คลาวด์ สร้างความต่าง ให้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ได้อย่างไร

คลาวด์ สร้างความต่าง ให้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ได้อย่างไร

คลาวด์ สร้างความต่าง ให้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ได้อย่างไร

ไทเลอร์ ชิว ผู้จัดการประจำประเทศไทย อาลีบาบา คลาวด์

บทความโดย ไทเลอร์ ชิว ผู้จัดการประจำประเทศไทย อาลีบาบา คลาวด์

ประเด็นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อการกำหนดคุณค่าของแบรนด์ของแต่ละบริษัท องค์กรต่าง ๆ กำลังพบกับความท้าทายอย่างมากในการออกแบบแผนงานเพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมทางเทคโนโลยีนับเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากขึ้นต่อความสำเร็จของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทต่าง ๆ

การเปลี่ยนจากโครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบดั้งเดิมไปใช้คลาวด์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นมากกว่าเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และเป็นก้าวสำคัญในการปรับเปลี่ยนการทำงานด้านไอทีขององค์กรให้ “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินงานโดยรวม และส่งผลให้ค่าใช้จ่ายลดลง ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของแอคเซนเจอร์* ชี้ให้เห็นว่าองค์กรที่ย้ายการทำงานจากโครงสร้างพื้นฐานไอทีภายในองค์กรไปใช้การประมวลผลบนคลาวด์ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้โดยเฉลี่ย 84% กล่าวโดยรวมคือ การย้ายไปใช้คลาวด์เป็นเทรนด์ที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยการ์ทเนอร์** ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 องค์กรมากกว่า 85% จะมีหลักเกณฑ์ในการใช้คลาวด์เป็นอันดับต้น ๆ และมากกว่า 95% ของเวิร์กโหลดดิจิทัลใหม่ ๆ จะทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มคลาวด์-เนทีฟ

การคาดการณ์ดังกล่าวเป็นการกระตุ้นที่ดี และเป็นการบ่งชี้ถึงทิศทางที่จำเป็นสำหรับองค์กร การส่งเสริมให้เปลี่ยนไปใช้คลาวด์จึงเป็นมาตรการสำคัญมากมาตรการหนึ่งที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพิ่มผลประกอบการของบริษัท ยกระดับคุณค่าของแบรนด์ และช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินการตามคำมั่นสัญญาในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไปใช้คลาวด์ยังไม่เพียงพอ เพราะยังมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์มีความยั่งยืนมากขึ้น ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการการใช้พลังงานได้ดีกว่าเดิม และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ครอบคลุมทุกส่วนของซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้มากขึ้น ทั้งนี้จุดเริ่มต้นที่ดีก็คือ การสร้างรายการตรวจสอบปัญหาสำคัญ ๆ ที่จะต้องแก้ไขในขั้นตอนของการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

การปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ถ้าวลีที่ว่า “Data is the new oil” เป็นเรื่องจริง ศูนย์ข้อมูลก็จัดว่าเป็น “คลังเก็บทรัพยากร” เพราะศูนย์ข้อมูลเป็นส่วนรากฐานที่ใช้เก็บและรับส่งข้อมูลอย่างปลอดภัย และเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลที่ช่วยเสริมความแกร่งให้กับเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมากที่องค์กรต้องย้ายไปใช้ศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยถือเป็นหัวใจหลักของกลยุทธ์การดำเนินงานอย่างยั่งยืน รวมถึงการย้ายไปสู่สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศอย่างมาก จะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายของแผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้

นอกจากรากฐานที่แข็งแกร่งแล้ว เทคโนโลยีล่าสุดด้านการประมวลผลบนคลาวด์ ทั้งที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ จะช่วยให้ศูนย์ข้อมูลมีประสิทธิภาพโดดเด่น ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันชิปที่ใช้ในเซิร์ฟเวอร์ที่ทรง ประสิทธิภาพแต่ละชิปสามารถรองรับทรานซิสเตอร์ได้ถึง 60,000 ล้านตัว แม้ประสิทธิภาพของชิปเหล่านั้นสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมราว 20% แต่สามารถทำให้อัตราการประหยัดพลังงานที่สำคัญเพิ่มขึ้น 50% นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ยังได้รับการออกแบบให้รองรับโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์-เนทีฟได้มีประสิทธิภาพกว่า เช่น ซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบที่จับต้องได้ ช่วยให้สามารถปรับเซิร์ฟเวอร์ให้รองรับการประมวลผลโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ได้คุ้มค่าใช้จ่ายมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ระบบปฏิบัติการคลาวด์ในปัจจุบันได้รับการเสริมสร้างขีดความสามารถด้วยอัลกอริธึมอัจฉริยะ จึงเป็นการยกระดับให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งยังสามารถบูรณาการเซิร์ฟเวอร์หลายหมื่นเครื่องทั่วโลกให้ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นในรูปแบบของซูเปอร์คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง ซึ่งมีความสามารถในการประมวลผลแบบเรียลไทม์สูงสุด 3.63 TB ต่อวินาที จึงช่วยปรับปรุงการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ได้ราว 10% ถึง 40% และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงไม่จำเป็นต้องลดทอนประสิทธิภาพ เสถียรภาพ หรือความปลอดภัย เพื่อที่ จะบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานที่ยั่งยืนมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน เราสามารถนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการบริหารการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูล โดยหนึ่งในมาตรการที่สำคัญก็คือ การนำความร้อนจำนวนมากที่ระบายออกจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบางแห่งยังใช้เทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยน้ำ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำมาก โดยครอบคลุม 90% ของเวลาดำเนินงานทั้งหมดของศูนย์ข้อมูล วิธีนี้ช่วยลดการใช้พลังงานได้มากกว่า 80% เมื่อเทียบกับการระบายความร้อนโดยใช้อุปกรณ์ที่ตองใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น พัดลมและเครื่องปรับอากาศ อีกหนึ่งนวัตกรรมที่มีประโยชน์ก็คือ เทคโนโลยีการระบายความร้อนแบบ ‘Soaking Server’ ซึ่งเป็นการวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ในสารหล่อเย็นที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวน และความร้อนที่ปล่อยออกมาจะถูกดูดซับโดยตรงด้วยสารหล่อเย็นที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา  ระบบระบายความร้อนดังกล่าวจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า 70% เมื่อเทียบกับระบบระบายความร้อนแบบเก่าที่พึ่งพาอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ศูนย์ข้อมูลอาจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีฮีทปั๊ม (Heat Pump) ที่ทันสมัย เพื่อจัดส่งความร้อนเข้าสู่เครือข่ายท่อความร้อนที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบทำความร้อนภายในอาคารที่พักอาศัยและองค์กรต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีและเครื่องมือด้าน AI และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบ บริหารจัดการ และคาดการณ์เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงการใช้พลังงานในอาคารสถานที่และการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ การลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราไม่ควรมองข้ามเทคโนโลยีก้าวล้ำที่จะช่วยแก้ไขความท้าทายในวงกว้าง หรือช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ  โดยประการแรก เราควรพิจารณาถึงจุดร่วมระหว่างการทำการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลกับการปรับปรุงด้านพลังงาน โดยอาจมีการนำเทคโนโลยีเสริมที่ช่วยในการจัดการพลังงานหมุนเวียนมาใช้ การตรวจสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอน ระบบบันทึกข้อมูลและการตรวจสอบรับรอง เทคโนโลยีสำหรับอาคารอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ประการที่สอง เราจะต้องพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในจุดสำคัญ ๆ ในระบบซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีการบินที่มีความยั่งยืน ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอน ซึ่งอาจได้แก่โซลูชันที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการกักเก็บคาร์บอนในดิน และเทคโนโลยีบลูคาร์บอน (Blue Carbon) รวมถึงเทคโนโลยีคาร์บอนติดลบ (Negative Carbon) เช่น การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศโดยตรง องค์กรบางแห่งกำลังเป็นผู้นำในการดำเนินการดังกล่าว และตั้งเป้าที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนใน Scope 3 ภายในปี 2573 องค์กรบางแห่งก็มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนระบบการประมวลผลบนคลาวด์ด้วยพลังงานสะอาด 100% ภายในปี 2573 การกำหนดเป้าหมายเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและควรได้รับการส่งเสริม แต่ขณะเดียวกันเราก็ไม่ควรมองข้ามบทบาทของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

นอกจากรากฐานที่แข็งแกร่งแล้ว เทคโนโลยีล่าสุดด้านการประมวลผลบนคลาวด์ ทั้งที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ จะช่วยให้ศูนย์ข้อมูลมีประสิทธิภาพโดดเด่น ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันชิปที่ใช้ในเซิร์ฟเวอร์ที่ทรงประสิทธิภาพแต่ละชิปสามารถรองรับทรานซิสเตอร์ได้ถึง 60,000 ล้านตัว แม้ประสิทธิภาพของชิปเหล่านั้นสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมราว 20% แต่สามารถทำให้อัตราการประหยัดพลังงานที่สำคัญเพิ่มขึ้น 50% นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ยังได้รับการออกแบบให้รองรับโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์-เนทีฟได้มีประสิทธิภาพกว่า เช่น ซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบที่จับต้องได้ ช่วยให้สามารถปรับเซิร์ฟเวอร์ให้รองรับการประมวลผลโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ได้คุ้มค่าใช้จ่ายมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น ระบบปฏิบัติการคลาวด์ในปัจจุบันได้รับการเสริมสร้างขีดความสามารถด้วยอัลกอริธึมอัจฉริยะ จึงเป็นการยกระดับให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งยังสามารถบูรณาการเซิร์ฟเวอร์หลายหมื่นเครื่องทั่วโลกให้ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นในรูปแบบของซูเปอร์คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง ซึ่งมีความสามารถในการประมวลผลแบบเรียลไทม์สูงสุด 3.63 TB ต่อวินาที จึงช่วยปรับปรุงการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ได้ราว 10% ถึง 40% และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงไม่จำเป็นต้องลดทอนประสิทธิภาพ เสถียรภาพ หรือความปลอดภัย เพื่อที่
จะบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานที่ยั่งยืนมากขึ้น

เพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน

เราสามารถนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการบริหารการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูล โดยหนึ่งในมาตรการที่สำคัญก็คือ การนำความร้อนจำนวนมากที่ระบายออกจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบางแห่งยังใช้เทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยน้ำ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำมาก โดยครอบคลุม 90% ของเวลาดำเนินงานทั้งหมดของศูนย์ข้อมูล วิธีนี้ช่วยลดการใช้พลังงานได้มากกว่า 80% เมื่อเทียบกับการระบายความร้อนโดยใช้อุปกรณ์ที่ตองใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น พัดลมและเครื่องปรับอากาศ

อีกหนึ่งนวัตกรรมที่มีประโยชน์ก็คือ เทคโนโลยีการระบายความร้อนแบบ ‘Soaking Server’ ซึ่งเป็นการวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ในสารหล่อเย็นที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวน และความร้อนที่ปล่อยออกมาจะถูกดูดซับโดยตรงด้วยสารหล่อเย็นที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา  ระบบระบายความร้อนดังกล่าวจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า 70% เมื่อเทียบกับระบบระบายความร้อนแบบเก่าที่พึ่งพาอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า

ศูนย์ข้อมูลอาจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีฮีทปั๊ม (Heat Pump) ที่ทันสมัย เพื่อจัดส่งความร้อนเข้าสู่เครือข่ายท่อความร้อนที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบทำความร้อนภายในอาคารที่พักอาศัยและองค์กรต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีและเครื่องมือด้าน AI และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบ บริหารจัดการ และคาดการณ์เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงการใช้พลังงานในอาคารสถานที่และการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ

การลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เราไม่ควรมองข้ามเทคโนโลยีก้าวล้ำที่จะช่วยแก้ไขความท้าทายในวงกว้าง หรือช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ  โดยประการแรก เราควรพิจารณาถึงจุดร่วมระหว่างการทำการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลกับการปรับปรุงด้านพลังงาน โดยอาจมีการนำเทคโนโลยีเสริมที่ช่วยในการจัดการพลังงานหมุนเวียนมาใช้ การตรวจสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอน ระบบบันทึกข้อมูลและการตรวจสอบรับรอง เทคโนโลยีสำหรับอาคารอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ประการที่สอง เราจะต้องพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในจุดสำคัญ ๆ ในระบบซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีการบินที่มีความยั่งยืน ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอน ซึ่งอาจได้แก่โซลูชันที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการกักเก็บคาร์บอนในดิน และเทคโนโลยีบลูคาร์บอน (Blue Carbon) รวมถึงเทคโนโลยีคาร์บอนติดลบ (Negative Carbon) เช่น การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศโดยตรง

องค์กรบางแห่งกำลังเป็นผู้นำในการดำเนินการดังกล่าว และตั้งเป้าที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนใน Scope 3 ภายในปี 2573 องค์กรบางแห่งก็มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนระบบการประมวลผลบนคลาวด์ด้วยพลังงานสะอาด 100% ภายในปี 2573 การกำหนดเป้าหมายเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและควรได้รับการส่งเสริม แต่ขณะเดียวกันเราก็ไม่ควรมองข้ามบทบาทของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

IaaS+PaaS ของ Alibaba Cloud ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 3 จาก Gartner Solution Scorecard ประจำปี 2021

IaaS+PaaS ของ Alibaba Cloud ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 3

IaaS+PaaS ของ Alibaba Cloud ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 3 จาก Gartner® Solution Scorecard ประจำปี 2021

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ได้รับการยอมรับจากรายงานล่าสุดประจำปี 2021 Gartner® Solution Scorecard ให้เป็นผู้นำของกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ทั่วโลก ของ Alibaba Cloud International IaaS&PaaS ในด้านความสามารถที่สำคัญของระบบคลาวด์ในด้านการประมวลผลการจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์

บริการโครงสร้างพื้นฐานไอที (Infrastructure as a service: IaaS) และ บริการแพลตฟอร์มไอที (Platform as a service: PaaS) ของอาลีบาบา คลาวด์ ได้รับการจัดอันดับเป็นลำดับที่ 3 โดยได้คะแนนสูงสุดรวม 81% ในกลุ่มผู้ให้บริการนานาชาติที่ได้รับการประเมินในตลาดนี้

อาลีบาบา คลาวด์ ได้คะแนน 86% ของเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในดัชนีชี้วัดปี 2021 นอกจากนี้ยังได้คะแนนผ่านเกณฑ์ที่ 74% ของข้อกำหนดความสามารถ และผ่านเกณฑ์ที่ 58% ของเกณฑ์ข้อกำหนดทางเลือกตามลำดับ การจัดลำดับนี้เป็นการประเมินค่าในอุตสาหกรรมที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก และเป็นการประเมินผู้ให้บริการที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งหมด 9 หมวดหมู่สำหรับโซลูชันล่าสุดด้าน IaaS และ PaaS ซึ่งรวมถึง การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยตามข้อกำหนดทั้งหมด 270 ข้อ

ปีนี้เป็นปีที่สามติดต่อกันที่อาลีบาบา คลาวด์ ติดอยู่ในการจัดอันดับ Solution Scorecard ของ Gartner อาลีบาบา คลาวด์ เชื่อมั่นว่าคะแนนที่ได้รับการประเมินในปีนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงจำนวนที่เพิ่มขึ้นของการปรับใช้งานระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที รวมถึงการส่งผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ตลาดนอกประเทศจีนมากขึ้น และยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของผลิตภัณฑ์อื่นในระดับโลก

นายเจฟ ชาง ประธาน อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “เราได้รับการยอมรับจาก Gartner® Solution Scorecard อย่างต่อเนื่องใน 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และทางเลือกด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ขยายออกไปยังนานาชาติ เรามีความเห็นว่าความพยายามเหล่านี้ได้สะท้อนออกมาให้เห็นจากคะแนนที่เราได้รับ และช่วยให้เรามีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากกว่าผู้ให้บริการในระดับโลกรายอื่น ๆ สำหรับก้าวต่อไป เราจะเสริมความแกร่งให้กับคุณสมบัติหลักด้าน IaaS+PaaS ของเรา และก้าวสู่การเปิดตัวบริการและคุณสมบัติใหม่ ๆ ในทุกภูมิภาคให้ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายคือ การส่งมอบประสบการณ์การใช้งานบนระบบคลาวด์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าทั่วโลก”

ปัจจุบันอาลีบาบา คลาวด์ มีการดำเนินธุรกิจอยู่ทั้งหมด 80 โซน 25 ภูมิภาคสำหรับการให้บริการกับลูกค้าหลายล้านรายทั่วโลก และได้เสริมความแกร่งให้กับความสามารถด้านการประมวลผลพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยให้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัท สำหรับ ApsaraCompute Shenlong Architecture รุ่นที่ 4 ที่ได้เปิดตัวไปเมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2564 มีความสามารถในระดับผู้นำด้านความยืดหยุ่นของคอนเทนเนอร์ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล ประสิทธิภาพของ input/output (IO) ระยะเวลาในการตอบสนอง และคุณสมบัติด้านความปลอดภัยในระดับ chip-level และยังเป็นสถาปัตยกรรมเดียวในอุตสาหกรรมที่มีการติดตั้ง Remote Direct Memory Access (RDMA) ขนาดใหญ่ที่สามารถลดความหน่วงในการตอบสนองของเครือข่ายได้ต่ำถึง 5 ไมโครวินาที

สำหรับโซลูชันพื้นที่จัดเก็บข้อมูล อาลีบาบา คลาวด์ นำเสนอ Pangu ซึ่งเป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบการกระจายที่เป็นเอกสิทธิ์ของอาลีบาบา คลาวด์ มอบความสามารถในการปรับขนาดการทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม ปรับใช้งานโหลดบาลานซ์ได้โดยอัตโนมัติ และยังมีความพร้อมใช้งานของข้อมูลที่สูง ทั้งยังได้สร้าง Luoshen ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเครือข่ายระบบคลาวด์ที่เป็นนวัตกรรมที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายระบบคลาวด์ได้อย่างหลากหลาย เพื่อรองรับการใช้งานให้กับลูกค้าหลายล้านคน

อาลีบาบา คลาวด์ เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบกว่า 80 รายการ รวมถึง การปกป้อง DDoS, เว็บแอปพลิเคชันไฟร์วอลล์, ความปลอดภัยในการใช้งานระบบคลาวด์ และการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจให้กับธุรกิจทั่วโลก

เข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานของ Gartner คลิกที่นี่

ครั้งแรกของการนำเทคโนโลยีระบบหลัก ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว มาทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์

ครั้งแรกของการนำเทคโนโลยีระบบหลัก ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

ครั้งแรกของการนำเทคโนโลยีระบบหลัก ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว มาทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์

อาลีบาบา สนับสนุนระบบดิจิทัลให้กับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว เพิ่มประสิทธิภาพ ความยั่งยืน และความทั่วถึง

ด้วยความมุ่งมั่นของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ในการนำระบบดิจิทัลมาใช้ ทำให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่ง ประจำปี 2022 (ปักกิ่งเกมส์ 2022) ประสบความสำเร็จในการนำบริการทางเทคโนโลยีที่ใช้ในการแข่งขันไปทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์ ซึ่งเป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป  การโยกย้ายเทคโนโลยีหลักของปักกิ่งเกมส์ไปทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์ ครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานและผู้รับชมทั่วโลกได้รับความปลอดภัย ด้วยประสิทธิภาพที่มากขึ้น ยั่งยืน และครบถ้วนทั่วถึง

Jeff Zhang ประธานอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “ปักกิ่งเกมส์ 2022 ไม่เพียงแต่จะได้รับการจดจำถึงเรื่องความตื่นเต้นและความสำเร็จอันน่าทึ่งของเหล่านักกีฬาจากทั่วโลก แต่ยังรวมไปถึงการจัดการรูปแบบใหม่ในการแข่งขัน เพื่อทำให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกดำเนินไปได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และครอบคลุม เราภูมิใจที่ได้มีส่วนสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และเราหวังว่าประสบการณ์ของเราในการเป็นผู้ให้บริการระบบปฏิบัติการหลักของปักกิ่งเกมส์ 2022 ด้วยอาลีบาบาคลาวด์ จะเป็นประโยชน์ต่อการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ในอนาคต”

ช้สมรรถนะที่ล้ำหน้าของคลาวด์เพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้จัดงาน

IOC และ คณะกรรมการผู้จัดงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูหนาวปี 2022 ปักกิ่งเกมส์ (BOCOG) ได้ดำเนินงานตามแผนแม่บทการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว รวมถึงการใช้งานระบบปฏิบัติการหลักที่ให้บริการโดย Atos ผู้เป็นพันธมิตรด้านไอทีระดับโลกของ IOC เช่น ระบบการจัดการเกม (Game Management System -GMS) ระบบการจัดการโอลิมปิก (Olympics Management System – OMS) และระบบกระจายข้อมูลโอลิมปิก (Olympics Distribution System – ODS) ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ของอาลีบาบา

ปักกิ่งเกมส์ 2020 ได้รับประโยชน์จากความสำเร็จในการใช้บริการต่าง ๆ ที่ทำงานบนคลาวด์ สามารถลดเวลาและลดการลงทุนด้านค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไอที ฮาร์ดแวร์ และการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกัน  ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาดแบบเรียลไทม์ที่ล้ำหน้าของคลาวด์ ช่วยให้สามารถวางแผนงานและบริหารจัดการปักกิ่งเกมส์ 2022 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและทันสมัย เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่ราบรื่นให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

ผู้จัดงานต่าง ๆ เช่น IOC สามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เช่น ความสามารถในการปรับขนาดการทำงาน ความเชื่อถือได้ และความปลอดภัย เพื่อลดความซับซ้อนของการวางแผนการแข่งขัน โดยทำการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ จากข้อมูลที่วิเคราะห์มาแล้วอย่างชาญฉลาด ช่วยให้เกิดความสมดุลระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ และการสร้างทรัพยากรใหม่ และนั่นทำให้เมืองที่เป็นเจ้าภาพสามารถลดเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพแบบเดิมได้ตั้งแต่เริ่มต้น

เทคโนโลยีคลาวด์ช่วยให้ผู้คนทั่วโลกใกล้ชิดกันมากขึ้น

ปักกิ่งเกมส์ 2022 ยังได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนากลุ่มนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งการมอบประสบการณ์ที่ครอบคลุมมากขึ้นให้กับแฟนกีฬาที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ  โดยอาลีบาบา ได้เปิดตัว Cloud ME ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการฉายภาพเสมือนจริงที่ใช้คลาวด์เป็นพลังขับเคลื่อน และช่วยให้การปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจากระยะไกลทำได้อย่างสะดวกและง่ายดาย เทคโนโลยีนี้ท้าทายข้อจำกัดด้านระยะทาง ด้วยการทำให้ผู้คนพบและสนทนากันได้เสมือนจริง ทั้งจากการฉายภาพขนาดเท่าตัวจริง และเสมือนอยู่ในสถานที่เดียวกัน

อาลีบาบายังได้เปิดตัว ตง ตง (Dong Dong) เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์วัย 22 ปี ตง ตง เป็นหญิงสาวชาวปักกิ่ง ที่สร้างขึ้นเพื่อให้สามารถโต้ตอบกับแฟน ๆ กีฬาทั่วโลก ร่วมแบ่งปันความสนุกสนานและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกีฬาโอลิมปิก ด้วยน้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ ทั้งยังสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้หลากหลาย ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 20 กุมภาพันธ์ มีผู้รับชมการถ่ายทอดสดของ ตง ตง กว่า 2 ล้านคน และ ตง ตง มีแฟนคลับมากกว่า 100,000 คน

เพื่อนำเสนอเนื้อหาในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ดีที่สุดแก่ผู้ชมทั่วโลก เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งของอาลีบาบายังสนับสนุน Olympic Channel Services ที่จะนำโปรแกรมการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาคุณภาพสูงมาสู่แฟน ๆ กีฬาทั่วโลก เพื่อให้มีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้จากทุกที่ ทุกเวลา และจากทุกอุปกรณ์

นวัตกรรมที่ยั่งยืนสำหรับโอลิมปิกในอนาคต

นับเป็นครั้งแรกที่มีการกระจายสัญญาณสดของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกผ่านระบบคลาวด์ ทำให้ผู้ออกอากาศที่ซื้อสิทธิ์ทางโทรทัศน์และวิทยุในการแข่งขัน (Rights Holding Broadcasters: RHBs)  มีตัวเลือกที่มีความคล่องตัวและคุ้มค่า ตลอดช่วงการแข่งขันปักกิ่งเกมส์ OBS ได้ทำการผลิตฟุตเทจที่มีความยาวรวมกว่า 6,000 ชั่วโมง และแพร่ภาพและเสียงไปยังพื้นที่และประเทศต่าง ๆ มากกว่า 220 แห่ง

OBS Video Server ซึ่งติดตั้งทำงานอยู่บนคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ ช่วยให้ RHBs สามารถปรับขนาดการทำงานของระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังลดการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์ที่ต้องติดตั้งไว้ ณ หน้างาน นอกจากนี้ Content+ ยังช่วยให้ RHBs สามารถเข้าถึงเนื้อหาทั้งหมดที่ผลิตระหว่างการแข่งขันได้จากระยะไกล และการรายงานข่าวจากระยะไกลได้อย่างไม่ยุ่งยาก  การใช้ OBS Live Cloud ยังช่วยให้ RHBs และเมืองที่เป็นเจ้าภาพจัดงานมีทางเลือกอื่นนอกจากการต้องลงทุนจำนวนมาก การที่สามารถส่งข้อมูลและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันโอลิมปิกผ่านพับลิคคลาวด์ได้นั้น เป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการทำงานที่เกี่ยวกับการแพร่ภาพกระจายเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ OBS ยังใช้ประสิทธิภาพจากการเล่นภาพซ้ำจากมุมกล้องหลาย ๆ ตัวของอาลีบาบา ในการฉายภาพซ้ำของไฮไลท์ในการแข่งขันกีฬา เช่น มุมเลี้ยวและความเร็วในการแข่งขันสเก็ตที่เกิดขึ้นในไม่กีวินาทีนำประสบการณ์การรับชมที่สมจริง และมีชีวิตชีวามาสู่ผู้ชมทั่วโลกผ่าน RHBs บนคลาวด์

Ilario Corna ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของ IOC กล่าวว่า “นวัตกรรมในปักกิ่งเกมส์ 2022 เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกับความสำเร็จด้านกีฬา ผมตื่นเต้นที่ได้เห็นการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ในปักกิ่งเกมส์ ที่ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์กับนักกีฬา แฟนกีฬา และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้เกียรติกับความปรารถนาอันแรงกล้าของเราที่จะทำให้การแข่งขันโอลิมปิกเป็นการจัดการแข่งขันกีฬาที่อยู่ในระดับแนวหน้าที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน”

การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกผ่านระบบคลาวด์ นำนวัตกรรม และประสิทธิภาพ พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม

การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกผ่านระบบคลาวด์

การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกผ่านระบบคลาวด์ นำนวัตกรรม และประสิทธิภาพ พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม

    • ใช้สัญญาณการถ่ายทอดสดแบบ Live Cloud ครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้
    • ใช้เทคโนโลยีเอดจ์คลาวด์ในการถ่ายวิดีโอที่สมจริงเป็นครั้งแรก
    • ลดการใช้บุคลากร ณ หน้างาน ด้วยระบบการทำงานจากระยะไกลผ่านคลาวด์ที่ยืดหยุ่นกว่า

อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (Olympic Broadcasting Services: OBS) นำเทคโนโลยีคลาวด์ของอาลีบาบามาใช้ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่งเกมส์ 2022 เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การแพร่ภาพกระจายเสียงมีประสิทธิภาพมากขึ้น สนับสนุนให้สามารถรายงานข่าวการแข่งขันต่าง ๆ ไปยังแฟนกีฬาทั่วโลกได้อย่างครอบคลุมในวงกว้าง

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้ เป็นครั้งแรกที่องค์กรที่ออกอากาศทั้งหมดที่ซื้อสิทธิ์ทางโทรทัศน์และวิทยุในการแข่งขัน (Rights-Holding Broadcasters: RHBs) สามารถรับภาพและเสียงจากการถ่ายทอดสดผ่านโครงสร้างพื้นฐานพับลิคคลาวด์ที่เป็นทางเลือกที่มีความคล่องตัวมากกว่า ด้วยค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับวิธีการส่งสัญญาณแบบอื่น นอกจากนี้ โซลูชันเอดจ์คลาวด์ที่มีประสิทธิภาพระดับแนวหน้าของอาลีบาบา ยังช่วยให้แฟนกีฬาทั่วโลกได้รับประสบการณ์การรับชมจังหวะการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นอย่างสมจริงจากมุมที่ดีที่สุดหลากหลายมุมมอง

อาลีบาบา คลาวด์

ถ่ายทอดสัญญาณสดผ่านคลาวด์เป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

Yiannis Exarchos ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OBS ให้ความเห็นว่า “แม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 แต่ความร่วมมือของเรากับอาลีบาบา คลาวด์ ก็ได้เปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของเราอย่างต่อเนื่อง OBS Cloud คือหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ลุ่มลึกที่สุด ซึ่งนอกจาก OBS Cloud จะมอบประสิทธิภาพที่ไม่เคยมีมาก่อนให้แก่องค์กรแพร่ภาพกระจายเสียงแล้ว ยังเปิดโอกาสด้านนวัตกรรมอย่างไร้ขอบเขต และถ่ายทอดความตื่นเต้นของกีฬาโอลิมปิกสู่ผู้ชมในวงกว้างให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

Live Cloud สำหรับการถ่ายทอดสดแบบเรียลไทม์

ในระหว่างการแข่งขันกีฬาปักกิ่งเกมส์ 2022 องค์กรผู้เผยแพร่ภาพกระจายเสียงมากกว่า 20 แห่งใช้ Live Cloud เพื่อรับสัญญาณการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ในรูปแบบความคมชัดสูงพิเศษ (UHD) หรือความคมชัดสูง (HD) ผ่าน OBS Cloud เป็นครั้งแรกในการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่มีการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการส่งข้อมูลการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก และสามารถแข่งขันกับโซลูชันเดิม ๆ เช่น จากส่งผ่านสายโทรคมนาคม หรือจากการส่งข้อมูลผ่านดาวเทียม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาลีบาบา คลาวด์

ถ่ายทอดสัญญาณสดผ่านคลาวด์เป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

Live Cloud เป็นส่วนหนึ่งของ OBS Cloud ซึ่งเป็นโซลูชันการถ่ายทอดสดที่มีประสิทธิภาพที่สร้างสรรค์โดย OBS และอาลีบาบา มีการนำ Live Cloud มาเป็นบริการมาตรฐานให้กับ RHBs ในระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ณ กรุงปักกิ่ง  ก่อนหน้าการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ผู้ทำการถ่ายทอดสดจะต้องพึ่งพาวงจรออปติคัลโทรคมนาคมระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งใช้เวลาในการตั้งค่าอุปกรณ์ เพื่อส่งข้อมูลการถ่ายทอดสดกลับไปยังประเทศของตน ในปัจจุบัน OBS ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับขนาดได้ และปลอดภัยสูงของอาลีบาบาคลาวด์ ซึ่งเป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ทำให้ OBS สามารถนำเสนอเนื้อหาคุณภาพสูงต่าง ๆ ทั้งหมดผ่านระบบพับลิคคลาวด์โดยใช้เวลาในการตั้งค่าเพียงไม่นานและมีค่าใช้จ่ายไม่มาก

ประสิทธิภาพของระยะเวลาในการตอบสนองที่ต่ำและมีความยืดหยุ่นสูงของคลาวด์ ช่วยให้การส่งเนื้อหาต่าง ๆ ผ่านระบบคลาวด์กำลังจะมีประสิทธิภาพเหนือกว่าวิธีการกระจายเนื้อหาแบบอื่น ในแง่ของความสามารถในการปรับขนาด ความยืดหยุ่น และค่าใช้จ่าย ซึ่งจะส่งผลกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกอากาศของผู้แพร่ภาพกระจายเสียงอย่างมีนัยสำคัญ และด้วยความเสถียร ความยืดหยุ่น และความคล่องตัวของระบบคลาวด์ทั่วโลก ยังช่วยให้มั่นใจถึงคุณภาพในการออกอากาศ แม้ในช่วงเวลาที่มีคนชมการสตรีมสดการแข่งขันเป็นจำนวนมากก็ตาม

OBS ยังใช้ประโยชน์สูงสุดจากความคล่องตัวของ Live Cloud เพื่อส่งผ่านข้อมูลบนคลาวด์ ด้วยการใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้แพร่ภาพกระจายเสียงเลือกได้ว่าจะรับข้อมูลจากฟีดไหนได้ในเวลาที่ต้องการ

Selina Yuan ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศของ Alibaba Cloud Intelligence กล่าวว่า “การส่งข้อมูลสดผ่านระบบคลาวด์เป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์โดยเฉพาะสำหรับผู้ให้บริการถ่ายทอดสดที่ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวได้ด้วยตนเอง หรือต้องลงทุนจำนวนมากในโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กร เราหวังว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะไม่เพียงช่วยลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการออกอากาศ แต่ยังสนับสนุนการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวได้อย่างครอบคลุม เนื่องด้วย RHBs ต่างๆ สามารถเข้าถึงฟุตเทจสดและเลือกฟีดที่ต้องการเพื่อถ่ายทอดออกไปได้ สุดท้ายนี้ เราหวังว่าแฟน ๆ กีฬาทั่วโลกจะเพลิดเพลินไปกับความตื่นเต้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้”

Multi-Camera Replay System และ High-Quality Reconstruction on Cloud

OBS และอาลีบาบาได้ติดตั้งระบบ multi-camera replay สำหรับการเล่นซ้ำแบบสโลว์โมชันที่สามารถหยุดเฟรมระหว่างการแข่งขันได้ เพื่อสร้างประสบการณ์การรับชมที่มีชีวิตชีวาและมีส่วนร่วมกับปักกิ่งเกมส์ 2022 มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่การออกอากาศในโอลิมปิกครั้งนี้ใช้เวิร์กโฟลว์บนคลาวด์สำหรับการเผยแพร่ซ้ำ (replay) ทำให้แฟน ๆ กีฬาทั่วโลกได้รับประสบการณ์ที่สมจริงมากยิ่งขึ้นจากหลากหลายมุมมองจากมุมกล้องที่ติดตั้งไว้ทั่วสนามแข่งขัน

อาลีบาบา คลาวด์

ระบบ multi-camera replay สำหรับการเล่นซ้ำแบบสโลว์โมชันที่สามารถหยุดเฟรมระหว่างการแข่งขันได้

โซลูชันเอดจ์ คลาวด์ ที่มีประสิทธิภาพสูงของอาลีบาบา ช่วยให้ภาพฟุตเทจสดของวงเลี้ยวและความเร็วของสเก็ตจากหลายมุมมองได้รับการบันทึกและรวบรวมผ่านเอดจ์ คลาวด์ เพื่อการประมวลผลและการตัดต่อแบบเรียลไทม์ ก่อนที่จะนำช่วงเวลาที่คัดสรรแล้วไปเผยแพร่ซ้ำผ่านฟีดรูปแบบต่าง ๆ และการสร้างช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดขึ้นมาใหม่อย่างราบรื่นนี้ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการเตรียมพร้อมในระบบคลาวด์และผสานรวมเป็นส่วนหนึ่งเดียวในการถ่ายทอดสด

สำหรับการรายงานข่าวที่ต้องใช้เวลารวดเร็วและเจาะจงในแต่ละวัน เช่น ไฮไลท์ หรือเหตุการณ์สำคัญของวันนั้น ๆ สามารถประมวลผลฟุตเทจบนคลาวด์ที่ใช้กับ Intel’s 3rd Gen Xeon Scalable processors เพื่อสร้างการแสดงภาพ 3 มิติคุณภาพสูงของการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ด้วยความละเอียดระดับ 4K ซึ่งเป็นการมอบประสบการณ์การรับชมที่สมจริงและน่าสนใจมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่ผ่านการทดสอบแล้วของอาลีบาบาร่วมกับพลังการประมวลผลของ Intel ทำให้สามารถเรนเดอร์ซีน 3 มิติที่เสมือนจริงได้ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งนาที

Live Content Editing และ Remote Production

Content+ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการจัดส่งเนื้อหาของ OBS ที่โฮลต์บนระบบคลาวด์ของอาลีบาบาจะยังคงให้บริการการออกอากาศกับ RHBs อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย การเข้าถึง short-form content ไลฟ์สตรีมแบบ HD รวมถึงเนื้อหาเพิ่มเติมที่ผลิตโดย OBS ทั้งหมด ในระดับความละเอียดสำหรับการรับชมและการดาวน์โหลด ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว มีการคาดการณ์ว่า OBS จะผลิตเนื้อหามากกว่า 6,000 ชั่วโมง เพื่อให้ RHBs ได้รับเนื้อหาต่าง ๆ รวมถึงการถ่ายทอดสดกีฬาและพิธีการ 900 ชั่วโมง และฟุตเทจการแข่งขันกีฬาอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก 1,200 ชั่วโมงผ่าน Multi Clip Feeds – ซึ่งเพิ่มขึ้นสองเท่าจากจำนวนการแข่งขันกีฬาที่เกิดขึ้นที่ PyeongChang 2018

นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ RHBs สามารถสร้างคลิปย่อย ๆ จากไลฟ์เซสชันบน Content+ ได้ โดยอนุญาตให้สามารถทำการเริ่มตัดต่อในขณะที่การสตรีมสดกำลังออกอากาศ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการทำงานจากระยะไกลในการจัดการกับเนื้อหาจำนวนมาก พร้อมทั้งทำการผลิตคลิปสำหรับการเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย OBS จะใช้วิธีการตัดต่อข้อมูลบนคลาวด์เพื่อเพิ่มความเร็วของการจัดการเผยแพร่ข้อมูลด้วยทีมบรรณาธิการที่ทำงานจากระยะไกลเป็นครั้งแรก

ด้วยแรงผลักดันจากการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของการต้องทำงานจากระยะไกลโดยใช้บริการบนคลาวด์ และจากผลกระทบของการแพร่ระบาดทั่วโลกนี้ ขนาดของทีมงานที่ทำการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวจึงลดลงอย่างมาก  ทั้งนี้จำนวนบุคลากรทำหน้าที่กระจายภาพและเสียง ณ หน้างานที่ปักกิ่งเกมส์ 2022 ลดลงเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว PyeongChang 2018

ชมวิดีโอเกี่ยวกับ OBS Cloud ได้ที่นี่ https://www.alizila.com/media-resource/b-roll-handout-olympic-broadcasting-services-on-the-cloud-at-beijing-2022/  และวิดีโอเกี่ยวกับ Camera Replay System ได้ที่นี่ https://www.alizila.com/media-resource/b-roll-handout-alibaba-cloud-multi-camera-replay-system-at-beijing-2022/

อาลีบาบาเปิดตัว ตง ตง ‘เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์’ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่งเกมส์ 2022

อาลีบาบาเปิดตัว ดอง ดอง 'เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์'

อาลีบาบาเปิดตัว ตง ตง 'เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์' ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่งเกมส์ 2022

ตง ตง ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI เปิดตัวครั้งแรก ณ โอลิมปิกฤดูหนาว ด้วยการเข้าร่วมการสตรีมสดกับแฟน ๆ โอลิมปิก

อาลีบาบา กรุ๊ป พันธมิตรระดับโลกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เปิดตัว ตง ตง (Dong Dong) เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์ใหม่ล่าสุด ณ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2556 ที่กรุงปักกิ่ง อาลีบาบาใช้เทคโนโลยีคลาวด์สร้าง Dong Dong ให้เป็นแบบจำลองบุคคลแบบดิจิทัลที่ล้ำหน้า เพื่อให้เข้าไปมีส่วนร่วมกับแฟน ๆ กีฬาทั้งหลาย นับว่าเป็นการนำศักยภาพของนวัตกรรมที่ทำงานบนคลาวด์มาให้ผู้บริโภคได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

Dong Dong พัฒนาโดย Alibaba DAMO Academy ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวิจัยระดับโลกของอาลีบาบา กรุ๊ป Dong Dong เป็นแบบจำลองของหญิงสาววัย 22 ปีที่เกิดในกรุงปักกิ่ง มีความกระตือรือร้น กล้าพูด และชื่นชอบกีฬาฤดูหนาว Dong Dong เป็นที่รู้จักจากรูปพรรณสัณฐานที่เสมือนมนุษย์จริงอย่างมาก มีบุคลิกที่มีเสน่ห์ และมีความพิเศษในการโต้ตอบและเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้ชม ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กับแฟน ๆ กีฬาโอลิมปิก โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบเทคโนโลยี

อาลีบาบา กรุ๊ป พันธมิตรระดับโลกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เปิดตัวดอง ดอง (Dong Dong) เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์ใหม่ล่าสุด ณ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2556 ที่กรุงปักกิ่ง อาลีบาบาใช้เทคโนโลยีคลาวด์สร้าง Dong Dong ให้เป็นแบบจำลองบุคคลแบบดิจิทัลที่ล้ำหน้า เพื่อให้เข้าไปมีส่วนร่วมกับแฟน ๆ กีฬาทั้งหลาย นับว่าเป็นการนำศักยภาพของนวัตกรรมที่ทำงานบนคลาวด์มาให้ผู้บริโภคได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดมากขึ้น Dong Dong พัฒนาโดย Alibaba DAMO Academy ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวิจัยระดับโลกของ อาลีบาบา กรุ๊ป Dong Dong เป็นแบบจำลองของหญิงสาววัย 22 ปีที่เกิดในกรุงปักกิ่ง มีความกระตือรือร้น กล้าพูด และชื่นชอบกีฬาฤดูหนาว Dong Dong เป็นที่รู้จักจากรูปพรรณสัณฐานที่เสมือนมนุษย์จริงอย่างมาก มีบุคลิกที่มีเสน่ห์ และมีความพิเศษในการโต้ตอบและเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้ชม ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กับแฟน ๆ กีฬาโอลิมปิก โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบเทคโนโลยี

Dong Dong มีความสามารถมากมาย นอกจากจะสามารถโปรโมทสินค้าที่ระลึกงานกีฬาโอลิมปิกที่สามารถซื้อหาได้ในร้านขายสินค้าโอลิมปิกอย่างเป็นทางการในประเทศจีน บน Tmall ระหว่างการถ่ายทอดสดการแสดงต่าง ๆ ของเธอแล้ว เธอยังสามารถตอบคำถามด้วยเสียงที่เหมือนเสียงธรรมชาติของมนุษย์ตามความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ได้อย่างมีชีวิตชีวา และสามารถแสดงอิริยาบทต่าง ๆ เช่น ยกนิ้วโป้ง โพสต์ท่านิ้วมือเป็นรูปหัวใจ และเช็ดน้ำตาเมื่อเกิดความผิดหวังได้อีกด้วย นอกจากนี้ Dong Dong ยังสามารถนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจต่าง ๆ เกี่ยวกับกีฬาโอลิมปิกด้วยอิริยาบถที่สนุกสนานแก่ผู้ชม รวมถึงแสดงท่าเต้นที่ร่าเริงและกระตือรือร้นไปพร้อมกับเพลงประกอบโอลิมปิก เพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักกีฬาโอลิมปิกอีกด้วย ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ของ Dong Dong ล้วนขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลบนระบบคลาวด์

เสี่ยวหลง ลี, Leader of Alibaba Virtual Human & Intelligent Customer Service กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะใช้เทคโนโลยีคลาวด์เพื่อยกระดับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวให้เข้าสู่โลกดิจิทัล พร้อมทั้งส่งมอบประสบการณ์กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวแก่แฟน ๆ กีฬาโอลิมปิกอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์และอีคอมเมิร์ซ นั่นเป็นเหตุผลที่เราพัฒนา Dong Dong ขึ้นมาด้วยความหวังว่า เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์คนนี้ จะช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเยาวชนที่ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยวิธีที่น่าตื่นเต้นและเป็นธรรมชาติ”

อาลีบาบา สร้างโมเดล AI แบบเฉพาะเจาะจงบนคลาวด์ ซึ่งใช้ Text to Speech เพื่อสังเคราะห์เสียงต่าง ๆ ของมนุษย์ และใช้เทคโนโลยีแบบสามมิติ เพื่อจำลองการแสดงออกทางสีหน้าที่สมจริง และการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นธรรมชาติ เพื่อทำให้ Dong Dong มีบุคลิกที่ไดนามิก มีเสน่ห์และดึงดูดใจเสมือนคนจริง ๆ และมีเสียงที่เป็นธรรมชาติ Dong Dong ใช้เทคโนโลยี AI และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ทำให้สามารถมอง พูด และแสดงท่าทางเหมือนหญิงสาวทั่วไปได้อย่างมีชีวิตชีวา ในขณะเดียวกัน  มีการนำอัลกอริธึมหลากหลายของอาลีบาบา ซึ่งใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP), การสังเคราะห์คำพูดตามอารมณ์ความรู้สึก (Emotional Speech Synthesis) และคอมพิวเตอร์วิชันบนคลาวด์ มาใช้ร่วมกันทำให้ Dong Dong “ฉลาด” เพียงพอที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนทนาอย่างเป็นธรรมชาติเสมือนมนุษย์ ด้วยสคริปต์ทั้งหมดที่สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีคลาวด์

ลี กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในอนาคต เราจะผลักดันเทคโนโลยีให้ขยายขอบเขตกว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก เพื่อผสมผสานความสมจริงอันน่าหลงใหลนี้เข้าด้วยกัน แบบจำลองบุคคลแบบดิจิทัลหรือเวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์จะสร้างแนวทางใหม่ ๆ ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมผ่านประสบการณ์ที่สมจริง หรือจากเมทาเวิร์ส ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่ระดับโลก เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การประชุมเสมือนจริง หรือการเที่ยวชมนิทรรศการแบบ 3 มิติ นอกจากนี้ พวกเขายังมีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ช่วยนักข่าวที่ขยัน ฉลาด และมีประสิทธิภาพอย่างมากอีกด้วย ”

เทคโนโลยีสร้างสรรค์อื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมกับแฟนกีฬาโอลิมปิก ที่จะเปิดเผยในช่วงการแข่งขันปักกิ่งเกมส์ 2022 มีดังนี้

Cloud Showcasing

Beijing 2022 Cloud Showcasing เป็นนิทรรศการเสมือนจริง เพื่อใช้แนะนำผู้สนับสนุนงานกีฬาโอลิมปิกต่าง ๆ รวมถึงการแจกของที่ระลึกให้กับแฟน ๆ กีฬาโอลิมปิก ผ่านการจับฉลากและการเล่นเกม พัฒนาโดยคณะกรรมการจัดงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่ง ปักกิ่งเกมส์ 2022 (BOCOG) และได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีดิจิทัลของอาลีบาบา อาลีบาบายังได้เปิดตัว Cloud Showcasing ของตัวเอง ด้วยการใช้ความรู้ของ Alibaba DAMO Academy บนคลาวด์ ซึ่งเป็นนิทรรศการ 3 มิติเสมือนจริงที่แสดงข้อมูลของเส้นทางในการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรระดับโลกในงานกีฬาโอลิมปิกของอาลีบาบา ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกให้เข้าสู่โลกดิจิทัล รวมถึงนวัตกรรมของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่จำหน่ายสินค้าที่ระลึกงานกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ

ร้านขายของที่ระลึกในงานโอลิมปิกอย่างเป็นทางการบนคลาวด์ใน Tmall

Tmall แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอาลีบาบาได้จัดแสดงสินค้าที่ระลึกงานโอลิมปิก ปักกิ่งเกมส์ 2022 เป็นเวลา 100 วันก่อนเกมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวเริ่มขึ้น ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ของอาลีบาบาบนร้านค้ามากกว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศจีน จากแผงขายสินค้าในร้าน ผู้บริโภคสามารถออกแบบสินค้าที่ระลึกกีฬาโอลิมปิกในรูปแบบของตนเองได้ เช่น เสื้อยืดและกระเป๋าที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ และสินค้าที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเหล่านี้จะจัดส่งไปถึงที่บ้านภายในเวลาสองถึงสามวัน

คริส ถัง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของอาลีบาบา กรุ๊ป กล่าวว่า “ด้วยชุดเทคโนโลยีดิจิทัลของเรา เราต้องการมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครให้กับแฟน ๆ กีฬา ให้เข้ามามีส่วนร่วม มีปฎิสัมพันธ์ด้วยความเป็นส่วนตัวมากที่สุด และร่วมสนุกไปกับปักกิ่งเกมส์ 2022 ในขณะที่เรารังสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และสร้างรูปแบบการเข้ามามีส่วนร่วมแบบใหม่ ๆ เราหวังว่าจะใช้เทคโนโลยีเหล่านี้กับเกมกีฬาระดับโลก หรือกิจกรรมอื่น ๆ ในอนาคต เพื่อให้ผู้บริโภคทั่วโลกได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมต่าง ๆ ที่อยู่บนคลาวด์”

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการพัฒนา Dong Dong และการมีปฏิสัมพันธ์ของ Dong Dong กับผู้ชมกรุณาชมวิดีโอของ Alizila https://www.alizila.com/video/alibabas-virtual-influencer-dong-dong-makes-her-debut-at-the-olympic-games/