาจจะต้องดำเนินการฟ้องร้องและหาหลักฐานการผ่อนชำระ เพื่อมาสนับสนุนให้เห็นว่าผู้กู้หลักเป็นผู้ผ่อนแต่เพียงผู้เดียวจริง ๆ และอาจใช้เวลาในการฟ้องร้องพอสมควร

ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา ก่อนจะประกาศใช้เป็นกฎหมายในอนาคต ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในไทย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีหลายธนาคาร/สถาบันการเงินที่เปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถยื่นเรื่องกู้สินเชื่อร่วมกันได้ผ่านแคมเปญพิเศษ โดยมีเงื่อนไขในการพิจารณาที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทยอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข้อมูลธนาคารที่ให้สินเชื่อสำหรับผู้กู้ร่วมที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ในแวดวงอสังหาฯ เพื่อเป็นข้อมูลให้ชาว LGBTQIAN+ ได้ศึกษาประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกที่อยู่อาศัย พร้อมเป็นแหล่งรวมประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยสามารถเตรียมความพร้อมก่อนเป็นเจ้าของบ้านในฝันได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น