“Cloud ME” คือเทคโนโลยีที่ช่วยลดระยะห่าง และช่วยให้ผู้คนที่เข้าร่วมงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

“Cloud ME” คือเทคโนโลยีที่ช่วยลดระยะห่าง

“Cloud ME” คือเทคโนโลยีที่ช่วยลดระยะห่าง และช่วยให้ผู้คนที่เข้าร่วมงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

โซลูชันที่ทำงานบนคลาวด์มอบประสบการณ์ในการสื่อสารระหว่างกันอย่างสมจริง เหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19

อาลีบาบา เปิดตัว “Cloud ME” นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทำงานบนคลาวด์ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ณ กรุงปักกิ่งในปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดเรื่องโควิดและระยะห่างของผู้คนที่อยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ  “Cloud ME” เป็นโซลูชันด้านการสื่อสารแบบเรียลไทม์ (real-time communication: RTC) ช่วยให้ผู้คนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น สามารถสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และได้สัมผัสประสบการณ์เสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริงด้วยกันระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ซึ่งช่วยให้ผู้คนพบปะและเพลิดเพลินกับการสนทนาแบบเรียลไทม์ผ่านการยิงภาพเท่าของจริงเหมือนอยู่ในสถานการณ์จริง

เมื่อผู้ร่วมงานก้าวเข้าไปยังป๊อป-อัพสตูดิโอในบูธของ Cloud ME ฟังก์ชันการฉายภาพจากระยะไกลที่ติดตั้งได้ง่าย จะยิงภาพเต็มตัวเท่าขนาดจริงของพวกเขาไปปรากฎในบูธอื่นที่อยู่ไกลออกไป และผู้เข้าร่วมงานนั้น ๆ ก็จะได้พบปะกับคู่สนทนาและทักทายกันเหมือนอยู่ในสถานที่เดียวกัน นอกจากนี้ฟังก์ชันนี้ยังช่วยให้สามารถจัดประชุมร่วมกับผู้คนที่อยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างไม่จำกัด

แดเนียล จาง ประธานและซีอีโอของอาลีบาบา กรุ๊ป กล่าวว่า “อาลีบาบามุ่งมั่นที่จะนำการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเข้าสู่โลกดิจิทัล และมอบโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสบการณ์ที่ครอบคลุมและมีส่วนร่วมมากขึ้น เราหวังว่าจะเชื่อมโยงนักกีฬาและแฟนกีฬาทั่วโลกไว้ด้วยกันผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ของเรา และช่วยให้สปิริตของโอลิมปิกเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนในเวลาที่เราสนุกสนานกับกีฬาประเภทต่าง ๆ ร่วมกัน”

โทมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) กล่าวว่า “เรากำลังสร้างประวัติศาสตร์ ณ กรุงปักกิ่งด้วยความร่วมมือกับอาลีบาบา ปีนี้เป็นครั้งแรกที่เทคโนโลยีหลักที่จำเป็นต้องใช้ใoโอลิมปิคฤดูหนาวทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์นเช่น เทคโนโลยีที่ช่วยเสริมศักยภาพให้กับโอลิมปิกออนไลน์สโตร์ในประเทศจีน, เทคโนโลยีในการแพร่ภาพและกระจายเสียง OBS คลาวด์ รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้รองรับสื่อจากทั่วโลกที่รวมตัวกันในกรุงปักกิ่ง นับว่าเทคโนโลยีของอาลีบาบา คลาวด์ กำลังสร้างมาตรฐานใหม่ และยกระดับมาตรฐานขึ้นอีกระดับ”

บูธ Cloud ME สามารถติดตั้งได้อย่างง่ายดาย ด้วยอุปกรณ์สตูดิโอทั่วไป เช่น กล้องวิดีโอและคอมพิวเตอร์เพื่อจับภาพวิดีโอ โดยไม่จำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพิ่มเติมในพื้นที่ติดตั้ง และไม่ต้องทำการปรับแต่งอินเทอร์เน็ตแบนด์วิดท์ใหม่ให้เหมาะสมในการดำเนินการบันทึกและส่งข้อมูล ทั้งหมดนี้ล้วนใช้ขุมพลังของการประมวลผลแบบคลาวด์

วิดีโอและไฟล์เสียงที่สร้างขึ้นในบูธ Cloud ME จะถูกส่งต่อไปยังอาลีบาบา คลาวด์ ซึ่งเป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป โซลูชันด้านการสื่อสารแบบเรียลไทม์ (RTC) ที่ได้รับการยอมรับแล้วนี้ ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังการประมวลผลบนระบบคลาวด์ประสิทธิภาพล้ำหน้าของอาลีบาบาที่ครอบคลุมเครือข่ายกว้างขวางทั่วโลก

กระบวนการดังกล่าวข้างต้นสามารถทำให้เสร็จได้ภายใน 200 milliseconds ด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ ของอาลีบาบา คลาวด์ ที่มีคุณสมบัติในการทำงานพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีความพร้อมใช้สูง และมีความหน่วงต่ำ บันทึกการแข่งขันสดสามารถยิงส่งไปยังจอภาพความละเอียดสูงระดับ 4K ที่อยู่ในระยะไกล สร้างภาพเอฟเฟกต์โฮโลแกรมที่เหมือนจริง สร้างรายละเอียดต่าง ๆ ใหม่ด้วยความละเอียดสูง เช่น จับรายละเอียดการแสดงออกทางสีหน้า และเสื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว

ลี่จวน เฉิน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชัน อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “โซลูชันในการสื่อสารแบบเรียลไทม์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีคลาวด์มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้โลกสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาลีบาบา คลาวด์มีเครือข่ายคลาวด์ทั่วโลก และอัลกอริธึมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเราเอง ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นที่จะนำประโยชน์ของการสื่อสารแบบเรียลไทม์มาใช้ในสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเรียนออนไลน์ กิจกรรมด้านความบันเทิงที่สามารถโต้ตอบกันได้ การประชุมทางวิดีโอ และบริการต่าง ๆ ขององค์กรในอุตสาหกรรมอื่น ๆ

บูธ Cloud ME ของอาลีบาบา มีให้บริการทั้งในระบบการจัดการแบบปิดในงานโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2022 ที่กรุงปักกิ่ง และบริการให้กับผู้เข้าร่วมงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวจากภายนอก เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้รับประสบการณ์ที่น่าสนใจจากการสร้างปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่สมจริงนี้ การใช้ Cloud ME ครั้งแรกในงานโอลิมปิกครั้งนี้ ได้ใช้เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการประชุมทางไกลระหว่างแดเนียล จาง และ โทมัส มัค ซึ่งไม่สามารถเดินทางมาประชุมร่วมกันแบบพบปะกันตัวจริงกันได้ เนื่องจากข้อจำกัดของสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีน

อาลีบาบาคาดการณ์ 10 อันดับเทรนด์เทคโนโลยีพุ่งแรง

อาลีบาบาคาดการณ์ 10 อันดับเทรนด์เทคโนโลยีพุ่งแรง

อาลีบาบาคาดการณ์ 10 อันดับเทรนด์เทคโนโลยีพุ่งแรง

Alibaba DAMO Academy (DAMO) สถาบันเพื่อการวิจัยด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ระดับโลกของอาลีบาบา กรุ๊ป นำเสนอการคาดการณ์แนวโน้มสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

DAMO นำเสนอแนวโน้ม 10 อันดับเทคโนโลยีสำคัญที่จะเกิดขึ้นในช่วงสองถึงห้าปีข้างหน้า ซึ่งได้จากการวิเคราะห์เอกสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะ การยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในช่วงสามปีที่ผ่านมา และการสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์เกือบ 100 คน ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าเราจะได้เห็นการพัฒนาที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมทุกภาคส่วนในวงกว้าง

นายเจฟฟ์ จาง Head of Alibaba DAMO Academy กล่าวว่า “ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดความก้าวหน้าทางดิจิทัลและการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีไปใช้ได้ขยายขอบเขตจากโลกทางกายภาพไปสู่โลกที่ผสมผสานระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือนเข้าด้วยกัน (mixed reality: MR) ในขณะเดียวกันก็มีการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ

“เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมใด เช่น ดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการผลิตที่ประหยัดพลังงาน หรือในกิจกรรมประจำวัน เช่น สำนักงานไร้กระดาษ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าเราจะสร้างอนาคตที่ดีขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี”

Alibaba Unveils Forecast of Top 10 Leading Tech Trends

คาดการณ์แนวโน้มสำคัญ: ในอีกสองปีถึงห้าปีข้างหน้าจะมีแอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนระบบการประมวลผลแบบใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนี้

#1 Cloud-Network-Device Convergence
การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีด้านเครือข่ายใหม่ ๆ จะขับเคลื่อนวิวัฒนาการของคลาวด์คอมพิวติ้ง ไปสู่ระบบการประมวลผลแบบใหม่ ที่เป็นการรวมอุปกรณ์เครือข่ายบนคลาวด์เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งคลาวด์ เน็ตเวิร์ก และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบใหม่นี้จะมีการแบ่งงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น การรวมเครือข่ายระบบคลาวด์ ไว้ด้วยกันจะเป็นตัวเร่งผลักดันให้เกิดแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองงานที่มีความต้องการมากขึ้น เช่น การจำลองทางอุตสาหกรรมที่มีความแม่นยำสูง การตรวจสอบคุณภาพทางอุตสาหกรรมแบบเรียลไทม์ และ mixed reality ในอีก 2 ปีข้างหน้า เราคาดว่าจะได้เห็นแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบประมวลผลใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในอีกสามปีข้างหน้า เราคาดว่าจะได้เห็นการนำ AI ไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ การใช้ชิปซิลิคอนโฟโตนิคที่ส่งข้อมูลด้วยแสง (Silicon Photonic Chips) การใช้ AI ปูทางไปสู่การรวมแหล่งพลังงานหมุนเวียนเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้า การรักษาแบบแม่นยำจำเพาะที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในการรักษา (people-centric precision medicine) ที่กำลังเป็นเทรนด์สำคัญ การปรับปรุงที่ก้าวล้ำด้านประสิทธิภาพและความสามารถในการเข้าใจการประมวลผลแบบรักษาความเป็นส่วนตัว รวมถึงแว่นตา XR รุ่นใหม่ที่รวมองค์ประกอบของ VR และ AR เพื่อแสดงภาพดิจิทัลเหนือสภาพแวดล้อมจริง เป็นต้น

#2 AI for Science (AI กับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์)
เมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ชุมชนวิทยาศาสตร์มีกระบวนทัศน์พื้นฐานสองประการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์เชิงทดลองและวิทยาศาสตร์เชิงทฤษฎี ทุกวันนี้ความก้าวหน้าของ AI ทำให้กระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ เป็นไปได้ แมชชีนเลิร์นนิ่งสามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากที่มีหลากหลายมิติและในหลายรูปแบบ พร้อมแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนได้ ช่วยให้การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เติบโตขึ้นในเรื่องที่เคยคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่เพียงแต่ AI จะเป็นตัวเร่งให้การวิจัยทางวิทยาศาสตร์รวดเร็วขึ้นเท่านั้นแต่ยังช่วยในการค้นพบกฎทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ อีกด้วย ในอีก 3 ปีข้างหน้า เราคาดว่าจะมีการนำ AI ไปใช้อย่างกว้างขวางในกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และใช้เป็นเครื่องมือการผลิตในวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านต่าง ๆ

#3 Silicon Photonic Chips (ชิปซิลิคอนที่ส่งข้อมูลด้วยแสง)
เมื่อขนาดของทรานซิสเตอร์ใกล้ถึงขีดจำกัดทางกายภาพ ความเร็วของการพัฒนาชิปอิเล็กทรอนิกส์จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของการประมวลผลประสิทธิภาพสูงอีกต่อไป silicon photonic chips ต่างจากชิปอิเล็กทรอนิกส์ตรงที่ใช้โฟตอน (photons) แทนอิเล็กตรอน (electrons) เพื่อส่งข้อมูล โฟตอนจะไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบกันโดยตรง และสามารถเคลื่อนที่ในระยะทางที่ไกลกว่า ดังนั้น silicon photonic chips จึงสามารถเพิ่มความหนาแน่นในการประมวลผลและประสิทธิภาพในการใช้พลังงานให้สูงขึ้น ส่วนการเติบโตของคลาวด์คอมพิวติ้งและ AI ก็ขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี silicon photonic chips อย่างรวดเร็ว ในอีก 3 ปีข้างหน้า เราสามารถคาดหวังว่าจะได้เห็นการใช้ silicon photonic chips อย่างแพร่หลายในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงในดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่

#4 AI for Renewable Energy (AI กับพลังงานหมุนเวียน)
การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานน่าสนใจที่จะเพิ่มเข้าไปในโครงข่ายไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่าง ๆ เช่น ความยุ่งยากในการรวมระบบโครงข่าย อัตราการใช้พลังงานต่ำ และการจัดเก็บพลังงานส่วนเกิน ล้วนเป็นอุปสรรคใหญ่ในการดำเนินการ เนื่องจากลักษณะที่คาดเดาไม่ได้ของการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และการรวมแหล่งพลังงานหมุนเวียนเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้า ทำให้เกิดความท้าทายที่ส่งผลต่อความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของโครงข่ายไฟฟ้า การประยุกต์ใช้ AI ในภาคอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญยิ่งต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพ และระบบอัตโนมัติของระบบไฟฟ้ากำลัง ตลอดจนการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีเสถียรภาพ ซึ่งจะเอื้อให้บรรลุเป้าหมาย carbon neutrality ที่จะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น ในอีก 3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีการนำ AI ไปใช้เพื่อปูทางไปสู่การรวมแหล่งพลังงานหมุนเวียนเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้า ตลอดจนมีส่วนสนับสนุนในการดำเนินงานของโครงข่ายไฟฟ้าที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้

#5 High-precision Medicine (การรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะสูง)
การแพทย์เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะของแต่ละบุคคลเป็นอย่างมาก และมักจะเกี่ยวข้องกับการลองผิดลองถูกอย่างสูง และท้ายที่สุดอาจมีประสิทธิภาพแตกต่างกันไปตามผู้ป่วยแต่ละราย เป็นที่คาดกันว่าการนำ AI มารวมกับการรักษาที่แม่นยำ จะช่วยกระตุ้นการบูรณาการความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีการวินิจฉัยใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น และทำหน้าที่เป็นเข็มทิศนำทางที่มีความแม่นยำสูงสำหรับเวชศาสตร์คลีนิก ซึ่งแพทย์สามารถใช้เข็มทิศนี้วินิจฉัยโรคและตัดสินใจทางการแพทย์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความก้าวหน้าเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถวัด คำนวณ คาดการณ์ และป้องกันโรคร้ายแรงได้ ในอีก 3 ปีข้างหน้าเราคาดว่า จะได้เห็นการรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะโดยอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรม หรือข้อมูลในระดับโมเลกุลมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในการรักษา ซึ่งจะกลายเป็นเทรนด์สำคัญที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพในด้านต่าง ๆ รวมถึงการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรค AI จะเปรียบเสมือนกับเข็มทิศที่มีความแม่นยำสูง ที่จะช่วยให้เราสามารถระบุโรคและการรักษาได้

#6 Privacy-preserving Computation (การประมวลผลแบบรักษาความเป็นส่วนตัว)
เนื่องจากข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพ การขาดความมั่นใจในเทคโนโลยี และข้อกังวลด้านมาตรฐานต่าง ๆ ทำให้การประยุกต์ใช้การประมวลผลเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว ถูกจำกัดให้อยู่ในขอบเขตแคบ ๆ ของการประมวลผลที่มีขนาดเล็กมาตลอด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเทคโนโลยีมีการบูรณาการมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ชิปที่มีการทำงานเฉพาะ อัลกอริธึมการเข้ารหัส การใช้งานไวท์บ็อกซ์ (whitebox) ที่เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเซิร์ฟเวอร์ประกอบเองที่ไม่มีแบรนด์ รวมถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล ฯลฯ กำลังเกิดขึ้น ดังนั้นจึงจะมีการประมวลผลแบบรักษาความเป็นส่วนตัวนำมาใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล และการผสานรวมข้อมูลจากทุกโดเมน ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลจำนวนเล็กน้อย และข้อมูลจากโดเมนส่วนตัวเข้าไว้ด้วยกัน การนำไปใช้งานจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานใหม่ที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลจากทุกโดเมน ในอีก 3 ปีข้างหน้าเราจะเห็นการปรับปรุงที่ก้าวล้ำด้านประสิทธิภาพ และความสามารถในการเข้าใจการประมวลผลแบบรักษาความเป็นส่วนตัว และจะได้เห็นหน่วยงานด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ให้บริการแบ่งปันข้อมูลต่าง ๆ ผ่านการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น

#7 Extended Reality: XR (เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง – XR)
การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การประมวลผลแบบเอดจ์บนคลาวด์ การเชื่อมต่อเครือข่าย และดิจิทัลทวิน
ทำให้เทคโนโลยี XR เติบโตเต็มที่ แว่นตา XR ให้คำมั่นที่จะทำให้โลกเสมือนบนอินเทอร์เน็ตใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด นวัตกรรมนี้ได้หว่านเมล็ดพันธุ์ที่จะแตกหน่อในระบบนิเวศอุตสาหกรรมใหม่ ที่รวมถึงส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ ระบบปฏิบัติการ และการใช้งานในด้านต่าง ๆ เทคโนโลยี XR จะเปลี่ยนโฉมแอปพลิเคชันดิจิทัล และปฏิวัติวิธีที่ผู้คนมีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความบันเทิง โซเชียลเน็ตเวิร์ก ออฟฟิศ ช็อปปิ้ง การศึกษา และการดูแลสุขภาพ ฯลฯ ในอีก 3 ปีข้างหน้า เราคาดว่าจะได้เห็นแว่นตา XR รุ่นใหม่ที่มีรูปลักษณ์ และให้ความรู้สึกที่ไม่ผิดเพี้ยนไปจากแว่นตาทั่วไปออกสู่ตลาด และจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสู่อินเทอร์เน็ตในยุคต่อไป

#8 Perceptive Soft Robotics
หุ่นยนต์นิ่ม (Perceptive Soft Robotics) แตกต่างจากหุ่นยนต์ทั่วไป ตรงที่มีส่วนต่าง ๆ ที่ยืดหยุ่นได้ และมีความสามารถในการรับรู้ต่อแรงกด การมองเห็น และเสียง หุ่นยนต์เหล่านี้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ล้ำสมัย เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยืดหยุ่นได้ วัสดุที่รองรับแรงกด และ AI ซึ่งช่วยให้ทำงานพิเศษและงานที่มีความซับซ้อนสูง อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนรูปเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่แตกต่างกันได้ การเกิดขึ้นของหุ่นยนต์นิ่มจะช่วยเปลี่ยนทิศทางของอุตสาหกรรมการผลิต ตั้งแต่การผลิตสินค้ามาตรฐานจำนวนมาก ไปจนถึงสินค้าเฉพาะกลุ่มที่มีการผลิตจำนวนน้อย ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีการนำหุ่นยนต์นิ่มมาใช้แทนที่หุ่นยนต์ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิต และปูทางไปสู่การใช้เป็นหุ่นยนต์บริการในชีวิตประจำวันมากขึ้น

#9 Satellite-terrestrial Integrated Computing (การประมวลผลแบบบูรณาการผ่านดาวเทียมและภาคพื้นดิน – STC)
เครือข่ายภาคพื้นดินและระบบการประมวลผลมีการให้บริการดิจิทัลสำหรับพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น แต่จะไม่มีบริการในพื้นที่ที่มีประชากรเบาบาง เช่น ทะเลทราย ทะเล และอวกาศ เป็นต้น STC จะเชื่อมต่อกับดาวเทียมแบบ High-Earth Orbit (HEO) ที่มีวงโคจรสูง และแบบ Low-Earth Orbit (LEO) ที่มีวงโคจรต่ำ และเครือข่ายการสื่อสารเคลื่อนที่ภาคพื้นดิน ครอบคลุมไร้รอยต่อในทุกมิติ นอกจากนี้ STC ยังสร้างระบบประมวลผลที่รวมดาวเทียม เครือข่ายดาวเทียม ระบบสื่อสารภาคพื้นดิน และเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการเข้าถึงบริการดิจิทัลได้มากขึ้น และครอบคลุมทั่วโลก ในอีก 5 ปีข้างหน้า ดาวเทียมและระบบภาคพื้นดินจะทำงานร่วมกันเป็นโหนดการประมวลผล เพื่อสร้างระบบเครือข่ายแบบครบวงจรที่ให้การเชื่อมต่อทั่วทุกพื้นที่

และยิ่งไปกว่านั้น เราคาดหวังว่าในอนาคต AI จะเปลี่ยนไปเป็นวิวัฒนาการร่วมกันของโมเดลขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ผ่านระบบคลาวด์ เอดจ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

#10 วิวัฒนาการร่วมของโมเดล AI ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
โมเดลก่อนการฝึกอบรม หรือที่เรียกกันว่าโมเดลพื้นฐาน เป็นเทคนิคก้าวล้ำในการพัฒนาพื้นฐานตั้งแต่ AI เฉพาะทาง (Weak AI) ที่มีความสามารถเฉพาะด้าน ไปจนถึง AI ทั่วไป (General AI) ที่มีความสามารถดัดแปลงความรู้และทักษะได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยใช้การเรียนรู้เชิงลึกที่เป็นมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ข้อดีในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และข้อเสียในด้านการใช้พลังงานนั้นไม่สมดุลกัน จึงทำให้การสำรวจโมเดลขนาดใหญ่มีข้อจำกัด AI ในอนาคตกำลังเปลี่ยนจากการแข่งขันด้านความสามารถในการปรับขนาดของโมเดลพื้นฐาน ไปสู่การพัฒนาร่วมกันของโมเดลขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ผ่านระบบคลาวด์ เอดจ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์มากกว่าในทางปฏิบัติ

อะไรซ่อนอยู่ใน Metaverse

Metaverse

อะไรซ่อนอยู่ใน Metaverse

Selina Yuan

บทความโดย เซลินา หยวน ผู้จัดการทั่วไป หน่วยงานด้านธุรกิจระหว่างประเทศ อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์

เมตาเวิร์ส (metaverse) คือโลกแห่งความเป็นไปได้อันไม่มีที่สิ้นสุด ที่เราเคยเห็นได้จากนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ วิธีการง่ายที่สุดที่จะเข้าใจ metaverse ได้ดีคือการชมภาพยนตร์ฮอลลีวูดยอดนิยม เช่น Avatar และ Ready, Player One

Metaverse

เมตาเวิร์ส (metaverse) คือโลกแห่งความเป็นไปได้อันไม่มีที่สิ้นสุด ที่เราเคยเห็นได้จากนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ วิธีการง่ายที่สุดที่จะเข้าใจ metaverse ได้ดีคือการชมภาพยนตร์ฮอลลีวูดยอดนิยม เช่น Avatar และ Ready, Player One

ในภาพยนตร์เหล่านี้ metaverse คือจักรวาลดิจิทัลสามมิติที่นักแสดงสามารถหลีกหนีจากความจริงทางกายภาพ สามารถมีส่วนร่วมกับผู้อื่นผ่านตัวตนจำลองในโลกเสมือนจริง (avatar: อวาตาร์) ของตนที่สร้างขึ้นมา และสามารถหาประสบการณ์จากทุกสิ่งที่ต้องการได้ โดยมีข้อจำกัดเพียงจินตนาการของมนุษย์และเทคโนโลยีเท่านั้น

นอกจาก metaverse จะเป็นคู่แฝดทางดิจิทัลของความเป็นจริงในโลกทางกายภาพที่ยอดเยี่ยมของเราแล้ว ยังมีศักยภาพที่แท้จริงซ่อนอยู่ นั่นคือความสามารถในการใช้ความชาญฉลาดทางดิจิทัลที่เราใช้ประโยชน์อยู่แล้วให้มีประสิทธิผลมากขึ้น และทำให้มองเห็นแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ที่ไม่เช่นนั้นก็อาจยังคงซ่อนอยู่ออกมา และนี่อาจเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เราแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกแห่งความเป็นจริง และสร้างโลกที่เขียวชอุ่มมากขึ้น มีความเสมอภาคและมีส่วนร่วมซึ่งกันและกันมากขึ้น และเป็นโลกที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

การจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

Metaverse ไม่เพียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโลกเวอร์ชวลที่สมบูรณ์แบบเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ไปใช้จัดการปัญหาเร่งด่วนมากมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

การคาดการณ์ด้านต่าง ๆ จากรายงานของ Institute of Chartered Accountants in England and Wales และ British Chamber of Commerce Singapore แสดงให้เห็นว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีความสุ่มเสี่ยงมากที่สุดในโลก โดยหกในยี่สิบประเทศทั่วโลกที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศอยู่ในภูมิภาคนี้ คือ ประเทศอินโดนีเซีย ไทย เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์

อุทกภัยคร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 250,000 ราย และสร้างความเสียหายมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2523 คิดเป็นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้ว เป็นภัยคุกคามที่แท้จริงต่อหมู่เกาะจำนวนมากตามชายฝั่งทะเลที่อยู่ในภูมิภาคนี้และที่มีพื้นที่ลุ่มต่ำ ภัยธรรมชาติเหล่านี้อาจทำลายบ้านเรือนจนอยู่อาศัยไม่ได้ และสร้างความกดดันต่อเนื่องมายังเรื่องของการจัดหาเสบียงอาหารและระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ

ในเบื้องต้นอาลีบาบา คลาวด์ ได้สร้างแพลตฟอร์มที่มีการนำข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น (nowcasting platform) เพื่อใช้คาดการณ์สภาพอากาศในช่วงสั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ภูมิภาคนี้สามารถควบคุมและรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสภาพอากาศได้ เทคโนโลยีที่ทำงานโดยการดึงภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยาด้วยความแม่นยำสูงและในเวลาเรียลไทม์นี้ สามารถช่วยติดตามปริมาณน้ำฝน ความเร็วลม และสภาพอากาศที่รุนแรงต่าง ๆ เพื่อลดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรและปศุสัตว์ให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งยังช่วยให้ผู้จัดส่งผลผลิตสามารถจัดเส้นทางการจัดส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่หากเราสามารถแปลงความชาญฉลาดนี้ให้กลายเป็น metaverse ได้ จะมีประโยชน์มหาศาล เช่น การแปลงและทำแผนที่ข้อมูลสาธารณะที่เกี่ยวกับสภาพอากาศแปรปรวนที่เกิดในรูปแบบต่าง ๆ หรือความถี่ของการเกิดภัยธรรมชาติให้เป็น metaverse จะช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่การเก็บข้อมูลฝนที่ตกหนักเพียงอย่างเดียวโดยลำพัง จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จะเกิดน้ำท่วมรุนแรงได้เท่านั้น

ผลกระทบอันเนื่องมาจากภัยที่เกิดจากสภาพอากาศต่าง ๆ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่จะเป็นเรื่องหนักหนาขึ้นมาทันที หากภัยเหล่านั้นเกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยของใครสักคน เช่น ที่บ้าน หรือที่โรงเรียนของบุตรหลาน การสร้างสถานที่ต่าง ๆ ที่จำลองโลกจริงแบบสามมิติ (3D) ช่วยให้เราเห็นภาพภัยพิบัติจริงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละสถานที่ที่เราคุ้นเคย โดยที่เหตุการณ์นั้นยังไม่เกิดขึ้นบนโลกจริง ซึ่งหากเกิดขึ้นอาจถึงกับต้องแลกด้วยชีวิต ผลกระทบแบบเสมือนจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน metaverse จะเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจที่จริงจังว่ามนุษย์ควรดำเนินชีวิตและปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ปรับปรุงการดำเนินงานและการออกแบบสิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นไว้ในสภาพแวดล้อมและในภาคการผลิต ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

metaverse มีความเกี่ยวข้องทันทีกับเมืองต่าง ๆ ที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ การที่เราก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเทคโนโลยีคลาวด์และ IoT ต่าง ๆ มีอิทธิพลสูง metaverse จะเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการและทดสอบสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ในอนาคต ก่อนที่จะนำไปใช้ในโลกจริง

ลองจินตนาการถึงฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงมากแห่งหนึ่งที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตได้อย่างรวดเร็ว ถอดผลการคำนวณ และแสดงผลได้แบบเรียลไทม์ ผ่านแผนที่สามมิติที่สื่อสารกันได้ สิ่งนี้คือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ฐานข้อมูลของอาลีบาบา คลาวด์ได้คำนึงถึงเมื่อตอนสร้าง GanosBase ขึ้นมาเป็นครั้งแรก GanosBase เป็นกลไกฐานข้อมูลแบบคลาวด์-เนทีฟ ที่สามารถวิเคราะห์และแปลข้อมูล 3D และ 4D เพื่อสร้างฝาแฝดดิจิทัล ทำการจำลองโลกทางกายภาพ

ในส่วนของการสร้างสภาพแวดล้อมนั้น การใช้ประโยชน์จากความเข้าใจเชิงลึกที่จำลองมาด้วยความชาญฉลาดแบบเรียลไทม์ จะช่วยสร้างโอกาสในการผสมผสานการออกแบบที่ยั่งยืนได้ดีกว่า ผู้ออกแบบสามารถเห็นภาพเสมือนจริงของโครงสร้างในการก่อสร้างอาคารหนึ่ง ๆ ใน metaverse และนำมาใช้ประโยชน์ เช่น เพื่อหาอัตราส่วนที่ลงตัวระหว่างหน้าต่างและผนัง, ใช้แสงจากธรรมชาติให้มากที่สุด, คาดการณ์วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ว่าจะทนทานและยั่งยืนเพียงใด และเพื่อวางแผนแนวทางใหม่ ๆ ในการสร้างพื้นที่สีเขียวและอนุรักษ์ธรรมชาติ

Metaverse

การสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่สอดคล้องกับแผนการผลิตจริงผ่านเทคโนโลยี AR/VA และโฮโลแกรม (holographic) สามารถทรานส์ฟอร์มอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตได้ โรงงานที่มีการนำเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อถึงกัน หรืออุปกรณ์อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (Internet of Things: IoT) มาใช้ จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถจำลองการตั้งค่าการผลิตจริงใน metaverse ก่อนได้ เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้ฝึกฝนวิธีควบคุมการทำงานแบบเสมือนจริง และตรวจหาข้อผิดพลาดที่เกิดกับการตั้งค่าการผลิตต่าง ๆ ได้ โดยยังไม่ต้องสร้างสิ่งใดจริง ๆ เลย เช่นในสถานการณ์โควิด-19 ที่มีข้อจำกัดในการเดินทาง พนักงานที่อยู่ต่างประเทศจะได้รับการฝึกอบรมจากระยะไกล เพื่อให้ได้รู้จักและคุ้นเคยกับการทำงานแบบเสมือน ก่อนที่จะได้ทำงานกับเครื่องจักรจริง โดยไม่ต้องเสียเวลารอให้สถานการณ์ดีขึ้นจนเดินทางเข้าอบรมด้วยตนเองได้

เชาวน์ปัญญาที่เกิดใน metaverse นี้ สามารถถ่ายโอนไปยังโลกแห่งความจริงได้ เพื่อนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับ AI algorithms, เพื่อสนับสนุนการทรานส์ฟอร์มที่ชาญฉลาด และอัปเกรดโรงงานต่าง ๆ ทั้งยังใช้เพื่อทำเวิร์กช็อปและกำหนดสายการผลิตโดยไม่ต้องเสียเวลาที่ต้องเดินทางเข้าปฏิบัติงานด้วยตนเอง และลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร

เพิ่มสมรรถนะ metaverse ในอนาคต

การเพิ่มสมรรถนะให้กับสี่เทคโนโลยีเลเยอร์ของ metaverse ต้องใช้ความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก เลเยอร์ที่ 1 จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี AI, คลาวด์ และ IoT ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อสร้างแบบจำลองทางเรขาคณิตของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และแสดงผลผ่านอุปกรณ์ปลายทางที่หลากหลาย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่สมจริง

เทคโนโลยีอื่น เช่น การเรนเดอร์จากระยะไกล ซึ่งทำการสตรีมอินพุตแบบเสมือนไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ แบบเรียลไทม์ และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างโลกเสมือนให้ใกล้เคียงกับโลกทางกายภาพ และทำให้มั่นใจว่าผู้คนและวัตถุในโลกเสมือนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางกายภาพที่อยู่ในโลกของความเป็นจริง

การสลายแนวแบ่งเขตของโลกเสมือนและโลกจริงให้หมดไป จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี AR และ VR เพื่อสร้างแผนที่สามมิติที่มีความแม่นยำสูง ในขณะเดียวกันก็มอบประสบการณ์ที่เป็นการเฉพาะให้ด้วย เช่น การบริการลูกค้าและการให้คำแนะนำแบบเสมือน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อเชื่อมสองโลกเข้าด้วยกัน

แม้ว่า metaverse เป็นการพัฒนาที่น่าตื่นเต้น แต่ก็ชัดเจนว่าจะทำให้เกิดความต้องการใช้พลังงานและมีการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก องค์กรต่าง ๆ สามารถจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ได้ด้วยการพิจารณาใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการออกแบบ สร้าง และดำเนินงาน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด โดยผสานกับเทคโนโลยีหลักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การระบายความร้อนด้วยของเหลวเพื่อลดการใช้พลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลเพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า การใช้ระบบติดตามตรวจสอบที่เป็นอัตโนมัติ การบำรุงรักษาและการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานอื่น ๆ ที่ใช้พลังงานมาก

การที่เราต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงการใช้ metaverse ที่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ทำให้เราต้องยึดมั่นกับแนวทางการทำงานเพื่อความยั่งยืนและมีความรับผิดชอบทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

อาลีบาบา คลาวด์ เผยนวัตกรรมที่ใช้ในมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 เน้นการทำธุรกรรมซื้อขายอย่างยั่งยืน และ เข้าถึงคนทุกกลุ่ม

Alibaba Cloud

อาลีบาบา คลาวด์ เผยนวัตกรรมที่ใช้ในมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 เน้นการทำธุรกรรมซื้อขายอย่างยั่งยืน และ เข้าถึงคนทุกกลุ่ม

    • เป็นครั้งแรกที่ธุรกรรมในมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลกใช้งานบนระบบคลาวด์ 100%
    • ลดการใช้ทรัพยากรด้านการประมวลผลลงครึ่งหนึ่งในการทำธุรกรรมทุก ๆ 10,000 รายการเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
    • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 26,000 ตัน ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียน
Alibaba Cloud2

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ได้ยกระดับระบบและการดำเนินงานทั้งหมดของอาลีบาบา กรุ๊ป ขึ้นไปทำงานบนระบบคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ ก่อนมหกรรมช้อปปิ้งครั้งใหญ่ที่สุดในโลกจะเริ่มขึ้น ได้มีการนำเทคโนโลยีคลาวด์-เนทีฟ (Cloud Native) ต่าง ๆ มาใช้ในช่วง 11.11 ซึ่งเป็นมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก ซึ่งช่วยลดการใช้ทรัพยากรด้านการประมวลผลลงได้ 50% ต่อธุรกรรมทุก ๆ 10,000 รายการเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา นอกจากนี้การประมวลผลมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยที่ประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น 20% และการใช้ทรัพยากรที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 30%

หลี่ เจิ้ง หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี อาลีบาบา กรุ๊ป กล่าวว่า “เรามีพันธะสัญญาในการนำเสนอ ‘สมรรถนะด้านการประมวลผลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ที่ต้องการใช้ระบบดิจิทัลที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ และเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนทั่วถึงและครบทุกด้าน มหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 ของอาลีบาบา กรุ๊ป นับเป็นโอกาสสำคัญในการขับเคลื่อนการให้บริการต่าง ๆ ของเราอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมที่ทำงานอย่างอัจฉริยะ เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สามารถให้บริการลูกค้าในทุกอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วนได้มากขึ้นด้วยเทคโนโลยีเหนือชั้นที่ได้รับการทดสอบแล้วเหล่านี้

ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมคลาวด์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจับจ่ายใช้สอยที่ยั่งยืน

อาลีบาบา คลาวด์ ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green technology) เช่น ไฮเปอร์-สเกล ดาต้าเซ็นเตอร์ (Hyperscale Data center) ของอาลีบาบา คลาวด์ มีการใช้ระบบระบายความร้อนด้วยสารเหลวและพลังงานลม เพื่อให้ 11.11 เป็นมหกรรมช้อปปิ้งที่มาพร้อมกับความยั่งยืนมากขึ้น และในปีนี้ การใช้พลังงานหมุนเวียนในดาต้าเซ็นเตอร์ของอาลีบาบาที่เมืองจางเป่ย ได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากกว่า 26,000 ตัน ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ต้นไม้จำนวนหนึ่งล้านต้นดูดซับต่อปี

การนำ Hanguang 800 ซึ่งเป็นชิป AI inference ตัวแรกที่อาลีบาบา คลาวด์ ทำขึ้นเองและเปิดตัวเมื่อปี 2562 มาใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผลิตภัณฑ์และการแนะนำสินค้าต่าง ๆ ระหว่างมหกรรม 11.11 เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ประสิทธิภาพของอัลกอริธึมในฟังก์ชันการค้นหาบนตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์หรือ e-Marketplace Taobao เพิ่มขึ้นถึง 200% และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ 58%

นอกจากนี้ ได้มีการนำ M6 ซึ่งเป็นโมเดล AI ขนาดใหญ่ของอาลีบาบาคลาวด์ มาใช้งานเป็นครั้งแรกในช่วงมหกรรมช้อปปิ้งปีนี้ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการที่ต้องใช้ AI ได้อย่างมาก เช่น การออกแบบเครื่องแต่งกายโดยอาศัย AI และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสายการผลิต โดย M6 ช่วยลดระยะเวลาที่ใช้ในการออกแบบเสื้อผ้าใหม่ ๆ จากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายเดือน เหลือเพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์ จึงเป็นที่คาดการณ์ได้ว่างานออกแบบที่ใช้ M6 ควบคู่กับการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตเสื้อยืดได้กว่า 30% เลยทีเดียว

เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการช้อปปิ้ง

อาลีบาบาคลาวด์มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ร้านค้าสามารถนำเสนอประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่ดึงดูดใจและเข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มมากขึ้น โดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

มีการนำเทคโนโลยีการจดจำเสียงพูด (speech recognition) ที่พัฒนาโดย Alibaba DAMO Academy มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของโหมดการใช้งานสำหรับผู้สูงวัย หรือ ‘senior mode’ ในแอปพลิเคชัน Taobao เทคโนโลยีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้สูงวัยในจีนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวใช้รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบดิจิทัลได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ได้มีการติดตั้ง Taoxiaobao ซึ่งเป็นผู้ช่วยอัจริยะที่สั่งงานด้วยเสียงที่ใช้อัลกอลิธึมของ DAMO ในการจดจำเสียงพูดไว้ใน ‘senior mode’ ของ Taobao เพื่อรองรับการค้นหาด้วยเสียงพูด ทั้งนี้ Taoxiaobao สามารถจดจำคำสั่งเสียงที่เป็นภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่นได้หลากหลาย มีความแม่นยำสูง แม้กระทั่งในกรณีที่มีเสียงรบกวนรอบข้างที่ซับซ้อน ทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องพิมพ์ป้อนข้อความด้วยตนเอง เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ติดขัดด้านการพิมพ์ข้อความบนอุปกรณ์มือถือเป็นอย่างมาก

ในช่วงมหกรรมช้อปปิ้งปีนี้ ยังมีการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “การค้นหายาด้วยภาพ” ในแอปพลิเคชัน Taobao ซึ่งนับว่ามีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ กล่าวคือ ผู้ใช้จะสามารถค้นหายาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ด้วยการถ่ายหรือสแกนภาพบรรจุภัณฑ์หรือขวดยาโดยใช้ Pailitao ซึ่งเป็นเอนจิ้น การค้นหาภาพของแอป Taobao การค้นหาสินค้าโดยใช้ภาพถ่ายช่วยให้ผู้สูงวัยไม่ต้องพิมพ์ชื่อยาที่ยาวหรือซับซ้อน ผลลัพธ์การค้นหาจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับยาและสรรพคุณ การค้นหาสินค้าในระบบที่ใหญ่และซับซ้อนนี้ โดยอาศัยเทคโนโลยี AI แบบ Multi-modal ซึ่งบูรณาการเทคโนโลยี Optical Character Recognition (OCR) สำหรับการจดจำข้อความในรูปภาพ และช่วยเพิ่มความแม่นยำในการประมวลผลภาพถ่ายยา Taobao ได้ผนวกรวมเทคโนโลยี OCR เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2561 โดยทำหน้าที่ประมวลผลรูปภาพหลายล้านรูป เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ช้อปปิ้งให้กับผู้ใช้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

ประยุกต์ใช้งานนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม

มีการนำหุ่นยนต์ขนส่งสินค้า “Xiaomanlv” ของอาลีบาบาไปใช้งานในกว่า 200 เขตพื้นที่ทั่วประเทศจีน เพื่อรองรับการจัดส่งสินค้าในช่วงมหกรรมช้อปปิ้งของปีนี้ โดยยานพาหนะหุ่นยนต์ขนส่ง Xiaomanlv จำนวน 350 คันได้นำส่งสินค้ากว่า 1 ล้านชิ้นถึงมือผู้รับในช่วง 10 วันแรกของมหกรรม ช้อปปิ้งนี้ แซงหน้าปริมาณการจัดส่งสินค้าทั้งหมดในช่วง 12 เดือนนับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัวหุ่นยนต์ขนส่งเมื่อเดือนกันยายน 2563

เครื่องมือต่าง ๆ ที่พัฒนาโดย DAMO ทำหน้าที่แปลภาษาของข้อมูลสินค้าหลายสิบล้านรายการเพื่อรองรับการซื้อขายระหว่างประเทศในช่วงมหกรรมช้อปปิ้งครั้งนี้ และในขณะเดียวกัน DingTalkซึ่งเป็นแพลตฟอร์การทำงานร่วมกันผ่านระบบดิจิทัลของอาลีบาบา ได้ทำการประมวลผลข้อความมากถึง 606,900 ข้อความต่อวินาทีในช่วงที่มีการใช้งานสูงสุดระหว่างที่จัดมหกรรมช้อปปิ้งในปีนี้โดยเป็นการรองรับการติดต่อสื่อสารอย่างฉับไวและราบรื่นให้กับผู้ใช้บนแอปต่าง ๆ มากกว่า 30 แอปในระบบนิเวศ (ecosystem) ของอาลีบาบา

อาลีบาบา คลาวด์ เดินหน้าพันธสัญญาต่อประเทศไทย เสริมแกร่งโครงการด้านพันธมิตรและเสริมศักยภาพทักษะดิจิทัล

อาลีบาบา คลาวด์ เดินหน้าพันธสัญญาต่อประเทศไทย เสริมแกร่งโครงการด้านพันธมิตรและเสริมศักยภาพทักษะดิจิทัล

พร้อมแผนเปิดไฮเปอร์สเกลดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกของอาลีบาบา คลาวด์ ในไทยปีหน้า

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป เดินหน้าสานต่อพันธกิจในประเทศไทย เพิ่มความช่วยเหลือ เสริมความแข็งแกร่งด้านกลยุทธ์ในไทยด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน พร้อมให้การสนับสนุนระบบนิเวศ การฝึกอบรมบุคลากรที่มีทักษะความสามารถ และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

อาลีบาบา คลาวด์ ได้รับการจัดอันดับจากการ์ทเนอร์ให้เป็นผู้บริการคลาวด์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดตัว Thailand Partner Alliance 100 ระบบนิเวศที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนพันธมิตรในท้องถิ่นและส่งเสริมการทำงานร่วมกันในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการตลาด การขายและสนับสนุนทางด้านเทคนิค องค์กรธุรกิจสามารถเข้าใช้งานเครื่องมือดิจิทัลที่สำคัญต่าง ๆ ในระบบนิเวศนี้ได้ และพันธมิตรด้านโซลูชัน (solution partners) จะได้รับผลกำไรที่แข่งขันได้ในระดับสูงเมื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หลักต่าง ๆ เช่น ECS, Database, Content Delivery Networks and Short Message Services รวมถึงการให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและเงินทุนด้านการผสานรวมเทคโนโลยีสำหรับพันธมิตรด้านโซลูชันที่ต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมบนอาลีบาบา คลาวด์ สำหรับพันธมิตรด้านบริการ (service partners) จะสามารถเข้าใช้การสนับสนุนด้านการโยกย้ายการทำงานระหว่างระบบต่าง ๆ และได้รับคลาวด์เครดิตฟรี

เซลินา หยวน ผู้จัดการทั่วไปด้านธุรกิจระหว่างประเทศ อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าการเติบโตของผู้ใช้งานบริการพับลิคคลาวด์ทั่วโลกจะอยู่ที่ 23.1 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2564 เมื่อเทียบกับในปี พ.ศ. 2563[1] ด้วยอัตราการใช้คลาวด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก และโอกาสต่าง ๆ ที่ธุรกิจในท้องถิ่นจะได้รับจากระบบคลาวด์ ทำให้หนึ่งในพันธกิจหลักของเราคือการทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรไทย เพื่อเสริมศักยภาพการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลให้กับลูกค้า ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่ทรงคุณค่าของเราในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นสามารถรองรับและสนับสนุนได้หลากหลายภาคอุตสาหกรรม เมื่อใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีโซลูชันชั้นนำที่เราให้บริการลูกค้าทั่วโลก จะสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับพันธมิตรของเราในการพัฒนาความสามารถใหม่ ๆ และขยายความสำเร็จทางธุรกิจไปพร้อมกับเรา”

ตัวอย่างผู้ค้าปลีกไทย จะได้ประโยชน์จากโซลูชันของอาลีบาบา คลาวด์ ที่รองรับการใช้งานกับลาซาด้า (Lazada) ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอาลีบาบา กรุ๊ป และจะสามารถเข้าใช้งานชุดโซลูชันต่าง ๆ ตั้งแต่โซลูชันในการผสานการทำงานระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ และเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ บนเส้นทางการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภค ไปจนถึงบริการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และการตลาดที่เจาะลูกค้าเป็นรายบุคคล นอกจากนี้อาลีบาบา คลาวด์ ยังให้บริการด้านต่าง ๆ กับบริษัทด้านการเงินของไทย เช่นบริการที่รองรับเทคโนโลยี eKYC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการยืนยันพิสูจน์ตัวตนและการทำความรู้จักลูกค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ บริการที่รองรับการหาลูกค้าใหม่ผ่านอุปกรณ์โมบาย และโซลูชันการให้สินเชื่อดิจิทัลที่ใช้ AI เป็นต้น

อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว Academic Empowerment Program ซึ่งเป็นโครงการเสริมศักยภาพทางวิชาการให้กับนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัย เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลของประเทศไทยในอนาคต ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับทรัพยากรด้านคลาวด์คอมพิวติ้งฟรี รวมถึงโอกาสในการฝึกอบรม และความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเป็นกลยุทธ์ 20 ปีของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมนวัตกรรมด้านดิจิทัลและการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้กับผู้เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 20,000 คนภายในปี พ.ศ. 2566 โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เข้าร่วมกับอาลีบาบา คลาวด์ ในโครงการด้านนี้

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและอาลีบาบา คลาวด์ เป็นการปูพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้นักศึกษาได้มีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งใหม่และเรียนรู้ทักษะดิจิทัลที่เป็นเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อร่วมกันสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ”

อาลีบาบา คลาวด์ ยังวางแผนจะเปิดดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้ตั้งเป้าหมายจะเปิดตัวในปี พ.ศ. 2565 เพื่อรองรับการเติบโตด้านคลาวด์ของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น[2]  และความต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีผลพวงมาจากการระบาดของโควิด-19

นายไทเลอร์ ชิว ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “ขณะนี้อาลีบาบา คลาวด์ มีแผนตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย เพราะเล็งเห็นถึงความต้องการของธุรกิจไทยในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น ในฐานะผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำของโลก เราเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลสำคัญต่อประเทศมากเพียงใด และประเทศจะได้ประโยชน์อะไรบ้างในระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงนี้ อาลีบาบา คลาวด์ได้ทุ่มเทเพื่อให้โซลูชันต่าง ๆ ของเราพร้อมใช้สำหรับทุกคน รวมถึงการทำงานร่วมกับพันธมิตรไทย เพื่อสร้างระบบนิเวศที่รองรับอนาคตทางดิจิทัล”

ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่ในประทศไทยจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ และโซลูชันที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจไทยและธุรกิจจากต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงานในระดับสากลของอาลีบาบา กรุ๊ปเอง ในด้านค้าปลีก โลจิสติกส์ Fintech สื่อและความบันเทิง และการตลาดดิจิทัล

ข้อมูลจากรายงาน BOI’s Data Center and Cloud Service in Thailand[3] ได้คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2570 เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะมีสัดส่วน 25% ของ GDP ของประเทศ ตัวขับเคลื่อนที่สำคัญคืออีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมถึงระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ดาต้าเซ็นเตอร์และบริการคลาวด์ต่าง ๆ เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจดิทัลทั่วโลก และเป็นที่คาดการณ์ว่าตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ของอาเซียนจะมีมูลค่าสูงถึง 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2567 ปัจจุบันผู้บริโภคไทยและในอาเซียนได้รับแรงจูงใจให้ใช้บริการดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกัน ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็กำลังปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างมาก ซึ่งจะเพิ่มความต้องการดาต้าสตอเรจและบริการดิจิทัลต่าง ๆ ที่ทำงานบนคลาวด์ และอาลีบาบา คลาวด์ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเปิดดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกของบริษัทในประเทศไทยครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จตามนโยบาย Thailand 4.0 ของประเทศไทย

[1] https://www.gartner.com/en/newsroom/press-releases/2021-04-21-gartner-forecasts-worldwide-public-cloud-end-user-spending-to-grow-23-percent-in-2021

[2] Source: https://techwireasia.com/2021/05/public-cloud-spending-set-to-spike-in-thailand/

[3] https://www.boi.go.th/upload/content/DataCenterANdCloudService.pdf