การใช้แนวทางแบบ Multi-Enterprise ปลดล็อกประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีบล็อกเชน

การใช้แนวทางแบบ Multi-Enterprise ปลดล็อกประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีบล็อกเชน

การใช้แนวทางแบบ Multi-Enterprise ปลดล็อกประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีบล็อกเชน

ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะได้รับประโยชน์อย่างมากในการประกันคุณภาพ ความปลอดภัย และอายุการเก็บรักษา เมื่อใช้บล็อกเชนร่วมกับโซลูชัน ERP แบบ multi-enterprise ที่ทันสมัยบนระบบคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่อสู้มาอย่างยาวนาน กับข้อกำหนดเฉพาะในการจัดการอายุการเก็บรักษา, ความซับซ้อนในการจัดตารางการผลิต ตลอดจนการตรวจสอบย้อนกลับและปัจจัยอื่น ๆ มากมาย นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวของโควิด-19 รวมถึงอัตราภาษี, มาตรการด้านความยั่งยืน และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น แน่นอนว่ายิ่งทวีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นไปอีก ปัญหาและแนวโน้มมากมายเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบไปทั่วระบบซัพพลายเชน ตั้งแต่การจัดซื้อ การผลิต ตลอดไปจนถึงการส่งมอบสินค้า

เมื่อบริษัทอาหารและเครื่องดื่มต้องการสร้างรากฐานให้ดีขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เราพบว่ามีเทคโนโลยีและโซลูชันมากมายให้เลือกพิจารณา โดยบล็อกเชนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ทุกวันนี้ บริษัทต่าง ๆ กำลังใช้ประโยชน์จากบล็อกเชนในการตรวจสอบและติดตามสินค้า เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้นทั่วทั้งระบบซัพพลายเชน สำหรับผู้บริโภค บล็อกเชนเป็นวิธีใหม่ที่ทำให้ผู้คนสามารถติดตาม “เส้นทาง” ของอาหารจากแหล่งกำเนิดไปจนถึงมือผู้บริโภค

แม้ว่าบล็อกเชนจะมีศักยภาพพร้อมในการส่งมอบประโยชน์ และนวัตกรรม และสร้างสรรค์ให้กับทั้งธุรกิจและผู้บริโภคก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าบล็อกเชนไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาแบบครอบจักรวาล แต่หากนำฟังก์ชันการทำงานไปใช้ร่วมกับโซลูชันการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) ที่ทันสมัย และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise ที่เชื่อมธุรกิจภายในซัพพลายเชนเดียวกันทั้งหมดเข้าด้วยกันบนระบบคลาวด์ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ที่กำลังพยายามรับรองคุณภาพ ความปลอดภัย และอายุการเก็บรักษาของส่วนผสมและผลิตภัณฑ์ที่จัดส่งให้กับผู้บริโภค

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทยระบุว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผู้บริโภคต่างทวีความต้องการด้านการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของอาหารและเครื่องดื่ม (Food Traceability) เพิ่มขึ้น และกลายเป็นโจทย์ใหญ่ของธุรกิจอาหารไทยในอนาคตอันใกล้  โดยมีการประเมินว่า ความท้าทายดังกล่าวจะมาในรูปแบบของมาตรฐานและกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ที่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคทางการค้าสำหรับผู้ส่งออกไทยในระยะข้างหน้า เช่น นโยบาย Farm to Fork ของสหภาพยุโรปที่ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตจากฟาร์มไปจนถึงมือผู้บริโภค ที่จะต้องมีการพัฒนาระบบการผลิตและขนส่งอาหารที่มีความโปร่งใส ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอาหาร โดยการบังคับติดฉลากเพื่อแสดงข้อมูลสินค้า เช่น โภชนาการ แหล่งที่มา ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ หรือมาตรฐานเพิ่มเติมของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกาที่จะทำให้การตรวจสอบย้อนกลับของแหล่งที่มาอาหารจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเอกสารมาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น 

ก้าวไปอีกขั้นกับบล็อกเชน

จากมุมของผู้ผลิต ที่ผ่านมาการแบ่งปันและติดตามข้อมูลจากซัพพลายเออร์และเกษตรกร รวมถึงการให้ข้อมูลด้านความยั่งยืนและแหล่งกำเนิดของอาหารที่สำคัญ ไม่เคยมีความสำคัญกับผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคขนาดนี้มาก่อน

ทุกวันนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังช่วยตอบสนองความต้องการที่สำคัญนี้ โดยบล็อกเชนจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า เมื่อมีการบันทึกข้อมูลแบบรวมศูนย์หรือกระจายศูนย์แล้ว ก็จะไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขได้อีก สำหรับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม คุณลักษณะเช่นนี้สำคัญต่อผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค เพราะเป็นการให้ข้อมูลแหล่งที่มาของอาหารที่น่าเชื่อถือที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ข้อมูลที่บันทึกลงในบัญชีแยกประเภทของบล็อกเชน จะสามารถขจัดโอกาสที่จะนำส่วนผสมที่ไม่ใช่ออร์แกนิกมาแสดงไว้ในผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกในภายหลัง หรือเมื่อมีการอัปโหลดข้อมูลในระบบซัพพลายเชน อาจเกิดสถานการณ์ที่ข้อมูลอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยเจตนาได้ ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว เช่น การขายเนื้อม้าแต่กลับระบุว่าเป็นเนื้อวัว เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย รายงานจากศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทยได้ระบุว่า กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารของไทยที่ต้องเร่งดำเนินการเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับอย่างจริงจังมี 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ สินค้าปศุสัตว์ ประมง อาหารสัตว์ ตลอดจนสินค้าผักและผลไม้ โดยสินค้าเหล่านี้มักถูกจับตาในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้า และยังเป็นกลุ่มสินค้าที่ต้องพึ่งพาตลาดสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่ให้ความสำคัญกับระบบการตรวจสอบย้อนกลับอาหารค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ในระยะหลังคู่ค้าสำคัญอย่างจีนก็เข้มงวดในมาตรการด้านสุขอนามัยในสินค้ากลุ่มนี้มากขึ้น  ทั้งนี้สินค้า 4 กลุ่มหลักมีมูลค่าการส่งออกรวมกันถึง 159,000 ล้านบาทต่อปี หรือ 16% ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยซึ่งอยู่ที่กว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี

และนี่คือจุดที่เรานำเทคโนโลยีบล็อกเชนก้าวขึ้นไปอีกขั้น เครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise และโซลูชัน ERP ที่ทันสมัย ให้ความสามารถกับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม ในการปฏิสัมพันธ์แบบไดนามิกที่จำเป็นกับหลากหลายบริษัท เพื่อนำประโยชน์จากข้อมูลและการดำเนินธุรกิจในแต่ละวันมาใช้งาน  ซึ่งความสามารถเหล่านี้รวมถึงการวางแผนข้ามองค์กร การดำเนินการจากหลายบริษัท ตลอดจนการแก้ปัญหาที่คาดการณ์ไว้ร่วมกันโดยอัตโนมัติในระบบซัพพลายเชนที่ขยายตัวออกไป

โซลูชัน ERP สมัยใหม่และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise น้้นสำคัญอย่างยิ่ง ในการรับประกันว่าข้อมูลที่ถูกต้องจะบันทึกไว้ในบล็อกเชนตั้งแต่แรกเริ่ม นอกจากนี้ โซลูชัน ERP และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise ยังช่วยให้มั่นใจว่า ข้อมูลที่จัดเก็บในบล็อกเชนสามารถนำไปใช้สร้างมูลค่าข้ามสายงานได้ทั่วทั้งระบบซัพพลายเชนขององค์กร อนึ่ง สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ บล็อกเชน โซลูชัน ERP และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise ไม่ใช่คู่แข่งกัน  ในทางกลับกันเทคโนโลยีและโซลูชันทั้งหมดต่างส่งเสริมซึ่งกันและกันมากกว่า ช่วยให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มปรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และส่งมอบผลิตภัณฑ์สุดพิเศษให้กับลูกค้าและผู้บริโภคปลายทาง

ก้าวการเติบโตของบล็อกเชนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

การที่ธุรกิจใช้ประโยชน์จากบล็อกเชนเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในระบบซัพพลายเชน ทำให้การปรับใช้เทคโนโลยีนี้ยังคงเติบโต และได้รับความสนใจจากองค์กรต่าง ๆ ที่กำลังมองหาวิธีที่ปลอดภัยในการตรวจสอบและติดตามข้อมูลซัพพลายเชน สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม บล็อกเชนยังคงเติบโตและทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในเรื่องอาหารที่ความปลอดภัยเป็นเรื่องจำเป็น เช่น เนื้อสัตว์และปลา เป็นต้น

ปัจจุบันนี้ ประเทศต่าง ๆ จำนวนมากขึ้นกำลังเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กลายเป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ส่วนกรณีการใช้งานสำคัญอื่น ๆ ก็เริ่มเห็นได้ชัดสำหรับบล็อกเชน  ขณะนี้องค์กรและหน่วยงานทั่วโลกกำลังมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เทคโนโลยีก้าวต่อไป โดยองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้บล็อกเชนเป็นหลักก็กำลังช่วยกันกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบของข้อมูลที่ควรรวมไว้ในบล็อกเชน

หนทางสู่อนาคต

เป็นที่ชัดเจนว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นวิธีสำคัญสำหรับองค์กรในการปกป้องความถูกต้องของข้อมูลอย่างไรก็ตาม สำหรับองค์กรที่ตระหนักถึงคุณประโยชน์สูงสุดที่จะได้จากเทคโนโลยีในระบบซัพพลายเชน โดยโซลูชัน ERP ที่ทันสมัยบนแพลตฟอร์มคลาวด์แบบเครือข่ายร่วมด้วย จะสามารถใช้วิธีแบบองค์รวมสำหรับองค์กรเพื่อใช้งานข้อมูลที่เก็บไว้ในบล็อกเชน  

แนวทางแบบองค์รวมนี้เป็นแนวทางสำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม จะสามารถสร้างซัพพลายเชนด้านอาหารที่โปร่งใสมากขึ้น ปกป้องแบรนด์ และเหนือสิ่งอื่นใด คือ ช่วยลดปริมาณของเสียให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อส่งเสริมแนวคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนของวันนี้และในอนาคตต่อไป

เร้ดแฮทแนะนำความสามารถใหม่ Cross-Portfolio Edge Capabilities

เร้ดแฮทแนะนำความสามารถใหม่ Cross-Portfolio Edge Capabilities

เร้ดแฮทแนะนำความสามารถใหม่ Cross-Portfolio Edge Capabilities

เปิดฟีเจอร์ใหม่และรูปแบบการทำงานสำหรับเทคโนโลยีโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ของเร้ดแฮทเน้นการใช้เอดจ์ข้ามอุตสาหกรรมที่ปรับขนาดและจัดการได้ พร้อมการควบคุมความปลอดภัยที่แข็งแกร่งขึ้น

เร้ดแฮท อิงค์ (Red Hat)ผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก ประกาศเปิดตัวความสามารถใหม่และการเพิ่มประสิทธิภาพใหม่ให้กับพอร์ตโฟลิโอโซลูชันด้านโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ทั้งหมด ณ งาน RedHat Summit โดยตั้งเป้าเร่งการนำสถาปัตยกรรมการประมวลผล ณ จุดเข้าออกของข้อมูล (edge) มาใช้ในธุรกิจผ่าน Red Hat Edge initiativeทั้งนี้ชุดฟีเจอร์ และความสามารถ cross-portfolio edge ชุดใหม่นี้จะเน้นช่วยลูกค้าและพันธมิตรให้ใช้ edge computing ได้ดียิ่งขึ้นโดยมีความซับซ้อนลดลงนำไปใช้งานได้เร็วขึ้น เพิ่มความสามารถด้านความปลอดภัย และเพิ่มความมั่นใจในการจัดการระบบต่าง ๆ ได้อย่างเสถียร ตั้งแต่ระบบที่อยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ไปจนถึง edge

Red Hat Edge แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันของเร้ดแฮทในการขับเคลื่อน edge computing บนโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ทั้งหมด โครงการนี้ครอบคลุมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมากมาย โดยใช้ Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShif ที่มีรากฐานและโครงสร้างร่วมกันในสภาพแวดล้อม เอดจ์ ที่หลากหลาย  Red Hat Ansible Automation Platform เพิ่มความสามารถด้านระบบอัตโนมัติเพื่อขยายการใช้งาน edge ในขณะที่ Red Hat Advanced Cluster Management for Kubernetes ส่งมอบการจัดการระดับคลาวด์ด้วย edge storage ที่ขับเคลื่อนโดย Red Hat OpenShift Data Foundation

โครงสร้างพื้นฐานเอดจ์ที่ชาญฉลาดและคล่องตัว

Red Hat OpenShift ยังคงมุ่งเน้นในการช่วยนำแอปพลิเคชันไปไว้ให้ใกล้ผู้ใช้และข้อมูลที่ edge มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปรับปรุงความสามารถในการจัดการได้ตามต้องการ ทั้งนี้ zero-touch provisioning for Red Hat OpenShift 4.10 ช่วยให้การจัดเตรียมที่ edge เป็นอัตโนมัติและทำซ้ำได้ง่ายขึ้น รวมถึงเวิร์กโฟลว์สำหรับผู้รับผลิตสินค้า (OEMs) เมื่อ OEMs โหลดคลัสเตอร์ Red Hat OpenShift แบบย้ายได้ล่วงหน้าบนฮาร์ดแวร์ที่ต้องการได้แล้ว ลูกค้าก็จะสามารถรับคลัสเตอร์ OpenShift ที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้าเพื่อการทำงานที่เต็มสมรรถนะ

ลูกค้าสามารถใช้ Red Hat OpenShift ที่กำหนดค่าไว้ล่วงหน้า เพื่อส่งมอบโครงข่ายอุปกรณ์สถานีฐาน (RAN) สำหรับเครือข่ายมือถือยุคต่อไป ตลอดจนการตรวจจับข้อผิดพลาดของโรงงานผลิต และแอปพลิเคชันแบบ edge computing อื่น ๆ ในจุดที่ได้จัดสรรปันส่วนไปตามที่ต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ช่วยให้กระบวนการซับซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อยในการรวมอุปกรณ์ edge กับแพลตฟอร์มที่มีอยู่ทำได้ง่ายขึ้น และทำให้การดำเนินงานจากทุกสถานที่ทำได้สะดวกขึ้น แม้จะมีพนักงานไอทีจำนวนจำกัดก็ตาม

บริการ Red Hat OpenShift มีความสามารถด้านเอดจ์เพิ่มเติม ดังนี้

    • การจัดการโครงสร้าง edge บน OpenShift โดย Red Hat Advanced Cluster Management รวมถึง single-node OpenShift clusters, โหนดสำหรับผู้ปฏิบัติงานจากทุกสถานที่ และคลัสเตอร์แบบกระทัดรัด 3 โหนด Red Hat Advanced Cluster Management hub cluster เพียงแห่งเดียวสามารถใช้และจัดการ single-node OpenShift clusters ได้ถึง 2,000 โหนด โดยลูกค้าสามารถใช้และจัดการบริการเหล่านี้ที่ edge ได้โดยใช้การจัดเตรียมแบบ zero touch  ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถบังคับใช้นโยบาย ปรับใช้ตามขนาด และดำเนินการแก้ไขอัตโนมัติได้ด้วย Ansible Automation Platform
    • รองรับ single-node OpenShift ด้วย OpenShift Data Foundation 4.10 ในลักษณะเป็นเทคโนโลยีพรีวิว และเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อระยะไกลผ่านระบบเครือข่าย (block storage) ด้วยการจัดเตรียมแบบไดนามิกเพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ตลอดจนเพิ่มความสอดคล้องของข้อมูลและบริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ตามต้องการ

สำหรับทีมไอทีที่ต้องการสร้างสถาปัตยกรรม edge อย่างรวดเร็ว รูปแบบใหม่ของ Red Hat Edge ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจะมีโค้ดที่จำเป็นต่อการสร้าง edge stacks ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนจากแนวคิดไปสู่การพิสูจน์แนวคิดได้เร็วขึ้น รูปแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ ได้แก่

    • Medical Diagnosis ซึ่งใช้ GitOps เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์นำเข้า วิเคราะห์ และดำเนินการตามภาพถ่ายและข้อมูลทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
    • Multicloud GitOps ที่ออกแบบมาอย่างเจาะจงให้กับองค์กรที่ต้องการรันเวิร์กโหลดบนคลัสเตอร์และคลาวด์ประเภทต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ทั้งพับลิคและไพรเวทคลาวด์

พื้นฐานเดียวกันตั้งแต่จุดศูนย์กลางไปจนถึง edge และบนคลาวด์

Red Hat Enterprise Linux 9 เพิ่มความสม่ำเสมอ, ความยืดหยุ่น และนวัตกรรมของแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ให้การใช้ edge โดยสร้างจากบทบาทสำคัญต่อภารกิจที่แพลตฟอร์ม Linux ระดับองค์กรของโลกให้บริการอยู่ เร้ดแฮทเปิดตัวชุดฟีเจอร์ edge management ที่ครบครัน โดยใช้การควบคุมจากส่วนกลางเพื่อกำกับดูแลและขยายการใช้ edge ตลอดจน intelligent roll-back for Podman เพื่อช่วยเพิ่มเวลาทำงานของอุปกรณ์ edge 

เร้ดแฮทเห็นว่าความหลากหลายของฮาร์ดแวร์และทางเลือกของลูกค้า มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโอเพ่นไฮบริดคลาวด์และเอดจ์  และเพื่อเสนอทางเลือกด้านสถาปัตยกรรมพื้นฐานให้กับลูกค้า พันธมิตรใหม่สองรายที่เน้นการใช้เอดจ์เป็นศูนย์กลางจึงได้เข้าร่วมในระบบนิเวศพันธมิตรของเร้ดแฮท ได้แก่

    • OnLogic บริษัทผู้นำระบบที่ได้รับการรับรองจากเร้ดแฮทมาใช้กับอุปกรณ์อุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ไม่มีพัดลม ไปจนถึงคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่ทนทาน ที่มีความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์และแมชชีนเลิร์นนิง (AI/ML)
    • IntelNUCs ที่ได้กลายเป็นเทคโนโลยีมาตรฐานข้ามอุตสาหกรรม โดยโมดูล NUC Element ล่าสุดได้รับการรับรองสำหรับใช้งานใน Red Hat Enterprise Linux 8 และ 9 ทำให้องค์กรที่ใช้ Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift มีตัวเลือกที่ทรงพลังในการใช้งาน edge

ระบบอัตโนมัติที่ปรับขยายได้จากไฮบริดคลาวด์ไปจนถึงเอดจ์

Red Hat Ansible Automation Platform ช่วยแก้ปัญหาด้านการจัดการและระบบอัตโนมัติ ที่จำเป็นต่อการมองเห็นและความสอดคล้องในการใช้ edge ขององค์กร สถาปัตยกรรมที่ปรับใหม่ของ Ansible Automation Platform ถูกออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนในการปรับใช้ระบบอัตโนมัติขนาดใหญ่ในระบบไฮบริดคลาวด์และ edge การเปิดตัว automation mesh ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารระหว่างระบบอัตโนมัติเมื่อเร็ว ๆ นี้ ควบคู่กับการแสดงภาพเสมือนจริงของ automation mesh ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนในการทำงานของระบบอัตโนมัติ ช่วยให้ทีมไอทีปรับขนาดการทำงานอัตโนมัติได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้นในทุกจุดที่ต้องการ พร้อมความสามารถในการขยายสูงสุดเมื่อสภาพแวดล้อมของ edge พัฒนาขึ้น  ช่วยให้ระบบอัตโนมัติเข้าใกล้เวิร์กโฟลว์ของ edge ได้มากขึ้น

คำกล่าวสนับสนุน

ฟรานซิส โจว, รองประธานและผู้จัดการทั่วไป, ระบบปฏิบัติการและเอดจ์ในยานพาหนะ, Red Hat

“เอดจ์คอมพิวติ้งไม่ใช่แนวคิดใหม่สำหรับธุรกิจอีกต่อไป เนื่องจากทีมไอทีและทีมดำเนินงานต้องการย้ายการใช้เอดจ์จากโครงการไปสู่สายการผลิต แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับความท้าทายชุดใหม่ทั้งหมดด้วย  การปรับปรุงโครงการ Red Hat Edge จากการบริหารจัดการเอดจ์ที่ครบครันของ Red Hat Enterprise Linux 9, ความสามารถแบบองค์รวมและปรับขนาดได้ของ Ansible Automation Platform และความสามารถแบบ zero-touch ที่นำไปเชื่อมต่อขึ้นระบบได้ทันทีของทั้ง Red Hat Advanced Cluster Management for Kubernetes และ Red Hat OpenShift  ทั้งหมดนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยเอาชนะอุุปสรรคในการผลิตเหล่านี้ และผลักดันการนำเอดจ์คอมพิวติ้งไปใช้ในวงกว้างทั่วทั้งโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ 

Israel Defense Forces (IDF) lieutenant colonel, head of Edge Cloud Platform R&D, Center of Computing and Information Systems (Mamram), J6 and Cyber Defense Directorate

“เร้ดแฮทมอบการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างผู้คนและผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดการกับความท้าทายทางธุรกิจและเทคโนโลยีของเรา ซึ่งรวมถึงโรดแมปสำหรับเอดจ์คอมพิวติ้ง ด้วยเทคโนโลยีไฮบริดคลาวด์ของเร้ดแฮทที่สนับสนุนความพยายามด้านเอดจ์คอมพิวติ้ง ทำให้ขณะนี้เราสามารถผลักดันแอปพลิเคชันและบริการไปสู่การปรับใช้งานเอดจ์ได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงแทนที่จะเป็นหลายสัปดาห์เหมือนแต่ก่อน
โดยไม่ต้องสูญเสียความเสถียรของแอปพลิเคชันที่สำคัญต่อภารกิจเลย” 

เจฟฟ์ วินเทอร์ริค, DoD chief account technologist, HPE

“HPE มีความร่วมมือมาอย่างยาวนานกับเร้ดแฮท และเรากำลังรอที่จะดำเนินการต่อด้วยการปรับปรุงโซลูชันเอดจ์เพื่อเร่งให้ลูกค้านำไปใช้งาน  ด้วยการรวมระบบ HPE Edgeline Coverged Edge ซึ่งมีขนาดกระทัดรัด ทนทาน และปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เข้ากับความสามารถในการจัดเตรียมแบบ zero-touch ใหม่ของ Red Hat OpenShift ส่งผลให้เราสามารถดำเนินการด้านโซลูชันได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าสามารถเรียกใช้งานและจัดการกับเอดจ์แอปพลิเคชันได้ทั่วเครือข่าย รวมถึงเป็นพลังผลักดันให้กับประสบการณ์เชิงนวัตกรรมที่นำข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วยเอดจ์แบบเรียลไทม์มาใช้งาน”

เดฟ แมคคาร์ธี, รองประธานฝ่ายวิจัย, บริการระบบคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐาน, IDC

“ในขณะที่เอดจ์คอมพิวติ้งยังคงเป็นกระแสหลักในธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ เร้ดแฮทจึงอยู่ในจังหวะที่เหมาสม ที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้จำหน่ายชั้นนำในด้านนี้ จากการสำรวจแนวโน้มผู้ซื้อทั่วโลกของ EdgeView 2022 ของ IDC พบว่า อัตราการปรับใช้เอดจ์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย 74% ของธุรกิจกำลังวางแผนที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านโซลูชันเอดจ์ขึ้นอีกในสองปีข้างหน้า กลยุทธ์ของเร้ดแฮทในการสร้างฟีเจอร์เฉพาะของเอดจ์ลงในกลุ่มเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงการปรับใช้เอดจ์เป็นส่วนเสริมของดาต้าเซ็นเตอร์ ลดความซับซ้อนและคงความเสถียรได้ไม่ว่าโครงสร้างพื้นฐานจะอยู่ที่ใดก็ตาม”

ไมเคิล ไคลเนอร์, รองประธานฝ่ายวิศวกรรมและการจัดการผลิตภัณฑ์, OnLogic

“คลาวด์คอมพิวติ้งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่ออนาคตของโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ เนื่องจากลูกค้าตั้งเป้า
ที่จะปรับใช้กับเวิร์กโหลดต่าง ๆ ให้ใกล้กับผู้ใช้ปลายทางและจุดข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีที่สุด อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ของ OnLogic ที่ผ่านการรับรองสำหรับใช้งานปลายทางบน Red Hat Enterprise Linux 9 จะช่วยให้ลูกค้ามีวิธีที่คล่องตัวมากขึ้นในการขยายขีดความสามารถของไฮบริดคลาวด์ด้วยอุปกรณ์เอดจ์ที่เชื่อถือได้”

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

เปิดตัว ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale Bank ใหม่ล่าสุดของสิงคโปร์

เปิดตัว ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale Bank ใหม่ล่าสุดของสิงคโปร์

เปิดตัว ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale Bank ใหม่ล่าสุดของสิงคโปร์

ลงนามเอ็มโอยูกับ Proxtera เพื่อเพื่อสร้างกรอบโครงสร้างแบบเปิดสำหรับสถาบันการเงินที่เข้าร่วม พร้อมตอบโจทย์ความต้องการด้านสินเชื่อของเอสเอ็มอี ในฐานะธนาคารดิจิทัล Wholesale แห่งแรกที่เข้าร่วมกับ Proxtera ในสิงคโปร์

ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale ที่ดำเนินธุรกิจกับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในสิงคโปร์ และเป็นบริษัทในเครือที่แอนท์กรุ๊ป (Ant Group) ถือครองหุ้นทั้งหมด ได้เปิดตัว (Soft Launch) ในวันนี้ โดยได้รับการรับรองจากธนาคารกลางสิงคโปร์ให้เริ่มธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2565 ธนาคารดิจิทัลแห่งนี้จะมุ่งเน้นการให้บริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ดำเนินงานระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการขยายธุรกิจให้เติบโตในตลาดโลก

โต ซู เหม่ย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ ANEXT Bank ซึ่งมีประสบการณ์ในธุรกิจธนาคารมายาวนานกว่า 20 ปี กล่าวว่า “เราเชื่อว่าถึงเวลาแล้วสำหรับการนำเสนอบริการด้านการเงินยุคใหม่ที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโต  ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โมเดลธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น หรือเป็นโมเดลแบบไฮบริด บริการด้านการเงินก็ต้องมีการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเอสเอ็มอีในการดำเนินงานในรูปแบบดิจิทัล”

“เรามีความพร้อมที่จะดำเนินการตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว โดยอาศัยเทคโนโลยีและความรู้ความเชี่ยวชาญของแอนท์กรุ๊ป รวมไปถึงความมุ่งมั่นของทีมงานในท้องถิ่นที่พร้อมให้บริการแก่ลูกค้าเอสเอ็มอีอย่างเต็มความสามารถ เราปรับใช้แนวทางที่เปิดกว้างสำหรับการทำงานร่วมกัน เพราะเราเชื่อมั่นในความร่วมมือของพันธมิตรภาคธุรกิจและภาครัฐในการจัดหาบริการด้านการเงินที่สะดวก ปลอดภัย และคุ้มค่ามากขึ้นให้แก่เอสเอ็มอี” โต ซู เหม่ย กล่าว

งานเปิดตัวธนาคารในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก โซปเนนดู โมหันตี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายฟินเทคของธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore MAS) โดยเขากล่าวว่า “การเปิดตัวในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญในการพัฒนาธนาคารดิจิทัลของสิงคโปร์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจธนาคารมีความก้าวหน้า และมีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและความสามารถใหม่ ๆ ของธนาคารดิจิทัลจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตให้กับภาคธุรกิจการเงินของสิงคโปร์  ธนาคารกลางฯ คาดหวังว่าธนาคารดิจิทัลจะผนึกกำลังร่วมกับสถาบันการเงินอื่น ๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านการเงินที่มีคุณภาพ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับภาคธุรกิจการเงินของสิงคโปร์เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจเอสเอ็มอีในสิงคโปร์ รวมถึงในภูมิภาคนี้และตลาดใหม่ ๆ”

นอกจากนี้ ANEXT Bank ยังได้ทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) 2 ปี กับ Proxtera ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งโดยธนาคารกลางสิงคโปร์ และหน่วยงาน Infocomm Media Development Authority (IMDA) เพื่อพลิกโฉมการค้าระหว่างประเทศ และทำให้การค้าระหว่างเอสเอ็มอีและหน่วยงานธุรกิจต่าง ๆ สมบูรณ์ผ่านมาร์เก็ตเพลสที่มีประสิทธิภาพทั่วโลก ด้วยบริการด้านการเงินที่ให้บริการอย่างสมบูรณ์ และการส่งเสริมเอสเอ็มอีให้แข็งแกร่ง

ภายใต้เอ็มโอยูดังกล่าว ทั้งสององค์กรจะร่วมกันสร้างกรอบโครงสร้างแบบเปิดสำหรับสถาบันการเงินทั้งหมดที่เข้าร่วม และให้การสนับสนุนด้านการเงินและการลดความเสี่ยงสำหรับเอสเอ็มอีและแพลตฟอร์มในการค้าระดับโลก ANEXT Bank จะเป็นธนาคารดิจิทัล Wholesale แห่งแรกที่เข้าร่วมกับ Proxtera ในการนำเสนอโซลูชั่นด้านการเงินให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายบนเครือข่ายของ Proxtera 

โซราฟ บัททาชารียา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ Proxtera กล่าวว่า “Proxtera มุ่งมั่นในการอำนวยความสะดวกให้แก่เอสเอ็มอีในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถของเอสเอ็มอีโดยอาศัยเครือข่ายที่กว้างขวาง และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อปรับปรุงการให้บริการดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่เข้าถึงได้ง่าย มีความพร้อมใช้งานสูง และประหยัดค่าใช้จ่าย การเข้าถึงอย่างราบรื่นและความพร้อมใช้งานของโซลูชันทางการเงินเพื่อการค้าจะช่วยขยายการเติบโตของธุรกิจและเร่งการขยายตัวของเอสเอ็มอี ภารกิจนี้สอดคล้องกับการให้ความสำคัญในการให้บริการแก่เอสเอ็มอีเพื่อทำการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมือกับ ANEXT Bank ซึ่งเป็นธนาคารดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบที่ให้บริการด้านดิจิทัลเป็นหลัก เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถปรับปรุงระบบการค้าให้สะดวกง่ายดาย ไร้รอยต่อ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับเอสเอ็มอี”

พร้อมกับการเปิดตัวในครั้งนี้ ANEXT Bank ได้เผยโฉม ANEXT Business Account ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากแบบสองสกุลเงิน (Dual-Currency) ที่มีการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูง เช่น การยืนยันตัวตนแบบสามขั้นตอน (Three-Factor Authentication) รวมถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีผ่านระบบออนไลน์แบบรีโมท และการคิดดอกเบี้ยรายวัน  นอกจากนั้น ANEXT Bank ยังเปิดรับฟังความเห็นจากเอสเอ็มอีเกี่ยวกับความต้องการในเรื่องบริการด้านการเงิน ทั้งนี้เพราะธนาคารฯ ตระหนักว่าบริการด้านการเงินที่ดีจะต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเอสเอ็มอีได้อย่างแท้จริง ลูกค้าที่สนใจสามารถเปิดบัญชีกับธนาคารฯ ได้แล้ววันนี้ที่เว็บไซต์ ANEXT.com.sg  ส่วนบัญชี ANEXT Business Account จะเริ่มเปิดให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอีในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

แนวทางปกป้องข้อมูลขององค์กร สำหรับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ

แนวทางปกป้องข้อมูลขององค์กร สำหรับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ

แนวทางปกป้องข้อมูลขององค์กร สำหรับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ

การปกป้องข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย และสามารถดึงคุณค่าของข้อมูลนั้นมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นกุญแจสำคัญของความต่อเนื่องทางธุรกิจและความสำเร็จขององค์กร

Thawipong Anotaisinthawee, Country Manager, Nutanix

การที่โลกต้องพึ่งพาและนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกภาคส่วน ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่า ในช่วงที่ผ่านมาเราเห็นหลากหลายกรณีศึกษาที่มีการนำข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้และก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตัวบุคคลและองค์กรอย่างมาก 

เป็นเรื่องน่ายินดีที่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับทุกมิติ ทว่ายังมีความท้าทายที่องค์กรต่าง ๆ ต้องรับมือกับการปฏิบัติตามข้อกำหนด ทั้งการฝึกอบรม และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากร การหาเครื่องไม้เครื่องมือเข้ามาช่วย การตรวจสอบ และปรับปรุงกระบวนการทำงาน รวมถึงการมีที่ปรึกษาที่ให้คำแนะนำ เพื่อให้องค์กรของตนเองปฏิบัติตามข้อกำหนดของ PDPA ได้ 

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ชี้แจงว่า กฎหมายดังกล่าวออกมาเพื่อให้การประมวลผลข้อมูลมีความมั่นคงปลอดภัย มีความเป็นธรรมและโปร่งใสกับเจ้าของข้อมูล ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ รวมถึงความจำเป็นของไทยในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าข้อมูลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดทางการค้าหรือทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน หรือผลจากการไม่พร้อมใช้บังคับพระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระราชบัญญัตินี้จะบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว และในขณะที่กฎหมายลูกยังไม่ครบสมบูรณ์ ผู้นำองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลขององค์กรด้วยตนเองด้วยโดยเฉพาะ ข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย รวมถึงการมีโซลูชันที่ช่วยสร้างความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลและแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น การเข้ารหัสข้อมูล, Microsegmentation, การควบคุมการเข้าถึงตามบทบาท หรือการเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และการป้องกันการโจมตีของภัยคุกคาม เช่น Ransomeware ได้เป็นต้น

นิยามง่าย ๆ ของการปกป้องข้อมูล คือการกระทำเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นถึงจะเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ ได้ แต่การทำให้สัมฤทธิผลนั้นไม่ง่ายเลย กรอบความคิดเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวจะต้องได้รับการระบุไว้ในเป้าหมายและขอบเขตด้านการปกป้องข้อมูลอย่างครบถ้วนชัดเจน เพราะหากมีการกำหนดค่าอุปกรณ์ผิดพลาดเพียงอุปกรณ์เดียว หรือการกดแป้นพิมพ์เพียงสองสามครั้ง ที่ทำให้ข้อมูลไปแสดงบนหน้าจอที่เปิดเผยต่อสาธารณะ อาจส่งผลให้องค์กรเสียชื่อเสียงและตกต่ำได้

โดยปกติองค์กรต่างใช้ระบบป้องกันที่แข็งแกร่งเพื่อสกัดกั้นการละเมิดข้อมูลต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนข้อมูลที่ถูกละเมิด 1,862 รายการในปี 2564 นั้นเพิ่มขึ้น 68% จากปี 2563 รวมถึงภัยคุกคามต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม การแชร์ข้อมูลขององค์กรไปในวงกว้าง เช่น การแชร์ข้อมูลกับเวนเดอร์ ลูกค้า ซัพพลาย-เออร์ หน่วยธุรกิจ องค์กรของพันธมิตร บริษัทที่ปรึกษา รวมถึงพนักงานที่ทำงานจากระยะไกล ก็ทำให้ความปลอดภัยที่ว่าแข็งแกร่งที่สุดแล้วในบริเวณที่องค์กรต้องต่อเชื่อมกับภายนอกไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป กล่าวได้ว่าคนนอกก็กลายเป็นคนในไปเสียแล้ว เพราะเข้าถึงข้อมูลขององค์กรได้

องค์กรจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ด้านการปกป้องข้อมูลแบบครบวงจรที่สมบูรณ์แบบ ที่สามารถรักษาความปลอดภัยข้อมูลได้ทุกที่ ตลอดเวลา ไม่ว่าข้อมูลนั้นกำลังถูกใช้งานอยู่กับแอปพลิเคชัน หรือเป็นข้อมูลที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ บนเน็ตเวิร์ก บนอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน เก็บอยู่ในฐานข้อมูล และบนคลาวด์ ครอบคลุมตั้งแต่แกนหลักไปจนถึงเอดจ์ และปกป้องทั้งข้อมูลที่ไม่มีการใช้งาน ข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหว หรือกำลังถูกใช้งานอยู่

ข้อมูลของ “องค์กร” คืออะไร และข้อมูลใดบ้างที่ต้องได้รับการปกป้อง

ก่อนที่จะเริ่มจัดทำระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่อยู่ตามสภาพแวดล้อมที่หลากหลายในองค์กร ผู้รับผิดชอบด้านนี้ต้องเข้าใจว่าข้อมูลที่มีอยู่เป็นข้อมูลประเภทใด อยู่ในรูปแบบใด และลักษณะอื่น ๆ ของข้อมูลเป็นอย่างไร ทั้งยังต้องเข้าใจตัวแปรต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเข้าใช้งาน จัดเก็บ และโยกย้ายข้อมูลไปยังสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งการพิจารณาว่าข้อมูลใดสำคัญมากพอที่จำเป็นต้องปกป้องไว้เป็นเรื่องที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ มานานแล้ว

ปัจจุบันอัลกอริธึมของแมชชีนเลิร์นนิ่งช่วยให้แยกแยะข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น อัลกอริธึมนี้จะจัดประเภทข้อมูลสำคัญโดยอัตโนมัติ และจัดหมวดหมู่ข้อมูลนั้นตามเนื้อหา วิธีการนี้ช่วยให้ปรับขนาดการทำงานได้มากกว่าวิธีการทำงานแบบแมนนวลมาก

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลหลากหลายที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบประหยัดเวลาได้มาก ด้วยการค้นหาข้อมูลทั้งที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างในระบบเน็ตเวิร์กขององค์กร

การจัดประเภทข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่าย

เมื่อระบุและแยกแยะข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่ายทั้งหมดออกมาได้แล้ว ผู้ดูแลระบบไอทีจำเป็นต้องกำหนดระดับชั้นความลับต่าง ๆ ขึ้นมา และทำการตัดสินใจว่าจะเก็บข้อมูลแต่ละหน่วยไว้ที่ใด จะอนุญาตให้ผู้ใช้หรือผู้มีบทบาทใดเข้าถึงข้อมูลนั้นได้บ้าง และเข้าถึงได้ในขอบเขตมากน้อยเพียงใด

แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่มีหมวดหมู่ของข้อมูลที่เป็นการเฉพาะของตนอยู่แล้ว แต่โดยทั่วไปข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่ายจะได้รับการจัดเป็นสี่กลุ่มดังนี้

    • ข้อมูลสาธารณะ: ข้อมูลที่ทุกคนทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาอย่างอิสระ เช่น ข้อมูลการติดต่อ สื่อทางการตลาด ราคาของสินค้าและบริการต่าง ๆ
    • ข้อมูลภายใน: ข้อมูลที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะหรือคู่แข่งทางธุรกิจ แต่สามารถแชร์กันภายในองค์กรได้อย่างอิสระ เช่น แผนผังองค์กร และคู่มือการขายต่าง ๆ
    • ข้อมูลลับ: ข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่าย ซึ่งหากหลุดไปยังบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต จะสามารถส่งผลในทางลบแก่องค์กร เช่น สัญญาการจัดซื้อจัดหาต่าง ๆ และเงินเดือนของพนักงาน
    • ข้อมูลที่จำกัดการเข้าถึง: ข้อมูลองค์กรที่มีความอ่อนไหวง่ายในระดับสูง ซึ่งหากรั่วไหลออกไป จะนำความเสี่ยงทางกฎหมาย การเงิน ชื่อเสียง หรือกฎระเบียบมาสู่องค์กร เช่น ข้อมูลทางการแพทย์ของลูกค้า และรายละเอียดบัตรเครดิต เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูล

เมื่อกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสมแล้ว นโยบายด้านความปลอดภัยจะปกป้องไม่ให้ข้อมูลสูญหาย และป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตให้กับอุปกรณ์ ระบบ และเครือข่ายทั้งหมด ทั้งยังให้บริการ ตรวจสอบ และบริหารจัดการ ผ่านการทำงานร่วมกันของกระบวนการและเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ไฟร์วอลล์ โปรแกรมแอนตี้ไวรัส และเครื่องมืออื่น ๆ อีกมาก ทั้งนี้มาตรฐานและกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะแตกต่างกันตามการใช้งาน ความสำคัญของข้อมูล รวมถึงกฎระเบียบที่กำหนดไว้

ผู้ดูแลระบบความปลอดภัยจำเป็นต้องตระหนักรู้และเข้าใจวิวัฒนาการในการจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลจากทั้งมุมของเทคโนโลยีและลักษณะงาน การเปลี่ยนแปลงบางประการที่กระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูลโดยตรง ได้แก่

    • บิ๊กดาต้า: มีการสร้างข้อมูลในปริมาณที่สูงมากทุกวัน โดยบริษัทวิจัย IDC ได้คาดการณ์ว่าขนาดของปริมาณการใช้ข้อมูลทั่วโลก (global datasphere) จะสูงถึง 175 เซตตะไบท์ (ZB) ภายในปี 2568 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลส่วนใหญ่นี้ไม่ได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์หรือไม่ได้ถูกนำไปใช้ตรงตามกำหนดเวลา หรือไม่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้อย่างคุ้มค่า

      นอกจากนี้ ข้อมูลนี้ยังมีรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย ยากต่อการจัดหมวดหมู่หรือประมวลผล  ข้อมูลจากการวิจัยของ MIT พบว่าปัจจุบัน 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ยังไม่มีโครงสร้าง อยู่ในรูปแบบของ เสียง/วิดีโอ-ข้อความที่ปนกัน, ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดของบุคคลในองค์กร (server logs), โพสต์บนโซเชียลมีเดีย และอื่นๆ

    • คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ปลายทาง (End User Computing: EUC): อุปกรณ์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้ามายังเน็ตเวิร์กขององค์กร (เป็นรายบุคคล และ ผ่านอินเทอร์เน็ต) มีความหลากหลาย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ อุปกรณ์เหล่านั้นรวมถึง อุปกรณ์อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT), อุปกรณ์สำหรับสวมใส่, เซ็นเซอร์, และหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่าง ๆ

      การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมานี้ ทำให้ข้อมูลขององค์กรไม่ได้มีตัวตนอยู่เฉพาะในโลเคชั่นที่มีการควบคุมและมีการกำหนดอย่างชัดเจนเท่านั้นอีกต่อไป แต่ยังทอดข้ามไปอยู่ในทุกอุปกรณ์และทุกแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้เข้าถึง สถานการณ์เหล่านี้ทำให้การรักษาความปลอดภัยข้อมูลมีความซับซ้อนขึ้น แม้ว่าองค์กรต่าง ๆ จะพยายามใช้ดาต้าเวอร์ชวลไลเซชันมาช่วยทำให้การทำงานต่าง ๆ ง่ายขึ้นก็ตาม

    • สภาพแวดล้อมแบบไฮบริด: องค์กรกำลังมุ่งย้ายโครงสร้างพื้นฐานไอทีจากดาต้าเซ็นเตอร์ไปอยู่บนสภาพแวดล้อมคลาวด์มากขึ้น และไฮบริดคลาวด์คือเทคโนโลยีที่ช่วยองค์กรจัดการกับเรื่องนี้ และนั่นเป็นการทำให้เรื่องของความปลอดภัย (อย่างน้อยที่สุดบนพับลิคคลาวด์) เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ขายเทคโนโลยีและลูกค้า

    • การทำงานจากที่ใดก็ได้: การระบาดของโควิด-19 ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ต้องใช้รูปแบบการทำงานจากที่ใดก็ได้ และการทำงานจากบ้านภายในชั่วข้ามคืนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และองค์กรจำนวนมากต้องหาทางให้พนักงานของตนเข้าใช้งานแอปพลิเคชันและไฟล์งานสำคัญทางธุรกิจได้จากบ้านของพนักงานแต่ละคน การทำงานจากที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาก่อนที่องค์กรจะสามารถประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ และนำขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอมาใช้เสียอีก

ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เหล่านี้ ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ (CIOs) ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTOs) ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (CISOs) และผู้ดูแลระบบความปลอดภัยจำเป็นต้องใช้มาตรการและขั้นตอนที่ครอบคลุม เพื่อปกป้องข้อมูลของบริษัท และของลูกค้าให้ได้ตลอดเวลา

มาตรการด้านความปลอดภัยที่องค์กรสามารถนำมาใช้ได้

ไม่มีภัยคุกคามใดที่มีลักษณะเหมือนกัน ผู้ดูแลด้านไอทีจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงประเภทของภัยคุกคามที่แตกต่างกันเหล่านั้นที่จะกระทบต่อสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร และต้องแน่ใจว่าระบบต่าง ๆ ขององค์กรได้รับการติดตามตรวจสอบการบุกรุกต่าง ๆ อย่างรอบคอบรัดกุม

มาตรการด้านความปลอดภัยที่องค์กรสามารถนำมาใช้ได้

ไม่มีภัยคุกคามใดที่มีลักษณะเหมือนกัน ผู้ดูแลด้านไอทีจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงประเภทของภัยคุกคามที่แตกต่างกันเหล่านั้นที่จะกระทบต่อสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร และต้องแน่ใจว่าระบบต่าง ๆ ขององค์กรได้รับการติดตามตรวจสอบการบุกรุกต่าง ๆ อย่างรอบคอบรัดกุม

ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ดีที่สุดแก่พนักงาน: พนักงานทุกคนต้องเข้าใจว่าข้อมูลสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร และหากข้อมูลถูกบุกรุกจะเกิดผลลัพธ์อย่างไร และองค์กรต้องมั่นใจว่าพนักงานให้ความสนใจอีเมลที่เข้ามาในแต่ละวันว่าเป็นอีเมลที่ส่งมาจากไหน เปิดอีเมลจากผู้ส่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น และไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบใด ๆ ที่ไม่แน่ใจที่มาและผู้ส่งว่าเป็นใคร การใช้เบราว์เซอร์ก็เช่นเดียวกัน พนักงานทุกคนควรรู้ความหมายของสัญญาณเตือนต่าง ๆ บนหน้าเว็บ และต้องสามารถแยกแยะว่าไซต์ใดเป็นไซต์ที่หลอกลวงและไซต์ใดเชื่อถือได้

องค์กรควรใส่ใจการบริหารจัดการรหัสผ่านเป็นพิเศษ รหัสผ่านที่ละเมิดได้ง่ายและรหัสผ่านที่ใช้ร่วมกันยังคงเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้องค์กรมีความกังวล เมื่อสิบปีที่ผ่านมาการสร้าง รายการรหัสผ่านนับพันล้านรายการเพื่อแฮ็กบัญชีผู้ใช้งานสักบัญชีหนึ่ง ต้องใช้เวลาและการประมวลผลที่นานมาก ๆ แต่ปัจจุบันกลายเป็นงานเล็ก ๆ เท่านั้น

ใช้การควบคุมที่ลงลึกถึงรายละเอียด: ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยแนะนำให้ใช้โมเดล zero trust ซึ่งเป็นการให้ผู้ใช้งานและแอปพลิเคชันต่าง ๆ เข้าถึงทรัพยากรเท่าที่จำเป็นต้องใช้เพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น โมเดลนี้เกี่ยวโยงกับ microsegmentation ของเน็ตเวิร์กและการสร้างนโยบายที่เจาะจงอย่างมากให้กับเซิร์ฟเวอร์ เวอร์ชวลแมชชีน แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน และบริการต่าง ๆ ที่ใช้วิธีการเข้าถึงข้อมูลแบบให้สิทธิน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น (least privileged) แก่ผู้ใช้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลประเภทที่อ่อนไหวง่าย

การใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการจัดการด้านอัตลักษณ์และการเข้าถึง (Identity and Access Management: IAM) คู่กับรูปแบบการใช้ปัจจัยหลายอย่างในการตรวจสอบและยืนยันตัวตน (Multi-Factor Authentication: MFA) เป็นกุญแจสำคัญในการนำระบบรักษาความปลอดภัยแบบ zero trust มาใช้ในองค์กร

เข้ารหัสข้อมูลทั้งหมด: การเข้ารหัสเป็นกระบวนการของการทำให้อ่าน แกะ หรือทำสำเนาข้อมูลได้ยาก โดยการใช้อัลกอริธึมทำการรบกวนข้อมูลให้สับสน  ผู้ใช้งานที่มีคีย์หรือระดับการเข้าถึงที่ถูกต้องเท่านั้นที่สามารถถอดรหัส ดู หรือประมวลผลข้อมูลนั้นได้ วิธีนี้สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว รวมถึงข้อมูลที่อยู่ระหว่างการรับส่งด้วย ทั้งนี้ การเข้ารหัสมีสี่ลักษณะดังนี้

      • ระดับเน็ตเวิร์ก
      • ระดับแอปพลิเคชัน
      • ระดับดาต้าเบส
      • ระดับจัดเก็บข้อมูล

การรักษาความปลอดภัยข้อมูลจากแกนกลางสู่ส่วนที่ติดต่อกับภายนอก

ข้อมูลคือสกุลเงินที่ขับเคลื่อนองค์กรทุกแห่งไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ไม่มีอะไรสำคัญต่อองค์กรมากกว่าการปกป้องข้อมูลขององค์กรจากการสูญหาย การทุจริต และการโจรกรรม

การเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นพร้อมกันระหว่างลูกค้า ผู้ขายเทคโนโลยี พันธมิตร และพนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ ทำให้เส้นแบ่งระหว่างคนนอกและคนในองค์กรไม่ชัดเจนอีกต่อไป ส่งผลให้การป้องกันอาณาเขตของข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การปกป้องข้อมูลที่แข็งแกร่งมีการขยายจากแกนกลางซึ่งเป็นสถานที่หลักในการเก็บข้อมูล ไปยังขอบของเน็ตเวิร์กหรือ edge ซึ่งเป็นที่ที่มีการรวบรวมและใช้ข้อมูล ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องการกระจายตัวของข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยนี้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ระหว่างการรวบรวม รับส่ง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลก็ตาม

 

อาลีบาบาครองตำแหน่งผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่อันดับสามของโลก เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

อาลีบาบาครองตำแหน่งผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่อันดับสามของโลก เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

อาลีบาบาครองตำแหน่งผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่อันดับสามของโลก เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

รักษาส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในเอเชีย-แปซิฟิกเป็นปีที่สี่

นับเป็นปีที่สี่ติดต่อกันที่อาลีบาบาครองตำแหน่งผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure-as-a-Service (IaaS) รายใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และเป็นรายใหญ่สุดในเอเชีย-แปซิฟิกในด้านรายได้ในช่วงปี 2564  ข้อมูลจากรายงาน Market Share: IT Services, 2021 ฉบับล่าสุดของการ์ทเนอร์ (Gartner®) ระบุว่า อาลีบาบาครองส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 9.55%  ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิก บริษัทฯ มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 25.5%

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ให้บริการด้านไอทีแก่ลูกค้าทั่วโลกหลายล้านรายใน 84 โซน 27 ภูมิภาค ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2564 ระบุว่า บริษัทฯ สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ธุรกิจด้านการคมนาคมขนส่ง บริการด้านธนาคารและการลงทุน ประกันภัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติ และธุรกิจค้าส่ง โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 49-67.5% ในกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

Jeff Zhang ประธาน อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “IaaS เป็นองค์ประกอบหลักในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันขององค์กรต่าง ๆ ในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และนับเป็นบริการที่สำคัญสำหรับธุรกิจของเรา เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดอันดับในครั้งนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องในธุรกิจส่วนนี้ ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ลูกค้าของเราเร่งดำเนินการโยกย้ายไปสู่ระบบคลาวด์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ และหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก เรามองว่าการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานไปสู่คลาวด์นี้เป็นมาตรการที่จำเป็นต่อการเติบโตของธุรกิจ ความมุ่งมั่นของเราในการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าทั่วโลกในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ทำให้เราสามารถรักษาฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งในตลาด และเราจะยังคงนำเสนอนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล”

ตลาด IaaS ทั่วโลกเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงปี 2564  รายงานของการ์ทเนอร์ระบุว่า ตลาด IaaS ขยายตัวจนแตะระดับ 90.89 พันล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจาก 64.29 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2563 นอกจากนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตรวดเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 33.16 พันล้านเหรียญฯ

อาลีบาบา คลาวด์ ได้เพิ่มทรัพยากรในตลาดสำคัญ ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยในช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เริ่มต้นดำเนินงานดาต้าเซ็นเตอร์ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และได้ประกาศจัดตั้งดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในเกาหลีใต้เมื่อเดือนมีนาคม 2565

อาลีบาบา คลาวด์ ได้ริเริ่มโครงการ AsiaForward เมื่อปี 2564 โดยในเบื้องต้นมีแผนที่จะให้เงินทุนสนับสนุนและทรัพยากรมูลค่า 1 พันล้านเหรียญฯ เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 1 ล้านคน พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพให้กับนักพัฒนา 100,000 คน และสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี 100,000 รายในเอเชียแปซิฟิก

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านผลิตภัณฑ์ อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้นำเสนอนวัตกรรมโซลูชันต่าง ๆ เช่น สถาปัตยกรรม ApsaraCompute Shenlong เจนเนอเรชั่นที่ 4 ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม 2564 มีความสามารถที่เหนือชั้นในด้านความยืดหยุ่นของคอนเทนเนอร์ การจัดเก็บข้อมูล ประสิทธิภาพของอินพุต/เอาต์พุต (IO) การหน่วงเวลาต่ำ และฟีเจอร์การเสริมความแข็งแกร่งในระดับชิป  นอกจากนี้ยังประกอบด้วย Remote Direct Memory Access (RDMA) แบบ large-scale เพียงหนึ่งเดียวของอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดการหน่วงเวลาของเครือข่ายให้เหลือเพียง 5 มิลลิวินาที

เมื่อปีที่ผ่านมา Alibaba Cloud International IaaS & PaaS ของอาลีบาบา คลาวด์ ก็ได้รับการประเมินในรายงาน Gartner® Solution Scorecard ประจำปี 2564 ด้วยเช่นกัน

GARTNER is a registered trademark and service mark of Gartner, Inc. and/or its affiliates in the U.S. and internationally and is used herein with permission. All rights reserved.