คาดการณ์ 3 อันดับระบบซัพพลายเชนที่จะเกิดในปี 2565

infor

คาดการณ์ 3 อันดับระบบซัพพลายเชนที่จะเกิดในปี 2565

infor

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ปี 2565 นับเป็นปีที่สามในการเผชิญกับภัยพิบัติด้านสุขภาพทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ผลกระทบรุนแรงจากความไม่สมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ประเด็นของความไม่แน่นอนและความกังวลที่เกิดขึ้นในปีนี้ จะยังคงเกี่ยวกับปัญหาด้านความพร้อมของแรงงานและต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น พื้นที่สำหรับโหลดสินค้า เซมิคอนดักเตอร์ ความพร้อมใช้งานของรถพ่วงสำหรับลากตู้คอนเทนเนอร์ ตลอดจนพื้นที่จัดเก็บของคลังสินค้า

ดังนั้น อนาคตทางสังคมและเศรษฐกิจของเราทุกคนอาจจะยังรางเลือนไม่แน่นอน อันเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงเทศกาลวันหยุด อย่างไรก็ตาม เราได้เห็นรูปแบบของซัพพลายเชนแบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากความสับสนวุ่นวายทางการค้า และการขนส่งสินค้าทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่งแนวโน้ม 3 ประการที่เราจะต้องเผชิญในปีนี้ ได้แก่

1) ปัญหาเรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ตามท่าเรือสำคัญในอเมริกาเหนือและยุโรปเหนือ จะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปี 2566 เนื่องจากความแออัดและความล่าช้าในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงปัญหาการขนส่งที่เกิดขึ้นแต่ใน “มหาสมุทร” เท่านั้น แต่ได้กลายเป็นปัญหาของเครือข่ายซัพพลายเชนทั่วโลกไปแล้ว ปริมาณการขนส่งสินค้าขาเข้าที่เพิ่มขึ้นจากเอเชีย (จากความต้องการของผู้บริโภคที่สูงเป็นประวัติการณ์) กอปรกับปัญหาเกี่ยวกับแรงงานที่ท่าเรือ คนขับรถบรรทุก พนักงานขนถ่ายคลังสินค้า ตลอดจนปัญหาตู้คอนเทนเนอร์และรถพ่วงที่ว่างพร้อมใช้งาน ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนถ่ายของเรือเดินทะเล และส่งผลกระทบถึงการเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากท่าเรือไปยังคลังสินค้า หรือสถานที่แยกสินค้าที่อยู่ภายในประเทศอีกด้วย

2) บริษัทต้องจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ใช้ตั้งแต่ต้นทาง รวมทั้งความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ร่วมมือกัน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของซัพพลายเชน เพราะการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจจะยังคงเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง นอกเหนือจากการมองเห็นสินค้าคงคลังในระหว่างการขนส่งแบบเรียลไทม์แล้ว บริษัทจะต้องมีการตั้งเป้าในการดำเนินงานใหม่ เน้นให้มองเห็นการขนส่งแบบองค์รวมในหลากหลายมิติ แทนการมุ่งแสวงหาต้นทุนที่ต่ำลงเพียงอย่างเดียว เช่น พื้นที่โหลดสินค้า การดำเนินงานและสภาพการเงินของซัพพลายเออร์ จุดขนส่งสำหรับเปลี่ยนถ่ายสินค้า และความคืบหน้าในการควบคุมดูแลการขนส่งตลอดเส้นทาง เป็นต้น และเพื่อช่วยให้มีการตอบสนองที่รวดเร็วขึ้นเมื่อเกิดปัญหาภายในเครือข่ายซัพพลายเชนหรือช่องทางการขนส่งทั่วโลก ความยืดหยุ่นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อยกเว้นเพื่อช่วยให้ระบุและแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น (exception monitoring) เพราะความสำเร็จในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าปลายทางน้้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ขึ้นอยู่กับการควบคุมและความยืดหยุ่นที่เพิ่มมากขึ้นในการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นทาง

infor

3) รูปแบบของระบบซัพพลายเชนทั่วโลกในปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ต่อไปอีกนาน ได้แก่

      • ต้นทุนการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางอากาศที่สูงขึ้นจะยังคงเป็นเช่นนั้นต่อไป แม้ว่าความแออัดและข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตในปัจจุบันได้ลดลงมาอยู่ในระดับใหม่ที่สมดุลทั้งโลกแล้ว
      • ตลาดการขนส่งสินค้าในช่วง ‘ไฮซีซัน’ แบบดั้งเดิมจะเริ่มเร็วขึ้นและลากยาวกว่าปกติ
      • สัญญาการขนส่งสินค้าระยะสั้นจะเพิ่มมากขึ้น
      • ผู้ส่งสินค้าจะยังคงเพิ่มการใช้งานผู้ให้บริการขนส่งทั่วไปที่ไม่ใช่เจ้าของเรือหรือไม่มีเรือเป็นของตนเอง (Non-Vessel-Operating Common Carriers – NVOCCs) และผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์แบบ third-party (3PLs) เพื่อให้มั่นใจว่ามีพื้นที่เพียงพอสำหรับการโหลดสินค้า
      • ผู้ส่งสินค้าจำนวนมากขึ้นจะแลกเปลี่ยนพื้นที่โหลดสินค้าที่มีการคาดการณ์ไว้ ที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลากับผู้ให้บริการหลักของตน เพื่อปรับปรุงการวางแผนเครือข่ายการขนส่งสินค้าโดยรวม
      • ผู้ส่งสินค้าและผู้รับสินค้าปลายทางจำนวนมากขึ้นจะอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้าสำหรับรถพ่วงและตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเพิ่มพื้นที่โหลดสินค้าในเครือข่าย
      • ผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากขึ้นจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์และ
        ซัพพลายเชนระดับโลก โดยเน้นเรื่องความผันผวนของอุปทานที่ลดลง ควบคู่ไปกับการจัดการต้นทุนเพื่อปกป้องสายการผลิต ประสบการณ์ลูกค้าปลายทาง รวมถึงผลกำไรของธุรกิจโดยรวม

ความไม่แน่นอนของความท้าทายด้านอุปทานและอุปสงค์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ได้กลายเป็น “นิวนอร์มัล” ของผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนไปแล้ว ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับปรุงเทคโนโลยี และเครื่องมือบริหารจัดการซัพพลายเชนที่พวกเขาใช้ทุกวัน ทั้งนี้ การเชื่อมต่อกับพันธมิตรได้มากขึ้นและยืดหยุ่นขึ้น มีแหล่งข้อมูลภายนอกมากขึ้น รวมถึงมีเครือข่ายซัพพลายเชนที่ชาญฉลาดที่เชื่อมโยงความต้องการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไว้ด้วยกันในท้ายที่สุด ที่เกิดจากการวางแผนการจัดซื้อและการจัดส่งตั้งแต่ต้นทาง จะช่วยให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าจะสามารถตอบสนองและเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต

ปีใหม่นี้…ขับรถเดินทางอุ่นใจกว่าเดิม ทรูมันนี่ ร่วมกับ กรุงเทพประกันภัย มอบฟรี! บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน* 24 ชั่วโมง

True Money

ปีใหม่นี้…ขับรถเดินทางอุ่นใจกว่าเดิม ทรูมันนี่ ร่วมกับ กรุงเทพประกันภัย มอบฟรี! บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน* 24 ชั่วโมง

ลูกค้าทรูมันนี่ที่ยืนยันตัวตน (KYC) แล้ว ลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ฟรี ตั้งแต่วันนี้ถึง 5 มกราคม ปี 2565 ผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet

ทรูมันนี่ ผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมมือกับ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) มอบฟรี! บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง* เพิ่มความอุ่นใจในทุกการขับขี่รถยนต์เพื่อเดินทางช่วงหยุดยาวปีใหม่นี้แก่ลูกค้าทรูมันนี่ วอลเล็ทที่สมัครและยืนยันตัวตนแล้ว เพียงลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet ตั้งแต่วันนี้ถึง 5 มกราคม 2565 รับความคุ้มครองนาน 2 เดือน นับตั้งแต่วันเริ่มความคุ้มครอง

นายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างทรูมันนี่ และ บมจ.กรุงเทพประกันภัย ครั้งนี้เป็นการสานต่อความตั้งใจร่วมกันในการส่งมอบความห่วงใยแก่ผู้ใช้ทรูมันนี่ ด้วยบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน ที่จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจและลดความกังวลใจเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ตลอด 24 ชั่วโมง ตอบรับความต้องการในช่วงเทศกาลหยุดยาวปีใหม่นี้ที่คาดว่าหลายคนกำลังวางแผนเดินทางไปพักผ่อน เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ โดยนอกเหนือจากบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ความคุ้มครองนี้ยังรวมถึงบริการพิเศษที่คอยให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในด้านอื่น ๆ เพื่อทำให้การเดินทางกลับบ้านหรือท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น”

ทั้งนี้ บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมงดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่บริการต่อพ่วงแบตเตอรี่ เปลี่ยนยางอะไหล่ ติดต่อช่างกุญแจสำรอง บริการจัดส่งน้ำมัน บริการลากรถฟรี 1 ครั้ง และบริการเสริมพิเศษอื่น ๆ อาทิ ให้คำแนะนำทางด้านเทคนิค หรือแนะนำสถานที่พยาบาล และการแพทย์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินระหว่างการเดินทาง พร้อมบริการสำรองที่พัก ภัตตาคาร รถเช่า และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อีกมากมาย ลูกค้าทรูมันนี่ที่สนใจสามารถคลิกดูรายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครองได้ที่ https://tmn.app.link/nqCoOE4d8lb

ผู้ที่สนใจสามารถรับความคุ้มครองง่าย ๆ เพียงเป็นลูกค้า TrueMoney Wallet ที่สมัครและยืนยันตัวตน (KYC) แล้ว โดยเปิดแอปฯ TrueMoney Wallet และกด banner “รับฟรี! บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง*” ไปสู่หน้า บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) และคลิกตามขั้นตอนเพื่อรับสิทธิ์ได้ฟรี ตั้งแต่วันนี้ถึง 5 มกราคม ปี 2565 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TrueMoney Customer Care ผ่าน Call Center เบอร์ 1240 หรือ Live Chat ตลอด 24 ชั่วโมง

ขั้นตอนการลงทะเบียนรับสิทธิ์บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง จากกรุงเทพประกันภัย ผ่านแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท

      1. เปิดแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท และ Log-in
      2. ไปที่ banner “ปีใหม่นี้ เดินทางอุ่นใจ”
      3. กรอกข้อมูลส่วนตัว และรายละเอียดรถยนต์ (ยี่ห้อ รุ่น และทะเบียนรถ) ที่ใช้เดินทาง และกดปุ่ม “กดรับสิทธิ์ฟรี”
      4. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) จะส่ง SMS เพื่อยืนยันการรับสิทธิ์ตามเบอร์มือถือที่ลูกค้ากรอกข้อมูลไว้
TrueMoney

*หมายเหตุ

      • บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ไม่รวมกรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุ
      • มอบความคุ้มครอง โดย บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด​ (มหาชน) หากลูกค้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง ติดต่อ 02-285-8888
      • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด​ (มหาชน) กำหนด
      • บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ทำหน้าที่เป็นเพียงช่องทางในการสื่อสารเพื่อให้ทางกรุงเทพประกันภัยได้มอบบริการช่วยเหลือฉุกเฉินดังกล่าว ให้กับผู้ใช้บริการทรูมันนี่ วอลเล็ท ที่ยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น บริษัทฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณา อนุมัติ รวมถึงขั้นตอนการมอบบริการดังกล่าว

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้สรุปเทรนด์อสังหาฯ น่าจับตา ส่งท้ายปีฉลู

DDproperty

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้สรุปเทรนด์อสังหาฯ น่าจับตา ส่งท้ายปีฉลู

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในรอบปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมที่มีบทบาทกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต ทัศนคติต่อการอยู่อาศัยให้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยาวนาน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ผู้บริโภคใช้ชีวิตภายใต้บริบททางสังคมที่หลากหลายได้ดียิ่งขึ้น สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนในแวดวงอสังหาฯ ขณะที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ได้ปรับตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบันมากขึ้น ชูจุดเด่นในเรื่องการสร้างสรรค์ประสบการณ์การอยู่อาศัยที่ดีกว่า เพื่อดึงดูดกำลังซื้อจากผู้ที่กำลังมองหาบ้าน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ขอนำเสนอเทรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่น่าจับตามองในรอบปี 2564 สรุปทิศทางแนวโน้มที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคยุคใหม่มองหา เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ส่งมอบประสบการณ์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แท้จริงได้อย่างราบรื่น

    • การผสมผสานไลฟ์สไตล์ดิจิทัล (Digital Lifestyle Integration) ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในการยกระดับและรองรับการใช้ชีวิตยุคใหม่ให้สะดวกสบาย เห็นได้จากการที่หลายโครงการได้นำแนวคิดบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) มาใช้มากยิ่งขึ้น จนแทบจะกลายเป็นฟังก์ชั่นการใช้งานพื้นฐานที่ที่อยู่อาศัยยุคใหม่ต้องมี การที่บ้าน/คอนโดฯ ใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ในการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านนั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสะดวกสบายยิ่งขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความอุ่นใจในความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งในเรื่องการเฝ้าระวัง การตรวจสอบ การเปิดหรือปิดการใช้งานระบบไฟฟ้าได้ง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
    • การอยู่อาศัยแบบยั่งยืนตอบโจทย์คนหาบ้าน (Sustainable & Green Living) เมื่อผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเทรนด์ความยั่งยืน ภาคธุรกิจรวมถึงตลาดอสังหาฯ จึงต้องปรับตัวเพื่อตอบโจทย์นี้ โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดฯ ที่ผ่านมาที่ผู้บริโภคต้องอยู่กับบ้านมากขึ้น จึงมองหาบ้านที่มาพร้อมฟังก์ชั่นประหยัดพลังงานและรักษ์โลก ข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยว่า คนไทยกว่า 9 ใน 10 (93%) ให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัยแบบยั่งยืน โดยมากกว่าครึ่ง (62%) ต้องการบ้าน/คอนโดฯ ที่มีระบบหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop) เพื่อสร้างพลังงานทางเลือกทดแทนการใช้ไฟฟ้า ตามมาด้วยบ้านที่มีระบบระบายความร้อน (58%) และฟังก์ชั่นดูดซับมลพิษภายในบ้าน (48%) นอกจากนี้หลายโครงการยังได้เพิ่มจุดบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลาง รองรับเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมาแรง
    • บ้านเพื่อผู้สูงอายุ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) แล้วในปีนี้ โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ถึง 20% ของประชากรทั้งหมด หลายโครงการที่อยู่อาศัยมีการออกแบบและนำเสนอนวัตกรรมการสร้างบ้านสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกและราบรื่นยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มราวจับในพื้นที่ต่างระดับ การเลือกประตูที่มีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับรถเข็น และสร้างทางลาดให้รถเข็นเข้า-ออกในตัวบ้านได้ง่ายขึ้น ซึ่งรายละเอียดการออกแบบต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะบ้านที่มีผู้สูงอายุเท่านั้น หากแต่เป็นหลักการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยและรองรับการใช้ชีวิตของทุกช่วงวัยได้เป็นอย่างดี ถือเป็นพื้นฐานการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ทุกบ้านต้องมี นอกจากนี้ ยังมีโครงการอสังหาฯ หลายแห่งที่ร่วมมือกับโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสุขภาพในการเพิ่มบริการดูแลสุขภาพไว้รองรับ ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ
ddproperty
    • ที่อยู่อาศัย Pet Friendly สำหรับคนรักสัตว์ เทรนด์สัตว์เลี้ยงถือเป็นอีกไลฟ์สไตล์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภค แต่ก็กลายเป็นอีกข้อจำกัดเมื่อต้องเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยเช่นกัน ในอดีตโครงการคอนโดฯ ส่วนใหญ่มักไม่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนเพื่อนร่วมคอนโดฯ หรือมีปัญหาเรื่องความสะอาด ที่อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทตามมาในภายหลังได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนรักสัตว์มีจำนวนไม่น้อยและถือเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อในตลาด ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ มองเห็นโอกาสและหันมาเจาะกลุ่มคนรักสัตว์โดยเปิดตัวโครงการคอนโดฯ ที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ (Pet Friendly) พร้อมทั้งมีพื้นที่ส่วนกลางที่ให้เจ้าของและสัตว์เลี้ยงได้ทำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย
    • เทรนด์เช่ามาแรง ลดภาระค่าครองชีพ การชะลอตัวของเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดฯ ที่ยังมีความผันผวนอยู่ ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อน และวางแผนการเงินอย่างรัดกุม เลือกเก็บเงินสดไว้กับตัว ส่งผลให้เทรนด์การเช่าที่อยู่อาศัยกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อาทิ ค่าบำรุงรักษา รวมไปถึงค่าภาษีและดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเมื่อตัดสินใจซื้อบ้าน/คอนโดฯ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางและไม่มีมาตรการช่วยเหลือที่ครอบคลุมเพียงพอ การเช่าที่อยู่อาศัยจะช่วยให้กลุ่มคนรุ่นใหม่สามารถเลือกเช่าที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงานได้ในราคาที่เอื้อมถึง โดยไม่มีภาระผูกมัดระยะยาว และยืดหยุ่นกว่าเมื่อคิดจะเปลี่ยนงานใหม่ นอกจากนี้การเปิดประเทศและนโยบายจากภาครัฐจะสนับสนุนให้ Digital Nomad หรือผู้ประกอบอาชีพด้านดิจิทัลชาวต่างชาติเลือกเข้ามาทำงานและพักอาศัยในไทยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดเช่าที่อยู่อาศัยเติบโตเช่นกัน
    • สร้างบรรยากาศแบบ Holiday at Home การใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จึงทำให้เกิดแนวคิดการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ให้ความรู้สึกของการพักผ่อนที่เหมือนได้ท่องเที่ยวพักผ่อนในต่างจังหวัดแม้จะอยู่ที่บ้าน รวมทั้งการตกแต่ง การจัดสวนให้มีมุมพักผ่อนที่ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ สมาชิกในครอบครัวสามารถเลือกนั่งทำงานหรือเรียนออนไลน์ในบรรยากาศที่แตกต่างออกไป ลดความจำเจเมื่อต้องทำงานที่บ้านเป็นระยะเวลานาน และยังสามารถใช้พื้นที่ในสวนเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่บ้านร่วมกันได้อีกด้วย ตอบโจทย์การออกแบบที่อยู่อาศัยให้ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามไลฟ์สไตล์ของคนในครอบครัว
    • สกุลเงินดิจิทัลกับโอกาสเป็นเจ้าของอสังหาฯ กระแสของสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ในไทยน่าจับตามองและมีบทบาทมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรม ไม่เพียงแต่ด้านฟินเทค (Fintech) เท่านั้นแต่รวมไปถึงในธุรกิจค้าปลีก ความบันเทิง และอสังหาฯ โดยในกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ที่กล้ารับความเสี่ยง มองว่าสกุลเงินดิจิทัลเป็นอีกทางเลือกในการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าไม่ต่างจากการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยให้ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน ผู้ยื่นกู้จำเป็นต้องมีประวัติการเงินที่ดีและมีศักยภาพในการผ่อนชำระจึงจะได้รับการอนุมัติจากธนาคาร ถือเป็นอุปสรรคในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่หรือวัยเริ่มทำงาน ในขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุนสกุลเงินดิจิทัลที่ได้ในระยะเวลาไม่นาน ช่วยลดข้อจำกัดเหล่านี้และเปิดโอกาสให้นักลงทุนรุ่นใหม่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำอสังหาฯ นี้ไปลงทุนขายต่อหรือปล่อยเช่าได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องจับตามองต่อไปว่านอกจากการประกาศใช้สกุลเงินดิจิทัลในการซื้ออสังหาฯ หรือจ่ายค่าส่วนกลางและค่าบริการอื่น ๆ ในบางโครงการแล้ว ในอนาคตเทรนด์สกุลเงินดิจิทัลจะสามารถกลายเป็นอีกช่องทางหลักของการซื้อขายในตลาดอสังหาฯ ได้หรือไม่
DDproperty
    • Metaverse ยกระดับประสบการณ์ที่อยู่อาศัยบนโลกเสมือน เทรนด์มาแรงที่สั่นสะเทือนทุกธุรกิจส่งท้ายปี ได้แก่ Metaverse นวัตกรรมที่สร้างสรรค์และผสมผสานสภาพแวดล้อมของโลกจริงเข้ากับโลกเสมือนจริง ให้กลายเป็นชุมชนโลกเสมือนจริงผ่านการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่รองรับการเข้าถึงโลกเสมือนอย่าง Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) ถือเป็นแนวคิดที่จะเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงตลาดอสังหาฯ ไปไม่น้อย นอกจากผู้บริโภคจะสามารถซื้อโครงการที่อยู่อาศัยในชีวิตจริงแล้ว ยังสามารถเป็นเจ้าของโครงการในโลกเสมือนได้ผ่านการเชื่อมโยงของ Metaverse อีกด้วย นอกจากนี้ยังนำไปใช้เพื่อยกระดับการเยี่ยมชมที่อยู่อาศัยก่อนตัดสินใจซื้อแบบ Virtual Tour ในอนาคตให้ได้รับประสบการณ์ที่สมจริงยิ่งขึ้นเหมือนเดินชมที่สำนักงานขายด้วยตนเอง พร้อมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจในการเปิดพื้นที่ใน Metaverse ให้สามารถซื้อขายที่ดินเพื่อพัฒนาห้างสรรพสินค้าและโครงการอสังหาฯ ต่าง ๆ เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การใช้ชีวิตแบบไร้รอยต่อระหว่างโลกจริงและโลกเสมือนให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

Restaurant Brands International จับมือแอนท์กรุ๊ป เร่งทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับธุรกิจร้านอาหารทั่วเอเชีย-แปซิฟิก

Restaurant Brands International

Restaurant Brands International จับมือแอนท์กรุ๊ป เร่งทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับธุรกิจร้านอาหารทั่วเอเชีย-แปซิฟิก

Restaurant Brands International Inc. (“RBI”) หนึ่งในบริษัทที่ทำธุรกิจร้านอาหารบริการด่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นเจ้าของแบรนด์ เช่น TIM HORTONS®, BURGER KING® และ POPEYES® ประกาศความร่วมมือระดับภูมิภาคกับแอนท์กรุ๊ป (Ant Group) โดยจะใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นดิจิทัลของแอนท์กรุ๊ปเพื่อเร่งการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล หรือดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการดำเนินธุรกิจร้านอาหารทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของ RBI เพื่อสนับสนุนการทำงานของร้านอาหารแฟรนไชส์และการขยายธุรกิจในตลาดเอเชีย-แปซิฟิก

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว แอนท์กรุ๊ปจะทำงานร่วมกับร้านอาหารแฟรนไชส์ของ RBI ในแต่ละประเทศ เพื่อติดตั้งการใช้งานโซลูชั่นดิจิทัล รวมถึงโซลูชั่นมินิโปรแกรมในรูปแบบของ Software-as-a-Service (SaaS) และ Alipay+ ซึ่งเป็นโซลูชั่นด้านการตลาดและการชำระเงินระหว่างประเทศที่ครอบคลุมทั่วโลก ความร่วมมือในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อมอบประสบการณ์หลากหลายช่องทาง (omni-channel) ที่ราบรื่นและสะดวกมากขึ้นสำหรับลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของร้านอาหาร

ด้วยโซลูชั่นมินิโปรแกรม SaaS แอนท์กรุ๊ปจะพัฒนามินิโปรแกรมสำหรับแต่ละแบรนด์ของ RBI ซึ่งได้แก่ Tim Hortons, Burger King และ Popeyes โดยมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพตลาดของแต่ละประเทศ ภายใต้มินิโปรแกรมนี้ ร้านอาหารแฟรนไชส์ของ RBI ในแต่ละประเทศจะสามารถผนวกรวมการดำเนินงานทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินงานได้อย่างละเอียดและเจาะลึกมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ลูกค้าของร้านอาหารจะสามารถเข้าถึงบริการเพิ่มเติมได้ เช่น เมนูและการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless) การสั่งอาหารทางออนไลน์แล้วไปรับที่ร้าน หรือการส่งถึงบ้าน ฟังก์ชั่นการสแกนและสั่งอาหารภายในร้าน เป็นต้น นอกจากนั้น มินิโปรแกรมยังผนวกรวมกับ Loyalty Program ที่มีอยู่ในแต่ละแบรนด์ของ RBI และนำเสนอฟีเจอร์ด้านการตลาดดิจิทัลเพิ่มเติม เช่น การแจกคูปองส่วนลดแบบดิจิทัล ฯลฯ

เพื่อช่วยให้ร้านอาหารของ RBI เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น มินิโปรแกรมดังกล่าวจะถูกบูรณาการเข้ากับแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่น ๆ ในระดับประเทศและระดับภูมิภาค รวมถึงแพลตฟอร์มของ Chope ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพชั้นนำด้านเทคโนโลยี F&B ระดับภูมิภาค และบริการอีวอลเล็ทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว RBI จะใช้ประโยชน์จากโซลูชั่น Alipay+ ของแอนท์กรุ๊ป เพื่อขยายทางเลือกในการชำระเงินสำหรับร้านอาหาร เว็บไซต์ แอพ และมินิโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยการผนวกรวมโซลูชั่นต่างๆ ของ Alipay+ การดำเนินงานของ RBI จะรองรับการชำระเงินต่าง ๆ เช่น ทรูมันนี่ วอลเล็ท (True Money Wallet) ในไทย, Touch ‘n Go eWallet ในมาเลเซีย, GCash ในฟิลิปปินส์, Kakao Pay ในเกาหลีใต้ และอื่น ๆ อีกมากมาย

เอเครม โอเซอร์ ประธานประจำภูมิภาค APAC ของ Restaurant Brands International กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ประกาศการเป็นพันธมิตรครั้งสำคัญกับแอนท์กรุ๊ป ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภารกิจของเราเพื่อเพิ่มความสะดวกกับลูกค้าในการสั่งและรับประทานอาหารที่ง่ายขึ้น รวมถึงการชำระเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่สะดวก และตรงความต้องการของลูกค้า ผู้ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในเอเชียจะได้รับประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัล และการรวมมินิโปรแกรมเข้ากับแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่น ๆ เช่นกัน”

แองเจล เจา ประธานกลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า “การนำระบบการชำระเงินดิจิทัลและนวัตกรรมทางการตลาดมาใช้เป็นเรื่องสำคัญต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้บริการแบบไร้การสัมผัส (Contactless) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพื่อให้แบรนด์สามารถปรับตัวได้เท่าทันต่อตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ แอนท์กรุ๊ปมุ่งมั่นในการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจ RBI ต่อการมุ่งสู่เส้นทางดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น เพื่อนำเสนอประสบการณ์แก่ลูกค้าในรูปแบบใหม่ เชื่อมต่อลูกค้ากับแบรนด์ในเครือ RBI ทั้งในช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เพื่อมอบประสบการณ์เหนือระดับให้แก่ลูกค้า”

การปรับใช้โซลูชั่นดังกล่าวจะครอบคลุม 8 ตลาดในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประกอบด้วยร้านอาหาร 1,500 สาขาภายใต้ 3 แบรนด์หลักของ RBI

อ่านข้อมูล business partnership อื่น ๆ ของแอนท์กรุ๊ป: iQiyi ใช้ Alipay+ ขยายตลาด พัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ทั่วเอเชีย

ดีลอยท์เผยรายงาน “การค้าดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี” ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

Deloitte report_ดีลอยท์

ดีลอยท์เผยรายงาน “การค้าดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี” ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

    • การค้าดิจิทัลในภูมิภาคนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรม cross-border e-commerce ที่คึกคัก ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลไลฟ์สไตล์อย่างรวดเร็ว การพัฒนาต่อยอดด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และความร่วมมือระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งภายใต้ข้อตกลง RCEP
    • ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ตลาดที่กำลังพัฒนา” ในด้านของการพัฒนา Cross-border E-commerce และ Digitalization เช่นเดียวกับ มาเลเซีย อินโดนิเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์
    • การชำระเงินและการขาย เป็นสองฟังก์ชั่นทางการค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงสุด

ดีลอยท์ (Deloitte) เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับ “การค้าดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี” (Technology-empowered Digital Trade in Asia Pacific) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์ล่าสุดด้านการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ทุกสิ่งกำลังพัฒนาไปสู่คดิจิทัล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอนาคตที่ยั่งยืน โดยธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อยมีบทบาทสำคัญอย่างมาก

รายงานดังกล่าวอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นขององค์กรธุรกิจที่มีส่วนร่วมในระบบการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ โดยคาดการณ์ว่าการค้าดิจิทัลในภูมิภาคนี้จะเติบโตรวดเร็วขึ้น เนื่องจากกิจกรรม cross-border e-commerce ที่คึกคัก ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลไลฟ์สไตล์อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง และความร่วมมือระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP ซึ่งคาดว่าภูมิภาคนี้จะเข้าสู่ยุคทองของการค้าดิจิทัลในอีกสามปีข้างหน้า

เทยเลอร์ แลม รองประธานและหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี มีเดียและเทเลคอมมูนิเคชั่น ดีลอยท์ ประเทศจีน กล่าวว่า “ช่วงการแพร่ระบาด การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและความร่วมมือระหว่างภูมิภาคได้พัฒนาไปสู่การค้าดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งนำเสนอโอกาสการพัฒนาของแบรนด์ใหม่ ๆ และ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP นั้นจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภูมิภาค และอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการค้าดิจิทัลต่าง ๆ”

แกรี่ วู หัวหน้าทีมฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของตลาดทั่วโลก, ดีลอยท์ กล่าวว่า “เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาช่วยผู้ค้าทั่วโลกให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการค้าระหว่างประเทศ โดยปราศจากมาตรการกีดกันทางการค้าใด ๆ การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่องจะช่วยแก้ปัญหาที่เป็นข้อจำกัดทางการค้าระหว่างประเทศหลัก ๆ สองประการ ได้แก่ ลอจิสติกส์ และ การชำระเงิน ได้เป็นอย่างดี ขณะที่ เทคโนโลยีบล็อกเชนก็มีส่วนช่วยสร้างพื้นที่ใหม่ ๆ ในการค้าดิจิทัล”

ข้อมูลเชิงลึกในระดับภูมิภาค
การค้าโลกเข้าสู่ยุคของระบบอัจฉริยะ

      • ขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในด้านการค้าก็ขยายตัวเป็นวงกว้างและเจาะลึกมากขึ้น กล่าวได้ว่าการค้าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของระบบอัจฉริยะ และดาต้าจะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก
      • โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ระบบ 5G จะช่วยสร้างแพลตฟอร์มการกระจายข้อมูลและสถาปัตยกรรมเครือข่ายใหม่ๆ และรองรับ Internet of Everything (IoE) ขณะเดียวกัน การเก็บรวบรวมบิ๊กดาต้าจำนวนมหาศาล ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจที่ชาญฉลาด
      • ในภาพรวม การค้าโลกในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจาก “ระบบดิจิทัล”ไปสู่ “ระบบอัจฉริยะ” โดย “การค้าดิจิทัล” เป็นรูปแบบการพัฒนาล่าสุด

พัฒนาการและการเติบโตของการค้าดิจิทัลในเอเชีย-แปซิฟิก

    • เศรษฐกิจระดับภูมิภาคส่วนใหญ่ถูกประเมินเพื่อการพัฒนาการและการเติบโตของการค้าดิจิทัล โดยอ้างอิงดัชนีชี้วัดสองอย่างคือ อี-คอมเมิร์ซระหว่างประเทศ (60%) และการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (40%) และผลลัพธ์ที่ได้มีดังนี้:
        • ตลาดที่พัฒนาแล้ว: จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และญี่ปุ่น
        • ตลาดกำลังพัฒนา: ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์
        • ตลาดที่อยู่ในขั้นเริ่มต้น: เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และบรูไน
    • ในประเทศไทย อัตราการขยายตัวของตลาด cross-border e-commerce ถือว่าค่อนข้างสูง และมีโครงสร้างทางด้านดิจิทัลที่แข็งแรง แต่การพัฒนายังอยู่ในระดับที่จำกัด
Deloitte_ดีลอยท์ รีพอร์ต

การเติบโตขององค์กรธุรกิจข้ามชาติขนาดเล็ก (Micro-Multinational Enterprise – mMNE) เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการค้าดิจิทัลในเอเชีย-แปซิฟิก

      • ธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อยใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อเป็นองค์กรธุรกิจข้ามชาติขนาดเล็ก หรือ mMNE เพราะเข้าร่วมใน cross-border e-commerce ในตลาดต่างๆ ทั่วโลก
      • ธุรกิจรายย่อยเหล่านี้นำเสนอ “ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น” หลากหลายประเภท ควบคู่กับการปรับรูปแบบบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั่วโลก โดยธุรกิจในกลุ่มนี้ครองสัดส่วนกว่า 85% ของกิจกรรม cross-border e-commerce ในเอเชีย-แปซิฟิก
      • คุณลักษณะที่สำคัญของ mMNE:
          • ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่ว
          • มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปแล้วมีพนักงานไม่ถึง 100 คน
          • มีการดำเนินงานครอบคลุมทั่วโลก โดยเฉลี่ยแล้วมีร้านสาขาในต่างประเทศ 3.56 แห่ง

“การชำระเงิน และการขาย” เป็นสองฟังก์ชั่นทางการค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงสุด

      • ระบบชำระเงินดิจิทัลมีอัตราการใช้งานอยู่ที่ 55% ส่วนระบบการขายแบบดิจิทัลมีอัตราการใช้งาน 53%
      • ตลาดที่พัฒนาแล้วมีการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า ทั้งในส่วนของการชำระเงิน การขาย และลอจิสติกส์
      • ในตลาดกำลังพัฒนา การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในด้านการผลิตและการค้าอยู่ในระดับที่สูง
Deloitte_ดีลอยท์ รีพอร์ต

แฟรงกี้ ฟาน ผู้บริหาร WorldFirst ประจำประเทศจีน ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการชำระเงินระหว่างประเทศ กล่าวว่า “ธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีบทบาทอย่างมากต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาค”

“การมีการซื้อขายออนไลน์ระหว่างประเทศและการชำระเงิน รวมถึงข้อตกลงการค้าเสรี RCEP ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปีหน้า เอสเอ็มอีในภูมิภาคจะได้รับความมั่นคงในการค้าระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ที่ WorldFirst เรามุ่งมั่นในการนำเสนอบริการด้านการเงินแบบครบวงจรแบบ one-stop ครอบคลุมทั้งการชำระเงิน การเก็บเงิน และการแลกเปลี่ยนเงินให้แก่บริษัทต่าง ๆ ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างเต็มที่” แฟรงกี้ กล่าว