ค่าใช้จ่ายพุ่ง กังวลเรื่องความปลอดภัย และการกระจัดกระจายของดาต้าในองค์กร เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบสต้องเผชิญ

ค่าใช้จ่ายพุ่ง กังวลเรื่องความปลอดภัย และการกระจัดกระจายของดาต้าในองค์กร เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบสต้องเผชิญ

ค่าใช้จ่ายพุ่ง กังวลเรื่องความปลอดภัย และการกระจัดกระจายของดาต้าในองค์กร เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบสต้องเผชิญ

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

แนวทางบริหารจัดการดาต้าเบสในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ข้อถกเถียงเกี่ยวกับประโยชน์ของพับลิคคลาวด์เมื่อเทียบกับไพรเวทคลาวด์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเด็นร้อนแรงนั้น ได้กลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากองค์กรต่างต้องวุ่นวายอยู่กับการใช้งานดาต้าเบสหลายประเภท บนสภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์ แอปพลิเคชันจำนวนมากในปัจจุบันที่ใช้ดาต้าเบสมากกว่าหนึ่งประเภท และแอปพลิเคชันที่เป็นคอนเทนเนอร์ไรซ์ที่ทันสมัยต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดการกระจัดกระจายของดาต้า (sprawl of data) และดาต้าเบส ปริมาณมหาศาลเหล่านี้มีข้อมูลรวมกันหลายสิบหรือหลายร้อยเพตาไบต์ ซึ่งผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องบริหารจัดการ และแน่นอนว่าเป็นปริมาณที่มากมายเกินกว่าจะจัดการได้

นอกจากนี้ ภาระด้านค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับการจัดการดาต้าเบส และความเสี่ยงจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้องค์กรต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการจัดการดาต้าเบส สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรไม่อาจละเลยได้ การที่ดาต้าเบสมีบทบาทสำคัญมากต่อการทำงานในแต่ละวันขององค์กร ทำให้ธุรกิจทั้งหลายต่างต้องแสวงหาวิธีการจัดการดาต้าเบสที่ใช้งานง่ายกว่าวิธีการเดิม ๆ

ค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูง

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการความเกี่ยวเนื่องที่พัวพันซับซ้อนกันระหว่างแอปพลิเคชัน ดาต้าเบส
และบริการต่าง ๆ จากภายนอกที่เพิ่มขึ้นมากกำลังกลายเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก รายงาน IDC InfoBrief[1] ชี้ให้เห็นว่า องค์กรเกือบสามในสี่ (73 เปอร์เซ็นต์) ใช้เครื่องมือและกระบวนการหลายประเภทเพื่อบริหารจัดการดาต้าเบสที่เก็บอยู่ภายในองค์กร เมื่อเทียบกับดาต้าเบสที่อยู่บนคลาวด์ ส่งผลให้องค์กรต้องซื้อเครื่องมือที่ซ้ำซ้อนและต้องจัดการดูแลเครื่องมือเหล่านี้ อีกทั้งยังต้องจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอ ข้อเท็จจริงจากรายงานของ Forrester Consulting [2] ชี้ว่า ความไร้ประสิทธิภาพในการจัดสรรบุคลากรส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาจำนวนมากแก่ทีมงานผู้ดูแลด้านดาต้าเบส (Database Administrator – DBA) เพื่อให้สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วง

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน แนวทางไอทีแบบเดิม ๆ ที่ใช้เครื่องมือรุ่นเก่าเพื่อจัดการดาต้าเบสที่รันอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมจะก่อให้เกิดความล่าช้าจนไม่สามารถรองรับงาน และความคิดริเริ่มที่สำคัญมากต่อธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น แนวทางดังกล่าวยังทำให้การดำเนินการส่วนต่าง ๆ แยกออกจากกันขาดความต่อเนื่อง และมีการใช้ทรัพยากรและกระบวนการที่ซ้ำซ้อน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้องค์กรต่าง ๆ จึงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการลดรายจ่าย และจำเป็นที่จะต้องมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการดาต้าเบสให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และตอบสนองได้อย่างฉับไวมากขึ้น

เมื่อองค์กรเดินมาถึงทางตัน เราจะพบว่ามีองค์กรหลายแห่งหันไปใช้โซลูชันการจัดการดาต้าเบสที่ใช้งานง่ายที่สามารถบริหารจัดการดาต้าเบสหลายแบบผ่านแพลตฟอร์มเดียวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บริการต่าง ๆ เช่น Database-as-a-Service (DBaaS) ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงและใช้ดาต้าเบสต่าง ๆ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยาก เช่น การติดตั้ง การกำหนดค่า การดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ด้านดาต้าเบสที่ซับซ้อน จะได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะองค์กรต่าง ๆ มองหาวิธีการที่ง่ายขึ้นเพื่อจัดการดาต้าเบสที่หลากหลายนี้ ควบคู่กับการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

การเพิ่มขึ้นของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware)

การโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่อาจสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง การโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) มีจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อปี 2564 ซึ่งสร้างความกังวลใจอย่างมากแก่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบส ทั้งในเรื่องของการป้องกันดาต้าเบสให้รอดพ้นจาก ransomware รวมถึงการดูแลไม่ให้ข้อมูลแบ็คอัพติดเชื้อไปด้วย

แม้ว่าการป้องกันการโจมตีจาก ransomware เป็นเรื่องท้าทายอันดับแรก แต่แพลตฟอร์มการบริหารจัดการดาต้าเบสต่าง ๆ สามารถช่วยได้ในเรื่องของการกู้คืนข้อมูล (data recovery) การแพตช์จุดล่อแหลมด้านความปลอดภัยบนสภาพแวดล้อมไอทีแบบดั้งเดิม อาจก่อให้เกิดดาวน์ไทม์เป็นเวลานาน ทั้งนี้ ข้อมูลจากการศึกษาของ Forrester Consulting ที่สนับสนุนโดยนูทานิคซ์ ระบุว่าตัวเลขการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานและรายได้ขององค์กรที่เป็นแบบ composite organization คิดเป็นมูลค่า 35,000 เหรียญสหรัฐฯ

ต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ระบบบริหารจัดการดาต้าเบสต่าง ๆ ช่วยให้องค์กรที่ติดแรนซัมแวร์สามารถกู้คืนระบบและย้อนกลับไปยังจุดที่ถูกต้อง ก่อนที่จะติดแรนซัมแวร์ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการที่บุคลากรจะต้องดำเนินการแก้ไขแบบแมนนวลด้วยตนเอง

โซลูชั่นที่ช่วยให้สามารถแบ็คอัพข้อมูลตามกำหนดเวลาได้อย่างละเอียดจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานให้แก่ผู้ดูแลดาต้าเบสและผู้จัดการฝ่ายไอที ฟังก์ชันนี้เปรียบได้กับโปรแกรมเล่นวิดีโอที่ฝังอยู่บนเว็บไซต์ โดยคุณจะสามารถย้อนกลับไปกลับมายังช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างต่อเนื่องในขั้นที่ต้องการ ซึ่งนับว่าสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ข้อมูลแบ็คอัพอาจเป็นส่วนหนึ่งของดาต้าเบสที่ติดเชื้อ การกำหนดเวลาอย่างละเอียดนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการกู้คืนข้อมูลจากช่วงเวลาที่มีการติดเชื้อแล้ว

บริหารจัดการดาต้าเบสได้เรียบง่าย

ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ต้องจัดการข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสภาพแวดล้อมด้านดาต้าเบสก็มีความซับซ้อนและมีการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ส่งผลให้องค์กรต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากในการจัดการดาต้าเบส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องคำนึงถึง SLA ด้านประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น องค์กรธุรกิจจำนวนมากมักจะรันแอปพลิเคชันและบริการที่มีความสำคัญต่อธุรกิจไว้บนดาต้าเบสขนาดใหญ่ โดยไม่มีการบูรณาการเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนและสิ้นเปลืองเวลาในการทำงาน และทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้โซลูชันการจัดการดาต้าเบสที่เหมาะสมเพื่อรองรับการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยโซลูชันที่ว่านี้จะต้องช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดการฐานข้อมูลบนพับลิคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ และเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน จากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์บนระบบแบบเก่า ก็จะสามารถลดเวลาให้เหลือเพียงไม่กี่นาที นอกจากนี้ โซลูชันดังกล่าวยังช่วยให้สามารถปกป้องดาต้าเบสได้ง่าย ๆ ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว หรือทำการโคลนข้อมูล (fast clone) และสร้างสแน็ปช็อตเพื่อช่วยในการกู้คืนข้อมูล จะเห็นได้ว่าดาต้าเบสมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอที เครื่องมือด้านการจัดการ และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดค่าใช้จ่าย กู้คืนข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และดำเนินงานในแต่ละวันได้อย่างราบรื่นไม่ยุ่งยาก

อินฟอร์แต่งตั้ง อิซาเบลลา กุสุมาวาตี เป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี

อินฟอร์แต่งตั้ง อิซาเบลลา กุสุมาวาตี เป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี

อินฟอร์แต่งตั้ง อิซาเบลลา กุสุมาวาตี เป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี

ภูมิภาคที่มีความหลากหลายมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

อินฟอร์ บริษัทซอฟต์แวร์ระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม ประกาศแต่งตั้ง คุณอิซาเบลลา กุสุมาวาตี ดำรงตำแหน่งรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี (SEAK) คุณอิซาเบลลาจะประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบการขยายธุรกิจในภูมิภาค SEAK ของอินฟอร์ เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จของลูกค้าและเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศ และนำความเจริญเติบโตมาสู่อินโฟร์ในสิงคโปร์, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และเกาหลีต่อไป

คุณเชมา อรัมบูรู รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า “เรายินดีต้อนรับคุณอิซาเบลลาเป็นผู้นำภูมิภาค SEAK ภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วของอินฟอร์ เธอเป็นผู้นำที่มีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม ด้วยประวัติการทำงานที่แข็งแกร่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และการสร้างทีมขายที่มีประสิทธิภาพสูงในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น คลาวด์, การใช้งานบนอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สาย, ปัญญาประดิษฐ์และ IoT ทำให้เรามีโอกาสมากมายในการช่วยลูกค้าเร่งสร้างนวัตกรรมให้ครอบคลุมทั่วธุรกิจของพวกเขา  ผมเชื่อมั่นว่า อิซาเบลลาจะเป็นบุคลากรทรงคุณค่าของอินฟอร์ พันธมิตร และเป็นที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าของเรา”

คุณอิซาเบลลานำประสบการณ์กว่าสองทศวรรษในการบริหารจัดการการขาย ซึ่งรวมถึงการพัฒนาธุรกิจและตลาดใหม่มาใช้  ล่าสุดเธอดำรงตำแหน่งรองประธานและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ SUSE  ก่อนหน้านี้คุณอิซาเบลลาเคยดำรงตำแหน่งผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ Salesforce, SAP, Oracle และ Microsoft  ซึ่งเธอได้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้าและพันธมิตร ตลอดจนคว้ารางวัลความสำเร็จอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการขาย ความเป็นผู้นำ และพนักงานดีเด่น

ในฐานะพลเมืองในภูมิภาคที่มีความหลากหลายเช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณอิซาเบลลาจึงสามารถพูดภาษาต่าง ๆ ที่สำคัญในภูมิภาคนี้ได้ กอปรกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจการค้าในเอเชีย ทำให้เธอมีความได้เปรียบในบทบาทนี้  เธอเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นของ Women’s Business Network ซึ่งเป็นสมาคมการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นภายในธุรกิจและสังคม และเป็นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจอันแรงกล้าในการสนับสนุนความเป็นผู้นำและด้านเทคโนโลยีของสตรี

คุณอิซาเบลลา กล่าวว่า “ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลีกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีความสนใจและความต้องการระบบคลาวด์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรม และผลลัพธ์เชิงกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุม  การที่ธุรกิจต่าง ๆ หลุดพ้นจากความไม่แน่นอนหลังการแพร่ระบาดในช่วงสองปีที่ผ่านมา พวกเขาจึงมองหาโซลูชันเทคโนโลยีที่สามารถรองรับความต้องการในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความคล่องตัว, ประสิทธิภาพ, ความยืดหยุ่น และการเข้าใจความต้องการการใช้งาน  อินฟอร์สร้างโซลูชัน CloudSuite ที่เฉพาะเจาะจงให้กับแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ และเพื่อให้การนำนวัตกรรมทางธุรกิจออกสู่ตลาดเกิดได้เร็วขึ้น  ดิฉันยินดีที่ได้ร่วมงานกับครอบครัวอินฟอร์ และพร้อมจะขับเคลื่อนความสำเร็จและผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าและพันธมิตรของเราทั่วภูมิภาค SEAK”

ความท้าทายที่พนักงานต้องเผชิญในสถานที่ทำงานในอนาคต

ความท้าทายที่พนักงานต้องเผชิญในสถานที่ทำงานในอนาคต

ความท้าทายที่พนักงานต้องเผชิญในสถานที่ทำงานในอนาคต

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

การระบาดใหญ่ทั่วโลกของโควิด-19 เปิดศักราชใหม่ให้กับสถานที่ทำงาน และการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่และทันสมัยขึ้น บุคลากรในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน และเลือกสถานที่ทำงานมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน แต่ในโลกวิถีใหม่นี้ ทั้งบุคลากรและองค์กรต้องรับมือกับความท้าทายและความจำเป็นในการรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่มนุษย์เราต้องการในที่ทำงาน นั่นคือ การติดต่อสื่อสารและการประสานงานร่วมกันในทางกายภาพ ซึ่งตรงจุดนี้เองที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารที่เห็นความสำคัญ ของบุคลากร

นูทานิคซ์ได้มอบหมายให้ IDC InfoBriefs ทำการสำรวจเกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน และการทำงานผ่านเครื่องมือดิจิทัล (digital workspaces) ผลสำรวจพบว่า ความท้าทายหลัก ๆ ที่องค์กรเผชิญนั้นเกิดจากการระบาดของโควิด-19 และรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ผลสำรวจยังพบว่าการระบาดนี้ทำให้บริษัททั่วโลก 42 เปอร์เซ็นต์ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงาน และผู้บริหารระดับสูงมุ่งเน้นการสร้าง digital workplace ที่พร้อมรองรับอนาคต และมีความยั่งยืนในระยะยาวในช่วงหลายปีนับจากนี้[i]

IDC เสนอแนะว่า ในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการดึงดูดพนักงานให้อยู่กับองค์กรไปนาน ๆ ผู้บริหารจำเป็นต้องนำแนวทางในการบริหารจัดการบุคลากรแบบใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสุขภาพ และความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสานทั้งหมด ส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาพจิตใจที่ดี ส่งเสริมให้เกิดการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใหับุคลากรทำกิจกรรมข้ามทีมกัน และเพิ่มแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรูปแบบอื่น ๆ การดำเนินการในลักษณะนี้ได้นั้น องค์กรต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่น ที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถทำงานจากระยะไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำงานในสำนักงาน

คำถามสำคัญที่พนักงานควรถามนายจ้าง

สิ่งสำคัญที่พนักงานควรรู้คือ นายจ้างมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับการทำงานในรูปแบบไฮบริด และมีแบบแผนในการสนับสนุนการพัฒนา และการเติบโตในอาชีพการงานอย่างไรบ้าง หากองค์กรนำรูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน (ไฮบริด) มาใช้หรือต้องการให้พนักงานทำงานจากระยะไกลเท่านั้น พนักงานก็ควรสอบถามเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานตามรูปแบบนั้น ๆ และถามถึงวิธีการที่บริษัทจะให้การอบรมการทำงานและโอกาสในการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานไอทีประเภทใดให้ ปัจจุบันการใช้แล็ปท็อป, โครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลเดสก์ท็อป (VDI), เวอร์ชวลไพรเวทเน็ตเวิร์ก (VPN) และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะช่วยให้พนักงานทำงานได้เกือบทุกที่

สำหรับการฝึกอบรมระหว่างทำงาน ให้สอบถามว่านายจ้างว่ามีแนวทางในเรื่องนี้อย่างไร และใช้เครื่องมืออะไรเชื่อมต่อให้พนักงานสามารถสอบถามข้อมูลจากทีมงานและผู้บริหารได้ บริษัทให้การอบรมการใช้ระบบต่าง ๆ ของบริษัทฯ ที่สามารถช่วยให้พนักงานหาคำตอบต่อคำถามต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองหรือไม่ พนักงานสามารถติดต่อกับสมาชิกในทีมที่มีประสบการณ์เพื่อถามคำถามต่าง ๆ ได้โดยตรงหรือไม่ หรือจะต้องผ่านผู้ดูแลตามสายงานของพนักงานนั้น ๆ

เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารแบบครบวงจร และวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เช่น Zoom และ Microsoft Teams ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ เครื่องมือเหล่านี้รันอยู่บนระบบคลาวด์ ดังนั้นจึงสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ องค์กรที่ประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากอาจเปิดโอกาสให้พนักงานเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลแบบ Database as a Service (DBaaS) ดังนั้นพนักงานจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกัน ไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ใดก็ตาม องค์กรที่รองรับการทำงานแบบไฮบริดและการทำงานจากระยะไกลจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลและเครื่องมือดิจิทัลที่จำเป็นในการทำงาน อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ใดก็ตาม

สุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

ภายในปี 2568 IDC คาดการณ์ว่า 55 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทชั้นนำที่ติดอันดับ Global 2000 จะดำเนินการปรับรูปแบบการทำงาน ย้ายสถานที่หรือสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงาน เพื่อให้สามารถคุ้มครองสุขภาพและรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้นi ซึ่งที่จริงแล้วควรใช้หลักปรัชญาเดียวกันนี้เพื่อปรับปรุงการส่งเสริมสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานด้วยเช่นกัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้คนจำนวนมาก ดังนั้นในขณะนี้องค์กรต่าง ๆ จึงต้องรับมือกับภารกิจในการช่วยให้พนักงานเอาชนะความเหนื่อยล้าและภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งหากทำงานอยู่ในสำนักงานก็จะสามารถระบุปัญหาและให้ความช่วยเหลือได้ง่ายกว่าแต่อย่างไรก็ตามก็สามารถทำเช่นนั้นกับพนักงานที่ทำงานจากที่บ้านได้เช่นกัน

องค์กรสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล เพื่อจำลองการมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์ของพนักงานในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในสำนักงานได้ เช่น การพบปะสังสรรค์ในช่วงบ่ายทุก ๆ ไตรมาส พร้อมกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ของทีมงาน หรือการพูดคุยและดื่มกาแฟร่วมกันผ่านวิดีโอเป็นประจำทุกเดือน  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองได้รับการสนับสนุนจากที่ทำงาน

ให้คำแนะนำในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ

อีกหนึ่งความท้าทายและโอกาสที่มาพร้อมกับสถานที่ทำงานแห่งอนาคตก็คือ การแนะนำให้พนักงานสูงวัยได้เข้าถึงเทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้มาก่อน ซึ่งอาจเป็นเรื่องน่าหวาดหวั่นสำหรับคนรุ่นเก่าที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้นองค์กรจึงต้องดำเนินการในเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบและเอาใจเขามาใส่ใจเรา การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและการจัดพื้นที่พิเศษเพื่อให้พนักงานได้ซักถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเทคโนโลยีนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมขวัญกำลังใจและการมีส่วนร่วมของพนักงานอาวุโสเหล่านี้

นูทานิคซ์จัดโครงการฝึกอบรมหลายโครงการ เพื่อให้พนักงานและลูกค้ามีความคุ้นเคยและมีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีของบริษัท นอกจากนี้ ใบรับรองจาก Nutanix University จะช่วยให้ผู้ใช้เทคโนโลยีของนูทานิคซ์มีทักษะและความรู้ความเข้าใจที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการจัดการและติดตั้งใช้งานเทคโนโลยีของนูทานิคซ์ โครงการ ออกใบรับรองแบบหลายระดับของบริษัทฯ มอบเส้นทางการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการเพิ่มพูนประสบการณ์ในระยะยาว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับเรื่องของความหลากหลาย โดยการว่าจ้างพนักงานหลากหลายกลุ่มในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

สถานที่ทำงานแห่งอนาคตเป็นสิ่งที่จับต้องได้แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ผู้บริหารองค์กรและพนักงานล้วนมีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการติดต่อสื่อสารและการเชื่อมต่อถึงกัน การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น

อีริคสัน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จับมือกันเตรียมความพร้อมบุคลากรรับ 5G ในประเทศไทย

อีริคสัน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จับมือกันเตรียมความพร้อมบุคลากรรับ 5G ในประเทศไทย

อีริคสัน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จับมือกันเตรียมความพร้อมบุคลากรรับ 5G ในประเทศไทย

    • มุ่งเพิ่มทักษะด้านไอซีทีแก่นักศึกษาไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีระดับโลกและความเป็นผู้นำด้าน 5G ของอีริคสันมาใช้เรียนรู้
    • พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย ตามนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการสร้างบุคลากรรับ 5G

อีริคสัน (NASDAQ : ERIC) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผนึกกำลังร่วมกันมอบความรู้เทคโนโลยี 5G ให้แก่นักศึกษาไทย โดยนักศึกษาของ มจธ. จะสามารถเข้าถึง ‘Ericsson Educate’ ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มด้านการศึกษาออนไลน์ของอีริคสัน เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาบุคลากรรองรับการขับเคลื่อนไปสู่ Industry 4.0 และส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ซึ่งแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ‘Ericsson Educate’ จะช่วยส่งเสริมการเรียนทางเทคนิคของนักศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วยหลักสูตรต่าง ๆ ที่เพิ่มพูลทักษะด้านไอซีที และเตรียมพร้อมนักศึกษาสำหรับการไปทำงานในภาคโทรคมนาคม

‘Ericsson Educate’ เป็นพอร์ทัลทักษะดิจิทัลที่ให้บริการสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีหลัก ๆ รวมถึง 5G และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) ระบบอัตโนมัติ (Automation), บล็อกเชน (Blockchain), คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing), วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science), อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (IoT) และ โทรคมนาคม (Telecommunication) ซึ่งเนื้อหาการเรียนรู้จากพอร์ทัล ‘Ericsson Educate’ จะช่วยให้นักศึกษาและคณาจารย์เข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ดิจิทัลที่มีคุณภาพผ่านประสบการณ์ 145 ปีด้านโทรคมนาคมและไอซีทีของอีริคสัน

อีริคสันจะเปิดให้บริการแก่นักศึกษาของ มจธ. ในคณะวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม โดย มจธ.จะผนวกหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพอร์ทัลของ Ericsson Educate เข้ากับหลักสูตรที่เปิดสอนอยู่ให้นักศึกษาสามารถใช้เป็นรายวิชาเรียนรู้เก็บหน่วยกิต เพื่อรับวุฒิการศึกษาและใบรับรองหลักสูตร นอกจากนี้อีริคสันจะจัดวิทยากรรับเชิญที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านการคัดเลือกจาก มจธ. ล่วงหน้า และคาดว่าในปีแรกเพียงปีเดียวจะมีนักศึกษาประมาณ 2,000 คนจะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

มร. อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “การร่วมมือกับ มจธ. ถือเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมของความร่วมมือทางวิชาการในอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับ 5G ในประเทศไทย ซึ่งการเสริมเนื้อหาการศึกษาของ Ericsson Educate อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญของอีริคสัน จะเสริมสร้างทักษะและความรู้ด้านไอซีทีแก่นักศึกษาได้อย่างแข็งแกร่ง”

“ด้วยความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการเร่งผลักดันประเทศเดินหน้าไปสู่ยุค Industry 4.0 ผ่านการเพิ่มพูลทักษะและเตรียมความพร้อม 5G ให้แก่บุคลากรที่มีความสามารถ” มร.อิกอร์ กล่าวเสริม

รศ. ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า “การเติมเต็มช่องว่างระหว่างทักษะของพนักงานด้านไอซีทีกับทักษะที่บริษัทไอซีทีต้องการมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อตอบสนองความต้องการทักษะแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับอีริคสันเพื่อจัดการกับช่องว่างของทักษะที่ยังขาดอยู่ และเตรียมพร้อมนักศึกษาในเรื่อง 5G เพื่อให้พวกเขาสามารถมีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล”

มจธ. จะมอบหมายคณาจารย์และทีมงานผู้สอนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้ และส่งเสริมการมอบปริญญาออนไลน์ให้กับนักศึกษาของเรา รวมถึงนักศึกษาที่เป็นบุคคลทั่วไปในประเทศไทย อีริคสันจะร่วมมือกับ มจธ. บูรณาการหลักสูตรและสื่อการสอนที่มีอยู่แล้วใน Ericsson Educate เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยฯ สำหรับหลักสูตรออนไลน์ที่ไม่ใช่ปริญญา หลักสูตร Micro Credential และหลักสูตรปริญญา โดยอีริคสันจะอบรมคณาจารย์ของ มจธ. ผ่านเว็บบินาร์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนและเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาที่สอน

อีริคสัน ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทยมายาวนานถึง 116 ปี สนับสนุนความก้าวหน้าของประเทศผ่านโมบายล์เจนเนอเรชั่นหลากหลาย ตั้งแต่ 2G ,3G ,4G และ 5G ในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในทุก ๆ ด้านของวงการสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศ

ทำไมสถาบันการเงินจึงต้องกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้รัดกุม

Explaining artificial intelligence governance

ทำไมสถาบันการเงินจึงต้องกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้รัดกุม

บทความโดยฟาดซี อูเชโวคุนซ์, สถาปนิกด้านบริการทางการเงิน, เร้ดแฮท

บริการทางการเงินเป็นภาคธุรกิจที่มีความท้าทายสูงมากจากการที่ผู้ทำธุรกิจด้านนี้ต่างแสวงหาความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และแนวทางในการทำธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการนำวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามาใช้ร่วมกัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญ
ที่จะช่วยให้สถาบันการเงินปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เพิ่มความแม่นยำในการทำนายและคาดการณ์ และให้บริการแก่ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดีสถาบันการเงินจำเป็นต้องกำหนดกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุมเพื่อขับเคลื่อนการใช้งาน AI ในทุกแง่มุมให้เป็นไปอย่างปลอดภัยและคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ

บทบาทของการกำกับดูแลการใช้ AI

การกำกับดูแล AI ประกอบด้วยกฎเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และกระบวนการที่ใช้ในการกำกับดูแลและควบคุมการใช้งาน การกำกับดูแลการใช้ AI มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างเต็มศักยภาพ ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากภาคธุรกิจการเงินมีกฎระเบียบที่เข้มงวด ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องใช้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุม เพื่อให้สามารถกำกับดูแลกลยุทธ์ด้าน AI ได้ดียิ่งขึ้น กรอบการทำงานดังกล่าวควรประกอบด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการใช้ AI และมีคู่มือหรือแนวนโยบายเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูล นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องระบุและป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ เพื่อคุ้มครองข้อมูลอย่างเข้มงวด และเพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

คุณประโยชน์สำคัญที่ได้จากการลงทุนด้านกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ได้อย่างเหมาะสม มีดังนี้

    • เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ — เข้าถึงข้อมูลได้ดีขึ้น และคาดการณ์ได้แม่นยำมากขึ้น
    • เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย — งานประจำ และกระบวนการด้านต่าง ๆ ทำได้แบบอัตโนมัติ
    • บริการลูกค้าได้ดีขึ้นและลูกค้ามีส่วนร่วมมากขึ้น — แชทบ็อท หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า

การลงทุนเพื่อให้ได้รับประโยชน์เหล่านี้อาจหมายรวมถึงการว่าจ้างบุคลากรที่มีหน้าที่กำกับดูแลกรอบการทำงาน กำหนดแนวทางและมาตรการที่ชัดเจน และจัดหาเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล

กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ต้องเกิดจากความต้องการที่มีอยู่ในปัจจุบันและอนาคต

ปัญญาประดิษฐ์มีความสามารถสูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ ที่สถาบันการเงินจะต้องจัดการดูแลในสภาพแวดล้อมการดำเนินงานที่เปลี่ยนไปจากเดิม ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีระบบควบคุมที่จะช่วยตรวจวัด และจัดการเป้าหมายของโมเดลต่าง ๆ รวมถึงความต้องการข้อมูลระดับประสิทธิภาพที่ต้องการ และความน่าเชื่อถือโดยสอดรับกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ขององค์กร

การปรับเปลี่ยนตามแนวทางของกรอบการกำกับดูแลที่กำหนดรูปแบบอย่างชัดเจน รอบด้าน และครบถ้วนสมบูรณ์ จะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถพัฒนาและควบคุมวิธีการต่าง ๆ ในการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโมเดล AI ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น และท้ายที่สุดแล้วก็จะสามารถปกป้ององค์กร และลูกค้าให้ปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์ในขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้นให้กับลูกค้า

ปัจจัยสำคัญที่สถาบันการเงินจะต้องคำนึงถึงในการดำเนินแนวทางปฏิบัติตามกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุมและชัดเจน ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและความปลอดภัย รวมถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

    • ความน่าเชื่อถือ— เป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมและองค์ประกอบทางจริยธรรมของโมเดล AI เพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาดอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อคนบางกลุ่ม  ความรับผิดชอบและความโปร่งใสจะช่วยรับรองยืนยันการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม รวมถึงผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจที่นำไปสู่ผลลัพธ์ และเปิดโอกาสให้มีช่องทางสำหรับการสอบถามหรือตั้งคำถามในกรณีที่จำเป็น
    • ความยืดหยุ่น— โมเดล AI จะต้องได้รับการปรับปรุงและทบทวนแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความเสี่ยงใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ และความท้าทายอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความสอดคล้องกัน กรอบการกำกับดูแลที่รัดกุมจะช่วยให้สถาบันการเงินบรรลุเป้าหมายในการประเมิน ตรวจสอบ และตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโมเดล AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ความปลอดภัย— โมเดล AI อาจเผยให้สถาบันการเงินเห็นความเสี่ยงด้านการดำเนินงานและกฎระเบียบต่าง ๆ รวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ทำให้การดำเนินงานหยุดชะงัก เช่น ระบบไอทีล่ม ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (เช่น การโจมตีแบบ Data Poisoning) และปัญหาเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

ความท้าทายในการปรับใช้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI

  องค์กรจำเป็นต้องจัดการกับความท้าทายสำคัญ ๆ ต่อไปนี้ เพื่อให้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI เป็นประโยชน์ในระยะยาว

    • การดำเนินการเก็บรวบรวม ทำความสะอาดข้อมูลให้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ เชื่อถือได้ และสอดคล้องกันมากขึ้น รวมถึงความเที่ยงตรงของฟังก์ชั่นการป้อนข้อมูล
    • การจัดการปัญหาเรื่องอคติในโมเดล AI ที่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นธรรมและมีการเลือกปฏิบัติ
    • การยึดมั่นในความรับผิดชอบและความโปร่งใสในระบบ AI ช่วยให้ผู้ดูแลด้านการใช้ AI ในองค์กร เข้าใจว่าองค์กรใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในลักษณะใดบ้าง ทั้งยังเอื้อให้มีการทบทวนหรือปรับเปลี่ยนการตัดสินใจในกรณีที่จำเป็น
    • การปฏิบัติตามกฎระเบียบ นโยบายองค์กร มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เหมาะสมของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงข้อบังคับภายนอกและภายในองค์กร เป็นความท้าทายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคธุรกิจที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดเช่นภาคการเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ บทลงโทษ และความเสียหายต่อชื่อเสียง
    • การจัดการและตรวจติดตามการทำงานของระบบ AI เชิงรุก ด้วยการระบุและวินิจฉัยปัญหา และอนุญาตให้มีการดำเนินการแก้ไข

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่เปิดกว้างของเร้ดแฮทเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในภาคธุรกิจบริการด้านการเงิน หรือการพัฒนาโซลูชันที่มีการนำ AI มาใช้ร่วมด้วย