การปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าให้เหมาะสมในช่วงการแพร่ระบาด

infor

การปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าให้เหมาะสมในช่วงการแพร่ระบาด

Infor_นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์
บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์

การแพร่ระบาดในขณะนี้ได้ผลักดันให้มีการเร่งนำเทคโนโลยีไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมจำนวนมาก  จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าบางธุรกิจอาจไม่ทันได้เตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิดโควิด-19 ที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ดูได้จากปริมาณอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มสูงขึ้น การลดจำนวนพนักงานให้เหลือน้อยที่สุดสำหรับการทำงานในบางพื้นที่ และการปิดธุรกิจเป็นระยะ ๆ  ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดจำหน่ายมืออาชีพผลิตภัณฑ์เพื่อการค้าและการอุตสาหกรรม หรืออุปกรณ์ความปลอดภัยและการแพทย์  ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้หมายความว่าจะต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานคลังสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  แต่การปรับปรุงนี้แท้จริงแล้วหมายถึงอะไร

 

ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา

สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ผู้จัดจำหน่ายต้องคำนึงถึง คือ กิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้าส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งความท้าทายในที่นี้ คือ เป้าหมายและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ได้ทำให้การดำเนินงานคลังสินค้าเกิดความท้าทายหลายอย่างขึ้นพร้อม ๆ กัน  ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การแพร่ระบาดทำให้เกิดความไม่แน่นอนด้านกำลังคน เนื่องจากสมาชิกในทีมต้องรับมือกับความเจ็บป่วย ต้องถูกกักตัว หรือต้องดูแลบุตรหลาน ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อทีมและทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิต

อีกปัจจัยหนึ่ง คือ การเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นมาก จนแซงหน้ายอดประมาณการสูงสุดที่ตั้งไว้ก่อนหน้านี้ จากการที่ลูกค้าได้สร้างมาตรฐานประสบการณ์ด้าน omni-channel ไว้ค่อนข้างสูง  ในปี 2564 นี้ หากคุณไม่มีกลยุทธ์การตลาดแบบ omni-channel ที่ได้ผล คุณก็เสี่ยงต่อการสูญเสียธุรกิจจำนวนมาก ดังนั้นกุญแจสำคัญ คือ คุณจะต้องมีคลังสินค้าที่สามารถรองรับการขายแบบหลายช่องทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความท้าทายนี้นับว่าตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management Systems – WMS) จำนวนมากที่ภาคการผลิตใช้กันอยู่ขณะนี้ค่อนข้างเก่า และไม่สามารถทำงานให้ลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Infor_การปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าให้เหมาะสมในช่วงการแพร่ระบาด

ความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อย คือ ความคิดที่ว่าการนำสินค้าออกจากคลังให้ตรงเวลาคือการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ถึงแม้เรื่องนี้จะสำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจะเกี่ยวกับการเพิ่มคุณค่าให้กับปฏิบัติงานนั้น ๆ แม้จะไม่สามารถให้บริการแบบเห็นหน้ากันก็ตาม  อนึ่ง หากต้องการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ก้าวล้ำขึ้นไปอีก ภาคการผลิตจำเป็นต้องมีรากฐานด้านดิจิทัลที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ความพยายามเหล่านี้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การควบคุมต้นทุน

ในช่วงเวลาที่ธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ เราพบว่าผู้จัดจำหน่ายจำนวนมากได้ตั้งหลักเตรียมรับมือกับสถานการณ์ และพยายามลดค่าใช้จ่ายจากกระบวนการทำงานที่กระชับที่ดำเนินการอยู่แล้วลงอีก  ซึ่งหากเพิ่มการจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใสมากขึ้นทั่วทั้งองค์กร ก็เท่ากับช่วยประหยัดเงินได้อย่างมหาศาล

ระบบจัดการคลังสินค้า WMS ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน ผ่านข้อมูลอัจฉริยะเชิงลึกด้านสินค้าคงคลัง ช่วยให้ผู้จัดจำหน่ายสินค้ามีความมั่นใจมากขึ้นว่าพวกเขาจะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยไม่ต้องซื้อหรือสต็อกสินค้ามากเกินความจำเป็น  ดังนั้น การดำเนินงานด้านคลังสินค้าจึงเป็นวิธีควบคุมการจัดซื้อ และป้องกันสินค้าสูญหายหรือการนำสินค้าออกนอกคลังสินค้า อันเนื่องมาจากไม่มีการจัดการหรือการติดตามที่เหมาะสมอีกด้วย

 

ประสิทธิภาพของคลาวด์

ระบบที่ติดตั้งในองค์กร (on-premise) เคยเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระบบค้าส่ง แต่ไม่ได้ให้ความยืดหยุ่น และนวัตกรรมที่จำเป็นในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบันอีกต่อไป  จุดเด่นของคลาวด์ คือ การจัดการกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นในคลังสินค้า  โดยคลาวด์สามารถคำนวณปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นก็เพิ่มพลังการประมวลผลที่จำเป็นสำหรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นนั้นได้โดยอัตโนมัติ  ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และการกู้คืนระบบที่ติดตั้งไว้ภายในทั้งหมดมีพร้อมอยู่ในระบบ แต่ทว่า ความสามารถในการจัดการกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตามต่างหาก ที่เพิ่มคุณค่าให้กับระบบคลาวด์อย่างแท้จริง

สิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าด้านนี้ คือ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในปีที่ผ่านมา ลูกค้าที่ใช้โซลูชันระบบคลาวด์อยู่แล้ว มีเวลาในปรับตัวได้ง่ายขึ้น โดยสามารถปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นได้เท่าที่ต้องการ

Infor_การปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าให้เหมาะสมในช่วงการแพร่ระบาด

ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม

การเพิ่มประสิทธิภาพของอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ง่ายเหมือนกับการเพิ่มประสิทธิภาพบริการหยิบ-แพ็ค-ส่ง (pick-pack-ship) ซึ่งเป็นบริการช่วยจัดการออเดอร์เพื่อส่งให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ  เนื่องจากมีตัวแปรใหม่ ๆ ที่ต้องคำนึงถึง รวมถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นหลังผลิตภัณฑ์ออกจากท่าเรือ ซึ่งผู้จัดจำหน่ายจำนวนมากไม่ทันได้เตรียมตัวรับมือกับสินค้าตีคืนจำนวนมาก

ในฐานะผู้บริโภคในโลกอีคอมเมิร์ซ ลูกค้าอาจซื้อของบางอย่างไปสามขนาดหรือสามสีแตกต่างกันไป หลังจากนั้นก็คืนของกลับมาสองชิ้น  เห็นได้ชัดว่าสิ่งที่คล้ายกันนี้ก็เกิดขึ้นกับตัวแทนขายส่งเช่นกัน  ดังนั้น ผู้จัดจำหน่ายจึงต้องมีระบบที่ช่วยให้การรับคืนสินค้าเป็นไปอย่างราบรื่น และนำของชิ้นนั้นกลับคืนสู่ชั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ผู้จัดจำหน่ายไม่เพียงแต่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจเท่านั้น แต่จะต้องออกแบบกลยุทธ์รองรับเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขยายส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นด้วย

ก้าวสู่มาตรฐานด้านอาหารที่สูงขึ้น

infor

ก้าวสู่มาตรฐานด้านอาหารที่สูงขึ้น

ฟาบิโอ_Infor_อินฟอร์ อาเซียน
บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเซียน

ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ อย่างมหาศาล ทั้งในบริบทของความต้องการที่เพิ่มขึ้น มาตรการด้านความปลอดภัยที่เข้มงวด และความเสี่ยงที่ต้องปิดกิจการเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งความท้าทายดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจนี้

ธุรกิจบางภาคส่วนถูกบังคับให้เพิ่มขนาดการดำเนินงานขึ้นถึง 30% และระบบซัพพลายเชนต้องแบกรับสถานการณ์ที่หนักหน่วงนี้หลายต่อหลายครั้ง การระบาดของโรคที่ขยายวงกว้างออกไปทำให้เกิดภาวะยากลำบากและเกิดความเสี่ยงสูงมากโดยมีความสำเร็จและชื่อเสียงของธุรกิจเป็นตัวประกัน

ความท้าทายดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ผู้บริโภคต้องการให้บริษัทด้านอาหารชี้แจงระเบียบขั้นตอนด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมที่แน่นอนจริงจังมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา การระบาดใหญ่ครั้งนี้ทำให้บริษัทด้านอาหารจะต้องให้บริการกับตลาดที่กำลังต้องการความมั่นใจและความเชื่อถือได้ในสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอนอื่น ๆ ดังนั้นการค่อย ๆ สร้างความมั่นใจโดยการดำเนินงานที่ทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจอย่างคงเส้นคงวา และแสดงให้เห็นถึงแนวทางปฏิบัติและมาตรการด้านความปลอดภัยที่ดีที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

 

วัดกันที่ความสามารถด้านดิจิทัล

ความสำเร็จในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของแต่ละบริษัทเป็นไปในแนวทางที่แตกต่างกันและหลากหลายรูปแบบ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือบริษัทที่นำระบบดิจิทัลมาใช้เป็นหลักคือผู้ที่มักจะประสบความสำเร็จ ส่วนบริษัทที่ยังคงใช้ระบบดั้งเดิมหรือระบบที่พึ่งพาการใช้กระดาษมักอยู่ในสถานะไล่ตามหลังบริษัทอื่น

เหตุผลที่เด่นชัดคือบริษัทที่ใช้ระบบใช้กระดาษเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ข้อมูลขาดความแม่นยำ ความล่าช้า และความซ้ำซ้อน แต่แพลตฟอร์มดิจิทัลสามารถผสานรวมและกำหนดบริบทของข้อมูลเชิงลึกจากวงจรการทำงานทั้งหมดได้อย่างราบรื่น เพื่อช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ

องค์กรหลายแห่งตระหนักว่า แนวทางการทำงานแบบดิจิทัลที่ทันสมัยนำพาประโยชน์ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการแข่งขันมาให้ จึงได้ลงทุนในแพลตฟอร์มและฟังก์ชั่นใหม่ ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถสำคัญนี้  แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มีคำถามว่าความสามารถเหล่านี้เพียงพอหรือยัง

 

ความโปร่งใสคือความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับแบบใหม่

ความสามารถในการเรียกคืนสินค้าได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างครอบคลุม รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นแง่มุมที่สำคัญที่สนับสนุนการที่บริษัทสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด ชื่อเสียงของบริษัท และการบริการลูกค้า อย่างไม่มีข้อสงสัยใด ๆ

อย่างไรก็ตาม ระบบดั้งเดิมที่บริษัทผู้ผลิตอาหารจำนวนมากใช้อยู่มักมีข้อจำกัดในการตรวจสอบย้อนกลับที่ครบวงจร เพราะระบบดั้งเดิมไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของซัพพลายเออร์หลักได้ มีบริษัทด้านอาหารเพียงไม่กี่แห่งที่มีแพลตฟอร์มที่สามารถทำเช่นนี้ได้ และบริษัทเหล่านี้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้อย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคต่างต้องการความโปร่งใสมากขึ้นในเวลาที่พวกเขาเลือกซื้ออาหาร

บริษัทด้านอาหารที่มีแนวคิดก้าวไกลมีการระบุคิวอาร์โค้ดไว้บนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของตน ซึ่งผู้บริโภคสามารถสแกนเพื่อดูแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์นั้น ตั้งแต่แหล่งกำเนิดของส่วนผสมต่าง ๆ การผลิต การจัดส่งผ่านระบบซัพพลายเชน และความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นความโปร่งใสอย่างครบถ้วนจากแหล่งผลิตจนถึงจานอาหารของผู้บริโภค

การกระทำดังกล่าวมีจุดประสงค์ชัดเจนในการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าด้านอาหารให้กับผู้บริโภค การแสดงหลักฐานว่าอาหารนั้น ๆ ได้รับการผลิตด้วยวิธีการที่ปลอดภัยและยั่งยืนจะช่วยเสริมให้ความภักดีต่อแบรนด์แข็งแกร่งขึ้น การใช้ข้อมูลจากระบบซัพพลายเชนในแนวทางที่ชาญฉลาด ช่วยให้เกิดประโยชน์หลายประการต่อซัพพลายเชนด้านอาหาร เช่น คุณภาพเพิ่มขึ้น คาดการณ์วันที่ควรบริโภคก่อน (use before dates) ได้มากขึ้น และลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งหรือขยะอาหาร (food waste) ลงได้

Infor_ก้าวสู่มาตรฐาานด้านอาหารที่สูงขึ้น

ตัวอย่างเช่น ผักและผลไม้นำเข้าจำนวนมากที่วางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต จำเป็นต้องมีระบบที่สามารถมอนิเตอร์สถานะการจัดส่งที่เฉพาะเจาะจงต่าง ๆ ในระบบซัพพลายเชนที่ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าใช้และตัวแปรต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่ง การขนส่งเกิดการล่าช้าหรือไม่ และการจัดเก็บในคลังสินค้าเป็นอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลในการประมาณการอายุการเก็บรักษาสินค้า

ความรับผิดชอบ

หน่วยงานที่ดูแลด้านอุตสาหกรรมการผลิตอาหารจำนวนมาก ให้ความสำคัญกับเป้าหมายด้านขยะอาหาร เช่น แผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560-2580 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้มีแผนการดำเนินงานด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนไว้ 11 เป้าหมาย และมีเป้าหมายในการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารรวมอยู่ด้วย เช่น

    • โรงงานในอุตสาหกรรมอาหารอย่างน้อย ร้อยละ 100 ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิต ภายในปี พ.ศ. 2580
    • สินค้าด้านเกษตรและอาหารในประเทศร้อยละ 80 มีข้อมูลปริมาณการสูญเสียอาหารในระบบซัพพลายเชนและขยะอาหาร ภายในปี พ.ศ. 2580
    • ความสูญเสียตลอดซัพพลายเชนในการผลิตอาหารลดลงร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 – 2580
    • ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และ โรงแรมมีขยะเศษอาหารลดลงร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2580 เทียบกับปี พ.ศ. 2560
    • ปริมาณขยะอาหารของประเทศลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2580 เทียบกับปี พ.ศ. 2560

จะเห็นได้ว่าเป็นการกำหนดเป้าหมายด้านขยะอาหารไว้ค่อนข้างสูง และธุรกิจทุกแห่งได้ร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ยกตัวอย่างเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กลุ่มเซ็นทรัลซึ่งเป็นแบรนด์ธุรกิจค้าปลีกและบริการของไทยได้ออกมาเปิดเผยถึงนโยบายการจัดการขยะอาหาร เพื่อลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร รวมถึงขยะอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายโดยห้างร้าน ซุปเปอร์มาร์เก็ต และโรงแรมในเครือ โดยมีการนำอาหารส่วนเกินบริจาคให้ผู้เปราะบางทางสังคมจำนวน 203 ตันต่อปี คิดเป็นมื้ออาหาร 855,869 มื้อในปี 2563 คิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 380 ตันคาร์บอนเทียบเท่า เป็นต้น

 

การสร้างแบรนด์ที่โปร่งใส

นอกจากประสบความสำเร็จตามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แล้ว ความสดของอาหารเช่นผักผลไม้ แหล่งกำเนิด และสภาพของฟาร์มปศุสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์และนม ที่เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นเหตุผลสำคัญของความแตกต่างระหว่างซุปเปอร์มาร์เก็ตทั้งหลาย ระดับความโปร่งใสดังกล่าวนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างและเพิ่มความเชื่อถือจากผู้บริโภคได้มากขึ้น และช่วยให้แบรนด์มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงได้อีกด้วย

กระบวนการทำงานแบบแมนนวลและระบบแบบดั้งเดิมอาจเป็นวิธีที่ช่วยเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับได้ แต่อยู่ในระดับพื้นฐานเท่านั้น ธุรกิจมีความเสี่ยงสูงที่อาจต้องปิดโรงงานเต็มรูปแบบอันเนื่องมาจากไม่สามารถระบุที่มาของปัญหาได้อย่างถูกต้อง และตามมาด้วยความล้มเหลวในการดำเนินกิจการ เห็นได้ชัดว่าค่าใช้จ่ายและความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้นอย่างถาวร ดังนั้นธุรกิจด้านนี้จึงต้องลงทุนจัดหาและใช้ความสามารถทางดิจิทัลที่ทันสมัยต่าง ๆ เพื่อให้สามารถลดความสูญเปล่าให้เหลือน้อยที่สุด เพิ่มความโปร่งใสและความเชื่อถือจากผู้บริโภคให้มากที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่ภายในปี 2564 นี้บริษัทด้านอาหารต้องทำให้สำเร็จก่อนที่จะเข้าแข่งขันในตลาด

Related post

อินฟอร์แต่งตั้งเชมา อรัมบูรู เป็นรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

infor

อินฟอร์แต่งตั้งเชมา อรัมบูรู เป็นรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

นายอรัมบูรูพร้อมนำความเชี่ยวชาญด้านคลาวด์มาเสริมทัพธุรกิจด้าน Software-as-a-Service (Saas) ในภูมิภาคที่ธุรกิจของอินฟอร์เติบโตเร็วที่สุด

อินฟอร์ บริษัทซอฟต์แวร์ระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม ประกาศแต่งตั้งนายเชมา อรัมบูรู ดำรงตำแหน่งรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ)  ทั้งนี้ นายอรัมบูรูจะประจำที่ฮับภูมิภาคของบริษัทฯ ในประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบธุรกิจของอินฟอร์ในอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน เกาหลี อินเดีย และญี่ปุ่น เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จและความพึงพอใจของลูกค้าต่อไป

Infor_อินฟอร์_เชมา
เชมา อรัมบูรู, รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, อินฟอร์

นายเควิน ซามูเอลสัน ซีอีโอของอินฟอร์ กล่าวว่า “เชมาเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ในอุตสาหกรรมไอทีและระบบคลาวด์ พร้อมผลงานในการพลิกโฉมธุรกิจชั้นนำ และสร้างทีมขายที่ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายราย  เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เขามาร่วมเป็นผู้นำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เต็มไปด้วยโอกาสและความหลากหลาย  โดยลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ผมเคยพบ ต่างกำลังมองหาเทคโนโลยีที่จะช่วยเร่งสร้างนวัตกรรม ความเติบโต และการเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจของตน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น หรือการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและซัพพลายเชนที่ต้องมีความยืดหยุ่นและคล่องตัว เพื่อให้โมเดลธุรกิจของตนสามารถปรับตัวได้ในทุกรูปแบบ  ทั้งนี้โซลูชั่น CloudSuites แบบ multi-tenant ของอินฟอร์ ถูกสร้างขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อรองรับแต่ละอุตสาหกรรม ช่วยให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้มากขึ้น สามารถขยายขนาดธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และบรรลุผลลัพธ์ด้านลูกค้าได้เป็นอย่างดี

นายอรัมบูรูพร้อมขับเคลื่อนการใช้งาน SaaS ทั่วทั้งภูมิภาค ด้วยประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านไอทีและระบบคลาวด์กว่า 20 ปี และประสบการณ์การทำงานตำแหน่งผู้นำระดับสูงใน Oracle และ SAP โดยมีบทบาทสำคัญในการเป็นหัวหอกนำระบบคลาวด์มาใช้ทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ)  ล่าสุดเขาเป็นรองประธานฝ่ายขายระดับองค์กรของ Oracle Autonomous Database Cloud ใน APJ  อีกทั้งก่อนหน้านั้นนายอรัมบูรูได้พลิกโฉมธุรกิจ SME ของ SAP เอเชียแปซิฟิก ด้วยการใช้โมเดลทางธุรกิจทำให้เกิดนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขัน (innovative go-to-market models) ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ขึ้นเป็นทวีคูณอีกด้วย

นายอรัมบูรู กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เป็นผู้นำในภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของเศรษฐกิจโลก และเป็นภูมิภาคที่มีการใช้งานคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วน ขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ มองหาการลงทุนด้านระบบดิจิทัล และปรับการดำเนินงานให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น  เทคโนโลยีและระบบคลาวด์ก็จะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่สำคัญ  อินฟอร์เป็นเอกทางด้านการนำเสนอบริการและโซลูชั่นที่ออกแบบอย่างเฉพาะเจาะจงให้กับแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อรับมือกับความท้าทายหลายหลากที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน  และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ช่วยเหลือลูกค้าของเราก้าวไปตามเส้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้” 

“เครื่องมือในการขับเคลื่อนการเติบโตและความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่คือทีมของผม พรสวรรค์ของบุคลากรเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดของอินฟอร์ ผมรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เป็นผู้ให้คำปรึกษาและโค้ชให้กับพวกเขา ได้ช่วยพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งทีมงานคุณภาพ ทำให้ลูกค้าของเราเกิดความพึงพอใจทุกครั้งที่ได้ติดต่องาน” นายอรัมบูรู กล่าวปิดท้าย

ระบบเครือข่ายซัพพลายเชนด้านการเงินช่วยซัพพลายเออร์ บรรเทาภาระ และรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างดี

infor

ระบบเครือข่ายซัพพลายเชนด้านการเงินช่วยซัพพลายเออร์ บรรเทาภาระ และรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างดี

บทความโดย นายแคส เบรนท์เจนส์ รองประธานฝ่ายขายผลิตภัณฑ์อินฟอร์ เน็กซ์ซัส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

Infor_อินฟอร์_แคส

สภาวะความผันผวนที่ยังคงสั่นคลอนระบบซัพพลายเชนทั่วโลก กดดันให้ผู้นำธุรกิจต้องคิดถึงแนวทางในการจัดการเอกสาร ข้อมูล และเงินทุนที่ขับเคลื่อนการค้าทั่วโลกใหม่อีกครั้ง

บรรดาผู้ค้าปลีกและบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงสารเคมีเฉพาะ แรงงาน และการขนส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์ ตลอดจนถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ที่ผู้บริหารด้านการเงินต่างก็รับรู้ได้ถึงผลกระทบต่อกำไรเบื้องต้นของบริษัท

หลายบริษัทกำลังพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้า และอีกหลายบริษัทก็กำลังพยายามต่อรองกับซัพพลายเออร์ของตน  ดังนั้นการปรับการดำเนินธุรกิจนำระบบดิจิทัลมาใช้ให้มากขึ้น ทำให้เกิดโอกาสมากมายชดเชยกับต้นทุนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ได้ และในบางกรณียังช่วยกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจได้อีกด้วย

 

ผลกระทบต่อเนื่องต่อผู้ขนส่ง

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเกิดอุปสรรคมากมายในการขนส่งสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรและความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก

ค่าใช้จ่ายของบริษัทขนส่งที่พุ่งทะยานโดยมีความหวังเพียงน้อยนิดว่าจะดีขึ้น  กอปรกับความต้องการตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังอยู่ในระดับสูง ความแออัดของท่าเรือขนส่ง ตลอดจนความล่าช้าและการหยุดชะงักต่าง ๆ ที่ได้รับรายงานยาวเหยียด ล้วนแล้วแต่เพิ่มแรงกดดันต่อต้นทุนในการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งสิ้น

หลักฐานที่ชัดเจนของเรื่องนี้คือการที่เรือเอเวอร์กิฟเว่น (Ever Given) ซึ่งบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 20,000 ตู้ เกยตื้นในคลองสุเอซเมื่อวันที่ 23 มีนาคม กีดขวางการจราจรในคลอง และทำให้การขนส่งสินค้าทางทะเลต้องหยุดชะงักในจุดที่มีการสัญจรทางน้ำที่พลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากเบี้ยประกันในการโหลดสินค้าขึ้นเรือก่อน ได้ซ้ำเติมให้ปัญหานี้รุนแรงยิ่งขึ้น จากข้อมูลของ S&P Platts ผู้ให้บริการข้อมูลด้านพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ และแหล่งที่มาของราคาอ้างอิง ระบุว่าเบี้ยประกันเหล่านี้ทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับคอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต เพิ่มสูงขึ้นถึง 2,000 – 3,500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้ 

Photo by Julius Silver from Pexels

การมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์สร้างโอกาสได้

แพลตฟอร์มซัพพลายเชนแบบดิจิทัลที่เชื่อมต่อผู้ซื้อ ซัพพลายเออร์ และผู้ให้บริการ เช่น ธนาคารต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น เช่น

    • การชดเชยต้นทุนการสรรหาซัพพลายเออร์ใหม่ ด้วยการปรับเปลี่ยนการทำธุรกรรมให้เป็นดิจิทัล ลดการใช้พอร์ทัลส่งข้อมูลระหว่างสองอุปกรณ์ (point-to-point portal) ผู้ให้บริการบุคคลที่สาม (เช่น เอเย่นต์) หรือค่าธรรมเนียมธนาคารที่ไม่จำเป็น
  •  
    • การแบ่งเบาภาระต้นทุนผ่านการจัดการด้านการเงินในระบบซัพพลายเชนแบบดิจิทัล  เมื่อต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ซัพพลายเออร์จึงจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย  ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนจึงกลายเป็นต้นทุนสินค้าที่ขายซึ่งโปรแกรมการเงินด้านซัพพลายเชนที่ขับเคลื่อนโดยผู้ซื้อจะช่วยแบ่งเบาภาระดังกล่าว และเพิ่มประสิทธิภาพด้านเงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้เข้าร่วมซัพพลายเชนได้สูงสุด

ผู้ที่สามารถนำการปรับเปลี่ยนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ซื้อกับซัพพลายเออร์ให้เป็นดิจิทัล จะสามารถลดต้นทุนของสินค้าที่ขาย รวมถึงการปรับปรุงอัตรากำไร และเงินทุนหมุนเวียนได้ โดยมีผลสำเร็จที่พิสูจน์แล้วดังนี้

    • ทำให้การประมวลผลใบแจ้งหนี้แบบไร้สัมผัสมีประสิทธิภาพดีขึ้นมากกว่า 98%  
    • กู้คืนข้อมูลการขอเงินค่าสินค้าคืนได้ถึง 100%
    • ปรับปรุงระยะเวลานับตั้งแต่วันจ่ายชําระหนี้ค่าสินค้า ถึงวันรับชําระเงินสดจากการขายสินค้าดีขึ้น 10-30% ซึ่งจะช่วยให้การหมุนเวียนเงินสดดีขึ้น
    • ช่วยให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นถึง 3 เท่า โดยไม่ต้องเพิ่มทรัพยากรภายใน (การสรรหาซัพพลายเออร์ใหม่และการจัดการบัญชีเจ้าหนี้)

 

การคิดใหม่เรื่องเอกสาร ข้อมูลและเงินทุน

นายเดวิด ลาฟิตต์ กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการของ Deckers Outdoor Corp ผู้ผลิตสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์แบรนด์ UGG, Teva และ Sanuk กล่าวว่า “เมื่อคุณมีคำสั่งซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปมาบ่อยครั้ง คุณก็จะจบลงด้วยการได้รับอีเมลที่ยาวเหยียด พร้อมรายชื่อผู้รับอีเมลที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  หากคุณไม่มีระบบศูนย์กลาง ที่เป็นระบบคลาวด์พอร์ทัลสำหรับสื่อสารกับผู้ขายอื่น ๆ คุณจะต้องเสียเวลามหาศาลในการกระทบยอดใบแจ้งหนี้  แต่สำหรับบริษัทเราใช้เจ้าหน้าที่เพียงคนเดียวในการตรวจสอบใบแจ้งหนี้จำนวนมาก และใช้เวลาเพียง 30 นาทีต่อวันเท่านั้น  บริษัทฯ ใช้เวลาวันทำงานเพียงเล็กน้อยในการจัดการบัญชีเจ้าหนี้โดยมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 1%”

Infor_อินฟอร์_supply chain 2
Photo by Karolina Grabowska from Pexels

ล่าสุดแฟรงค์ เวทเตอร์ ผู้ดูแลด้านการเงินของพูม่า ได้อธิบายถึงวิธีที่พูม่าซึ่งเป็นผู้นำด้านสนีกเกอร์จัดการกับการขยายเวลาชำระเงินของผู้ค้าปลีกรายย่อยในช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโควิด-19  โดยพูม่าได้จัดเตรียมหาเงินทุนของบุคคลที่สามให้กับซัพพลายเออร์ของตน (ตามเครดิตที่มีกับพูม่า) แทนการยอมรับผลกระทบจากการชำระล่าช้าไว้เอง หรือผลักภาระความล่าช้านี้ให้กับซัพพลายเออร์ ช่วยให้พูม่าถือเงินสดไว้ในมือได้นานขึ้น และสามารถชำระเงินซัพพลายเออร์ได้ก่อนกำหนด  ทั้งนี้ซัพพลายเออร์ไม่จำเป็นต้องหาเงินทุนที่ดอกเบี้ยแพงสำหรับตลาดท้องถิ่น โดยต้องผูกติดกับเครดิตของตน  การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล   ซัพพลายเชนของพูม่าที่เชื่อมโยงข้อมูล สต็อคสินค้า และเงินทุนทั่วระบบซัพพลายเชน ได้ช่วยให้ความยากลำบากที่เกิดจากการแพร่ระบาดบรรเทาเบาบางลงได้ 

ผู้ค้าปลีกหลายรายกำลังมองหากลยุทธ์ในการควบคุมต้นทุนด้านซัพพลายเชนของตนมากขึ้น หรือช่วยเหลือซัพพลายเออร์ในการจัดหาเงินทุนสำหรับซื้อวัตถุดิบ เพื่อลดการพึ่งพาตัวแทน และปรับแบรนด์ของตนให้เติบโตได้ ในตัวอย่างที่ยกมานี้ เริ่มต้นจากความสามารถในการดำเนินการจัดการคำสั่งซื้อ พาร์ทเนอร์คู่ค้า สินค้าคงคลัง และเงินทุน  ซึ่งเครือข่ายซัพพลายเชนแบบหนึ่งเดียวที่เชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วยกัน จะเป็นระบบสำคัญต่อภารกิจในการดำเนินงาน หากปราศจากซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตจะต้องสาละวนอยู่กับการวิ่งไล่ตามคำสั่งซื้อและสต็อคสินค้าคงคลัง รวมถึงต้องคอยป้องกันทั้งเรื่องอัตราเงินเฟ้อ และผลกำไรที่ค่อย ๆ ลดน้อยลงอีกด้วย

เหตุผลที่ผู้ผลิตอาหารในเอเชียหันมาใช้ระบบคลาวด์

infor

เหตุผลที่ผู้ผลิตอาหารในเอเชียหันมาใช้ระบบคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน

Infor_อินฟอร์_ฟาบิโอ

ความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันเพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีต  ผลพวงมาจากความคุ้นเคยที่ได้รับจากความสะดวกสบายแบบเฉพาะเจาะจงส่วนบุคคลผ่านสมาร์ทโฟนที่ทันสมัยที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา รวมถึงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านอาหารทั่วโลก  การรับรู้เกี่ยวกับความสำคัญด้านความปลอดภัยอาหารและคุณภาพของผลิตภัณฑ์

 

ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้น

แม้ว่าความกังวลด้านความยั่งยืน และความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องที่อาจทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ความคาดหวังต่าง ๆ ของลูกค้าที่เพิ่มขึั้น เป็นตัวบ่งชี้ให้เราทราบถึงที่มาของรูปแบบธุรกิจที่เกิดใหม่ เช่น การจัดส่งอาหารถึงผู้บริโภคโดยตรง และ “คลาวด์” คิทเช่น (Cloud Kitchen) พื้นที่ครัวกลางสำหรับให้ร้านค้าหลายแห่งเข้ามาใช้งานร่วมกัน  ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยให้อาหารจานโปรดไปถึงที่พักของคุณได้ในเวลาพอๆ กันกับการที่คุณต้องขับรถไปร้านอาหารด้วยตัวเอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะพบว่าความนิยมของลูกค้าในทวีปเอเชียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และการปร้บเปลี่ยนความคาดหวังของลูกค้านั้นเป็นไปได้อย่างไร

ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า แม้ว่าโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่ก็ทำให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และวิธีการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยบริษัทอาหารหลายแห่งได้พบกับไลฟ์สไตล์ และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม  และได้มีการปรับตัวเปิดรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยอาศัยโมเดลธุรกิจคลาวด์คิทเช่น ซึ่งได้กระตุ้นให้ปริมาณการจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จึงเกิดการคาดการณ์ว่าคลาวด์คิทเช่นจะเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯและปริมณฑลอย่างน้อย 50 แห่งภายในสิ้นปี 2565

ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรืออาหารพร้อมปรุงตามการเลือกสรรของแต่ละบุคคล นวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดส่งอาหารตรงถึงผู้บริโภค ก็ได้เข้ามาเพิ่มความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตอาหาร คำถามที่มีการถามมากที่สุดคือการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดความท้าทายต่างๆ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเมื่ออาหารเกิดการปนเปื้อน หรือผลิตผลที่ปราศจากสารก่อภูมิแพ้ถูกเก็บรวมไว้กับอาหารชนิดอื่น ๆ โดยไม่ตั้งใจระหว่างการจัดส่ง ใครควรจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งผู้ผลิตอาหารไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของตน หากปราศจากระบบติดตามที่ครอบคลุมแบบครบวงจร

Infor_อินฟอร์_food industry
Food photo created by azerbaijan_stockers - www.freepik.com

การเติบโตของตลาดในเอเชียทำให้ลูกค้าให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างแพร่หลาย และซัพพลายเชนที่ขาดประสิทธิภาพ เป็นเพียงสองตัวอย่างของการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของโลกที่ให้ความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคที่มีจำนวนจำกัด ยังทำให้การถกเถียงด้านความยั่งยืนไม่สามารถนำมาใช้ป้องกันปัญหาการใช้น้ำในกระบวนการผลิตอาหารได้

 

แนวทางที่ดีกว่า

หากผู้ผลิตอาหารรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ก็จะสามารถจัดการกับความท้าทายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป, การค้นหาและติดตามส่วนผสมในการผลิตอาหารจำนวนมหาศาลเพื่อทำให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับ, หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กร และจำกัดการใช้น้ำให้เหลือน้อยที่สุด เป็นต้น

กระนั้นก็ตาม การพัฒนาระบบใหม่โดยใช้ไอทีแบบดั้งเดิม ต้องใช้เงินลงทุนล่วงหน้าจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อโครงการที่มีอยู่ และเกิดความซับซ้อนที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนในด้านการดูแลรักษาหากมีสถานที่ทำงานมากกว่าหนึ่งแห่ง  ในทางกลับกัน การใช้ระบบคลาวด์จะสามารถปรับใช้ได้รวดเร็วและมีราคาถูกกว่ามาก อีกทั้งยังมอบระบบการบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) ที่เข้าถึงได้ตลอดเวลา มีความยืดหยุ่นในการปรับขยายมาก และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไปด้วยในขณะเดียวกัน 

ในโลกที่การผิดพลาดต้องน้อยที่สุด และแรงกดดันต่อเนื่องเพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ผลิตอาหารไม่สามารถทำให้เกิดข้อผิดพลาดหรือทำการทดลองใด ๆ ได้อีกต่อไป พวกเขาจึงต้องการสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้งานได้จริง และนำไปใช้งานได้ทันทีแทนที่จะเริ่มต้นจากศูนย์  ระบบคลาวด์ ERP จึงเหมาะสมอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสามารถในการเข้าถึง, การส่งผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด รวมถึงความน่าเชื่อถือขององค์กร

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลที่จัดเก็บไว้บนคลาวด์หนึ่งเดียว จะสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลยืนยันความถูกต้องสำหรับการทำงานขององค์กรทั้งหมด ช่วยลดความผิดพลาดใด ๆ ระหว่างแผนกก่อนที่จะเกิดขึ้นได้  อีกทั้งการมีคู่ค้าและซัพพลายเออร์อยู่บนหน้าจอเดียวกัน ยังช่วยให้การขยายซัพพลายเชนและนวัตกรรมเป็นไปได้ง่ายดายขึ้นอีกด้วย

 

ทำไมระบบ ERP จึงเหมาะที่จะใช้บนคลาวด์

เมื่อใช้ระบบ ERP บนคลาวด์ ความเป็นไปได้ในทุกด้านจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล กระบวนการที่ต่างกันและไซโลต่าง ๆ ที่เคยมีก่อนหน้านี้ จะสามารถรวมเข้าด้วยกันกลายเป็นส่วนที่สอดคล้องกันทั้งหมด ทำให้สามารถนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน

นอกจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังสามารถนำไปใช้งานในระบบคลาวด์ได้ง่ายขึ้น เช่น ผู้ผลิตอาหารในทวีปเอเชียที่หันมาใช้อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ส (Internet of Things – IoTs) ด้วยการติดเซ็นเซอร์ไว้กับฝูงวัว ทำให้ข้อมูลจากฝูง ปศุสัตว์ที่อยู่ในระบบคลาวด์ ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงข้อมูลอันล้ำค่าที่จำเป็นต่อการเลี้ยงสัตว์ให้มีสุขภาพดี พร้อมอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วขึ้น

Infor_อินฟอร์_food industry 2
Food photo created by aleksandarlittlewolf-www.freepik.com

อินฟอร์®ได้ลงทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาในโซลูชั่นตระกูล CloudSuitTM ของบริษัทฯ ด้วยเครื่องมือที่เร่งการปรับเปลี่ยนสู่การเป็นดิจิทัลซัพพลายเชนของผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในทวีปเอเชียและทั่วโลก Infor CloudSuite Food & Beverage จะช่วยกระตุ้นการคิดค้นนวัตกรรมและการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น