เปิดตัว ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale Bank ใหม่ล่าสุดของสิงคโปร์

เปิดตัว ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale Bank ใหม่ล่าสุดของสิงคโปร์

เปิดตัว ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale Bank ใหม่ล่าสุดของสิงคโปร์

ลงนามเอ็มโอยูกับ Proxtera เพื่อเพื่อสร้างกรอบโครงสร้างแบบเปิดสำหรับสถาบันการเงินที่เข้าร่วม พร้อมตอบโจทย์ความต้องการด้านสินเชื่อของเอสเอ็มอี ในฐานะธนาคารดิจิทัล Wholesale แห่งแรกที่เข้าร่วมกับ Proxtera ในสิงคโปร์

ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale ที่ดำเนินธุรกิจกับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในสิงคโปร์ และเป็นบริษัทในเครือที่แอนท์กรุ๊ป (Ant Group) ถือครองหุ้นทั้งหมด ได้เปิดตัว (Soft Launch) ในวันนี้ โดยได้รับการรับรองจากธนาคารกลางสิงคโปร์ให้เริ่มธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2565 ธนาคารดิจิทัลแห่งนี้จะมุ่งเน้นการให้บริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ดำเนินงานระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการขยายธุรกิจให้เติบโตในตลาดโลก

โต ซู เหม่ย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ ANEXT Bank ซึ่งมีประสบการณ์ในธุรกิจธนาคารมายาวนานกว่า 20 ปี กล่าวว่า “เราเชื่อว่าถึงเวลาแล้วสำหรับการนำเสนอบริการด้านการเงินยุคใหม่ที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโต  ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โมเดลธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น หรือเป็นโมเดลแบบไฮบริด บริการด้านการเงินก็ต้องมีการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเอสเอ็มอีในการดำเนินงานในรูปแบบดิจิทัล”

“เรามีความพร้อมที่จะดำเนินการตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว โดยอาศัยเทคโนโลยีและความรู้ความเชี่ยวชาญของแอนท์กรุ๊ป รวมไปถึงความมุ่งมั่นของทีมงานในท้องถิ่นที่พร้อมให้บริการแก่ลูกค้าเอสเอ็มอีอย่างเต็มความสามารถ เราปรับใช้แนวทางที่เปิดกว้างสำหรับการทำงานร่วมกัน เพราะเราเชื่อมั่นในความร่วมมือของพันธมิตรภาคธุรกิจและภาครัฐในการจัดหาบริการด้านการเงินที่สะดวก ปลอดภัย และคุ้มค่ามากขึ้นให้แก่เอสเอ็มอี” โต ซู เหม่ย กล่าว

งานเปิดตัวธนาคารในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก โซปเนนดู โมหันตี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายฟินเทคของธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore MAS) โดยเขากล่าวว่า “การเปิดตัวในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญในการพัฒนาธนาคารดิจิทัลของสิงคโปร์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจธนาคารมีความก้าวหน้า และมีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและความสามารถใหม่ ๆ ของธนาคารดิจิทัลจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตให้กับภาคธุรกิจการเงินของสิงคโปร์  ธนาคารกลางฯ คาดหวังว่าธนาคารดิจิทัลจะผนึกกำลังร่วมกับสถาบันการเงินอื่น ๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านการเงินที่มีคุณภาพ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับภาคธุรกิจการเงินของสิงคโปร์เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจเอสเอ็มอีในสิงคโปร์ รวมถึงในภูมิภาคนี้และตลาดใหม่ ๆ”

นอกจากนี้ ANEXT Bank ยังได้ทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) 2 ปี กับ Proxtera ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งโดยธนาคารกลางสิงคโปร์ และหน่วยงาน Infocomm Media Development Authority (IMDA) เพื่อพลิกโฉมการค้าระหว่างประเทศ และทำให้การค้าระหว่างเอสเอ็มอีและหน่วยงานธุรกิจต่าง ๆ สมบูรณ์ผ่านมาร์เก็ตเพลสที่มีประสิทธิภาพทั่วโลก ด้วยบริการด้านการเงินที่ให้บริการอย่างสมบูรณ์ และการส่งเสริมเอสเอ็มอีให้แข็งแกร่ง

ภายใต้เอ็มโอยูดังกล่าว ทั้งสององค์กรจะร่วมกันสร้างกรอบโครงสร้างแบบเปิดสำหรับสถาบันการเงินทั้งหมดที่เข้าร่วม และให้การสนับสนุนด้านการเงินและการลดความเสี่ยงสำหรับเอสเอ็มอีและแพลตฟอร์มในการค้าระดับโลก ANEXT Bank จะเป็นธนาคารดิจิทัล Wholesale แห่งแรกที่เข้าร่วมกับ Proxtera ในการนำเสนอโซลูชั่นด้านการเงินให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายบนเครือข่ายของ Proxtera 

โซราฟ บัททาชารียา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ Proxtera กล่าวว่า “Proxtera มุ่งมั่นในการอำนวยความสะดวกให้แก่เอสเอ็มอีในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถของเอสเอ็มอีโดยอาศัยเครือข่ายที่กว้างขวาง และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อปรับปรุงการให้บริการดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่เข้าถึงได้ง่าย มีความพร้อมใช้งานสูง และประหยัดค่าใช้จ่าย การเข้าถึงอย่างราบรื่นและความพร้อมใช้งานของโซลูชันทางการเงินเพื่อการค้าจะช่วยขยายการเติบโตของธุรกิจและเร่งการขยายตัวของเอสเอ็มอี ภารกิจนี้สอดคล้องกับการให้ความสำคัญในการให้บริการแก่เอสเอ็มอีเพื่อทำการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมือกับ ANEXT Bank ซึ่งเป็นธนาคารดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบที่ให้บริการด้านดิจิทัลเป็นหลัก เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถปรับปรุงระบบการค้าให้สะดวกง่ายดาย ไร้รอยต่อ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับเอสเอ็มอี”

พร้อมกับการเปิดตัวในครั้งนี้ ANEXT Bank ได้เผยโฉม ANEXT Business Account ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากแบบสองสกุลเงิน (Dual-Currency) ที่มีการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูง เช่น การยืนยันตัวตนแบบสามขั้นตอน (Three-Factor Authentication) รวมถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีผ่านระบบออนไลน์แบบรีโมท และการคิดดอกเบี้ยรายวัน  นอกจากนั้น ANEXT Bank ยังเปิดรับฟังความเห็นจากเอสเอ็มอีเกี่ยวกับความต้องการในเรื่องบริการด้านการเงิน ทั้งนี้เพราะธนาคารฯ ตระหนักว่าบริการด้านการเงินที่ดีจะต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเอสเอ็มอีได้อย่างแท้จริง ลูกค้าที่สนใจสามารถเปิดบัญชีกับธนาคารฯ ได้แล้ววันนี้ที่เว็บไซต์ ANEXT.com.sg  ส่วนบัญชี ANEXT Business Account จะเริ่มเปิดให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอีในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

แอนท์กรุ๊ปบรรลุเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางทางคาร์บอน” ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจนเป็นศูนย์ด้วยเทคโนโลยี Green Computing และลดการปล่อยก๊าซทางอ้อม

แอนท์กรุ๊ปบรรลุเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางทางคาร์บอน”

แอนท์กรุ๊ปบรรลุเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางทางคาร์บอน” ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจนเป็นศูนย์ด้วยเทคโนโลยี Green Computing และลดการปล่อยก๊าซทางอ้อม

แอนท์กรุ๊ป (Ant Group) ประกาศว่า บริษัทฯ ได้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) สำหรับการดำเนินงานของบริษัทฯ (ขอบเขตที่ 1 และ 2) ตามข้อมูลตัวเลขการปล่อยก๊าซคาร์บอนของปี 2564 ซึ่งผ่านการรับรองจาก China Environmental United Certification Center (CEC) โดยนับเป็นความสำเร็จก้าวแรกที่สำคัญของบริษัทฯ ในการดำเนินการตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เหลือศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2573 รวมถึงการให้ข้อมูลอัพเดตเป็นระยะ ๆ เกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินการตามเป้าหมายที่สำคัญนี้

แอนท์กรุ๊ปบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในขอบเขตที่ 1 และ 2
แอนท์กรุ๊ปบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในขอบเขตที่ 1 และ 2 ในการดำเนินงานปี 2564

ตามข้อมูลตัวเลขที่ผ่านการรับรองจาก CEC พบว่า ในปี 2564 แอนท์กรุ๊ปลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ทั้งหมด 37,909.87 ตัน เทียบเท่ากับการนำเอารถยนต์ออกจากถนน 15,000 คันต่อปี โดยคำนวณจากการที่รถแต่ละคันวิ่งเป็นระยะทางโดยเฉลี่ย 12,000 กิโลเมตรต่อปี และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.203 กิโลกรัมต่อกิโลเมตร

เพื่อยืนยันผลการตรวจสอบ CEC ได้ใช้ Carbon Matrix ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ Software-as-a-Service (SaaS) ของแอนท์เชน (AntChain) ที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจและสถาบันต่าง ๆ สามารถตรวจสอบติดตามและรับรองการปล่อยก๊าซคาร์บอนขององค์กรโดยใช้บล็อกเชน (Blockchain)  ทั้งนี้ CEC เป็นผู้ให้บริการอย่างเป็นทางการสำหรับโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 โดยทำหน้าที่ตรวจวัดประสิทธิภาพด้านการลดก๊าซคาร์บอนของคณะกรรมการโอลิมปิก

ในปี 2564 แอนท์กรุ๊ปบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในการดำเนินงานของบริษัทฯ (ขอบเขตที่ 1 และ 2) โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ ในการลด ทดแทน และชดเชยการปล่อยก๊าซดังนี้:

    • การลด: ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1,668.60 ตัน ด้วยการปรับปรุงการประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
    • การทดแทน: หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 21,883.63 ตัน ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียน (renewable energy)
    • การชดเชย: ชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 23,159.54 ตัน ด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต China Certified Emission Reduction (CCER)

อี้เจีย เป็ง รองประธานของแอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า “ความสำเร็จในครั้งนี้นับเป็นพัฒนาการก้าวสำคัญนับตั้งแต่ที่เราได้ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 ด้วยการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างเช่น บล็อกเชน และกรีนคอมพิวติ้ง (Green Computing) เราจึงพร้อมที่จะบรรลุเป้าหมายในการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้ประโยชน์ให้กับคนทุกกลุ่ม”

ภายใต้โร้ดแมปของแอนท์กรุ๊ปสำหรับการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2573 บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เหลือศูนย์ (Net Zero) ในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3  โดยขอบเขตที่ 1 หมายถึงการปล่อยก๊าซโดยตรงโดยเป็นผลมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เผาไหม้จากแหล่งพลังงานที่อยู่ภายใต้การครอบครองหรือการควบคุมของแอนท์กรุ๊ป  ส่วนขอบเขตที่ 2 หมายถึงการปล่อยก๊าซทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อพลังงานไฟฟ้าและการใช้เครือข่ายระบบทำความร้อนหรือความเย็น  และขอบเขตที่ 3 หมายถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนอื่น ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ของแอนท์กรุ๊ป เช่น การใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ การเดินทางเพื่อธุรกิจ และบริการรถรับ-ส่งพนักงานที่บริษัทฯ จัดหาให้

ตามข้อมูลตัวเลขที่ผ่านการรับรองจาก CEC พบว่า ในปี 2564 แอนท์กรุ๊ปลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ทั้งหมด 37,909.87 ตัน เทียบเท่ากับการนำเอารถยนต์ออกจากถนน 15,000 คันต่อปี โดยคำนวณจากการที่รถแต่ละคันวิ่งเป็นระยะทางโดยเฉลี่ย 12,000 กิโลเมตรต่อปี และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.203 กิโลกรัมต่อกิโลเมตร เพื่อยืนยันผลการตรวจสอบ CEC ได้ใช้ Carbon Matrix ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ Software-as-a-Service (SaaS) ของแอนท์เชน (AntChain) ที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจและสถาบันต่าง ๆ สามารถตรวจสอบติดตามและรับรองการปล่อยก๊าซคาร์บอนขององค์กรโดยใช้บล็อกเชน (Blockchain) ทั้งนี้ CEC เป็นผู้ให้บริการอย่างเป็นทางการสำหรับโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 โดยทำหน้าที่ตรวจวัดประสิทธิภาพด้านการลดก๊าซคาร์บอนของคณะกรรมการโอลิมปิก ในปี 2564 แอนท์กรุ๊ปบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในการดำเนินงานของบริษัทฯ (ขอบเขตที่ 1 และ 2) โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ ในการลด ทดแทน และชดเชยการปล่อยก๊าซดังนี้: • การลด: ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1,668.60 ตัน ด้วยการปรับปรุงการประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ • การทดแทน: หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 21,883.63 ตัน ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียน (renewable energy) • การชดเชย: ชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 23,159.54 ตัน ด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต China Certified Emission Reduction (CCER) อี้เจีย เป็ง รองประธานของแอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า “ความสำเร็จในครั้งนี้นับเป็นพัฒนาการก้าวสำคัญนับตั้งแต่ที่เราได้ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 ด้วยการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างเช่น บล็อกเชน และกรีนคอมพิวติ้ง (Green Computing) เราจึงพร้อมที่จะบรรลุเป้าหมายในการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้ประโยชน์ให้กับคนทุกกลุ่ม” ภายใต้โร้ดแมปของแอนท์กรุ๊ปสำหรับการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2573 บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เหลือศูนย์ (Net Zero) ในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 โดยขอบเขตที่ 1 หมายถึงการปล่อยก๊าซโดยตรงโดยเป็นผลมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เผาไหม้จากแหล่งพลังงานที่อยู่ภายใต้การครอบครองหรือการควบคุมของแอนท์กรุ๊ป ส่วนขอบเขตที่ 2 หมายถึงการปล่อยก๊าซทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อพลังงานไฟฟ้าและการใช้เครือข่ายระบบทำความร้อนหรือความเย็น และขอบเขตที่ 3 หมายถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนอื่น ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ของแอนท์กรุ๊ป เช่น การใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ การเดินทางเพื่อธุรกิจ และบริการรถรับ-ส่งพนักงานที่บริษัทฯ จัดหาให้
เทคโนโลยีกรีนคอมพิวติ้งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 82% ภายในห่วงโซ่มูลค่าของบริษัทฯ ในปี 2564

ในปี 2564 แอนท์กรุ๊ปลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขอบเขตที่ 3 ได้รวมทั้งสิ้น 36,241.27 ตัน โดยอาศัยการปรับใช้เทคโนโลยีกรีนคอมพิวติ้ง ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซได้ถึง 29,591.48 ตัน หรือประมาณ 82% ของการปล่อยก๊าซทั้งหมดในขอบเขตที่ 3

ดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในปัจจุบัน ใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก และก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในปริมาณที่สูงมาก  ภายหลังการปรับใช้เทคโนโลยีกรีนคอมพิวติ้งเมื่อปี 2562 เช่น การใช้งานแบบไฮบริดระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ การกำหนดตารางแบ่งเวลาแบบคลาวด์เนทีฟ การปรับขนาดแบบอัตโนมัติโดยใช้ AI และ OceanBase  ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ระดับองค์กรแบบกระจาย แอนท์กรุ๊ปสามารถเพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์ของเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลได้มากกว่า 2 เท่าในช่วงระยะเวลา 3 ปี โดยที่ยังคงสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างมีนัยสำคัญ

การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในขอบเขตที่ 3 ของแอนท์กรุ๊ปในส่วนที่เหลือ เป็นผลมาจากการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับใช้งานในสำนักงาน และการส่งเสริมให้พนักงานใช้บริการขนส่งสาธารณะหรือใช้รถร่วมกัน รวมถึงแท็กซี่ และคาร์พูล (Carpooling) สำหรับการเดินทางเพื่อธุรกิจภายในท้องถิ่น

ใบรับรองความเป็นกลางทางคาร์บอนของ CEC สำหรับแอนท์กรุ๊ป (เป็นภาษาจีนเท่านั้น) เปิดเผยแก่สาธารณชนบนแพลตฟอร์มข้อมูลสำหรับความเป็นกลางทางคาร์บอน (Information Platform for Carbon Neutrality) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน

โครงการ “10×1000 Tech for Inclusion” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้านฟินเทค เดินหน้าสานต่อโปรแกรมเรียนรู้ด้านฟินเทค เพื่อลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลทั่วโลก

10x1000 Tech for Inclusion

โครงการ “10x1000 Tech for Inclusion” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้านฟินเทค เดินหน้าสานต่อโปรแกรมเรียนรู้ด้านฟินเทค เพื่อลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลทั่วโลก

ด้วยความร่วมมือที่แข็งแกร่งจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ 17 คน และองค์กรชั้นนำระดับโลก 31 แห่ง รวมทั้งนักลงทุนด้านเทคโนโลยี และองค์กรอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 1,000 คน สำเร็จหลักสูตร Fintech Foundation Program และ Fintech Leadership Program ในปี 2564

โครงการ “10×1000 Tech for Inclusion (10×1000)” แพลตฟอร์มการอบรมและการเรียนรู้ด้านฟินเทค ประกาศความสำเร็จของโครงการในปี 2564 ที่ผ่านมา ด้วยวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการฝึกอบรมบุคลากรที่มีความสามารถ และผู้นำด้านเทคโนโลยี 1,000 คนในแต่ละปี เป็นระยะเวลา 10 ปี ในปี 2564 ที่ผ่านมา แพลตฟอร์มดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 1,067 คนจาก 66 ประเทศที่สำเร็จโครงการ Fintech Foundation และ Fintech Leadership Program โดยได้รับประกาศนียบัตรรับรองจาก 10×1000 และ International Finance Corporation (IFC) ซึ่งผู้เรียนเกือบ 80% มาจากเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีบังคลาเทศ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เป็นสามประเทศแรกที่มีผู้เข้าร่วมมากสุด

เจสัน พาว, หัวหน้าโครงการ 10×1000 กล่าวว่า “การเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับแอปพลิเคชันเทคโนโลยีเกิดใหม่ การแบ่งปันความรู้ข้ามภูมิภาค และเครือข่ายธุรกิจในแต่ละประเทศคือสิ่งสำคัญสามอันดับแรกที่ผู้เข้าอบรมสนใจในโครงการ 10×1000 ด้วยตระหนักถึงศักยภาพและความต้องการในการแบ่งปันความรู้ข้ามประเทศและข้ามภูมิภาค โครงการ 10×1000 จึงมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อและส่งเสริมคอมมูนิตี้ฟินเทคระดับโลกที่มีความกระตือรือร้นของผู้เรียน ผู้เชี่ยวชาญ และพันธมิตรเพื่อปลูกฝังการเรียนรู้ ในปี 2564 เราได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ 17 คน องค์กรชั้นนำระดับโลก 31 แห่ง นักลงทุนด้านเทค และองค์กรในอุตสาหกรรมต่างๆ ในฐานะพันธมิตรที่ใกล้ชิดของเราเพื่อคัดสรรผู้เข้าอบรมในโครงการ 10×1000”

“เราส่งเสริมทุกภาคส่วนในอีโคซิสเต็มของธุรกิจการเงินการธนาคาร รวมถึง ฟินเทค และหน่วยงานที่กำกับดูแล ในการหาช่องทางในการพัฒนา และโอกาสทางการตลาดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและดิจิทัลที่รวดเร็วในปัจจุบัน โดยจะส่งเสริมการพัฒนาที่สมดุลมุ่งเน้นการบริการด้านการเงินทั้งหมด การคุ้มครองผู้บริโภค ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และความรู้ด้านการเงินดิจิทัล” ฮานส์ โคนิง, หัวหน้ายุทธศาสตร์การเงินดิจิทัลระดับโลกของ IFC กล่าว “โครงการ 10X1000 Tech for Inclusion ถือว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของโลกดิจิทัล และเสริมศักยภาพของผู้นำด้านเทคโนโลยีจากการเพิ่มพูนความรู้และทักษะ เพื่อเป็นผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ยั่งยืนในตลาดเกิดใหม่ต่อไป”

โครงการ 10×1000 ยังได้ประกาศหลักสูตรการเรียนรู้ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับปี 2022 ดังนี้:

    1. Fintech Expert Program
      • Fintech Expert Program เป็น learning journey ต่อไปสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีฟินเทค
      • โปรแกรมออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หัวข้อต่าง ๆ ในเชิงลึก ตั้งแต่ AI, Blockchain ไปจนถึง Cloud เพื่อนำความรู้ไปใช้ได้จริงพร้อมทักษะเชิงปฎิบัติผ่านวิดีโอที่บันทึกไว้ 8 เซสขั่น
    1. Green Fintech Miniseries
      • เพื่อเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับ ESG และฟินเทคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มินิซีรีส์นี้จะนำเสนอในรูปแบบวิดีโอที่บันทึกไว้ 3 เซสชั่นเกี่ยวกับกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง และ best practices

3.  โปรแกรม Fintech Foundation ในภาษาฝรั่งเศส

      • เพื่อรองรับความต้องการและเข้าถึงผู้เรียนมากขึ้นทั่วโลก โครงการ 10×1000 จะจัดทำโปรแกรม Fintech Foundation Program เป็นภาษาฝรั่งเศส

“เรามุ่งมั่นที่จะขยายหลักสูตรเพื่อสร้าง journey การเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านฟินเทคและเทคโนโลยีจากทั่วโลก เรายินดีต้อนรับผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรในความร่วมมือครั้งนี้เพื่อลดช่องว่างทักษะดิจิทัลและขับเคลื่อนธุรกิจการเงินทั้งหมดไปกับเรา” เจสัน พาว กล่าว

เนื้อหาการฝึกอบรมที่จัดทำโดยโครงการ 10×1000 ได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการกำกับหลักสูตร (CSC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาที่รับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร คณะกรรมการชุดปัจจุบันประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญระดับโลกจากภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาการ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ

แอนท์กรุ๊ป แต่งตั้งผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนใหม่

Jia Hang AntGroup

แอนท์กรุ๊ป แต่งตั้งผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนใหม่

เสริมศักยภาพบุคลากร พร้อมขยายขีดความสามารถ เพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีอย่างเต็มที่ในภูมิภาคนี้

แอนท์กรุ๊ป (Ant Group) ประกาศแต่งตั้ง มร. เจีย ฮาง ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายการดำเนินงานของแอนท์กรุ๊ป เสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถให้แก่บุคลากรในภูมิภาคนี้ พร้อมทั้งตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการให้บริการแก่ลูกค้า และสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ธุรกิจระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ธุรกิจเอสเอ็มอี’ เพื่อให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

มร. เจีย ฮาง กล่าวถึงการแต่งตั้งในครั้งนี้ว่า “ขณะที่องค์กรต่างๆ พยายามที่จะฟื้นฟูธุรกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้งโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งอนาคต เราพร้อมเสมอที่จะอยู่เคียงข้างลูกค้าไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ใด รวมถึงเราได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในภูมิภาคนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจท้องถิ่นประสบความสำเร็จ โดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของทีมงานที่มีประสบการณ์ ความสามารถทางดิจิทัล และ know-how”

“ด้วยการใช้ประโยชน์จาก Alipay+ รวมถึงเครือข่ายพาร์ทเนอร์ภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง เรามุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการทั่วโลก รวมถึงผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคเพื่อให้บริการที่ดีกว่าแก่ผู้บริโภคมากกว่าหนึ่งพันล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการเชื่อมโยงเข้ากับบริการอีวอลเล็ท และบริการชำระเงินผ่านมือถือต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคนิยมใช้ นอกจากนี้เรายังมีแผนที่จะบ่มเพาะบุคลากรด้านเทคโนโลยีในระดับท้องถิ่นภายใต้โครงการต่าง ๆ เช่น 10×1000 Tech for Inclusion[i] เป็นต้น” มร. เจีย ฮาง กล่าว

มร. เจีย ฮาง จะประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแอนท์กรุ๊ป ในประเทศสิงคโปร์  ทั้งนี้ มร. เจีย ฮาง มีประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 20 ปีในด้านเทคโนโลยีการเงิน โดยเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญมากมายด้านการดำเนินงานระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ปตั้งแต่ปี 2558 และล่าสุดได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานทั่วโลกของ WorldFirst ผู้นำด้านระบบชำระเงินในธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งกำกับดูแลทีมงานฝ่ายโซลูชั่นด้านการชำระเงินเพื่อรองรับตลาดอีคอมเมิร์ซระดับโลกและระดับภูมิภาค

24 พิพิธภัณฑ์ในจีนเข้าร่วมแคมเปญประจำปีของ Alipay “คอลเลกชั่นการ์ดเสี่ยงทายทั้ง 5” (Five Fortune Card Collection) ด้วยชิ้นงานศิลปะดิจิทัลที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัตถุโบราณในธีมเสือ

24 พิพิธภัณฑ์ในจีนเข้าร่วมแคมเปญประจำปีของอาลีเพย์

24 พิพิธภัณฑ์ในจีนเข้าร่วมแคมเปญประจำปีของอาลีเพย์ “คอลเลกชั่นการ์ดเสี่ยงทายทั้ง 5” (Five Fortune Card Collection) ด้วยชิ้นงานศิลปะดิจิทัลที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัตถุโบราณในธีมเสือ

อาลีเพย์เปิดตัวแคมเปญประจำปี “คอลเลกชั่นการ์ดเสี่ยงทายทั้ง 5” (Five Fortune Card Collection) หรือรู้จักกันในชื่อว่า Wufu เพื่อเฉลิมฉลองรับปีเสือ

ปีนี้ พิพิธภัณฑ์ 24 แห่งทั่วประเทศจีนเข้าร่วมแคมเปญดังกล่าว พร้อมกับชิ้นงานศิลปะดิจิทัล NFT ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเสือและโบราณวัตถุตามราศีของคนจีน ชิ้นงานดิจิทัลเหล่านี้ได้รับการส่งเสริมจาก Topnod (鲸探) แพลตฟอร์มจากแอนท์กร๊ป (Ant Group) เพื่อใช้ในการสะสม ค้นหา และแชร์คอลเลกชั่นศิลปะดิจิทัล ก่อนหน้านี้แพลตฟอร์ม Topnod เป็นที่รู้จักในชื่อ “AntChain Fan Points” (蚂蚁链粉丝粒) จากนั้นได้รับการพัฒนาโดยมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ รวมถึงการที่มีประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีขึ้น พร้อมการอัพเกรดแบรนด์เมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 2564 ที่ผ่านมา

รายชื่อพิพิธภัณฑ์ที่เข้าร่วมแคมเปญได้แก่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ส่านซี (The Shanxi Museum), พิพิธภัณฑ์เหอเป่ย (Hebei Museum), พิพิธภัณฑ์อานฮุย (Anhui Museum), พิพิธภัณฑ์เหอหนาน (Henan Museum), พิพิธภัณฑ์นานกิง (Nanjing Museum Administration), พิพิธภัณฑ์หูหนาน (Hunan Museum) และอื่น ๆ 

คอลเลกชั่นการ์ดเสี่ยงทายทั้ง 5

ผู้ใช้งานสามารถค้นหาและซื้อผลงานศิลปะดิจิทัลจากทางพิพิธภัณฑ์ผ่านแอพ Topnod และอาลีเพย์มินิโปรแกรมได้ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา ผู้ใช้งานยังสามารถรีดีมผลงานศิลปะดิจิทัลธีมเสือโดยใช้เวอร์ชวลการ์ดที่สะสมจากแคมเปญ “Five Fortune” ได้ฟรี นับจากนี้ ผู้ใช้งานสามารถแสดงชิ้นงานสะสมดิจิทัลของตัวเองในหน้า “Personal Pavilion” ในแอพ Topnod ได้เช่นกัน

จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของทางเทคโนโลยีดิจิทัล พิพิธภัณฑ์ทั่วโลกได้ตื่นตัวกับการทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชันเพื่อการคงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม สร้างการรับรู้ในสังคม และดึงดูดความสนใจของกลุ่มคนหนุ่มสาวที่เป็น tech-savvy

จากรายงานฉบับล่าสุด “บล็อกเชนช่วยฟื้นคืนมรดกทางวัฒนธรรมในยุคดิจิทัลได้อย่างไร” (How Blockchain Revives Cultural Heritage in the Digital Era)” โดยมหาวิทยาลัยจงอิงไฉจิง (Central University of Finance and Economics) 44.11% ของโบราณวัตถุในประเทศจีนอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ยิ่งเป็นโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่า เปอร์เซนต์การดิจิไทซ์โบราณวัตถุยิ่งสูงขึ้นถึง 67.82% เปรียบเทียบเปอร์เซนต์การดิจิไทซ์โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในฝรั่งเศสและพิพิธภัณฑ์บริติชที่อยู่ที่ 75% และ 50% ตามลำดับ

ในเดือนตุลาคม ปี 2564 พิพิธภัณฑ์กว่า 2,000 แห่งในประเทศจีนได้เปิดตัวมินิโปรแกรมของแต่ละแห่งบนแพลตฟอร์มอาลีเพย์ ในเดือนเดียวกันนั้นแอนท์กรุ๊ป (Ant Group) ก็เปิดตัว “Treasure Project” สำหรับพิพิธภัณฑ์และแกลลอรี่เพื่อออกแบบและปล่อยผลงานสะสมในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนของแอนท์เชน (AntChain) เพื่อโปรโมตผลงานศิลปะและวัฒนธรรมยุคโบราณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564 พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดหูเป่ยขายภาพศิลปะดิจิทัลชื่อดัง “ดาบแห่งโกวเจี้ยน” (Sword of Goujian) ดาบที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ดีบุกซึ่งถูกครอบครองโดยกษัตริย์จีน นามว่าโกวเจี้ยนแห่งนครยู (ระหว่างปี 2032 – 222 ก่อนปีคริสตกาล) ปัจจุบันมากกว่าครึ่งหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดในประเทศจีนได้นำเสนองานศิลปะเพื่อสะสมในรูปแบบดิจิทัลผ่านแอพ Topnod

*ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบและสร้างผลงานศิลปะดิจิทัลของพิพิธภัณฑ์และศิลปิน สามารถดูได้จากวิดีโอพิพิธภัณฑ์หูหนาน (https://twitter.com/AntChain/status/1475318488398848009