ศึกษาและเรียนรู้วิธีการที่ธุรกิจใช้ประโยชน์จากคลาวด์

ศึกษาและเรียนรู้วิธีการที่ธุรกิจใช้ประโยชน์จากคลาวด์

วิธีการที่ช่วยให้แม้แต่องค์กรแบบดั้งเดิม ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการวางกลยุทธ์ระยะยาวของการใช้ไฮบริด มัลติคลาวด์

บทความโดยนายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

ในแวดวงเทคโนโลยี เรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่าต้องขยับปรับให้เร็ว ไม่เช่นนั้นจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังแบบไม่เห็นฝุ่น ซึ่งก็เป็นคำแนะนำที่ดีและสมเหตุสมผล แต่บางครั้งการถอยออกมา หยุดคิดสักนิด และเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่นก็ส่งผลดีเช่นกัน ท่ามกลางการแข่งขันกันนำคลาวด์มาใช้ทั่วโลก องค์กรต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกก็เพิ่งทำเช่นเดียวกันและทำให้องค์กรเหล่านี้มีสถานะแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปในทำนอง “ทำทีหลังดีกว่า”

เทคโนโลยีคลาวด์เป็นองค์ประกอบหลักของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน แต่มีความเข้าใจผิดที่พบบ่อยทั่วโลกคือ “คลาวด์” เท่ากับ พับลิคคลาวด์ การที่ผู้นำจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเลิกใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ และรีบเร่งตัดสินใจด้วยความคิดที่มีเพียงสองทางเลือกคือ “จะยังใช้อยู่ทั้งหมดหรือไม่ใช้เลย” ได้เกิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น และต้องแลกกับค่าใช้จ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะถูกล็อคอยู่กับโซลูชันเดียว  ปัจจุบันความกังวลเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบ กระบวนการทำงาน และค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการพิจารณาเรื่องการใช้เทคโนโลยีใหม่อีกครั้ง

ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกกลับมีความระมัดระวังในการนำคลาวด์ไปใช้งานมากกว่าในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยไม่ต้องรับภาระจากการลงทุนกับพับลิคคลาวด์ขนาดใหญ่เป็นหลัก และกำลังหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อเดินหน้าต่อไป ธุรกิจเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้ประโยชน์จากตัวเลือกที่เพิ่มขึ้นจากผู้ใช้คลาวด์จำนวนมากที่เข้าสู่ตลาดก่อนหน้า รวมถึงมีความได้เปรียบในการเจรจาที่ดีกว่าในแง่ของราคา

ธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญกับความสำเร็จในการบรรลุความสมดุลทั้งเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงานกลยุทธ์ไฮบริดมัลติคลาวด์ที่สมดุลเริ่มด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจให้ชัดเจน ซึ่งคือการกำหนดว่างานส่วนใดของธุรกิจจะให้บริการได้ดีที่สุดบนคลาวด์ประเภทใด พับลิค หรือไพรเวทคลาวด์ และนี่คือการสร้างสภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์ที่ชาญฉลาดและปลอดภัย ทั้งนี้ IDC ได้อธิบายว่าไฮบริดมัลติคลาวด์คือ “กลยุทธ์การใช้โซลูชันที่ ‘ดีที่สุดของคลาวด์ทั้งสองประเภท'”และเราได้เห็นแล้วว่ากลยุทธ์มัลติคลาวด์กลายเป็น “บรรทัดฐานขององค์กร” ไปแล้ว

การใช้ไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นเรื่องไม่ยุ่งยากเลยสำหรับสตาร์ทอัพที่ไม่ได้ใช้ระบบไอทีแบบดั้งเดิม บริษัทให้คำปรึกษาเอคเซนเชอร์ มองว่าองค์กรต่าง ๆ กำลังพัฒนาแอปพลิเคชันคลาวด์-เนทีฟโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ให้บริการคลาวด์รายใดรายหนึ่งหรือพึ่งพาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่การที่องค์กรที่ใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ภายในองค์กร (on-premise) มีแอปพลิเคชันจำนวนมาก และมีเวิร์กโหลดหลายประเภทจะนำคลาวด์มาใช้นั้น จำเป็นต้องมีขั้นตอนเพิ่มขึ้น ตัวอย่างธนาคารเพื่อการลงทุนข้ามชาติของสหรัฐอเมริกาแห่งหนึ่งใช้แอปพลิเคชันเกือบ 3,900 แอปฯ ที่ไม่สามารถโยกย้ายไปทำงานบนคลาวด์ได้

สิ่งแรกที่องค์กรต้องทำ คือ การจัดระเบียบการใช้ไอทีทั้งด้านระบบและด้านบุคลากร เปลี่ยนความคิดจากยึดมั่นกับกระบวนการที่กำหนดไว้ ให้เป็นยึดเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก และรื้อระบบที่ต่างคนต่างทำ (siloes) ออกเสีย ทันทีที่ขั้นตอนพื้นฐานและกระบวนการคิดเป็นที่เป็นทางแล้วก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะนำสู่ความสำเร็จในระยะยาว เช่น ลดเวลาในการเปิดใช้งานการประมวลผลข้อมูล เป็นต้น

แน่นอนว่าแรงจูงใจแรก ๆ อย่างหนึ่งสำหรับธุรกิจที่ดำเนินกิจการมาอย่างยาวนาน เช่น บริการด้านการเงิน ให้หันมาใช้ไฮบริดมัลติคลาวด์ คือการต้องต่อกรกับการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้องค์กรเหล่านี้ต้องการความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถทำงานจากระยะไกลได้ แต่ความเคลื่อนไหวในการดำเนินการของพวกเขามีจุดประสงค์มากกว่าการรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดเท่านั้น ธุรกิจในภาคส่วนอื่น ๆ มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันนี้มากขึ้น เช่น ภาคการผลิต ภาคสาธารณสุข และบริการสาธารณะต่าง ๆ  เช่น บริษัทโตโย ไซกัน (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทในภาคการผลิต ได้ใช้คลาวด์แพลตฟอร์มของนูทานิคซ์เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานจากระยะไกล และเพิ่มความมั่นคงด้านการสำรองข้อมูล สามารถทำการผลิตได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ในประเทศสิงคโปร์ นูทานิคซ์ได้ช่วยให้ NTUC Enterprise ซึ่งเป็นกลุ่มโฮลดิ้งขององค์กรเพื่อสังคมในสิงคโปร์ทรานฟอร์มโดยการนำไฮบริดคลาวด์ไปใช้ ในประเทศนิวซีแลนด์ นูทานิคซ์ได้ทำงานกับซันคอร์ปเพื่ออัปเกรดความสามารถให้กับพนักงานผ่านเทคโนโลยีที่เป็นไฮบริดคลาวด์และพัฒนากลยุทธ์ระยะยาวด้านการมีส่วนร่วมของลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก

องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ไฮบริดมัลติคลาวด์ยอมรับว่า รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดจะยังคงอยู่ และการทำงานแบบไฮบริดจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานกับระบบที่ติดตั้งในองค์กรและบนคลาวด์ รายจ่ายด้านการเงินและเวลาที่ลดลงก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง การนำสถาปัตยกรรมไฮบริดมัลติคลาวด์มาใช้จะช่วยให้พนักงานที่เคยใช้เวลาทำงานไปตามขั้นตอนการทำงานประจำต่าง ๆ สามารถทำงานที่มีส่วนขับเคลื่อนธุรกิจมากขึ้น ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะด้านไอทีอย่างรุนแรงได้ เมื่อเวลาที่ใช้ในการบำรุงรักษากระชับขึ้นแอปพลิเคชันก็จะมีเวลาทำงานมากขึ้น รายได้ก็ไม่หดหายไปจากการต้องใช้เวลาบำรุงรักษานาน นอกจากนี้การที่สามารถรู้ได้แน่นอนว่าจะใช้เวลานานเท่าไรกว่าระบบจะกลับมาทำงานได้อีกครั้งหลังเกิดวิกฤติหนึ่ง ๆ ยังช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสบายใจมากขึ้น

แม้จะมองเห็นประโยชน์ที่ชัดเจน แต่การเปลี่ยนแปลงที่ประสบผลสำเร็จนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด สิ่งสำคัญคือ ไม่ว่าองค์กรจะใช้คลาวด์ประเภทใดก็ตาม คลาวด์นั้น ๆ ก็ยังคงเป็นเรื่องของเครื่องมืออย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของเป้าหมาย การสร้างสมดุลที่ถูกต้องต้องผ่านการทดสอบเสียก่อน และเมื่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้นย่อมทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลตามมา นูทานิคซ์มีเป้าหมายในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยการทำให้การทำงานง่ายขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นเพียงแพลตฟอร์มเดียวที่มาพร้อมระบบการปกป้องข้อมูลที่ติดตั้งมาเบ็ดเสร็จ นูทานิคซ์มองเห็นอนาคตที่องค์กรต่าง ๆ สามารถทำงานบนคลาวด์ประเภทใดก็ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่จะมากะเกณฑ์ว่าองค์กรนั้น ๆ ควรดำเนินธุรกิจอย่างไร

เมื่อมีความมั่นใจมากขึ้น เราอาจจะได้เห็นกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะทางต่าง ๆ สร้างระบบคลาวด์ของตัวเองขึ้นมา เช่น กลุ่มบริษัทในภาคการผลิตที่ร่วมมือกันและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการสร้างระบบที่ปรับอย่างเจาะจงให้เหมาะกับความต้องการโดยรวมของบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม เป็นต้น หรืออาจเป็นการที่บริษัทเหล่านั้นต่างคนต่างสร้างคลาวด์ของตัวเองขึ้นมา และไม่ว่าจะเลือกวิธีใดก็ตาม คลาวด์มีบทบาทสำคัญยิ่ง ดังนั้นกุญแจสำคัญสำหรับธุรกิจต่าง ๆ คือการสร้างกลยุทธ์ไฮบริดมัลติคลาวด์ที่ตอบความต้องการของตนเองและสามารถช่วยให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่และเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ใช้ไฮบริดคลาวด์เพื่อความคล่องตัว และความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ

ใช้ไฮบริดคลาวด์เพื่อความคล่องตัว และความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ

ไฮบริดคลาวด์_ทวิพงษ์
บทความโดยนายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

แมคคินซีย์ บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กรชั้นนำระดับโลก ระบุว่า ภายในปี พ.ศ. 2583 เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีขนาดใหญ่คิดเป็นครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจโลก ภูมิภาคนี้มีความแข็งแกร่งหลายประการ ตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระดับโลก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาและการขยายตัวของเมือง ประชากร และกลุ่มคนวัยทำงานจึงเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพต่อการเติบโตของบริษัทต่าง ๆ เป็นอย่างดี

ภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก มีภาษาพูดหลายพันภาษา มีรูปแบบการปกครองที่หลากหลาย และมีแนวทางด้านเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ประเทศเหล่านี้อยู่ท่ามกลางความพร้อมของตลาดที่เติบโตเต็มที่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่ธุรกิจมีโอกาสขยายตัวและทำกำไรได้อย่างแน่นอน แต่ความซับซ้อนต่าง ๆ ที่มีอยู่อาจทำให้โอกาสเหล่านี้ไม่ราบรื่นนัก

ความท้าทายสำคัญอย่างหนึ่งที่บริษัทจำนวนมากเผชิญในปีที่ผ่านมาคือ การเปลี่ยนไปใช้ดิจิทัลและการตัดสินใจด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ การระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้ธุรกิจจำนวนมากต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองแบบก้าวกระโดด บ่อยครั้งหลายปีล่วงหน้าไปกว่าแผนการที่มีอยู่ และอาจเป็นไปได้ว่าโซลูชันคลาวด์จะเป็นทางเลือกที่ชัดเจน ธุรกิจที่ต้องทำการเปลี่ยนตัวเองอย่างรวดเร็วนี้ต้องพึ่งพาพับลิคคลาวด์อย่างมาก เพื่อทำให้พนักงานทำงานจากระยะไกลได้ และเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ หรือเพื่อให้ปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการ

อย่างไรก็ตาม ถึงเวลาแล้วที่ผู้นำทางธุรกิจทั้งหลายควรหยุดคิดและทบทวนกลยุทธ์ด้านคลาวด์คอมพิวติ้งขององค์กร เพื่อให้มั่นใจและแสดงให้เห็นว่าองค์กรได้มีการพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างอย่างเหมาะสมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านกฎระเบียบของแต่ละประเทศที่พวกเขาทำธุรกิจอยู่หรือต้องการเข้าไปทำธุรกิจ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นบททดสอบการดำเนินการที่มีความท้าทายสูงให้กับองค์กรเหล่านี้

เมื่อปี พ.ศ. 2563 สหประชาชาติได้ตรวจสอบว่ามีภูมิภาคและประเทศใดบ้างที่มีการใช้มาตรการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวให้กับพลเมืองของตน และพบว่ามีเพียง 57 เปอร์เซ็นต์ของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวบังคับใช้เทียบกับ 69 เปอร์เซ็นต์ของประเทศในทวีปอเมริกาและ 96 เปอร์เซ็นต์ในทวีปยุโรปที่มีกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้ ทำไมเรื่องนี้จึงเป็นความท้าทาย?

ในขณะที่สหภาพยุโรปมีการใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ประเทศสมาชิกทั้งหมดต้องปฏิบัติตามเหมือนกัน แต่ในเอเชียแปซิฟิกไม่มีกรอบการกำกับดูแลที่ใช้ร่วมกันทั้งภูมิภาค นอกจากนี้จำนวนประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังมีมากกว่าในทวีปอเมริกาเกือบสองเท่า นี่อาจเป็นความท้าทายสำคัญในการจัดการข้อมูลและการใช้โซลูชันทางเทคโนโลยสำหรับธุรกิจต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ 

ดังนั้นดูเหมือนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ใช้พับลิคคลาวด์ในปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของความท้าทายในการพัฒนาที่จะส่งผลสำคัญต่อองค์ประกอบทุกรูปแบบที่แตกต่างกัน ไม่มีวิธีการใดเพียงหนึ่งเดียวที่จะเหมาะกับทุกสถานการณ์และทุกสภาพแวดล้อม หรือเพียงวิธีเดียวที่ธุรกิจจะใช้ปรับตัวเพื่อดำเนินธุรกิจภายในภูมิภาคนี้ได้อย่างง่าย ๆ

ธุรกิจใดที่ตัดสินใจใช้ไพรเวทคลาวด์เพื่อเก็บข้อมูลและทรัพย์สินขององค์กร และปกป้องข้อมูลนั้นไว้ภายในสภาพแวดล้อมขององค์กรเอง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดด้านกฎระเบียบต่าง ๆ องค์กรนั้นอาจประสบกับอีกปัญหานั่นคือ การใช้ทรัพยากร แม้ว่าเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามตรวจสอบและบริหารจัดการไพรเวทคลาวด์มีประสิทธิภาพค่อนข้างดี แต่การสรรหาพนักงานที่มีทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการคงประสิทธิภาพการทำงาน การบำรุงรักษา และใช้งานไพรเวทคลาวด์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจทำให้การพัฒนาล่าช้า ปัญหานี้แก้ไขไม่ได้ง่ายในปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศที่มีการใช้คลาวด์อย่างจำกัด และในภาวะการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคที่ต้องใช้ถูกจำกัดด้านการเดินทาง

ไฮบริดคลาวด์ คือโอกาสในวิกฤติ ไฮบริดคลาวด์ทำหน้าที่เป็นทางเชื่อมระหว่างพับลิคและไพรเวทคลาวด์ขององค์กรนั้นๆ องค์กรสามารถเลือกได้ว่าจะเก็บข้อมูลไว้บนไพรเวทคลาวด์ของตนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ในขณะที่เลือกใช้พับลิคคลาวด์เพื่อเร่งความเร็วในการใช้งานและปรับขยายขนาดการทำงานมากน้อยได้ตามความจำเป็น และนี่คือการเชื่อมต่อคลาวด์สองระบบให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

การลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อระหว่างระบบต่าง ๆ บนไพรเวทและพับลิคคลาวด์ และการบริหารจัดการคลาวด์ทั้งสองประเภทด้วยระบบจัดการหนึ่งเดียว ทำให้สภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์ไม่มีความซับซ้อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรได้ทั้งหมด องค์กรสามารถเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันไปทำงานบนคลาวด์ที่ต้องการได้อย่างราบรื่น ทั้งยังสามารถจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลบนระบบที่ต้องการและในเวลาที่ต้องการ เพื่อให้สอดคล้องตามกฎระเบียบต่าง ๆ ณ เวลานั้นได้ นอกจากนี้ยังคงความคล่องตัว และเปิดการใช้งานต่าง ๆ ได้ในกรอบเวลาที่เร็วขึ้นมาก

แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไป แต่เมื่อมีการฉีดวัคซีนทั่วโลก และการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการเดินทาง ธุรกิจจะยังคงลงทุนในการทำงานแบบผสมผสานมากขึ้น โดยสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ ผลสำรวจดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กรล่าสุดของนูทานิคซ์ระบุว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 องค์กรที่ตอบแบบสำรวจจัดลำดับความสำคัญด้านไอทีในอีก 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า โดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานไอที (50 เปอร์เซ็นต์) และความสามารถในการทำงานจากที่บ้าน (47 เปอร์เซ็นต์)

เมื่อมองจากมุมด้านกฎระเบียบ จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกมาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ กำลังส่งเสริมการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผ่านการออกกฎหมายต่าง ๆ 

ในมุมมองทางธุรกิจอาจกล่าวได้ว่าขณะนี้คือช่วงเวลาเหมาะสมที่จะพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ธุรกิจขององค์กรมีความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ ซึ่งไฮบริดคลาวด์สามารถสร้างความได้เปรียบสำคัญเหล่านี้ให้ธุรกิจได้ และผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจจะมีความสามารถในการพิจารณาวางเวิร์กโหลดต่าง ๆ และข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูงไว้บนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจะช่วยขจัดความกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบได้

Red Hat และ Nutanix ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ในการให้บริการโซลูชัน Open Hybrid Multicloud

Red Hat และ Nutanix ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ในการให้บริการโซลูชัน Open Hybrid Multicloud

    • Red Hat OpenShift คือทางเลือกที่แนะนำสำหรับการใช้โซลูชัน Kubernetes อย่างเต็มรูปแบบขององค์กรบน Nutanix Cloud Platform ที่มาพร้อมอะโครโพลิสไฮเปอร์ไวเซอร์ (AHV)
    • ความร่วมมือครั้งนี้ช่วยให้ลูกค้าสร้าง ปรับขยาย และบริหารจัดการแอปพลิเคชัน เช่น คอนเทนเนอร์ไลซ์และเวอร์ชวลไลซ์คลาวด์-เนทีฟ ได้ง่ายขึ้น

Red Hat (เร้ดแฮท) ผู้ให้บริการโซลูชันเอ็นเตอร์ไพรส์โอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก และ Nutanix (นูทานิคซ์) (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริด-มัลติคลาวด์คอมพิวติ้ง ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เปิดใช้งานโซลูชันสมรรถนะสูงสำหรับการสร้าง ปรับขยาย และจัดการคลาวด์-เนทีฟ แอปพลิเคชันที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในระบบภายในองค์กรและบนไฮบริดคลาวด์ ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการนำเทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรมมาทำงานร่วมกัน ด้วยการนำ Red Hat OpenShift และ Red Hat Enterprise Linux เพื่อติดตั้ง ทำงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน และบริหารจัดการด้วย Nutanix Cloud Platform ซึ่งมาพร้อมระบบปฏิบัติการอะโครโพลิส (AOS) และอะโครโพลิสไฮเปอร์ไวเซอร์ (AHV) 

องค์ประกอบหลักของความร่วมมือในครั้งนี้ประกอบด้วย

    • Red Hat OpenShift คือทางเลือกที่แนะนำสำหรับการใช้ Kubernetes อย่างเต็มรูปแบบขององค์กรบน Nutanix Cloud Platform: ลูกค้าที่มองหาการนำ Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift ไปใช้งานบนโครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) จะสามารถใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ประสิทธิภาพชั้นนำจาก Nutanix ซึ่งมีระบบปฏิบัติการอะโครโพลิส (AOS) และอะโครโพลิสไฮเปอร์ไวเซอร์ (AHV) ที่ติดตั้งมาพร้อมสรรพ 
    • Nutanix Cloud Platform เป็นทางเลือกที่แนะนำในการใช้งาน Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift บน HCI ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าใช้เวอร์ชวลไลซ์และ
      คอนเทนเนอร์ไลซ์เวิร์กโหลดบนโครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จได้ โดยลูกค้าจะได้ประโยชน์จากทั้งเทคโนโลยีโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ของ Red Hat และไฮเปอร์คอนเวิร์จของ Nutanix
    • Nutanix AHV เป็นไฮเปอร์ไวเซอร์ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก Red Hat และให้การสนับสนุนการใช้ Red Hat Enterprise Linux และ OpenShift บน Nutanix Cloud Platform อย่างเต็มรูปแบบ การที่ Red Hat ให้การรับรอง AHV ของ Nutanix ให้ใช้งานกับ Red Hat Enterprise Linux และ OpenShift ในครั้งนี้ ช่วยให้ลูกค้าองค์กรได้รับโซลูชันครบวงจรที่ใช้งานกับแอปพลิเคชันคอนเทนเนอร์ไลซ์และเวอร์ชวลไลซ์คลาวด์-เนทีฟ ได้อย่างไม่ยุ่งยาก และเป็นการมอบทางเลือกในการใช้ไฮเปอร์ไวเซอร์ให้กับลูกค้าของ Red Hat โดยเฉพาะกับองค์กรจำนวนมากที่มองหาเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชันที่ทันสมัยใหม่ต่าง ๆ 
    • โรดแมปด้านวิศวกรรมที่บริษัทสองแห่งทำร่วมกันทำให้เกิดการผสานประสิทธิภาพที่แข็งแกร่ง Red Hat และ Nutanix จะให้ความสำคัญและเน้นเรื่องการทดสอบการใช้ Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift กับ Nutanix AHV อย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบความสามารถในการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้บริษัททั้งสองแห่งจะร่วมมือกันให้บริการสนับสนุนหลังการขายที่ทันท่วงทีมากขึ้นด้วยการจัดโรดแมปผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้มากขึ้น
    • ความเชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนหลังการขายที่สอดคล้องกันมากขึ้น ช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของทั้งสองบริษัทได้เร็วขึ้น ลูกค้าสามารถติดต่อบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ บริษัททั้งสองแห่งจะร่วมมือกันเพื่อมอบความช่วยเหลือที่ดีที่สุดที่มีอยู่ให้กับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองการทำงานร่วมกัน

Nutanix Cloud Platform เป็นสถาปัตยกรรมแบบกระจาย (distributed architecture) จึงให้บริการสภาพแวดล้อมไอทีที่มีความสามารถในการสเกลและมีความยืดหยุ่นสูง และเหมาะสมมากที่จะใช้กับ Red Hat OpenShift ได้ตามขนาดการใช้งานที่องค์กรต้องการ แพลตฟอร์มนี้ยังประกอบด้วยสตอเรจที่ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งช่วยแก้ความท้าทายที่ยากมากหลายประการในการคอนฟิกและบริหารจัดการสตอเรจสำหรับ stateful containers ที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเผชิญอยู่เป็นประจำ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรครั้งนี้ได้ที่นี่

 

คำกล่าวสนับสนุน

"ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการนำโซลูชันคลาวด์-เนทีฟระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรมของ Red Hat มาทำงานร่วมกับ Nutanix Cloud Platform ที่มีความเรียบง่าย คล่องตัว และยืดหยุ่น ทำให้โซลูชันของเราสามารถให้บริการแพลตฟอร์มครบวงจรให้กับลูกค้าที่สามารถสร้าง ปรับขยาย และบริหารจัดการแอปพลิเคชันแบบคอนเทนเนอร์ไลซ์และเวอร์ชวลไลซ์คลาวด์-เนทีฟ ที่อยู่บนสภาพแวดล้อมไฮบริด มัลติคลาวด์ ได้อย่างเต็มรูปแบบ"
นายราจีฟ รามาสวามี
ประธานและซีอีโอ, Nutanix
"องค์กรทั่วโลกกำลังใช้คลาวด์-เนทีฟ เวิร์กโหลดที่ทันสมัยร่วมกันอย่างหลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ การเป็นพันธมิตรกันของ Red Hat และ Nutanix ครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อตกลงในการให้การสนับสนุนหลังการขายร่วมกันของทั้งสองบริษัท ช่วยให้สามารถนำเวอร์ชวลไลซ์แอปพลิเคชัน และคอนเทนเนอร์ไลซ์เวิร์กโหลดต่าง ๆ ที่อยู่บน OpenShift มาทำงานร่วมกันกับ Cloud Platform ของ Nutanix ในแนวทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร และช่วยขับเคลื่อนให้เกิดความเรียบง่าย คล่องตัว ปรับขยายขนาดการทำงานได้ตามต้องการ ในโลกของไฮบริด-คลาวด์ที่ซับซ้อนในปัจจุบัน"
นายอีริค เชพพาร์ด
รองประธานฝ่ายวิจัย, IDC
"Red Hat มีวิสัยทัศน์ในการผลักดันให้ไฮบริดคลาวด์เป็นตัวเลือกและความคล่องตัวให้แก่ลูกค้า การร่วมเป็นพันธมิตรกับ Nutanix เป็นการนำเทคโนโลยีไฮเปอร์คอนเวิร์จมาใช้กับโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ ซึ่งขับเคลื่อนให้เกิดทางเลือกที่ยิ่งใหญ่ในการใช้คอนเทนเนอร์ไลซ์เวิร์กโหลดให้กับลูกค้าของทั้งสองบริษัท ทั้งยังได้รับการสนับสนุนหลังการขายจากทั้งสองบริษัท"
นายพอล คอร์เมียร์
ประธานและซีอีโอ, Red Hat
"เราตื่นเต้นที่ได้เห็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีของเราทั้งสองแห่ง ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้ เราเชื่อว่าความร่วมมือนี้จะปลดล็อกทางเลือกในการโฮสต์และการใช้งาน VM และคอนเทนเนอร์เวิร์กโหลดท่ามกลางความซับซ้อนของไฮบริดคลาวด์ที่เราต้องบริหารจัดการ นอกจากนี้ทางเลือกใหม่ ๆ เหล่านี้จะสนับสนุนให้เป้าหมายต่าง ๆ ของเราสำเร็จเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพและไม่ติดขัดในเวลาที่เรามอบประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าของเรา"
นายริทช์ ฮาวเดค
รองประธานอาวุโสฝ่ายเทคโนโลยี, Kohl’s
"อุตสาหกรรมประกันภัยอยู่ท่ามกลางการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า เราให้การปกป้องชีวิตลูกค้า 39 ล้านรายทั่วโลกด้วยผลิตภัณฑ์และบริการของเรา เราทำงานเพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยเพื่อรองรับการมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่นให้กับลูกค้าและพนักงานของบริษัท Nutanix และ Red Hat ช่วยทำให้การใช้เทคโนโลยีของเราง่ายขึ้นและช่วยให้เราเปลี่ยนไปใช้คลาวด์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ"
นายเกาตัม รอย
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี, Unum

ภาคการผลิตตบเท้าขึ้นเป็นผู้นำในการปรับระบบไอทีให้ทันสมัย

ภาคการผลิตตบเท้าขึ้นเป็นผู้นำในการปรับระบบไอทีให้ทันสมัย

ทวิพงศ์_Nutanix_นูทานิคซ์
บทความโดยนายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

อุตสาหกรรมการผลิตเป็นภาคส่วนที่มีความซับซ้อน และมักเข้าใจกันว่าเป็นเพียงสายพานลำเลียงที่ไหลไปตามสายการผลิต และมีพนักงานทำงานอยู่ด้านหลังเครื่องจักรขนาดใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว ภาคการผลิตเป็นตัวกำหนดรูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาเป็นเวลานานแล้ว อย่างไรก็ตามระบบซัพพลายเชนต่าง ๆ ที่สนับสนุนการทำงานของภาคการผลิตกำลังถูกกดดันอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันไอทีมีบทบาทสำคัญในการนำความทันสมัยมาสู่อุตสาหกรรมนี้ และช่วยให้ปรับตัวได้ทันความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

รายงานดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กรของนูทานิคซ์ ซึ่งทำการสำรวจบริษัททั่วโลกเป็นปีที่สาม (ECI report) พบว่า สามในสี่ (75 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตกล่าวว่าโควิด-19 ทำให้ไอทีได้รับการพิจารณาในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น และยังทำให้องค์กรเพิ่มการลงทุนกับระบบคลาวด์อย่างรวดเร็ว

สำหรับประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ที่มีเป้าหมายภายในปี 2579 ให้ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ย
ไม่ต่ำกว่า 4.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี มีผลิตภาพการผลิตของปัจจัยการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และมีการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐและเอกชนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10 และ 7.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีตามลำดับ

 

โควิด-19 เป็นแรงผลักที่เร่งให้นำไฮบริดและมัลติคลาวด์มาใช้เร็วขึ้น

รายงาน ECI ระบุว่า 87% ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในภาคการผลิตส่วนใหญ่เชื่อว่า โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริดและมัลติคลาวด์เป็นรูปแบบการทำงานด้านไอทีที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้อุตสาหกรรมการผลิตเป็นภาคส่วนที่ใช้ไฮบริดคลาวด์มากกว่าอุตสาหกรรมอื่นในปัจจุบัน (ประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์)

ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตยังได้รายงานว่ามีแผนเพิ่มการใช้งานไฮบริดคลาวด์ขึ้นอีกมากกว่าสองเท่าภายในสามปี และจะเพิ่มการใช้งานเป็นประมาณ 52 เปอร์เซ็นต์ภายในห้าปี การก้าวกระโดดสู่ความทันสมัยนี้จะพลิกโฉมแนวทางการทำงานแบบเดิม ๆ ของภาคการผลิต และเร่งการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นให้เร็วขึ้นในทุกบริบทของภาคอุตสาหกรรม แต่การเดินทางสู่ความสำเร็จนี้จะต้องใช้ความพยายามอย่างมากจากผู้นำด้านไอทีในอุตสาหกรรมนี้

เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ผู้นำในอุตสาหกรรมต่างมีภารกิจสำคัญในการพิจารณากระบวนการทางธุรกิจที่เป็นมาตรฐานต่าง ๆ เสียใหม่ โดยเฉพาะจะทำอย่างไรให้ปกป้องพนักงานจากโรคระบาดด้วยการต้องเว้นระห่างทางสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยังคงรักษาผลการปฏิบัติงานและผลผลิตไว้ให้ได้ด้วย

รายงาน ECI ทำให้เห็นได้ว่าผู้ผลิตต่างเชื่อมั่นว่า ไฮบริดและมัลติคลาวด์จะช่วยการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ได้ และผู้ตอบแบบสำรวจ กำลังใช้โมเดลนี้ด้วยเหตุผลเพื่อการตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจได้ดีขึ้น (62 เปอร์เซ็นต์) เพื่อสามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรไอทีได้ดีขึ้น (60 เปอร์เซ็นต์) และเพื่อให้บริการต่อความจำเป็นต่าง ๆ ทางธุรกิจได้เร็วขึ้น (53 เปอร์เซ็นต์) เราอยู่ในยุคที่อุตสาหกรรรม 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่สี่กำลังดำเนินไป และการเปลี่ยนไปใช้ไฮบริดคลาวด์จะช่วยทำให้การทำงานหลังบ้านต่าง ๆ ในปัจจุบันเป็นอัตโนมัติ ทำให้ใช้ทรัพยากรไอทีต่าง ๆ น้อยลง และสามารถลงทุนในเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ทันสมัยอื่น ๆ ได้

Nutanix_ภาคการผลิต

โตโย ไซกัน (ประเทศไทย) เป็นบริษัทในเครือของบริษัท โตโย ไซกัน กรุ๊ป โฮลดิ้ง ประเทศญี่ปุ่น บริษัทผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกทั่วไป, ขวด PET สำหรับเครื่องดื่ม, ออกแบบและดำเนินงานด้านบรรจุภัณฑ์ และให้การสนับสนุนด้านเทคนิค รวมถึงบริการด้านการจัดการแก่กลุ่มบริษัทต่าง ๆ โตโย ไซกันได้เลือกใช้คลาวด์แพลตฟอร์มของนูทานิคซ์ทดแทนโครงสร้างพื้นฐานเดิม เพื่อสนับสนุนการก้าวสู่การผลิตอัจฉริยะ โซลูชันของนูทานิคซ์ช่วยให้บริษัทฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลและแอปพลิเคชันจากระยะไกลได้จากทุกอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถสำรองข้อมูล และคงความต่อเนื่องทางธุรกิจในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งยังช่วยเสริมความปลอดภัย และมอบระบบบริหารจัดการแบบอัตโนมัติ ในภาพรวม โตโย ไซกัน (ประเทศไทย) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพไอทีได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ โดยสามารถกู้คืนไฟล์ได้ในเวลาน้อยกว่า 10 นาทีจากเดิมใช้เวลาครึ่งชั่วโมง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารายปีลดลง 40 เปอร์เซ็นต์ และยังสามารถนำ IoT มาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

 

การเร่งเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและการเดินหน้าสู่ความสำเร็จ

แม้จะมีการเร่งผลักดันให้เปลี่ยนไปใช้สถาปัตยกรรมไฮบริดคลาวด์ แต่ธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตยังคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะประสบความสำเร็จตามที่ตั้งไว้ ตัวเลขจากผลสำรวจ ECI ระบุว่า 15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ผลิตทั่วโลกยังคงทำงานอยู่บนดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมที่ไม่ได้อยู่บนระบบคลาวด์

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคการผลิตจะยังไม่สมบูรณ์จนกว่าธุรกิจในภาคส่วนนี้จะปรับวิธีการผลิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การประกอบชิ้นส่วน และการให้บริการหรือส่งมอบผลิตภัณฑ์นั้นให้ถึงมือผู้บริโภค ไฮบริด มัลติคลาวด์มีฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่สามารถเข้าไปช่วยกระบวนการดำเนินงานทั้งหมดได้ ตั้งแต่การวางแผนไปจนถึงระบบซัพพลายเชน การนำกระบวนการอัตโนมัติและเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น การนำหุ่นยนต์มาใช้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและเพิ่มผลผลิตได้ ซึ่งเป็นการช่วยให้พนักงานมุ่งเน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพอื่น ๆ มากกว่าที่จะต้องมาคอยดูเรื่องปริมาณหรือจำนวนของที่ผลิตได้ การผลิตอัจฉริยะที่มีสถาปัตยกรรมดิจิทัลอยู่เบื้องหลังยังไม่สมบูรณ์แบบมากนัก เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่ใช้เพียงเครื่องมือในการผลิตที่เป็นดิจิทัลเท่านั้น ผู้ตอบแบบสำรวจจากอุตสาหกรรมนี้จะดำเนินการทุกอย่าง และขจัดการติดตั้งใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมออกไป เพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้ประสบความสำเร็จ โดยผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขาจะเพิ่มการใช้ไฮบริดและมัลติคลาวด์มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ภายในห้าปีข้างหน้า

ข้อมูลจากโครงการศึกษาแนวทางการยกระดับผลิตภาพและสร้างมูลค่าของภาคเศรษฐกิจไทยด้วยหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล ระบุว่า เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล เป็นปัจจัยความสำเร็จหลักต่อการพัฒนา ทั้งนี้ข้อมูลจากการจัดลำดับปริมาณการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมของ International Federation of Robotic (IFR) สำหรับปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมใหม่จำนวน 2,883 ยูนิต

นอกจากนี้สถาบันวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีผลการศึกษาการนำเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิตจากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,260 สถานประกอบการ โดย พบว่ามีผู้ประกอบการเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดและเชื่อมโยงการผลิตตลอดซัพพลายเชนผ่านระบบไอที ในขณะที่ 45 เปอร์เซ็นต์ มีการนำมาใช้บางจุดของกระบวนการผลิตแต่ยังไม่มีการเชื่อมต่อข้อมูล และ 31 เปอร์เซ็นต์ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามาใช้ในการผลิต

การที่ธุรกิจในภาคการผลิตยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุถึงขีดความสามารถของอุตสาหกรรม 4.0 ธุรกิจต้องปรับปรุงระบบไอทีให้ทันสมัย ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา ทรัพยากร และพลังงานที่จะใช้ในการอัปเกรดเครื่องมือทางกายภาพต่าง ๆ ของภาคการผลิต ปัจจุบันมีตัวอย่างหลากหลายที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไฮบริดและมัลติคลาวด์คือกลไกดิจิทัลที่ส่งเสริมให้ความพยายามนี้รุดหน้า

ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยปิดช่องว่างทักษะด้านดิจิทัลในองค์กร

ระบบอัตโนมัติปิดช่องทางด้านทักษะดิจิทัล_นูทานิคซ์_04

ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยปิดช่องว่างทักษะด้านดิจิทัลในองค์กร

ทวิพงศ์_Nutanix_นูทานิคซ์
บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลจะประสบความสำเร็จ และเป็นไปได้อย่างครอบคลุม องค์กรจำเป็นต้องมีคนเก่งที่มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลอยู่ในองค์กร แต่ปัญหาการขาดแคลนทักษะด้านดิจิทัลอย่างรุนแรงก็มีอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นับเป็นความท้าทายหนึ่งขององค์กรที่กำลังมุ่งทรานส์ฟอร์มและขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจ

ผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของประเทศไทย ประจำปี 2020 จากการสำรวจของดีลอยท์ ประเทศไทย พบว่าความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลที่องค์กรไทยพบเป็นอันดับแรก คือ การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ (49%) ตามมาด้วย วัฒนธรรมดิจิทัลที่ยังไม่หยั่งรากลึกเต็มที่ (45%) และกระบวนการทำงานที่แยกส่วนไม่ประสานกัน (silo) ทำให้ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน (37%) 

ความตื่นตัวด้านทักษะด้านดิจิทัลเกิดขึ้นเป็นวงกว้างในประเทศไทย ล่าสุดกระทรวงแรงงานได้เปิดตัวสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (DISDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อดูแลการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับแรงงาน โดยเป็นหน่วยงานกลางในสังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาระบุว่า ผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2563 จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาที่รวบรวมจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศจำนวน 154 สถาบันพบว่ามีผู้สำเร็จการศึกษาสาขา Information and Communication Technologies (ICTs) ในระดับปริญญาตรีเพียง 13,984 คน คิดเป็น 5.09% ของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับนี้ทั้งหมด

ระบบอัตโนมัติปิดช่องทางด้านทักษะดิจิทัล_นูทานิคซ์_01

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เขมะฑัต วิภาตะวนิช รองคณบดีฝ่ายสื่อสารและพัฒนาดิจิทัล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความเห็นว่าความต้องการของตลาดงานในปัจจุบันแยกเป็น 5 ส่วนสำคัญคือ 1) Software Engineering ประกอบด้วยโปรแกรมเมอร์ และ โปรเจคเมเนเจอร์ 2) Networking and Security Engineer และ Networking and Security Manager 3) ด้านดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ รวมถึง เวอร์ชวลไลเซชั่น เน็ตเวิร์ค และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4) กลุ่มบริหารจัดการระบบไอทีเดิมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ต้องมีความรู้ด้าน IT Governance, Data Governance, Security Governance และ 5) กลุ่มที่มีความรู้และเข้าใจในการนำซอฟต์แวร์มาใช้ซึ่งอาจไม่ได้จบสาขาเทคโนโลยีโดยตรง 

ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมทั้งห้าข้อนี้มีรายละเอียดที่เหมือนหรือต่างกันบ้าง แต่ในภาพรวมนิสิตนักศึกษาที่จบการศึกษาไป ต้องบูรณาการและสร้างสมดุลของตนเองในการใช้เทคโนโลยี มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่มีผลกระทบต่อการทำงานและดำเนินชีวิตของตน ไม่สร้างปัญหา และรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเอง ผู้อื่น และหน่วยงาน

ระบบอัตโนมัติปิดช่องทางด้านทักษะดิจิทัล_นูทานิคซ์_02

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ปัจจุบันคลาวด์และระบบอัตโนมัติมีความสำคัญมาก เช่น การใช้เวอร์ชวลไลเซชั่นและกระแสการใช้งาน Software-Defined (almost) Everything เครือข่ายการเชื่อมโยงของระบบคอมพิวเตอร์จากดาต้าเซ็นเตอร์ไปยัง edge computing เป็นต้น ระบบนิเวศเหล่านี้ช่วยให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกทักษะได้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกันก็ทำให้ตลาดแรงงานได้บุคลากรที่มี digital mindset และสามารถใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้แบบบูรณาการ

สำหรับภาคธุรกิจ การสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงานให้กับพนักงาน (up-skill) และการยกระดับทักษะเดิมของพนักงานให้ดีขึ้น (re-skill) เป็นเรื่องสำคัญ นายพิเชฐ ศรีวงษ์ญาติดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST ระบุว่าการที่ภาคการเงินมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แบบก้าวกระโดดนั้น นอกจากการแสวงหาโซลูชั่นที่เหมาะสมแล้ว การปรับตัวของบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญมาก องค์กรต้องกระตุ้นให้บุคลากรมีความพร้อมและปรับตัวให้ทันตามแผนงานด้านไอทีที่วางไว้ เทคโนโลยีจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อบุคลากรเห็นถึงประโยชน์และนำไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้งานจริงควบคู่กับกระบวนการทำงานเดิม เพื่อเป็นการเรียนรู้ในระหว่างปฏิบัติงาน (learning by doing) จะทำให้บุคลากรเห็นประโยชน์ของการเรียนรู้ทักษะใหม่กับผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเทียบกับกระบวนการเดิม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากบุคลากรของบริษัท เพราะสามารถนำทักษะใหม่มาใช้กับงานได้จริง

ระบบอัตโนมัติปิดช่องทางด้านทักษะดิจิทัล_นูทานิคซ์_03

กล่าวได้ว่าแทบไม่มีธุรกิจใดที่จะไม่รับเอาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเช่น คลาวด์และระบบอัตโนมัติมาใช้งาน ผลสำรวจ Enterprise Cloud Index (ECI) ของนูทานิคซ์พบว่าองค์กรไทยให้เหตุผลในการเปลี่ยนไปใช้คลาวด์เพราะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดี (67%) ตามมาด้วยเรื่องของความปลอดภัย (62%) และสามารถรองรับการทำงานจากระยะไกล (62%) และไฮบริดคลาวด์เป็นประเภทของคลาวด์ที่ธุรกิจให้ความสำคัญมากที่สุด

สำหรับ KTBST ระบบคลาวด์เข้ามาช่วยวางโครงสร้างระบบงานไอทีในด้านการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อธุรกิจ บริษัทยังได้นำระบบอัตโนมัติมาช่วยต่อยอดในการลดข้อผิดพลาดของ บุคคลากร รวมถึงช่วยให้การทำงานร่วมกันดีขึ้น โดยพนักงานมีเวลาจดจ่อกับสิ่งที่สำคัญมากขึ้น แทนการทำในสิ่งเดิมซ้ำ ๆ ทั้งนี้คลาวด์และระบบอัตโนมัติยังช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจของบริษัท

การระบาดของโควิด-19 ทำให้การเคลื่อนย้ายบุคลากรที่มีทักษะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในขณะนี้ และในอนาคตอันใกล้ องค์กรต่าง ๆ จึงหันไปใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่เพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน คงความต่อเนื่องทางธุรกิจ และแก้ปัญหาความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถสูง

ระบบไอทีแบบเดิมที่ใช้คนจำนวนมากและทำงานแบบแมนนวล เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการผลิต และกระทบต่อความสามารถของธุรกิจที่จะต้องตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงให้ได้อย่างรวดเร็ว ระบบอัตโนมัติที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองในแง่ลบว่าจะเข้ามาแย่งงานของคน กำลังได้รับความเข้าใจมากขึ้นว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการเปลี่ยนไปใช้รูปแบบไอทีแบบ as a service และ on-demand ได้มากขึ้น ข้อเท็จจริงจากการสำรวจ ECI ของนูทานิคซ์ล่าสุดที่สำรวจเมื่อปลายปี 2020 ระบุว่า 31 % ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ในอีก 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า 

นายพิเชฐให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ระบบอัตโนมัติจะเป็นตัวช่วยเพิ่มขีดความสามารถของคน โดยช่วยให้คนเน้นความสามารถเชิงคิดวิเคราะห์เพื่อนำไปปรับใช้ร่วมกับระบบอัตโนมัติให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่คนและระบบทำงานร่วมกัน มากกว่ามองว่าระบบจะแย่งงานคน การที่ KTBST นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล วิเคราะห์ แสดงรายงาน ฯลฯ ช่วยลดเวลาในการดำเนินงานได้ถึง 80% และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายกว่า 30% เมื่อเทียบกับการทำงานแบบแมนนวล

เอเชียแปซิฟิกเป็นศูนย์กลางของโลกที่มีการเร่งนำระบบอัตโนมัติมาใช้อย่างรวดเร็วในขณะนี้เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นทั่วโลก
ข้อมูลจาก
International Federation of Robotics ระบุว่าสิงค์โปร์เป็นประเทศที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติมากที่สุดในโลก
โดยมีการติดตั้งใช้งานหุ่นยนต์
918 ยูนิตต่อพนักงานทุก ๆ 10,000 คน อันดับสองคือประเทศเกาหลีใต้ (868 ยูนิต)
และอันดับสามคือประเทศญี่ปุ่น (
364 ยูนิต)

การทำให้บุคลากรด้านไอทีมีเวลาโฟกัสกับโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน  ทั้งยังได้เพิ่มพูนทักษะของตนเองตลอดเวลาสำหรับธุรกิจในภาพรวม นอกจากประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับแล้ว ยังสามารถรักษาพนักงานไว้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปี 2021 นี้องค์กรต่าง ๆ ยังคงต้องมองหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อจัดการกับความท้าทายเดิม ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทางธุรกิจและระบบอัตโนมัติคือเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ  ได้ เช่น ปิดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลที่ขาดแคลน ประหยัดค่าใช้จ่าย หรือเพื่อให้บริษัทได้รับประโยชน์ในระยะยาวมากขึ้น