DDproperty เผยสุดยอดทำเลน่าจับตามองในรอบครึ่งแรกปี 65

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลน่าจับตามองในรอบครึ่งแรกปี 65

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลน่าจับตามองในรอบครึ่งแรกปี 65

“MRT พระราม 9” ทำเลสุดฮอตแนวรถไฟฟ้า คนกรุงเลือกซื้อย่าน “สวนหลวง” ตลาดเช่า “บางนา” มาแรง

DDproperty-Info_Best-of-H1-2022

ท่ามกลางบททดสอบที่ท้าทาย ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบาง ภาวะเงินเฟ้อ ผนวกกับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น แม้จะสั่นคลอนความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยยังคงมีอยู่ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลเชิงลึกจากผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ www.ddproperty.com ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 (ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565) สะท้อนเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยยอดนิยมของผู้ซื้อและผู้เช่าทั่วประเทศ พบว่าการเข้าชมประกาศขายอสังหาฯ ลดลงประมาณ 14% จากช่วง 6 เดือนก่อนหน้า สืบเนื่องจากปัจจัยรุมล้อมข้างต้นที่ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการตัดสินใจซื้อเปลี่ยนมาเป็นการเช่าแทน ส่งผลให้ความต้องการเช่าในบางทำเลมีการเติบโตอย่างน่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ที่เผยว่ามีผู้บริโภคเพียง 16% เท่านั้นที่พร้อมจะซื้อบ้านภายใน 1 ปีข้างหน้านี้

โดยพฤติกรรมการค้นหาที่อยู่อาศัยผ่านช่องทางออนไลน์ของคนหาบ้านยุคนี้ 50% จะพิมพ์คำค้นหาตามสิ่งที่ตัวเองต้องการหรือสนใจ (Free Text) ขณะที่อีกกลุ่มจะใช้คำค้นหา (Keyword) เกี่ยวกับทำเลที่ตั้งของอสังหาฯ แบบเฉพาะเจาะจง เช่น ค้นหาด้วยจังหวัด, เขต/อำเภอ, แขวง/ตำบล คิดเป็นสัดส่วน 40% ของการค้นหาทั้งหมด 

ขณะที่ “สถานีรถไฟฟ้า” ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มคำค้นหายอดนิยมและมาแรงในยุคนี้ มีสัดส่วน 10% ของการค้นหาทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าทำเลแนวรถไฟฟ้ายังเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการค้นหาที่อยู่อาศัยของคนหาบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหารถติด จึงเลือกทำเลที่อยู่อาศัยที่สะดวกในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าแทน

“กรุงเทพฯ” ยืนหนึ่งจังหวัดที่มีการค้นหาอสังหาฯ มากที่สุด 

กรุงเทพมหานครครองความนิยมเป็นจังหวัดที่มีการค้นหาอสังหาฯ มากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ในขณะที่อันดับ 2 ได้แก่ เชียงใหม่, อันดับ 3 นนทบุรี, อันดับ 4 ชลบุรี, อันดับ 5 สมุทรปราการ, อันดับ 6 ปทุมธานี, อันดับ 7 ภูเก็ต, อันดับ 8 ประจวบคีรีขันธ์, อันดับ 9 เมืองพัทยา และอันดับ 10 นครราชสีมา จะเห็นได้ว่าการค้นหาที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดปริมณฑลที่ได้รับอานิสงส์ความเจริญจากเมืองหลวง รวมทั้งหัวเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งเป็นผลจากเทรนด์ Workcation ได้รับความนิยมในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ รูปแบบการทำงานที่ได้ท่องเที่ยวและพักผ่อนในเวลาเดียวกัน กลายเป็นอีกปัจจัยที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคมองหาบ้านพักตากอากาศในหัวเมืองท่องเที่ยวมากขึ้น 

“MRT พระราม 9” สุดยอดทำเลยอดนิยมแนวรถไฟฟ้า

ทำเลแนวรถไฟฟ้าเป็นอีกตัวเลือกที่ได้รับความนิยมเมื่อค้นหาที่อยู่อาศัย สอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยว่าผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (51%) มองว่าโครงการที่อยู่อาศัยที่เดินทางสะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เป็นปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ โดยทำเลแนวรถไฟฟ้าที่มีการค้นหามากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก 2565 ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลที่เป็นแหล่งงาน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตวิถีคนเมือง 

โดย 10 สถานีรถไฟฟ้าที่เป็นทำเลยอดนิยมในกลุ่มคนค้นหาอสังหาฯ ช่วงครึ่งปีแรก 2565 อันดับ 1 ได้แก่ MRT พระราม 9 อีกหนึ่งทำเลศักยภาพของกรุงเทพฯ ตามมาด้วยอันดับ 2 BTS อ่อนนุช, อันดับ 3 BTS อารีย์, อันดับ 4 BTS อโศก, อันดับ 5 BTS พร้อมพงษ์, อันดับ 6 BTS เอกมัย, อันดับ 7 MRT ห้วยขวาง, อันดับ 8 BTS อุดมสุข, อันดับ 9 BTS ทองหล่อ และอันดับ 10 BTS สะพานควาย 

“สวนหลวง” ครองใจคนซื้อชาวกรุง “บางนา” มาแรงในตลาดเช่า

ด้านตลาดอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ มีความเคลื่อนไหวน่าจับตามองและมีโครงการใหม่เปิดตัวอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เห็นได้ชัดจากจำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ สำหรับขายบนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า  “สวนหลวง” กลายเป็นทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงระดับบนที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 

ขณะที่จำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ ให้เช่าบนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า “บางนา” เป็นทำเลที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ด้วยปัจจัยบวกที่สนับสนุนการเติบโตจากโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อเมืองระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ ใกล้แหล่งงาน ประกอบกับการพัฒนาโครงการเมกะโปรเจค (Mega Project) และโครงการที่อยู่อาศัยอีกหลายโครงการ

โดย 5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
อันดับ 2 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
อันดับ 3 แขวงบางนา เขตบางนา
อันดับ 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
อันดับ 5 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา 

ด้าน 5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 แขวงบางนา เขตบางนา
อันดับ 2 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
อันดับ 3 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา
อันดับ 4 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
อันดับ 5 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย

ราคาขาย-เช่าอสังหาฯ เมืองกรุงยังไม่ฟื้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาขายที่อยู่อาศัยโดยรวมทุกประเภทอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกนี้ยังไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีราคากลางเฉลี่ยอยู่ที่ 106,000 บาท/ตารางเมตร ลดลง 5% จากปีก่อนหน้า และลดลงถึง 18% เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดฯ (ไตรมาส 4 ปี 2562) ช่วงเวลานี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีและเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยและมีความพร้อมทางการเงิน ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาขายอสังหาฯ และดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลังนี้ 

ขณะที่อัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยโดยรวมทุกประเภทอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ มีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 485 บาท/ตารางเมตร/เดือน ลดลง 3% จากปีก่อนหน้า และลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดฯ อย่างไรก็ดี แม้คอนโดมิเนียมจะเป็นอสังหาฯ ประเภทเดียวที่ค่าเช่าลดลง 3% จากปีก่อนหน้า แต่ก็ยังมีความต้องการเช่าอยู่ไม่น้อยและมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนอย่างคนวัยทำงานและนักศึกษา ทำให้มีอัตราค่าเช่าคอนโดฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 500 บาท/ตารางเมตร/เดือน ขณะที่โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบยังได้รับความนิยมต่อเนื่องในตลาดเช่าและมีทิศทางเติบโต บ้านเดี่ยวมีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 320 บาท/ตารางเมตร/เดือน โตถึง 28% จากปีก่อนหน้า ส่วนทาวน์เฮ้าส์มีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 210 บาท/ตารางเมตร/เดือน โต 7% จากปีก่อนหน้า 

“สมุทรปราการ” คว้าอันดับ 1 ตลาดซื้อ-เช่าอสังหาฯ ปริมณฑล

เทรนด์ Work from Home ในช่วงการแพร่ระบาดฯ ส่งผลให้ผู้บริโภคมองหาที่อยู่อาศัยในทำเลรอบนอกของกรุงเทพฯ มากขึ้น ทำให้ที่อยู่อาศัยย่านชานเมืองและปริมณฑลกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในด้านราคาที่ย่อมเยากว่า จากจำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ สำหรับขายในเขตปริมณฑลบนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า สมุทรปราการเป็นจังหวัดปริมณฑลที่ได้รับความสนใจซื้อและเช่าอสังหาฯ มากที่สุดในครึ่งแรกของปี 2565 โดยได้รับปัจจัยบวกมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่ช่วยให้การเดินทางมาทำงานหรือเรียนในย่านใจกลางเมืองสะดวกสบายมากขึ้น 

โดย 5 ทำเลในเขตปริมณฑลที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 2 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 
อันดับ 3 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 
อันดับ 4 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 5 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ขณะที่ 5 ทำเลในเขตปริมณฑล ที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 2 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
อันดับ 3 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 4 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
อันดับ 5 ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผลสำรวจชี้ องค์กรด้านการเงินการธนาคาร อยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้มัลติคลาวด์

ผลสำรวจชี้ องค์กรด้านการเงินการธนาคาร อยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้มัลติคลาวด์

ผลสำรวจชี้ องค์กรด้านการเงินการธนาคาร อยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้มัลติคลาวด์

ผลสำรวจพบว่าไฮบริดมัลติคลาวด์คือรูปแบบไอทีที่เหมาะสมที่สุด และธุรกิจบริการด้านการเงินมีการนำไปใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริดมัลติคลาวด์คอมพิวติ้งเปิดเผยข้อมูลผลสำรวจเกี่ยวกับองค์กรด้านการเงินการธนาคารทั่วโลก จากรายงานดัชนีคลาวด์ระดับองค์กรประจำปี 2565 (2022 Enterprise Cloud Index – ECI) โดยรายงานดังกล่าวมุ่งตรวจสอบความคืบหน้าขององค์กรต่าง ๆ ในการนำเทคโนโลยีค­ลาวด์ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม ผลสำรวจชี้ว่า องค์กรผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วโลกใช้มัลติคลาวด์น้อยกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ทำการสำรวจโดยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ราว 10% อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้เพิ่มขึ้น เกือบสองเท่าจาก 26% เป็น 56% ในอีกสามปีข้างหน้า ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกที่มีการพัฒนาไปสู่โครงสร้างพื้นฐานไอที แบบมัลติคลาวด์ ซึ่งครอบคลุมการใช้งานผสมผสานกันทั้งไพรเวท และพับลิคคลาวด์

ผลสำรวจพบว่า 31% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นผู้ให้บริการด้านการเงิน ยังคงใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิม (three-tier) เป็นโครงสร้างพื้นฐานไอทีเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ใช้คลาวด์ และมีการใช้พับลิคคลาวด์ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นทั้งหมดที่ทำการสำรวจเกี่ยวกับการใช้พับลิคคลาวด์โดย 59% ไม่ได้ใช้บริการพับลิคคลาวด์ เปรียบเที่ยบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 47% สาเหตุหลักเนื่องจากได้มีการลงทุนจำนวนมากไปกับแอปพลิเคชันรุ่นเก่าที่ยังใช้งานอยู่ และเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมาก ความยุ่งยากซับซ้อนในการบริหารจัดการระบบคลาวด์ประเภทต่าง ๆ ยังคงเป็นความท้าทายใหญ่ของผู้ให้บริการด้านการเงิน โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 84% เห็นด้วยว่าความสำเร็จขึ้นอยู่กับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานมัลติคลาวด์ที่ง่ายขึ้น ขณะที่ 50% ระบุว่าประเด็นเรื่องความปลอดภัยคือความท้าทายประการหนึ่งของการใช้มัลติคลาวด์ สำหรับการแก้ไขความท้าทายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของความปลอดภัยความสามารถในการทำงานร่วมกัน และการบูรณาการข้อมูลนั้น ผู้ตอบแบบสำรวจ 82% เห็นพ้องกันว่าไฮบริด มัลติคลาวด์ เหมาะสมที่สุดเพราะเป็นรูปแบบการดำเนินงานด้านไอทีที่สามารถใช้งานคลาวด์หลายระบบหลายประเภท ทั้งไพรเวทและพับลิคคลาวด์ ที่สามารถแลกเปลี่ยนใช้ข้อมูล และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อานันท์ อาเคลา รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และโซลูชันของนูทานิคซ์ กล่าวว่า “แม้ภาคอุตสาหกรรมด้านการเงินจะอยู่ในช่วงระยะแรกของการใช้คลาวด์ แต่ก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบมัลติคลาวด์ที่ทั้งไพรเวท และพับลิคคลาวด์สามารถทำงานร่วมกันได้การที่ความปลอดภัยของข้อมูล และความยืดหยุ่นในการดำเนินงานมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ให้บริการด้านการเงิน องค์กรเหล่านี้จึงจำเป็นที่จะต้องนำโซลูชันไฮบริดมัลติคลาวด์มาใช้ โซลูชันไฮบริดคลาวด์ช่วยให้องค์กรสามารถบูรณาการการบริหารจัดการ และระบบความปลอดภัยได้แบบรวมศูนย์ ทั้งยังรองรับการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันไปใช้บนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย”

การสำรวจนี้ยังได้ตั้งคำถามต่อผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในอุตสาหกรรมด้านการเงินเกี่ยวกับความท้าทายในปัจจุบันในเรื่องของการใช้คลาวด์, วิธีการใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจและแอปฯ ที่มีความสำคัญขององค์กร รวมถึงองค์กรได้วางแผนว่าจะวางและใช้งานแอปพลิเคชันเหล่านั้นบนระบบใดในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ที่มีต่อการตัดสินใจในการใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งที่เพิ่งผ่านมาในปัจจุบัน และในอนาคต รวมถึงประเด็นที่ว่ากลยุทธ์และภารกิจสำคัญด้านไอทีอาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรสืบเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว ตัวเลขสำคัญจากผลสำรวจดังกล่าวมีดังนี้

    • ความท้าทายในการใช้มัลติคลาวด์ที่ธุรกิจบริการด้านการเงินพบ เช่น ความปลอดภัย (50%), การบูรณาการข้อมูลบนระบบคลาวด์ต่าง ๆ (46%) และความท้าทายเรื่องประสิทธิภาพเนื่องจากการซ้อนทับกันของเครือข่าย (43%) ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 78% ระบุถึงปัญหาการขาดแคลนทักษะด้านไอทีที่สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจในปัจจุบัน การลดความซับซ้อนในการทำงานจึงน่าจะเป็นจุดที่องค์กรต้องให้ความสำคัญในปีหน้า อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารฝ่ายไอทีเริ่มตระหนักว่าไม่มีแนวทางแบบครอบจักรวาลที่ใช้ได้กับทุกกรณีในการใช้คลาวด์ ดังนั้นผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ (82%) จึงเห็นว่าไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ไฮบริดมัลติคลาวด์ จะช่วยแก้ไขความท้าทายที่สำคัญในการใช้มัลติคลาวด์ด้วยคุณสมบัติที่มอบสภาพแวดล้อมคลาวด์รวมศูนย์เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสามารถใช้ระบบความปลอดภัย และการกำกับดูแลข้อมูลในรูปแบบเดียวกันได้ทั้งหมด
    • ความสามารถในการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันเป็นเรื่องจำเป็น ผู้ตอบแบบสำรวจจากภาคธุรกิจบริการด้านการเงินเกือบทั้งหมด (98%) ได้ย้ายแอปพลิเคชันอย่างน้อยหนึ่งแอปฯ ไปยังสภาพแวดล้อม ไอทีใหม่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยหลัก ๆ แล้วเป็นการย้ายจากดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นเก่าไปยังไพรเวทคลาวด์ เนื่องจากในภาคธุรกิจนี้ ความแพร่หลายของการใช้มัลติคลาวด์และพับลิคคลาวด์อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ระบุว่าการพัฒนาแอปฯ ได้รวดเร็ว กว่า (43%) เป็นเหตุผลสำคัญของการย้ายแพลตฟอร์ม รองลงมาคือเรื่องของความปลอดภัย (42%) และการบูรณาการเข้ากับบริการคลาวด์เนทีฟ (40%)  นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ (83%) มีความเห็นว่าการย้ายแอปพลิเคชันไปยังสภาพแวดล้อมใหม่อาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากดังนั้น จึงคาดว่าจะมีการปรับใช้คอนเทนเนอร์เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการติดตั้งใช้งานมัลติคลาวด์เพื่อให้สามารถรันและเคลื่อนย้ายแอปฯ ต่าง ๆ ได้เกือบทุกที่อย่างง่ายดาย รวดเร็ว โดย 86% ของผู้ตอบแบบสำรวจจากภาคธุรกิจบริการด้านการเงินระบุว่า คอนเทนเนอร์จะมีความสำคัญต่อองค์กรของตนในช่วงปีหน้า
    • งานด้านไอทีที่ธุรกิจบริการด้านการเงินจัดลำดับความสำคัญในช่วง 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย (54%), การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการมัลติคลาวด์ (49%) และการพัฒนาและ/หรือนำเทคโนโลยีแบบคลาวด์เนทีฟมาใช้ (47%) ต่อคำถามที่ว่าองค์กรเหล่านี้จะดำเนินการอะไรบ้าง ที่ไม่เหมือนเดิมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ผู้ตอบแบบสำรวจในธุรกิจด้านนี้ 70% ระบุว่ามีการใช้จ่ายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น, 64% ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในเรื่องของการเพิ่มระบบอัตโนมัติสำหรับการบริการตนเองโดยอาศัย AI และ 64% ลงทุนในด้านการอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐาน

สำหรับประเทศไทย ธุรกิจในอุตสาหกรรมการเงินเป็นอุตสาหกรรมแรก ๆ ที่เริ่มการทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ดิจิทัล และคลาวด์เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจสูงมากตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 เพื่อรักษาลูกค้าและแข่งขันกับฟินเทค ในช่วงการแพร่ระบาด มีการนำคลาวด์มาใช้ควบคู่กับไพรเวทคลาวด์ และระบบที่อยู่ภายในองค์กรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการตัดสินใจในเวลาสั้น ๆ เพื่อให้บริการลูกค้าที่ต้องปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลอย่างกระทันหัน และทำธุรกรรมผ่านออนไลน์ที่ยืนยันด้วยข้อมูลจาก Payment Data Indicator ประจำเดือนเมษายน 2565 ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุว่า การทำธุรกรรม e-payment ในเดือนเมษายน 2565 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยที่ 348 รายการ/คน/ปี คลาวด์จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้รองรับความต้องการดังกล่าวและรองรับแอปพลิเคชัน ดาต้า กรอบการทำงานด้านความปลอดภัยและอื่น ๆ และเป็นที่คาดว่าธุรกิจการเงินไทยจะใช้ไฮบริด มัลติคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับแนวโน้มทั่วโลก

นับเป็นปีที่สี่ติดต่อกันที่แวนสัน บอร์น (Vanson Bourne) ได้ดำเนินการสำรวจในนามของนูทานิคซ์ โดยสำรวจความคิดเห็นของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอที 1,700 คนทั่วโลกในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564  รายงานฉบับนี้เป็นเอกสารเพิ่มเติมจากรายงานหลัก Enterprise Cloud Index ประจำปี ฉบับที่ 4 โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ และแนวโน้มการวางแผนในภาคธุรกิจบริการด้านการเงินโดยอ้างอิงคำตอบของบุคลากรฝ่ายไอที 250 คนที่ทำงานอยู่ในธนาคารและบริษัทประกันทั่วโลก และมีการเปรียบเทียบแผนงานด้านคลาวด์ ภารกิจสำคัญ และประสบการณ์ขององค์กรเหล่านี้กับภาคธุรกิจอื่น ๆ รวมถึงฐานคำตอบโดยรวมในระดับโลก

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานและผลการสำรวจ สามารถดาวน์โหลดรายงาน Enterprise Cloud Index ของนูทานิคซ์ฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่

จากดิจิทัลสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

From Digital to Continuous Transformation

จากดิจิทัลสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การพูดคุยเกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้กลายเป็นหัวข้อในการประชุมผู้บริหารไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนวิธีการทำงานที่ทันสมัย รูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ และการเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการสำหรับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นได้เร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวนมากมาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ ต้องเผชิญกับความจำเป็นเร่งด่วนในการเปิดรับรูปแบบการทำงานจากทุกสถานที่ และจัดการกับความต้องการที่ผันผวนไปอย่างมาก

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการตระหนักถึงคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ มีการลงทุนที่สมเหตุสมผลมากขึ้น และจำนวนผู้บริหารที่สนับสนุนความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงนี้ก็เพิ่มจำนวนขึ้น  ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปรับใช้คลาวด์ควบคู่ไปกับความสามารถในการผสานรวมด้วย API ที่ทันสมัย ช่วยขับเคลื่อนขั้นตอนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นไปได้  ระบบคลาวด์ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความสามารถในการปรับขนาด การรักษาความปลอดภัย และศักยภาพของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยรวบรวมข้อมูลทั่วทั้งองค์กรตลอดจนการดำเนินงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริงแบบไดนามิก  การนำมาปรับใช้เช่นนี้เป็นการนำศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินธุรกิจบรรจบเข้าด้วยกัน และเพิ่มคุณค่าให้กับกระบวนการทำงานมากขึ้น ทว่า ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ก็ยังคงมีข้อบกพร่อง         

หรือจะเป็นคำจำกัดความที่ผิดพลาด?

เพราะอย่างน้อยในสถานการณ์ส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงมักจะหมายความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง ในขณะที่พจนานุกรมออกซฟอร์ดหมายถึง “การเปลี่ยนแปลงโดยสมบูรณ์สำหรับบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง” โดยทั่วไป การเปลี่ยนแปลงจะเกิดกับหนึ่งเหตุการณ์หรือชุดเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงไปสู่จุดประสงค์เดียวกัน

สำหรับความหมายด้านดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มักจะอยู่ในรูปแบบของโครงการเดียว เช่น ซอฟต์แวร์ระบบวางแผนทรัพยากรขององค์กร (ERP) แบบใหม่ หรือกลุ่มโครงการต่อเนื่องเพื่อสร้างโปรแกรมที่ครอบคลุมมากขึ้น มุ่งเน้นที่การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลการเป็นวิธีสำคัญในการปรับปรุงให้ทันสมัย เร่งการตัดสินใจ รวมถึงการใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับทั้งในด้านประสบการณ์และประสิทธิภาพทางเงิน แต่หากการเปลี่ยนแปลงนี้สิ้นสุดลงหลังการใช้งานจริงของเทคโนโลยีที่รองรับ ข้อดีต่าง ๆ ก็จะลดลงไปตามเวลาที่
ผันผ่านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สภาพแวดล้อมดิจิทัลที่แท้จริง

วินสตัน เชอร์ชิล เคยกล่าวไว้ว่า “การปรับปรุงคือการเปลี่ยนแปลง จะสมบูรณ์แบบได้ต้องหมั่นปรับเปลี่ยน” แม้ว่าความสมบูรณ์แบบในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากในปี 2565 นี้ แต่สำหรับธุรกิจต่าง ๆ กลับไม่เคยรู้สึกจริงจังมากขึ้นขนาดนี้มาก่อน

การรักษาสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่แท้จริง ซึ่งสามารถฟื้นคืนเป็นปกติ ปรับขนาด และยืดหยุ่นได้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ลดความเสี่ยง และความไม่แน่นอนของตลาดนั้น การเปลี่ยนแปลงเพียงครั้งเดียวย่อมไม่สามารถทำได้  เราดำเนินงานอยู่ในสภาพที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนเกิดอุตสาหกรรมและหน้าที่ความรับผิดชอบของงานใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อตามให้ทันกับสิ่งที่เกิดขึ้น ภายใต้เรื่องนี้ บริษัทต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องสำรวจโมเดลธุรกิจและช่องทางใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ต้องสร้างวิธีการใหม่ให้อยู่ใน DNA ของธุรกิจ และพร้อมที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้ในเรื่องใหม่ ๆ หรือความท้าทายต่าง ๆ ที่ใช้การกดปุ่มเพียงแค่คลิกเดียว

ธุรกิจจำนวนมากจะยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า เรื่องนี้ถือเป็นขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการวางแผน ทว่า การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลที่จำเป็นต่อการเติบโตในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงจำต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง  แม้ว่าเรื่องนี้จะดูคล้ายกัน แต่ก็เป็นแนวทางพื้นฐานในการส่งเสริมบรรยากาศการทำงานที่เหมาะสม มากกว่าจะมุ่งเน้นไปที่การคัดเลือกเทคโนโลยี  การเปลี่ยนจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานไปเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนนั้น จะต้องใช้แนวทางในการบริหารจัดการบุคคลที่มีความสามารถมีทักษะ การลงทุนเฉพาะด้าน ตลอดจนวิสัยทัศน์ที่เหมาะสม ซึ่งไม่เพียงแค่ในระยะสั้นเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงในระยะยาวด้วย

Amazon มักได้รับการกล่าวถึงในฐานะเป็นตัวอย่างธุรกิจที่ดีที่ใช้แนวทางเฉพาะนี้อย่างเป็นรูปธรรม บริษัทฯ ระบุว่า นวัตกรรมไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในช่วงเวลาหนึ่งเหมือนแฮกกาธอน หรือศูนย์บ่มเพาะทางธุรกิจที่แข่งขันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์ หากแต่เกิดขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของงานในแต่ละวัน ในทางปฏิบัติทุกการประชุมและการตัดสินใจที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นไปเพื่อแน่ใจว่า ลูกค้าจะได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจและสนับสนุนเป้าหมายของบริษัทฯ ในการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งส่วนหนึ่งของเป้าหมายนี้หมายถึงการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องเพื่อลูกค้า การตระหนักรู้จากภายนอก รวมถึงการมองหาไอเดียใหม่ ๆ นอกองค์กร โดยจะต้องไม่ถูกจำกัดด้วยข้อกำหนด “ห้ามรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น”  ผู้สร้างนวัตกรรมจะแก้ไขและปรับปรุงข้อเสนออย่างต่อเนื่องตามความคิดเห็นของลูกค้าเป็นหลัก ภายใต้การวางแผนระยะยาวที่กำหนดอยู่ในกรอบค่านิยมหลักที่ฝังแน่นอยู่ใน Amazon มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง 

การเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุด

โดยทั่วไป โครงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่เราเคยเห็นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสำหรับองค์กรส่วนใหญ่  แต่สำหรับบริษัทที่เชี่ยวชาญและมองการณ์ไกลกำลังสร้างแนวทางในการพัฒนา ตรวจสอบ และลงทุนในกระบวนการ แนวทางปฏิบัติ ตลอดจนระบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้แน่ใจว่าความสามารถที่มีอยู่จะได้รับการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความต้องการและความแตกต่างที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจนั้น ๆ เมื่อเติบโตขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปของตลาดปัจจุบันที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถเปลี่ยนทิศทางกลยุทธ์ของบริษัทได้ตามความจำเป็น

การแพร่ระบาดได้ส่งผลกระทบระยะยาวต่อองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ผลสำรวจของผู้ผลิตเมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ให้เห็นถึงการยอมรับว่า อุตสาหกรรมการผลิตจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิมก่อนเกิดการแพร่ระบาดอีกต่อไป  ในขณะที่รายงานเน้นว่า 95% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีความกังวลเกี่ยวกับซัพพลายเชนของตนในปัจจุบัน อีก 91% ได้เพิ่มการลงทุนในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลด้วยวิธีการตอบสนอง และคาดหวังถึงอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

อยู่หัวแถวเข้าไว้

การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในอนาคคอย่างแน่นอน และเพื่อให้ก้าวล้ำไปข้างหน้า จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมในการเปลี่ยนแปลงเป็นอันดับแรก  องค์กรจะสร้างรูปแบบการทำงานที่เน้นความคล่องตัว ความเร็ว การปรับขนาด และความยืดหยุ่น ผ่านสภาพท้าทายที่เป็นอยู่เพื่อทบทวนและปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า ประเมินทั้งรูปแบบการดำเนินงานและข้อมูลที่มีอยู่เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอาจเป็นคำศัพท์ที่เราใช้ร่วมกับการปฏิวัติทางดิจิทัลที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้  อย่างไรก็ตาม ผู้ชนะด้านดิจิทัลที่แท้จริงคือผู้ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นวิถีในการรักษาความเกี่ยวข้องในตลาด ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงและสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันได้เร็วและชัดเจนกว่าคู่แข่ง

อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัวโซลูชัน Energy Expert เพื่อบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

Alibaba Cloud Launches Carbon Management Solution

อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัวโซลูชัน Energy Expert เพื่อบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

แพลตฟอร์มเพื่อความยั่งยืนนี้ เปิดให้ลูกค้าทั่วโลกได้ใช้เพื่อวัด วิเคราะห์ และบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ประกาศเปิดตัว Energy Expert ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นด้านความยั่งยืน ช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกทำการวัดปริมาณ วิเคราะห์ และบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการทำกิจกรรมทางธุรกิจและจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของตน แพลตฟอร์มที่เป็น software-as-a-service นี้ยังนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริงและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน เพื่อช่วยกระบวนการทำให้การทำธุรกิจบนเส้นทางแห่งความยั่งยืนเกิดได้เร็วขึ้น

ความคิดริเริ่มนี้เป็นไปในแนวทางเดียวกับคำมั่นสัญญาว่าด้วยความเป็นกลางทางคาร์บอนของอาลีบาบาที่ได้เปิดตัวไปเมื่อปีที่ผ่านมา บริษัทฯ เป็นผู้บุกเบิกแนวคิด “Scope 3 +” และได้ให้คำมั่นที่จะแบ่งปันเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงานกับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทฯ ผ่านการรวมพลังแห่งความพยายามต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด

นายเฉิน ลี่จวน ผู้จัดการทั่วไปด้านผลิตภัณฑ์และโซลูชัน อาลีบาบา คลาวด์ กล่าวว่า “Energy Expert ออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการใช้เทคโนโลยีและโซลูชันที่ทันสมัยทรงประสิทธิภาพ เราหวังว่าลูกค้าทั่วโลกของเราจะได้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่ได้รับการพิสูจน์แล้วนี้ ซึ่งวิธีการดำเนินการที่ชาญฉลาด และแนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนต่าง ๆ ที่โซลูชันนี้มีให้จะช่วยให้ลูกค้าของเราบรรลุเป้าหมาย net zero”

โซลูชัน Energy Expert ช่วยให้ลูกค้าจัดทำบัญชีก๊าซคาร์บอน (carbon accounting) และกระบวนการทำรายงานได้อย่างอัตโนมัติทั้งในส่วนขององค์กร และผลิตภัณฑ์ พร้อมให้สถิติต่าง ๆ ที่กระทบต่อความยั่งยืนแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณา นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกค้าระบุแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมทางธุรกิจในแต่ละวัน รวมถึงที่เกิดจากไลฟ์ไซเคิลทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยอิงตามมาตรฐาน PAS 2060 และ ISO 14064 เกี่ยวกับความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งนี้ลูกค้าสามารถวัดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านโมเดลการคำนวณที่เตรียมไว้ล่วงหน้า โดยใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ใช้กันเป็นสาธารณะ โซลูชันนี้ยังช่วยให้ลูกค้ารับรู้และมองเห็นรูปแบบของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการดำเนินงานของตนได้แบบเรียลไทม์ และแจ้งความก้าวหน้าของประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนขององค์กรผ่านการแสดงภาพบนแดชบอร์ดและรายงานออนไลน์ต่าง ๆ

Energy Expert จัดทำบัญชีคาร์บอนและสร้างรายงานการปล่อยก๊าซคาร์บอนแบบออนไลน์โดยอัตโนมัติ
Energy Expert จัดทำบัญชีคาร์บอนและสร้างรายงานการปล่อยก๊าซคาร์บอนแบบออนไลน์โดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ โซลูชันนี้ยังมอบการวิเคราะห์ที่ล้ำสมัยต่าง ๆ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้พลังงานและคาดการณ์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่เรียนรู้โดยอัตโนมัติผ่านการเลียนแบบการทำงานของระบบโครงข่ายประสาทในสมองมนุษย์ (deep learning-based AI) ต่าง ๆที่โฮสต์อยู่บนอาลีบาบา คลาวด์ Energy Expert ยังนำเสนอแผนการเพิ่มประสิทธิภาพที่นำไปใช้งานได้จริง เพื่อช่วยลูกค้าลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวมให้ได้มากที่สุด แผนนี้จะมีคำแนะนำที่สร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจรวมถึงเรื่องของการนำพลังงานสะอาดมาใช้มากขึ้น การลดการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไปในช่วงที่มีความต้องการใช้สูง และการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับซัพพลายเชนตั้งแต่การจัดหาวัสดุหรือวัตถุดิบไปจนถึงการจัดส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์

Energy Expert ทำงานกับองค์กรต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก เช่น TÜV Rheinland เพื่อจัดทำบบัญชีและให้การรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ออนไลน์ที่เชื่อถือได้ เป็นการช่วยลูกค้าให้ตรวจสอบและสื่อสารความก้าวหน้าในการประหยัดพลังงานของลูกค้าไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างเรียบง่าย

มีการนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในประเทศจีนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ และปัจจุบันได้ให้บริการกับบริษัทมากกว่า 2,000 แห่งในประเทศจีน ช่วยประหยัดพลังงานมากกว่า 2 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน หรือเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 400,000 ตันจากช่วงเวลาเดียวกัน

Energy Expert มีบทบาทสำคัญกับมาตรการด้านความยั่งยืนที่ใช้ที่สำนักงานใหญ่ XiXi ของอาลีบาบา ณ เมืองหางโจว แนวคิดการประหยัดพลังงานที่โซลูชันนี้นำเสนอ เช่น การควบคุมระบบปรับอากาศที่ชาญฉลาด และการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ 1.2 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงานที่สำนักงานใหญ่ของอาลีบาบา ลดการใช้พลังงานลง 30% ในช่วงที่ไม่มีความต้องการใช้สูง และประหยัดพลังงานจากการใช้ระบบปรับอากาศในฤดูร้อนลงได้ 17%

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยปีนี้ยอดผู้ใช้งาน 5G จะพุ่งแตะ 1 พันล้านบัญชี และจะเพิ่มเป็น 4.4 พันล้านบัญชี ในปี 2570

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยปีนี้ยอดผู้ใช้งาน 5G จะพุ่งแตะ 1 พันล้านบัญชี และจะเพิ่มเป็น 4.4 พันล้านบัญชี ในปี 2570

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยปีนี้ยอดผู้ใช้งาน 5G จะพุ่งแตะ 1 พันล้านบัญชี และจะเพิ่มเป็น 4.4 พันล้านบัญชี ในปี 2570

    • ปริมาณการใช้งานดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าในปี 2570 จะมียอดผู้ใช้บริการ 5G สูงถึง 4.4 พันล้านบัญชี  
    • คาดว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้งานดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเติบโตพุ่งสูงแตะ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี
    • ในปี 2570 60% ของการใช้ดาต้าบนมือถือทั่วโลกจะอยู่บนเครือข่าย 5G

ในปี 2565 คาดว่ายอดผู้สมัครใช้งาน 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มขึ้นสองเท่า จาก 15 ล้านบัญชี ณ สิ้นปี 2564  ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility Report ของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ฉบับล่าสุด และยังได้คาดการณ์ไว้อีกว่า ภายในสิ้นปี 2565 จะมียอดสมัครใช้บริการ 5G ทั่วโลกมากถึงหนึ่งพันล้านบัญชี

ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการปรับใช้งานเครือข่ายมากขึ้นคาดว่าจะทำให้การสมัครใช้บริการ 5G จะเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ (CAGR) 83% ตลอดช่วงระยะเวลาคาดการณ์ซึ่งจะเพิ่มขึ้นแตะ 570 ล้านบัญชี ภายในปี 2570

ตัวเลขดังกล่าวนี้เกือบเท่ากับจำนวนการสมัครใช้บริการ 4G ทั้งหมดในภูมิภาคในช่วงเวลานั้น โดยปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือต่อสมาร์ทโฟนยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและคาดว่าจะพุ่งแตะ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 30% โดยการใช้งาน 5G ที่กว้างขึ้นและบริการ XR ใหม่ จะช่วยผลักดันการเติบโตของปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตในช่วงหลังของระยะเวลาคาดการณ์ของอีริคสันจนถึงปี 2570

Igor Maurell, Head of Ericsson Thailand

มร. อิกอร์ มอเรล  ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้บริการและปริมาณการใช้งาน 5G โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 30% ต่อปี จากตลาดในประเทศไทยมีความไดนามิกสูงมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มที่เป็น Tech Savvy ระดับต้น ๆ ของโลก”

“อีริคสันดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลานานและเรายังมุ่งมั่นเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมศักยภาพให้แก่ประเทศไทย เราพร้อมร่วมพัฒนาระบบนิเวศ 5G ของประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จาก 5G ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี XR/AR การเล่นเกมบนคลาวด์ และช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ เร่งเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการนำเสนอคลื่น 5G ทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง ในประเทศไทย ที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เต็มไปด้วยสมรรถนะของสัญญาณ ความครอบคลุม และความเร็วที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้ 5G ในประเทศไทย”

คาดว่าในปี 2570 ภูมิภาคอเมริกาเหนือจะกลายเป็นผู้นำโลกด้านการสมัครใช้บริการ 5G โดยจากยอดผู้สมัครใช้บริการมือถือในทุก ๆ 10 รายจะมีผู้สมัครใช้ 5G ถึง 9 ราย

จากไทม์ไลน์ปี 2570  มีการคาดการณ์เกี่ยวกับ 5G ที่น่าสนใจตามภูมิภาคต่าง ๆ  อาทิ ในยุโรปตะวันตก มีสัดส่วนการสมัครใช้บริการ 5G ที่ 82% ขณะที่ในภูมิภาคของกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) มีสัดส่วนอยู่ที่ 80% และ 74% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ 

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 22 ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ที่น่าสนใจ พร้อมยังเผยให้เห็นว่าปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา 

การเติบโตของยอดการใช้ดาต้านี้ได้รับแรงหนุนมาจากปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนและบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปสู่ดิจิทัล สถิติและการคาดการณ์ล่าสุดยังสะท้อนถึงความต้องการเชื่อมต่อข้อมูลและบริการดิจิทัลอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีการระบาดของโควิด-19 และความไม่แน่นอนของภูมิศาสตร์ทางการเมืองเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ก็มีผู้คนหลายร้อยล้านคนสมัครใช้งานบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือใหม่ทุกปี

รายงาน Ericsson Mobility Report เดือนมิถุนายน ปี 2565 ตอกย้ำให้เห็นว่าการเติบโตของ 5G เป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วกว่าเทคโนโลยีมือถือรุ่นก่อน ๆ ทั้งหมด โดยเวลานี้หนึ่งในสี่ของประชากรโลกสามารถเข้าถึงเครือข่าย 5G ได้ และเพียงช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีจำนวนการสมัครใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบัญชี ซึ่งตามรายงานยังระบุว่า ภายในปี 2570 ประชากรทั่วโลกสามในสี่จะสามารถเข้าถึง 5G ได้ 

ในรายงานยังได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ Fixed Wireless Access (FWA) ที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการให้บริการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต โดยอีริคสันคาดการณ์ว่า ในปี 2565 นี้ จะมีการเชื่อมต่อแบบ FWA เกิน 100 ล้านจุด และจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในปี 2570 แตะระดับ 230 ล้านจุด

ในส่วนของ Internet of Thing  (IoT) ตามรายงานระบุว่าในปี 2564 บรอดแบนด์ IoT (4G/5G) แซงหน้า 2G และ 3G กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมสัญญาณเซลลูลาร์แบบ IoT มากที่สุด หรือคิดเป็น 44% ของการเชื่อมต่อทั้งหมด

เทคโนโลยีเชื่อมต่อ IoT (NB-IoT, Cat-M) เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ช่วงปี 2564 โดยมีการเชื่อมต่อแตะ 330 ล้านจุด และคาดว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้จะแซงหน้าเทคโนโลยี 2G/3G ภายในปี 2566