ส่อง! เวอร์ชวลไลเซชันปี 2025 และจากนี้ไป

ส่อง! เวอร์ชวลไลเซชันปี 2025 และจากนี้ไป

ส่อง! เวอร์ชวลไลเซชันปี 2025 และจากนี้ไป

บทความโดย ซาชิน มัลลิค, ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์, เร้ดแฮท

เมื่อมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าทุกสิบปีจะมีคลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรมเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานจากความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าที่ยังไม่เติมเต็ม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในยุค 1990 เกิดการเปลี่ยนผ่านข้อมูลสู่การเป็นข้อมูลดิจิทัลที่ทำให้ World Wide Web (www) เป็นที่นิยม ต่อมาเราเริ่มต้นปี 2000 ด้วยการใช้เซิร์ฟเวอร์แบบเวอร์ชวลที่เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไฮเปอร์ไวเซอร์ ทำให้แอปพลิเคชันไม่ต้องพึ่งพาฮาร์ดแวร์อีกต่อไป ในอีกสิบปีถัดมา (2010) มีการนำโครงสร้างพื้นฐานแบบออนดีมานด์มาใช้ พร้อมกับการเกิดขึ้นของ DevOps และ Kubernetes ที่เข้ามาทำให้สามารถสร้างและปรับใช้แอปพลิเคชันได้เร็วขึ้น จากเดิมที่เคยใช้เวลาเป็นปีเหลือเพียงหลักชั่วโมง และในยุค 2020 เรากำลังเห็นการเติบโตของ Generative AI (Gen AI) รวมถึงการที่ลูกค้าหลายรายเริ่มทบทวนแนวทางการทำเวอร์ชวลไลเซชันแบบดั้งเดิม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม

อย่างน้อยสองในสามของแอปพลิเคชันสำคัญขององค์กรรันอยู่บนเวอร์ชวลแมชชีน และลูกค้าส่วนใหญ่เริ่มทบทวนแนวทางการใช้เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชันดั้งเดิมของตนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านนี้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เร้ดแฮทนำเสนอข้อมูลทิศทางของตลาดด้านเวอร์ชวลไลเซชัน ความสำคัญของความร่วมมือกับระบบนิเวศพันธมิตร และแนวทางที่องค์กรสามารถใช้เพื่อให้การลงทุนด้านเวอร์ชวลแมชชีนคุ้มค่า รวมถึงเส้นทางการปรับปรุงให้ทันสมัยเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

ทิศทางในอนาคต

ในปี 2025 และจากนี้ไป จะมีการให้คำนิยามคำว่าเวอร์ชวลไลเซชันอย่างหลากหลาย ลูกค้าจำนวนมากหลีกเลี่ยงการถูกผูกขาดจากผู้ให้บริการรายเดียว (vendor lock-in) ด้วยการเลือกใช้ไฮเปอร์ไวเซอร์จากผู้ให้บริการหลายราย ในขณะเดียวกัน ผู้พัฒนาและจำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISVs) โดยเฉพาะในด้านการจัดเก็บข้อมูล การสำรองข้อมูล และการกู้คืนระบบจากภัยพิบัติ ก็กำลังเผชิญกับกระแสความหลากหลายนี้เช่นกัน ทำให้ ISVs ต่างขยายให้บริการของตนรองรับการใช้งานกับไฮเปอร์ไวเซอร์มาตรฐานอุตสาหกรรมเพิ่มเติมอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การดำเนินงานง่ายขึ้นและลดความซับซ้อนในการเรียนรู้ โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI จะมีบทบาทสำคัญ ช่วยให้ทีมทำงานได้อย่างราบรื่นในระดับภาษาคำสั่งปฏิบัติการ (Operational Syntax) โดยไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในระบบที่ซับซ้อน โซลูชันที่ใช้ AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความยุ่งยากในการดำเนินงาน และหลีกเลี่ยงการต้องเรียนรู้ระบบที่ซับซ้อนและเฉพาะทางมากมาย ช่วยให้ทีมงานทำงานได้อย่างราบรื่นโดยใช้คำสั่งในระดับปฏิบัติการทั่วไปที่ไม่ซับซ้อนสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ 

เราจะได้เห็นว่ามีการนำหลักการการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่มาใช้มากขึ้น ความคุ้นเคยของลูกค้ากับวิธีการพัฒนาและปรับใช้แอปพลิเคชันสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผลลัพธ์ที่ได้จากการที่นักพัฒนาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถให้บริการแอปพลิเคชันได้อย่างคล่องตัว จะกระตุ้นให้องค์กรประเมินเวิร์กโหลดเวอร์ชวลแมชชีนที่ใช้งานอยู่ และพิจารณาว่าเวิร์กโหลดใดเหมาะสมกับการนำแนวทางสมัยใหม่มาใช้ ดังนั้น แพลตฟอร์มที่สามารถรันเวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์ร่วมกันได้อย่างราบรื่น และมอบความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การใช้งานไฮบริดคลาวด์จะต้องเรียบง่าย แม้ว่าลูกค้าจะใช้กลยุทธ์มัลติคลาวด์สำหรับเวิร์กโหลดเวอร์ชวลไลเซชัน แต่ก็มีแนวโน้มที่จะย้ายเวิร์กโหลดบางส่วนกลับมาไว้ในระบบภายในองค์กร (on-premises) ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการตัดสินใจนี้ ได้แก่ ความพร้อมใช้งานในแต่ละภูมิภาค ความกังวลเกี่ยวกับอำนาจในการควบคุมข้อมูล และการปรับค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม การพึ่งพาผู้ให้บริการคลาวด์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ตอกย้ำให้เห็นความจำเป็นที่ต้องใช้โซลูชันไฮบริดคลาวด์ ซึ่งสามารถมอบการทำงานที่เป็นมาตรฐานไม่ว่าจะใช้บนคลาวด์ใดก็ตาม และมาพร้อมความสามารถในการสลับไปยังระบบสำรอง (failover) ที่เชื่อถือได้โดยอัตโนมัติและไม่ติดขัด ช่วยให้บริหารจัดการระบบต่าง ๆ ที่ซับซ้อนง่ายขึ้น

จากที่กล่าวมา เราจะเห็นได้ว่าจำเป็นต้องใช้โซลูชันเวอร์ชวลไลเซชันที่ทันสมัยที่สามารถปรับตัวและทำงานได้กับทุกสภาพแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถเตรียมรับนวัตกรรมและการเติบโตในอนาคต การใช้กลยุทธ์ที่ถูกต้องจะช่วยให้องค์กรสามารถปรับโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปได้

ความต้องการโซลูชันเวอร์ชวลไลเซชันแบบโอเพ่นและไฮบริด

ต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นและการจำกัดงบประมาณด้านไอที ไม่ได้เป็นเพียงเหตุผลเดียวที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้องค์กรทบทวนการใช้โซลูชันเวอร์ชวลไลเซชันของตนใหม่ ทางเลือกในการใช้โซลูชันโอเพ่นซอร์สที่ทันสมัยกำลังเข้ามามีบทบาท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของเวอร์ชวลไลเซชันในอนาคตได้

แม้การเดินสู่ความทันสมัยต้องใช้เวลาอีกหลายปี และเวอร์ชวลแมชชีนยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในกลยุทธ์ด้านไอทีขององค์กร แต่มีแนวโน้มว่าแผนงานในอนาคตจะเกี่ยวกับเรื่องของคอนเทนเนอร์, การใช้งานที่ edge, Generative AI (gen AI) และเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมาก การใช้ AI ในองค์กร ต้องการแพลตฟอร์มที่แก้ความท้าทายที่เหมือนกันได้ด้านความยืดหยุ่น เวิร์กโฟลว์การทำงานร่วมกัน และการสเกลไปได้ทุกที่บนไฮบริดคลาวด์ การจะใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านี้ โดยไม่ทำให้การลงทุนด้านเวอร์ชวลแมชชีนที่ลงทุนไปแล้วสูญเปล่าได้นั้น องค์กรต้องใช้โซลูชันที่ไม่ผูกขาดอยู่กับเวนเดอร์ใดเวนเดอร์หนึ่ง และมอบแพลตฟอร์มเดียวที่สามารถบริหารจัดการได้ทั้งแอปพลิเคชันรุ่นใหม่และรุ่นเก่าทั้งหมด และต้องเป็นโซลูชันที่รองรับการใช้แพลตฟอร์ม AI ขององค์กร

จุดนี้เองที่โซลูชันโอเพ่นซอร์สแสดงให้เห็นถึงศักยภาพอย่างชัดเจน ด้วยการนำเสนอวิธีผสานรวมเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟโดยไม่จำเป็นต้องละทิ้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ เวอร์ชวลไลเซชันแบบโอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกที่เปิดโอกาสให้องค์กรสามารถเข้าถึงระบบนิเวศทั้งหมดของเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรอง ได้รับความยืดหยุ่น และที่สำคัญที่สุดคือมอบอำนาจการควบคุมที่ผู้บริหารไอทีกำลังแสวงหาในสภาวะตลาดที่มีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โซลูชัน Red Hat OpenShift พัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว อาทิ Kubernetes, KubeVirt และ KVM เพื่อมอบประสบการณ์การบริหารจัดการที่เป็นเอกภาพทั้งในสภาพแวดล้อมคลาวด์ ระบบภายในองค์กร (on-premises) และเอดจ์ (edge)

การทำงานร่วมกันของเวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์ 

องค์กรหลายแห่งพบว่า ตนเองต้องเผชิญกับความท้าทายเฉพาะหน้าด้านเวอร์ชวลไลเซชันซึ่งเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด และยังคงต้องการวางรากฐานเพื่อการปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ทันสมัยในอนาคต แต่ความท้าทายนี้อาจเป็นโอกาสหนึ่งขององค์กรได้ องค์กรหลายแห่งยังไม่พร้อมทุ่มเทไปกับเรื่องการปรับให้ทันสมัยทั้งหมด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านข้อจำกัดด้านงบประมาณ ช่องว่างทางทักษะ การจัดลำดับความสำคัญ หรือเหตุผลใด ๆ ก็ตาม บ่อยครั้งที่องค์กรเหล่านี้เน้นให้การทำธุรกิจและระบบต่าง ๆ ดำเนินไปได้ก่อน และทำการเปลี่ยนแปลงด้านไอทีเพิ่มทีละน้อย แทนทางเลือกในการยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งหมดครั้งใหญ่ที่ใฝ่ฝันอยากจะทำ แต่อย่างไรก็ตาม การทำเวอร์ชวลไลเซชันให้ทันสมัยนั้น ไม่ได้อยู่ในข้อจำกัดที่ว่า จำเป็นต้องทำครั้งเดียวทั้งหมดหรือไม่เช่นนั้นก็ไม่ต้องทำเลย

เร้ดแฮท ทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุง Red Hat OpenShift ให้ตอบสนองความต้องการของโครงสร้างพื้นฐานแบบเวอร์ชวลไลซ์ได้อย่างดีที่สุด พร้อมทั้งช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมไอทีล่าสุด เช่น Generative AI ทั้งนี้ Red Hat OpenShift พร้อม OpenShift Virtualization ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมเชิงกลยุทธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมเวอร์ชวลไลเซชันแบบดั้งเดิมและแอปพลิเคชันสมัยใหม่แบบคลาวด์-เนทีฟ ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการเปลี่ยนผ่าน ในขณะที่ยังคงรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงาน

นอกจากนี้เร้ดแฮทยังได้ขยายผลิตภัณฑ์ด้านเวอร์ชวลไลเซชันเพื่อรองรับผู้ใช้ในทุกขั้นตอนของการใช้งานเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน ด้วย Red Hat OpenShift รุ่นล่าสุด Red Hat OpenShift Virtualization Engine องค์กรจะได้รับโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ ที่รวมถึงคุณสมบัติและส่วนประกอบหลักของ OpenShift ที่จำเป็นสำหรับการใช้เวอร์ชวลไลเซชัน พร้อมเส้นทางการอัปเกรดที่ราบรื่น และง่ายดาย เพื่อตอบสนองความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพ และความทันสมัยในอนาคต 

Red Hat OpenShift Virtualization ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ เช่น Reist Telecom AG สามารถผสานให้เวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์ทำงานร่วมกันได้ ทำให้สามารถลดต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ลงครึ่งหนึ่ง เพิ่มความโปร่งใสและความสอดคล้องให้กับนโยบายความปลอดภัยด้านไอที รวมถึงเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทีมผ่านแนวทาง DevOps และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง

เส้นทางข้างหน้าที่ยืดหยุ่น

ภาพรวมของเวอร์ชวลไลเซชันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงพอสมควร และในปี 2025 ทิศทางบางอย่างจะเริ่มชัดเจนขึ้น การตัดสินใจครั้งสำคัญ ๆ เกิดขึ้นเมื่อต้องพิจารณาถึงการปกป้องไม่ให้การลงทุนด้านเวอร์ชวลแมชชีนที่ทำไปแล้วเสียเปล่า ในขณะเดียวกันก็จับตาดูอนาคตด้วย ทั้งนี้ แม้การรักษาสถานะเดิมอาจดูเป็นทางเลือกที่ง่ายกว่า แต่ Red Hat OpenShift Virtualization Engine สามารถช่วยให้องค์กรโยกย้ายเวิร์กโหลดไปยังสภาพแวดล้อมที่มั่นคงก่อน แล้วทยอยปรับปรุงให้ทันสมัยเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม  

APAC Faces Rising Cyber Threats in an Evolving Global Risk Landscape – Group-IB’s High-Tech Crime Trends Report 2025

รายงาน High-Tech Crime Trends Report 2025 ของ Group-IB เผยให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ความเสี่ยงที่ทั่วโลกกำลังเผชิญมากขึ้นเรื่อย ๆ

APAC Faces Rising Cyber Threats in an Evolving Global Risk Landscape - Group-IB’s High-Tech Crime Trends Report 2025

Group-IB, a leading creator of cybersecurity technologies to investigate, prevent, and fight digital crime, has released its annual High-Tech Crime Trends Report 2025. The findings reveal that cybercrime is no longer a collection of isolated incidents—it has evolved into a complex, self-sustaining chain reaction where regional threats, such as state-sponsored espionage, ransomware, underground marketplaces and AI-driven cybercrime, reinforce and accelerate one another.

Unraveling the Web of Cybercrime

Group-IB’s High-Tech Crimes Report reveals a 58% surge in Advanced Persistent Threat (APT) attacks between 2023 and 2024, with over 20% targeting the Asia-Pacific region. Indonesia experienced the second-highest number of APT-related cyberattacks in 2024, accounting for 7% of all incidents in the region, while Malaysia made up 5%. In May 2024, North Korean APT group Lazarus stole over US$308 million in cryptocurrency from Japan’s DMM platform. Meanwhile, newly emerged APT group DarkPink targeted government and military networks, stealing confidential documents, infecting USB devices, and accessing messaging applications on compromised machines.

Cybercriminals, such as APTs, often gain unauthorised access to compromised networks via Initial Access Brokers, who obtain and sell unauthorized access via the dark web.  In 2024, 3,055 corporate access listings sold by Initial Access Brokers were detected on dark web marketplaces, a 15% year-over-year increase, with 427 instances in the Asia Pacific region. Indonesia, Thailand, and Singapore accounted for 6% of these incidents each.

Ransomware remains one of the most profitable forms of cybercrime, with attacks rising by 10% globally in 2024, fuelled by the Ransomware-as-a-Service (RaaS) model. The Asia Pacific region recorded 467 ransomware-related attacks, with real estate, manufacturing, and financial services among the top targeted industries. Underground recruitment efforts for ransomware affiliates increased by 44%, further demonstrating the industrialization of cyber extortion.

Beyond financial extortion, ransomware attacks often result in significant data breaches. Last year alone, 5,066 ransomware incidents led to data leaks on Dedicated Leak Sites (DLS), exposing sensitive business and institutional data. A staggering 6.4 billion compromised records appeared on cybercriminal marketplaces, including email addresses, phone numbers, financial data, and passwords, fuelling cyber fraud, identity theft, and secondary attacks.

Among these, more than 6.5 billion leaked entries contained email addresses, over 3.3 billion included phone numbers, and 460 million passwords were exposed. Indonesia and Thailand ranked among the top 10 global markets affected by dark web data leaks.

The accessibility of stolen data has contributed to a surge in phishing attacks, which rose by 22% globally in 2024. Cybercriminals are now leveraging AI-generated deepfake technology to make phishing campaigns more convincing and harder to detect. In the Asia Pacific region, More than 51% of phishing attacks targeted the financial services sector, while commerce and retail accounted for more than 20%.

Meanwhile, the Asia-Pacific region accounted for nearly 40% (2,113) of hacktivism-related attacks, with India alone making up almost 13%. Hacktivist groups like ETHERSEC TEAM CYBER from Indonesia and RipperSec from Malaysia were particularly active, carrying out DDoS attacks, website defacements, and data leaks targeting government and financial institutions.

“The High-Tech Crime Trends Report 2025 illustrates that cybercrime is not a series of random incidents—it is a chain reaction where each attack strengthens the next,” said Dmitry Volkov, CEO of Group-IB. “Geopolitics is destabilized by espionage, which is fuelled by data breaches, while at the same time ransomware exploits these breaches, all contributing to an ever-growing cyber threat landscape. Organizations must adopt proactive security strategies, fortify cyber resilience, and recognize that every cyber threat feeds into a larger, interconnected battle. To mitigate these threats, we must disrupt the cycle by enhancing cooperation and building a global framework to fight against cybercrime.”

The full High-Tech Crime Trends 2025 Report is available for download here.

รายงาน High-Tech Crime Trends Report 2025 ของ Group-IB เผยให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ความเสี่ยงที่ทั่วโลกกำลังเผชิญมากขึ้นเรื่อย ๆ

รายงาน High-Tech Crime Trends Report 2025 ของ Group-IB เผยให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ความเสี่ยงที่ทั่วโลกกำลังเผชิญมากขึ้นเรื่อย ๆ

รายงาน High-Tech Crime Trends Report 2025 ของ Group-IB เผยให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ความเสี่ยงที่ทั่วโลกกำลังเผชิญมากขึ้นเรื่อย ๆ

Group-IB ผู้นำด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับการตรวจสอบ ป้องกัน และต่อสู้กับอาชญากรรมดิจิทัล เผยแพร่รายงาน High-Tech Crime Trends 2025 โดยผลการศึกษาเผยให้เห็นว่าอาชญากรรมไซเบอร์ไม่ได้เป็นเพียงเหตุการณ์เดี่ยว ๆ อีกต่อไป แต่ได้พัฒนาเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ซับซ้อนและดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภัยคุกคามระดับภูมิภาค ได้แก่ การจารกรรมแบบ State-sponsored ที่มีหน่วยงานรัฐหนุนหลัง แรนซัมแวร์ ตลาดมืดใต้ดิน (underground marketplaces) และภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI (AI-driven cybercrime) ทั้งหมดนี้ต่างหนุนและเร่งให้สถานการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น

เผยเครือข่ายอาชญากรรมไซเบอร์

รายงาน High-Tech Crime Trends โดย Group-IB เผยว่าการโจมตีแบบ Advanced Persistent Threat (APT) เพิ่มขึ้นถึง 58% ระหว่างปี 2023-2024 โดยกว่า 20% ของการโจมตีมุ่งเป้าไปที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในปี 2024 อินโดนีเซียเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับ APT มากเป็นอันดับสองของภูมิภาค คิดเป็น 7% ของเหตุการณ์ทั้งหมด ขณะที่มาเลเซียคิดเป็น 5% และในเดือนพฤษภาคม 2024 กลุ่มแฮกเกอร์ APT Lazarus ซึ่งเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือ ขโมยสกุลเงินดิจิทัลมูลค่ากว่า 308 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากแพลตฟอร์ม DMM ของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันกลุ่ม APT DarkPink ซึ่งเพิ่งปรากฎตัว ได้มุ่งเป้าไปที่เครือข่ายของรัฐบาลและกองทัพ ขโมยเอกสารลับ ติดตั้งมัลแวร์ผ่านอุปกรณ์ USB และเข้าถึงแอปพลิเคชันส่งข้อความบนเครื่องที่ถูกเจาะระบบ

อาชญากรไซเบอร์ เช่น APT มักเข้าถึงเครือข่ายเป้าหมายที่ถูกโจมตีผ่านโบรกเกอร์ที่เรียกว่า Initial Access Broker (IAB) ซึ่งเป็นตัวกลางในการแฮกข้อมูลและขายสิทธิ์เข้าถึงระบบผ่านทางตลาดมืดบนดาร์กเว็บ ในปี 2024 มีการตรวจพบรายการขายสิทธิ์เข้าถึงระบบองค์กรโดย IAB ต่าง ๆ จำนวน 3,055 รายการ เพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อนซึ่งมี 427 รายการอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยอินโดนีเซีย ไทย และสิงคโปร์ มีสัดส่วนคิดเป็น 6% ของเหตุการณ์เหล่านี้

แรนซัมแวร์ยังคงเป็นหนึ่งในรูปแบบอาชญากรรมไซเบอร์ที่ทำกำไรได้มากที่สุด มีการโจมตีเพิ่มขึ้น 10% ทั่วโลกในปี 2024 ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของโมเดล Ransomware-as-a-Service (RaaS) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ถึง 467 ครั้ง โดยมีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ภาคการผลิต และบริการทางการเงินเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในการโจมตี นอกจากนี้การรับสมัครพันธมิตรแรนซัมแวร์ในตลาดมืดยังเพิ่มขึ้นถึง 44% แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของอาชญากรรมไซเบอร์ที่เป็นอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น

นอกเหนือจากการเรียกค่าไถ่ การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์มักส่งผลให้เกิดการละเมิดข้อมูลที่สำคัญ ในปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์แรนซัมแวร์ถึง 5,066 ครั้ง ที่นำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลบน Dedicated Leak Sites (DLS) ซึ่งเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของธุรกิจและสถาบันต่าง ๆ ข้อมูลที่ถูกโจมตีมีจำนวนมหาศาลถึง 6.4 พันล้านรายการปรากฎในตลาดอาชญากรไซเบอร์ ที่รวมถึงอีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลทางการเงิน ที่เป็นการเปิดทางให้กับการฉ้อโกงทางไซเบอร์ การขโมยตัวตน (identity theft) และการโจมตีครั้งที่สอง 

ในจำนวนนี้มีรายการข้อมูลรั่วไหลมากกว่า 6.5 พันล้านรายการ เป็นข้อมูลที่มีอีเมลเป็นส่วนประกอบ ในขณะที่ 3.3 พันล้านรายการมีหมายเลขโทรศัพท์เป็นส่วนประกอบ และรหัสผ่านที่ถูกเปิดเผยกว่า 460 ล้านรายการ ทั้งนี้ อินโดนีเซียและไทย ติด 1 ใน 10 ตลาดทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของข้อมูลบนดาร์กเว็บมากที่สุด

ในปี 2024 การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกขโมยได้ง่ายมีส่วนทำให้การโจมตีแบบฟิชชิ่ง (phishing attacks) ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 22% ปัจจุบันอาชญากรไซเบอร์กำลังใช้เทคโนโลยี Deepfake ที่สร้างโดย AI เพื่อทำให้แคมเปญฟิชชิ่งน่าเชื่อถือและตรวจจับได้ยากขึ้น ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกการโจมตีแบบฟิชชิ่งมากกว่า 51% มุ่งเป้าไปที่ภาคบริการทางการเงิน ในขณะที่มุ่งเป้าไปที่ภาคพาณิชย์และการค้าปลีกมากกว่า 20% 

ในขณะเดียวกัน การโจมตีที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มแฮกทิวิสต์ (Hacktivist) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นเกือบ 40% (2,113 รายการ) โดยอินเดียเพียงประเทศเดียวมีสัดส่วนเกือบ 13% กลุ่มแฮกทิวิสต์ที่เคลื่อนไหวอย่างแข็งขัน ได้แก่ ETHERSEC TEAM CYBER จากอินโดนีเซีย และ RipperSec จากมาเลเซียที่ดำเนินการโจมตี DDoS การทำลายหน้าเว็บไซต์ และการรั่วไหลของข้อมูลโดยมุ่งเป้าไปที่หน่วยงานรัฐบาลและสถาบันการเงิน

รายงาน High-Tech Crime Trends 2025 แสดงให้เห็นว่าอาชญากรรมทางไซเบอร์ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม แต่เป็นปฏิกิริยาที่การโจมตีแต่ละครั้งจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ถูกรบกวนจากการจารกรรมที่มีหน่วยงานรัฐหนุนหลัง กระตุ้นให้เกิดการละเมิดข้อมูลมากขึ้น ในขณะเดียวกัน แรนซัมแวร์ก็ใช้ประโยชน์จากการละเมิดเหล่านี้ ส่งผลให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความซับซ้อนและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้กลุยทธ์ความปลอดภัยเชิงรุก เสริมความสามารถในการรับมือภัยไซเบอร์ และตระหนักว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ทุกรูปแบบล้วนส่งผลกระทบที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น เพื่อรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ เราต้องหยุดวงจรการโจมตีโดยเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนากรอบการทำงานระดับโลกเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์

ดาว์นโหลดรายงาน HighTech Crime Trend 2025 ฉบับเต็มได้ ที่นี่

A Majority of Businesses Intrigued by the Potential of AI in Achieving Sustainability Goals Whilst Energy Consumption Concerns Persist

A Majority of Businesses Intrigued by the Potential of AI in Achieving Sustainability Goals Whilst Energy Consumption Concerns Persist

A Majority of Businesses Intrigued by the Potential of AI in Achieving Sustainability Goals Whilst Energy Consumption Concerns Persist

  • More than one in two organizations acknowledge gap in understanding how digital technology can facilitate achieving sustainability goal.
  • Asian markets are leading the way in interest in adopting AI, cloud computing, and digital technologies to drive sustainability, with Thailand emerging among the top, showcasing strong enthusiasm.

Over three quarters of businesses (76%) across Asia, Europe and the Middle East are intrigued by the potential of digital technologies, including AI and cloud computing in driving sustainable development, according to the latest survey report titled “Tech-Driven Sustainability Trends and Index 2024”, commissioned by Alibaba Cloud, the digital technology and intelligence backbone of Alibaba Group. However, the substantial energy consumption associated with these technologies is still reflecting a key barrier to broader adoption, as 61% of respondents still express concerns over the matter. 

This interest in the potential of AI, cloud computing and other advanced digital technologies to support sustainable development varies across regions, with emerging Asian markets leading the way (83%), followed closely by the Middle East (78%), Europe (74%), and developed Asian markets (72%). Notably, the Philippines (91%), Singapore (84%), Indonesia (81%), and Thailand (81%), demonstrate particularly high interest. 

The survey also found that on average 80% of respondents have set sustainability goals, with Thailand surpassing this at 82%.

Regional Variations in AI Adoption and Sustainability Efforts

Despite this optimism, 59% businesses acknowledge gap in understanding how digital technology can assist in achieving sustainability goals with Asia leading at 63%, followed by Europe at 61% and the Middle East at 45%. Among all markets, Thailand ranked third with 70%, following Singapore (83%) and Hong Kong SAR (75%). 

Around two thirds (62%) of executives believe their organizations are lagging in adopting cloud computing and AI to accelerate progress towards sustainability goals. This concern is particularly noted in Singapore (80%), the Philippines (77%), and Japan (75%) and Hong Kong SAR (75%), indicating a pressing need for organizations to accelerate their technological adoption to advance sustainability. 

Overall, 82% of businesses agree that sustainable development in technology is paramount for their companies, with markets like Singapore (93%), the Philippines (91%), and Indonesia (89%) leading the charge. Companies increasingly recognize the multifaceted benefits of adopting digital technologies for sustainability including cost savings, improved operational efficiencies, and enhanced compliance with Environmental, Social, and Governance (ESG) regulations. For Thailand, 80% of respondents agreed on this matter.

AI and machine learning are viewed as the most crucial digital technologies for advancing corporate sustainability, with businesses in the Middle East (52%) placing greater emphasis on their importance compared to Europe (41%), emerging Asian markets (40%) and developed Asian markets (36%). In Thai market, respondents identified both AI/Machine Learning and cloud computing as the most important digital technologies with 34% of respondents favoring each. Meanwhile, 81% of businesses feel human oversight is needed in guiding the development of digital technologies, including AI tools with the Middle East feel the strongest at 91%, followed by emerging Asian markets at 83%, Europe at 82% and developed Asian markets at 74%. 

However, the survey reveals a notable concern: 61% of respondents fear that the high energy consumption associated with digital technologies may hinder widespread AI adoption. This concern is even higher in Singapore (85%), the Philippines (77%) and Hong Kong SAR (75%). 65% of Thai respondents share these energy concerns. Furthermore, 71% of businesses believe that the substantial energy consumption of digital technologies such as powering AI may outweigh its benefits with the highest concerns from Singapore (86%), the Philippines (84%) and Malaysia (81%). 

The report also highlights the importance of selecting technology providers that prioritize sustainability. When selecting a “green” cloud provider, approximately half of businesses prioritize those that use renewable energy (51%), maintain energy-efficient data centers (46%), and implement carbon footprint reduction initiatives (42%). Thai respondents ranked energy-efficient data center providers at the top of their list (51%), followed by providers with ‘future commitments on innovative or sustainable products and services’ (41%) and providers using renewable energy to power data centers (38%).

Commitment to Green AI and Open-source Innovation

“With feedback from decision-makers across 13 markets, the survey report sheds light on the current attitudes and challenges businesses face in adopting AI and cloud computing for sustainability,” said Selina Yuan, President of International Business, Alibaba Cloud Intelligence. “At Alibaba Cloud, we are committed to supporting businesses on their sustainability journeys with scalable and sustainable solutions. By pledging to use 100% clean energy by 2030 and improving the energy efficiency at our global data centers, as well as optimizing Generative AI capabilities such as large language models (LLMs) performance, AI can be a powerful tool to improve efficiency and optimize energy consumption.”

Alibaba Cloud has made notable progress in its green cloud initiatives. In the fiscal year ending March 31, 2024, the average power usage effectiveness (PUE) of the company’s self-built data centers improved to 1.200 from 1.215 the year before, with 56% of the electricity consumed coming from clean sources. Additionally, Alibaba’s green computing infrastructure has enabled clients to reduce their emissions by 9.884 million tons, a remarkable increase of 44% year-on-year.

In addition, Alibaba Cloud is at the forefront of democratizing AI through its open-source initiatives, making advanced AI technologies accessible and affordable for businesses of all sizes. By releasing cutting-edge open-source models from its proprietary large language model Qwen family, including Qwen2.5-VL and Qwen2.5-1M and its video foundation model Tongyi Wanxiang (Wan), Alibaba Cloud empowers developers to create task-specific AI applications that are both efficient and cost-effective. These open-source models have already inspired over 100,000 derivative models on Hugging Face, showcasing their global adoption and versatility. By promoting smaller parameter models, Alibaba Cloud reduces the cost and energy consumption of AI training and deployment, fostering a collaborative ecosystem that drives energy-efficient innovation.

Surveying 1,300 decision-makers across 13 markets, “Tech-Driven Sustainability Trends and Index 2024” aims to provide valuable insights into the evolving landscape of corporate sustainability. The survey report underscores the essential role of technology in driving impactful change, while highlighting the need for businesses to adopt AI and cloud computing responsibly to address energy consumption concerns and bridge the gap in sustainability efforts.

ผลสำรวจพบธุรกิจส่วนใหญ่ทึ่งในศักยภาพของ AI ที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน แต่ยังกังวลเรื่องการใช้พลังงาน

ผลสำรวจพบธุรกิจส่วนใหญ่ทึ่งในศักยภาพของ AI ที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน แต่ยังกังวลเรื่องการใช้พลังงาน

ผลสำรวจพบธุรกิจส่วนใหญ่ทึ่งในศักยภาพของ AI ที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน แต่ยังกังวลเรื่องการใช้พลังงาน

  • องค์กรมากกว่าหนึ่งในสองยอมรับว่ามีช่องว่างของความเข้าใจว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างไร
  • ตลาดเอเชียเป็นตลาดนำในการใช้ AI คลาวด์คอมพิวติ้ง และใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีขับเคลื่อนความยั่งยืน โดยผลสำรวจพบประเทศไทยอยู่ในลำดับต้น ๆ ในการใช้ AI และคลาวด์คอมพิวติ้ง

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป เผยรายงาน “แนวโน้มและดัชนีความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีประจำปี 2024” (Tech-Driven Sustainability Trends and Index 2024) พบว่าธุรกิจมากกว่าสามในสี่ (76%) ในเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลางตระหนักว่าเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) และคลาวด์คอมพิวติ้ง มีศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม 61% ของผู้ตอบแบบสอบถามยังคงกังวลว่าการที่เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้พลังงานมากจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้อย่างแพร่หลาย 

การให้ความสำคัญกับการนำศักยภาพของ AI คลาวด์คอมพิวติ้ง และเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคต่าง ๆ นั้นแตกต่างกัน ผลสำรวจพบว่า ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียเป็นผู้นำในเรื่องนี้ (83%) ตามติดด้วยตลาดตะวันออกกลาง (78%) ยุโรป (74%) และตลาดที่พัฒนาแล้วในเอเชีย (72%) หากลงรายละเอียดระดับประเทศ ตลาดที่ให้ความสนใจและให้ความสำคัญด้านนี้มากที่สุดคือฟิลิปปินส์ (91%) สิงคโปร์ (84%) อินโดนีเซีย (81%) และไทย (81%) 

นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสำรวจโดยเฉลี่ย 80% ได้กำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนไว้แล้ว โดยประเทศไทยสูงกว่าผลเฉลี่ยเล็กน้อยอยู่ที่ 82%

ความแตกต่างในการใช้ AI และความพยายามด้านความยั่งยืนของแต่ละภูมิภาค

แม้การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้จะเป็นไปในเชิงบวก แต่ธุรกิจ 59% ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างไร โดยตลาดเอเชียมีช่องว่างด้านนี้มากที่สุดที่ 63% ตามด้วยยุโรป 61% และตะวันออกกลาง 45% ในเอเชียประเทศไทยอยู่ในลำดับที่สาม (70%) รองจากสิงคโปร์ (83%) และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (75%) 

นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสำรวจประมาณสองในสาม (62%) เชื่อว่าองค์กรของตนยังล้าหลังในการนำคลาวด์คอมพิวติ้งและ AI มาปรับใช้เพื่อเร่งให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้เร็วขึ้น ข้อกังวลนี้มีเปอร์เซ็นที่สูงในประเทศสิงคโปร์ (80%) ฟิลิปปินส์ (77%) ญี่ปุ่น (75%) และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (75%) ซึ่งบ่งชี้ถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่องค์กรต่างต้องเร่งนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาความยั่งยืน

โดยภาพรวม ธุรกิจ 82% เห็นตรงกันว่าการพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืน เป็นสิ่งสำคัญต่อบริษัทของตน โดยสิงคโปร์ (93%) ฟิลิปปินส์ (91%) และอินโดนีเซีย (89%) เป็นสามประเทศที่มีสัดส่วนสูง คุณประโยชน์หลากหลายของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อความยั่งยืนที่องค์กรที่ตอบแบบสำรวจตระหนักมากที่สุด เช่น ประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ได้ดีขึ้น สำหรับประเทศไทย ผู้ตอบแบบสอบถาม 80% เห็นด้วยกับเรื่องนี้ 

52% ของธุรกิจในตะวันออกกลางมองว่า AI และ ML (แมชชีนเลิร์นนิ่ง) เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร ในขณะที่ยุโรปให้ความสำคัญเรื่องนี้รองลงมาที่ 41% ตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย 40% และตลาดที่พัฒนาแล้วในเอเชีย 36% ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยระบุว่าทั้ง AI/ML และคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญที่สุด (34%) ในขณะเดียวกัน 81% ของธุรกิจที่ตอบแบบสำรวจรู้สึกว่ายังจำเป็นต้องใช้คนควบคุมและชี้แนะการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องมือด้าน AI ต่าง ๆ โดยตลาดตะวันออกกลาง (91%) มีแนวคิดด้านนี้สูงสุด ตามด้วยตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย (83%) ยุโรป (82%) และตลาดพัฒนาแล้วในเอเชีย (74%)

อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจ 61% กังวลว่าการที่เทคโนโลยีดิจิทัลใช้พลังงานปริมาณมากจะเป็นอุปสรรคต่อการนำ AI ไปใช้ในวงกว้าง โดยสิงคโปร์มีความกังวลสูงสุดที่ 85% ฟิลิปปินส์ 77% เขตบริหารพิเศษฮ่องกง 75% และไทย 65% นอกจากนี้ธุรกิจ 71% ยังเชื่อว่าการใช้พลังงานปริมาณมากของเทคโนโลยีดิจิทัลเช่น AI จะไม่คุ้มกับประโยชน์ที่จะได้รับ โดย 3 ตลาดที่กังวลเรื่องนี้สูงสุดคือสิงคโปร์ 86% ฟิลิปปินส์ 84% และมาเลเซีย 81%

รายงานฉบับนี้ยังเน้นให้เห็นความสำคัญของการเลือกผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ในมุมของการเลือกผู้ให้บริการคลาวด์ที่ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ธุรกิจประมาณครึ่งหนึ่งให้ความสำคัญกับผู้ให้บริการคลาวด์ที่ใช้พลังงานทดแทน (51%) ตามด้วยผู้ให้บริการที่คงไว้ซึ่งการดำเนินงานของดาต้าเซ็นเตอร์ที่ประหยัดพลังงาน (46%) และใช้แนวทางหรือมีโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน (42%) ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยให้ความสำคัญกับการเลือกผู้ให้บริการคลาวด์แตกต่างเล็กน้อย โดยจัดให้ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ที่ประหยัดพลังงานอยู่ในลำดับสูงสุด (51%) ตามด้วยผู้ให้บริการที่มีความมุ่งมั่นในอนาคตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมหรือมีความยั่งยืน (41%) และผู้ให้บริการที่ใช้พลังงานทดแทนในการดำเนินงานดาต้าเซ็นเตอร์ (38%)

ความมุ่งมั่นต่อ AI ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมโอเพ่นซอร์ส

เซลิน่า หยวน ประธานฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “การตอบแบบสำรวจของผู้มีอำนาจตัดสินใจจาก 13 ตลาด ทำให้รายงานการสำรวจนี้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับทัศนคติ และความท้าทายในการใช้ AI และคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อความยั่งยืนที่ธุรกิจเผชิญในปัจจุบัน อาลีบาบา คลาวด์ มุ่งมั่นสนับสนุนการเดินบนเส้นทางแห่งความยั่งยืนของธุรกิจต่าง ๆ ด้วยโซลูชันที่ปรับขนาดการทำงานได้และยั่งยืน AI จะกลายเป็นเครื่องมือทรงพลังที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้เหมาะสม ด้วยคำมั่นของเราที่จะใช้พลังงานสะอาด 100% ภายในปี 2573 และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกของเรา รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถให้กับ Generative AI เช่น ประสิทธิภาพของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM)”

การดำเนินงานด้านคลาวด์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาลีบาบา คลาวด์ ประสบความสำเร็จอย่างสูง ข้อมูล ณ วันสิ้นสุดปีงบประมาณของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2567 เผยให้เห็นว่าการใช้พลังงานเฉลี่ย (PUE) ของดาต้าเซ็นเตอร์ที่บริษัทฯ สร้างเองมีประสิทธิภาพดีขึ้นเป็น 1.200 จาก 1.215 ในปีงบประมาณก่อนหน้า โดย 56% ของการใช้ไฟฟ้ามาจากแหล่งพลังงานสะอาด นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาลีบาบา ยังช่วยให้ลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 9.884 ล้านตัน ซึ่งลดได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งถึง 44% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ อาลีบาบา คลาวด์ ยังเป็นผู้นำในการช่วยให้การใช้ AI แพร่หลายมากขึ้น ผ่านการเปิดโอเพ่นซอร์สให้ธุรกิจทุกขนาดเข้าถึงเทคโนโลยี AI ขั้นสูงได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม อาลีบาบา คลาวด์ เสริมแกร่งให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถสร้างแอปพลิเคชัน AI เฉพาะงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าใช้จ่าย ด้วยการเปิดโอเพ่นซอร์สโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ล้ำสมัยของบริษัทฯ ในตระกูล Qwen ซึ่งรวมถึง Qwen2.5-VL และ Qwen2.5-1M และ Tongyi Wanxiang (Wan) ซึ่งเป็นโมเดลพื้นฐานด้านวิดีโอของ บริษัทฯ โมเดลโอเพ่นซอร์สเหล่านี้ ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการสร้างโมเดลอนุพันธ์มากกว่า 100,000 โมเดล บน Hugging Face ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถรอบด้านของโมเดลเหล่านี้ และการนำไปใช้แพร่หลายทั่วโลก อาลีบาบา คลาวด์ สนับสนุนโมเดลที่มีขนาดพารามิเตอร์เล็กลง เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการใช้พลังงานในการฝึกอบรมและปรับใช้ AI เป็นการส่งเสริมระบบนิเวศการทำงานร่วมกันที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่ประหยัดพลังงาน

รายงาน “Tech-Driven Sustainability Trends and Index 2024” ทำการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจ 1,300 รายใน 13 ตลาด มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณประโยชน์เกี่ยวกับภูมิทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร รายงานการสำรวจเน้นย้ำไปที่บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สร้างผลกระทบสำคัญ และเน้นให้เห็นความจำเป็นที่ธุรกิจควรใช้ AI และคลาวด์คอมพิวติ้งอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อขจัดความกังวลด้านการใช้พลังงานและลดช่องว่างของการทำงานด้านความยั่งยืน

เกี่ยวกับการสำรวจ

รายงาน “Tech-Driven Sustainability Trends and Index 2024” ของอาลีบาบา คลาวด์ จัดทำโดยอิสระโดย Yonder Consulting ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ พร้อมด้วยการให้คำปรึกษา การออกแบบ และการวิเคราะห์จาก The Purpose Business ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน การสำรวจครั้งนี้เป็นการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้นำธุรกิจและผู้บริหารระดับสูง 1,300 คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีและการสื่อสาร การเงิน โครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรหมุนเวียน การดูแลสุขภาพ การขนส่ง ค้าปลีก และภาคการผลิต โดยทำการสำรวจจากวันที่ 10 พฤษภาคม ถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2567

ผู้ตอบแบบสำรวจมาจากตลาด 13 แห่งในเอเชีย ยุโรป และ ตะวันออกกลาง ในเอเชียประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ในยุโรปประกอบด้วย ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักร และในตะวันออกกลางประกอบด้วย ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คำว่าตลาดที่พัฒนาแล้วในเอเชียหมายถึง เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ส่วนคำว่าตลาดเกิดใหม่ในเอเชียในที่นี้หมายถึง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย