ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ความหวังปลดล็อกความเสมอภาค ในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคู่รัก LGBTQIAN+

ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ความหวังปลดล็อกความเสมอภาค ในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคู่รัก LGBTQIAN+

ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ความหวังปลดล็อกความเสมอภาค ในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคู่รัก LGBTQIAN+

กลุ่ม LGBTQIAN+ (หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ) เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย อีกทั้งแนวโน้มการขยายตัวของประชากรกลุ่มนี้ จากการวิเคราะห์ของ GAY TIMES (โดยใช้ข้อมูลของ IPSOS และ UN Population ร่วมกัน) คาดว่าประชากร LGBTQIAN+ จะมีจำนวนถึง 1 พันล้านคนทั่วโลกภายในปี 2593 ขณะที่ข้อมูลจาก LGBT Capital ณ สิ้นปี 2562 ระบุว่าผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIAN+ มีอำนาจการใช้จ่ายรวมกันถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตามองอย่างมาก 

นอกจากนี้ในด้านความเท่าเทียม อ้างอิงจาก รายงาน “Brand Purpose in Asia” ของ BBDO Asia เผยมุมมองที่น่าสนใจว่าผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ให้การยอมรับเรื่องของ LGBTQIAN+ อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เห็นได้จากการที่องค์กรภาคเอกชนมากมายได้ขับเคลื่อนนโยบายที่ตระหนักถึงกลุ่มพนักงานที่มีความหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สังคมยังคงรอความชัดเจนในประเด็นการรับรองความเท่าเทียมทางเพศตามกฎหมาย

DDproperty-LGBTQIAN-00

ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เปิดโอกาสให้คู่สมรส LGBTQIAN+ เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้อย่างไร 

ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับ พ.ศ. … หรือ ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมเป็นร่างกฎหมายที่เปิดโอกาสให้บุคคลเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ตามกฎหมาย พร้อมมีสิทธิในการสมรสไม่ต่างจากคู่สมรสชายหญิง โดยมีเนื้อหาที่ตอบโจทย์มากกว่าร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ทั้งในเชิงหลักการและในเชิงปฏิบัติ อย่างไรก็ดี หลังจากคณะรัฐมนตรีและที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมในวาระที่ 1 ในเดือนมิถุนายน 2565 ปัจจุบันยังรอพิจารณาวาระที่ 2-3 ต่อไป

นอกจากหลักการของ ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นแล้ว หากมีการบังคับใช้เป็นกฎหมายในอนาคต จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยในหลากหลายบริบท รวมทั้งในตลาดอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนจับตาความน่าสนใจของร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เมื่อผ่านเป็นกฎหมายแล้วจะช่วยคู่สมรส LGBTQIAN+ ให้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยร่วมกันได้อย่างไรบ้าง 

    • เปิดโอกาสในการกู้ซื้ออสังหาฯ ร่วมกัน แม้ปัจจุบันบางธนาคารจะเปิดโอกาสให้คู่รักชาว LGBTQIAN+ สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้เช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศ หรือมีแคมเปญรองรับคู่รักกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะแล้ว อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะทลายกรอบทางเพศลง เปิดทางให้คู่รักทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้และมีสถานะทางกฎหมายเป็นคู่สมรส ซึ่งจะสามารถยื่นกู้ร่วมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในนามคู่สมรส และมีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยร่วมกันเช่นเดียวกับคู่สมรสชาย-หญิง 
    • มีสิทธิ์การจัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะช่วยให้คู่สมรส LGBTQIAN+ มีสิทธิในการบริหารจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือโดยระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ในกรณีที่ผู้บริโภคมีการซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมตั้งแต่ตอนยังโสดจะถือว่าที่อยู่อาศัยนั้นเป็นสินส่วนตัว หากมีการจดทะเบียนสมรสในภายหลัง และต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ดังนี้
      • ค่าใช้จ่ายในการให้ 0.5% ของราคาประเมิน
      • ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ผู้ให้เปรียบเสมือนเป็นผู้ขายจึงต้องนำเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะในส่วนที่ให้คู่สมรส
      • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน โดยต้องครอบครองมากกว่า 5 ปีขึ้นไป หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หากไม่ตรงตามเกณฑ์นี้ จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ของราคาซื้อขายแทน

ในกรณีซื้อบ้าน/คอนโดฯ หลังจดทะเบียนสมรสแล้วจะถือว่าเป็นสินสมรส หากต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้วเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคน จะเสียค่าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 75 บาท หรือหากต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนจากการกู้เดี่ยวมาเป็นการกู้ร่วมนั้น ธนาคารจะนำรายได้และภาระหนี้ของคู่สมรสที่กู้ร่วมมาพิจารณาด้วยอีกครั้ง 

    • สิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรส พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท โดยทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีมี 5 ประเภท ได้แก่ 1. อสังหาริมทรัพย์ 2. หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันซึ่งอยู่ในประเทศไทย 4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน และ 5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา 

อย่างไรก็ดี หากผู้ที่ได้รับมรดกเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องของเจ้าของมรดกนั้น ๆ คู่สมรสจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดก ซึ่งร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะทำให้คู่สมรส LGBTQIAN+ ได้รับสิทธินี้เช่นกัน หรือหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ คู่สมรส LGBTQIAN+ ที่ยังมีชีวิตจะถือเป็นทายาทโดยธรรมอันมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องเสียภาษีมรดกเช่นกัน 

ส่องเทรนด์ที่อยู่อาศัยน่าจับตามองของชาว LGBTQIAN+

เนื่องในเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) ชวนมาอัปเดตเทรนด์ที่อยู่อาศัยมาแรง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์วิถีชาว LGBTQIAN+ ที่น่าจับตามองในยุคนี้+

    • Pet Humanization รักสัตว์เลี้ยงเหมือนลูก ผลสำรวจตลาดธุรกิจสัตว์เลี้ยงในไทยของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยว่า 49% ของกลุ่มตัวอย่างนิยมเลี้ยงสัตว์เป็นลูก (Pet Parent) มากที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายในการดูแลเสมือนลูกเฉลี่ยอยู่ที่ 14,200 บาท/ตัว/ปี นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่า ตลาดสัตว์เลี้ยงจะมีมูลค่าสูงถึง 66,748 ล้านบาทในปี 2569 เติบโตเฉลี่ยปีละ 8.4% ซึ่งเป็นปัจจัยบวกให้กับธุรกิจบริการดูแลสัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกัน

สอดคล้องกับเทรนด์การใช้ชีวิตปัจจุบันที่คนไทยมีแนวโน้มครองตัวเป็นโสดมากขึ้น หรือแต่งงานแต่ไม่มีบุตร โดยเฉพาะในกลุ่ม LGBTQIAN+ ที่มักให้ความสนใจเลี้ยงสัตวเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนยามเหงา หรือดูแลอย่างดีเหมือนเป็นลูก ส่งผลให้มองหาโครงการที่อยู่อาศัยที่มาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แบบนี้มากขึ้น โดยบ้านหรือคอนโดฯ ไม่เพียงแต่ต้องอนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ แต่ควรมาพร้อมสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับการดำเนินชีวิตของสัตว์เลี้ยงอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งด้วยวัสดุหรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทนรอยขีดข่วน มีพื้นที่ออกกำลังกายหรือสระว่ายน้ำของสัตว์เลี้ยง ก่อสร้างด้วยผนังห้องที่ช่วยเก็บเสียง มีเครื่องฟอกอากาศกำจัดเชื้อโรค รวมไปถึงการตั้งอยู่ใกล้คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์

    • พื้นที่ออกกำลังกายครบครัน เสริมสุขภาพกาย-ใจ อีกปัจจัยที่กลุ่ม LGBTQIAN+ ให้ความสำคัญคือการดูแลสุขภาพ โครงการที่อยู่อาศัยในฝันจึงต้องมาพร้อมพื้นที่ส่วนกลางรองรับการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กลางแจ้ง เช่น ลู่วิ่ง เลนปั่นจักรยาน สระว่ายน้ำ รวมทั้งห้องออกกำลังกายส่วนกลาง (Fitness Center) ที่มาพร้อมเครื่องออกกำลังกายที่ทันสมัย มีจำนวนอุปกรณ์เพียงพอรองรับการใช้งานได้อย่างครบครัน 

นอกจากนี้ การมีสระว่ายน้ำวารีบำบัด หรือมีเครื่องออกกำลังกายในน้ำยังถือเป็นเทรนด์การดูแลสุขภาพที่น่าจับตามอง เนื่องจากเป็นอีกทางเลือกในการลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายได้อีกด้วย ตอบโจทย์คนรักสุขภาพทุกเพศทุกวัย ขณะเดียวกัน ภายในพื้นที่ส่วนกลางควรมีสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียวเพียงพอ รองรับการพักผ่อนหย่อนใจ และทำกิจกรรมไลฟ์สไตล์สุขภาพต่าง ๆ สภาพแวดล้อมที่รายล้อมด้วยธรรมชาติจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพใจให้แข็งแรง และผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี 

    • เทรนด์ DINK ดันคู่รักไม่มีลูกมุ่งลงทุน ปัจจุบันเทรนด์ DINK (Double Income No Kid) กำลังได้รับความนิยมในไทย โดยเป็นแนวคิดของคู่รักรุ่นใหม่ที่ต่างทำงานทั้งคู่แต่ยังไม่มีลูก หรือวางแผนไม่มีลูก ซึ่งรวมทั้งคู่รักกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีรายได้สองทาง โดยไม่มีภาระในส่วนค่าเลี้ยงดูบุตร ส่งผลให้มีกำลังซื้อสูงและมีความสามารถในการใช้จ่ายเพื่อตัวเองมากขึ้นตามไปด้วย ขณะเดียวกันผู้บริโภคกลุ่ม DINK ก็มีโอกาสเก็บออมเงินได้มากกว่าคนทั่วไป จึงนิยมวางแผนบริหารการเงินให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ด้วยการนำไปลงทุน ซึ่งการลงทุนอสังหาฯ ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในการสร้างผลตอบแทนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากมีความผันผวนน้อยกว่า และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น ๆ โดยการลงทุนอสังหาฯ ที่น่าสนใจมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
      • การลงทุนแบบเก็งกำไร เช่น การทำกำไรจากการขายใบจองคอนโดฯ เป็นการลงทุนระยะสั้นที่ใช้เงินลงทุนน้อย แต่ได้ผลตอบแทนเร็ว 
      • การลงทุนแบบปล่อยเช่ารายเดือน เหมาะกับนักลงทุนแบบเสือนอนกินที่มีเงินเก็บหรือมีเงินเย็นพร้อมในการลงทุน 
      • การลงทุนในกองทุนอสังหาฯ มีความเสี่ยงต่ำ สามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก แต่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอในระยะยาว 
      • การลงทุนรีโนเวท เป็นการซื้อบ้าน/คอนโดฯ มือสองมาตกแต่งใหม่ให้สวยงามแล้วขายต่อในราคาที่เพิ่มขึ้น

แม้ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะต้องรอการพิจารณาในวาระอื่น ๆ แต่ถือได้ว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะสร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญในสังคมไทยอีกครั้ง ปัจจุบันคู่รัก LGBTQIAN+ ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสามารถศึกษาเงื่อนไขการกู้ร่วมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในแคมเปญต่าง ๆ ของหลายธนาคารที่มีออกมารองรับได้เช่นกัน ทั้งนี้เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข้อมูลข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ในแวดวงอสังหาฯ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกที่อยู่อาศัยในฝัน พร้อมเป็นแหล่งรวมประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยสามารถศึกษาหาข้อมูลทุกเรื่องที่สนใจ เตรียมความพร้อมในทุกด้านก่อนเป็นเจ้าของบ้านได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

จับกระแสอสังหาฯ โต้คลื่นความท้าทาย “ดอกเบี้ยขาขึ้น” สั่นคลอนดีมานด์ผู้ซื้อ – ราคายังลดลง

จับกระแสอสังหาฯ โต้คลื่นความท้าทาย "ดอกเบี้ยขาขึ้น" สั่นคลอนดีมานด์ผู้ซื้อ - ราคายังลดลง

จับกระแสอสังหาฯ โต้คลื่นความท้าทาย "ดอกเบี้ยขาขึ้น" สั่นคลอนดีมานด์ผู้ซื้อ - ราคายังลดลง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯ ช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เติบโตไม่หวือหวา เหตุยังเผชิญปัจจัยท้าทายรอบด้าน แม้ทิศทางเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวแต่กำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่แข็งแรงเพียงพอ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นยังคงเป็นอุปสรรคในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่ผ่านมาลดลง 2% ขณะที่แนวโน้มราคายังไม่ฟื้น ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยปรับลดลงทุกประเภท หลังจากผู้ประกอบการรวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือ ตรึงราคาสินค้าต้นทุนเดิมเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ ด้านตลาดเช่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจหลังผู้บริโภคชะลอแผนการซื้อ ส่งผลดัชนีค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้น 3% แม้ภาพรวมความต้องการเช่าจะลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้น 17% ในรอบปี คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย​ยังเป็นตัวแปรสำคัญ​ในการตัดสินใจซื้อที่อยู่​อาศัยของผู้บริโภคระดับกลางและล่างในปีนี้ หวังความชัดเจนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ จะเป็นตัวช่วยสำคัญพลิกฟื้น​เศรษฐกิจพร้อมกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกช่วยสร้างการเติบโตแก่ตลาดอสังหาฯ ให้กลับมาคึกคัก​อีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ 

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q2 2566 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บนเว็บไซต์ DDproperty เผยภาพรวมดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง 10% จากไตรมาสก่อน (QoQ) หรือลดลง 18% จากปีก่อนหน้า (YoY) โดยมีการปรับลดลงถึง 31% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ (ไตรมาส ปี 2562) สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยยังชะลอตัวต่อเนื่อง  

ทั้งนี้ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวลดลงทุกประเภท ซึ่งเป็นผลจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัวดังเดิม ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือจึงต้องตรึงราคาขายของสินค้าต้นทุนเดิมไว้และจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ที่มีดัชนีราคาทรงตัวจากไตรมาสก่อน ขณะที่ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมลดลงในสัดส่วนเท่ากันที่ 4% QoQ สะท้อนให้เห็นว่าความนิยมของที่อยู่อาศัยแนวราบในปีนี้เริ่มชะลอตัวพอสมควร อย่างไรก็ดี หากเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ พบว่า บ้านเดี่ยวยังมีการเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยถือเป็นที่อยู่อาศัยประเภทเดียวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์ลดลง 5% และคอนโดฯ ลดลงมากที่สุดถึง 20% 

นายวิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป Think of Living และ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) กล่าวว่า “ปัจจัยบวกที่ช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในช่วงครึ่งปีแรกที่หลายฝ่ายจับตามอง คือ การที่จีนเปิดประเทศ ซึ่งส่งผลให้ตลาดท่องเที่ยวและตลาดอสังหาฯ มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย เนื่องจากจีนเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ ไทยมากที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปัจจัยบวกจากกำลังซื้อต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แต่ตลาดอสังหาฯ ยังคงเผชิญความท้าทายจากกำลังซื้อในประเทศเช่นกัน แม้ภาวะเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง แต่ปัจจัยท้าทายสำคัญมาจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกัน ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% ต่อปี และยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ส่งผลให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ทุกประเภทตามไปด้วย กระทบกับผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยและผู้ที่กำลังผ่อนบ้านอยู่อย่างเลี่ยงไม่ได้”  

จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการซื้ออสังหาฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ความสนใจซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวลง  โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ระดับกลางและล่าง ซึ่งต้องพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินในการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยอาจต้องทบทวนความพร้อมทางการเงินและวางแผนรับมือหากต้องผ่อนบ้านในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะมีภาระผ่อนชำระเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ สถาบันการเงินยังมีเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวด ซึ่งจะส่งผลให้โอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในกลุ่ม Real Demand โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ยังคงอ่อนแอจะมีความท้าทายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม โครงการรีเซลหรือตลาดบ้านมือสองซึ่งมีต้นทุนราคาเดิมที่ถูกกว่า จึงอาจกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเวลานี้” นายวิทยา กล่าวเสริม 

จับตาเทรนด์ตลาดเช่าโต หวังแผนกระตุ้นเศรษฐกิจดึงกำลังซื้อฟื้น  

ความท้าทายด้านการเงินและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่กลับมา อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดเช่ามีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะในทำเลแหล่งงานและแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน เห็นได้ชัดจากความต้องการเช่าที่เพิ่มขึ้น 118% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ และอาจกลายเป็นเทรนด์สำหรับคนยุคปัจจุบันที่ต้องการความยืดหยุ่นในการอยู่อาศัยโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ และไม่ต้องการมีภาระหนี้ระยะยาว จึงนับเป็นโอกาสของผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาฯ เพื่อลงทุนปล่อยเช่าเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเป็นหัวใจสำคัญที่ภาคธุรกิจและผู้บริโภคเฝ้ารอ สิ่งที่หลายฝ่ายจับตามองต่อจากนี้ คือ ความชัดเจนของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคให้กลับมาดีดังเดิม ขณะเดียวกันผู้พัฒนาอสังหาฯ และผู้บริโภคต่างคาดหวังนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาฯ ที่จะเข้ามาเพิ่มโอกาสให้คนไทยเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้นในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ให้ฟื้นตัวดีดังเดิมเช่นกัน” นายวิทยา กล่าวสรุป 

เกาะติดทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย หลังดีมานด์ซื้อ-เช่าระยะสั้นชะลอตัว 

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q2 2566 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บนเว็บไซต์ DDproperty เผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดอสังหาฯ ไทยในไตรมาสล่าสุด พร้อมสรุปภาพรวมดัชนีราคา และความต้องการที่อยู่อาศัยที่น่าจับตามองในตลาดซื้อและเช่า รวมทั้งอัปเดตทำเลศักยภาพที่ดัชนีราคามีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ 

      • เขตธนบุรี ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นถึง 8% QoQ (เพิ่มขึ้น 8% YoY) ความน่าสนใจอยู่ที่เป็นทำเลใกล้ย่านธุรกิจ และสามารถเดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีลม
      • ตามมาด้วย เขตสัมพันธวงศ์ ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 8% QoQ (ทรงตัวจากปีก่อนหน้า) ทำเลแหล่งการค้าขนาดใหญ่ ได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง 
      • เขตดินแดง ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 7% QoQ (เพิ่มขึ้น 8% YoY) ทำเลศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) แห่งใหม่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ
      • เขตสายไหม ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 5% QoQ (เพิ่มขึ้น 5% YoY) ทำเลใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
      • เขตประเวศ ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 5% QoQ (เพิ่มขึ้น 2% YoY) ถือเป็นทำเลที่เดินทางสะดวกทั้งจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง

    • ดีมานด์คนซื้อยังไม่ฟื้น อุปทานแนวราบโตไม่แผ่ว ภาพรวมอุปทานหรือจำนวนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงมีสัดส่วนเติบโตต่อเนื่อง โดยบ้านเดี่ยวมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15% และทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนที่ 11% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดในกรุงเทพฯ (เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากันที่ 3% QoQ) ด้านคอนโดฯ แม้จะครองสัดส่วนมากที่สุดในตลาดถึง 74% แต่มีสัดส่วนลดลง 6% QoQ สะท้อนให้เห็นเทรนด์ที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมาอย่างชัดเจน หลังผู้พัฒนาอสังหาฯ ได้มุ่งเน้นไปที่การเปิดตัวโครงการแนบราบอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ขายที่มีสินค้าแนวราบต่างนำสินค้าออกมาขายมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น

      ขณะที่ภาพรวมที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีราคาขายอยู่ที่ 1-3 ล้านบาท ด้วยสัดส่วนถึง 29% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดในกรุงเทพฯ เมื่อพิจารณาตามประเภทอสังหาฯ พบว่า คอนโดฯ (31%) และทาวน์เฮ้าส์ (44%) ส่วนใหญ่มีราคาอยู่ที่ 1-3 ล้านบาท ด้านบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่ (41%) มีราคามากกว่า 15 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านระดับพรีเมียมและบ้านหรูที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคระดับบนที่มีกำลังซื้อสูงและมีความพร้อมทางการเงิน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ หันมาทำตลาดทดแทนกำลังซื้อระดับกลางและล่างที่ชะลอตัวลง


      อย่างไรก็ดี ภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในระยะสั้นมีการปรับตัวลดลง 2% QoQ และลดลง 15% YoY ซึ่งเมื่อพิจารณาตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่าปรับลดลงใกล้เคียงกัน โดยบ้านเดี่ยวลดลงมากที่สุด 3% QoQ และคอนโดฯ ลดลง 2% QoQ มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ที่ถือเป็นที่อยู่อาศัยประเภทเดียวที่มีดัชนีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น 1% QoQ

      หากเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ จะพบว่าภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 44% และมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแนวราบที่มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยบ้านเดี่ยวมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นมากถึง 60% ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ และคอนโดฯ (เพิ่มขึ้น 47% และ 38% ตามลำดับ) ดังนั้น แม้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะชะลอตัวลงในระยะสั้นในรอบไตรมาส แต่หากมองในระยะยาวยังมีสัญญาณที่ดี

    • ดัชนีค่าเช่าเริ่มกระเตื้อง แม้ดีมานด์ผู้เช่ารอบไตรมาสยังไม่ฟื้น ภาพรวมดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3% QoQ หรือเพิ่มขึ้น 3% YoY แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ อยู่ถึง 10% โดยเมื่อแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า มีเพียงทาวน์เฮ้าส์เท่านั้นที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 2% QoQ (ทรงตัวจากปีก่อนหน้า) ขณะที่บ้านเดี่ยวลดลง 6% QoQ (ลดลง 18% YoY) ด้านคอนโดฯ ยังทรงตัวจากไตรมาสก่อน (เพิ่มขึ้น 2% YoY)

      อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ พบว่า ดัชนีค่าเช่าของที่อยู่อาศัยแนวราบยังมีทิศทางเติบโต โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 8% และทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้น 4% สวนทางกับคอนโดฯ ที่ดัชนีค่าเช่าปรับลดลงถึง 12% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเช่าคอนโดฯ ยังมีการแข่งขันสูง ผู้ให้เช่าบางส่วนจึงใช้กลยุทธ์ปรับลดราคาให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภคเพื่อดึงดูดการตัดสินใจเช่า 

      ด้านจำนวนที่อยู่อาศัยสำหรับเช่านั้น แม้คอนโดฯ จะครองสัดส่วนมากที่สุดถึง 93% ของจำนวนที่อยู่อาศัยสำหรับเช่าทั้งหมดในกรุงเทพฯ แต่มีสัดส่วนลดลง 2% QoQ ต่างจากจำนวนที่อยู่อาศัยแนวราบที่มีการปรับเพิ่มในรอบไตรมาส ส่งผลให้บ้านเดี่ยวมีสัดส่วนเพิ่มมาอยู่ที่ 4% และทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนอยู่ที่ 3% (เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากันที่ 1% QoQ) ทำให้ตลาดเช่ามีตัวเลือกที่อยู่อาศัยแนวราบที่หลากหลายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้เช่าที่มีครอบครัวมากขึ้น

      สำหรับภาพรวมดัชนีความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ แม้จะปรับลดลง 3% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 17% YoY เมื่อพิจารณาตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ที่ดัชนีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้น 7% QoQ ขณะที่บ้านเดี่ยวลดลง 8% QoQ และคอนโดฯ ลดลง 3% QoQ  

      ทั้งนี้ ดีมานด์ในตลาดเช่ายังมีทิศทางเติบโตน่าสนใจ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ พบว่าดัชนีความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นถึง 118% และปรับเพิ่มขึ้นทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวดิ่งอย่างคอนโดฯ ที่ยังคงครองความนิยมในตลาดเช่า โดยมีดัชนีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้น 143% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ตามมาด้วยบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ (เพิ่มขึ้น 36% และ 24% ตามลำดับ)

      ทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส ปัจจุบันเริ่มกลับมาอยู่ในย่านใจกลางเมือง และพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ ต่างจากรอบก่อนหน้าที่ทำเลส่วนใหญ่เป็นพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก โดยทำเลที่น่าจับตามองในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในทำเลแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน ได้แก่

      • เขตปทุมวัน ถือเป็นทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้น 6% QoQ (เพิ่มขึ้น 4% YoY) อานิสงส์จากการเป็นทำเลใจกลางเมืองหลวงที่มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และเป็นแหล่งงาน รวมทั้งใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสุขุมวิท
      • ตามมาด้วย เขตสัมพันธวงศ์ มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% QoQ (เพิ่มขึ้น 4% YoY) ถือเป็นทำเลแหล่งการค้าขนาดใหญ่ เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง
      • เขตบางคอแหลม มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% QoQ (ลดลง 7% YoY) ทำเลแหล่งงานย่านพระราม 3 ใกล้สาทร-สีลม ความน่าสนใจอยู่ที่ปัจจุบันยังมีโครงการพัฒนาต่อเนื่อง เช่น ศูนย์การค้าขนาดใหญ่
      • เขตคลองสาน มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 5% YoY) อีกหนึ่งทำเลศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีทอง กรุงธนบุรี-คลองสาน
      • เขตคลองสามวา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 3% YoY) ทำเลพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกที่มีที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นสินค้าแนวราบ ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand)
      • เขตวัฒนา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (ลดลง 2% YoY) ทำเลธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ เป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ และใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสุขุมวิท
      • เขตหลักสี่ มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (ลดลง 25% YoY) เติบโตจากอานิสงส์ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่เชื่อมต่อการเดินทางไปยังใจกลางเมืองให้ง่ายขึ้น


      ทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส
      ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน และเป็นทำเลแหล่งงานขนาดใหญ่ซึ่งมีความต้องการที่อยู่อาศัยสูงตามไปด้วย ได้แก่

      • เขตธนบุรี ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นถึง 8% QoQ (เพิ่มขึ้น 8% YoY) ความน่าสนใจอยู่ที่เป็นทำเลใกล้ย่านธุรกิจ และสามารถเดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีลม
      • ตามมาด้วย เขตสัมพันธวงศ์ ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 8% QoQ (ทรงตัวจากปีก่อนหน้า) ทำเลแหล่งการค้าขนาดใหญ่ ได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง
      • เขตดินแดง ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 7% QoQ (เพิ่มขึ้น 8% YoY) ทำเลศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) แห่งใหม่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ
      • เขตสายไหม ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 5% QoQ (เพิ่มขึ้น 5% YoY) ทำเลใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
      • เขตประเวศ ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 5% QoQ (เพิ่มขึ้น 2% YoY) ถือเป็นทำเลที่เดินทางสะดวกทั้งจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง

หมายเหตุ: รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report เป็นรายงานแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยที่จัดทําขึ้นเป็นรายไตรมาส (ทุก 3 เดือน) โดยใช้ข้อมูลจากประกาศขาย-เช่าบนเว็บไซต์ DDproperty มาคํานวณด้วยวิธีการทางสถิติ วิเคราะห์ และจัดทําเป็นดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคา, จํานวนที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ในตลาด และความต้องการที่มีต่อที่อยู่อาศัยในช่วงเวลานั้น ๆ โดยรายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วย ดัชนีราคา (Price Index) และดัชนีความต้องการ (Demand Index) จากทั้งฝั่งตลาดซื้อ-ขายและตลาดเช่า แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในรอบไตรมาสว่าเป็นไปในทิศทางใด โดยนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2565 เป็นต้นมา ดัชนีราคาและความต้องการในรายงานนี้ได้ใช้ข้อมูลในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 เป็นปีฐาน  

อ่านและศึกษาข้อมูลแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ไตรมาสล่าสุดได้ที่ รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q2 2566

PropertyGuru appoints Helen Snowball as Chief People Officer

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “เฮเลน สโนว์บอล” นั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล

PropertyGuru appoints Helen Snowball as Chief People Officer

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or “the Group”), Southeast Asia’s leading[2], property technology (“PropTech”) company today announced the appointment of Helen Snowball as Chief People Officer (CPO). As the CPO, Helen will lead the People & Culture function, managing the full scope of HR functions and support the Group’s next phase of growth in Southeast Asia with a focus on employee experience and talent management. Helen is part of PropertyGuru’s Group Leadership Team (GLT) and will report to the CEO and Managing Director, Hari V. Krishnan.

Helen brings over two decades of rich experience in human resources, sales and commercial, having held various leadership roles in global organisations. Prior to joining PropertyGuru Group, Helen served as the Global Head of People Solutions & Experience at Jones Lang LaSalle in Singapore, where she led the formation of a new global employee experience function to re-imagine the future of work, implemented a new digital HR experience that enhanced productivity and business performance and drove initiatives that enhanced employee experience. Previously, she worked at Coca-Cola Euro-Pacific Partners, Australia, as the Head, HR Sales & Marketing and at Kraft Heinz Company, UK.

At PropertyGuru, Helen will provide strategic direction and expertise for all things related to team and talent, with a particular focus of taking forward the culture of trust that PropertyGuru Group aspires to deliver to its team. In addition, she will champion an equitable workplace as a driving force behind the Group’s success. Today, 50% of PropertyGuru’s GLT and 33% of its Board of Directors is composed of women leaders, and 65% of its total workforce is female. With over 30 nationalities in its workforce and strong diversity central to its success to date, the Group is emphasizing equity and inclusion in its next phase of growth.

Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, PropertyGuru Group, said, “We are excited to have Helen join us as our Chief People Officer. She has solid experience in leading successful transformations within People and Culture organisations and driving digital employee experiences. We are in PG3 – the third phase of our evolution as an organisation – guided by our vision to power communities to live, work and thrive in tomorrow’s cities. Helen’s skillset and energy will be essential as we continue to invest in our talent.”

Helen Snowball, Chief People Officer, PropertyGuru Group, said, “I am thrilled to join PropertyGuru Group. My focus will be to foster the amazing culture the organisation has built and enable employees to bring their best selves to work, each day. I look forward to working with the diverse and highly skilled Gurus across Southeast Asia to strengthen PropertyGuru’s position as an employer of choice for top talent.”

Helen joins PropertyGuru’s seasoned Group Leadership team, which recently welcomed Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer, and expanded Manav Kamboj’s role to include Managing Director, Fintech, in addition to his current role of Chief Technology Officer. These strategic leadership appointments bolster PropertyGuru’s capabilities as the Group ramps up investments and innovations in its marketplaces, data and software solutions, and fintech businesses.

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “เฮเลน สโนว์บอล” นั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “เฮเลน สโนว์บอล” นั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “เฮเลน สโนว์บอล” นั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (หรือชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE คือ PGRU) (หรือต่อจากนี้จะเรียกว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “กรุ๊ป”) บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] (“PropTech”) และเป็นบริษัทแม่ของ 2 เว็บไซต์ด้านอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย ได้แก่ DDproperty.com แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ อันดับ 1 ของประเทศ และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาฯ ชั้นนำของประเทศ วันนี้ได้ประกาศแต่งตั้งผู้บริหารใหม่ นางสาวเฮเลน สโนว์บอล เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล (Chief People Officer: CPO) และในฐานะ CPO นางสาวเฮเลนจะนำทีมทรัพยากรบุคคล และวัฒนธรรมองค์กร รวมไปถึงดูแลจัดการงานและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับด้านทรัพยากรบุคคล และสนับสนุนการเติบโตในเฟสต่อไปของกรุ๊ป นั่นคือการก้าวสู่การเป็นบริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้ความสำคัญต่อประสบการณ์การทำงานของพนักงาน และการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนางสาวเฮเลนจะเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป (Group Leadership Team: GLT) และจะรายงานตรงต่อนายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของกรุ๊ป

นางสาวเฮเลนมาพร้อมกับประสบการณ์ในบทบาทผู้นำที่หลากหลายด้านทรัพยากรบุคคลและการขาย/การพาณิชย์ในองค์กรชั้นนำระดับโลกมานานกว่า 2 ทศวรรษ ก่อนหน้านี้ นางสาวเฮเลนเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Global Head of People Solutions & Experience) ที่บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำอย่างโจนส์ แลง ลาซาลล์ ในสิงคโปร์ โดยเธอได้นำรูปแบบใหม่ของประสบการณ์การทำงานระดับโลกมานำร่องใช้เพื่อสร้างอนาคตของการทำงานในองค์กร รวมทั้งนำระบบดิจิทัลแบบใหม่เข้ามาใช้ในงานทรัพยากรบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทำงาน รวมไปถึงขับเคลื่อนแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสบการณ์การทำงานที่ดีให้กับพนักงานในองค์กร นอกจากนี้ เธอยังเคยร่วมงานกับโคคา-โคล่า ยูโร-แปซิฟิก พาร์ทเนอร์ส ในออสเตรเลีย ในฐานะหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลแผนกขายและการตลาด รวมไปถึงที่บริษัท คราฟท์ ไฮนซ์ จำกัด ในสหราชอาณาจักร 

ทั้งนี้ นางสาวเฮเลนจะเป็นผู้วางแนวทางกลยุทธ์ให้กับพร็อพเพอร์ตี้กูรู รวมไปถึงนำความเชี่ยวชาญต่าง ๆ เกี่ยวกับการสร้างทีม และพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของพร็อพเพอร์ตี้กูรูไปสู่องค์กรที่มุ่งหวังให้แต่ละทีมเป็นทีมที่มีความโปร่งใสและเชื่อถือได้ นอกจากนี้ เธอจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีความเท่าเทียม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางกรุ๊ปให้ความสำคัญมาโดยตลอด ปัจจุบันเรามีสัดส่วนผู้นำหญิง 50% ของทีมผู้บริหารของพร็อพเพอร์ตี้กูรู และมีผู้หญิง 33% เป็นสมาชิกในบอร์ดผู้บริหาร ในขณะที่ 65% ของพนักงานทั้งหมดเป็นผู้หญิง ทั้งนี้ กรุ๊ปของเรานับเป็นองค์กรที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันเรามีพนักงานกว่า 30 สัญชาติ และบริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม และให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมและสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรในการเติบโตเฟสต่อไปของบริษัท 

นายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า เราตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้คุณเฮเลนมาร่วมทีมในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล เธอมีชั่วโมงบินสูงในการนำพาองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กรที่ประสบความสำเร็จ และขับเคลื่อนการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการสร้างประสบการณ์การทำงานของพนักงาน ตอนนี้พวกเราอยู่ในเฟส PG3 ซึ่งเป็นเฟสที่ ของวิวัฒนาการองค์กรของเรา ในการนำวิสัยทัศน์เพื่อขับเคลื่อนคอมมูนิตี้เพื่อการอยู่อาศัย การทำงาน และการเติบโตในเมืองแห่งวันพรุ่งนี้ และด้วยทักษะความสามารถและพลังของคุณเฮเลน เราเชื่อว่าเธอจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์นั้นต่อไป และเราจะยังคงเดินหน้าลงทุนในเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถของกูรูของเราอย่างต่อเนื่อง

ด้านนางสาวเฮเลน สโนว์บอล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า “ดิฉันดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป สิ่งที่ดิฉันจะโฟกัสก็คือการทำให้วัฒนธรรมองค์กรที่ดีอยู่แล้วของเรานี้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และช่วยให้พนักงานนำความสามารถของตัวเองออกมาใช้ได้ดีที่สุดในการทำงานแต่ละวัน ดิฉันหวังที่จะได้ร่วมทำงานกับชาวกูรูผู้มากความสามารถทุก ๆ ท่านทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อที่จะยกระดับให้พร็อพเพอร์ตี้กูรูของเราเป็นองค์กรในดวงใจของผู้ที่มีความสามารถระดับต้น ๆ ของภูมิภาคนี้ต่อไป”   

นางสาวเฮเลนจะร่วมงานกับทีมผู้บริหารมากความสามารถของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ซึ่งก่อนหน้านี้เพิ่งต้อนรับประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด “นางดิฌา โกเองกา ดาส” และเพิ่มตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจฟินเทค ให้กับ “นายมานาฟ แคมบอช” ดำรงตำแหน่งควบคู่กับตำแหน่งเดิมคือประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี ซึ่งการแต่งตั้งผู้นำในเชิงกลยุทธ์เช่นนี้นับเป็นการเสริมขีดความสามารถของกรุ๊ป ในขณะที่กรุ๊ปยังคงเดินหน้าลงทุนและพัฒนานวัตกรรมในธุรกิจมาร์เก็ตเพลส, ดาต้า และซอฟต์แวร์ โซลูชั่น และฟินเทคอย่างไม่หยุดยั้ง 

อัปเดตดีมานด์วัยเก๋า โฟกัส Well-Being ตอบโจทย์การอยู่อาศัย

อัปเดตดีมานด์วัยเก๋า โฟกัส Well-Being ตอบโจทย์การอยู่อาศัย

อัปเดตดีมานด์วัยเก๋า โฟกัส Well-Being ตอบโจทย์การอยู่อาศัย

ตั้งแต่ปี 2565 ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) และจำนวนผู้สูงวัยยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตและปัจจัยทางสังคมที่เปลี่ยนไปในยุคนี้ ส่งผลให้คนไทยเลือกครองตัวเป็นโสดมากขึ้น หรือแต่งงานแต่มีบุตรน้อยลง ซึ่งอัตราการเกิดที่ลดลงนี้สวนทางกับสัดส่วนผู้สูงอายุในไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่เผยว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ที่มีจำนวนผู้สูงอายุถึง 28% ของประชากรในประเทศ นับเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่ทุกภาคส่วนต้องจับตามอง 

หลายธุรกิจจึงหันมาให้ความสำคัญกับการเจาะตลาดผู้สูงอายุมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมองว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพ มีกำลังซื้อสูง และมีความพร้อมทางการเงิน โดยเฉพาะในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ไทย ผู้ประกอบการเริ่มหันมาเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงวัยที่มาพร้อมบริการด้านสุขภาพมากขึ้น ผ่านการร่วมมือกับโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสุขภาพเพื่อเพิ่มบริการทางการแพทย์หรือโปรแกรมดูแลสุขภาพไว้ในโครงการฯ

ส่องดีมานด์บ้านผู้สูงวัย มองหาพื้นที่สีเขียวเสริม Well-Being 

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคชาวไทยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พบว่าเมื่อผู้สูงอายุต้องตัดสินใจซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัย ปัจจัยภายในที่ให้ความสำคัญจะเน้นไปที่ความคุ้มค่ามาเป็นอันดับแรก โดยมากกว่าครึ่ง (51%) พิจารณาจากราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรเป็นหลัก รองลงมาคือขนาดที่อยู่อาศัย 48% และตามมาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่อยู่อาศัย 45% ซึ่งจะต้องตอบโจทย์การอยู่อาศัยและสอดคล้องกับวิถีชีวิตในช่วงวัยเกษียณด้วย ขณะที่สองอันดับแรกของผู้บริโภคในช่วงวัยอื่น ๆ จะพิจารณาจากขนาดที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ตามมาด้วยราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตร 

ด้านปัจจัยภายนอกโครงการที่ผู้สูงอายุใช้พิจารณาเมื่อเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยนั้น 2 ใน 3 (66%) ให้ความสำคัญกับทำเลที่ตั้งโครงการมากที่สุด ตามมาด้วยสามารถเดินทางสะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ 55% และความปลอดภัยของทำเล 53% เนื่องจากผู้สูงอายุคำนึงถึงการใช้ชีวิตในระยะยาว จึงต้องการโครงการที่ตั้งอยู่ในทำเลที่เดินทางสะดวก รองรับการใช้ชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้อย่างสบายใจและปลอดภัย  

    • เลือกห้องตกแต่งครบ ประหยัดเวลา พร้อมเข้าอยู่ เมื่อต้องเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ผู้สูงอายุเกือบครึ่ง (46%) จะเลือกโครงการที่ตกแต่งให้ครบแบบพร้อมเข้าอยู่ (Fully Furnished) มากที่สุด โดยมีเหตุผลสำคัญมาจาก ช่วยประหยัดเวลาในการตกแต่ง 76% และไม่ยุ่งยาก สามารถย้ายเข้าอยู่ได้ทันที 70% ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าผู้บริโภคช่วงวัยอื่น ๆ ขณะที่ผู้สูงอายุอีก 29% สนใจโครงการที่ไม่มีการตกแต่งใด ๆ และ 25% เลือกโครงการที่ตกแต่งห้องให้บางส่วน (Fully Fitted) โดยเหตุผลที่ผู้สูงอายุเลือกห้องที่ไม่มีการตกแต่ง หรือตกแต่งห้องให้บางส่วน เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ 70% ชื่นชอบการตกแต่งห้องในสไตล์ของตัวเองมากกว่า และ 37% คิดว่าสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่มีอยู่ได้ดีกว่า
    • บ้านที่ดีต้องใกล้ชิดธรรมชาติ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตที่บ้านเป็นหลัก จึงเห็นความสำคัญของบทบาทที่อยู่อาศัยในการเสริมสร้างสุขภาพกายควบคู่กับสุขภาพจิตที่ดี เมื่อพิจารณาคุณลักษณะภายในและบริเวณรอบบ้านที่จะช่วยให้มีสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น ผู้สูงอายุกว่า 2 ใน 3 (70%) ต้องการที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้สวนสาธารณะและใกล้ชิดธรรมชาติมากที่สุด เนื่องจากการมีพื้นที่สีเขียวไว้พักผ่อนหย่อนใจนั้นจะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ดี และมีผลทางจิตวิทยาทำให้รู้สึกสดชื่นมากขึ้น รวมทั้งต้องการพื้นที่เปิดโล่งมากขึ้นภายในละแวกบ้าน 68% ตามมาด้วยยูนิตที่มีระยะห่างมากขึ้น 64% เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวและต้องการความสงบ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังเข้าใจและให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยที่มาพร้อมแนวคิดรักษ์โลก เกือบ 2 ใน 3 (65%) คาดหวังว่าโครงการที่พัฒนาใหม่ทั้งหมดควรจะมาพร้อมกับหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop) เพื่อช่วยประหยัดรายจ่ายและลดการใช้พลังงานไฟฟ้า สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุมีความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานทางเลือก
    • รีโนเวทห้องนั่งเล่นรองรับการใช้ชีวิต พื้นที่ภายในที่อยู่อาศัยที่ผู้สูงอายุต้องการปรับปรุงเพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น อันดับแรกคือห้องนั่งเล่น 66% รองลงมาคือ ห้องนอน 59% ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุใช้เวลาในการทำกิจกรรมประจำวันมากที่สุด จึงเห็นความสำคัญในการปรับปรุงภายในห้องนั้นให้พร้อมรองรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ขณะที่อันดับสามคือห้องน้ำ 38% เนื่องจากถือเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อเพิ่มความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกเมื่อผู้สูงอายุต้องใช้งาน ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด

ทำความรู้จัก “Reverse Mortgage” ทางเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัยของผู้สูงวัย 

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนทำความรู้จักกับ “Reverse Mortgage หรือสินเชื่อบ้านสำหรับผู้สูงอายุ” ทางเลือกน่าสนใจที่ช่วยให้ผู้สูงวัยมีโอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น ลดปัญหาการเงินในวัยเกษียณได้โดยไม่เป็นภาระของลูกหลาน

    • Reverse Mortgage น่าสนใจอย่างไร Reverse Mortgage หรือการจำนองแบบย้อนกลับ มีความแตกต่างกับการจำนองทั่วไปอย่างชัดเจน หลักการทำงานจะมีรูปแบบเหมือนการทยอยขายบ้านให้กับธนาคาร โดยจะเป็นรูปแบบการจำนองที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้สูงอายุที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองแต่ไม่ต้องการขาย เนื่องจากต้องใช้อยู่อาศัยในบั้นปลายชีวิต และต้องการรายได้เป็นแบบรายเดือนเพื่อนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สามารถนำบ้าน/คอนโดฯ ไปจำนองกับธนาคาร แล้วให้ธนาคารจ่ายเงินให้ผู้กู้เป็นรายเดือนแทน
    • หลักการทำงานของ Reverse Mortgage ผู้สูงอายุสัญชาติไทย อายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80 ปี สามารถนำบ้าน/คอนโดฯ ที่ถือครองกรรมสิทธิ์อยู่มาจำนองไว้กับธนาคาร จากนั้นธนาคารจะตีมูลค่าบ้านพร้อมกับประเมินอายุเฉลี่ยของผู้กู้และทยอยจ่ายเงินค่าบ้านให้ผู้กู้เป็นรายเดือน โดยที่ผู้กู้ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านหลังนั้นและสามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้จนกระทั่งเสียชีวิตหรือตัดสินใจขายบ้านไปก่อน เมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้ว บ้าน/คอนโดฯ นั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ซึ่งธนาคารสามารถนำไปขายทอดตลาดได้
      • ในกรณีที่ครบกำหนดสัญญาแล้วผู้กู้ยังมีชีวิตอยู่ จะสามารถยื่นเอกสารเพื่อกู้เพิ่มเติมได้ตามเงื่อนไขของธนาคาร หรือนำเงินมาไถ่บ้าน/คอนโดฯ คืนได้
      • ส่วนกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิตก่อนและทายาทไม่มาไถ่ถอนอสังหาฯ นั้นคืน ธนาคารจะนำไปขายทอดตลาด โดยหากขายอสังหาฯ นั้นได้ราคาสูงกว่ายอดหนี้ ธนาคารจะคืนส่วนต่างดังกล่าวให้กับทายาทต่อไป

Reverse Mortgage ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและเหมาะกับสังคมผู้สูงวัยของไทยในปัจจุบัน นอกจากจะตอบโจทย์ความต้องการมีบ้านของผู้สูงอายุเพื่อพักอาศัยในบั้นปลายชีวิตแล้ว ยังช่วยลดความกังวลในเรื่องค่าครองชีพได้อีกด้วย ทั้งนี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข่าวสารและบทความน่ารู้ในแวดวงอสังหาฯ ที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคทุกช่วงวัยที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัย รวมทั้งเป็นแหล่งรวมข้อมูลประกาศซื้อ/ขาย/ให้เช่า พร้อมรีวิวโครงการอสังหาฯ ที่น่าสนใจในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ เพื่อช่วยให้ทุกคนพร้อมก้าวสู่เส้นทางอสังหาฯ ได้อย่างมั่นใจ และเตรียมความพร้อมก่อนตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ได้มากที่สุด