ครั้งแรกของการนำเทคโนโลยีระบบหลัก ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว มาทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์

ครั้งแรกของการนำเทคโนโลยีระบบหลัก ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

ครั้งแรกของการนำเทคโนโลยีระบบหลัก ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว มาทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์

อาลีบาบา สนับสนุนระบบดิจิทัลให้กับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว เพิ่มประสิทธิภาพ ความยั่งยืน และความทั่วถึง

ด้วยความมุ่งมั่นของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ในการนำระบบดิจิทัลมาใช้ ทำให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่ง ประจำปี 2022 (ปักกิ่งเกมส์ 2022) ประสบความสำเร็จในการนำบริการทางเทคโนโลยีที่ใช้ในการแข่งขันไปทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์ ซึ่งเป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป  การโยกย้ายเทคโนโลยีหลักของปักกิ่งเกมส์ไปทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์ ครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานและผู้รับชมทั่วโลกได้รับความปลอดภัย ด้วยประสิทธิภาพที่มากขึ้น ยั่งยืน และครบถ้วนทั่วถึง

Jeff Zhang ประธานอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “ปักกิ่งเกมส์ 2022 ไม่เพียงแต่จะได้รับการจดจำถึงเรื่องความตื่นเต้นและความสำเร็จอันน่าทึ่งของเหล่านักกีฬาจากทั่วโลก แต่ยังรวมไปถึงการจัดการรูปแบบใหม่ในการแข่งขัน เพื่อทำให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกดำเนินไปได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และครอบคลุม เราภูมิใจที่ได้มีส่วนสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และเราหวังว่าประสบการณ์ของเราในการเป็นผู้ให้บริการระบบปฏิบัติการหลักของปักกิ่งเกมส์ 2022 ด้วยอาลีบาบาคลาวด์ จะเป็นประโยชน์ต่อการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ในอนาคต”

ช้สมรรถนะที่ล้ำหน้าของคลาวด์เพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้จัดงาน

IOC และ คณะกรรมการผู้จัดงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูหนาวปี 2022 ปักกิ่งเกมส์ (BOCOG) ได้ดำเนินงานตามแผนแม่บทการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว รวมถึงการใช้งานระบบปฏิบัติการหลักที่ให้บริการโดย Atos ผู้เป็นพันธมิตรด้านไอทีระดับโลกของ IOC เช่น ระบบการจัดการเกม (Game Management System -GMS) ระบบการจัดการโอลิมปิก (Olympics Management System – OMS) และระบบกระจายข้อมูลโอลิมปิก (Olympics Distribution System – ODS) ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ของอาลีบาบา

ปักกิ่งเกมส์ 2020 ได้รับประโยชน์จากความสำเร็จในการใช้บริการต่าง ๆ ที่ทำงานบนคลาวด์ สามารถลดเวลาและลดการลงทุนด้านค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไอที ฮาร์ดแวร์ และการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกัน  ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาดแบบเรียลไทม์ที่ล้ำหน้าของคลาวด์ ช่วยให้สามารถวางแผนงานและบริหารจัดการปักกิ่งเกมส์ 2022 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและทันสมัย เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่ราบรื่นให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

ผู้จัดงานต่าง ๆ เช่น IOC สามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เช่น ความสามารถในการปรับขนาดการทำงาน ความเชื่อถือได้ และความปลอดภัย เพื่อลดความซับซ้อนของการวางแผนการแข่งขัน โดยทำการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ จากข้อมูลที่วิเคราะห์มาแล้วอย่างชาญฉลาด ช่วยให้เกิดความสมดุลระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ และการสร้างทรัพยากรใหม่ และนั่นทำให้เมืองที่เป็นเจ้าภาพสามารถลดเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพแบบเดิมได้ตั้งแต่เริ่มต้น

เทคโนโลยีคลาวด์ช่วยให้ผู้คนทั่วโลกใกล้ชิดกันมากขึ้น

ปักกิ่งเกมส์ 2022 ยังได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนากลุ่มนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งการมอบประสบการณ์ที่ครอบคลุมมากขึ้นให้กับแฟนกีฬาที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ  โดยอาลีบาบา ได้เปิดตัว Cloud ME ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการฉายภาพเสมือนจริงที่ใช้คลาวด์เป็นพลังขับเคลื่อน และช่วยให้การปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจากระยะไกลทำได้อย่างสะดวกและง่ายดาย เทคโนโลยีนี้ท้าทายข้อจำกัดด้านระยะทาง ด้วยการทำให้ผู้คนพบและสนทนากันได้เสมือนจริง ทั้งจากการฉายภาพขนาดเท่าตัวจริง และเสมือนอยู่ในสถานที่เดียวกัน

อาลีบาบายังได้เปิดตัว ตง ตง (Dong Dong) เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์วัย 22 ปี ตง ตง เป็นหญิงสาวชาวปักกิ่ง ที่สร้างขึ้นเพื่อให้สามารถโต้ตอบกับแฟน ๆ กีฬาทั่วโลก ร่วมแบ่งปันความสนุกสนานและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกีฬาโอลิมปิก ด้วยน้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ ทั้งยังสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้หลากหลาย ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 20 กุมภาพันธ์ มีผู้รับชมการถ่ายทอดสดของ ตง ตง กว่า 2 ล้านคน และ ตง ตง มีแฟนคลับมากกว่า 100,000 คน

เพื่อนำเสนอเนื้อหาในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ดีที่สุดแก่ผู้ชมทั่วโลก เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งของอาลีบาบายังสนับสนุน Olympic Channel Services ที่จะนำโปรแกรมการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาคุณภาพสูงมาสู่แฟน ๆ กีฬาทั่วโลก เพื่อให้มีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้จากทุกที่ ทุกเวลา และจากทุกอุปกรณ์

นวัตกรรมที่ยั่งยืนสำหรับโอลิมปิกในอนาคต

นับเป็นครั้งแรกที่มีการกระจายสัญญาณสดของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกผ่านระบบคลาวด์ ทำให้ผู้ออกอากาศที่ซื้อสิทธิ์ทางโทรทัศน์และวิทยุในการแข่งขัน (Rights Holding Broadcasters: RHBs)  มีตัวเลือกที่มีความคล่องตัวและคุ้มค่า ตลอดช่วงการแข่งขันปักกิ่งเกมส์ OBS ได้ทำการผลิตฟุตเทจที่มีความยาวรวมกว่า 6,000 ชั่วโมง และแพร่ภาพและเสียงไปยังพื้นที่และประเทศต่าง ๆ มากกว่า 220 แห่ง

OBS Video Server ซึ่งติดตั้งทำงานอยู่บนคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ ช่วยให้ RHBs สามารถปรับขนาดการทำงานของระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังลดการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์ที่ต้องติดตั้งไว้ ณ หน้างาน นอกจากนี้ Content+ ยังช่วยให้ RHBs สามารถเข้าถึงเนื้อหาทั้งหมดที่ผลิตระหว่างการแข่งขันได้จากระยะไกล และการรายงานข่าวจากระยะไกลได้อย่างไม่ยุ่งยาก  การใช้ OBS Live Cloud ยังช่วยให้ RHBs และเมืองที่เป็นเจ้าภาพจัดงานมีทางเลือกอื่นนอกจากการต้องลงทุนจำนวนมาก การที่สามารถส่งข้อมูลและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันโอลิมปิกผ่านพับลิคคลาวด์ได้นั้น เป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการทำงานที่เกี่ยวกับการแพร่ภาพกระจายเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ OBS ยังใช้ประสิทธิภาพจากการเล่นภาพซ้ำจากมุมกล้องหลาย ๆ ตัวของอาลีบาบา ในการฉายภาพซ้ำของไฮไลท์ในการแข่งขันกีฬา เช่น มุมเลี้ยวและความเร็วในการแข่งขันสเก็ตที่เกิดขึ้นในไม่กีวินาทีนำประสบการณ์การรับชมที่สมจริง และมีชีวิตชีวามาสู่ผู้ชมทั่วโลกผ่าน RHBs บนคลาวด์

Ilario Corna ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของ IOC กล่าวว่า “นวัตกรรมในปักกิ่งเกมส์ 2022 เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกับความสำเร็จด้านกีฬา ผมตื่นเต้นที่ได้เห็นการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ในปักกิ่งเกมส์ ที่ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์กับนักกีฬา แฟนกีฬา และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้เกียรติกับความปรารถนาอันแรงกล้าของเราที่จะทำให้การแข่งขันโอลิมปิกเป็นการจัดการแข่งขันกีฬาที่อยู่ในระดับแนวหน้าที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน”

นูทานิคซ์เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยให้เส้นทางสู่ไฮบริดมัลติคลาวด์ง่ายขึ้น

นูทานิคซ์เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยให้เส้นทางสู่ไฮบริดมัลติคลาวด์ง่ายขึ้น

นูทานิคซ์เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยให้เส้นทางสู่ไฮบริดมัลติคลาวด์ง่ายขึ้น

Nutanix Cloud Platform โซลูชันที่ครอบคลุม เพื่อการใช้งานทุกแอปพลิเคชันบนคลาวด์ทุกระบบ

นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริด-มัลติคลาวด์คอมพิวติ้ง ประกาศเปิดตัวทั่วโลกในการปรับเปลี่ยน และจัดกลุ่มโซลูชันต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Nutanix Cloud Platform นำเสนอรูปแบบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับคลาวด์ทุกประเภท ทั้งพับลิค ไพรเวท และไฮบริดคลาวด์ ซึ่งการจัดทัพโซลูชันใหม่ในครั้งนี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถนำโซลูชันต่าง ๆ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการ และตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลของลูกค้าได้ง่ายขึ้น

กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่นี้นอกจากจะทำให้ลูกค้าสามารถตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของไอทีสู่ยุคมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยขจัดความซับซ้อนที่มักเกี่ยวกับการเปิดใช้งานบริการไฮบริดคลาวด์ครบวงจรในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย โดยลดความซับซ้อนของการเลือกใช้โซลูชัน และวิธีการคิดราคา เพื่อช่วยให้ลูกค้าเตรียมพร้อมรับมือกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่ายขึ้นซึ่งรวมถึงการขยายเวิร์กโหลด การกำหนดลักษณะคลาวด์ การอัปเกรดเทคโนโลยี และอื่น ๆ ลูกค้าสามารถเร่งเปลี่ยนแปลงองค์กรของตนสู่เส้นทางคลาวด์ได้รวดเร็วขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากการออกแบบที่ได้รับการตรวจสอบโดยนูทานิคซ์ และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปรับใช้สำหรับกรณีใช้งานทั่วไป

นายอาชีช นาดคาร์นี รองประธานกลุ่มระบบโครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีของ IDC กล่าวว่า “การเติบโตของนูทานิคซ์เริ่มต้นจากเป็นทางเลือกที่ยืดหยุ่นและการจัดการที่ง่ายขึ้นกว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบเป็นระบบ SAN และได้พัฒนาเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์เต็มรูปแบบทั้งหมดตั้งแต่เวอร์ชวลไลเซชัน เน็ตเวิร์กกิ้ง จนถึงการรักษาความปลอดภัย รวมถึงการรองรับเวิร์กโหลดทั้งหมดทั่วทั้งในองค์กรและในพับลิคคลาวด์  กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่นี้มอบความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ลูกค้าปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจ”

บริษัทฯ ได้สร้างแพลตฟอร์มคลาวด์แบบครบวงจรที่พร้อมใช้งานสำหรับองค์กร โดยมีโซลูชัน HCI (โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ – hyperconverged infrastructure) ชั้นนำของตลาดเป็นรากฐานสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียบง่ายประกอบด้วย 

    • Nutanix Cloud Infrastructure (NCI) ซอฟต์แวร์โซลูชันสำหรับโครงสร้างพื้นฐานแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งรวมการทำเวอร์ชวลไลซ์กับระบบประมวลผล ระบบจัดเก็บข้อมูล และเน็ตเวิร์กกิ้ง สำหรับเวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์ที่สามารถปรับใช้งานได้ในดาต้าเซ็นเตอร์บนฮาร์ดแวร์ใด ๆ ที่องค์กรเลือก หรือในพับลิคคลาวด์ที่มีคุณสมบัติด้านความยืดหยุ่น ซ่อมแซมตัวเองได้ มีประสิทธิภาพ กู้คืนระบบได้ และมีการรักษาความปลอดภัยติดตั้งไว้เบ็ดเสร็จ นอกจากนั้นยังสามารถใช้งาน NCI บนพับลิคคลาวด์ด้วย

    • Nutanix Cloud Clusters (NC2) ช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์ได้อย่างแท้จริง เพื่อความคล่องตัว ความยืดหยุ่น และรองรับแอปพลิเคชันสมัยใหม่ได้ ในขณะเดียวกันการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานยังคงทำได้ในแบบรวมศูนย์ไม่ว่าจะเป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานบนพับลิคคลาวด์ หรือในศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้องค์กรสามารถกระจายงานสู่คลาวด์ได้อย่างรวดเร็ว (cloud bursting) การสร้างระบบสำรองบนคลาวด์ รวมถึงการโยกย้ายแอปพลิเคชันบางส่วนไปใช้งานพับลิคคลาวด์ได้โดยไม่ต้องลงทุนแก้ไขแอปพลิเคชัน

    • Nutanix Cloud Manager (NCM) ทำให้การสร้างและการจัดการการปรับใช้ระบบคลาวด์เป็นเรื่องง่ายและสะดวก โดยขับเคลื่อนการกำกับดูแลที่สม่ำเสมอทั่วทั้งไพรเวทและพับลิค คลาวด์ ทำให้การใช้คลาวด์ของลูกค้าเกิดได้เร็วขึ้นNCM มีระบบการบริหารจัดการคลาวด์ต่าง ๆ ที่ชาญฉลาด รวมถึงการมอนิเตอร์ การให้ข้อมูลเชิงลึก และการแก้ไขอัตโนมัติ ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถปรับใช้ ดำเนินงาน และจัดการแอปพลิเคชันของตนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบค่าใช้จ่าย และกำกับดูแลต้นทุนของการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แต่ละประเภท ท้ายที่สุดยังได้รวมการดำเนินการด้านความปลอดภัยสำหรับเวิร์กโหลดและข้อมูลทั่วทั้งระบบคลาวด์ ทำให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์เป็นอัตโนมัติด้วยการวิเคราะห์และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

    • Nutanix Unified Storage (NUS) จัดเตรียมสตอเรจแบบดิสทริบิวเต็ด และควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์สำหรับโปรโตคอลแบบต่าง ๆ (volumes, files, objects) เพื่อรองรับเวิร์กโหลดที่ต้องการข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นไพรเวท พับลิคหรือไฮบริดคลาวด์ พร้อมความสามารถในการนำไลเซนส์ที่มีอยู่เคลื่อนย้ายไปใช้งานบนระบบที่ต้องการได้ การจัดการแบบจุดเดียวสำหรับทรัพยากรการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดจะช่วยขจัดความซับซ้อนของอินเทอร์เฟซหลายแบบ และช่วยให้ผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญในการจัดเก็บข้อมูลสามารถดำเนินการจัดเก็บและจัดการข้อมูลส่วนใหญ่ในแต่ละวันได้  การวิเคราะห์อัจฉริยะที่รวมเข้ากับโซลูชันนี้ช่วยให้มองเห็นข้อมูล และให้ข้อมูลเชิงลึกสำหรับการกำกับดูแลและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

    • Nutanix Database Service (NDB) ช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการดาต้าเบสในไฮบริดคลาวด์สำหรับดาต้าเบสเอ็นจิ้นต่าง ๆ เช่น PostgreSQL®, MySQL®, Microsoft® SQL Server, Mongo DB, Maria DB และ Oracle® Database ด้วยระบบอัตโนมัติอันทรงพลังในการจัดเตรียม การปรับขนาด การแพตช์ การป้องกัน และการโคลนของดาต้าเบสอินสแตนซ์ NDB ช่วยให้ลูกค้าสามารถส่งมอบ Database-as-a-Service (DBaaS) และประสบการณ์ด้านตาต้าเบสแบบบริการตนเองที่ใช้งานง่ายให้แก่นักพัฒนา ทั้งข้อมูลใหม่ และข้อมูลปัจจุบันที่อยู่ภายในองค์กรและในพับลิคคลาวด์
    • Nutanix End User Computing Solutions นำเสนอแอปพลิเคชันและเดสก์ท็อปแบบเวอร์ชวลแก่ผู้ใช้ทั่วโลกจากโครงสร้างพื้นฐานพับลิค ไพรเวท และไฮบริดคลาวด์ โดยให้ตัวเลือกไลเซนส์การใช้งานสำหรับผู้ใช้ NCI ที่ลดความซับซ้อน นอกจากนี้ ยังรวมแพลตฟอร์ม Desktop-as-a-Service ที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว และยืดหยุ่น ซึ่งสามารถเรียกใช้เวิร์กโหลดของผู้ใช้ปลายทางบน NCI พับลิคหรือไฮบริดคลาาวด์ไว้ให้อีกด้วย

 

์Nutanix

นายโธมัส คอร์เนลี รองประธานอาวุโสฝ่ายจัดการของนูทานิคซ์ กล่าวว่า “Nutanix Cloud Platform สร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จชั้นนำในตลาดของบริษัทฯ เพื่อให้ธุรกิจมีรูปแบบการดำเนินงานบนคลาวด์ที่สอดคล้องกัน  กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้งานง่ายของเราได้รวมเอาความสามารถด้านผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายไว้ทั้งแบบใช้ภายในองค์กรและพับลิคคลาวด์ เพื่อเปิดใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน บริการข้อมูล การจัดการ และการดำเนินงานที่สอดคล้องกันสำหรับแอปพลิเคชันในเวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์”

ความเห็นจากลูกค้านูทานิคซ์ 

    • “เราเลือกนูทานิคซ์ เพราะเรากำลังมองหาแพลตฟอร์มที่สามารถรองรับเวิร์กโหลดหลัก ๆ ได้
      ในขณะเดียวกันก็ต้องให้มีความเรียบง่ายและมีความน่าเชื่อถือด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสนับสนุนภารกิจปกป้องลูกค้า 39 ล้านรายทั่วโลกที่ใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ ของเรา  ในช่วงเวลาที่เราทำงานร่วมกัน นูทานิคซ์ไม่เพียงแต่ส่งมอบให้เท่านั้น แต่ยังขยายจากโซลูชัน HCI ไปเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์ที่สมบูรณ์พร้อม เพื่อช่วยเราตลอดเส้นทางการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล  เราตั้งตารอที่จะได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมที่ต่อเนื่องของพวกเขา”

      – เดวิด ฟิทซ์เจอรัลด์ ผู้ช่วยรองประธานฝ่ายบริการระดับโลกด้านไอที,
      UNUM บริษัทประกันภัยที่ดูแลด้านสวัสดิการพนักงาน

    • “นูทานิคซ์เป็นพันธมิตรหลักที่ช่วยให้เราพัฒนาระบบการผลิตขั้นสูง โดยใช้เทคโนโลยี HCI และเอดจ์คอมพิวติ้งสำหรับโครงสร้างพื้นฐานการผลิตในอนาคต เราตั้งตารอกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Nutanix Cloud Platform ที่จะช่วยเราในการปรับใช้ระบบการผลิตแบบไดนามิกทั่วโลก เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน รักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล รวมถึงรองรับความต่อเนื่องทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง และทำให้ขั้นตอนส่วนขยายการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของเราเป็นมาตรฐาน”

      – มาซาโอะ ซัมเบะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล
      แผนกดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน
      มิตซุย เคมิคัล อิงค์

บริการด้านคลาวด์เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยในแง่ธุรกิจ เห็นว่าคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นเครื่องมือที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล 

ความเห็นจากลูกค้าไทย

    • “นูทานิคซ์สามารถขึ้นระบบให้พร้อมใช้งานได้ภายในหนึ่งชั่วโมง ผู้บริหารของบริษัทฯ พึงพอใจเป็นอย่างมากที่สามารถทำงานได้สะดวกจากทุกที่ ทุกเวลา บนทุกอุปกรณ์ เพื่อเข้าถึงเดสก์ท็อปไฟล์ข้อมูล และเน็ตเวิร์กต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยและสมบูรณ์แบบ”

      – นายรุจิโรจน์ พีเจริญทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายไอที
      บริษัท โตโย ไซกัน (ประเทศไทย) จำกัด 

    • “เมื่อเรามีระบบสำรองข้อมูลที่ทรงประสิทธิภาพและปลอดภัย เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเรา ระบบนี้จะช่วยให้เราสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ และบริการออกสู่ตลาดได้อย่างทันท่วงที และช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของเรา นูทานิคซ์ทำให้งานแมนนวลต่าง ๆ ที่ต้องใช้เวลานานลดลงถึง 80% และลดเวลาในการจัดเตรียมระบบลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง จากหนึ่งวันเหลือเพียงครึ่งวัน”

      – นายพิเชฐ ศรีวงษ์ญาติดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
      บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน)

ผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมดขณะนี้มีวางจำหน่ายแล้ว  กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ที่นี่

การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกผ่านระบบคลาวด์ นำนวัตกรรม และประสิทธิภาพ พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม

การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกผ่านระบบคลาวด์

การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกผ่านระบบคลาวด์ นำนวัตกรรม และประสิทธิภาพ พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม

    • ใช้สัญญาณการถ่ายทอดสดแบบ Live Cloud ครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้
    • ใช้เทคโนโลยีเอดจ์คลาวด์ในการถ่ายวิดีโอที่สมจริงเป็นครั้งแรก
    • ลดการใช้บุคลากร ณ หน้างาน ด้วยระบบการทำงานจากระยะไกลผ่านคลาวด์ที่ยืดหยุ่นกว่า

อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (Olympic Broadcasting Services: OBS) นำเทคโนโลยีคลาวด์ของอาลีบาบามาใช้ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่งเกมส์ 2022 เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การแพร่ภาพกระจายเสียงมีประสิทธิภาพมากขึ้น สนับสนุนให้สามารถรายงานข่าวการแข่งขันต่าง ๆ ไปยังแฟนกีฬาทั่วโลกได้อย่างครอบคลุมในวงกว้าง

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้ เป็นครั้งแรกที่องค์กรที่ออกอากาศทั้งหมดที่ซื้อสิทธิ์ทางโทรทัศน์และวิทยุในการแข่งขัน (Rights-Holding Broadcasters: RHBs) สามารถรับภาพและเสียงจากการถ่ายทอดสดผ่านโครงสร้างพื้นฐานพับลิคคลาวด์ที่เป็นทางเลือกที่มีความคล่องตัวมากกว่า ด้วยค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับวิธีการส่งสัญญาณแบบอื่น นอกจากนี้ โซลูชันเอดจ์คลาวด์ที่มีประสิทธิภาพระดับแนวหน้าของอาลีบาบา ยังช่วยให้แฟนกีฬาทั่วโลกได้รับประสบการณ์การรับชมจังหวะการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นอย่างสมจริงจากมุมที่ดีที่สุดหลากหลายมุมมอง

อาลีบาบา คลาวด์

ถ่ายทอดสัญญาณสดผ่านคลาวด์เป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

Yiannis Exarchos ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OBS ให้ความเห็นว่า “แม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 แต่ความร่วมมือของเรากับอาลีบาบา คลาวด์ ก็ได้เปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของเราอย่างต่อเนื่อง OBS Cloud คือหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ลุ่มลึกที่สุด ซึ่งนอกจาก OBS Cloud จะมอบประสิทธิภาพที่ไม่เคยมีมาก่อนให้แก่องค์กรแพร่ภาพกระจายเสียงแล้ว ยังเปิดโอกาสด้านนวัตกรรมอย่างไร้ขอบเขต และถ่ายทอดความตื่นเต้นของกีฬาโอลิมปิกสู่ผู้ชมในวงกว้างให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

Live Cloud สำหรับการถ่ายทอดสดแบบเรียลไทม์

ในระหว่างการแข่งขันกีฬาปักกิ่งเกมส์ 2022 องค์กรผู้เผยแพร่ภาพกระจายเสียงมากกว่า 20 แห่งใช้ Live Cloud เพื่อรับสัญญาณการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ในรูปแบบความคมชัดสูงพิเศษ (UHD) หรือความคมชัดสูง (HD) ผ่าน OBS Cloud เป็นครั้งแรกในการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่มีการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการส่งข้อมูลการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก และสามารถแข่งขันกับโซลูชันเดิม ๆ เช่น จากส่งผ่านสายโทรคมนาคม หรือจากการส่งข้อมูลผ่านดาวเทียม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาลีบาบา คลาวด์

ถ่ายทอดสัญญาณสดผ่านคลาวด์เป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

Live Cloud เป็นส่วนหนึ่งของ OBS Cloud ซึ่งเป็นโซลูชันการถ่ายทอดสดที่มีประสิทธิภาพที่สร้างสรรค์โดย OBS และอาลีบาบา มีการนำ Live Cloud มาเป็นบริการมาตรฐานให้กับ RHBs ในระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ณ กรุงปักกิ่ง  ก่อนหน้าการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ผู้ทำการถ่ายทอดสดจะต้องพึ่งพาวงจรออปติคัลโทรคมนาคมระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งใช้เวลาในการตั้งค่าอุปกรณ์ เพื่อส่งข้อมูลการถ่ายทอดสดกลับไปยังประเทศของตน ในปัจจุบัน OBS ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับขนาดได้ และปลอดภัยสูงของอาลีบาบาคลาวด์ ซึ่งเป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ทำให้ OBS สามารถนำเสนอเนื้อหาคุณภาพสูงต่าง ๆ ทั้งหมดผ่านระบบพับลิคคลาวด์โดยใช้เวลาในการตั้งค่าเพียงไม่นานและมีค่าใช้จ่ายไม่มาก

ประสิทธิภาพของระยะเวลาในการตอบสนองที่ต่ำและมีความยืดหยุ่นสูงของคลาวด์ ช่วยให้การส่งเนื้อหาต่าง ๆ ผ่านระบบคลาวด์กำลังจะมีประสิทธิภาพเหนือกว่าวิธีการกระจายเนื้อหาแบบอื่น ในแง่ของความสามารถในการปรับขนาด ความยืดหยุ่น และค่าใช้จ่าย ซึ่งจะส่งผลกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกอากาศของผู้แพร่ภาพกระจายเสียงอย่างมีนัยสำคัญ และด้วยความเสถียร ความยืดหยุ่น และความคล่องตัวของระบบคลาวด์ทั่วโลก ยังช่วยให้มั่นใจถึงคุณภาพในการออกอากาศ แม้ในช่วงเวลาที่มีคนชมการสตรีมสดการแข่งขันเป็นจำนวนมากก็ตาม

OBS ยังใช้ประโยชน์สูงสุดจากความคล่องตัวของ Live Cloud เพื่อส่งผ่านข้อมูลบนคลาวด์ ด้วยการใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้แพร่ภาพกระจายเสียงเลือกได้ว่าจะรับข้อมูลจากฟีดไหนได้ในเวลาที่ต้องการ

Selina Yuan ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศของ Alibaba Cloud Intelligence กล่าวว่า “การส่งข้อมูลสดผ่านระบบคลาวด์เป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์โดยเฉพาะสำหรับผู้ให้บริการถ่ายทอดสดที่ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวได้ด้วยตนเอง หรือต้องลงทุนจำนวนมากในโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กร เราหวังว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะไม่เพียงช่วยลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการออกอากาศ แต่ยังสนับสนุนการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวได้อย่างครอบคลุม เนื่องด้วย RHBs ต่างๆ สามารถเข้าถึงฟุตเทจสดและเลือกฟีดที่ต้องการเพื่อถ่ายทอดออกไปได้ สุดท้ายนี้ เราหวังว่าแฟน ๆ กีฬาทั่วโลกจะเพลิดเพลินไปกับความตื่นเต้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้”

Multi-Camera Replay System และ High-Quality Reconstruction on Cloud

OBS และอาลีบาบาได้ติดตั้งระบบ multi-camera replay สำหรับการเล่นซ้ำแบบสโลว์โมชันที่สามารถหยุดเฟรมระหว่างการแข่งขันได้ เพื่อสร้างประสบการณ์การรับชมที่มีชีวิตชีวาและมีส่วนร่วมกับปักกิ่งเกมส์ 2022 มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่การออกอากาศในโอลิมปิกครั้งนี้ใช้เวิร์กโฟลว์บนคลาวด์สำหรับการเผยแพร่ซ้ำ (replay) ทำให้แฟน ๆ กีฬาทั่วโลกได้รับประสบการณ์ที่สมจริงมากยิ่งขึ้นจากหลากหลายมุมมองจากมุมกล้องที่ติดตั้งไว้ทั่วสนามแข่งขัน

อาลีบาบา คลาวด์

ระบบ multi-camera replay สำหรับการเล่นซ้ำแบบสโลว์โมชันที่สามารถหยุดเฟรมระหว่างการแข่งขันได้

โซลูชันเอดจ์ คลาวด์ ที่มีประสิทธิภาพสูงของอาลีบาบา ช่วยให้ภาพฟุตเทจสดของวงเลี้ยวและความเร็วของสเก็ตจากหลายมุมมองได้รับการบันทึกและรวบรวมผ่านเอดจ์ คลาวด์ เพื่อการประมวลผลและการตัดต่อแบบเรียลไทม์ ก่อนที่จะนำช่วงเวลาที่คัดสรรแล้วไปเผยแพร่ซ้ำผ่านฟีดรูปแบบต่าง ๆ และการสร้างช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดขึ้นมาใหม่อย่างราบรื่นนี้ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการเตรียมพร้อมในระบบคลาวด์และผสานรวมเป็นส่วนหนึ่งเดียวในการถ่ายทอดสด

สำหรับการรายงานข่าวที่ต้องใช้เวลารวดเร็วและเจาะจงในแต่ละวัน เช่น ไฮไลท์ หรือเหตุการณ์สำคัญของวันนั้น ๆ สามารถประมวลผลฟุตเทจบนคลาวด์ที่ใช้กับ Intel’s 3rd Gen Xeon Scalable processors เพื่อสร้างการแสดงภาพ 3 มิติคุณภาพสูงของการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ด้วยความละเอียดระดับ 4K ซึ่งเป็นการมอบประสบการณ์การรับชมที่สมจริงและน่าสนใจมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่ผ่านการทดสอบแล้วของอาลีบาบาร่วมกับพลังการประมวลผลของ Intel ทำให้สามารถเรนเดอร์ซีน 3 มิติที่เสมือนจริงได้ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งนาที

Live Content Editing และ Remote Production

Content+ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการจัดส่งเนื้อหาของ OBS ที่โฮลต์บนระบบคลาวด์ของอาลีบาบาจะยังคงให้บริการการออกอากาศกับ RHBs อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย การเข้าถึง short-form content ไลฟ์สตรีมแบบ HD รวมถึงเนื้อหาเพิ่มเติมที่ผลิตโดย OBS ทั้งหมด ในระดับความละเอียดสำหรับการรับชมและการดาวน์โหลด ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว มีการคาดการณ์ว่า OBS จะผลิตเนื้อหามากกว่า 6,000 ชั่วโมง เพื่อให้ RHBs ได้รับเนื้อหาต่าง ๆ รวมถึงการถ่ายทอดสดกีฬาและพิธีการ 900 ชั่วโมง และฟุตเทจการแข่งขันกีฬาอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก 1,200 ชั่วโมงผ่าน Multi Clip Feeds – ซึ่งเพิ่มขึ้นสองเท่าจากจำนวนการแข่งขันกีฬาที่เกิดขึ้นที่ PyeongChang 2018

นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ RHBs สามารถสร้างคลิปย่อย ๆ จากไลฟ์เซสชันบน Content+ ได้ โดยอนุญาตให้สามารถทำการเริ่มตัดต่อในขณะที่การสตรีมสดกำลังออกอากาศ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการทำงานจากระยะไกลในการจัดการกับเนื้อหาจำนวนมาก พร้อมทั้งทำการผลิตคลิปสำหรับการเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย OBS จะใช้วิธีการตัดต่อข้อมูลบนคลาวด์เพื่อเพิ่มความเร็วของการจัดการเผยแพร่ข้อมูลด้วยทีมบรรณาธิการที่ทำงานจากระยะไกลเป็นครั้งแรก

ด้วยแรงผลักดันจากการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของการต้องทำงานจากระยะไกลโดยใช้บริการบนคลาวด์ และจากผลกระทบของการแพร่ระบาดทั่วโลกนี้ ขนาดของทีมงานที่ทำการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวจึงลดลงอย่างมาก  ทั้งนี้จำนวนบุคลากรทำหน้าที่กระจายภาพและเสียง ณ หน้างานที่ปักกิ่งเกมส์ 2022 ลดลงเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว PyeongChang 2018

ชมวิดีโอเกี่ยวกับ OBS Cloud ได้ที่นี่ https://www.alizila.com/media-resource/b-roll-handout-olympic-broadcasting-services-on-the-cloud-at-beijing-2022/  และวิดีโอเกี่ยวกับ Camera Replay System ได้ที่นี่ https://www.alizila.com/media-resource/b-roll-handout-alibaba-cloud-multi-camera-replay-system-at-beijing-2022/

เทรนด์ยอดนิยมที่ขับเคลื่อนการใช้คลาวด์ในปัจจุบัน

เทรนด์ยอดนิยมที่ขับเคลื่อนการใช้คลาวด์ในปัจจุบัน

เทรนด์ยอดนิยมที่ขับเคลื่อนการใช้คลาวด์ในปัจจุบัน

ฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ทุกองค์กรไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต่างตระหนักดีถึงความสำคัญของการใช้คลาวด์ และยอมรับว่าการย้ายโซลูชันภายในองค์กรไปยังคลาวด์จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานต่าง ๆ มากมาย ต่างไปจากยุคแรก ๆ ของการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งมาก ช่วงนั้นอาจเป็นเพราะธุรกิจยังไม่คุ้นเคยกับคลาวด์ ทั้งยังกังวลเรื่องความปลอดภัย การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการสูญเสียโซลูชันในองค์กรที่ปรับแต่งไว้มากมาย  ปัจจุบันบริษัทให้บริการเทคโนโลยีคลาวด์ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มคลาวด์ และแสดงให้เห็นถึงการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ความสามารถที่แข็งแกร่ง และความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งล้วนช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ เปลี่ยนมาใช้งานคลาวด์มากกว่าที่เคยเป็นมา

เปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ

ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจโดยใช้ระบบคลาวด์เป็นรากฐานที่สำคัญของการปรับปรุงธุรกิจให้ทันสมัย  สำหรับองค์กรธุรกิจที่ยังตัดสินใจไม่ได้ ลองมาพิจารณาเทรนด์สำคัญบางประการที่จะแสดงให้เห็นว่า การย้ายไปยังระบบคลาวด์ไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตอีกด้วย 

    1. ความจำเป็นในการขจัดข้อมูลแยกส่วน และให้ทุกฝ่ายตัดสินใจโดยใช้มาตรฐานเดียวกัน

ข้อมูลของโซลูชันภายในองค์กรมักถูกจัดเก็บเป็นแบบแยกส่วน และให้ข้อมูลเชิงลึกเพียงเล็กน้อยแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจที่สำคัญ ทำให้ผู้บริหาร พนักงาน และคู่ค้าไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้โดยตรง  ในทางกลับกัน โซลูชันคลาวด์จะจัดเก็บข้อมูลรวมศูนย์ไว้ในคลาวด์ สร้างระบบบันทึกหนึ่งเดียวสำหรับการใช้งานขององค์กร โดยมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเข้าถึงได้จากทุกที่ทั่วโลก ระบบคลาวด์ช่วยให้มีการนำข้อมูลที่ถูกต้องไปใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำในเวลาและบริบทที่เหมาะสม  ส่งผลให้องค์กรตัดสินใจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและลดความเสี่ยงในการดำเนินงานอีกด้วย

    1. ความสามารถที่ออกแบบมาเฉพาะให้กับแต่ละอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ต้องมี ไม่ใช่ “มีก็ดี” อีกต่อไป

ธุรกิจต้องการให้โซลูชันทางธุรกิจของตนมีความสามารถที่ออกแบบมาเฉพาะเหมาะกับประเภทของอุตสาหกรรมนั้นๆ เพื่อให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า  ผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำจะกำหนดค่าคุณสมบัติเฉพาะสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมไว้ล่วงหน้าในโซลูชันของตน เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจต่าง ๆ จะมีฟังก์ชันเฉพาะที่ตนต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องมีการปรับแก้ไขที่ซับซ้อนใด ๆ ทำให้การดำเนินธุรกิจขององค์กรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และให้รากฐานที่มั่นคงสำหรับความสำเร็จในระยะยาว

    1. พนักงานในปัจจุบันล้วนต้องการได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ทันสมัย

เมื่อคนดิจิทัลยุคใหม่เข้าสู่โลกแห่งการทำงาน พวกเขาต้องการเทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย และรองรับการใช้งานตามแบบที่ชอบ  ซึ่งโดยปกติแล้วจะหมายถึงซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะและให้ความรู้สึกเหมือนกับแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ และโซเชียลแพลตฟอร์มที่พวกเขาใช้ในชีวิตประจำวัน และที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและการทำงานร่วมกันได้ในทันที  ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เทคโนโลยีคลาวด์จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ลูกค้า พันธมิตร และซัพพลายเออร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศทางธุรกิจทั้งหมด

    1. การปรับใช้ไฮบริดคลาวด์จะเป็นศูนย์กลางการทำงานเพราะการผสานรวมดีขึ้น

ธุรกิจต่าง ๆ กำลังมองหาโซลูชันที่ให้โอกาสในการเลือกพร้อมประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อที่จะสามารถใส่ใจไปกับสิ่งที่ทำให้พวกเขาแตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างแท้จริง  การเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์ทำให้ธุรกิจมีทางเลือกในการใช้งานที่หลากหลาย  ในความเป็นจริงองค์กรในปัจจุบันจำนวนมากก็มีองค์ประกอบระบบคลาวด์ที่เชื่อมโยงกับชุดโซลูชันหลักภายในองค์กรอยู่แล้ว  ปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปจะเปลี่ยนจากแนวทางการใช้งานแบบไฮบริด ไปเป็นการใช้งานคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ  โดยที่เทคโนโลยีสำหรับการผสานรวมยังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านความสะดวกในการใช้งาน เวลาในการติดตั้งเพื่อใช้งาน และต้นทุนรวม (TCO)

    1. ไว้วางใจพันธมิตรระบบคลาวด์เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตแทรกซึมอยู่ในแทบทุกอุตสาหกรรม ดังนั้น จึงสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้มั่นใจว่า ระบบและแพลตฟอร์มขององค์กรได้รับการปกป้องทางการเงิน  การละเมิดข้อมูลหรือการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตทำให้ธุรกิจต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยถึง 3.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเกิดช่องโหว่มากมายที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตี  พันธมิตรระบบคลาวด์ชั้นนำของอุตสาหกรรมมีทรัพยากรสำหรับรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์พร้อมใช้งาน มากกว่าที่องค์กรส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะสามารถหามาใช้ได้เอง  ดังนั้น องค์กรจึงสามารถส่งมอบหน้าที่การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และค่าใช้จ่ายที่มีนัยสำคัญเหล่านี้ให้กับพันธมิตรระบบคลาวด์ที่มีความรับผิดชอบได้อย่างวางใจ ด้วยการย้ายระบบและแพลตฟอร์มธุรกิจของตนไปยังระบบคลาวด์

ภัยคุกคามทางไซเบอร์

6. ผลักดันให้เกิดรายได้หลังการขาย ทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจแบบ subscription-based

ในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจต่าง ๆ กำลังมองหาวิธีสร้างความแตกต่าง ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า เพิ่มความสามารถในการทำกำไร ด้วยการเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้หลังการขาย  โซลูชันบนคลาวด์สามารถให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่เข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา ทำให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนข้อเสนอด้านผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมไปเป็นรูปแบบของการให้บริการแทน อย่างเช่น โมเดลธุรกิจแบบ subscription-based เป็นต้น  ฟีเจอร์ที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางเช่นนี้สามารถกลายเป็นตัวสร้างความแตกต่าง เพิ่มมูลค่าให้กับบริการ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ป้องกันไม่ให้สินค้าและบริการเกิดความซ้ำซ้อน รวมถึงเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจ  การใช้โมเดลธุรกิจแบบ subscription-based จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ด้านรายได้ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามปกติตามระยะเวลาที่ลูกค้าสมัครใช้งาน  ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยให้องค์กรเพิ่มการมุ่งเน้นที่ประสบการณ์ของลูกค้า ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผลกำไรของธุรกิจด้วย

ใช้ประโยชน์จากดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน

ธุรกิจจำเป็นต้องเปิดรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเพื่อให้ทันกับยุคสมัย เพื่อทำให้ธุรกิจคล่องตัวมากขึ้น และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและตลาดที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เช่น การขจัดการแยกส่วนของข้อมูลจะช่วยให้องค์กรทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น มีข้อมูลที่ถูกต้องและอัปเดตตลอดเวลา เพื่อช่วยในการตัดสินใจ  ฟังก์ชันที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของตนได้  รวมถึงประสบการณ์ผู้ใช้ทันสมัยและการใช้งานง่ายจะยิ่งช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โซลูชันธุรกิจที่ใช้งานบนระบบคลาวด์เป็นกุญแจสำคัญสำหรับองค์กรในการปรับวิธีดำเนินธุรกิจให้ทันสมัย  ทว่าการโยกย้ายงานไปยังระบบคลาวด์ก็เป็นสิ่งที่สามารถปรับตามความเหมาะสมได้  การใช้งานแบบไฮบริดช่วยให้องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี นำมาปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจได้ ในขณะเดียวกันก็ยังอาศัยระบบเดิมที่มีอยู่ได้เพื่อใช้ฟังก์ชันการทำงานสำคัญที่อาจยังไม่พร้อมย้ายไปยังระบบคลาวด์  ไม่ว่าระบบธุรกิจขององค์กรจะอยู่ในคลาวด์ทั้งหมดหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด แต่ความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของระบบคลาวด์นั้นก็นับว่าแข็งแกร่ง และสามารถพัฒนาได้เร็วกว่าการใช้งานที่อยู่ในระบบขององค์กร  และวิธีดำเนินการในแนวใหม่นี้ก็จะทำให้มีโอกาสในการสร้างรายได้และโมเดลธุรกิจใหม่แบบขึ้น เช่น บริการ subscription-based เป็นต้น

คลาวด์คอมพิวติ้งได้พัฒนาไปไกลมาก  ยิ่งธุรกิจรอใช้โซลูชันบนระบบคลาวด์นานไปเท่าใด การแข่งขันที่ต้องอาศัยประโยชน์จากคลาวด์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าก็ยิ่งต้องใช้เวลามากขึ้นเท่านั้น  (หากธุรกิจต้องการประสบความสำเร็จ) อย่ายอมที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

หลากหลายหนทางสู่ระบบคลาวด์

เมื่อองค์กรกำหนดกลยุทธ์ย้ายการดำเนินงานไปสู่ระบบคลาวด์ ขั้นตอนแรกที่สำคัญ คือ การพิจารณาลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจองค์กร  เลือกเส้นทางสู่คลาวด์ที่จะขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าได้สูงสุด
โดยมุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์หนึ่งในสามข้อนี้

ฟังก์ชันหลักของธุรกิจ 

การย้ายฟังก์ชันสำคัญทางธุรกิจไปยังระบบคลาวด์ เช่น การวางแผนจัดการทรัพยากรองค์กร (ERP) หรือการบริหารจัดการด้านการเงิน สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีนัยสำคัญ เพียงแต่ต้องใช้เวลาสักระยะ
ถึงจะเห็นผลตอบแทนเหล่านั้น

กระบวนการทางธุรกิจให้แคบ

หนึ่งในวิธีสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงกับผลตอบแทนจากการลงทุน คือ การมุ่งเน้นไปที่กระบวนการทางธุรกิจที่แคบ ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบกับเฉพาะบางทีมภายในองค์กรเท่านั้น  บ่อยครั้งที่โซลูชัน “เอดจ์” เหล่านี้มักทำให้ธุรกิจได้ประโยชน์ต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มทรัพยากรสำหรับโครงการขนาดใหญ่

วัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

การย้ายข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ช่วยให้ธุรกิจรวบรวมข้อมูลจากทั่วองค์กรและขจัดการเก็บข้อมูลแบบ
แยกส่วนได้  ซึ่งสิ่งนี้ช่วยทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ที่สามารถตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญได้ตลอดเวลา เพื่อช่วยให้ทีมงานทั้งรายบุคคลและทั้งทีมทำงานได้ดีขึ้น 

 

จับตา “เศรษฐกิจ-เงินเฟ้อ” สกัดการเติบโตอสังหาฯ รายงานดัชนีตลาดอสังหาฯ ชี้เทรนด์เช่ามาแรง

กมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้

จับตา “เศรษฐกิจ-เงินเฟ้อ” สกัดการเติบโตอสังหาฯ รายงานดัชนีตลาดอสังหาฯ ชี้เทรนด์เช่ามาแรง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปี 2565 ยังมีทิศทางชะลอตัวตามภาพรวมเศรษฐกิจ ผนวกกับสัญญาณเตือนเงินเฟ้อตั้งแต่ต้นปี ส่งผลให้ผู้บริโภครัดเข็มขัดและระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สวนทางดัชนีอุปทานที่ยังคงเติบโต จำนวนบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นมากที่สุด หลังจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มีสินค้าแนวราบอยู่ในมือนำออกมาขายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ด้านผู้พัฒนาอสังหาฯ วางแผนเปิดตัวโครงการใหม่เพื่อรุกตลาดปี 2565 อย่างคึกคัก แม้อัตราการดูดซับสินค้ายังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่ไร้สัญญาณฟองสบู่อสังหาฯ คาดมาตรการจากภาครัฐจะเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภค ผลักดันให้การซื้อขายที่อยู่อาศัยปีนี้กลับมาคึกคัก มองยังเป็นช่วงโอกาสทองโค้งสุดท้ายของผู้ซื้อที่มีความพร้อมทางการเงินในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในราคาคุ้มค่า หลังผู้ประกอบการส่งสัญญาณปรับขึ้นราคาในปีนี้

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense ฉบับล่าสุด เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 84 จุด หรือลดลง 1% จากไตรมาสก่อน หลังจากผู้ประกอบการยังคงแข่งขันนำเสนอโปรโมชั่นที่คุ้มค่าเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ ด้านที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคได้มากกว่า เห็นได้จากความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นถึง 5% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นถึง 13% จากปีก่อนหน้า ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อน ทรงตัวจากปีก่อนหน้า สวนทางกับคอนโดมิเนียมที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากเทรนด์การอยู่อาศัยปัจจุบันที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจโครงการแนวราบมากกว่า ผนวกกับการที่นักลงทุนและชาวต่างชาติหายไปจากตลาดเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ดัชนีราคาคอนโดมิเนียมลดลง 1% จากไตรมาสก่อน และลดลงถึง 10% ในรอบปีเลยทีเดียว

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “แม้การเริ่มต้นศักราชใหม่ในปี 2565 นี้อาจไม่ได้สดใสตามที่หลายฝ่ายคาดไว้ ทั้งจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวและสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภคมายาวนาน นอกจากนี้ยังมีภาวะเงินเฟ้อที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยว่า อัตราเงินเฟ้อล่าสุด ณ เดือนมกราคมปรับเพิ่มมาที่ 3.23% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์เดิมที่ 1.7% ส่งผลกระทบกับผู้บริโภคโดยตรงทั้งในฝั่งของค่าครองชีพและภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยหรือใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น”

“ทั้งนี้มีความเคลื่อนไหวจากผู้พัฒนาอสังหาฯ ที่เปิดตัวแผนธุรกิจรุกตลาดในปีนี้อย่างต่อเนื่อง คาดว่าโปรโมชั่นการตลาดต่าง ๆ จะช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคักอีกครั้ง ประกอบกับมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐที่เอื้อต่อการซื้อบ้าน อาทิ การลดค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ชั่วคราวของ ธปท. ถือเป็นปัจจัยบวกช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น และยังเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อที่มีความพร้อมในช่วงนี้ เพราะราคาที่อยู่อาศัยมีความเหมาะสมและคุ้มค่า ก่อนที่โครงการใหม่จะเริ่มเข้าสู่ตลาดและมีการปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนปัจจุบัน” นางกมลภัทรกล่าวเพิ่มเติม 

“อย่างไรก็ดี แม้ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และคาดว่าจะยังคงไม่เพิ่มขึ้นในไตรมาสถัดไป โดยทิศทางอสังหาฯ ไทยต่อจากนี้จะเป็นการเติบโตตามสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งยังต้องเฝ้าระวังภาวะเงินเฟ้อจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโดยตรง” นางกมลภัทรกล่าวสรุป

เกาะติดทิศทางอสังหาฯ ปี 65 “เทรนด์เช่า-ซื้อ” ยังโตได้มากน้อยแค่ไหน

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense ฉบับล่าสุดเผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดอสังหาฯ ไทยในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 พร้อมอัปเดตความเคลื่อนไหวของเทรนด์ที่อยู่อาศัยทั้งเช่าและซื้อของผู้บริโภคชาวไทยที่น่าจับตามอง 

เทรนด์เช่ายังไม่แผ่ว ความต้องการพุ่งกว่า 22%
    • เทรนด์เช่ายังไม่แผ่ว ความต้องการพุ่งกว่า 22% เทรนด์การเช่าที่อยู่อาศัยยังคงตอบโจทย์สถานะการเงินของผู้บริโภคยุคนี้ เห็นได้จากดัชนีค่าเช่าที่มีแนวโน้มลดลงซึ่งเอื้อต่อการเช่าในอัตราค่าเช่าที่ถูกลงตามกำลังซื้อผู้บริโภค รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense พบว่า ดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 90 จุด จาก 93 จุด หรือลดลง 3% จากไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่ไม่มีการแพร่ระบาดฯ พบว่าลดลงถึง 13% โดยดัชนีค่าเช่าคอนโดมิเนียมลดลงมากที่สุด 2% จากไตรมาสก่อน เป็นผลกระทบจากการล็อกดาวน์ที่ทำให้ผู้เช่าชาวไทยและต่างชาติหายไปจากตลาดเป็นเวลานาน ผู้ให้เช่าจึงต้องปรับลดราคาเพื่อกระตุ้นการตัดสินเช่ากับกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่แทน สวนทางกับดัชนีค่าเช่าบ้านเดี่ยวที่เพิ่มขึ้นถึง 6% ส่วนดัชนีค่าเช่าทาวน์เฮ้าส์ยังคงทรงตัวจากไตรมาสก่อน สอดคล้องกับเทรนด์การหาที่อยู่อาศัยทั้งซื้อและเช่าที่แนวราบยังคงตอบโจทย์มากกว่า อย่างไรก็ตาม ตลาดเช่าทุกรูปแบบยังคงมีทิศทางเติบโต เห็นได้ชัดจากความต้องการเช่าในไตรมาสนี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 22% โดยคอนโดมิเนียมครองใจผู้เช่ามาเป็นอันดับ 1 ด้วยความต้องการเช่าที่เพิ่มสูงถึง 26% จากไตรมาสก่อน ตามมาด้วยบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 13% และ 10% ตามลำดับ


      สวนทางกับจำนวนอุปทานอสังหาฯ สำหรับเช่าปรับตัวลดลงอย่างมากถึง 24% จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้น 47% จากปีก่อนหน้า โดยปรับตัวลดลงทุกรูปแบบที่อยู่อาศัยจากไตรมาสก่อน ทั้งคอนโดมิเนียมที่ลดลง 24% (เพิ่มขึ้น 48% จากปีก่อนหน้า) บ้านเดี่ยวลดลง 27% (เพิ่มขึ้น 18% จากปีก่อนหน้า) ทาวน์เฮ้าส์ ลดลง 15% (เพิ่มขึ้น 46% จากปีก่อนหน้า) สะท้อนให้เห็นว่า ยังเป็นโอกาสที่ดีของผู้ที่มีอสังหาฯ ในมือที่จะนำออกมาปล่อยเช่าเพื่อรองรับความต้องการในตลาดช่วงนี้แทนการประกาศขาย ซึ่งถือว่ายังไม่ใช่ช่วงเวลาในการทำกำไรจากการขายได้ดีมากนัก

อุปทานโตต่อเนื่อง โอกาสทองที่ยังรอผู้ซื้อ
    • อุปทานโตต่อเนื่อง โอกาสทองที่ยังรอผู้ซื้อ ปี 2565 เริ่มเห็นสัญญาณของผู้ประกอบการในการเปิดตัวโครงการใหม่หลังจากชะลอในช่วงปี 2564 โดยภาพรวมดัชนีอุปทานหรือจำนวนที่อยู่อาศัยในตลาดยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 229 จุด จาก 223 จุด หรือเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อน โดยที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยว มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 7% จากไตรมาสก่อน หรือ 42% จากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มีสินค้าแนวราบอยู่ในมือได้นำออกมาขายมากขึ้น เพื่อรองรับเทรนด์ความต้องการของผู้ซื้อกลุ่ม Real Demand ตามมาด้วยคอนโดมิเนียมที่แม้โตไม่หวือหวาแต่ยังมีดีมานด์ในตลาด ยังคงเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อน หรือ 21% จากปีก่อนหน้า ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์ทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยเพิ่มขึ้น 32% จากปีก่อนหน้า ถือว่าอุปทานในตลาดตอนนี้มีจำนวนเพียงพอที่จะรองรับความต้องการซื้อของผู้บริโภค ตอบสนองกับมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในปีนี้ แม้อัตราการดูดซับสินค้าในตลาดซื้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่เป็นผลดีที่ผู้บริโภคจะมีตัวเลือกมากขึ้น และเป็นโอกาสทองโค้งสุดท้ายของผู้ซื้อและนักลงทุนระยะยาวที่มีความพร้อมในการครอบครองที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้ ก่อนที่ราคาขายของที่อยู่อาศัยในโครงการใหม่ ๆ จะทยอยปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกของตลาดในอนาคต
       
    • รถไฟฟ้าหัวใจสำคัญ ดันคนหาบ้านชานเมือง เทรนด์การค้นหาที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคยังคงมุ่งเน้นไปแถบชานเมืองที่เดินทางสะดวกเป็นหลัก เห็นได้จาก 5 อันดับทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบไตรมาสนี้จะอยู่ในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ทั้งที่เปิดให้บริการแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-หลักสองที่พาดผ่านส่งผลให้เขตบางแคมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงที่สุดถึง 9% จากไตรมาสก่อน ส่วนเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน ในขณะที่พื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกอย่างเขตตลิ่งชันที่มีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน พาดผ่าน มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน ด้านเขตมีนบุรีมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน หลังได้อานิสงส์จากรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งมีแผนเปิดให้บริการในปี 2567 นอกจากนี้ อีกหนึ่งทำเลกรุงเทพฯ รอบนอกอย่างเขตบางขุนเทียน แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีรถไฟฟ้าพาดผ่าน แต่ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นทำเลชานเมืองที่น่าจับตามองและที่มีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจในอนาคต จากการที่มีชุมชนขนาดใหญ่ ใกล้แหล่งงาน และสถานศึกษาชั้นนำ