Cybersecurity in the age of AI: Where resilience must be built in, not bolted on

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม

Cybersecurity in the age of AI: Where resilience must be built in, not bolted on

Kenneth Lai, Area Vice President, ASEAN, Cloudflare
Article by: Kenneth Lai, Area Vice President, ASEAN, Cloudflare

The cybersecurity landscape in Thailand remains volatile in 2025, as local organizations face rapidly increasing threats in both volume and sophistication. From January – May 2025, organizations in Thailand experienced over 1,002 cyber incidents, according to data from the National Cybersecurity Authority of Thailand (NCA). Key challenges include the emerging threat posed by AI and a lack of cybersecurity talent.

The cost of cybercrime, currently estimated at over seven trillion U.S. dollars globally, is set to increase steadily in the coming years, signalling that cyber threats continue to be a significant and evolving problem for Thai businesses. To help organizations understand digital threats and strengthen their cybersecurity, Cloudflare recently published the Cloudflare Signals Report, and it paints a stark picture of the escalating cyberthreat landscape.

Findings revealed that Cloudflare thwarted over 20.9 million DDoS attacks last year — a 50% increase from the previous year. Additionally, more than half of organizations (63%) in Thailand experienced a data breach. Despite guidance from government agencies not to pay the ransom, 52% still did, highlighting a grim reality faced by Thai organizations: the scale and sophistication of cyber threats are outpacing traditional defenses.

While the Thailand government has launched ‘CYBER SECURITY YEAR,’ a collaborative project involving over 100 public and private organizations to address the growing threat, the increasing complexity in the current cybersecurity landscape also means that cyber resilience can no longer be the domain of IT departments alone; it is a strategic imperative that spans the entire C-suite.

Modern problems require modern solutions: Fighting AI with AI

Remote work and cloud adoption have expanded the attack surface for insider threats, making them harder to detect. From bot-driven credential stuffing to AI-orchestrated DDoS attacks, malicious actors are scaling their operations to automate attacks, evade detection and exploit vulnerabilities faster than organizations can respond. Today, 94% of login attempts using stolen credentials are launched by bots, testing thousands of passwords per second. AI-powered automation is also behind a surge in high-impact, persistent DDoS campaigns, often fuelled by vast botnets and unsecured IoT devices.

Generative AI also affords criminals the ability to create hyper-realistic identities by blending real and fake data to bypass traditional verification systems. AI-generated personal details, deepfakes, and automated credential stuffing make these identities harder to detect.

AI-driven threats require AI-powered defenses. As generative AI becomes embedded in workflows, organizations will need to integrate AI-enhanced threat detection, automated defenses, and strong credential hygiene to ensure they are facing the enemy head-on. With the integration of AI in the overall security posture, organizations can drive more comprehensive security observability, and leverage AI-powered detection to analyze vast datasets, identify anomalies, and neutralize emerging threats in real time.

Checking for Blind Spots: Shadow AI, Supply Chain Risks, Geopolitical Threats and Post Quantum Readiness

The threats don’t stop there. There are countless other headwinds that organizations need to navigate in today’s security landscape. For instance, employees are adopting generative AI tools faster than security teams can keep up, creating “Shadow AI” blind spots that bypass traditional governance and compliance. Furthermore, geopolitical tensions are spilling into cyberspace, with organizations underestimating these cyber threats, assuming neutrality while state-sponsored attacks disrupt industries and expose critical supply chain vulnerabilities.

Meanwhile, the uneven adoption of post-quantum cryptography — despite a jump from 3% to 38% in HTTPS traffic secured with quantum-safe encryption in March 2025 compared to a year ago — reveals a troubling lag in enterprise readiness. With quantum computing poised to break traditional encryption, leaders must accelerate the adoption of post-quantum cryptography to protect long-term data and meet evolving regulatory expectations.

Supply chains remain one of the weakest links. With enterprises relying on dozens and even hundreds of third-party scripts, a single compromised vendor can be an open door for attackers. According to the World Economic Forum, 54% of large companies see third-party risk management as their top cyber resilience challenge.

Amid all of these emerging risks, Zero Trust isn’t optional anymore – it’s a necessity to seal these gaps.

Zero Trust is the new de facto standard

Static passwords and basic multi-factor authentication (MFA) no longer cut it in a world of session hijacking, phishing-resistant threats and MFA bypass techniques. Enterprises must evolve toward full Zero Trust architectures, including passwordless authentication and continuous, risk-based access controls.

The good news is that 65% of Thai organizations have already invested in Zero Trust solutions, with 32% planning to do so this year. To close the execution gap, Thai organizations will need to evolve their Zero Trust strategy from isolated controls to a single, unified layer spanning their entire enterprise. The focus will shift from secure, remote access management alone to unifying identity, data, and traffic policies across every environment.

Thankfully, many leaders are already moving toward platforms that are resilient by design, are global by default, automate responses, and offer real-time visibility. That’s where the real value is: not just reducing risk, but enabling agility. The organizations that get ahead will be the ones that embed Zero Trust into their digital foundation – making it part of how they build, scale, and innovate securely.

Compliance, continuity, and security must be designed in from the start

Finally, compliance can no longer be reactive. Our study has also found that 63% of Thai organizations are already spending more than 5% of their IT budget to address regulatory and compliance requirements while 59% reported spending more than 10% of their work week keeping pace with industry regulatory requirements and certifications.

Last year, The Expert Committee (EC) of the Personal Data Protection Committee (PDPC) imposed a THB7,000,000 administrative fine on a data controller company for a personal data breach. The company was subsequently ordered to appoint a Data Protection Officer, improve its data security measures and conduct training courses on data protection to its staff.  The fine plus the additional enforcement orders have shown that the EC and the PDPC are ready to enforce full and long-term compliance measures against violation of the PDPA.

Further from just avoiding legal penalties, ensuring a robust security posture has wider implications on protecting trust, reputation, and long-term resilience in an environment where the cost of inaction is rising.

In an era of AI-charged attacks, rising regulatory demands and complex digital interdependencies, cybersecurity can no longer be siloed, reactive, or an afterthought. Security cannot wait and neither can businesses; beyond reacting to threats, organizations must embed resilience into how they operate, innovate, and grow. The future will belong to enterprises that move decisively: adopting AI-enabled defenses, securing their supply chains, accelerating post-quantum readiness, and unifying Zero Trust frameworks across their ecosystems. Organizations must act now, because in the AI age, security isn’t optional, it’s foundational.

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม
 

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม

เคนเนธ ไล, รองประธานภูมิภาคอาเซียน, คลาวด์แฟลร์
บทความโดย เคนเนธ ไล, รองประธานภูมิภาคอาเซียน, คลาวด์แฟลร์

ภูมิทัศน์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทยยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน องค์กรต่างต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในด้านปริมาณและความซับซ้อน ข้อมูลจากสำนักงานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ (NCA) พบว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2568 องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยประสบกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์มากกว่า 1,002 เหตุการณ์ ความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ ภัยคุกคามใหม่ที่เกิดจาก AI และการขาดแคลนบุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

มีการประเมินไว้ว่าความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกในปัจจุบันสูงกว่า 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การประเมินนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจยังต้องเผชิญปัญหาสำคัญด้านภัยคุกคามไซเบอร์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คลาวด์แฟลร์ (Cloudflare) ได้เผยแพร่รายงาน Cloudflare Signals Report ซึ่งชี้ให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนของภูมิทัศน์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเพื่อช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงภัยคุกคามดิจิทัลและเสริมสร้างความมั่นคงทางไซเบอร์

ผลการศึกษาพบว่าในปีที่ผ่าน Cloudflare สามารถสกัดกั้นการโจมตี DDoS ได้มากกว่า 20.9 ล้านครั้งซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 50% จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ องค์กรในประเทศไทยมากกว่าครึ่ง (63%) ประสบปัญหาการละเมิดข้อมูล แม้หน่วยงานภาครัฐจะมีคำแนะนำไม่ให้จ่ายค่าไถ่ แต่ 52% ขององค์กรที่ถูกละเมิดก็ยังยอมจ่ายค่าไถ่ สถานการณ์นี้สะท้อนความเป็นจริงที่น่ากังวลที่องค์กรไทยกำลังเผชิญ นั่นคือขนาดและความซับซ้อนของภัยคุกคามไซเบอร์กำลังล้ำหน้าระบบการป้องกันแบบเดิม ๆ

แม้ว่ารัฐบาลไทยได้เปิดตัวโครงการปีแห่งความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์: Cyber Security Yearซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมากกว่า 100 แห่ง เพื่อรับมือภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น แต่ความซับซ้อนของภูมิทัศน์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันนั้นแสดงให้เห็นว่า ความแข็งแกร่งทางไซเบอร์ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของแผนกไอทีเพียงลำพังอีกต่อไป แต่มันคือกลยุทธ์ที่ผู้บริหารระดับสูงทั้งหมดจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วม

โซลูชันที่ทันสมัยแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น: ใช้ AI สู้กับ AI

การทำงานจากระยะไกลและการใช้คลาวด์ที่เพิ่มขึ้นทำให้พื้นที่การโจมตีของภัยคุกคามภายในองค์กรขยายวงกว้างและตรวจจับได้ยากขึ้น ผู้โจมตีกำลังพุ่งเป้าไปที่การโจมตีแบบอัตโนมัติที่สามารถหลบหลีกการตรวจจับและใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ต่าง ๆ ได้เร็วเกินกว่าที่องค์กรจะรับมือทัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลประจำตัวที่ขโมยมา (credential stuffing) โจมตีด้วยบอต ไปจนถึงการใช้ AI ควบคุมการโจมตี DDoS ปัจจุบัน ความพยายามเข้าสู่ระบบโดยใช้ข้อมูลประจำตัวที่ขโมยมา 94% เกิดขึ้นโดยบอตที่สามารถทดสอบรหัสผ่านหลายพันรหัสต่อวินาที นอกจากนี้ ระบบอัตโนมัติที่ใช้ AI เป็นตัวขับเคลื่อน ยังเป็นสาเหตุหลักของการโจมตี DDoS ที่สร้างผลกระทบสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักเกิดจากบอตเน็ตและอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ปลอดภัยจำนวนมาก

Generative AI ยังช่วยให้อาชญากรสามารถสร้างตัวตนเสมือนจริงได้อย่างแนบเนียน โดยผสมผสานข้อมูลจริงและเท็จเพื่อหลบเลี่ยงระบบยืนยันตัวตนแบบเดิม รายละเอียดบุคคลที่สร้างด้วย AI, deepfakes และการโจมตีอัตโนมัติด้วยข้อมูลประจำตัวที่ขโมยมา ทำให้ตรวจจับตัวตนปลอมเหล่านี้ได้ยากขึ้น 

ภัยคุกคามที่ควบคุมด้วย AI ต้องใช้การป้องกันที่ใช้พลังจาก AI เช่นกัน เมื่อ generative AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเวิร์กโฟลว์ต่าง ๆ องค์กรจำเป็นต้องบูรณาการการตรวจจับภัยคุกคามที่เสริมประสิทธิภาพด้วย AI ระบบป้องกันอัตโนมัติ และแนวทางการรักษาข้อมูลประจำตัวที่รัดกุมเข้าด้วยกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างเต็มที่ การบูรณาการ AI เข้ากับมาตรการด้านความปลอดภัยโดยรวม จะช่วยให้องค์กรมองเห็นภาพรวมด้านความปลอดภัยได้ครอบคลุมและชัดเจนมากขึ้น และใช้ประโยชน์จากการตรวจจับภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ตรวจหาความผิดปกติ ต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ๆ ได้แบบเรียลไทม์

การตรวจสอบจุดบอดต่าง ๆ : การนำเครื่องมือและเทคโนโลยี AI ที่ไม่ได้รับอนุญาตมาใช้ (Shadow AI), ความเสี่ยงของซัพพลายเชน, ภัยคุกคามทางภูมิรัฐศาสตร์ และ ความพร้อมรับการโจมตีจากควอนตัม (Post Quantum) 

ภัยคุกคามไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่ยังมีอุปสรรคมากมายที่องค์กรต้องเผชิญในเรื่องของความปลอดภัยในปัจจุบัน เช่น การที่พนักงานนำเครื่องมือ AI มาใช้อย่างรวดเร็วจนทีมงานด้านความปลอดภัยตามไม่ทัน ทำให้เกิดจุดบอดที่เป็น Shadow AI ซึ่งสามารถหลบหลีกการควบคุมและการต้องทำตามกฎระเบียบแบบเดิม นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ยังลุกลามเข้าสู่โลกไซเบอร์ หลายองค์กรประมาทต่อภัยคุกคามและคิดว่าตนเองมีการควบคุมดีแล้ว ในขณะที่การโจมตีที่มีรัฐหนุนหลังกำลังทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ หยุดชะงัก และเผยให้เห็นช่องโหว่ร้ายแรงในระบบซัพพลายเชน

ในขณะเดียวกันการนำเทคโนโลยีการเข้ารหัสหลังควอนตัม (post-quantum cryptography) มาใช้ยังคงเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง แม้ปริมาณการรับส่งข้อมูล HTTPS ที่มีการรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสแบบ quantum-safe จะเพิ่มขึ้นจาก 3% เป็น 38% ในเดือนมีนาคม 2025 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาก็ตาม การนำมาใช้อย่างไม่ทั่วถึงนี้สะท้อนให้เห็นถึงความล่าช้าที่น่ากังวลในด้านความพร้อมขององค์กรธุรกิจ ทั้งนี้การประมวลผลควอนตัมกำลังเข้าใกล้จุดที่สามารถเจาะการเข้ารหัสแบบเดิมได้ ผู้นำองค์กรจึงต้องเร่งนำ post-quantum cryptography มาใช้ปกป้องข้อมูลในระยะยาวและตอบสนองต่อข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ซัพพลายเชนยังคงเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดจุดหนึ่ง การที่องค์กรต้องพึ่งพาสคริปต์จากผู้ให้บริการภายนอกหลายสิบไปจนถึงหลายร้อยรายการ หากมีผู้ให้บริการเพียงรายเดียวถูกบุกรุกก็สามารถเปิดประตูให้ผู้โจมตีเข้าสู่องค์กรได้ ข้อมูลจาก World Economic Forum พบว่า 54% ของบริษัทขนาดใหญ่ระบุว่าการบริหารความเสี่ยงจากผู้ให้บริการภายนอกเป็นความท้าทายอันดับต้น ๆ ของการสร้างความแข็งแกร่งทางไซเบอร์

ท่ามกลางความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น Zero Trust จึงไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งจำเป็นในการอุดช่องโหว่เหล่านี้

Zero Trust คือมาตรฐานใหม่ที่ใช้กันทั่วไป

รหัสผ่านคงที่และการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication: MFA) ไม่เพียงพออีกต่อไปในโลกที่เต็มไปด้วยภัยคุกคาม เช่น การไฮแจ็กเซสชัน (Session hijacking) การฟิชชิ่งที่ซับซ้อน และการเลี่ยง MFA องค์กรจึงต้องพัฒนาไปสู่สถาปัตยกรรม Zero Trust อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการยืนยันตัวตนแบบไร้รหัสผ่าน และการควบคุมการเข้าถึงตามระดับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

เป็นที่น่ายินดีที่ 65% ขององค์กรได้ลงทุนหรือมีแผนจะลงทุนในโซลูชัน Zero Trust แล้ว และ 32% วางแผนจะลงทุนในปีนี้ องค์กรต่างๆ ของไทยสามารถปิดช่องว่างนี้ได้ด้วยการพัฒนากลยุทธ์ Zero Trust โดยเปลี่ยนจากการควบคุมแบบแยกส่วน ไปสู่การสร้างชั้นความปลอดภัยที่รวมเป็นหนึ่งเดียวครอบคลุมทั้งองค์กร เปลี่ยนจากที่เคยเน้นและให้ความสำคัญกับการจัดการการเข้าถึงจากระยะไกลที่ปลอดภัยเพียงอย่างเดียว เป็น การรวมนโยบายด้านการระบุตัวตน ข้อมูล และการรับส่งข้อมูล จากทุกสภาพแวดล้อมการใช้งานมาไว้เป็นหนึ่งเดียว

เป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้นำองค์กรหลายรายเปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์มที่ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่น รองรับการใช้งานในระดับโลก ตอบสนองอัตโนมัติ และสามารถมองเห็นสถานการณ์แบบเรียลไทม์ นี่คือคุณค่าที่แท้จริง ไม่ใช่แค่การลดความเสี่ยง แต่ยังช่วยให้องค์กรมีความคล่องตัว องค์กรที่จะก้าวหน้าคือองค์กรที่ฝังแนวคิด Zero Trust ลงในรากฐานดิจิทัล และทำให้ Zero Trust เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางดิจิทัล การขยายขนาดการทำงาน และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้อย่างปลอดภัย

การปฏิบัติตามกฎระเบียบ, ความต่อเนื่อง และความปลอดภัย ต้องถูกออกแบบตั้งแต่เริ่มต้น

ท้ายที่สุดแล้วการปฏิบัติตามกฎระเบียบไม่สามารถเป็นการทำงานเชิงรับที่ไม่ได้มีการวางแผนได้อีกต่อไป ผลการศึกษาของเราพบว่า 63% ขององค์กรไทยใช้มากกว่า 5% ของงบประมาณด้านไอทีเพื่อจัดการกับการทำตามกฎระเบียบและข้อกำหนดต่าง ๆ ในขณะที่ 59% รายงานว่าใช้เวลามากกว่า 10% ของสัปดาห์ทำงานเพื่อทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบและการรับรองของอุตสาหกรรม

เมื่อปีที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC) ได้สั่งปรับบริษัทผู้ควบคุมข้อมูลแห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 7,000,000 บาท จากเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ต่อมาบริษัทแห่งนั้นได้รับคำสั่งให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล (Data Protection Officer) ให้ปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูล และจัดการอบรมด้านการปกป้องข้อมูลให้กับพนักงานของบริษัท การปรับและคำสั่งบังคับใช้เพิ่มเติมต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญฯ พร้อมบังคับใช้มาตรการตามกฎระเบียบอย่างเต็มรูปแบบและในระยะยาวต่อผู้ละเมิดพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงโทษทางกฎหมายแล้ว การสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งยังส่งผลกว้างขึ้นในเรื่องของการคงไว้ซึ่งความเชื่อมั่น ชื่อเสียง และความแข็งแกร่งคล่องตัวในระยะยาว ในสภาพแวดล้อมที่ค่าใช้จ่ายหรือค่าปรับที่ต้องเสียไปหากละเว้นการดำเนินการที่เหมาะสมเพิ่มสูงขึ้น

ในยุคที่เต็มไปด้วยการโจมตีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความต้องการด้านกฎระเบียบเพิ่มสูง การเชื่อมโยงทางดิจิทัลที่ซับซ้อน ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ควรถูกแยกออกเป็นเรื่องเฉพาะฝ่าย ไม่ควรที่ต้องเป็นฝ่ายตั้งรับเพียงอย่างเดียว และไม่ใช่เรื่องที่จะมาคิดทีหลังได้อีกต่อไป ความปลอดภัยไม่สามารถรอได้และธุรกิจก็เช่นกัน นอกจากการตอบสนองต่อกับภัยคุกคาม องค์กรจำเป็นต้องสร้างความยืดหยุ่นไว้ในกระบวนการดำเนินงาน นวัตกรรมและการเติบโต อนาคตจะเป็นขององค์กรที่ดำเนินการอย่างเด็ดขาดด้วยการปรับใช้ระบบป้องกันที่ขับเคลื่อนด้วย AI รักษาความปลอดภัยให้กับห่วงโซ่อุปทาน เร่งความพร้อมต่อภัยในยุคหลังควอนตัม และผสานแนวคิด Zero Trust ให้ครอบคลุมทั่วทั้งระบบ และควรต้องดำเนินการทันที เพราะในยุค AI ความปลอดภัยไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นรากฐานที่สำคัญ

Siemens and NVIDIA expand partnership to accelerate AI capabilities in manufacturing

ซีเมนส์ ขยายความร่วมมือ เอ็นวิเดีย เร่งนำความสามารถ AI มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต

Siemens and NVIDIA expand partnership to accelerate AI capabilities in manufacturing

  • Companies celebrate collaboration driving industrial AI for global manufacturers
  • Expanded partnership to enable AI-powered factories of the future, connecting NVIDIA AI and accelerated computing with the Siemens Xcelerator platform and products
  • New industrial AI infrastructure on NVIDIA accelerated computing transforms the factory floor

Siemens and NVIDIA announced an expansion of their partnership to accelerate the next era of industrial AI and digitalization and enable the factory of the future.

“Modern manufacturers face mounting pressure to boost efficiency, enhance quality and adapt swiftly to changing market demands,” said Jensen Huang, founder and CEO of NVIDIA. “Our partnership with Siemens is bringing NVIDIA AI and accelerated computing to the world’s leading enterprises and opening new opportunities for the next wave of industrial AI.”

“AI is fundamentally transforming manufacturing and infrastructure. Over the last three years, we’ve worked closely to merge AI models and high-performance computing, with industrial data and domain know-how,” said Roland Busch, president and CEO of Siemens AG. “Together, Siemens and NVIDIA are now empowering companies across every industry to unlock the scaled impact of AI in the physical world.” 

The combination of Siemens and NVIDIA technologies will empower industrial companies to leverage comprehensive, AI-powered technologies for next-generation factory automation – spanning every stage from product design to execution. This enables companies to make more confident decisions using real-time, data-driven insights, enhance operational efficiencies and improve collaboration.

Partnering to accelerate digital transformation of industry

In 2022, the companies announced a partnership to bring the industrial metaverse to life by connecting technologies from the Siemens Xcelerator portfolio to the NVIDIA Omniverse™ platform. The combination of Siemens’ software and industrial automation leadership with NVIDIA’s cutting-edge AI and accelerated computing empowers organizations across sectors to optimize performance, boost productivity and meet sustainability goals through digitalization. The partnership has since expanded to include collaboration in generative AI, industrial AI and robotics.

Siemens integrates NVIDIA technology throughout the Siemens Xcelerator platform. Announced earlier this year, Teamcenter Digital Reality Viewer represents a significant leap forward in product lifecycle management-based visualization, bringing real-time ray-tracing capabilities directly into Teamcenter to enable companies to seamlessly visualize and interact with photorealistic, physics-based digital twins of their products, allowing for faster, more informed decisions. 

HD Hyundai, one of the world’s largest shipbuilders, is using this capability to visualize next-generation hydrogen- and ammonia-powered vessels – managing millions of parts in real time while cutting design iteration time from days to hours with generative AI.

By coupling NVIDIA Blackwell GPUs with Siemens’ computational fluid dynamics software, Simcenter Star-CCM+ customers can simulate and test products virtually with significantly enhanced speed. For example, using Simcenter Star-CCM+ software accelerated by NVIDIA Blackwell and NVIDIA CUDA-X™ libraries, BMW Group and Siemens achieved a 30x speedup for transient aerodynamics simulations of entire vehicle geometries – accelerating the simulation of vehicle aerodynamics while reducing energy consumption and costs. 

Siemens and NVIDIA are also redefining how factories operate. A new line of Siemens Industrial PCs, certified for NVIDIA GPUs, drive powerful AI-supported industrial computing, withstanding heat, dust and vibration, and allowing for 24/7 operation. They enable complex industrial automation tasks – from AI-based robotics to quality inspection and predictive maintenance – delivering a 25x acceleration in AI execution. 

Advanced AI agents will work seamlessly across the Siemens Industrial Copilot portfolio, executing entire AI-powered processes without human intervention. Siemens’ Industrial Copilot for Operations brings generative AI to shopfloor operators and will be optimized to run on premises with NVIDIA RTX PRO™ 6000 Blackwell Server Edition GPUs. The Siemens Industrial Copilot leverages NVIDIA NeMo™ microservices and the NVIDIA AI Blueprint for video search and summarization to deliver real-time, AI-powered assistance for shopfloor operations, saving 30% of reactive maintenance time.

To provide manufacturers with 360-degree visibility into industrial systems and strengthen cybersecurity operations, Siemens is also collaborating with NVIDIA to pioneer a new class of operational technology cybersecurity by integrating NVIDIA BlueField® DPUs, leveraging accelerated computing in pursuit of AI-driven cybersecurity. 

The expanded partnership between Siemens and NVIDIA is poised to drive the next wave of innovation in industrial manufacturing. With Siemens spearheading the transformation of industries and NVIDIA accelerated computing, the companies are enabling the deployment of AI solutions on the shopfloor with unprecedented speed and efficiency.

ซีเมนส์ ขยายความร่วมมือ เอ็นวิเดีย เร่งนำความสามารถ AI มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต

ซีเมนส์ ขยายความร่วมมือ เอ็นวิเดีย เร่งนำความสามารถ AI มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต

ซีเมนส์ ขยายความร่วมมือ เอ็นวิเดีย เร่งนำความสามารถ AI มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต

  • ทั้งสองบริษัทจะร่วมกันนำ AI สำหรับภาคอุตสาหกรรม (Industrial AI) มาสู่ผู้ผลิตทั่วโลก
  • ปลดล็อกศักยภาพโรงงานการผลิตแห่งอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI โดยเชื่อมต่อ NVIDIA AI และการประมวลผลแบบเร่งความเร็ว (Accelerated Computing) ของเอ็นวิเดีย เข้ากับแพลตฟอร์มและผลิตภัณฑ์ Siemens Xcelerator
  • โครงสร้างพื้นฐานของ Industrial AI ใหม่บนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบเร่งความเร็ว ของ เอ็นวิเดีย จะพลิกโฉมพื้นที่การผลิตในโรงงาน

ซีเมนส์ และ เอ็นวิเดีย ประกาศขยายความร่วมมือเพื่อเร่งการนำ Industrial AI และเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับยุคหน้า มาใช้เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตเพื่อปลดล็อกโรงงานการผลิตแห่งอนาคต

เจนเซ่น หวง ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเอ็นวิเดีย กล่าวว่า “ผู้ผลิตยุคใหม่กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพการผลิต อีกทั้งยังต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วให้ทันต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความร่วมมือนี้จะนำ NVIDIA AI และ Accelerated Computing มาสู่องค์กรชั้นนำระดับโลก ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสสำหรับคลื่นเทคโนโลยีใหม่ของ AI ในภาคอุตสาหกรรม”

โรแลนด์ บุช ซีอีโอของซีเมนส์ กล่าวว่า “AI กำลังพลิกโฉมภาคการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานในระดับฐานราก ช่วงสามปีที่ผ่านมาเราทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อผสานโมเดล AI และการประมวลผลประสิทธิภาพสูงเข้ากับชุดข้อมูลและความรู้เฉพาะทางในภาคอุตสาหกรรม โดย ซีเมนส์ และ เอ็นวิเดีย ได้เสริมศักยภาพให้แก่บริษัทในหลากหลายอุตสาหกรรม ให้สามารถปลดล็อกศักยภาพของ AI ในระดับที่ขยายผลได้ในโลกจริง”

การผสานเทคโนโลยีของ ซีเมนส์ และ เอ็นวิเดีย จะเสริมศักยภาพให้บริษัทในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ได้อย่างครอบคลุม ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการปฏิบัติงาน ช่วยให้บริษัทสามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้นด้วยข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์  เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความร่วมมือระหว่างทีมงาน

ความร่วมมือเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ในภาคอุตสาหกรรม

ในปี 2022 ซีเมนส์ และ เอ็นวิเดีย ได้ประกาศความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรม หรือ Industrial Metaverse โดยเชื่อมต่อเทคโนโลยีจากพอร์ตโฟลิโอของ Siemens Xcelerator เข้ากับแพลตฟอร์ม NVIDIA Omniverse™ การผสานความเชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์และระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมของซีเมนส์เข้ากับเทคโนโลยี AI และการประมวลผลแบบเร่งความเร็วที่ล้ำสมัยของเอ็นวิเดีย จะช่วยเสริมศักยภาพ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการและผลผลิต และช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และความร่วมมือนี้ได้ขยายขอบเขตไปสู่การทำงานร่วมกันในด้าน Generative AI, Industrial AI และ Robotics

ซีเมนส์ นำเทคโนโลยีของ เอ็นวิเดีย เข้ามารวมไว้ในแพลตฟอร์ม Siemens Xcelerator โดยเมื่อต้นปีนี้ ซีเมนส์ได้เปิดตัว Teamcenter Digital Reality Viewer ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการแสดงผลในระบบการจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle Management – PLM) โดยนำความสามารถในการเรนเดอร์แบบ Ray-Tracing (เป็นเทคนิคที่ใช้ในคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อสร้างภาพที่สมจริงแบบเรียลไทม์มารวมไว้ใน Teamcenter ซึ่งบริษัทต่าง ๆ จะสามารถจำลองภาพและโต้ตอบผ่านโมเดลการจำลอง Digital Twins ของผลิตภัณฑ์ที่มีความสมจริงทั้งในด้านภาพและฟิสิกส์อย่างไร้รอยต่อ ช่วยให้การสามารถตัดสินใจรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

HD Hyundai หนึ่งในบริษัทต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ความสามารถนี้เพื่อจำลองภาพเรือรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจนและแอมโมเนีย โดยจำลองการจัดการชิ้นส่วนหลายล้านชิ้นได้แบบเรียลไทม์ ช่วยลดระยะเวลาในการออกแบบที่ใช้เวลาหลายวันให้เหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมงด้วย Generative AI

ด้วยการประสานหน่วยประมวลผล NVIDIA Blackwell เข้ากับ Simcenter Star-CCM+ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ Computational Fluid Dynamics ของซีเมนส์ ทำให้องค์กรสามารถจำลองภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเสมือนจริงได้ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น BMW Group ซึ่งใช้ Simcenter Star-CCM+ ที่เร่งความเร็วด้วย NVIDIA Blackwell และไลบรารี NVIDIA CUDA-X™ สามารถเพิ่มความเร็วการประมวลผลขึ้นถึง 30 เท่า ในการจำลองภาพด้านอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics) ของรูปทรงยานพาหนะทั้งหมด ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาในการจำลองอากาศพลศาสตร์ของยานพาหนะพร้อมลดการใช้พลังงานและลดต้นทุนไปพร้อมกัน

ซีเมนส์ และ เอ็นวิเดีย กำลังร่วมกันพลิกโฉมการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยไลน์ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมรุ่นใหม่จากซีเมนส์ ซึ่งผ่านการรับรองสำหรับใช้งานร่วมกับหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ของ NVIDIA เพื่อสนับสนุนการประมวลผลทางอุตสาหกรรมด้วย AI ประสิทธิภาพสูง ในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อน ฝุ่น และแรงสั่นสะเทือน อีกทั้งยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง คอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถตอบสนองภารกิจอัตโนมัติที่ซับซ้อนในภาคอุตสาหกรรม ตั้งแต่หุ่นยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพและการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ พร้อมเพิ่มความเร็วในการประมวลผล AI ได้สูงสุดถึง 25 เท่า

ระบบ AI Agents ขั้นสูงจะทำงานได้อย่างไร้รอยต่อในพอร์ตโฟลิโอ Siemens Industrial Copilot โดยสามารถดำเนินกระบวนการที่ขับเคลื่อนด้วย AI ได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องอาศัยการควบคุมจากมนุษย์ Siemens’ Industrial Copilot for Operations นำ Generative AI มาใช้ในพื้นที่การผลิต และจะได้รับการปรับแต่งให้สามารถทำงานบนระบบภายในองค์กร (on-premises) โดยใช้หน่วยประมวลผลกราฟิก NVIDIA RTX PRO™ 6000 Blackwell Server Edition ทั้งนี้ Siemens Operations Copilot ยังผสานการทำงานกับไมโครเซอร์วิส NVIDIA NeMo™ และ NVIDIA AI Blueprint สำหรับการค้นหาและสรุปข้อมูลจากวิดีโอ เพื่อให้การช่วยเหลือผ่าน AI แบบเรียลไทม์สำหรับการปฏิบัติงานในโรงงาน และช่วยลดเวลาการบำรุงรักษาเชิงรับ (Reactive Maintenance) ได้ถึง 30%

เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถมองเห็นระบบอุตสาหกรรมได้ครบวงจร 360 องศาและเสริมความแข็งแกร่งให้การดำเนินการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซีเมนส์ยังร่วมมือกับเอ็นวิเดียในการพัฒนาแนวทางใหม่สำหรับความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีปฏิบัติการ (Operational Technology) ด้วยการผสาน NVIDIA BlueField® DPU โดยใช้ประสิทธิภาพของการประมวลผลแบบเร่งความเร็วเพื่อผลักดันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI

การขยายความร่วมมือระหว่างซีเมนส์และเอ็นวิเดียนี้ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของนวัตกรรมในภาคการผลิตอุตสาหกรรม ด้วยความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของซีเมนส์ และความเป็นผู้นำในด้านการประมวลผลแบบเร่งความเร็วของเอ็นวิเดีย จะทำให้การผลักดันการนำโซลูชัน AI ไปใช้งานในพื้นที่ผลิต รวดเร็วและมีประสิทธิภาพอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

Ericsson secures multi-year Managed Services deal with Bharti Airtel

อีริคสันคว้าสัญญาร่วมบริหารเครือข่ายระยะยาวกับ Bharti Airtel ของอินเดีย

Ericsson secures multi-year Managed Services deal with Bharti Airtel

Ericsson (NASDAQ: ERIC) has been awarded a multi-year NOC Managed Services (MS) contract by Bharti Airtel, further strengthening the long-standing partnership between the two companies. This strategic agreement underscores Ericsson’s leadership in managed services and reaffirms its commitment to delivering exceptional value to Airtel customers.

Under this agreement, Ericsson will enable intent-based operations, powered by its centralized Network Operations Center (NOC), to manage Airtel services across 4G, 5G NSA, 5G SA, Fixed Wireless Access (FWA), Private Networks, and Network Slicing.

This partnership will see Ericsson manage Airtel’s pan-India network through its state-of-the-art NOC while scaling FWA and Network Slicing across the country.

“We are excited to enhance our strong collaboration with Ericsson as we pursue our goal of creating a future-ready network that delivers an exceptional experience for our customers. We believe that these innovative technologies will empower us to meet the growing data demands of consumers in a digitally connected India.” says Randeep Sekhon, CTO Bharti Airtel

Andres Vicente, Head of Market Area Southeast Asia, Oceania and India, Ericsson, says: “This milestone agreement with Bharti Airtel reinforces our commitment to helping Airtel deliver the best possible experience for its customers. By leveraging Intent-Based NOC Operations, we will enable Airtel to unlock wider service diversification to meet customer needs, thereby enabling new revenue opportunities for Airtel.”

Ericsson’s longstanding partnership with Bharti Airtel, spanning over 25 years, encompasses multiple generations of mobile communications technology. Notably, this announcement follows closely on the heels of Bharti Airtel’s collaboration with Ericsson on 5G Core to drive 5G evolution.