การบริหารจัดการซัพพลายเชน: ก้าวต่อไปของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

infor

การบริหารจัดการซัพพลายเชน: ก้าวต่อไปของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน

Fabio Tiviti_Infor

บริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่อสู้มาอย่างยาวนานเกี่ยวกับข้อบังคับเฉพาะเรื่องการจัดการอายุของผลิตภัณฑ์, ความซับซ้อนของการจัดตารางการผลิต, การตรวจสอบย้อนกลับและปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย  ยิ่งไปกว่านั้นความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาษีศุลกากร, แนวคิดด้านความยั่งยืน และกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นแรงส่งมหาศาลที่เพิ่มความซับซ้อนให้กับเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ปัญหาและแนวโน้มเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบซัพพลายเชนทั้งหมดของคุณ – ตั้งแต่การจัดซื้อ กระบวนการผลิต ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า

อินฟอร์จำแนกความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับความซับซ้อนของระบบซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มออกเป็นสามเรื่อง ดังนี้ 1. ต้อ­งมีความสามารถในการรับรู้และมองเห็นความเป็นไปของทั่วทั้งโลก 2. ต้องรู้จักคาดการณ์และรับมือกับความผันผวน และ 3. ต้องใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด

ต้องมีความสามารถในการมองเห็นและรับรู้สถานการณ์ของทั่วทั้งโลก

เรามักจะสนใจเฉพาะตัวแปรต่าง ๆ ที่เราควบคุมได้ แต่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทบทวนระบบซัพพลายเชนทั้งหมดใหม่อีกครั้ง เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้ไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น  เมื่อประมาณสองปีที่แล้วอินฟอร์ได้ทำการสำรวจบริษัทต่าง ๆ ที่อยู่บนเครือข่าย Infor Nexus และพบว่า 46% ของบริษัทเหล่านั้นกล่าวว่า ก่อนที่จะใช้งาน Infor Nexus พวกเขาต้องใช้เวลานานถึงสามวันกว่าจะระบุได้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นอยู่ที่ไหน และจะได้รับของเมื่อไหร่  เห็นได้ชัดเจนว่าข้อมูลที่มีไม่ได้ช่วยให้เขาตัดสินใจได้ดีเพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีช่องว่างระหว่างการที่ผู้ผลิตจะติดต่อกับลูกค้า ซัพพลายเออร์ และบริษัทขนส่งภายนอกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ EDI (Electronic Data Interchange) ที่หลากหลายระหว่างจุดต่อจุด, พอร์ทัลต่าง ๆ, สเปรดชีท, อีเมล – ซึ่งล้วนเป็นเรื่องราวที่แทบจะไม่มีจุดสิ้นสุด – และยากที่จะดูแลรักษาให้คงสภาพ

ดังนั้นเพื่อที่จะรับรู้และมองเห็นความเป็นไปของระบบได้ทั้งหมด คุณจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับคู่ค้าทั่วโลกด้วยวิธีที่ได้ผล  ด้วยการใช้ระบบเครือข่ายทางธุรกิจระดับองค์กรที่หลากหลาย คุณจะสามารถขจัดการทำงานแบบแยกส่วน (silos) ได้ทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กรของคุณกับผู้ที่คุณติดต่อทำธุรกิจด้วย  ระบบดังกล่าวช่วยรวบรวมและแบ่งปันข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและการตอบสนองทางธุรกิจโดยรวม

Infor_อินฟอร์_supply chain 3
Food photo created by jcomp - www.freepik.com

ต้องรู้จักคาดการณ์และรับมือกับความผันผวน

คุณคาดการณ์และรับมือกับความผันผวนได้อย่างไร  เรื่องนี้สามารถเริ่มต้นที่พื้นฐานของประสิทธิภาพและระบบอัตโนมัติภายในโรงงาน คุณจะเพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดตารางการผลิตได้อย่างไร  คุณจะรับมือกับปัญหาติดขัดต่าง ๆ ให้ดีขึ้นได้อย่างไร  ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบแยกส่วนในการปฏิบัติงาน หรือความเร็วต่าง ๆ ภายในสายงานการบรรจุผลิตภัณฑ์ของคุณ

เครื่องมือการจัดตารางเวลาที่ใช้พิจารณาตัวแปรทั้งหมด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำตอบเท่านั้น  เมื่อคุณนำโซลูชั่นสำหรับการบริหารสินทรัพย์มาใช้ในธุรกิจของคุณ และบูรณาการเข้ากับโซลูชั่นการจัดตารางเวลา  คุณจะมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการวางแผนรอบระยะเวลาการบำรุงรักษาโดยพิจารณาจากความสามารถในการรับรู้และการมองเห็นการทำงานของทั้งระบบที่ดีขึ้นว่าอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้จริงคืออะไร  การจัดตารางการผลิตและการบริหารสินทรัพย์มีผลกระทบต่อซัพพลายเชน และความสามารถในการจัดส่งของคุณ ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะบริหารจัดการแยกส่วนไปต่างหาก

เมื่อพูดถึงประสิทธิภาพและระบบอัตโนมัติ เราพบว่ายังมีความท้าทายในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและคลังสินค้าขององค์กร และความเข้าใจในความซับซ้อนของการดำเนินการดังกล่าวอันเนื่องมาจาก  ช่องทางต่าง ๆ ทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป  ไม่ว่าบริษัทของคุณจะทำอีคอมเมิร์ซเองหรือทำร่วมกับผู้จำหน่ายอีคอมเมิร์ซเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ก็ตาม ความสามารถและข้อกำหนดต่าง ๆ บางอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป และบริษัทจำนวนมากต่างกำลังค้นหาลึกลงไปถึงเครื่องมือต่างๆ ที่มีให้บริการอยู่ เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น

การปรับปรุงประสิทธิภาพเป็นปัจจัยผลักดันในอุตสาหกรรมอาหารมานานหลายทศวรรษ แต่ช่วงนี้การให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและความโปร่งใสเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีความผันผวนมากที่สุด  สิ่งที่ผู้บริโภคกำลังมองหานั้นสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของตลาดได้ตลอดเวลา จากเดิมที่ผู้บริโภคสนใจเรื่องปลอดไขมันหรือปลอดจีเอ็มโอ  ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาความสนใจเปลี่ยนไปเป็นเรื่องฉลากมากขึ้น เพราะผู้บริโภคต้องการเข้าใจมากขึ้นถึงสิ่งที่ระบุอยู่ในส่วนผสม  และขณะนี้แนวโน้มในเรื่องนี้ก็กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น ปัจจุบันข้อเรียกร้องด้านความยั่งยืนสามารถรวมถึงสภาพความเป็นไปของฟาร์ม, ความยั่งยืนของวัตถุดิบที่คุณใช้, การใช้พลังงาน, การลดการใช้พลาสติก และการลดความสิ้นเปลืองด้านบรรจุภัณฑ์ให้น้อยลง  อินฟอร์มีลูกค้าจำนวนมากที่เน้นเรื่องการวัดผลและรายงานเกี่ยวกับมาตรวัดความยั่งยืน  หนึ่งในนั้นคือการจัดการกับปัญหาพื้นฐานที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นด้วยวิธีการที่ยั่งยืน  การใช้โซลูชั่นระดับโลกเพื่อช่วยทำให้ระบบซัพพลายเชนของเขามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนับเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดังกล่าว

แต่ละบริษัทอาจมีวัตถุประสงค์และความต้องการที่แตกต่างกัน รวมทั้งวิธีการของตนเองในการรับมือกับประเด็นเรื่องความยั่งยืน  สำหรับบางบริษัทหมายถึงการทำงานที่ดีขึ้นในการติดตามและตรวจสอบวัตถุดิย้อนกลับ  ส่วนบริษัทอื่น ๆ อาจหมายถึงการทำงานที่ดีขึ้นในการวัดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ หรือการจัดการน้ำเสีย  ซึ่งความท้าทายในที่นี้สำหรับบริษัทคือ จะต้องพิจารณาดูว่าสิ่งที่ต้องการวัดคือสิ่งใด พวกเขาต้องการติดตามสิ่งใด และในทางกลับกันก็จะต้องมีเครื่องมือที่จะช่วยให้ทำเช่นนั้นได้ด้วย  

ความผันผวนเรื่องสุดท้ายคือสถานการณ์หรือเรื่องใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทราบมาก่อน  บริษัทอาหารและเครื่องดื่มคุ้นเคยกับความท้าทายในการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับช่วงเทศกาล อายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการขาย  เมื่อไม่นานมานี้เราได้จัดการกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและอัตราภาษีที่ไม่เคยคาดการณ์ได้มาก่อน และแม้แต่เรื่องความพร้อมของทุนมนุษย์  คุณจะตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างไร หากคุณรู้ว่าคุณไม่สามารถหาคนมาทำงานที่โรงงานของคุณเพิ่มได้  เพื่อที่จะสามารถมองตัวแปรเหล่านั้นในธุรกิจของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณจำเป็นต้องใช้เครื่องมือการวางแผนขั้นสูงบางประเภทที่ยอดเยี่ยม  เพราะคุณจะไม่สามารถคาดเดาได้ดีที่สุดโดยอาศัยแค่เครื่องมือที่คุณมีอยู่แล้ว

IInfor_อินฟอร์_supply chain
Food photo created by freepik - www.freepik.com

ต้องใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด

เมื่อคุณกำลังมองไปที่การสร้างระบบพื้นฐานที่ดีขึ้นเพื่อใช้รับมือกับความท้าทายที่อาจต้องเผชิญภายในองค์กรทั้งหมดของคุณ มีโซลูชั่นหลากหลายประเภทที่คุณจะต้องพิจารณา  ซึ่งตัวเลือกเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นโซลูชั่นด้านซัพพลายเชนเสมอไป แต่ท้้งหมดล้วนต้องมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบซัพพลายเชนทั้งหมด ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนทั้้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ตัวอย่างแรกคือการบริหารจัดการส่วนผสม หลายบริษัทต้องการตรวจสอบให้แน่ใจว่าส่วนผสมที่กำลังรังสรรค์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมให้กับประเทศหนึ่งๆ เนื่องจากอาจจะมีข้อจำกัดหลายประการที่เกิดจากมุมมองระดับโลกต่อสถานที่ที่คุณจะขายผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ ได้  การพยายามจัดการสิ่งนี้ด้วยตนเองถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย  เพราะการที่คุณจะสามารถตอบข้อซักถามจากลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกได้ จำเป็นต้องใช้โซลูชั่นการจัดการส่วนผสมที่ค่อนข้างทรงประสิทธิภาพ

อีกตัวอย่างหนึ่งที่กำลังเป็นเรื่องพูดถึงในขณะนี้คือบล็อกเชน (blockchain)  หลายบริษัทเป้าหมายเชื่อว่าสิ่งที่บล็อกเชนจะทำได้นั้น บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วกว่า ดีกว่าและมีราคาถูกกว่า  อย่างไรก็ตามความท้าทายหลายประการเกี่ยวกับความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับและเรื่องคุณภาพที่บล็อกเชนพยายามจัดการอยู่นั้น ดูเหมือนว่าจะแก้ไขได้รวดเร็วขึ้นและด้วยความมั่นใจมากขึ้นเมื่อใช้โซลูชั่นที่มีอยู่และได้รับการพิสูจน์แล้ว  ฟังก์ชั่นการทำงานที่ฝังอยู่ในโซลูชั่น ERP ที่ทันสมัยควบคู่ไปกับแพลตฟอร์มคลาวด์แบบเครือข่าย (network-based) อาจจะไม่ได้มีความดึงดูดใจ/ความน่าสนใจเช่นบล็อกเชน แต่ก็มีตัวพิสูจน์ความสำเร็จที่ปราศจากข้อกังขา บ่มเพาะความแข็งแกร่งผ่านการใช้งานอย่างทนทานมานานนับปี และเป็นโซลูชั่นที่คู่ค้า ซัพพลายเออร์ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และผู้ให้บริการขนส่งจำนวนมากสามารถเข้าใช้งานได้ในปัจจุบัน

เจาะกลุ่มมิลเลนเนียล กำลังซื้อยังแข็งแรงพอขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ไทยหรือไม่?

เจาะกลุ่มมิลเลนเนียล กำลังซื้อยังแข็งแรงพอขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ไทยหรือไม่?

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคล่าสุด พบเทรนด์การใช้จ่ายมาแรง – วางแผนมีบ้านในอนาคต

ผู้บริโภคกลุ่ม Millennials (มิลเลนเนียล) หรือ Gen Y (ผู้ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2527 – 2539) ได้กลายมาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในศตวรรษที่ 21 ด้วยพื้นฐานการเติบโตมากับโลกดิจิทัลจึงเรียนรู้และรับเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และนำมาพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังตัดสินใจรวดเร็ว จึงทำให้คน Gen นี้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม เศรษฐกิจ หรือการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังเป็นวัยที่เต็มไปด้วยไฟในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตและอยู่ในช่วงสร้างฐานะให้มั่นคง จึงทำให้เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการใช้จ่ายสูงและคาดว่าจะเป็นกำลังซื้อสำคัญในอนาคตไปอีกหลายปี ข้อมูลจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583 (ฉบับปรับปรุง) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าในปีนี้ประชากรไทยในช่วงอายุ 25-39 ปี จะมีจำนวนถึง 13.7 ล้านคน หรือคิดเป็น 31.53% ของประชากรวัยแรงงานทั้งหมด (ช่วงอายุ 15-59 ปี) กว่า 43 ล้านคน จึงทำให้หลายธุรกิจจับตามองและช่วงชิงกำลังซื้อจากคนกลุ่มนี้มากขึ้น  

แน่นอนว่าเมื่อชาวมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพในสายตาของหลากหลายธุรกิจ ย่อมถูกดึงดูดให้ใช้จ่ายสนองความต้องการด้านต่าง ๆ เสมอ และกลายเป็นอีกช่วงวัยที่เริ่มมีภาระหนี้เพื่อซื้อทรัพย์สินที่มีราคาสูงโดยเฉพาะที่อยู่อาศัย

เมื่อเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย ภาคธุรกิจและผู้บริโภคต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งกลุ่มมิลเลนเนียลด้วยเช่นกัน บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้เปิดเผยข้อมูลอัปเดต ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย พบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่มีการสร้างหนี้มากที่สุด คือ กลุ่มมิลเลนเนียล หรือ Gen Y โดยมีหนี้สินรวมกันถึง 4 ล้านล้านบาท คิดเป็นหนี้เสีย (NPL) คงค้าง 2.7 แสนล้านบาท เมื่อพิจารณาเรื่องสินเชื่อบ้านที่อนุมัติใหม่ในช่วงเวลานั้นจำนวน 80,494 สัญญา พบว่าเป็นของกลุ่มมิลเลนเนียลหรือ Gen Y มากที่สุดถึง 64% และเป็นที่น่ากังวลในเรื่องปัญหาค้างชำระในอนาคต สะท้อนให้เห็นถึงสภาพคล่องในการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ และเริ่มส่งสัญญาณเตือนให้เห็นปัญหาการวางแผนด้านการเงิน แม้จะมีกำลังซื้อสูงก็ตาม

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด เจาะลึกมุมมองด้านการวางแผนการใช้จ่ายของกลุ่มมิลเลนเนียลและความต้องการด้านที่อยู่อาศัยท่ามกลางความท้าทายทั้งด้านการเงินและการงานจากสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบางและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ว่าส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของชาวมิลเลนเนียลในตลาดอสังหาฯ มากน้อยเพียงใด

  • อยากใช้จ่ายหลากหลาย แต่ครอบครัวต้องมาก่อน เมื่อพูดถึงการวางแผนการใช้จ่ายใน 1 ปีข้างหน้าของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลนั้น ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญไปที่การใช้จ่ายภายในครอบครัวถึง 74% สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรายได้และดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัวของคนวัยนี้ อย่างไรก็ตาม ชาวมิลเลนเนียลยังคงมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองอยู่ไม่น้อยแม้จะยังไม่มีความพร้อมด้านการเงินในตอนนี้ โดย 59% เผยว่ามีความตั้งใจออมเงินเพื่อวางแผนซื้อบ้านในอนาคต ในขณะที่ 46% ระบุว่าอยากออกไปท่องเที่ยวในวันหยุด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ปัจจุบันทำให้ทุกคนจำเป็นต้องเก็บตัวอยู่บ้าน และชะลอแผนท่องเที่ยวออกไป เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และหยุดการแพร่ระบาดฯ ในประเทศ
  • เตรียมความพร้อม หวังซื้อบ้านหลังแรกตอน 31 ปี เมื่อพิจารณาในด้านการครอบครองอสังหาฯ ในปัจจุบัน พบว่ายังมีสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มมิลเลนเนียลมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้วถึง 57% ในขณะที่อีก 43% ยังไม่ได้เป็นเจ้าของอสังหาฯ ใด ๆ ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้บริโภคกลุ่มนี้ (66%) เผยว่า พวกเขาได้วางแผนที่จะซื้อบ้านหลังแรกเมื่ออายุ 31 ปีขึ้นไป ซึ่งน่าจะเป็นช่วงวัยที่มีความพร้อมมากพอทั้งด้านหน้าที่การงานที่มั่นคงและสถานะทางการเงินที่เหมาะสมเมื่อต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่มากกว่าตอนนี้
  • สถานะทางการเงินสั่นคลอน อุปสรรคหลักของการมีบ้าน กลุ่มมิลเลนเนียลยอมรับว่าปัญหาทางการเงินจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในตอนนี้ถือเป็นอุปสรรคหลัก ๆ ที่ทำให้พวกเขายังไม่มีแผนย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ โดย 1 ใน 2 ของกลุ่มนี้ (50%) เผยว่า ยังไม่มีเงินออมมากพอที่จะไปเช่าหรือซื้อบ้านเป็นของตนเอง ในขณะที่ 41% ต้องการที่จะอยู่บ้านเดิมเพื่อดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด ตามมาด้วยกลุ่มที่ไม่คิดจะย้ายออกเพราะยังไม่ได้แต่งงาน 33% และตั้งใจจะรับช่วงต่อบ้านเดิมจากพ่อแม่อยู่แล้ว 33% จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้ออสังหาฯ เป็นของตัวเองในตอนนี้
  • การเช่าโดนใจ ตอบโจทย์ที่อยู่อาศัยแบบไร้ข้อผูกมัดระยะยาว ด้วยข้อจำกัดทางการเงินจากปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวมิลเลนเนียล 94% ตัดสินใจเช่าแทนการซื้อที่อยู่อาศัยในตอนนี้ เนื่องจากมองว่าการเช่าบ้าน/คอนโดฯ จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการซื้ออสังหาฯ ซึ่งต้องมีความพร้อมทางการเงินในระดับหนึ่งจึงจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงเลือกเก็บเงินก้อนที่มีสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินและหันไปเลือกเช่าอสังหาฯ ในรูปแบบที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยแทน นอกจากนี้การมีสถานภาพโสดอยู่ตัวคนเดียวก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้การเช่าที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมมากกว่าการซื้อเช่นกัน 

แม้ผลกระทบจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากหลายปัจจัยในตอนนี้จะทำให้แผนบริหารจัดการเงินของชาวมิลเลนเนียล ต้องสะดุดลงหรือชะลอการใช้จ่ายในเรื่องที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วนออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังคงเป็นกำลังซื้อที่สำคัญในหลายอุตสาหกรรมในระยะยาว เพียงแต่รอดูสัญญาณบวกของสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาเวลาที่เหมาะสมในการออกมาใช้จ่ายแทน ดังจะเห็นได้จากการวางแผนใช้จ่ายในอนาคตที่ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล ยังคงให้ความสำคัญไปยังสิ่งที่จำเป็นมาก่อนความต้องการส่วนตัว ด้วยการวางแผนบริหารจัดการการเงินที่รอบคอบนี้เชื่อว่าจะช่วยให้กลุ่มมิลเลนเนียลสามารถปรับพฤติกรรมและปรับเปลี่ยนแผนการใช้จ่ายที่มีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที และกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้ในอนาคตแน่นอน

ฟื้นตัวหรือสะดุด จับชีพจรตลาดอสังหาฯ 3 จังหวัดท่องเที่ยวท่ามกลางโควิด-19 ระลอกใหม่

DDProperty

ฟื้นตัวหรือสะดุด จับชีพจรตลาดอสังหาฯ 3 จังหวัดท่องเที่ยวท่ามกลางโควิด-19 ระลอกใหม่

หลังจากหลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ว่าปี 2564 น่าจะเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ที่เศรษฐกิจมีโอกาสฟื้นตัวและขับเคลื่อนธุรกิจทุกภาคส่วนให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง เมื่อมีสัญญาณบวกจากการพัฒนาวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 และแผนการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยและสร้างความมั่นใจให้กับภาคธุรกิจทุกภาคส่วน แต่การแพร่ระบาดระลอกใหม่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ได้ทำให้ทั้งประเทศต้องปรับแผนใหม่อีกรอบแบบไม่ทันตั้งตัว

ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์นั้นเมื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มกลับมาในช่วงแรก ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ต่างขนโปรโมชั่นลด แลก แจก แถมออกมาเพื่อกระตุ้นกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมวางแผนเปิดตัวโครงการต่าง ๆ มาเจาะกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นผู้อยู่อาศัยจริง (Real Demand) เพิ่มขึ้นในปี 2564 แม้การแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้จะทำให้แผนธุรกิจต้องสะดุดไปบ้าง แต่คาดว่าสถานการณ์จะไม่หยุดชะงักกินระยะเวลายาวนานเหมือนรอบที่ผ่านมา

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในไทย ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ปีนี้ ผู้ประกอบการหลายรายจำเป็นต้องปรับแผนเพื่อรับมือ จากที่เคยคาดการณ์ว่าปี 2564 จะเป็นปีปรับสมดุลของตลาดอสังหาฯ ทั้งในแง่ของราคาและอุปทานและจะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่การแพร่ระบาดระลอกใหม่อาจส่งผลให้ต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวนานขึ้น

แม้ตอนนี้จะยังไม่สามารถประเมินผลกระทบที่มีต่อการเติบโตในตลาดได้ชัดเจนเนื่องจากมีระยะเวลาที่สั้นเกินไป แต่เชื่อว่าจากประสบการณ์ตรงที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ นักลงทุน และผู้บริโภครับมือการแพร่ระบาดในปีที่ผ่านมาจะทำให้สามารถปรับตัวและจัดการกับสถานการณ์ครั้งนี้ได้ดีขึ้น ผนวกกับการที่วัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังจะเข้าไทยเร็ว ๆ นี้ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายสามารถข้ามผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้”

เมืองท่องเที่ยวกระทบหนัก หลังเจอโควิดระลอกใหม่

แม้ว่าทิศทางการขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ของผู้ประกอบการจะยังโฟกัสกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงหรือกลุ่ม Real Demand มากขึ้น โดยภาพรวมตลาดอสังหาฯ มีสัญญาณดีขึ้นหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2563 ที่ผ่านมา จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลน่าสนใจว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้น 2% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส (นับจากช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2562) ถือเป็นสัญญาณชีพของภาคอสังหาฯ ที่เริ่มกระเตื้องขึ้น

โดยภาพรวมเกือบทุกจังหวัดมีการกระเตื้องขึ้นของดัชนีราคาและจำนวนอุปทาน ซึ่งการรุกหัวเมืองต่างจังหวัดยังมีความน่าสนใจ เนื่องจากยังมีกลุ่ม Real Demand ที่มีกำลังซื้อในพื้นที่อยู่ และที่ดินต่างจังหวัดก็มีราคาต่ำกว่าในกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกตลาดที่น่าจับตามองและลงทุนเพื่อสร้างแต้มต่อทางธุรกิจในอนาคตได้ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดที่ยังเป็น “Blue Ocean” ผนวกกับปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบคมนาคมและระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ แหล่งงานในนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการมีห้างสรรพสินค้าเพื่อดึงดูดกำลังซื้อผู้บริโภคในพื้นที่ ล้วนช่วยอำนวยความสะดวกให้การดำรงชีวิตในต่างจังหวัดสะดวกสบายยิ่งขึ้น นอกจากความต้องการที่อยู่อาศัยจากกลุ่ม Real Demand ในพื้นที่แล้ว ยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการซื้ออสังหาฯ ในจังหวัดท่องเที่ยวไว้เป็นบ้านพักตากอากาศกับครอบครัว หลีกหนีความวุ่นวายจากการทำงาน หรือซื้อเพื่อลงทุนเก็บไว้ปล่อยเช่าสร้างผลตอบแทนในอนาคตอีกด้วย

แต่ก็เหมือนเป็นภาพฝันค้าง หลังจากมีการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ตลาด   อสังหาฯ ที่เคยมีแนวโน้มไปได้ดีกลับชะงักลงอีกรอบ โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวที่ได้รับผล กระทบก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ทั้งที่ช่วงปลายปีควรจะเป็นช่วงที่ตลาดท่องเที่ยวกลับมาบูมอีกครั้งหลังจากอั้นมาจากช่วงล็อกดาวน์ โดยพบว่า ใน 3 จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญได้รับผล กระทบในช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ทั้งในแง่ของการท่องเที่ยว และตลาดอสังหาฯ

ภูเก็ต

    • หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบแรกในไทย ตลาดอสังหาฯ ในภูเก็ตเริ่มกลับมาส่งสัญญาณฟื้นตัวอีกครั้งหลังคลายล็อกดาวน์ พร้อมทั้งได้แรงหนุนที่ดีจากการท่องเที่ยวของคนไทยที่เลือกเดินทางมาภูเก็ตมากขึ้นในช่วงที่ปิดประเทศ รวมถึงสัญญาณของภาครัฐที่เปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในภูเก็ตได้อีกครั้ง แม้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ยังเป็นสัญญาณที่ดี ซึ่งล้วนส่งผลให้มีการเติบโตในตลาดอสังหาฯ อีกครั้ง
  •  
    • โดยภูเก็ตได้รับผลกระทบไม่มากนักจากการระบาดระลอกใหม่ เนื่องจากยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อไม่มากนัก (3 ราย ณ วันที่ 15 มกราคม 2564) ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมยังคงเพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากบ้านเดี่ยวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นถึง 3% และคอนโดฯ เพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน สะท้อนให้เห็นความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีทิศทางเติบโต
    • ในขณะที่ดัชนีอุปทานเพิ่มขึ้นถึง 18% จากไตรมาสก่อนเช่นกัน โดยอยู่ในอำเภอกะทู้ อำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอถลางในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุดในภูเก็ตคือ คอนโดมิเนียม คิดเป็นสัดส่วน 56% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอกะทู้
    • เมื่อพิจารณาจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 5-10 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดฯ และบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 5-10 ล้านบาท และทาวน์เฮ้าส์อยู่ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท

ชลบุรี

    • ชลบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหลังจากคลายล็อกดาวน์ ซึ่งได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาดีขึ้น ทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่กลับมาเดินหน้าอีกครั้ง รวมไปถึงการพัฒนาระบบคมนาคมและนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ
  •  
    • แต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ดัชนีอุปทานและราคาอสังหาฯ กลับปรับลดลงอย่างมากจากไตรมาสก่อน คาดว่าเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ชลบุรีกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยพบว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมลดลง 10% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 จากที่เคยเพิ่มขึ้น 5% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเกือบทุกทำเลมีดัชนีราคาลดลง ยกเว้นอำเภอเมืองชลบุรี ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% และอำเภอศรีราชาเพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาสก่อน
    • ดัชนีอุปทานลดลงอย่างมากถึง 70% จากไตรมาสก่อน โดยอุปทานส่วนใหญ่ถึง 70% อยู่ในอำเภอบางละมุง รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ คอนโดฯ  มีจำนวนถึง 64% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอบางละมุงเช่นกัน
    • หากแบ่งจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท แบ่งเป็น คอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท และบ้านเดี่ยวอยู่ที่ระดับราคา 5-10 ล้านบาท

เชียงใหม่

    • เชียงใหม่ เป็นจังหวัดท่องเที่ยวทางภาคเหนือที่แม้จะมีสัญญาณดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 ซึ่งตลาดอสังหาฯ ได้อานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาดีขึ้น รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมต่าง ๆ แต่ในช่วงปลายปีที่มีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมลดลง 7% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ไตรมาส (ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2562) โดยดัชนีราคาลดลงทุกรูปแบบที่อยู่อาศัยในเกือบทุกทำเล เช่น อำเภอเมืองเชียงใหม่ลดลง 3% และลดลงมากที่สุดในอำเภอพร้าว ลดลงถึง 35% ยกเว้นในอำเภอแม่แตง และอำเภอแม่วัง เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 23% และ 22% ตามลำดับ
    • ในขณะที่ดัชนีอุปทานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% จากไตรมาสก่อน โดยส่วนใหญ่ถึง 43% อยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุดในเชียงใหม่คือ บ้านเดี่ยว มีจำนวนถึง 66% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอสันทราย
    • หากแบ่งจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท โดยคอนโดฯ บ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาททั้งหมด

Dassault Systèmes เปิดตัวแคมเปญ “น้ำเพื่อชีวิต” หนุนภาคอุตสาหกรรมใช้น้ำอย่างฉลาดและรักษาทรัพยากรอันมีค่า

Dassault Systèmes เปิดตัวแคมเปญ “น้ำเพื่อชีวิต” หนุนภาคอุตสาหกรรมใช้น้ำอย่างฉลาดและรักษาทรัพยากรอันมีค่า

    • แคมเปญใหม่ภายใต้โครงการ “The Only Progress is Human” เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเอ็น โดยผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมในการใช้โลกเสมือนจริงเพื่อลดผลกระทบจากการใช้น้ำ
    • Dassault Systèmes ช่วยบริษัทต่างๆ ประเมินและปรับปรุงการใช้น้ำ รวมถึงสนับสนุนแนวคิดลดการใช้น้ำ โดยเร่งการสร้างนวัตกรรมร่วมกับ 3DEXPERIENCE Lab พร้อมส่งเสริมโครงการให้ความรู้
    • ลูกค้าที่ตั้งเป้าดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจะต้องประเมินและจำลองการใช้น้ำในกระบวนการผลิตและส่งมอบสินค้า

Dassault Systèmes (Euronext Paris: #13065, DSY.PA) เปิดตัวแคมเปญ “น้ำเพื่อชีวิต” (Water for Life) ภายใต้โครงการ “The Only Progress is Human” เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและสร้างแรงบันดาลใจในการใช้โลกเสมือนจริง เพื่อขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืน  “Water for Life” เป็นการผสานรวมแนวคิดเรื่องน้ำและการอุปโภคบริโภค เพื่อสำรวจความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมในการใช้และรักษาทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของโลกอย่างชาญฉลาดมากขึ้น ขณะที่โลกของเรากำลังประสบปัญหาการใช้น้ำมากเกินความพอดี  แคมเปญนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายที่ 6 “เพื่อสร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดสรรทรัพยากรน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนด้วยแนวทางการบริหารจัดการที่ยั่งยืน”

ภายใต้แคมเปญ “Water for Life” Dassault Systèmes จะให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายดังกล่าวใน 3 แง่มุม ได้แก่ การตรวจวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพ การคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม และการให้ความรู้  โดยขั้นแรก บริษัทฯ จะผลักดันการใช้แพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Water Footprint) ขององค์กรธุรกิจ โดยจะจัดหาโซลูชั่นภาคอุตสาหกรรมแบบครบวงจรให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้น้ำในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์ที่นำเสนอ รวมถึงผลกระทบของตัวเลือกการออกแบบที่หลากหลาย  และในอนาคต จะมีการให้คำแนะนำโดยระบบ AI ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ใหม่ๆ ที่มีความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ Dassault Systèmes ยังสนับสนุนแนวคิดเรื่องการแก้ไขปัญหาการใช้น้ำ (Water Handprint) ผ่านทาง 3DEXPERIENCE Lab โดยมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บรวบรวม เพื่อเร่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น กรณีของ EEL Energy ซึ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการในภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นเพื่อลดการใช้น้ำ รวมถึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานบ่มเพาะธุรกิจ (Incubator) จากทั่วโลก เช่น OceanHub Africa

สุดท้าย บริษัทฯ ให้การสนับสนุนโครงการด้านการศึกษา เพื่อสร้างจิตสำนึกในเรื่องปัญหาสำคัญๆ ที่เกี่ยวกับน้ำ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นใหม่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่สำคัญนี้ เช่น โครงการ Mission Ocean ในฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ Dassault Systèmes (La Fondation Dassault Systèmes)

เบอร์นาร์ด ชาร์แลส รองประธานและซีอีโอของ Dassault Systèmes กล่าวว่า “ทั่วโลกกำลังตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการพัฒนาที่ยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม  ภาคอุตสาหกรรมจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการตาม ‘แผนปฏิบัติการของสหประชาชาติ’ เกี่ยวกับการจัดการน้ำ  นอกจากนี้โลกเสมือนจริง (Virtual Universe) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ลูกค้าของเราคิดค้น ออกแบบ และทดสอบผลิตภัณฑ์ วัสดุ และกระบวนการผลิตใหม่ๆ ที่จำเป็นสำหรับระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนาคต  โซลูชั่นด้านอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เรานำเสนอจะทำให้เราครองอันดับหนึ่งของโลกในฐานะพาร์ทเนอร์สำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)”

น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต แต่การใช้น้ำซึ่งมีปริมาณที่มากเกินไปสำหรับการผลิตสินค้าและการให้บริการแก่ผู้คนทั่วโลกในแต่ละวัน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อทรัพยากรน้ำ โดยปัจจุบัน กว่า 40% ของประชากรโลกกำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ  ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สหประชาชาติได้ประกาศแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำสำหรับช่วงปี 2561-2571 โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการและการพัฒนาที่ยั่งยืน  แคมเปญ “Water for Life” สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการดังกล่าว ทั้งยังสอดรับกับความมุ่งมั่นของ Dassault Systèmes ในการดำเนินการตามเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตาม Science Based Targets initiative อีกทั้งบริษัทฯ ยังทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนหลักของคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Taskforce for Climate-related Financial Disclosures หรือ TCFD) อีกด้วย

แคมเปญ “Water for Life” ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวิดีโอที่นำเสนอโดย เบอร์นาร์ด ชาร์แลส พร้อมด้วย ไมค์ ฮอร์น ผู้เชี่ยวชาญในด้านการสำรวจและนักผจญภัย ซึ่งมีความสนใจและความมุ่งมั่นในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำเช่นเดียวกัน

ไมค์ ฮอร์น ผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจและผจญภัย

ไมค์ ฮอร์น กล่าวว่า “ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจ ผมได้พบเห็นกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพแวดล้อมและโลกของเรา  ดังนั้นเราทุกคนจำเป็นที่จะต้องปกป้องดูแลธรรมชาติและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดสำหรับมนุษย์เรา  ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่สหประชาชาติ NGOs และนักการเมืองมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และยังรวมถึง ผู้นำภาคอุตสาหกรรมอย่าง คุณเบอร์นาร์ด ชาร์แลส ซีอีโอของ Dassault Systèmes ที่ได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าวอีกด้วย”

โครงการ “The Only Progress is Human” ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนและภาคส่วนต่างๆ ในการใช้โลกเสมือนจริง (Virtual World) เพื่อเก็บรวบรวมและกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ พร้อมทั้งผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนเพื่ออนาคตที่ดีกว่า  โครงการนี้นำเสนอ “10 แคมเปญ” ที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการประยุกต์ใช้งานระบบ Virtual Twin เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง โดยให้ความสำคัญกับผู้คนเป็นหลักและความท้าทายที่เกี่ยวข้องในแต่ละแคมเปญ โดยแคมเปญแรกมุ่งเน้นไปยังความท้าทายที่เกี่ยวกับ “การใช้โลกเสมือนจริงเพื่อเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึก” โดยมีการนำเสนอประสบการณ์ที่แปลกใหม่ทางด้านภาพและเสียงดนตรี ซึ่งเรียกว่า “Virtual Harmony” โดยมีการใช้เทคโนโลยี 3Dvarius รวมไปถึงไวโอลินไฟฟ้าตัวแรกที่สร้างขึ้นจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้โซลูชั่นของ Dassault Systèmes

 

โซเชียลมีเดีย:

แชร์ข้อความผ่านทาง Twitter:  .@Dassault3DS เปิดแคมเปญ “น้ำเพื่อชีวิต” หนุนภาคอุตสาหกรรมใช้น้ำอย่างฉลาด ปกป้องทรัพยากรอันมีค่า #3DEXPERIENCE #progressishuman

ติดต่อDassault Systèmes ผ่านทาง Twitter Facebook LinkedIn YouTube

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม:

The Only Progress is Human:  https://progress-is-human.3ds.com/

แพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE, ซอฟต์แวร์การออกแบบ 3 มิติ, โซลูชั่น 3D Digital Mock Up และ Product Lifecycle Management (PLM) ของ Dassault Systèmes: http://www.3ds.com

Blockchain Trends 2021: A road to recovery anchored by trust

Blockchain Trends 2021: A road to recovery anchored by trust

The COVID-19 pandemic has completely transformed the way we live, work, and interact with one another. Across the globe, more and more day-to-day activities are taking place online, further accelerating the digitalization of all sectors. In this context, fostering and maintaining trust between multiple parties becomes increasingly valuable.

Blockchain, with its tamper-proof and distributed nature, is key to strengthening trust in this increasingly digital environment. This trend is evidenced by ever-growing global investment in blockchain solutions, which had been expected to grow to US$15.9 billion in 2023, ten times more than the US$1.5 billion invested in 2018. In Southeast Asia, businesses are feeling optimistic too, with 45 percent of companies believing that blockchain technology growth will accelerate with more applications and opportunities over the next three to five years.

 

Trust remains a key reason for blockchain adoption

Edelman’s Trust Barometer Special Report revealed that during the pandemic, 60 percent of surveyed consumers are opting for brands that they can trust. The percentage is even higher for countries such as China (89 percent) and India (77 percent). In 2021, blockchain will play a more prominent role to enhance trust in a number of important sectors.

We expect to see increased deployment of blockchain to strengthen public goods and services in areas such as education, copyright protection, healthcare, and food safety, amongst others. We also expect blockchain to become more integrated into the financial services industry, including in financing and risk control and management, as well as creating a more convenient, efficient, stable, and transparent operating environment for lenders.

 

Blockchain plays a more active role in facilitating trade and commerce

Blockchain applications will also undoubtedly flourish in international trade. Already, the technology is playing a crucial role in enhancing shipment tracing, contactless digital imports, and export transactions. Its role will be further amplified with the signing of the Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) among 15 Asia-Pacific countries. As the world’s largest trade deal, the agreement reflects the region’s commitment to an inclusive, cross-border trading system where transparency of information is vital.

To facilitate such international trade, new technologies leveraging blockchain are being created. For example, Trusple, a blockchain-powered international trade and financial service platform was recently launched. The service facilitates international trade by generating a smart contract once a buyer and a seller upload a trading order on the platform. This automated process not only mitigates the intensive and time-consuming processes that banks traditionally conduct to track and verify trading orders, but also ensures the information is tamper-proof. 

Both factors previously prevented banks from providing affordable financing to international traders. Not only does the technology significantly help increase the level of trust among all parties involved in trade, it also makes it easier for traders to obtain much needed financing from lenders at a lower cost.

 

Deeper partnerships to strengthen the blockchain ecosystem

Recent advancements in blockchain technology, such as cross-chain, backend-as-a-service (BaaS), and privacy-preserving data computation, will further facilitate the secure flow of information between different systems and applications. These advances will also enable a wider range of partnerships to take place across industries and geographies, strengthening mutual trust while reducing costs for all parties involved.

It’s heartening to see more governments and business in Southeast Asia become more open to blockchain adoptions. Singapore in particular, has been diligently building its ecosystem to draw innovators and investment from those intending to leverage Southeast Asia’s rapid rise up the ranks of the global economy. A quality blockchain ecosystem built on partnerships not only allow for joint solution development between the tech partners and regulatory authorities, but also reinvention of business models to advance the technology’s potential for the region.

 

Taking on challenges of the future

While we are optimistic about the outlook of the industry, it is not without its challenges. According to Gartner, global blockchain trial outcomes differ greatly by sector. Some sectors have demonstrated tangible progress rather than theoretical optimism, such as asset tracking, provenance, payments, while other use cases continue to struggle to gain ground.

As blockchain technology is still in the nascent stages of development, we expect to encounter more barriers over how it is applied and deployed at scale. For example, the tens of billions of smart devices available in the market could mean the need to ensure the feasibility of hundreds of billions of smart contracts operating simultaneously.

While the long-lasting implications of the COVID-19 pandemic remain largely undefined, a major task in 2021 and further into the future is finding the best ways to balance scalability and security on the chain, as blockchain technology becomes more commonplace. At Ant, a big part of our efforts is dedicated to researching and developing solutions that address these challenges of blockchain. With its ability to strengthen trust which critical to surviving in the increasingly digital global economy, we can make it easier for companies around the world, especially SMEs that lack their own resources to do business anywhere.