ส่องเทรนด์สังคมอุดมผู้สูงวัย ที่อยู่อาศัยแบบไหนโดนใจวัยเกษียณ

ส่องเทรนด์สังคมอุดมผู้สูงวัย ที่อยู่อาศัยแบบไหนโดนใจวัยเกษียณ

ส่องเทรนด์สังคมอุดมผู้สูงวัย ที่อยู่อาศัยแบบไหนโดนใจวัยเกษียณ

รายงานจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยเผยว่า ปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ที่ใช้เวลาเพียง 17 ปีนับจากปี 2548 ในการเปลี่ยนผ่านเป็นสังคมสูงอายุ สวนทางกับอัตราเด็กเกิดใหม่ที่ต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด สำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงข้อมูลจำนวนการเกิดประจำปี 2564 พบว่า มีประชากรเกิดทั้งหมด 544,570 คน ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ และเป็นปีแรกที่ประเทศไทยมีการเกิดน้อยกว่าการตาย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 รวมไปถึงการที่คนไทยครองตัวเป็นโสดมากขึ้นหรือชะลอการมีบุตรจึงส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของจำนวนประชากร 

วางแผนพักผ่อนในอนาคต เกษียณแล้วไปไหนดี?

จากแนวโน้มข้างต้นส่งผลให้ผู้บริโภคทั้งที่ครองตัวเป็นโสดหรือไม่มีบุตรหลาน เริ่มหันมาตระหนักถึงการวางแผนช่วงบั้นปลายชีวิตมากขึ้น ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยให้เห็นว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยรองรับชีวิตหลังเกษียณมากขึ้น โดยเชียงใหม่ถือเป็นเมืองยอดนิยมอันดับหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการไปใช้ชีวิตหลังเกษียณ (24%) ตามมาด้วยเชียงราย และชลบุรี (10% และ 8% ตามลำดับ) โดยมากกว่าครึ่ง (52%) เผยว่าปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้สนใจไปอยู่ทำเลดังกล่าวมาจากการได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติหรือพื้นที่สีเขียว ตามมาด้วยตั้งอยู่ใกล้สถานพยาบาลเพื่อความสะดวกหากต้องไปพบแพทย์ (49%) และอยู่ใกล้ระบบขนส่งมวลชนที่ช่วยให้เดินทางไปที่ต่าง ๆ สะดวกขึ้น (44%)

อย่างไรก็ตาม แม้ผู้บริโภคจะมีความสนใจโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อวัยเกษียณ (Retirement Village) แต่พบว่าอุปสรรคสำคัญในการย้ายออกมาจากเหตุผลด้านการเงินและความผูกพันในครอบครัว โดย 45% ของผู้บริโภคทุกช่วงวัยมองว่าโครงการหมู่บ้านวัยเกษียณมีราคาสูงเกินความสามารถที่จะจ่ายไหว ตามมาด้วยความต้องการอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวและบุตรหลาน (44%) ต้องการอยู่ที่บ้านหลังปัจจุบันมากกว่า (41%) กังวลในเรื่องของความปลอดภัยและสุขภาพ (34%) และมองว่าโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อวัยเกษียณไม่จำเป็น (19%)

5 เหตุผลที่ทำให้คนไม่สนใจบ้านสำหรับวัยเกษียณ

ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) นั้นก็มีอุปสรรคในการย้ายไปอยู่อสังหาริมทรัพย์สำหรับวัยเกษียณเหมือนกับผู้บริโภคในช่วงวัยอื่น แต่ให้น้ำหนักของความสำคัญ 3 อันดับแรกต่างออกไป โดยมากกว่าครึ่ง (52%) เลือกอยู่บ้านเดิมของตน และต้องการอยู่กับครอบครัว (51%) ตามมาด้วยมองว่ามีราคาแพงเกินไป (43%) สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่นั้นมีความคุ้นเคยและชื่นชอบการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมเดิมกับครอบครัวมากกว่าการย้ายออกไปอยู่โครงการที่อยู่อาศัยวัยเกษียณที่ต้องปรับตัวใหม่ แม้จะได้พบหรือมีสังคมรุ่นเดียวกันก็ตาม

จับตาความต้องการบ้านผู้สูงวัย เปลี่ยนไปแค่ไหนเมื่อเจอโควิด

    • บ้านที่ดีต้องส่งเสริมสุขภาพ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการจุดประกายให้ผู้บริโภคทุกช่วงวัยเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้วป่วยหนัก โดย 3 ใน 4 ของผู้บริโภคอายุ 60 ปีขึ้นไป (75%) เผยว่า โควิด-19 ทำให้หันมาตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสุขภาพที่ดีมากขึ้น ไม่เพียงแต่มีผลต่อแนวคิดการดำเนินชีวิตเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการที่อยู่อาศัยเช่นกัน โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่ 74% เผยว่ายินดีที่จะจ่ายเพิ่มหากโครงการอสังหาริมทรัพย์มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในขณะที่ 2 ใน 3 ของผู้สูงอายุ (69%) มองว่าระบบระบายอากาศและแสงธรรมชาติที่เพียงพอถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญและมีความจำเป็นสำหรับที่อยู่อาศัย แม้ว่าการแพร่ระบาดฯ จะจบลงก็ตาม เห็นได้ชัดว่าผู้สูงอายุมีความตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับการเลือกบ้านที่เสริมสร้างความสบายใจในการดูแลสุขภาพ เนื่องจากถือเป็นช่วงวัยที่ได้ใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้นนั่นเอง
    • วัยเก๋าก้าวทันโลก PropTech การแพร่ระบาดฯ ที่ยาวนานถือเป็นอุปสรรคสำคัญเมื่อต้องเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ และกลายเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ผู้สูงอายุหันมาเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาอำนวยความสะดวกในการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้ราบรื่นยิ่งขึ้น ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ เผยว่า เกือบครึ่งของผู้บริโภคที่อายุ 60 ปีขึ้นไป (48%) นิยมคัดเลือกโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่สนใจผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ 44% ยังเข้าร่วมงานแสดงที่อยู่อาศัยออนไลน์ รวมไปถึงมีการเยี่ยมชมโครงการเสมือนจริง (Virtual Tour) ถึง 39% สะท้อนให้เห็นว่า ผู้สูงอายุปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ (PropTech) ได้มากกว่าแค่ใช้เพื่อค้นหาข้อมูลทั่วไป แต่ยังสามารถเลือกใช้ฟีเจอร์ที่เหมาะสมกับความต้องการเพื่อสนับสนุนการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กลายเป็นคนหาบ้านยุคดิจิทัล ทลายกำแพงผู้สูงวัยที่มีต่อการเรียนรู้เทคโนโลยีและโลกออนไลน์ได้เป็นอย่างดี 
    • ขนาดที่อยู่อาศัยดึงดูดใจเมื่อคิดซื้อบ้าน ปัจจัยภายในโครงการที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ เมื่อผู้สูงอายุตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมาจากขนาดที่อยู่อาศัยเป็นหลักถึง 55% เนื่องจากมองว่าพื้นที่ใช้สอยในบริเวณบ้านควรมีเพียงพอรองรับการทำกิจกรรมที่หลากหลายของคนในครอบครัวที่มีหลายช่วงวัย ตามมาด้วยการพิจารณาจากสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่อยู่อาศัย และมาตรการ/โครงการที่จะช่วยให้มีบ้านเป็นของตัวเองง่ายขึ้นในสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน (48% และ 47% ตามลำดับ) สาเหตุมาจากการที่ผู้สูงอายุมองว่าการซื้อบ้านในช่วงที่อายุมากขึ้น อาจเป็นอุปสรรคเมื่อยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือได้ระยะเวลาผ่อนชำระที่น้อยลง หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีความพร้อมด้านการเงินสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น 

นอกจากนี้ 3 อันดับแรกของปัจจัยภายนอกโครงการที่ผู้สูงอายุใช้พิจารณาเมื่อเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยจะเน้นไปที่การเพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตปัจจุบันเป็นหลัก โดยมากกว่าครึ่ง (56%) ต้องการโครงการที่เดินทางสะดวกและเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ ตามมาด้วยพิจารณาจากทำเลที่ตั้ง (52%) และความปลอดภัยของทำเล (44%) เพื่อรองรับการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสบายใจไร้กังวลแม้อยู่เพียงลำพัง

พักผ่อนวิถีใหม่ “บ้านพักคนชรา VS บ้าน/คอนโดผู้สูงอายุ” แบบไหนคือคำตอบ

ผู้บริโภคในแต่ละช่วงวัยต่างมีความต้องการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปรวมไปถึงผู้สูงอายุเช่นกัน ผู้สูงอายุบางส่วนอาจต้องการความเป็นส่วนตัว อยากทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน หรือมองหาที่อยู่อาศัยที่มีบริการด้านสุขภาพมาทดแทนในกลุ่มผู้สูงอายุที่ครองตัวเป็นโสดหรือบุตรหลานไม่มีเวลามาดูแลมากพอ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย แนะนำแนวทางเลือกที่อยู่อาศัยรองรับวัยเกษียณ เพื่อให้ผู้บริโภคได้วางแผนเลือกบ้านหลังสุดท้ายให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตเมื่อถึงวัยพักผ่อนจากการทำงาน

    • บ้านพักคนชรา เป็นโครงการที่อยู่อาศัยที่มีเจ้าหน้าที่และพยาบาลวิชาชีพคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งมีอุปกรณ์รักษาพยาบาลตามระดับความต้องการของผู้สูงอายุ ซึ่งจำแนกตามความต้องการพึ่งพิงบุคคลอื่นที่แตกต่างกันออกไป จึงเหมาะกับผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษ หรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ บ้านพักคนชราจะมีบริการอาหารครบ 3 มื้อ และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้อยู่อาศัย ห้องพักพื้นฐานในแต่ละโครงการจะมีให้เลือกทั้งแบบห้องพักรวม ห้องพักเดี่ยวที่เสียค่าใช้จ่ายเมื่อเข้าพักเป็นรายเดือน หรือบ้านพักแบบพิเศษที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ซึ่งต้องจ่ายค่าแรกเข้าเพื่อบำรุง/ปรับปรุงที่พักเป็นเงินก้อนและจ่ายค่าเข้าพักรายเดือนเช่นกัน บ้านพักคนชราจึงเหมาะกับผู้สูงอายุที่มีเงินเดือนหรือรายได้ต่อเดือนสม่ำเสมอ หรือมีเงินบำนาญ ปัจจุบันบ้านพักคนชรามีหลายรูปแบบและหลายระดับราคาให้เลือกเริ่มต้นจากหลักพัน โดยคิดราคาจากความต้องการของผู้สูงอายุและความยากง่ายในการดูแล อย่างไรก็ดี จากแนวโน้มผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้บ้านพักคนชราบางรูปแบบที่มีราคาไม่แพงมีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการ ผู้ที่สนใจจึงควรตรวจสอบคุณสมบัติให้พร้อมก่อนวางแผนจองคิวบ้านพักคนชราที่สนใจไว้ล่วงหน้า
    • บ้าน/คอนโดผู้สูงอายุ เป็นโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุยุคใหม่ที่สามารถดูแลตัวเองได้ มีสุขภาพแข็งแรง และยังต้องการเข้าสังคมเพื่อพบปะเพื่อนฝูง โดยบ้าน/คอนโดผู้สูงอายุจะออกแบบที่พักอาศัยโดยคำนึงถึงความสะดวกและความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุเป็นหลัก มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้บริการตลอด 24 ชม. มีพื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันเหมือนโครงการที่อยู่อาศัยทั่วไป พร้อมทั้งมีกิจกรรมไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ให้ได้ทำร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน รูปแบบการซื้อขายมีทั้งแบบขายสิทธิอยู่อาศัย 30 ปี ขายสิทธิการอยู่อาศัยตลอดชีวิต หรือขายขาด ราคาที่พักแต่ละโครงการเริ่มต้นตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้าน เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีเงินเก็บก้อนใหญ่ มีการวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบ โดยผู้สูงอายุต้องเตรียมเงินให้พร้อมก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ และต้องมีเงินเก็บสำรองสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอีกด้วย เนื่องจากต้องรับผิดชอบค่าอาหาร ค่าทำความสะอาด ค่ากิจกรรมต่าง ๆ และค่ารักษาพยาบาลเอง แม้บ้าน/คอนโดผู้สูงอายุจะมีราคาค่อนข้างสูงแต่ก็มาพร้อมกับความสะดวกสบายที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตตามวิถี Young at heart ได้อย่างเป็นอิสระและปลอดภัย 

โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับวัยเกษียณถือเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองท่ามกลางการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุในไทย แม้ดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับผู้สูงอายุที่วางแผนจะอยู่อาศัยที่บ้านเดิมกับครอบครัว อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้รองรับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถทำกิจกรรมทั่วไปได้คล่องแคล่วเหมือนวัยหนุ่มสาว จึงควรออกแบบและเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทยอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (https://www.ddproperty.com) นำเสนอบทความและข่าวสารความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ซื้อ ผู้ขาย รวมถึงคนหาบ้าน เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลประกาศซื้อ/ขาย/เช่าโครงการที่น่าสนใจมากมาย พร้อมช่วยให้ผู้บริโภคสามารถศึกษาและค้นหาบ้านพักที่ตอบโจทย์วัยเกษียณ หรือนำความรู้มาปรับแต่งบ้านให้พร้อมรองรับการใช้ชีวิตของสมาชิกครอบครัวทุกช่วงวัยได้มากที่สุด

ตื่นตัวไม่ตื่นตูม “เงินเฟ้อไม่แผ่ว-โรคระบาด-ผลกระทบความไม่สงบ” อยากมีบ้านช่วงนี้ดีหรือไม่?

ตื่นตัวไม่ตื่นตูม “เงินเฟ้อไม่แผ่ว-โรคระบาด-ผลกระทบความไม่สงบ”

ตื่นตัวไม่ตื่นตูม “เงินเฟ้อไม่แผ่ว-โรคระบาด-ผลกระทบความไม่สงบ” อยากมีบ้านช่วงนี้ดีหรือไม่?

ปี 2565 เป็นอีกปีที่หลายภาคส่วนต้องเผชิญความท้าทายหลายรูปแบบทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ยังคงเปราะบางต่อเนื่องนับจากวิกฤติโควิด-19 มาอย่างยาวนาน ไม่เพียงแต่ภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ผู้บริโภคต่างได้รับผลกระทบถ้วนหน้าทั้งทางตรงและทางอ้อม แล้วยังมีผลกระทบจากสงครามในยูเครนที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นจนกระทบต่อต้นทุนการผลิตและขนส่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคก็ปรับตัวตามต้นทุนที่สูงขึ้น ผนวกกับสถานการณ์เงินเฟ้อโลกที่จะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อในไทยสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับ 104.10 สูงขึ้น 5.28% เทียบเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และสูงขึ้น 1.06% จากเดือนมกราคม 2565 โดยถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2551 เลยทีเดียว

ภาวะเงินเฟ้อกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยอย่างไร

ภาวะเงินเฟ้อกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยอย่างไร 

ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่แปรผันตามสภาพเศรษฐกิจนั้น แม้จะมีการรุกตลาดอย่างต่อเนื่องของผู้พัฒนาอสังหาฯ ตั้งแต่ต้นปีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ แต่ภาวะเงินเฟ้อเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ปีนี้ เนื่องจากมีผลกระทบเกี่ยวพันทั้งระบบนิเวศทางธุรกิจในทุกมิติตั้งแต่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ไปจนถึงระดับประเทศ 

    • สินค้าทยอยปรับราคา ค่าครองชีพพุ่ง เมื่อมีภาวะเงินเฟ้อผนวกกับต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มต่อเนื่อง ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนตามความเป็นจริง หลังผู้ประกอบการและผู้ผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนมาอย่างยาวนานในช่วงที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดฯ แม้กำลังซื้อผู้บริโภคจะยังชะลอตัวอยู่ แต่ผู้ผลิตก็เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับราคาสินค้าเพิ่ม นอกจากนี้อัตราค่าแรงที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการดำรงชีพในปัจจุบันเป็นอีกต้นทุนสำคัญเช่นกัน ที่ผู้บริโภคต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าเดิม นั่นคืออำนาจซื้อของผู้บริโภคก็น้อยลงตามไปด้วย 

ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจ ค่าครองชีพเติบโตสวนทางกัน ทว่าความสามารถในการชำระหนี้ลดลง เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อเป็นระยะเวลายาวนาน ผู้บริโภคต้องรัดเข็มขัด หรือชะลอการใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป และเมื่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นขณะที่รายได้เท่าเดิม ย่อมทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงซบเซาเนื่องจากไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบเพียงพอต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต 

    • ต้นทุนการก่อสร้างแปรผันตามสถานการณ์โลก ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนจากการปรับราคาเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการแพร่ระบาดฯ ในจีนที่เป็นประเทศส่งออกเหล็กอันดับ 1 ของโลก นอกจากนี้ผลกระทบที่เห็นได้ชัดจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนคือการปรับตัวของราคาน้ำมันที่กระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่งโดยตรง โดยเฉพาะวัสดุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทั้งรัสเซียและยูเครนถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญกับภาคอสังหาฯ ไม่น้อย เนื่องจากเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลก ข้อมูลจากสมาคมเหล็กโลก (World Steel Association) เผยว่า รัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกเหล็กรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ในขณะที่ยูเครนติดอันดับ 8 ดังนั้น ภาพรวมการก่อสร้างที่อยู่อาศัยปีนี้จึงมีทิศทางปรับราคาขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ 

คนซื้อบ้านต้องรู้ อยากมีบ้านท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อควรทำอย่างไร?

จากปัจจัยต่าง ๆ ที่รุมเร้าตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของผู้บริโภค ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย แนะแนวทางให้คนอยากมีบ้านตรวจสอบความพร้อมก่อนตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในนาทีนี้ หากซื้อบ้านช่วงนี้ควรเตรียมตัวอย่างไร 

    • ค่าเงินลดลง คนซื้อบ้านต้องเตรียมเงินเพิ่ม ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านควรพิจารณาถึงความพร้อมของการซื้ออสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางรายได้ทั้งหมดที่มี รวมไปถึงเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้ในอนาคตด้วย นอกจากนี้การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มาพร้อมโปรโมชั่นส่วนลด ของแถม หรือเฟอร์นิเจอร์ครบชุด จะเป็นอีกวิธีที่ช่วยเพิ่มความคุ้มค่ามากขึ้นหากต้องซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในเวลานี้ ช่วยลดรายจ่ายบางส่วนของคนซื้อบ้านลงไปได้ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อทำให้มูลค่าของเงินลดลง ผู้บริโภคจำเป็นต้องซื้อสินค้าแบบเดิมในราคาที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้หรือรายรับยังคงเท่าเดิมหรือลดลง ดังนั้น แม้จะมีจำนวนเงินเท่าเดิมแต่จะซื้อสินค้าได้น้อยลง การวางแผนการเงินที่รอบคอบเพื่อรักษาสภาพคล่องในครอบครัวจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ
    • ที่อยู่อาศัยในตลาดยังมีราคาเหมาะสม ต้นทุนการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวต่อเนื่องทั้งจากแรงงานที่ขาดแคลนและต้นทุนวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ทำให้ปีนี้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ได้ประกาศถึงทิศทางการปรับขึ้นราคาโครงการใหม่ให้สอดคล้องต้นทุนจริงมากขึ้น ด้านบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่อยู่อาศัยต่างมีแผนปรับขึ้นราคาก่อสร้างอ้างอิงตามราคาวัสดุต่าง ๆ ที่ขึ้นราคาเช่นกัน อย่างไรก็ดี ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ไตรมาสล่าสุดอยู่ที่ 84 จุด หรือลดลงประมาณ 1% จากไตรมาสก่อน เป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ซื้อหรือนักลงทุนที่มีความพร้อมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออยู่เองหรือลงทุนระยะยาว เนื่องจากยังมีสินค้าคงค้างที่คำนวณราคาจากต้นทุนเดิมในตลาดให้เลือกพอสมควร 
    • ลงทุนอสังหาฯ มีมูลค่าเพิ่มในอนาคต เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออกหรือ “อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง” มีค่าลดลงไป ทำให้ดอกเบี้ยที่จะได้รับและเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลงตามไปด้วย การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์จึงอาจไม่ใช่วิธีที่จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในยุคที่เงินเฟ้อสูง การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้นแม้จะเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง แต่น่าสนใจตรงที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากผู้ซื้อจะใช้เพื่ออยู่อาศัยเองแล้วยังสามารถนำไปปล่อยเช่าสร้างรายได้ในระยะยาว ก่อนประกาศขายในช่วงที่สามารถทำกำไรในตลาดได้ อย่างไรก็ดี การลงทุนในอสังหาฯ ช่วงเงินเฟ้อนั้น ผู้ซื้อควรซื้อด้วยการยื่นกู้ธนาคารมากกว่าใช้เงินสด และควรใช้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาว เพราะในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อนั้นจะเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นกัน
    • ทำเลที่มีศักยภาพสร้างโอกาสเติบโต การเลือกซื้ออสังหาฯ ในทำเลที่มีศักยภาพสามารถเติบโตได้ในอนาคตถือเป็นการวางแผนที่ดีเช่นกัน เพราะหากมีความจำเป็นต้องขาย อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในทำเลที่มีศักยภาพจะเพิ่มโอกาสให้ได้รับมูลค่าเพิ่มที่คุ้มค่าหรือทำกำไรได้ดีกว่า โดยพิจารณาจากทำเลที่ตั้งโครงการที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ใกล้แหล่งงาน/ห้างสรรพสินค้า เป็นทำเลที่มีรถไฟฟ้าผ่านหรือมีแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าในอนาคต ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่าเกือบครึ่งของคนหาบ้าน (46%) สนใจซื้อที่อยู่อาศัยในทำเลชานเมืองมาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากปัจจุบันรถไฟฟ้ามีการขยายเส้นทางไปยังแถบชานเมืองมากขึ้น จึงทำให้การเดินทางสะดวกกว่าที่เคย นอกจากนี้ โครงการที่อยู่อาศัยในแถบชานเมืองยังมีราคาย่อมเยากว่า จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและคุ้มค่าสำหรับคนหาบ้าน

การวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยไม่ใช่เรื่องไกลตัวของทุกคน ยิ่งมีการเตรียมความพร้อมมากเท่าไรก็เป็นผลดีเมื่อต้องตัดสินใจซื้อมากเท่านั้น แม้กำลังซื้อจะชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจ แต่การวางแผนทางการเงินที่ดีจะช่วยให้สามารถเป็นเจ้าของบ้านได้อย่างมั่นใจตามแผนที่กำหนดไว้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การศึกษาข้อมูลความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทยอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (https://www.ddproperty.com) อัปเดตข้อมูลข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ และความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการซื้อ/ขาย/เช่า รวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลประกาศซื้อ/ขาย/เช่าในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแวดวงอสังหาฯ ก็สามารถเข้าไปฝากคำถามได้ที่หน้าถามกูรู (AskGuru) ที่มีเหล่ากูรูผู้เชี่ยวชาญตัวจริงพร้อมไขข้อสงสัยที่คุณอยากรู้ให้กระจ่าง เพื่อช่วยให้ผู้ที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเองสามารถวางแผนเลือกซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างมั่นใจ ไร้กังวลมากขึ้น

PropertyGuru Successfully Completes Business Combination with Bridgetown 2 Holdings

PropertyGuru

PropertyGuru Successfully Completes Business Combination with Bridgetown 2 Holdings

    • Proceeds of ~US$254 million will be used to further accelerate organic growth and pursue M&A opportunities to capture the growth momentum of a recovering Southeast Asia property market driven by long-term macro tailwinds of increasing affluence, digitalization and urbanization
    • Transaction values PropertyGuru at an enterprise value of ~US$1.36 billion and an equity value of ~US$1.61 billion
    • PropertyGuru will ring the NYSE’s opening bell on March 18 and begin trading under the ticker “PGRU”
PropertyGuru

PropertyGuru Pte. Ltd. (“PropertyGuru” or “the Company”), Southeast Asia’s leading1 property technology (“PropTech”) company, today completed its previously announced business combination with Bridgetown 2 Holdings Limited (“Bridgetown 2”) (NASDAQ: BTNB), a special purpose acquisition company formed by Pacific Century Group (“Pacific Century”) and Thiel Capital LLC (“Thiel Capital”). The business combination was approved by Bridgetown 2 stockholders in an Extraordinary General Meeting of Company Shareholders held on March 15, 2022.

PropertyGuru Group Limited’s (“PubCo”) ordinary shares are expected to begin trading on the New York Stock Exchange (“NYSE”) on March 18, 2022 under the ticker symbol “PGRU”.

“We are thrilled to have successfully completed our business combination with Bridgetown 2, which provides additional capital to pursue organic and strategic growth, and will accelerate our ability to access capital markets in pursuit of delivering world-class solutions for our customers,” said Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, PropertyGuru Group. “Over the past 15 years PropertyGuru has helped shape the PropTech industry in Southeast Asia and introduced many first solutions for property seekers, agents, and developers that enabled digitalization of the property industry. As evidenced by the 23% increase in our 2021 revenue – we are entering our next post-Covid phase of growth with significant momentum.

Hari V. Krishnan

“As we look ahead, we will continue to invest in technology and expand our services and offerings to build on our leading positions in Singapore, Vietnam, Malaysia and Thailand.[1] Southeast Asia’s real estate market is beginning to recover from the pandemic and as the region’s increasingly affluent and digitally enabled population moves to urban centers, PropertyGuru is well-positioned to benefit from these long-term trends.” 

Southeast Asia is estimated to be the world’s fourth largest economy by 2030[2], driven by favourable long-term macroeconomic dynamics, creating significant opportunities for PropertyGuru – which has an addressable market of US$8.1 billion according to Frost & Sullivan. Through its continued investments, the Company is positioned to stay ahead of the evolving market demand and extend its leadership position as the region’s property markets recover from the pandemic.

“PropertyGuru is digitally transforming a traditional real estate market in Southeast Asia to create a trusted and transparent online property marketplace,” said Matt Danzeisen, Chairman, Bridgetown 2. “We believe PropertyGuru is just scratching the surface in the world’s most dynamic and fastest growing region, and we are excited to partner with Hari and his talented team to create lasting value for our shareholders, employees, customers and partners.” 

Transaction Details

The completion of the business combination values PropertyGuru at an enterprise value of ~US$1.36 billion and an equity value of ~US$1.61 billion.

PropertyGuru received ~US$254 million in gross proceeds through the contribution of US$122 million of cash held in Bridgetown 2’s trust account, a concurrent US$100 million private placement (“PIPE”) of common stock anchored by Baillie Gifford, Naya, REA Group, Akaris Global Partners, and one of Malaysia’s largest asset managers, priced at US$10.00 per share. REA Group also invested an additional US$32 million. In addition, KKR, TPG Group and REA Group rolled 100% of their equity into PropertyGuru, demonstrating their continued commitment to the Company’s growth strategy. 

Advisors

Merrill Lynch (Singapore) Pte. Ltd. served as exclusive financial advisor to PropertyGuru. Latham & Watkins LLP and Allen & Gledhill LLP served as legal advisors to PropertyGuru.

Merrill Lynch (Singapore) Pte. Ltd., Citigroup Global Markets Inc., KKR Capital Markets Asia Limited and TPG Capital BD, LLC served as placement agents to Bridgetown 2. Skadden, Arps, Slate, Meagher & Flom LLP and Rajah & Tann Singapore LLP served as legal advisors to Bridgetown 2.

Ringing the Bell at the NYSE

On March 18, PropertyGuru’s Chief Executive Officer and Managing Director Hari V. Krishnan will ring the NYSE opening bell at 9:30 a.m. Eastern Time (9:30 p.m. Singapore Time). He will be joined on stage by PropertyGuru’s Leadership team, Founders, Board and Bridgetown 2’s Chairman and CEO. The bell-ringing ceremony will be livestreamed to its gala listing event in Singapore and available on NYSE’s website here: https://www.nyse.com/bell.

PropertyGuru will commemorate its listing by opening the doors to the Company’s five Southeast Asian markets through live-stream door installations between New York and its home markets, that will be set up at the NYSE’s Experience Square. The event will take place at 10:15a.m. Eastern Time. 

“ความต้องการที่อยู่อาศัยกับวิถีชีวิตดิจิทัล” มีความท้าทายมากน้อยแค่ไหน เมื่อ COVID-19 เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค

“ความต้องการที่อยู่อาศัยกับวิถีชีวิตดิจิทัล” มีความท้าทายมากน้อยแค่ไหน

“ความต้องการที่อยู่อาศัยกับวิถีชีวิตดิจิทัล” มีความท้าทายมากน้อยแค่ไหน เมื่อ COVID-19 เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค

วิถีชีวิตดิจิทัลกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตปัจจุบัน โดยมีตัวแปรสำคัญอย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 นวัตกรรมเข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต รวมถึงรูปแบบธุรกิจไปสู่บริบทใหม่ที่ทุกคนต้องปรับตัวเข้าหา ซึ่งทำให้ผู้คนปรับตัวให้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตแบบรักษาระยะห่างและดูแลสุขอนามัยมากขึ้น และยังทำให้ทัศนคติบางอย่างเปลี่ยนไปเช่นกัน เห็นได้จากแบบสอบถาม DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ที่เผยให้เห็นทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากผลกระทบของโควิด-19 โดย 2 ใน 3 ของผู้บริโภค (66%) หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัดมากขึ้น ตามมาด้วยเกือบครึ่ง (42%) เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการไปรับประทานอาหารนอกบ้านบ่อย ๆ โดยเกือบ 1 ใน 3 ของผู้บริโภค (31%) ยังคงกังวลใจเกี่ยวกับการแพร่ระบาดฯ เนื่องจากผู้ใกล้ชิดได้รับผลกระทบ ในขณะที่มีผู้บริโภคเพียง 1% เท่านั้นที่มองว่าโควิด-19 ไม่ได้มีผลต่อการดำเนินชีวิตเลย

โควิด-19 ปัจจัยเร่งคนหาบ้านก้าวเข้าสู่วิถีชีวิตดิจิทัล?

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด สะท้อนผลกระทบของโควิด-19 ที่กลายมาเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมุมมองและพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยไปจากก่อนยุค New Normal โดยมองหาบ้านที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุคใหม่ด้วยเช่นกัน  

    • Work from Home ทำให้เกิดการลาออกระลอกใหญ่ (The Great Resignation) มาตรการล็อกดาวน์ส่งผลให้การ Work from Home เป็นภารกิจประจำวันและแม้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายและมีการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศตามปกติแล้วก็ตาม ผู้บริโภคจำนวนมากได้ทบทวนรูปแบบการทำงานและวิถีชีวิตที่ต้องการมากขึ้น จนเกิดกระแสการลาออกระลอกใหญ่ของมนุษย์เงินเดือน (The Great Resignation) ในสหรัฐฯ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ในประเทศไทย เห็นได้จากผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (59%) เผยว่าตั้งใจหางานที่อนุญาตให้ Work from Home ได้มากขึ้น เนื่องจากเห็นความสำคัญของการได้ใช้ชีวิตกับครอบครัวและต้องการรักษาระยะห่างในสังคม นอกจากนี้ในช่วง Work from Home ที่ผ่านมา ผู้บริโภคต่างได้ปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยเพื่อสร้างบรรยากาศที่บ้านให้รองรับการทำงานออนไลน์ไปแล้ว จึงอาจยังไม่เห็นความจำเป็นในการกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ
    • โลกออนไลน์มีบทบาทในการซื้อขายอสังหาฯ มากขึ้น จากเดิมที่ช่องทางออนไลน์เคยเป็นเพียงแหล่งค้นหาข้อมูลโครงการที่อยู่อาศัย แต่การแพร่ระบาดฯ เป็นอุปสรรคสำคัญในการออกไปเยี่ยมชมโครงการฯ ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ต้องปรับกลยุทธ์ในการเชื่อมต่อโลกออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคและนักลงทุนต้องเรียนรู้และปรับตัวตามไปด้วย โดยมากกว่าครึ่งของผู้บริโภคเลือกใช้ช่องทางออนไลน์ในการคัดเลือกโครงการที่อยู่อาศัยที่สนใจ (54%) และเยี่ยมชมโครงการเสมือนจริง (52%) นอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 5 ของผู้บริโภค (20%) มีการเซ็นสัญญาซื้อขายผ่านออนไลน์ สะท้อนให้เห็นการปรับตัวและใช้ประโยชน์จากโลกออนไลน์ทั้งในฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายได้เป็นอย่างดี
Thailand Consumer Sentiment Study1
    • Cryptocurrency เพิ่มโอกาสให้คนรุ่นใหม่ซื้อบ้าน การเข้ามามีบทบาทของสกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency ที่นอกจากจะเป็นการลงทุนที่เห็นผลตอบแทนเร็วแล้ว ผลตอบแทนจากการลงทุนในสกุลเงินนี้ยังถือเป็นช่องทางที่สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยที่มีราคาสูงได้ง่ายขึ้นอีกด้วย จากแบบสอบถามฯ พบว่า มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (57%) สนใจที่จะใช้สกุลเงินดิจิทัลในการซื้อบ้าน/คอนโดฯ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งเปิดรับเทคโนโลยีและเรียนรู้สิ่งใหม่ได้เร็วนั้น มีแนวโน้มสนใจซื้อบ้านด้วยสกุลเงินดิจิทัลสูงตามไปด้วย โดยกลุ่มช่วงอายุ 22-29 ปี ให้ความสนใจถึง 71% ในขณะที่ช่วงอายุ 30-39 ปี สนใจถึง 61% 

ดีมานด์อสังหาฯ ยังโต ปัจจัยสนับสนุนเพียบ

ข้อมูลจากแบบสอบถาม DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยให้เห็นว่า ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคยังคงมีแนวโน้มเติบโตถึงแม้จะมีผลกระทบจากโควิด-19 ผู้บริโภคที่มีความพร้อมด้านการเงินเริ่มมีการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึงแผนการใช้ชีวิตในระยะยาวมากขึ้น

    • “มาตรการภาครัฐ” ปัจจัยบวกดันความต้องการซื้อบ้าน จากสภาพเศรษฐกิจยังคงไม่ฟื้นตัว ผู้บริโภคจึงเลือกที่จะวางแผนการเงินอย่างรัดกุมและชะลอการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน เนื่องจากต้องการรักษากระแสเงินสดเอาไว้ อย่างไรก็ดี มาตรการจากภาครัฐที่ออกมาสนับสนุนการซื้อขายในตลาดอสังหาฯ อาทิ การลดค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง การผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ชั่วคราวของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กลายเป็นปัจจัยบวกที่มีแนวโน้มจะส่งผลให้ความต้องการซื้อของผู้บริโภคเติบโต โดย 7 ใน 10 ของผู้บริโภคเผยว่าตั้งใจจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคต หลังจากที่ผู้บริโภคได้มีการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด-19 ได้ดีขึ้น ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเริ่มปรับตัวสูงขึ้น และผู้พัฒนาอสังหาฯ มีแนวโน้มปรับราคาขายเพิ่มขึ้นเช่นกัน รวมไปถึงผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งนอกประเทศที่อาจส่งผลให้แนวโน้มราคาสินค้าและภาวะเงินเฟ้อในไทยปรับตัวสูงขึ้น ได้กลายเป็นอีกปัจจัยเร่งให้เกิดการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย เห็นได้จากการที่ผู้บริโภควางแผนซื้อที่อยู่อาศัยภายใน 2 ปีมีถึง 45% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจรอบที่แล้ว (39%) สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการซื้อบ้านที่มีแนวโน้มสูงขึ้น 
    • คนวางแผนซื้อบ้านเพิ่ม รองรับแผนเกษียณ พบผู้บริโภคมากกว่า 3 ใน 4 (78%) ที่เป็นเจ้าของบ้านอยู่แล้วยังคงต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่ม โดยมองว่าการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มนั้นไม่ได้ตอบโจทย์การอยู่อาศัยเท่านั้น แต่วางแผนต่อยอดการใช้ชีวิตเพื่อความมั่นคงในอนาคตด้วย โดยเป้าหมายยอดนิยมของการซื้อบ้านเพิ่มอันดับต้น ๆ ของผู้บริโภค คือ ซื้อไว้รองรับแผนเกษียณอายุในอนาคต (31%) ตามมาด้วยการซื้อให้ญาติหรือพี่น้อง (28%) และซื้อปล่อยเช่าสร้างรายได้ระยะยาว (26%) นอกจากนี้ ยังพบว่า 46% ของผู้บริโภคที่เป็นเจ้าของบ้านปัจจุบันนั้นยังมีแผนที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มภายในช่วง 1 ปีข้างหน้านี้ สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อและมีความพร้อมทางการเงินกลับมามีความมั่นใจที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
Thailand Consumer Sentiment Study
    • “สุขภาพ” ยังคงมีบทบาทสำคัญเมื่อมองหาที่อยู่อาศัย การแพร่ระบาดฯ ที่ยาวนานส่งผลให้เกือบ 2 ใน 3 ของผู้บริโภคปัจจุบัน (63%) หันมาให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากมองว่าการมีร่างกายที่แข็งแรงและพฤติกรรมสุขภาพที่ดีจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส นอกจากการดูแลสุขภาพแล้ว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังตระหนักถึงความสำคัญของการมีสถานบริการสุขภาพอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยแม้ว่าการแพร่ระบาดฯ จะหมดไปก็ตาม โดยแผนการดูแลสุขภาพในอนาคตของผู้บริโภคถึง 88% เผยว่าต้องการเช่าหรือซื้อที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้โรงพยาบาลมากที่สุด ตามมาด้วย 45% มองหาที่อยู่อาศัยใกล้ร้านขายยา และ 37% มองหาที่อยู่อาศัยใกล้ศูนย์บริการด้านสุขภาพเฉพาะทาง เพื่อวางแผนรองรับการใช้ชีวิตระยะยาวที่ต้องการความสะดวกสบายในการเดินทางไปพบแพทย์หรือตรวจเช็กสุขภาพ   
    • รถยนต์ไฟฟ้ายังมาแรง ตัวแปรสำคัญเมื่อคิดซื้อบ้าน เมื่อภาครัฐมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรการสนับสนุนฯ รถยนต์ไฟฟ้าที่ชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้กระแสความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในไทยกลับมาอีกครั้ง โดย 2 ใน 3 ของคนหาบ้าน (67%) เผยว่ายินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ารองรับ เนื่องจากผู้บริโภคคำนึงถึงความยั่งยืนของการใช้ชีวิตในอนาคต การซื้อที่อยู่อาศัยแต่ละครั้งถือเป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องคิดอย่างรอบคอบ มองไปถึงฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในระยะยาวให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้ายังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

จับตา “เศรษฐกิจ-เงินเฟ้อ” สกัดการเติบโตอสังหาฯ รายงานดัชนีตลาดอสังหาฯ ชี้เทรนด์เช่ามาแรง

กมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้

จับตา “เศรษฐกิจ-เงินเฟ้อ” สกัดการเติบโตอสังหาฯ รายงานดัชนีตลาดอสังหาฯ ชี้เทรนด์เช่ามาแรง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปี 2565 ยังมีทิศทางชะลอตัวตามภาพรวมเศรษฐกิจ ผนวกกับสัญญาณเตือนเงินเฟ้อตั้งแต่ต้นปี ส่งผลให้ผู้บริโภครัดเข็มขัดและระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สวนทางดัชนีอุปทานที่ยังคงเติบโต จำนวนบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นมากที่สุด หลังจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มีสินค้าแนวราบอยู่ในมือนำออกมาขายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ด้านผู้พัฒนาอสังหาฯ วางแผนเปิดตัวโครงการใหม่เพื่อรุกตลาดปี 2565 อย่างคึกคัก แม้อัตราการดูดซับสินค้ายังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่ไร้สัญญาณฟองสบู่อสังหาฯ คาดมาตรการจากภาครัฐจะเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภค ผลักดันให้การซื้อขายที่อยู่อาศัยปีนี้กลับมาคึกคัก มองยังเป็นช่วงโอกาสทองโค้งสุดท้ายของผู้ซื้อที่มีความพร้อมทางการเงินในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในราคาคุ้มค่า หลังผู้ประกอบการส่งสัญญาณปรับขึ้นราคาในปีนี้

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense ฉบับล่าสุด เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 84 จุด หรือลดลง 1% จากไตรมาสก่อน หลังจากผู้ประกอบการยังคงแข่งขันนำเสนอโปรโมชั่นที่คุ้มค่าเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ ด้านที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคได้มากกว่า เห็นได้จากความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นถึง 5% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นถึง 13% จากปีก่อนหน้า ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อน ทรงตัวจากปีก่อนหน้า สวนทางกับคอนโดมิเนียมที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากเทรนด์การอยู่อาศัยปัจจุบันที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจโครงการแนวราบมากกว่า ผนวกกับการที่นักลงทุนและชาวต่างชาติหายไปจากตลาดเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ดัชนีราคาคอนโดมิเนียมลดลง 1% จากไตรมาสก่อน และลดลงถึง 10% ในรอบปีเลยทีเดียว

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “แม้การเริ่มต้นศักราชใหม่ในปี 2565 นี้อาจไม่ได้สดใสตามที่หลายฝ่ายคาดไว้ ทั้งจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวและสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภคมายาวนาน นอกจากนี้ยังมีภาวะเงินเฟ้อที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยว่า อัตราเงินเฟ้อล่าสุด ณ เดือนมกราคมปรับเพิ่มมาที่ 3.23% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์เดิมที่ 1.7% ส่งผลกระทบกับผู้บริโภคโดยตรงทั้งในฝั่งของค่าครองชีพและภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยหรือใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น”

“ทั้งนี้มีความเคลื่อนไหวจากผู้พัฒนาอสังหาฯ ที่เปิดตัวแผนธุรกิจรุกตลาดในปีนี้อย่างต่อเนื่อง คาดว่าโปรโมชั่นการตลาดต่าง ๆ จะช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคักอีกครั้ง ประกอบกับมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐที่เอื้อต่อการซื้อบ้าน อาทิ การลดค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ชั่วคราวของ ธปท. ถือเป็นปัจจัยบวกช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น และยังเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อที่มีความพร้อมในช่วงนี้ เพราะราคาที่อยู่อาศัยมีความเหมาะสมและคุ้มค่า ก่อนที่โครงการใหม่จะเริ่มเข้าสู่ตลาดและมีการปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนปัจจุบัน” นางกมลภัทรกล่าวเพิ่มเติม 

“อย่างไรก็ดี แม้ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และคาดว่าจะยังคงไม่เพิ่มขึ้นในไตรมาสถัดไป โดยทิศทางอสังหาฯ ไทยต่อจากนี้จะเป็นการเติบโตตามสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งยังต้องเฝ้าระวังภาวะเงินเฟ้อจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโดยตรง” นางกมลภัทรกล่าวสรุป

เกาะติดทิศทางอสังหาฯ ปี 65 “เทรนด์เช่า-ซื้อ” ยังโตได้มากน้อยแค่ไหน

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense ฉบับล่าสุดเผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดอสังหาฯ ไทยในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 พร้อมอัปเดตความเคลื่อนไหวของเทรนด์ที่อยู่อาศัยทั้งเช่าและซื้อของผู้บริโภคชาวไทยที่น่าจับตามอง 

เทรนด์เช่ายังไม่แผ่ว ความต้องการพุ่งกว่า 22%
    • เทรนด์เช่ายังไม่แผ่ว ความต้องการพุ่งกว่า 22% เทรนด์การเช่าที่อยู่อาศัยยังคงตอบโจทย์สถานะการเงินของผู้บริโภคยุคนี้ เห็นได้จากดัชนีค่าเช่าที่มีแนวโน้มลดลงซึ่งเอื้อต่อการเช่าในอัตราค่าเช่าที่ถูกลงตามกำลังซื้อผู้บริโภค รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense พบว่า ดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 90 จุด จาก 93 จุด หรือลดลง 3% จากไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่ไม่มีการแพร่ระบาดฯ พบว่าลดลงถึง 13% โดยดัชนีค่าเช่าคอนโดมิเนียมลดลงมากที่สุด 2% จากไตรมาสก่อน เป็นผลกระทบจากการล็อกดาวน์ที่ทำให้ผู้เช่าชาวไทยและต่างชาติหายไปจากตลาดเป็นเวลานาน ผู้ให้เช่าจึงต้องปรับลดราคาเพื่อกระตุ้นการตัดสินเช่ากับกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่แทน สวนทางกับดัชนีค่าเช่าบ้านเดี่ยวที่เพิ่มขึ้นถึง 6% ส่วนดัชนีค่าเช่าทาวน์เฮ้าส์ยังคงทรงตัวจากไตรมาสก่อน สอดคล้องกับเทรนด์การหาที่อยู่อาศัยทั้งซื้อและเช่าที่แนวราบยังคงตอบโจทย์มากกว่า อย่างไรก็ตาม ตลาดเช่าทุกรูปแบบยังคงมีทิศทางเติบโต เห็นได้ชัดจากความต้องการเช่าในไตรมาสนี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 22% โดยคอนโดมิเนียมครองใจผู้เช่ามาเป็นอันดับ 1 ด้วยความต้องการเช่าที่เพิ่มสูงถึง 26% จากไตรมาสก่อน ตามมาด้วยบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 13% และ 10% ตามลำดับ


      สวนทางกับจำนวนอุปทานอสังหาฯ สำหรับเช่าปรับตัวลดลงอย่างมากถึง 24% จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้น 47% จากปีก่อนหน้า โดยปรับตัวลดลงทุกรูปแบบที่อยู่อาศัยจากไตรมาสก่อน ทั้งคอนโดมิเนียมที่ลดลง 24% (เพิ่มขึ้น 48% จากปีก่อนหน้า) บ้านเดี่ยวลดลง 27% (เพิ่มขึ้น 18% จากปีก่อนหน้า) ทาวน์เฮ้าส์ ลดลง 15% (เพิ่มขึ้น 46% จากปีก่อนหน้า) สะท้อนให้เห็นว่า ยังเป็นโอกาสที่ดีของผู้ที่มีอสังหาฯ ในมือที่จะนำออกมาปล่อยเช่าเพื่อรองรับความต้องการในตลาดช่วงนี้แทนการประกาศขาย ซึ่งถือว่ายังไม่ใช่ช่วงเวลาในการทำกำไรจากการขายได้ดีมากนัก

อุปทานโตต่อเนื่อง โอกาสทองที่ยังรอผู้ซื้อ
    • อุปทานโตต่อเนื่อง โอกาสทองที่ยังรอผู้ซื้อ ปี 2565 เริ่มเห็นสัญญาณของผู้ประกอบการในการเปิดตัวโครงการใหม่หลังจากชะลอในช่วงปี 2564 โดยภาพรวมดัชนีอุปทานหรือจำนวนที่อยู่อาศัยในตลาดยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 229 จุด จาก 223 จุด หรือเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อน โดยที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยว มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 7% จากไตรมาสก่อน หรือ 42% จากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มีสินค้าแนวราบอยู่ในมือได้นำออกมาขายมากขึ้น เพื่อรองรับเทรนด์ความต้องการของผู้ซื้อกลุ่ม Real Demand ตามมาด้วยคอนโดมิเนียมที่แม้โตไม่หวือหวาแต่ยังมีดีมานด์ในตลาด ยังคงเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อน หรือ 21% จากปีก่อนหน้า ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์ทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยเพิ่มขึ้น 32% จากปีก่อนหน้า ถือว่าอุปทานในตลาดตอนนี้มีจำนวนเพียงพอที่จะรองรับความต้องการซื้อของผู้บริโภค ตอบสนองกับมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในปีนี้ แม้อัตราการดูดซับสินค้าในตลาดซื้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่เป็นผลดีที่ผู้บริโภคจะมีตัวเลือกมากขึ้น และเป็นโอกาสทองโค้งสุดท้ายของผู้ซื้อและนักลงทุนระยะยาวที่มีความพร้อมในการครอบครองที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้ ก่อนที่ราคาขายของที่อยู่อาศัยในโครงการใหม่ ๆ จะทยอยปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกของตลาดในอนาคต
       
    • รถไฟฟ้าหัวใจสำคัญ ดันคนหาบ้านชานเมือง เทรนด์การค้นหาที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคยังคงมุ่งเน้นไปแถบชานเมืองที่เดินทางสะดวกเป็นหลัก เห็นได้จาก 5 อันดับทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบไตรมาสนี้จะอยู่ในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ทั้งที่เปิดให้บริการแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-หลักสองที่พาดผ่านส่งผลให้เขตบางแคมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงที่สุดถึง 9% จากไตรมาสก่อน ส่วนเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน ในขณะที่พื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกอย่างเขตตลิ่งชันที่มีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน พาดผ่าน มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน ด้านเขตมีนบุรีมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน หลังได้อานิสงส์จากรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งมีแผนเปิดให้บริการในปี 2567 นอกจากนี้ อีกหนึ่งทำเลกรุงเทพฯ รอบนอกอย่างเขตบางขุนเทียน แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีรถไฟฟ้าพาดผ่าน แต่ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นทำเลชานเมืองที่น่าจับตามองและที่มีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจในอนาคต จากการที่มีชุมชนขนาดใหญ่ ใกล้แหล่งงาน และสถานศึกษาชั้นนำ